ไตรมาสที่ 1

การตั้งครรภ์ช่วง ไตรมาสที่ 1 หรือ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คือช่วงเวลาสำคัญที่ควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะนั่นอาจหมายถึงความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เลยทีเดียว เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ช่วง ไตรมาสที่ 1 ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 1

ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน อาการคนท้องมีอะไรบ้าง

ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ขนาดท้อง1เดือน จะยังไม่เป็นที่สังเกตได้เนื่องจากหน้าท้องของคุณแม่ยังไม่ขยายใหญ่แต่อาจสังเกตได้จากอาการอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนไม่มา อารมณ์แปรปรวน หน้าอกขยายและคัดตึง ปัสสาวะบ่อย นอกจากนี้ ยังนับเป็นช่วงเวลาที่เปราะบางสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างมาก เนื่องจากอยู่ในระยะที่ทารกกำลังค่อย ๆ เติบโตและสร้างอวัยวะต่าง ๆ คุณแม่จึงต้องคอยดูแลตัวเองทั้งในเรื่องการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ทารกเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามอายุครรภ์ [embed-health-tool-due-date] ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน คุณแม่ตั้งครรภ์ในเดือนแรกหรือ 4 สัปดาห์แรกขนาดท้องมักไม่ต่างจากก่อนตั้งครรภ์เลย เนื่องจากทารกยังตัวเล็กมากและยังไม่เจริญเติบโตมากพอที่จะทำให้หน้าท้องขยาย โดยทั่วไป ขนาดท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่จนเห็นได้ชัดในช่วงเดือนที่ 4-5 หรือไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ และจะขยายใหญ่ตามอายุครรภ์มากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาการที่เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ แม้ว่าอาการของคนท้องจะไม่สามารถเห็นได้จาก ขนาดหน้าท้อง1เดือน แต่ก็อาจสังเกตได้ด้วยตัวเองจากอาการร่วมอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ประจำเดือนขาด ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์แล้วประจำเดือนมาช้ากว่าปกติประมาณ 1 สัปดาห์ อาจหมายถึงการตั้งครรภ์ระยะแรก ควรตรวจด้วยที่ตรวจครรภ์ด้วยตนเอง ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนไม่ปกติ อาจรอประมาณ 1-2 เดือน หากประจำเดือนยังไม่มาควรตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองหรือไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ หน้าอกขยายและคัดตึง เนื่องจากระดับฮอร์โมนแปรปรวนในช่วงตั้งครรภ์จึงอาจทำให้หน้าอกคัดตึง บวม หรือเจ็บ เส้นเลือดอาจมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น และหัวนมอาจดำคล้ำ ทั้งนี้ อาการต่าง ๆ […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 1

ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 7 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 7 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 7ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 7 ลูกน้อยในครรภ์จะมีขนาดตัวเท่าผลบลูเบอร์รี่ และโตขึ้นเป็น 2 เท่าจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยความยาวลำตัวตอนนี้คือ 1.27 เซนติเมตร   ทารกเริ่มปรับตัวเข้ากับชีวิตในมดลูก ในช่วงสัปดาห์นี้สายสะดือจะก่อตัวขึ้น โดยทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างคุณกับทารกในครรภ์ สายสะดือจะลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารจากเลือดของคุณไปให้ลูกน้อย นอกจากนี้ยังช่วยกำจัดของเสียออกจากตัวลูกน้อยด้วย ปอด ไต และระบบทางเดินอาหารของทารก เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างอย่างตอเนื่อง ดวงตา จมูก ปาก และหู เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปเป็นร่าง ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง คุณอาจสังเกตเห็นว่าเต้านมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยปกติแล้วฮอร์โมนการตั้งครรภ์จะทำให้เต้านมของคุณบวมและอ่อนนุ่มขึ้น เนื่องจากมีเลือดไปหล่อเลี้ยงที่เต้านมมากขึ้น รวมทั้งไขมันสะสมอยู่ในบริเวณนั้นมากขึ้นด้วย นอกจากนี้คุณยังอาจสังเกตเห็นหัวนมตั้งตึงมากขึ้น ฐานหัวนมสีคล้ำขึ้นและขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ เป็นการเตรียมเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมบุตรนั่นเอง ควรระมัดระวังอะไรบ้าง ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ มดลูกของคุณแม่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะทำให้ท้องป่องหรือไม่ก็ได้ ถ้าคุณเคยตั้งครรภ์มาก่อน ท้องของคุณอาจจะขนาดใหญ่กว่าครั้งก่อน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณท้องเคยยืดออกไปแล้วครั้งหนึ่ง จึงทำให้ท้องขยายได้ง่ายและเร็วขึ้นในการตั้งครรภ์คราวนี้ แต่โชคร้ายหน่อยตรงที่คุณจะรู้สึกปวดหลัง และเจ็บตรงกระดูกเชิงกรานเร็วขึ้น ในช่วงสัปดาห์ที่ 7 นี้ หากคุณแม่ยังไม่อยากให้ใครรู้ว่าตั้งครรภ์ ก็ยังสามารถพรางได้ด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ  การพบคุณหมอควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง หากคุณแม่ตั้งครรภ์อาการใด […]


ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 6 อยู่ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้ลูกน้อยอาจมีขนาดเล็กเท่ากับเม็ดถั่วเล็ก ๆ สมอง ระบบประสาท และหัวใจเริ่มพัฒนา ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ผ่านการอัลตร้าซาวด์ ช่วงนี้คุณแม่อาจเริ่มรู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อยล้าง่ายกว่าเดิม ดังนั้น จึงควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลตัวเอง รวมถึงสังเกตสัญญาณผิดปกติด้วยเสมอ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 6 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 6 ทารกในครรภ์จะมีขนาดตัวเท่ากับถั่วลันเตาเล็ก  ๆ ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร ในสัปดาห์ที่ 6 นี้ สมองและระบบประสาทของทารกกำลังพัฒนาไปอย่างช้า ๆ รายละเอียดบนใบหน้า เช่น หูชั้นใน ถุงใต้ตา ลูกตา เริ่มปรากฏให้เห็น หัวใจของทารกจะเริ่มเต้น และสามารถตรวจสอบการเต้นของหัวใจผ่านการอัลตราซาวด์ ระบบย่อยอาหารและระบบทางเดินหายใจเริ่มก่อตัว ตัวของทารกเริ่มโค้งงอเป็นรูปตัว C และเห็นว่ามีแขนขา เนื่องจากตอนอยู่ในครรภ์ ขาของทารกจะอยู่ในลักษณะโค้งงอ ทำให้วัดส่วนสูงของทารกได้ยาก การวัดส่วนสูงของทารกในครรภ์จึงนิยมวัดจากกระหม่อมถึงก้น มากกว่าวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า โดยในสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์นี้ ทารกในครรภ์จะมีขนาด 2-5 มม. โดยวัดจากกระหม่อมถึงก้น ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง สัปดาห์ที่ 6 นี้คุณแม่ตั้งครรภ์อาจแพ้ท้องรุนแรงกว่าสัปดาห์ที่ 5 ร่างกายต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อดูแลลูกน้อยในครรภ์ อาจรู้สึกว่าแค่ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันปกติเหมือนที่เคยทำก่อน […]


ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 3 [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 3 ลูกจะเติบโตอย่างไร ถึงแม้ว่าที่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้ว แต่เด็กทารกก็กำลังเติบโตและมีพัฒนาการอยู่ในครรภ์ สำหรับ การตั้งครรภ์ นั้น เมื่อไข่กับตัวอสุจิปฏิสนธิกันที่บริเวณท่อนำไข่ส่วนต้นแล้ว จะกลายเป็นเซลล์ ที่เรียกว่า ไซโกต (Zygote) ภายใน 30 ชั่วโมงหลังปฏิสนธิ ไซโกตจะเริ่มแบ่งเซลล์ เป็น 2 เซลล์ 4 เซลล์ 8 เซลล์ ไปเรื่อย ๆ พร้อมเคลื่อนที่ตามท่อนำไข่ไปฝังตัวในผนังมดลูก พร้อมกับเกาะตัวกันแน่นเป็นรูปทรงกลม ลักษณะคล้ายลูกบอลทรงตัน ที่เรียกว่า มอรูลา (Morula) จากนั้น มอรูลาจะกลายเป็นมาเป็นลูกบอลกลวง ภายในเต็มไปด้วยของเหลว ที่เรียกว่า บลาสโทซิส (Blastocyst) พอใกล้ถึงปลายสัปดาห์ บลาสโทซิสจะเข้าไปฝังตัวอยู่ที่ผนังมดลูก โดยกลุ่มเซลล์ที่อยู่รอบนอกจะเจริญเป็นรก ส่วนกลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านในจะเจริญเติบโตไปเป็นทารกต่อไป ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง หลายส่วนในร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยโอบอุ้มไข่ที่ปฎิสนธิแล้ว ในช่วงนี้คุณแม่อาจยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้ว ในช่วงปลายสัปดาห์อาจมีเลือดปริมาณเล็กน้อยไหลออกมาจากช่องคลอด หรือที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation Bleeding) ซึ่งบ่งบอกว่าไข่ที่ปฏิสนธินั้นได้ฝังตัวโพรงมดลูกเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะมีเลือดล้างหน้าเด็ก บางคนอาจเข้าใจผิดว่าเลือดล้างหน้าเด็กนี้คือประจำเดือน ควรระมัดระวังอะไรบ้าง อาการแพ้ท้องตอนเช้า เช่น […]


ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 2 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 2 ยังไม่นับว่าเป็นการตั้งครรภ์เสียทีเดียว เนื่องจากเป็นช่วงที่เกิดการปฏิสนธิของไข่และตัวอสุจิ ก่อนที่จะฝังตัวในผนังมดลูกและพัฒนาขึ้นกลายเป็นตัวอ่อนต่อไป ในช่วงนี้ผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์ควรหมั่นดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาจรับประทานอาหารเสริม เช่น กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมของร่างกายสำหรับทารกในครรภ์ [embed-health-tool-”pregnancy-weight-gain”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 2 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 2 เป็นช่วงที่เพศของทารกถูกกำหนดขึ้นมาแล้ว แต่จะยังไม่รู้จนกว่าจะถึงสัปดาห์ที่ 18-20 ของ การตั้งครรภ์ด้วยการอัลตราซาวด์หรือเจาะเลือด มนุษย์ทุกคนมีโครโมโซมคนละ 46 แท่ง จัดได้ 23 คู่ โดยเพศหญิงและเพศชายจะมีโครโมโซมที่เรียกว่า ออโทโซม ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันจำนวน 22 คู่ และมีโครโมโซมคู่ที่ 23 เป็นโครโมโซมเพศ ในเพศชายจะมีโครโมโซมเพศเป็นแท่งใหญ่ ที่เรียกว่า โครโมโซม X ส่วนในเพศหญิงจะมีโครโมโซมเพศแท่งเล็ก ที่เรียกว่า โครโมโซม Y ฉะนั้นถ้าลูกมีโครโมโซมเพศเป็น XX ลูกก็จะเป็นเพศหญิง และถ้าโครโมโซมเพศเป็น XY ลูกก็จะเป็นเพศชาย ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ผนังมดลูกจะหนาขึ้นเพื่อเตรียมรับน้ำหนักของทารกในครรภ์ ในช่วงปลายสัปดาห์นี้ จะเป็นเวลาที่เหมาะสมในการมีลูก ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องตรวจสอบมดลูก เพื่อที่จะรู้ได้อย่างชัดเจน ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ คู่รักจะผลิตเชื้ออสุจิที่เคลื่อนตัวเข้าไปหาไข่ แต่จะมีเชื้ออสุจิเพียงเซลล์เดียวเท่านั้น ที่จะได้ผสมกับไข่ […]


ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 1 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 1 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 1 ทารกในครรภ์ จะเติบโตอย่างไร ในช่วงสัปดาห์แรกคุณแม่อาจจะสับสน เนื่องจากไม่รู้วันเวลาที่แน่ชัดในช่วงวันไข่ตก แต่คุณหมอจะคำนวณวันคลอดโดยเริ่มนับจากวันแรกที่มีรอบเดือนครั้งล่าสุด โดยอายุการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 40 สัปดาห์ แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจมีอายุครรภ์ได้ตั้งแต่ 38-42 สัปดาห์ โดยคุณหมอจะไม่ยอมให้มีการตั้งครรภ์นานเกิน 42 สัปดาห์โดยเด็ดขาด ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ขณะการตั้งครรภ์ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ในช่วงเวลานี้ร่างกายจะเตรียมความพร้อมสำหรับการตกไข่ ซึ่งก็คือ ในช่วงวันที่ 12-14 ของการมีประจำเดือน การตกไข่ คือ การปล่อยไข่สุกออกจากรังไข่มาตามหลอดมดลูกและพร้อมสำหรับการปฎิสนธิ ถ้าวางแผนที่จะมีการตั้งครรภ์ ช่วงเวลาเหมาะที่สุดที่ควรให้ไข่ปฏิสนธิกับอสุจิ คือ ประมาณ 2 สัปดาห์นับจากวันตกไข่ ควรระมัดระวังอะไรบ้าง ในสัปดาห์นี้ยังไม่มีอะไรน่าห่วง คุณแม่เพียงแค่ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานวิตามินที่ช่วยบำรุงร่างกายก่อนคลอดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดโฟลิค เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural Tube Defect หรือ NTD) ซึ่งเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบประสาทส่วนกลางและไขสันหลัง อันเนื่องมาจากการเจริญเติบโตของสมองหรือเส้นประสาทไม่สมบูรณ์ ทำให้ทารกที่เกิดมาเป็นโรคความบกพร่องของกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกสันหลังโหว่ โดยปริมาณกรดโฟลิคที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับในแต่ละวัน คือ ประมาณ 400 ไมโครกรัม และอาจต้องมากกว่านี้ หากเคยมีประวัติเป็นโรคความบกพร่องของกระดูกสันหลัง การพบคุณหมอ ควรปรึกษาคุณหมอย่างไรบ้าง หากวางแผนสำหรับการตั้งครรภ์ ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่ เนื่องจากการใช้ยาอาจมีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ แต่ไม่ควรหยุดการใช้ยาโดยไม่ปรึกษาคุณหมอก่อน คำถามสำหรับถามคุณหมอ […]


ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 5

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 5 ทารกในครรภ์มักมีขนาดตัวเท่ากับเมล็ดงา มีรูปร่างลักษณะเหมือนลูกอ๊อดตัวเล็กจิ๋วมากกว่าทารก หลอดประสาทจะก่อให้เกิดเส้นประสาทไขสันหลังในตัวอ่อน และสร้างสมองและโพรงในช่วงกลางลำตัว ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นหัวใจในที่สุด รกและเยื่อหุ้มเซลล์อื่น ๆ จะมีรูปร่างเหมือนนิ้วมือ สารอาหารจากแม่จะเริ่มส่งผ่านทางสายรกและเยื่อหุ้มเซลล์ต่าง ๆ เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่าง ๆ ต่อไป [embed-health-tool-”due-date”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 5 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 5 ทารกในครรภ์จะมีขนาดตัวเท่ากับเมล็ดงา รูปร่างลักษณะของทารกในสัปดาห์ที่ 5 นี้อาจยังดูเหมือนลูกอ๊อดตัวเล็กจิ๋วมากกว่าทารก ร่างกายทารกในสัปดาห์นี้ประกอบด้วยเซลล์มากมาย หลอดประสาทจะก่อให้เกิดเส้นประสาทไขสันหลังในตัวอ่อน และสร้างสมองและโพรงในช่วงกลางลำตัว ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นหัวใจในที่สุด รกและเยื่อหุ้มเซลล์อื่นๆ จะมีรูปร่างเหมือนนิ้วมือ สารอาหารจากแม่จะผ่านเข้าสู่รกและเยื่อหุ้มเซลล์ต่าง ๆ เพื่อหล่อเลี้ยงให้ทารกเติบโตต่อไป ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ความเปลี่ยนแปลงหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่คือ อารมณ์แปรปรวน ขึ้น ๆ ลง ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในระหว่าง ตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์อาจรู้สึกร่าเริง หดหู่ โกรธ มีความสุข รู้สึกไม่มั่นคง สลับกันไปมาได้ภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมง ซึ่งอารมณ์แสนแปรปรวนของหญิงตั้งครรภ์นี้ เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมถึงความเครียด หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์เอง ความรู้สึกแปลก ๆ หรืออารมณ์แปรปรววนมักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงเดือนที่สองของการตั้งครรภ์ และอาจปรากฏให้เห็นอีกครั้งในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ปกติ หญิงตั้งครรภ์ประมาณ 10-12 เปอร์เซ็นต์ […]


ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 4

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 4 ทารกที่อยู่ในครรภ์มักมีขนาดเท่ากับเมล็ดงาขี้ม่อนหรือยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ในระยะตัวอ่อนนี้เซลล์กำลังพัฒนาอวัยวะต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสมอง หัวใจ ปอด อวัยวะภายใน รวมถึงแขนและขามักเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น [embed-health-tool-”due-date”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 4ลูกจะเติบโตอย่างไร เมื่อย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 ของ การตั้งครรภ์ ทารกที่อยู่ในครรภ์จะมีขนาดเท่ากับเมล็ดงาขี้ม่อนหรือประมาณ 2 มิลลิเมตร ในระยะตัวอ่อนนี้เซลล์จะพัฒนากลายเป็นอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสมอง หัวใจ ปวด อวัยวะภายในต่างๆ รวมถึงแขนและขาของตัวอ่อนก็จะเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างขึ้น นอกจากนี้ ถุงน้ำคร่ำก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นรอบ ๆ ตัวอ่อนและถุงไข่แดงเพื่อเป็นการปกป้องตัวอ่อนในครรภ์ ถุงไข่แดงจะทำหน้าที่ผลิตเลือดและช่วยเลี้ยงดูตัวอ่อนจนกว่ารกจะทำงานแทนได้ ตอนนี้ทารกมีจะมีสิ่งห่อหุ้มที่แตกต่างกันถึง 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นในสุดที่เรียกว่า เอ็นโดเดิร์ม (Endoderm) ซึ่งจะกลายเป็นระบบย่อยอาหาร ตับ และปอด ชั้นกลางที่เรียกว่า เมโซเดิร์ม (Mesoderm) ซึ่งจะกลายเป็นหัวใจ อวัยวะเพศ กระดูก ไต และกล้ามเนื้อ ชั้นนอกสุดที่เรียกว่า เอ็กโทเดิร์ม (Ectoderm) ซึ่งจะกลายเป็นระบบประสาท เส้นผม ผิวหนัง และเล็บ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ในสัปดาห์นี้ตัวอ่อนจะอยู่ติดกับมดลูก ซึ่งเรียกว่าระยะการฝังตัวของไข่ เมื่อมีการฝังตัวของไข่ ทารกจะเริ่มทำการผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่าฮอร์โมนตั้งครรภ์ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน