backup og meta

ลดเหนียง สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ลดเหนียง สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ลดเหนียง เป็นการลดไขมันสะสมใต้คางที่ทำให้เกิดเป็นคาง 2 ชั้นซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะกับคนที่มีน้ำหนักตัวมากเท่านั้น ถึงแม้ว่าเหนียงไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจส่งผลต่อความมั่นใจได้ ทั้งนี้ การลดเหนียงนั้นทำได้หลายวิธี เช่น การบริหารใบหน้า การควบคุมอาหาร

[embed-health-tool-bmi]

เหนียง คืออะไร 

เหนียง หรือคาง 2 ชั้น คือ ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณใต้คาง มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อห้อย เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะมีน้ำหนักตัวปกติหรือน้ำหนักตัวมาก 

เหนียง เกิดจากอะไร

เหนียงอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  1. ไขมันสะสมอยู่ใต้ชั้นผิวหนังมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการรับประทานอาหารมีไขมันสูงเป็นประจำ
  2. ไม่ออกกำลังกาย อาจทำให้เกิดการสะสมไขมันบริเวณคาง เช่นเดียวกับไขมันที่สะสมตามหน้าท้อง ท้องแขน 
  3. โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน 
  4. พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีผิวหนังที่มีความยืดหยุ่นน้อย ผิวหนังไม่เต่งตึง อาจส่งผลให้มีเหนียงมากกว่าปกติ
  5. อายุที่เพิ่มขึ้น มักส่งผลให้ผิวหนังสูญเสียคอลลาเจน จนผิวหนังหย่อนคล้อยและเกิดเหนียงได้เช่นกัน

ลดเหนียง มีวิธีอะไรบ้าง

วิธีที่อาจช่วยลดเหนียง มีดังนี้

การทำท่าบริหารใบหน้า

การบริหารใบหน้าเป็นประจำทุกวันด้วยท่าเหล่านี้ อาจช่วยลดเหนียงได้

  • ท่าแลบลิ้น เริ่มจากมองตรงแล้วแลบลิ้นออกมาให้สุด พยายามให้ลิ้นแตะจมูก ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง/รอบ 
  • ท่าจูบท้องฟ้า เงยหน้ามองเพดานจนรู้สึกตึงบริเวณใต้คางและลำคอ แล้วทำปากจู๋คล้ายจูบ ค้างไว้ประมาณ 5-20 วินาที ทำซ้ำประมาณ 10-20 ครั้ง/รอบ
  • ท่าคางกดลูกบอล นำลูกบอลที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9-10 นิ้ววางไว้ใต้คาง แล้วใช้คางกดลูกบอล ทำประมาณ 25-30 ครั้ง/รอบ 

การควบคุมอาหาร

โดยการรับประทานผักผลไม้หลากหลายเป็นประจำ เลือกรับประทานเนื้อสัตว์มันน้อยหรือไร้ไขมัน และหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ของมัน ของทอด เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจทำให้น้ำหนักขึ้นได้ นอกจากนั้น ควรรับประทานอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ให้ได้พลังงานไม่น้อยกว่า 1,200 กิโลแคลอรี่/วัน และจำกัดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อให้มีสัดส่วนตามหลักโภชนาการ 

การดูดไขมัน

คุณหมอจะใช้เครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายท่อยาวสอดเข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อดูดไขมันส่วนเกินออกมา หรืออาจใช้ความร้อนเพื่อละลายไขมันและปรับรูปหน้าให้ดูเรียวขึ้น ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงหลังทำแต่หายไปเองได้ เช่น  บวม เขียวช้ำ เจ็บปวดบริเวณแผล

การฉีดเมโสแฟต (Meso Fat)

เป็นวิธีลดเหนียงด้วยการฉีดสารละลายไขมัน หรือกรดดีออกซีโคลิก (Deoxycholic Acid) ปริมาณเล็กน้อยในบริเวณใต้คางเพื่อสลายไขมัน ซึ่งอาจจะต้องฉีด 20 เข็มขึ้นไป และอาจใช้เวลารักษานานกว่า 6 เดือนถึงจะเห็นผล ทั้งนี้ การฉีดเมโสแฟตต้องทำโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะหากฉีดกรดดีออกซีโคลิกไม่ถูกวิธีอาจส่งผลต่อเส้นประสาทได้ ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ทั่วไป  เช่น บวม ช้ำ ชา มีรอยแดงบริเวณที่ฉีด  

อย่างไรก็ตาม วิธีลดเหนียงไม่สามารถช่วยให้เหนียงหายไปได้อย่างถาวร หากกลับไปมีพฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้เกิดเหนียง เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูงเป็นประจำ ไม่ควบคุมน้ำหนัก ก็อาจทำให้เหนียงกลับมาได้อีก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Get Rid of a Double Chin. https://health.clevelandclinic.org/how-to-get-rid-of-a-double-chin/. Accessed September 20, 2022.

Water Consumption Increases Weight Loss During a Hypocaloric Diet Intervention in Middle-aged and Older adults.  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2859815/. Accessed September 20, 2022.

Weight loss: 6 strategies for success. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/weight-loss/in-depth/weight-loss/art-20047752?pg=1. Accessed September 20, 2022.

Double Chin Surgery: What You Need to Know. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/double-chin-surgery-what-you-need-to-know. Accessed September 20, 2022.

Does your face need a workout?. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/does-your-face-need-a-workout.Accessed September 20, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/04/2023

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

IF คือ อะไร ทำแล้วลดน้ำหนักได้จริงไหม

5 วิธี ลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่ดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 10/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา