backup og meta

อบเชย ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

อบเชย ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

อบเชย เป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอม และใช้เป็นยาสมุนไพรมานานนับพันปี มีลักษณะเป็นแท่งไม้แห้ง ๆ ขนาดสั้น นอกจากนั้น ยังมีการนำเปลือกอบเชยมาบดเป็นผงสีน้ำตาล ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในอาหารและขนม ในงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า อบเชยมีสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินหลายชนิด เช่น แคโรทีน วิตามินเอ แคลเซียม โพแทสเซียม และให้ประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคมะเร็ง รักษาโรคอัลไซเมอร์

[embed-health-tool-bmi]

คุณค่าทางโภชนาการของ อบเชย

อบเชย 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 247 กิโลแคลอรี่ รวมถึงสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้

  • คาร์โบไฮเดรต 80.6 กรัม
  • โปรตีน 3.99 กรัม
  • ไขมัน 1.24 กรัม
  • แคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 431 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 64 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 60 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 10 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 3.8 มิลลิกรัม
  • เบตา แคโรทีน (Beta Carotene) 112 ไมโครกรัม

นอกจากนี้ อบเชย ยังประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ซีลีเนียม (Selenium) ทองแดง สังกะสี แมงกานีส และวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 โฟเลต (Folate) วิตามินอี วิตามินเค

ประโยชน์ของ อบเชย ต่อสุขภาพ

อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับการลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดในร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เผยแพร่ในวารสาร Diabetes Care ปี พ.ศ. 2546 นักวิจัยแบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองที่เป็นโรคเบาหวานจำนวน 60 รายออกเป็น 6 กลุ่ม โดย 3 กลุ่มแรก ให้บริโภคอบเชยในปริมาณ 1, 3 และ 6 กรัม/วัน ตามลำดับ ส่วนอีก 3 กลุ่มให้บริโภคยาหลอกในปริมาณ 1, 3 และ 6 กรัม/วัน เช่นกัน เป็นเวลา 40 วัน

เมื่อสิ้นสุดการทดลอง นักวิจัยได้ตรวจร่างกายของผู้เข้าร่วมการทดลอง พบว่า ผู้เข้าร่วมทดลองทั้ง 3 กลุ่มที่บริโภคอบเชยมีระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง 23-30 เปอร์เซ็นต์ คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ลดลง 7-27 เปอร์เซ็นต์ คอเลสเตอรอลรวมลดลง 12-26 เปอร์เซ็นต์ และน้ำตาลในเลือดระหว่างอดอาหารลดลง 18-29 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ยังเป็นงานวิจัยขนาดเล็ก ควรต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

สารซินนามาลดีไฮด์ (Cinnamaldehyde) ในอบเชย มีคุณสมบัติเพิ่มการดูดซึมน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินของเนื้อเยื่อไขมัน และช่วยปรับการทำงานของตับอ่อนให้เป็นปกติ

ข้อควรระวังในการบริโภค อบเชย

ข้อควรระวังในการบริโภคอบเชย มีดังนี้

  • อบเชยมีสารคูมาริน (Coumarin) ซึ่งหากบริโภคในปริมาณมากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพตับดังนั้น จึงควรบริโภคอบเชยในปริมาณเล็กน้อยและด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอบเชย
  • การบริโภคอบเชยปริมาณมาก อาจก่อให้เกิดพิษต่อร่างกาย และอาจทำให้ปากหรือริมฝีปากมีอาการระคายเคือง หรือเป็นแผลพุพองได้
  • อบเชยอาจมีผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของยาบางชนิด ฉะนั้น ควรปรึกษาคุณหมอหากต้องการบริโภคอบเชย
  • หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร ควรบริโภคอบเชยด้วยความระมัดระวัง และควรบริโภคอาหารให้ครบถ้วนและหลากหลาย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Spices, cinnamon, ground. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/171320/nutrients. Accessed August 10, 2022

Cinnamon improves glucose and lipids of people with type 2 diabetes. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14633804/. Accessed August 10, 2022

Cinnamon extract induces tumor cell death through inhibition of NFkappaB and AP1. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20653974/. Accessed August 10, 2022

The Relationship Between Serum VCAM-1 and Alzheimer’s Disease in Patients with Type 2 Diabetes Mellitus

. https://www.dovepress.com/the-relationship-between-serum-vcam-1-and-alzheimerrsquos-disease-in-p-peer-reviewed-fulltext-article-DMSO. Accessed August 10, 2022

Cinnamon, a promising prospect towards Alzheimer’s disease. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29258915/. Accessed August 10, 2022

Cinnamaldehyde in diabetes: A review of pharmacology, pharmacokinetics and safety. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28559210/. Accessed August 10, 2022

Cinnamon. https://www.webmd.com/diet/supplement-guide-cinnamon#:~:text=Cinnamon%20usually%20causes%20no%20side,put%20it%20on%20your%20skin. Accessed August 10, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/10/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ว่านหางจระเข้ สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สมุนไพรไทย สรรพคุณ และข้อควรระวังในการบริโภค


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

โภชนาการเพื่อสุขภาพ · โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 01/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา