ไวรัสโคโรนา

โรค Covid-19 ที่แพร่ระบาดและส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ร้อยล้านรายทั่วโลก เป็น ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ชนิดหนึ่ง แต่ไวรัสโคโรนานั้นไม่ได้มีเพียงแค่ Covid-19 เท่านั้น ยังมีไวรัสก่อโรคอีกมากมาย ที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลมาให้อ่านกัน ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไวรัสโคโรนา

สัญญาณเตือน อาการลองโควิด มีอะไรบ้าง รักษาอย่างไร

อาการลองโควิด แตกต่างไปในแต่ละราย โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ เหนื่อยล้าอย่างมาก เหนื่อยง่าย รู้สึกหายใจไม่ออก สูญเสียการได้กลิ่นหรือรับรู้รสชาติ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นผื่น หากรู้สึกว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ควรดูแลตนเองในเบื้องต้นด้วยการนอนหลับให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงร่างกาย และไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาตามอาการ หรือประเมินสภาพร่างกายเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม อาจช่วยให้อาการลองโควิดหายไปได้ในที่สุด [embed-health-tool-bmi] อาการลองโควิด คืออะไร อาการลองโควิด (Long-term effects of COVID-19 หรือ Long COVID) เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากหายจากการติดเชื้อโควิดแล้ว โดยร่างกายจะมีอาการผิดปกติหลังจากได้รับเชื้อนานกว่า 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป โดยทั่วไป ผู้ป่วยโควิด-19 ไม่ว่าจะมีอาการเล็กน้อยหรือรุนแรง ก็ล้วนมีความเสี่ยงที่จะเป็นลองโควิดหรืออาการป่วยบางอย่างในระยะยาวได้ แม้ว่าจะตรวจไม่พบเชื้อในร่างกายแล้วก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงอาการลองโควิด ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ออาการลองโควิด ได้แก่ ผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรงจากโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือต้องการการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดในฐานะผู้ป่วยหนัก ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือเป็นโรคเรื้อรังอยู่แล้วก่อนที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอาการของกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็กหรือภาวะมิสซี (MIS- C) และกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในผู้ใหญ่ หรือภาวะมิสเอ (MIS-A) ในช่วงที่เป็นโควิดหรือหลังหายจากโควิด ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ยาก เกิดจากระบบต่าง ๆ ในร่างกายเกิดการอักเสบ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตได้ อาการลองโควิดเป็นอย่างไร โควิด-19 […]

สำรวจ ไวรัสโคโรนา

ไวรัสโคโรนา

ในช่วงโควิด-19 จะป้องกันตัวได้อย่างไร เมื่อจำเป็นต้องออกจากบ้าน

ในช่วงที่โควิด-19 กำลังแพร่ระบาดนี้ หลายๆ บ้านเลือกที่จะใช้วิธีการกักตัวอยู่ที่บ้าน เพื่อลดการออกไปพบปะผู้คน และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ แต่การกักตัวอยู่ที่บ้านก็ใช่ว่าเราจะสามารถขังตัวเองไว้ในบ้านได้ตลอด และอาจจะมีเรื่องทำให้เราจำเป็นต้องออกจากบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการออกไปซื้ออาหาร รับของ หรือทำธุระอื่นๆ บทความนี้จะมาแนะนำวิธี การป้องกันตัวจากโควิด 19 เมื่อเราจำเป็นต้องออกจากบ้าน การป้องกันตัวจากโควิด 19 เมื่อต้องออกไปข้างนอก ออกไปซื้ออาหารและสินค้าจำเป็น อาหารและสิ่งของจำเป็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร เนื้อสัตว์ ไข่ หรือสิ่งของ เช่น สบู่ ครีมอาบน้ำ ยาสระผม หรือยาสามัญประจำบ้านต่างๆ เป็นของสำคัญที่จำเป็นต้องกักตุน และมักจะหมดไปเป็นอย่างแรกๆ ทำให้เราจำเป็นต้องออกไปข้างนอกเพื่อหาซื้อมาเติม เมื่อจำเป็นต้องออกไปข้างนอกเพื่อซื้ออาหารและสิ่งของเครื่องใช้ ควรพยายามป้องกันตัวเองจากโควิด-19 ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ หากเป็นไปได้ ควรเลือกใช้บริการสั่งของส่งถึงบ้าน ในปัจจุบันนี้มีบริการส่งสินค้าและอาหารตรงถึงบ้านให้เลือกใช้อย่างมากมาย ทำให้เราไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านไปซื้อของเลย สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน จะใช้เป็นหน้ากากผ้าก็ได้ พยายามเลือกเวลาที่คนไม่ค่อยเยอะ เช่น เช้าตรู่ หรือดึกๆ หลีกเลี่ยงบริเวณที่คนหนาแน่น และพยายามยืนให้ห่างจากคนอื่นเวลาต่อคิวจ่ายเงิน เลือกซื้อของจากร้านที่ดูมั่นใจว่าสะอาด มีเจลล้างมือให้ และคนขายหรือคนซื้อโดยรอบไม่มีอาการป่วยให้เห็น พยายามอย่าสัมผัสหน้า จมูก หรือปากเป็นอันขาด ถ้าเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเงินสด โดยเลือกวิธีจ่ายผ่านทางออนไลน์ เครดิตการ์ด หรือการโอนเข้าทางบัญชีแทน ใช้เจลล้างมือทุกครั้งหลังจากซื้อของหรือจับเงิน เมื่อกลับถึงบ้าน ควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที ถอดหน้ากากอนามัย โดยพยายามไม่จับบริเวณตรงกลางหน้ากาก แล้วทิ้งหน้ากาก หรือซักหน้ากากทันทีหากเป็นหน้ากากผ้า ออกไปรับของ การสั่งของให้มาส่งที่บ้าน เรายังจำเป็นต้องออกจากบ้านไปรับสินค้าและจ่ายเงิน ในช่วงระหว่างนี้ […]


ไวรัสโคโรนา

ยาสามัญประจำบ้าน มีติดบ้านไว้ อุ่นใจ ไม่ต้องไปโรงพยาบาล ในช่วงโควิด-19 ระบาด

ยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาที่ทุก ๆ บ้านควรมีติดไว้ เผื่อเกิดเหตุการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน และด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน ทำให้ยากที่จะต้องออกจากบ้านไปซื้อของบ่อย ๆ แถมในช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงที่รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวส์ ซึ่งห้ามออกจากบ้านหลัง 22.00 -04.00 นาฬิกา นอกจากกักตุนอาหารแล้ว ยังต้องเตรียมยาไว้ด้วย หากเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉินแต่ไม่มียาสามัญประจำบ้าน ก็อาจทำให้ยากต่อการบรรเทาอาการ วันนี้ Hello คุณหมอ มียาสามัญประจำบ้านที่ทุกบ้านควรมีติดไว้ ยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร ยาสามัญประจำบ้าน (First Aid Kits) เป็นยาที่กระทรวงสาธารณะสุขได้ทำการพิจารณาและกำหนดว่าเป็นยาที่มีความเหมาะสมสำหรับการซื้อมาติดบ้านไว้ เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ง่าย ตามร้านขายยาหรือท้องตลาดทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบคำสั่งซื้อยาจากแพทย์ ส่วนใหญ่แล้ว ยาสามัญประจำบ้านนั้นจะเป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันเช่น อาการกรดไหลย้อน ท้องอืด ท้องเสีย หรือว่ายาลดไข้ บรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ยาสามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้ ยาสามัญประจำบ้านควรที่จะมีติดบ้านไว้ เผื่อเกิดเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินจะได้ทำการปฐมพยาบาลได้ทันท่วงที่ ซึ่งยาสามัญประจำบ้านที่ทางกระทรวงสาธารณะสุขได้กำหนดไว้ มีดังนี้ ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย-ไซเมธิโคน ยาธาตุน้ำแดง ลดอาการท้องอืด ผงน้ำตาลเกลือแร่ แก้ท้องเสีย ผงถ่านรักษาอาการท้องเสีย ยาระบายมะขามแขก ยาถ่ายพยาธิลำไส้ มีเบนดาโซล ยาพาราเซตามอล ลดไข้ บรรเทาปวด ยาคลอร์เฟนิรามีน แก้แพ้ ลดน้ำมูก ยาแก้ไอน้ำดำ ยาดมแก้วิงเวียน ยาหม่อง ยาไดเมนไฮดริเนท […]


ไวรัสโคโรนา

วิธีจัดการกับความเหงาในช่วงกักตัวอยู่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยงการติดโรคโควิด-19

มีผลการศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่ลงในวารสารสุขภาพอย่าง Public Health ในปี 2017 ที่กล่าวถึงความเชื่อมโยงของการที่ต้องอยู่บ้านและขาดการติดต่อจากโลกภายนอก หรือมีการติดต่อกับบุคคลอื่นน้อยลงนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต และก่อให้เกิดความเหงา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องคอยสังเกตสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองอยู่เสมอ ในระหว่างการกักตัวอยู่บ้านเพื่อป้องกัน โรคโควิด -19 ยิ่งถ้ารู้สึกว่าเริ่มเหงาและหดหู่ใจเมื่อไหร่ล่ะก็ ให้ลองใช้ วิธีจัดการกับความเหงาในช่วงการกักตัวอยู่บ้าน ที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมเอามาฝากค่ะ วิธีจัดการกับความเหงาในช่วงการกักตัวอยู่บ้าน มีอะไรบ้าง ทำตัวให้เป็นปกติ ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ หรือ โรคโควิด -19 นี้ หลายคนต้องกักตัวเองอยู่บ้าน ทำงานที่บ้าน หรือต้องอยู่แต่ในบ้าน ไม่ออกไปข้างนอก หรือออกไปเฉพาะยามจำเป็น เป็นเหตุให้โอกาสในการพบปะและติดต่อกับบุคคลอื่นน้อยลง ยิ่งถ้าต้องอยู่บ้านคนเดียวตลอดการกักตัวก็จะยิ่งทวีความเงียบเหงาให้มากขึ้นไปอีก ดังนั้น วิธีแรกที่จะช่วยได้ก็คือ การทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติ ใครที่เคยยุ่งกับการไปทำงาน แม้ตอนนี้จะเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน ก็ใช้เวลาทำงานให้เต็มที่เหมือนกับตอนที่ทำงานที่ออฟฟิศ เมื่อทำตัวเหมือนปกติที่เคยเป็นมา ก็จะช่วยลดความรู้สึกเงียบเหงาลงได้บ้าง  เสพแต่ข่าวที่น่าเชื่อถือ หลายคนยิ่งเหงาก็ยิ่งหาอะไรอ่าน หาอะไรดู เพื่อคลายความเหงา แต่ยิ่งติดตามข่าวสารมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งจิตตก เพราะข้อมูลของ โรคโควิด -19 นั้นมาจากหลากหลายแหล่งที่มา ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือน้อย เมื่อรับข้อมูลที่มากเกินไปก็จะส่งผลต่อการใช้วิจารณญาณ ทำให้จิตตกได้ง่าย เปลี่ยนจากการใช้เวลาเสพข่าวสารที่ไม่น่าเชื่อถือ มาทำกิจกรรมคลายเครียดอื่น ๆ จะได้ประโยชน์กว่า เช่น ดูหนัง เล่นเกม […]


ไวรัสโคโรนา

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเข้าใจผิดเหล่านี้

ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ โรคโควิด-19 มีอยู่มากมาย ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง และข้อมูลที่ไม่มีการรับรองความน่าเชื่อถือ หลายครั้งส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดและสร้างความตื่นตระหนกให้แก่ผู้คนในสังคม วันนี้ Hello คุณหมอ มีสาระข้อมูลที่เกี่ยวกับ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และข้อเท็จจริงของความเข้าใจผิดนั้นมาฝากคุณผู้อ่านทุกท่านค่ะ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 มีอะไรบ้าง? การตากแดด หรืออยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง จะช่วยป้องกันโควิด-19 ได้ ความจริงแล้ว: การตากแดด หรืออยู่ในที่ที่อุณหภูมิสูง ไม่ได้มีส่วนช่วยป้องกันโควิด-19แต่อย่างใด เพราะแม้แต่ประเทศที่อยู่ในเขตร้อนและมีอุณหภูมิสูงตลอดทั้งปี ก็ยังมีการรายงานตัวเลขของผู้ติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ วิธีป้องกันเชื้อโควิด-19ที่แท้จริง คือ การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางกายภาพ การล้างมืออย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ และงดสัมผัสใบหน้า ปาก จมูก เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง   โรคโควิด-19 เป็นแล้วต้องเป็นไปตลอดชีวิต ความจริงแล้ว: โรคโควิด-19 หากเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายได้ ข้อสำคัญคือต้องสังเกตอาการให้ไว และติดต่อกับสถานพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเร็วที่สุด การติดโรคโควิด-19 ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเป็นแล้วจะต้องเป็นไปตลอดชีวิต   การกลั้นหายใจ 10 วินาที หรือมากกว่านั้น โดยไม่มีอาการไอ จาม หรืออาการใด ๆ ขณะกลั้นหายใจ แปลว่าปลอดภัยและไม่มีการติดเชื้อของโรคโควิด-19 ความจริงแล้ว: ไม่จริง เพราะการกลั้นหายใจไม่ใช่กระบวนการตรวจหาเชื้อของโรคโควิด-19 กระบวนการตรวจหาเชื้อที่แท้จริงจะต้องทำการตรวจผ่านแล็บ ไม่สามารถที่จะตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการกลั้นหายใจหรือวัดระดับการหายใจหลังการออกกำลังกายได้   ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะช่วยป้องกัน โรคโควิด-19 ได้ ความจริงแล้ว: การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคโควิด-19แต่อย่างใด แต่กลับจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของอาการทางสุขภาพอื่น […]


ไวรัสโคโรนา

สุขภาพหัวใจกับโควิด-19 : สิ่งที่ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหัวใจควรรู้

ตอนนี้หลายคนน่าจะรู้แล้วว่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2) ที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) นั้นส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจและปอดของเรา ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน และสำหรับคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ เราอยากแนะนำให้คุณระวังเป็นพิเศษ เพราะจากข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ JAMA Cardiology ของประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน สามารถกระตุ้นให้อาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดกำเริบได้ และนี่คือข้อมูลเกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจกับโควิด-19 ที่คุณควรรู้ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจกับสุขภาพหัวใจ นักวิทยาศาสตร์เผยว่า ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ไวรัสอาร์เอสวี (RSV ย่อมาจาก Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุส่วนล่างของทางเดินหายใจ) และโรคปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial pneumonia) สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ และทำให้ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้วมีอาการของโรครุนแรงขึ้นได้ จากข้อมูลที่ผ่านมานั้น พบว่า ในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่นั้นเสียชีวิตจากอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่เสียอีก และจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาการแทรกซ้อนของโรคซาร์สและโรคเมอร์สซึ่งเกิดจากไวรัสตระกูลโคโรนาเช่นเดียวกับโควิด-19 พบว่า ผู้ป่วยโรคซาร์สส่วนใหญ่จะมีอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจเต้นเร็ว และผลจากการศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยโรคเมอร์สจำนวน 637 ราย ก็พบว่า กว่า 30%  มีอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด แม้ทีมนักวิจัยจะระบุไม่ได้แน่ชัดว่า โรคเมอร์สเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ว่าคนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้วมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเมอร์สมากกว่า และร่างกายยังต่อสู้กับการติดเชื้อได้ไม่ดีเท่าผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย สุขภาพหัวใจกับโควิด-19 : ความเกี่ยวข้องที่ควรรู้ หากดูจากข้อมูลข้างต้น เราจะพบว่า […]


ไวรัสโคโรนา

ของที่ควรพกติดตัว เพื่อรับมือกับเชื้อโรค ในยาม โควิด-19 ระบาด

การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลก คนส่วนใหญ่ต้องเปลี่ยนจากการออกไปทำงานที่ออฟฟิศหรือทำงานข้างนอก มาเป็นทำงานที่บ้าน ต้องงดการพบปะสังสรรค์ หรืออยู่ในที่ชุมนุมชน และอีกหนึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ ข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และนี่คือ ของที่ควรพกติดตัว เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคติดเชื้อโควิด-19 ตัวร้าย ของที่ควรพกติดตัว เพื่อให้ปลอดภัยจากโควิด-19 แอลกอฮอล์ล้างมือ ไอเท็มแรกที่คุณควรมีติดกระเป๋าอยู่เสมอ ในช่วงโควิด-19 ระบาดแบบนี้ ก็คงหนีไม่พ้น แอลกอฮอล์ล้างมือ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ที่นำมาฉีดพ่นเพื่อทำความสะอาดมือ หรือพื้นผิวอื่นๆ ได้ตามต้องการ โดยแอลกอฮอล์ล้างมือควรมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% เพราะระเหยไม่เร็วเกินไปและมีคุณสมบัติเพียงพอในการทำลายเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 แนะนำว่า ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ล้างมือที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์น้อยกว่า 50% เพราะอาจทำลายเชื้อโรคได้ไม่ดีนัก หรือหากมีแอลกฮอล์ 95% – 100% ก็ไม่ดีเช่นกัน เพราะจะระเหยเร็วเกินไปจนฆ่าเชื้อโรคไม่ได้ สบู่แผ่น สบู่แผ่น หรือที่เรียกว่าสบู่กระดาษ ก็เป็นอีกหนึ่งไอเท็มจิ๋วแต่แจ๋วที่คุณควรหามาพกไว้ติดตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรคโควิด-19 เพราะในบางครั้งแค่แอลกอฮอล์ล้างมืออาจไม่เพียงพอ คุณอาจมีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็นต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ โดยสบู่แผ่นหรือสบู่กระดาษนี้จะมาในรูปแบบแผ่นสบู่บาง ๆ บรรจุอยู่ในตลับขนาดเล็ก พกพาง่าย ไม่ต้องกลัวว่าจะหกเลอะเทอะกระเป๋าเหมือนสบู่เหลวหรือสบู่ก้อนแบบปกติ หน้ากากผ้า ตอนนี้หน้ากาก N95 และหน้ากากอนามัยทางการแพทย์สีเขียว ๆ ฟ้า ๆ แบบที่เราเห็นกันบ่อยๆ […]


ไวรัสโคโรนา

วิธีรับมือ เชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มีจำนวนยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอดอักเสบ ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีรับมือ เชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มาฝาก จะมีอะไรบ้างนั้น ลองมาหาคำตอบกันในบทความนี้ค่ะ ทำความรู้จักเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2562 เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บป่วย ตั้งแต่ไข้หวัดทั่วไป จนถึงโรคที่มีอาการรุนแรง เช่นโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome :  MERS-CoV) และ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS-CoV)  ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจ รวมถึงอาการไอ คัดจมูก และเจ็บคอ เชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร? สมาคมโรคเบาหวาน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ระบุไว้ว่า ประชาชนในประเทศจีนซึ่งมีผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีอัตราแทรกซ้อนและเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่มีโรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ และไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ หากคุณรู้สึกไม่สบาย ควรตรวจวัด […]


ไวรัสโคโรนา

กิจกรรมสำหรับเด็ก ในช่วงกักตัว เมื่อโควิด-19 ระบาด

ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด โรงเรียนได้มีการเลื่อนเปิดเทอมไป ทำให้เด็กหลายคนต้องอยู่บ้านกันยาว ๆ เพื่อรอเชื้อโรคหายระบาดและรอการเปิดเทอม คุณพ่อและคุณแม่หลายคนที่อยู่บ้านกับลูกในช่วงนี้ก็จะทราบดีว่า การที่เด็ก ๆ ไม่ได้ทำกิจกรรมกลางแจ้ง วิ่งเล่นในสนามเด็กเล็กนั้น จะทำให้พวกเขาเบื่อเพียงใด พลังที่เหลือล้นรอการปลดปล่อยของพวกเขาก็จะยิ่งสร้างความเบื่อหน่ายให้พวกเขา ลองหากิจกรรมสำหรับเด็กในช่วงกักตัวให้คุณพ่อ คุณแม่ได้ลองทำร่วมกับลูกอาจช่วยได้ กิจกรรมสำหรับเด็ก ในช่วงกักตัว แต่ละวัย การแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ในช่วงนี้ ทำให้หลายครอบครัวต้องกักตัวอยู่บ้าน ทำงานที่บ้าน เรียนออนไลน์ แม้แต่เด็ก ๆ ที่อยู่ในช่วงปิดเทอมแต่ก็ไม่สามารถไปไหนได้ ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 การดูแลลูกในช่วงที่ต้องทำงานที่บ้านพร้อมกับเลี้ยงลูกไปด้วยนั้น จะยิ่งเพิ่มความเครียดให้กับคุณ อีกทั้งเด็ก ๆ เองก็มีความเครียดไม่แพ้กันที่จะต้องอยู่บ้านเฉย ๆ กิจกรรมสำหรับเด็กกักตัว จะช่วยสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กไปพร้อมกับการได้ทำกิจกรรมสนุก ๆ ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตเหล่านี้ กิจกรรมสำหรับเด็ก ในช่วงกักตัว สำหรับวัยเตาะแตะ เด็กในวัยเตาะแตะ เป็นวัยที่เริ่มหัดเดิน หัดเรียนรู้ อยู่ในช่วงก่อนเข้าโรงเรียน หลาย ๆ บ้านได้เริ่มมีการพาเด็ก ๆ ในช่วงวัยนี้ไปพบปะกับเด็กคนอื่น ตามโรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อไม่ได้ทำกิจกรรมแบบเดิมอาจทำให้เด็กรู้สึกหงุดหงิด พ่อแม่จึงควรมีกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ให้ลูกได้ทำ โดยควรทำก่อนและหลังเวลาหลับกลางวัน ทำอาหาร เด็กในวัยนี้ เป็นวัยที่ชอบเล่นในห้องครัว เมื่อต้องกักตัวอยู่บ้านทั้งวัน แน่นอนว่าจะต้องมี กิจกรรมสำหรับเด็กกักตัว อย่างการทำอาหารแน่นอน แทนที่จะให้เด็ก […]


ไวรัสโคโรนา

ผลไม้เสริมภูมิคุ้มกัน อร่อย สุขภาพดี พร้อมสู้เชื้อโควิด-19

ในช่วงของการระบาดของโรคโควิด-19 เช่นนี้ การมี ระบบภูมิคุ้มกัน ที่ดี จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทาน และไม่เจ็บป่วยบ่อย แต่การจะมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรง ต้องมาจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การมีสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทั้งเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ซึ่งวันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมเอาสุดยอด ผลไม้เสริมภูมิคุ้มกัน มาฝากคุณผู้อ่านทุกท่าน แต่จะมีผลไม้ชนิดใดบ้างนั้น ไปอ่านกันได้ที่บทความนี้เลย สารอาหารจากผลไม้ที่ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน มีสารอาหารที่พบในผลไม้หลายชนิด ถือเป็นสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย และช่วยเสริมให้ ระบบภูมิคุ้มกัน ของเราแข็งแรง สารอาหารเหล่านั้น ได้แก่ วิตามินซี  วิตามินซี เป็นสารอาหารสำคัญชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย และทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่จะมาทำลาย ระบบภูมิคุ้มกัน วิตามินอี วิตามินอี ก็เป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่ทำหน้าที่ส่วนหนึ่งคล้ายกับวิตามินซี นั่นคือทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คอยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเข้ามาทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ธาตุสังกะสี สังกะสี มีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน หากร่างกายมีปริมาณของธาตุสังกะสีต่ำ ก็จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง แคโรทีนอยด์ แคโรทีนอยด์ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่พบได้ในอาหารประเภทพืชผักและผลไม้ เมื่อรับประทานสารแคโรทีนอยด์เข้าไป สารนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กรดไขมันโอเมก้า 3 โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 หรืออาหารเสริม กรดไขมันโอเมก้า 3 มีสรรพคุณในการช่วยลดอาการอักเสบของร่างกาย และช่วยดูแลให้ ระบบภูมิคุ้มกัน มีความแข็งแรงอยู่เสมอ  ผลไม้เสริมภูมิคุ้มกัน […]


ไวรัสโคโรนา

ข้อควรรู้ก่อนการมีเซ็กซ์ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19

ความรู้สึกทางเพศเป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้ ยิ่งรู้สึกรักและสุขใจด้วยแล้ว การมีเพศสัมพันธ์จึงเป็นกิจกรรมที่จะตอบสนองต่อความต้องการและความรู้สึกของคู่รักได้เป็นอย่างดี แต่การมีเซ็กส์ในสถานการณ์ที่มี การระบาดของโรคโควิด-19 เช่นนี้ จะมีความเสี่ยงหรือไม่ มาหาคำตอบเกี่ยวกับ ข้อควรรู้ก่อนการมีเซ็กส์ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 กันได้จากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ เลยค่ะ เชื้อโควิด-19 ติดต่อผ่านการมีเซ็กส์หรือไม่? สำหรับการติดต่อของ โรคโควิด-19 เป็นที่รับรองแล้วว่ามีการติดเชื้อผ่านสารคัดหลั่ง ทั้งน้ำมูกและน้ำลาย ผ่านการสัมผัสหรือการรับเอาสารคัดหลั่งโดยการหายใจเข้า-ออกโดยตรง หรือผ่านการสัมผัสกับวัตถุและพื้นผิวเดียวกันกับผู้ที่ติดเชื้อ แต่สำหรับ การติดเชื้อโควิด-19 ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ในขณะนี้ยังไม่มีผลการศึกษาหรือการรับรองที่ว่า โรคโควิด-19 จะสามารถติดเชื้อผ่านอสุจิ หรือสารคัดหลั่งในช่องคลอดขณะที่มีเพศสัมพันธ์ได้  อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีการค้นพบว่าโรคนี้สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แต่ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ก็ยังคงมีอยู่ เพราะถ้าหากว่า คู่นอนของคุณเป็นผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 กิจกรรมแห่งความรักอย่างการจูบ การกอด การหายใจในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคโควิด-19 ได้ เพราะอาจได้รับเชื้อโรคผ่านสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ที่ติดเชื้อในขณะที่กำลังปฏิบัติกิจกรรมบนเตียงอย่างการจูบ หรือการทำกิจกรรมทางเพศที่ต้องใช้ปาก และต้องสัมผัสกับน้ำลายของกันและกัน หรืออาจได้รับเชื้อผ่านการไอหรือการจามของคู่นอน ในขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ก็เป็นไปได้เช่นกัน ข้อควรรู้ก่อนการมีเซ็กส์ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 มีอะไรบ้าง แม้การมีเซ็กส์จะเป็นเรื่องปกติของคนเรา แต่การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาดเช่นนี้ ควรจะต้องรู้จักวิธีป้องกันทั้งตนเองและคู่นอนให้ปลอดภัย และแนวทางของการมีเซ็กส์ที่ปลอดภัยแบบไร้ความเสี่ยงของ โรคโควิด-19 ให้มากที่สุด ดังนี้ ตรวจเช็กสุขภาพของคู่นอนว่ามีอาการเสี่ยงหรือไม่ คุณควรแน่ใจก่อนว่าคู่นอนของคุณไม่มีความเสี่ยง และไม่ติดเชื้อของ โรคโควิด-19 […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม