backup og meta

อันตรายจากโรคอ้วน กับผลเสียต่อสุขภาพ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/09/2021

    อันตรายจากโรคอ้วน กับผลเสียต่อสุขภาพ

    อันตรายจากโรคอ้วน ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากที่คิด นอกจากจะทำให้สูญเสียความมั่นใจในเรื่องของรูปแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคข้อเสื่อม ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ จึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวของกับโรคอ้วน

    โรคอ้วน คืออะไร

    โรคอ้วน ถือเป็นปัญหาที่ซับซ้อนเนื่องจากมีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารประเภทไขมันอิ่มตัวสูง ขาดการออกกำลังกาย หรือปัจจัยทางพันธุกรรมที่ได้รับยีนส์มาจากครอบครัว ส่งผลให้คุณมีระบบการเผาผลาญที่ไม่ดีมากนัก

    การที่คุณจะทราบว่าตนเองกำลังเสี่ยงเป็นโรคอ้วนอยู่หรือไม่ ส่วนใหญ่ต้องการค่าหาดัชนีมวลกายโดยรวม (BMI) หากผลลัพธ์เผยตัวเลขตั้งแต่ 25.0-30.0 ขึ้นไปก็อาจแปลความหมายได้ว่าคุณมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน หรือกำลังเป็นโรคอ้วนอ้วนอยู่นั่นเอง

    อันตรายจากโรคอ้วน ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

    อันตรายจากโรคอ้วนอาจไม่ใช่เพียงไขมันสะสมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาได้อีกมากมาย และสามารถส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายโดยรวมได้ทั้งหมด แต่จะมีโรคอะไรบ้าง เรามาดูไป พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

    เพียงแค่โรคอ้วนโรคเดียวสามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้อย่างมากมาย และหากคุณยังเพิกเฉยต่อการดูแลสุขภาพตนเอง โรคดังกล่าวข้างต้นนี้อาจสามารถนำพาไปสู่การเกิดอาการรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

    โรคอ้วนควบคุมได้ เพียงปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

    สำหรับบุคคลใดที่กำลังเป็นโรคอ้วน หรืออยากจะป้องกันการเกิดโรคอ้วนไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ คุณสามารถเริ่มได้จากการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางประการที่มักส่งผลเสียแก่สุขภาพคุณได้ ดังนี้

    • ตรวจน้ำหนักของเป็นประจำ พร้อมหาค่าดัชนีมวลกายควบคู่
    • วางแผนการรับประทานอาหาร โดยเน้นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ แต่สารอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้
    • จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 150-300 นาที ต่อสัปดาห์

    หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมถึงการรักษาน้ำหนักให้คงที่ และการดูแลตนเองไม่ให้อาการรุนแรง หรือภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วนขึ้น คุณสามารถเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้  เพื่อตรวจเช็กสุขภาพ และรับแผนการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/09/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา