backup og meta

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ กับ เบาหวาน มีประโยชน์อย่างไร

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ กับ เบาหวาน มีประโยชน์อย่างไร

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ (Riceberry) เป็นข้าวพันธุ์ไทยชนิดหนึ่งที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ระหว่างข้าวจ้าวหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดข้าวเป็นสีม่วง เมื่อหุงสุกจะให้สัมผัสเหนียวหนึบ และสามารถบริโภคได้โดยไม่ต้องขัดสี ทั้งนี้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เหมาะกับคนเป็นเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้าตาลในเลือด เนื่องจากข้าวไรซ์เบอร์รี่อุดมไปด้วยสารต่าง ๆ ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ว่าจะเป็นแอนโธไซยานิน (Anthocyanins) กรามิสเตอรอล (Gramisterol) แกมมา โอริซานอล (Gamma Oryzanol) หรือเบตา แคโรทีน (Beta Carotene)

[embed-health-tool-bmi]

ไรซ์เบอร์รี่ คืออะไร

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เกิดจากการผสมข้าว 2 สายพันธุ์ คือ ข้าวหอมนิลและข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมล็ดเป็นสีม่วงเข้ม และให้รสสัมผัสนุ่มหนึบหลังหุงสุก

ปัจจุบัน ข้าวชนิดนี้ปลูกมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีประโยชน์อย่างไรต่อผู้ป่วยเบาหวาน

ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) หรือค่าความเร็วของน้ำตาลในเลือดที่จะเพิ่มขึ้นหลังบริโภคเข้าร่างกาย ที่ 62 ซึ่งจัดอยู่ในระดับปานกลาง และต่ำกว่าค่าดัชนีน้ำตาลของข้าวโดยทั่วไปที่อยู่ที่ 73 จึงถือว่าเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป

นอกจากนี้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังมีสารต่าง ๆ ที่มีสรรพคุณร่วมในการบรรเทาหรือต้านเบาหวาน ด้วยการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป เช่น แอนโธไซยานิน กรามิสเตอรอล แกมมา โอริซานอล เบตา แคโรทีน ลูทีน

บทความวิชาการชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับข้าวไรซ์เบอร์รี่ในฐานะเป็นอาหารเสริมและสุดยอดอาหารต้านอนุมูลอิสระ เผยแพร่ในวารสารออนไลน์ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2563 อ้างถึงการทดลองในหนูทดลองที่เป็นโรคเบาหวานชิ้นหนึ่งว่า การบริโภคอาหารเสริมจากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงช่วยบรรเทาภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidative Stress) และการอักเสบภายในร่างกาย อีกทั้งหนูทดลองที่ป่วยเป็นเบาหวานและบริโภคอาหารเสริมจากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) เพิ่มขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ลดลงด้วย

อย่างไรก็ตาม การทดลองดังกล่าวเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการทดลองในมนุษย์เพิ่มเติม เพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพของข้าวไรซ์เบอร์รี่ในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน

ข้อควระวังในการบริโภค ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เบาหวาน

แม้ว่าข้าวไรซ์เบอร์รี่อาจมีประโยชน์ต่อผู้เป็นเบาหวานในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ก็ควรบริโภคด้วยความระมัดระวัง ดังนี้

  1. ควรจำกัดปริมาณข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่รับประทานในแต่ละมื้อ
  2. ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีค่าดัชนีน้ำตาลปานกลาง ควรบริโภคควบคู่กับอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ โปรตีนไขมันน้อย ไขมันชนิดดี ผลไม้ และผักที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ
  3. ในแต่ละมื้อควรบริโภคข้าวไรซ์เบอร์รี่พร้อมกับอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วนและหลากหลาย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Riceberry rice Thailand’s antioxidant-packed nutraceutical and super food!. https://researchoutreach.org/articles/riceberr-rice-thailands-antioxidant-packed-nutraceutical-super-food/. Accessed August 5, 2022

Riceberry rice for well-being. https://www.openaccessgovernment.org/riceberry-rice-for-well-being/119541/#:~:text=In%20addition%20to%20cancer%20prevention,such%20as%20blood%20glucose%20and. Accessed August 5, 2022

Tips for Reaping the Benefits of Whole Grains. https://www.webmd.com/diet/features/benefits-whole-grains. Accessed August 5, 2022

HDL Cholesterol and Risk of Type 2 Diabetes: A Mendelian Randomization Study. https://diabetesjournals.org/diabetes/article/64/9/3328/34865/HDL-Cholesterol-and-Risk-of-Type-2-Diabetes-A. Accessed August 5, 2022

High Cholesterol and Diabetes. https://www.webmd.com/cholesterol-management/high-cholesterol-diabetes. Accessed August 5, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้าวสาลี ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ข้าวโพดอ่อน ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

โภชนาการเพื่อสุขภาพ · โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 30/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา