backup og meta

เครื่องดื่มคลายเครียด ช่วยคลายกังวล ขจัดความเครียด

เครื่องดื่มคลายเครียด ช่วยคลายกังวล ขจัดความเครียด

ในช่วงที่รู้สึกเครียด การกินอาหารหรือขนมที่ชอบ อาจช่วยบรรเทาความเครียดและ ความวิตกกังวลได้ นอกจากนี้ เครื่องดื่มคลายเครียด บางชนิด อาจมีสารต้านอนุมูลอิสระ กรดอะมิโนที่อาจมีคุณสมบัติช่วยทำให้รู้สึกสงบใจ คลายความกังวล และความเครียดได้ นอกจากนี้ ยังอาจช่วยทำให้หลับสนิท ซึ่งการนอนหลับสนิทอาจช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลายได้

เครื่องดื่มคลายเครียด มีอะไรบ้าง

5-เครื่องดื่มคลายเครียด-จัดการความกังวล-ความเครียด

ชาเขียว

ในชาเขียวนั้นมีกรดอะมิโนที่เรียกว่า ธีอะนีน (Theanine) ซึ่งอาจช่วยเพิ่มการทำงานของสมอง ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และอาจช่วยลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด เมื่อดื่มแล้วจึงอาจทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นได้ โดยผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลาย ๆ คนมักที่จะรับประทานอาหารเสริมธีอะนีน เพื่อช่วยในการลดความวิตกกังวลและความเครียดเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในชาเขียวนั้นมีสารคาเฟอีนอยู่ ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ หรือผู้ที่มีอาการใจสั่นเมื่อบริโภคคาเฟอีน ควรระมัดระวังการบริโภคชาเขียว โดยควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม และไม่ควรดื่มก่อนนอน เพราะอาจทำให้นอนไม่หลับได้

น้ำขิง

การดื่มน้ำขิง นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้แล้ว ในน้ำขิงยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภาวะเครียดที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidative Stress) และอาจส่งผลกระทบต่อสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ทำให้อาจช่วยลดระดับของความเครียด ความวิตกกังวล และยังอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย

นมร้อน

การดื่มนมร้อนก่อนนอนอาจช่วยให้นอนหลับได้สบายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการดื่มนมร้อนอาจช่วยทำให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มนมร้อนก่อนนอนเป็นประจำทุกวัน เพราะเหมือนเป็นสัญญาณบ่งบอกร่างกายว่าถึงเวลานอนแล้ว ทำให้ร่างกายเกิดความรู้สึกผ่อนคลายและง่วงนอนขึ้นในทันที

นอกจากนี้ อาหารที่มีแคลเซียมสูง นอกจากจะช่วยในเรื่องของการบำรุงสุขภาพกระดูกและฟันให้แข็งแรงแล้ว ยังอาจช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ สำหรับวิตามินดีที่พบในนมอาจช่วยทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และทำให้รู้สึกอารมณ์ดีขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม บางคนอาจจะมีอาการแพ้น้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในนม ซึ่งทำให้มีอาการท้องไส้ปั่นป่วน หรืออาหารไม่ย่อยหลังจากดื่มนม จึงไม่ควรดื่มนมในขณะท้องว่าง แต่ควรหาขนมปังหรือขนมมากินรองท้อง เพื่อช่วยให้ลำไส้สามารถย่อยได้ง่ายขึ้น หรือดื่มนมที่ไม่มีน้ำตาลแลคโตส หรือนมถั่วเหลือง เป็นต้น

น้ำส้มคั้น

รสชาติหวานอมเปรี้ยวในน้ำส้มคั้น นอกจากจะทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าแล้ว ยังอาจช่วยลดระดับของความเครียดสะสมในร่างกายได้ และยังอาจช่วยป้องกันความวิตกกังวลได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ควรเลือกดื่มเป็นน้ำส้มคั้นสดใหม่ ๆ เพราะหากทิ้งไว้นานอาจทำให้สูญเสียวิตามินซีไปได้ นอกจากนี้ ยังควรเลือกน้ำส้มที่ไม่ใส่น้ำตาลและน้ำเชื่อม เพื่อไม่เป็นการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป และอาจนำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน

ชาคาโมมายล์

ชาคาโมมายล์เป็นชาที่มีคุณสมบัติในการทำให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ง่าย และหลับสบาย นอกจากนี้ การดื่มชาคาโมมายล์ยังอาจช่วยลดอาการระดับปานกลางถึงรุนแรงของโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder หรือ GAD) ได้ กลิ่นหอมของดอกคาโมมายล์ยังช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และมีอารมณ์มากขึ้นได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เครื่องดื่มคลายเครียดเหล่านี้ อาจช่วยบรรเทาความเครียดและความวิตกกังวลเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนการบำบัดหรือการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญได้ หากมีความเครียดมาก ๆ อาจลองหากิจกรรมอื่นทำร่วมด้วย เพื่อช่วยในการผ่อนคลายความเครียด หรือเข้ารับคำปรึกษาโดยตรงจากคุณหมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ความเครียดทำลายสุขภาพขในภายหลัง

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bode AM, et al. (2011). Chapter 7: The amazing and mighty ginger. Herbal medicine: Biomolecular and clinical aspects. ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK92775/. Accessed June 19, 2020

Brighenti F, et al. (1995). Effect of neutralized and native vinegar on blood glucose and acetate responses to a mixed meal in healthy subjects. ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7796781. Accessed June 19, 2020

Chandrasekhar K, et al. (2012). A prospective, randomized double-blind, placebo-controlled study of safety and efficacy of a high-concentration full-spectrum extract of ashwagandha root in reducing stress and anxiety in adults. ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3573577/. Accessed June 19, 2020

Cui XY, et al. (2012). Extract of ganoderma lucidum prolongs sleep time in rats. ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22207209. Accessed June 19, 2020

Fadaki F, et al. (2010). The effects of ginger extract and diazepam on anxiety reduction in animal model. ijper.org/sites/default/files/Doi%20-%20article%20id%2010.5530ijper.51.3s.4.pdf. Accessed June 19, 2020

Apaydin EA, et al. (2016). A systematic review of St. John’s wort for major depressive disorder. DOI: 10.1186/s13643-016-0325-2. Accessed June 19, 2020

Baek JH, et al. (2014). Clinical applications of herbal medicines for anxiety and insomnia; targeting patients with bipolar disorder. DOI: 10.1177/0004867414539198. Accessed June 19, 2020

Barati F, et al. (2016). The effect of aromatherapy on anxiety in patients. DOI: 10.5812/numonthly.38347. Accessed June 19, 2020

Bhatt C, et al. (2013). Synergistic potentiation of anti-anxiety activity of valerian and alprazolam by liquorice. DOI: 10.4103/0253-7613.108328. Accessed June 19, 2020

Bhattacharyya D, et al. (2008). Controlled programmed trial of Ocimum sanctum lead on generalized anxiety disorders. ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19253862. Accessed June 19, 2020

Cases J, et al. (2011). Pilot trial of Melissa officinalis L. leaf extract in the treatment of volunteers suffering from mild-to-moderate anxiety disorders and sleep disturbances. DOI: 10.1007/s12349-010-0045-4. Accessed June 19, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/10/2022

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีรับมือกับความเครียด ในช่วงโควิด-19 ระบาด

แค่นอน ฟังเสียงฝน ลดความเครียด ได้จริงหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 10/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา