backup og meta

ภาวะตัวเย็นเกิน อันตรายที่มากับลมหนาว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

    ภาวะตัวเย็นเกิน อันตรายที่มากับลมหนาว

    ภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาวมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยต่างๆ ด้วยกัน เช่น ร่างกายอ่อนแอ มีโรคประจำตัว และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป นอกจากนี้อาจเกิดจาก “ภาวะตัวเย็นเกิน” โดยเกิดจากการสัมผัสกับอากาศที่หนาวเย็น ส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว วันนี้ Hello คุณหมอ พามาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกัน

    ภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia)  อันตรายที่มากับลมหนาว

    ภาวะตัวเย็นเกิน เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิลดต่ำลงกว่า 35 องศาเซลเซียส อย่างรวดเร็ว โดยปกติ ร่างกายคนเราจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดลงอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความบกพร่องอย่างฉับพลัน มีอาการพูดช้า สับสน สั่น ร่างกายอ่อนเพลีย ชีพจรเต้นอ่อน ไม่สามารถขอความช่วยเหลือในการรักษาได้ทันท่วงที อันเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิต

    สาเหตุของภาวะ ตัวเย็นเกิน

    ภาวะ ตัวเย็นเกิน มีสาเหตุมาจากที่ร่างกายของคุณมีอุณหภูมิที่เย็นจัด จนทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนอย่างรวดเร็วและไม่สามารถสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกายได้เพียงพอ โดยร่ายกายของเราสูญเสียความร้อนได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

    • สวมใส่เสื้อผ้าบาง หรือหนาพอสำหรับสภาพอากาศหนาวเย็นจัด
    • อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป
    • ตกลงไปในน้ำที่มีความเย็น เช่น อุบัติเหตุตกเรือ

    อาการ ที่บ่งบอกว่าคุณ เสี่ยงอยู่ในภาวะ ตัวเย็นเกิน

    • ตัวสั่น มีอาการหนาวสั่น
    • พูดไม่ชัด พูดช้าลง
    • รู้สึกสับสัน การคิดวิเคราะห์ช้าลง
    • หายใจถี่
    • รู้สึกอ่อนเพลีย

    สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงจะมีอาการดังกล่าวข้างต้น หากผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงปานกลางจะมีอาการคล้าย ๆ กับอาการในขั้นไม่รุนแรง แต่อุณหภูมิในร่างกายจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส ในกรณี ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากอุณหภูมิในร่างกายจะลดต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส และมีอาการหนาวสั่นขั้นรุนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในเวลาถัดมา

    วิธีการรักษาและการป้องกันตนเองภาวะตัวเย็นเกิน

    วิธีการรักษา

    • การรักษาผู้ป่วยที่อยู่ ในภาวะ ตัวเย็นเกิน ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล แพทย์จะประเมินความรุนแรงของอาการ หากอาการไม่รุนแรงมาก  แพทย์จะให้ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ ห่มผ้า เพื่อทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอบอุ่น

    ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจะมีวิธีการรักษาโดยการฉีดน้ำเกลืออุ่น ๆ เข้าเส้นเลือดเพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น  หากร่างกายผู้ป่วยมีอุณหภูมิต่ำมาก แพทย์จะให้จะใช้เครื่องฟอกเลือด เพื่อช่วยให้เลือดอุ่นปรับระบบหมุนเวียนภายในร่างกาย

    วิธีการป้องกันตนเอง

    • วิธีการป้องกันที่ง่ายที่สุด ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น และหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นเวลานาน และออกกำลังกายร่วมด้วยเพื่อทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา