backup og meta

แอปเปิ้ลไซเดอร์ ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

แอปเปิ้ลไซเดอร์ ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

แอปเปิ้ลไซเดอร์ เป็นน้ำส้มสายชูที่ได้จากการนำน้ำแอปเปิ้ลหรือผลแอปเปิ้ลสดมาหมักรวมกับยีสต์ สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้หลากหลาย มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่เนื่องจากแอปเปิ้ลไซเดอร์มีกรดอยู่มากจึงไม่ควรดื่มโดยตรง เพราะอาจทำลายสารชั้นเคลือบฟัน นำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก

[embed-health-tool-bmr]

แอปเปิ้ลไซเดอร์ คืออะไร

แอปเปิ้ลไซเดอร์ คือน้ำสมสายชูที่ได้จากกระบวนการหมักจากผลแอปเปิ้ลกับยีสต์ ก่อให้เกิดกรดอะซิติก (Acetic Acid) หรือกรดน้ำส้มที่มีรสชาติเปรี้ยวและมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย สามารถนำมาปรุงอาหารหรือรับประทานควบคู่กับสลัด เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับกรดมากเกินไปควรรับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์เพียง 1-2 ช้อนโต๊ะต่อวัน และไม่ควรนำมาดื่มโดยตรง นอกจากนี้ แอปเปิ้ลไซเดอร์ยังมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ที่ช่วยเสริมสร้างประโยชน์ให้แก่ร่างกาย ดังนี้

  • โปรตีน เป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยเพิ่มพลังงานและช่วยนำออกซิเจนเข้าสู่เลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วทั้งร่างกาย อีกทั้งยังช่วยสร้างแอนติบอดีเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ ป้องกันอาการเจ็บป่วย และสร้างเซลล์ใหม่ให้แข็งแรง โดยแอปเปิ้ลไซเดอร์ 1 ถ้วย อาจมีโปรตีนในปริมาณ 0.3 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต หากรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอย่างพอดี อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากการย่อยอาหารเป็นน้ำตาลหรือกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดที่เป็นเชื้อเพลิงให้ร่างกายทำกิจกรรมในแต่ละวันได้คล่องตัว สำหรับแอปเปิ้ลไซเดอร์ 1 ถ้วย อาจมีคาร์โบไฮเดรต 28 กรัม
  • ไฟเบอร์ เป็นใยอาหารที่พบได้มากในผลไม้ เพื่อช่วยบรรเทาอาหารท้องผูก รักษาน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิด ในแอปเปิ้ลไซเดอร์ 1 ถ้วยอาจทำให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์ 0.5 กรัม
  • วิตามินซี เป็นหนึ่งในสารอาหารที่เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกายจากสารอนุมูลอิสระที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ โรคหลอดเลือด อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการสร้างของคอลลาเจน ช่วยดูดซึมธาตุเหล็กเพื่อบำรุงกระดูก
  • วิตามินเอ เป็นสารอาหารที่ช่วยในด้านการมองเห็น ช่วยป้องกันปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น จอประสาทตาเสื่อม และมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ปกป้องเซลล์ในร่างกายจากอนุมูลอิสระที่สร้างความเสียหายนำไปสู่โรคมะเร็ง โรคหัวใจ
  • โพแทสเซียม อาจมีส่วนช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ไตและอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ให้ทำงานเป็นไปตามปกติ
  • แคลเซียม มีส่วนช่วยบำรุงกระดูก หัวใจ กล้ามเนื้อ เส้นประสาทให้แข็งแรง ควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามปกติ
  • เหล็ก เป็นแร่ธาตุอาหารที่ช่วยนำส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วทั้งร่างกาย ป้องกันภาวะโลหิตจาง

ประโยชน์ของแอปเปิ้ลไซเดอร์ 

ประโยชน์จากการรับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์ มีดังนี้

  • ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด 

แอปเปิ้ลไซเดอร์อาจช่วยชะลอหรือหยุดกระบวนการออกซิเดชั่นของคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ที่อาจนำไปสู่การก่อตัวของคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง และเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

  • ป้องกันปัญหาในระบบย่อยอาหาร

ถึงแม้แอปเปิ้ลไซเดอร์จะมีปริมาณไฟเบอร์เพียง 0.5 กรัม/1 ถ้วยตวง แต่ก็อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ลำไส้แปรปรวน เสริมสร้างกระบวนการย่อยอาหารให้ดีขึ้น 

  • ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งบางชนิด 

สารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในแอปเปิ้ลไซเดอร์อาจช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ลดโอกาสเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ทำลายเซลล์ และอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม

  • ลดน้ำหนัก 

จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพบว่า กรดอะซิติก (Acetic Acid) ที่เป็นส่วนประกอบหลักของน้ำส้มสายชูอาจช่วยยับยั้งการสะสมของไขมันในร่างกาย โดยทดสอบในคนญี่ปุ่นที่เป็นโรคอ้วน 3 กลุ่ม คัดคนที่มีน้ำหนักใกล้เคียงกันบริโภคเครื่องดื่ม 500 มิลลิลิตร โดยกลุ่มแรกดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำส้มสายชู 15 มิลลิลิตร กลุ่มที่ 2 ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำส้มสายชู 30 มิลลิลิตร กลุ่มที่ 3 ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำส้มสายชู 0 มิลลิกรัมและยาหลอก ผลปรากฏว่าระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ค่าดัชนีมวลกาย น้ำหนักตัว รอบเอว และปริมาณไขมันของผู้ที่ดื่มน้ำส้มสายชูต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก

  • ลดระดับน้ำตาลในเลือด

แอปเปิ้ลไซเดอร์มีโพลีฟีนอล (Polyphenols) ที่มีคุณสมบัติลดการอักเสบ ต่อสู้กับอนุมูลอิสระ อาจช่วยลดความเสี่ยงการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ทำให้ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน และป้องกันภาวะไขมันในเลือดผิดปกติได้

ข้อควรระวังการรับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์

เนื่องจากแอปเปิ้ลไซเดอร์มีความเป็นกรดสูงอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพในช่องปากทำลายสารเคลือบฟัน เจ็บคอ ปวดท้อง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ยากขึ้น และอาจลดประสิทธิภาพของยากับยาบางชนิดที่ใช้ร่วมอยู่ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หากมีความกังวลใจอาจเข้าตรวจสุขภาพจากคุณหมอว่าร่างกายเหมาะสมกับการรับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์หรือไม่ 

นอกจากนี้ การรับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์อาจทำให้ร่างกายได้รับแบคทีเรียซาลโมเนลล่า (Salmonella)  อีโคไล (E. coli) ที่เป็นอันตราย หากแอปเปิ้ลไซเดอร์ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ ดังนั้น จึงควรตรวจสอบฉลากข้างผลิตภัณฑ์ว่ามีเครื่องหมายยืนยันว่าผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแล้วหรือไม่ และอ่านคำแนะนำการรับประทาน การเก็บรักษาเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกซื้อ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Apple Cider: Are There Health Benefits? https://www.webmd.com/diet/health-benefits-apple-cider#1 . Accessed July 18, 2023.

Drinking apple cider vinegar for weight loss seems far-fetched. Does it work?

https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/weight-loss/expert-answers/apple-cider-vinegar-for-weight-loss/faq-20058394 . Accessed July 18, 2023.

The effect of apple vinegar consumption on glycemic indices, blood pressure, oxidative stress, and homocysteine in patients with type 2 diabetes and dyslipidemia: A randomized controlled clinical trial

 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31451249/ . Accessed July 18, 2023.

Vinegar intake reduces body weight, body fat mass, and serum triglyceride levels in obese Japanese subjects

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19661687/ . Accessed July 18, 2023.

Benefits of Protein. https://www.webmd.com/diet/benefits-protein#1 . Accessed July 18, 2023.

Carbohydrates: How carbs fit into a healthy diet. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/carbohydrates/art-20045705 . Accessed July 18, 2023.

Dietary fiber: Essential for a healthy diet. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/fiber/art-20043983 . Accessed July 18, 2023.

The Benefits of Vitamin C. https://www.webmd.com/diet/features/the-benefits-of-vitamin-c#1 . Accessed July 18, 2023.

Vitamin A. https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements-vitamin-a/art-20365945 . Accessed July 18, 2023.

Potassium. https://www.webmd.com/diet/supplement-guide-potassium#1 . Accessed July 18, 2023.

What You Need to Know About Iron Supplements. https://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/features/iron-supplements . Accessed July 18, 2023.

Calcium and calcium supplements: Achieving the right balance. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/calcium-supplements/art-20047097 . Accessed July 18, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขมันที่หลัง ลดได้ด้วยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย

วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 18/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา