backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

ทำความรู้จักกับ เอลเดอร์เบอร์รี่ ผลไม้ขนาดจิ๋ว ที่ประโยชน์สุดแจ๋ว

ทำความรู้จักกับ เอลเดอร์เบอร์รี่ ผลไม้ขนาดจิ๋ว ที่ประโยชน์สุดแจ๋ว
ทำความรู้จักกับ เอลเดอร์เบอร์รี่ ผลไม้ขนาดจิ๋ว ที่ประโยชน์สุดแจ๋ว

ส่วนใหญ่ผลไม้ที่ลงท้ายด้วยเบอร์รี่ที่เราคุ้นเคย และพบเห็นกันอยู่ทั่วไปตามซุปเปอร์มาเก็ต หรือในเมนูอาหารหวาน คงจะเป็นผลสตรอว์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ และราสพ์เบอร์รี่เสียมากกว่า แต่ทุกคนรู้ไหมคะว่า ยังคงมีเบอร์รี่อีกชนิดที่เรียกว่า เอลเดอร์เบอร์รี่ หรือ ผลพวงไข่มุก อยู่ด้วย ซึ่งวันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำบทความดี ๆ มาฝากเป็นความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้เพื่อน ๆ ทุกคนได้รู้จัก และอาจลองหามาทานไปพร้อม ๆ กันค่ะ

เอลเดอร์เบอร์รี่ คืออะไร

เอลเดอร์เบอร์รี่ หรือ ผลพวงไข่มุก (Elderberry) เป็นพืชที่มีผลมาจากต้น Sambucus โดยลักษณะของผลเป็นพวงเล็ก ๆ สีม่วงอมดำ มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปยุโรป และถูกแพร่กระจายการเพาะปลูกออกไปทั่วโลกอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อว่ารักษาไข้หวัดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งในส่วนอื่น ๆ ของมันอย่างใบ และดอกไม้ ยังสามารถนำมาใช้ เพื่อลดอาการปวด บวมอักเสบ หรือใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้

นอกจากนี้ปัจจุบันผู้ผลิตบางรายทำการคิดค้นพัฒนาจากผลไม้เล็ก ๆ เช่นนี้ นำมาทำเป็นแยม น้ำผลไม้ ไว้ทานคู่กับเมนูต่าง ๆ มากมาย เช่น ขนมปัง พาย เป็นต้น หรือสามารถรับประทานสด ๆ คู่กับสลัดผักจานโปรดของคุณก็ย่อมได้อีกด้วย

เอลเดอร์เบอร์รี่ มีประโยชน์อย่างไร ต่อร่างกาย

ผลของเอลเดอร์เบอร์รี่ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอี วิตามินซี กรดฟีนอลิก (Phenolic acids) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) และแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) อยู่มากมาย ซึ่งสารอาหารที่มีประโยชน์จากธรรมชาติล้วนมีข้อดีที่อาจเข้าไปช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายของคุณได้ ดังต่อไปนี้

  • รักษาอาการไข้หวัด

จากการศึกษาของผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดใหญ่จำนวน 60 คน พบว่าผู้ที่ทานน้ำสกัดจากเอลเดอร์เบอร์รี่ ในปริมาณ 15 ลิตร 4 ครั้งต่อวัน แสดงอาการที่ดีขึ้นในระยะเวลา 4 วัน ซึ่งต่างจากกลุ่มผู้ที่ได้รับการรักษาโดยไม่มีการทานผลเอลเดอร์เบอร์รี่ที่ใช้ระยะเวลา 7-8 วันกว่าร่างกายจะฟื้นฟู

  • ต้านสารอนุมูลอิสระภายในร่างกาย

เนื่องจากเอลเดอร์เบอร์รี่ มีฟลาโวนอยด์ และกรดฟีนอลิก ที่ทำหน้าที่เข้าไปเป็นตัวช่วยต้านสารอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี เพื่อปกป้องมิให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ขึ้น เพราะการที่ร่างกายมีปฏิกิริยานี้มากเกินไป อาจก่อให้คุณเกิดป่วยเป็นโรคร้ายแรงอย่างโรคเบาหวานชนิดที่2 และโรคมะเร็งได้

  • บำรุงสุขภาพหัวใจ

ถึงจะยังไม่มีการวิจัยที่แน่ชัด และจำเป็นที่ต้องได้รับการวิเคราะห์ต่อไปในอนาคต แต่ยังคงมีการศึกษาหนึ่งพบว่าน้ำผลไม้จาก ผลเอลเดอร์เบอร์รี่ อาจช่วยลดระดับไขมันในเลือด และคอเลสเตอรอลได้ เนื่องจากมีสารอาหารประเภทฟลาโวนอยด์ แอนโทไซยานิน ที่มีส่วนช่วยในการปรับปรุงสุขภาพหัวใจลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจได้ พร้อมทั้งยังช่วยลดความดันในโลหิตให้ลดลงอีกด้วย

ผลข้างเคียง ด้านสุขภาพ เมื่อคุณทานเอลเดอร์เบอร์รี่

การทานเอลเดอร์เบอร์รี่ควรทานอยู่ในปริมาณที่พอดี อย่างน้อยไม่เกิน 100 กรัม รวมทั้งการรับประทานสารสกัดจากใบ และดอกด้วย เพราะมิเช่นนั้น อาจส่งผลเสีย หรือผลข้างเคียงเหล่านี้แก่สุขภาพของคุณได้

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • วิงเวียนศีรษะ มึนงง
  • ท้องร่วง
  • ผดผื่นขึ้นตามลำตัว
  • ระบบหายใจขัดข้อง

อย่างไรก็ตามเอลเดอร์เบอร์รี่อาจมีอันตรายต่อสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร และเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ถึงจะยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด แต่เป็นที่ทราบกันดีในบทความข้างต้นว่าเอลเดอร์เบอร์รี่มีคุณสมบัติในการขับปัสสาวะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้ทุกเมื่อกับบุคคลกลุ่มนี้ ดังนั้นก่อนการรับประทานไม่ว่าจะเป็นรูปแบบสด หรืออาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงจากข้างต้นลง

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Elderberry: Benefits and Dangers https://www.healthline.com/nutrition/elderberry Accessed June 19, 2020

Health Benefits of Elderberry https://www.webmd.com/diet/elderberry-health-benefits Accessed June 19, 2020

The Health Benefits of Elderberry https://www.verywellhealth.com/elderberry-for-colds-and-flu-can-it-help-89559 Accessed June 19, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/07/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 01/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา