backup og meta

ลางสาด ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ลางสาด ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ลางสาด เป็นผลไม้เมืองร้อนลักษณะคล้ายลองกอง แต่มีเปลือกบางกว่า ผลกลมรี ผิวเปลือกเนียนละเอียด สีเหลืองสดใส รสชาติหวานอมเปรี้ยว อุดมไปด้วยสารอาหารและสารประกอบหลายชนิด เช่น สารลิโมนอยด์ (Limonoids) สารไฟโตเคมิคอล (Phytochemicals) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น อาจช่วยป้องกันโรคมาลาเรีย ป้องกันมะเร็ง รักษาอาการท้องร่วง

คุณค่าทางโภชนาการของลางสาด

ลางสาด ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 67 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น

นอกจากนี้ ลางสาดยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม

ประโยชน์ของลางสาดที่มีต่อสุขภาพ

ลางสาดมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของลางสาดในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

  1. อุดมไปด้วยสารพฤษเคมีไฟโตเคมิคอล

ลางสาดอุดมไปด้วยไฟโตเคมิคอลซึ่งเป็นสารพฤษเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยป้องกันโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร  Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ศึกษาเกี่ยวกับไฟโตเคมิคอลและสรรพคุณทางยาของผลไม้เมืองร้อน พบว่า ไฟโตเคมิคอลเป็นสารพฤษเคมีที่พบในลางสาด มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีคุณสมบัติทางยาและประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคเบาหวานและมะเร็ง ต้านการอักเสบ ต้านจุลชีพ

  1. อาจช่วยรักษาอาการท้องร่วง

ลางสาดอุดมไปด้วยใยอาหารที่ดีต่อระบบย่อยอาหารและลำไส้ รวมทั้งเปลือกและเมล็ดอาจมีส่วนช่วยในการแก้อาการท้องร่วงได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดจากลางสาดและลองกองที่อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย พบว่า ลางสาดมีใยอาหารค่อนข้างสูงซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อระบบย่อยอาหารในการป้องกันมะเร็งลำไส้ ต้านอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดมะเร็ง นอกจากนี้ เปลือกและเมล็ดยังช่วยแก้อาการท้องร่วง บรรเทาอาการไข้ รักษาแมลงกัดต่อย ยารักษาโรคบิด และกำจัดเซลล์มะเร็ง

  1. อาจช่วยต้านมะเร็ง

ลางสาดอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบของเซลล์ที่เกิดจากการทำลายของอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะสารประกอบลิโมนอยด์ที่พบในลางสาดที่อาจมีคุณสมบัติช่วยต้านมะเร็งและปกป้องร่างกายจากสารก่อมะเร็ง โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Pharmacology เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของสารลิโมนอยด์ พบว่า สารลิโมนอยด์มีคุณสมบัติที่ส่งผลดีต่อสุขภาพมากมาย โดยเฉพาะฤทธิ์ต้านมะเร็ง เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ ฤทธิ์ฆ่าแมลง ต้านโรคโบทูลิซึม (Botulism) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้ง อาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อราและต้านเชื้อไวรัส

  1. อาจช่วยต้านโรคมาลาเรีย

สารสกัดจากเปลือกลางสาดอาจมีคุณสมบัติช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of Natural Sciences Research เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านจุลชีพและต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากเปลือกลางสาด พบว่า สารประกอบในเปลือกลางสาดอาจมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียพลาสโมเดียม ฟัลชิปารัม (Plasmodium Falciparum) ที่ก่อให้เกิดโรคมาลาเรีย โดยขัดขวางวงจรการเจริญเติบโตและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ข้อควรระวังในการบริโภคลางสาด

ข้อควรระวังก่อนรับประทานลางสาด มีดังนี้

  • บริเวณเปลือกลางสาดอาจปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง จึงควรปอกเปลือกลางสาดด้วยมือหรืออุปกรณ์ปอกเปลือกแทนการใช้ปากกัด เพื่อป้องกันสารอันตรายเข้าสู่ร่างกาย
  • ผู้ที่มีอาการแพ้น้ำยางจากเปลือกผลไม้ควรระมัดระวังหรือใส่ถุงมือ เพื่อป้องกันน้ำยางบริเวณเปลือกของลางสาดที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น คัน ผื่นแดง แสบร้อนที่ผิวหนัง

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Limonoids: overview of significant bioactive triterpenes distributed in plants kingdom. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16462017/. Accessed April 8, 2022

Potential effects of duku (Lansium domesticum corr) and langsat (Lansium domesticum Jack) extracts on the growth of bifidobacteria SPP. https://www.researchgate.net/publication/310621290_Potential_effects_of_duku_Lansium_domesticum_corr_and_langsat_Lansium_domesticum_Jack_extracts_on_the_growth_of_bifidobacteria_SPP. Accessed April 8, 2022

Phytochemicals and Medicinal Properties of Indigenous Tropical Fruits with Potential for Commercial Development. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4906201/. Accessed April 8, 2022

ANTIMALARIAL AND ANTIBACTERIAL BIOACTIVITY OF LANGSAT (Lansium minahasae L.) BARK EXTRACT. https://www.researchgate.net/publication/335233633_ANTIMALARIAL_AND_ANTIBACTERIAL_BIOACTIVITY_OF_LANGSAT_Lansium_minahasae_L_BARK_EXTRACT. Accessed April 8, 2022

Limonoids From the Genus Melia (Meliaceae): Phytochemistry, Synthesis, Bioactivities, Pharmacokinetics, and Toxicology. https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fphar.2021.795565/full. Accessed April 8, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/04/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

มันฝรั่ง สารอาหาร ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ส้มเขียวหวาน สารอาหาร ประโยชน์ และความเสี่ยงในการบริโภค


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 12/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา