backup og meta

อาการโควิดลงปอด มีลักษณะเป็นอย่างไร

อาการโควิดลงปอด มีลักษณะเป็นอย่างไร

โควิดลงปอดอาการ เป็นอย่างไร? โดยส่วนใหญ่แล้วมักไอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก รวมถึงมีไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส นอกจากนั้น ผู้ป่วยโควิดบางราย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง หรือสูบบุหรี่ มักเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น โรคปอดอักเสบ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

[embed-health-tool-bmi]

โควิดลงปอดคืออะไร

เชื้อโควิด-19 หรือ SARS-CoV-2 เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส (Coronavirus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของอาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคอื่น ๆ ที่มีความรุนแรง

เมื่อเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะกับเซลล์ของเยื่อเมือกในจมูกหรือปาก แล้วเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ

ทั้งนี้ เชื้อโควิด-19 สามารถเข้าไปสร้างอันตรายให้ถุงลมได้ซึ่งถือเป็นอวัยวะส่วนที่ลึกที่สุดของระบบทางเดินหายใจ โดยถุงลมเป็นส่วนของปอดซึ่งทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซน์กับหลอดเลือดฝอย เมื่อโควิดลงปอดจึงหมายถึงเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ถุงลมนั่นเอง

อาการโควิดลงปอด เป็นอย่างไร

อาการโควิดลงปอด มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ไอแห้ง
  • เจ็บคอ
  • หอบเหนื่อย
  • หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก
  • ระดับออกซิเจนในเลือดลดลงต่ำกว่าปกติ หรือต่ำกว่า 97-100 เปอร์เซ็นต์เมื่อใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
  • ง่วงซึม อ่อนเพลีย เพราะมีเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยกว่าปกติ

นอกจากนี้ เชื้อโควิด-19 ยังอาจทำให้เป็นโรคปอดอักเสบ (Covid-19 Pneumonia) ได้ ซึ่งจัดเป็นภาวะแทรกซ้อนและอาการระดับรุนแรงของโรคโควิด-19

เมื่อเป็นโรคปอดอักเสบ ปอดจะเต็มไปด้วยเมือก ของเหลว รวมถึงจำนวนเซลล์ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจได้ลำบาก และมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

  • ไข้สูง
  • สับสน
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • เหนื่อยอ่อนอย่างรุนแรง
  • ริมฝีปาก ผิวหนัง และเล็บเป็นสีน้ำเงิน

นอกจากปอดอักเสบแล้ว เชื้อโควิด-19 ยังเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับปอดดังนี้

  • โรคหลอดลมอักเสบ เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการมีเสมหะในหลอดลมมากเกินไป ส่งผลให้ไอ แน่นหน้าอก และหายใจลำบาก
  • กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน เป็นผลสืบเนื่องจากโรคปอดอักเสบ โดยถุงลมจะเต็มไปด้วยของเหลวที่รั่วจากหลอดเลือดฝอยในปอด ส่งผลให้หายใจลำบากอย่างเฉียบพลัน ทำให้จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ร่วมกับมีอาการหน้ามืด อ่อนล้า ง่วงซึม หรือสับสน ทั้งนี้ กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลันเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ใครบ้างที่เสี่ยงมีอาการโควิดลงปอด 

ผู้ที่จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ออาการโควิดลงปอด มีดังนี้

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีค่าดัชนีมวลกายเกิน 30
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิด
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ

อาการโควิดลงปอด ดูแลตัวเองอย่างไร

เมื่อทราบว่าโควิดลงปอด ควรดูแลตัวเองดังนี้

  • ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และเว้นระยะห่างจากผู้อื่นเพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 แพร่กระจาย
  • นอนคว่ำเพื่อให้ปอดไม่ถูกกดทับ และถ้ากำลังตั้งครรภ์ให้นอนตะแคงซ้ายแทน
  • หากหายใจไม่ออก ให้นั่งหลังตรงบนเก้าอี้ หรือหายใจเข้าทางจมูกแล้วหายใจออกทางปาก โดยให้ทำปากเผยอไว้ในลักษณะเดียวกับการเป่าเทียน
  • ดื่มน้ำในปริมาณมาก รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ขยับขาบ่อย ๆ ด้วยการยืด-งอขา หรือเหยียดปลายเท้า เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
  • รับประทานยาลดไข้ทันทีเมื่อเป็นไข้ และใช้ยาตามคำแนะนำของคุณหมอ

ความเสียหายที่ปอดเนื่องจากโรคโควิด-19 ฟื้นฟูได้หรือไม่

ผู้ป่วยโควิด-19 และมีอาการโควิดลงปอด หรือมีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับปอด เมื่อหายจากโรคโควิด-19 ร่างกายสามารถฟื้นฟูให้กลับไปมีสุขภาพแข็งแรงได้

อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการฟื้นตัวของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่มักเกินระยะเวลา 3 เดือน หรือยาวนานถึง 1 ปี หรืออาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่ปัจจัยหลายประการ เช่น อายุ เพศ โรคประจำตัว

โควิดลงปอด ป้องกันได้อย่างไร

โควิดลงปอด รวมถึงโรคโควิด-19 ป้องกันได้หากดูแลปฏิบัติตัว ดังนี้

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมถึงวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงซึ่งได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ เพราะมีโอกาสเกิดโรคปอดอักเสบจากเชื้อโควิด-19 มากกว่าคนทั่วไป
  • งดสูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่น เพราะการสูบบุหรี่ทำให้ปอดเสียหาย และเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคโควิด-19 ในระดับรุนแรงหากติดเชื้อ
  • ล้างมือสม่ำเสมอ ด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนรับประทานอาหาร รวมถึงหลังใช้ห้องน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยโควิด-19 รวมถึงไม่ใช้สิ่งของต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย
  • สวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะเมื่ออยู่ใกล้ผู้ป่วยโควิดหรือเมื่ออยู่ในสถานที่ปิดที่มีคนหนาแน่นเช่นในรถไฟฟ้ารถประจำทางห้างสรรพสินค้า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

COVID-19 Recovery. https://www.lung.org/lung-health-diseases/lung-disease-lookup/covid-19/treatment-recovery/covid-19-recovery. Accessed June 27, 2023.

When to see a doctor about COVID-19. https://www.ucihealth.org/news/2020/04/when-to-see-a-doctor-about-covid. Accessed June 27, 2023.

Treating COVID-19 at home: Care tips for you and others. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronavirus/in-depth/treating-covid-19-at-home/art-20483273. Accessed June 27, 2023.

Coronavirus and Pneumonia. https://www.webmd.com/covid/covid-and-pneumonia. Accessed June 27, 2023.

How to look after yourself at home if you have coronavirus (COVID-19) or symptoms of COVID-19. https://www.nhs.uk/conditions/coronavirus-covid-19/self-care-and-treatments-for-coronavirus/how-to-treat-symptoms-at-home/. Accessed June 27, 2023.

COVID-19 Lung Damage. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/what-coronavirus-does-to-the-lungs. Accessed June 27, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/06/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

7 การดูแลตัวเองหลังติด COVID-19 มีอาการลองโควิดต้องทำอย่างไร?

ผื่นโควิดคันไหม อาการทางผิวหนังของโรคโควิด 19


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา