backup og meta

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ กินอย่างไรให้สยบเกาต์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ กินอย่างไรให้สยบเกาต์

การเลือก อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์  ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เพราะการวางแผนเลือกอาหารเป็นอย่างดี ก็จะเป็นอีกตัวช่วยที่ทำให้โรคเกาต์ไม่กำเริบขึ้นมาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ขอแนะนำ อาหารสำหรับผู้ที่ป่วยโรคเกาต์ ว่ากินอะไรได้บ้าง อะไรที่ไม่ควรกิน และอะไรรับประทานแล้วดีต่ออาการของโรคเกาต์กันบ้าง

โรคเกาต์คืออะไร

โรคเกาต์ (Gout) คือ โรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งกรดยูริกคือของเสียที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเพื่อทำลาย พิวรีน (พิวรีนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีในอาหารหลายๆ ชนิดอีกด้วย)

หากมีปริมาณของกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการตกผลึกทำให้สะสมบริเวณรอบๆ ข้อต่อ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด และบวม ซึ่งพฤติกรรมการกินจะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้เกิดโรคเกาต์

โรคเกาต์ อาหาร สัมพันธ์กันอย่างไร

หากคุณเป็นโรคเกาต์ เรื่องของอาหารการกินถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะอาหารบางอย่างอาจไปเพิ่มระดับกรดยูริกให้กับร่างกายได้ และอาหารที่กระตุ้นโรคเกาต์มักจะเป็นอาหารที่มีพิวรีน (Purines) ในปริมาณสูง ซึ่งสารนี้ก็สามารถพบได้ในอาหารทั่วไป เมื่อร่างกายย่อยอาหารที่มีพิวรีนแล้วจะทำให้ร่างกายเหลือกรดยูริกที่เป็นของเสีย

คนที่เป็นโรคเกาต์ ไม่สามารถกำจัดกรดยูริกส่วนเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูงอาจทำให้กรดยูริกสะสมตัวและทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ แต่งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเลือกกินอาหารที่พิวรีนต่ำและใช้ยาควบคู่กันไปอย่างเหมาะสมช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือ เครื่องดื่มฟรุกโตสและน้ำตาล ช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาต์และกระตุ้นโรคเกาต์ได้ แม้ว่าจะไม่ใช่อาหารประเภทที่เต็มไปด้วยพิวรีน และยังทำให้ระดับกรดยูริกเพิ่มขึ้นด้วยการเร่งกระบวนการผลิตเซลล์

ตัวอย่างการศึกษาที่มีผู้เข้าร่วมกว่า 125,000 คนพบว่า คนที่กินฟรุกโตสมากที่สุดมีความเสี่ยงสูงกว่า 62% ในการเป็นโรคเกาต์ ในทางกลับกันงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองและอาหารเสริมวิตามินซีอาจช่วยป้องกันการโจมตีของโรคเกาต์โดยการลดระดับกรดยูริกในเลือดได้

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

หากอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาต์ ได้อย่างฉับพลันให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผู้ร้ายอย่างพิวรีน ที่มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมนอกจากนี้คุณควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟรักโทส (Fructose) สูง เช่น

  • เครื่องในสัตว์ทั้งหลาย เช่น ไต ตับ และสมอง
  • สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้า เนื้อกวาง
  • ปลาที่มีน้ำมันมาก เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน
  • อาหารทะเลอื่นๆ เช่น หอยเชลล์ ปู กุ้งและไข่ปลา
  • เครื่องดื่มหวานโดยเฉพาะน้ำผลไม้และเครื่องดื่มหวานๆ
  • น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำหวานจากเกสรดอกไม้ และน้ำเชื่อมฟรักโทส
  • ยีสต์ แอลกอฮอล์ เบียร์และสุรากลั่น มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงของโรคเกาต์และการโจมตีให้เกิดขึ้นซ้ำ แต่การบริโภคไวน์ในระดับปานกลางดูเหมือนจะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาต์
  • ผักที่มีพิวรีนสูงอย่างหน่อไม้และผักโขม
  • นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการทานคาร์โบไฮเดรตที่บริสุทธิ์ เช่น ขนมปังขาว เค้กและคุกกี้ แม้ว่าอาหารเหล่านี้จะไม่มีพิวรีนและฟรักโทสสูง แต่มีสารอาหารที่ต่ำและอาจเพิ่มระดับกรดยูริกได้

กินอย่างพอเหมาะป้องกันโรคเกาต์

นอกจากนี้ยังมีอาหารที่สามารถกินได้ แต่ต้องกินอย่างพอเหมาะ ไม่มากจนเกินไป อย่างเนื้อแดง สัตว์ปีก เนื้อสัตว์เหล่านี้สามารถบริโภคได้ แต่อยู่ในปริมาณที่พอประมาณ โดยต้องจำกัดปริมาณให้อยู่ที่ประมาณ 115-170 กรัมใน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะอาหารเหล่านี้มีปริมาณของพิวรีนอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งถือว่าเป็น 100-200 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมได้ ดังนั้นการกินอาหารเหล่านี้มากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคเกาต์ได้

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ 

จากการศึกษาพบว่าคนที่กินอาหารที่มีวิตามินซีเยอะๆ จะลดความเสี่ยงในการเป็นเกาต์ได้ นอกจากนี้ยังมีอาหารอื่นๆ ที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งจะต้องมีพิวรีนน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม เช่น

  • ผลไม้ ผลไม้ส่วนใหญ่ดีสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกาต์ โดยเฉพาะเชอร์รี่ ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาต์และลดการอักเสบ
  • ผัก ผักทั้งหมดมีประโยชน์ ส่งผลดีต่อโรคเกาต์ อาทิ มันฝรั่ง ถั่ว เห็ด มะเขือยาว และผักใบเขียวอื่นๆ
  • พืชตระกูลถั่วทั้งหมดนั้นดีไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง ถั่วเลนทิล
  • ถั่วเปลือกแข็งทั้งหมดและเมล็ดพันธุ์
  • ธัญพืช รวมทั้งข้าวโอ๊ต ข้าวกล้องและข้าวบาร์เลย์
  • นมทั้งหมดมีความปลอดภัย แต่นมไขมันต่ำจะเป็นประโยชน์มากกว่า
  • ไข่
  • เครื่องดื่ม กาแฟ ชาและชาเขียว
  • สมุนไพรและเครื่องเทศทั้งหมด
  • น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และน้ำมันแฟลกซ์

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Best diet for gout : what to eat ? what to avoid. https://www.healthline.com/nutrition/best-diet-for-gout. Accesed December 21, 2018

Gout diet : what’s allowed, what’s not. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/gout-diet/art-20048524. Accesed December 21, 2018

All about gout and diet. http://www.ukgoutsociety.org/docs/goutsociety-allaboutgoutanddiet-0113.pdf. Accesed December 21, 2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘คาร์โนซีน’ สุดยอดสารอาหารบำรุงสมอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา