backup og meta

อาหารเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยง หากไม่อยากให้ หอบหืด กำเริบ

อาหารเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยง หากไม่อยากให้ หอบหืด กำเริบ

อาการ หอบหืด กำเริบ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้น คือ อาหารที่คุณรับประทาน แล้วจริงหรือไม่! ที่อาหารสามารถกระตุ้นการเกิดหอบหืดได้ …โชคไม่ดีที่นี่เป็นความจริง ฉะนั้นแล้วอาหารประเภทใด? ที่ควรหลีกเลี่ยงล่ะ… ลองอ่านบทความที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลมาให้และลองสอบถามคุณหมอของคุณดูว่า คุณควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อการเลือกรับประทานอาหารอย่างปลอดภัย เกี่ยวกับการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรค หอบ หืดอย่างถูกต้อง

อาหารที่เสี่ยงทำให้ หอบหืด กำเริบ

อาหารที่มีสารกันบูด หรือ ซัลไฟต์เป็นส่วนประกอบ

สารในกลุ่มซัลไฟต์ (Sulfites) เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้สีของผลไม้อบแห้งเปลี่ยนสี ลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และทำให้ผลไม้สุก บางคนอาจได้รับผลข้างเคียงจากสารนี้เพียงเล็กน้อย เช่น เกิดลมพิษ สำหรับบางคนอาจเกิดอาการที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นหายใจติดขัด อาการช็อค ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้องหรือท้องร่วง

ในกรณีของผู้ป่วยหอบหืด ปฎิกิริยาที่รุนแรงหลังจากทานผลไม้อบแห้ง ที่มีส่วนผสมของสารซัลไฟต์นั้น มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นสูง

สารซัลไฟต์สามารถพบได้ ในผลไม้อบแห้ง อย่าง แครนเบอร์รี่ ลูกเกด สับปะรด มันฝรั่งสำเร็จรูป ไวน์ เบียร์ ชา น้ำผลไม้ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ แยม ซุปกึ่งสำเร็จรูป และกุ้งแห้ง

ควรครวจสอบฉลากบนผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอาหารและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมซัลไฟต์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียมไบซัลไฟต์ โพแทสเซียม ไบซัลไฟต์ โซเดียม เมตาไบซัลไฟต์ และโพแทสเซียม เมตาไบซัลไฟต์

ผลิตภัณฑ์จากนม

ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม ชีส และโยเกิร์ต นับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถกระตุ้นอาการทำให้ หอบหืด กำเริบ  ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกนี้ ส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร และเพิ่มปริมาณของเยื่อมูก ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณของไขมันสูง เช่น นมแบบไขมันร้อยะละ 100 ส่งผลให้เกิดการอักเสบระคายเคือง

อย่างไรก็ตาม นมและผลิตภัณฑ์จากนมนั้น ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ควรปรึกษาแพทย์ดูว่า ผลิตภัณฑ์จากนม ไม่ว่าจะเป็นโยเกิร์ต ซุปข้น หรือไอศกรีมนั้น เหมาะกับคุณหรือเปล่า

เนื้อสัตว์แปรรูป

งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม และเบคอน สามารทำให้อาการหอบหืดแย่ลงได้ งานวิจัยเหล่านี้ชี้ว่าสารกันบูด ที่เรียกว่า ไนไตรท์ ซึ่งพบในอาหารแปรรูป สามารถทำร้ายระบบทางเดินหายใจได้ เพราะอาหารประเภทนี้ยังมีไขมันอิ่มตัวและโซเดียมเป็นส่วนประกอบซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการหอบหืดได้

ดังนั้น คุณควรเลือกรับประทานปลาหรือสัตว์ปีกที่ไม่มีหนัง ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่มีประโยชน์ แทนการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป และเนื้อสัตว์ที่ไขมันสูง

อาหารที่มีเกลือสูง

เกลือหรือโซเดียมถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหาร และการถนอมอาหารให้อยู่ได้นาน อย่างไรก็ตาม การบริโภคเกลือในปริมาณที่มากเกินไปสามารถทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้

ปริมาณเกลือที่ควรบริโภคต่อวัน คือ 2,300 มิลลิกรัม หรือน้อยกว่า คุณควรเลือกอาหารที่ระบุว่า “ไม่มีโซเดียม’ หรือ “โซเดียมต่ำ’ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น เพรสเซล ชีส อาหารกระป๋อง มันฝรั่งกรอบ แครกเกอร์

คุณควรคุมปริมาณการบริโภคโซเดียมให้น้อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคกระดูก โรคไต และปัญหาสุขภาพอื่นๆ

เมื่อทราบดังนี้แล้วว่า มีอาหารหลายประเภท สามารถกระตุ้นอาการหอบหืดให้กำเริบได้ แต่คุณไม่ต้องกังวลจนเกินไป เพราะคุณสามารถควบคุมและดูแลการรับประทานอาหารได้ เพียงปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับปัจจัยที่สามารถกระตุ้นอาการของโรค และจดบันทึกอาหารที่คุณบริโภค เช่น หากคุณบริโภคอาหารบางประเภทแล้วเกิดอาการขึ้น ก็เพียงแต่จดบันทึกชนิดของอาหารนั้นและอาการที่เกิดขึ้นเอาไว้ รวมถึงระมัดระวังในการบริโภค เพื่อการป้องกันตัวเองในระยะยาวอย่างปลอดภัย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Asthma and Diet. http://www.webmd.com/asthma/guide/asthma-diet-what-you-should-know#1. Accessed June 3, 2017.

Allergies and Asthma. http://www.webmd.com/asthma/guide/allergies-asthma#1. Accessed June 3, 2017.

Dairy products. https://www.nationalasthma.org.au/living-with-asthma/resources/patients-carers/factsheets/dairy-products. Accessed June 3, 2017.

Foods to Avoid When Asthmatic. http://www.livestrong.com/article/374717-foods-to-avoid-when-asthmatic/. Accessed June 3, 2017.

The Health Risks of Sulfur Dioxide in Dried Fruits. http://www.livestrong.com/article/244678-dried-apricots-vitamins/. Accessed June 3, 2017.

Processed meat ‘could be bad for asthma’. http://www.bbc.com/news/health-38370057. Accessed June 3, 2017.

Knox AJ. Salt and asthma. BMJ : British Medical Journal. 1993;307(6913):1159-1160.

Health Risks and Disease Related to Salt and Sodium. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/salt-and-sodium/sodium-health-risks-and-disease/. Accessed June 3, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

หอบหืดกับอาหาร โภชนาการสำหรับคนเป็นโรคหอบหืด

ป่วยเป็น ไข้เลือดออก อาหาร 6 อย่างที่ช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา