ไตรมาสที่ 1

การตั้งครรภ์ช่วง ไตรมาสที่ 1 หรือ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คือช่วงเวลาสำคัญที่ควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะนั่นอาจหมายถึงความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เลยทีเดียว เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ช่วง ไตรมาสที่ 1 ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 1

ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน อาการคนท้องมีอะไรบ้าง

ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ขนาดท้อง1เดือน จะยังไม่เป็นที่สังเกตได้เนื่องจากหน้าท้องของคุณแม่ยังไม่ขยายใหญ่แต่อาจสังเกตได้จากอาการอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนไม่มา อารมณ์แปรปรวน หน้าอกขยายและคัดตึง ปัสสาวะบ่อย นอกจากนี้ ยังนับเป็นช่วงเวลาที่เปราะบางสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างมาก เนื่องจากอยู่ในระยะที่ทารกกำลังค่อย ๆ เติบโตและสร้างอวัยวะต่าง ๆ คุณแม่จึงต้องคอยดูแลตัวเองทั้งในเรื่องการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ทารกเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามอายุครรภ์ [embed-health-tool-due-date] ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน คุณแม่ตั้งครรภ์ในเดือนแรกหรือ 4 สัปดาห์แรกขนาดท้องมักไม่ต่างจากก่อนตั้งครรภ์เลย เนื่องจากทารกยังตัวเล็กมากและยังไม่เจริญเติบโตมากพอที่จะทำให้หน้าท้องขยาย โดยทั่วไป ขนาดท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่จนเห็นได้ชัดในช่วงเดือนที่ 4-5 หรือไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ และจะขยายใหญ่ตามอายุครรภ์มากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาการที่เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ แม้ว่าอาการของคนท้องจะไม่สามารถเห็นได้จาก ขนาดหน้าท้อง1เดือน แต่ก็อาจสังเกตได้ด้วยตัวเองจากอาการร่วมอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ประจำเดือนขาด ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์แล้วประจำเดือนมาช้ากว่าปกติประมาณ 1 สัปดาห์ อาจหมายถึงการตั้งครรภ์ระยะแรก ควรตรวจด้วยที่ตรวจครรภ์ด้วยตนเอง ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนไม่ปกติ อาจรอประมาณ 1-2 เดือน หากประจำเดือนยังไม่มาควรตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองหรือไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ หน้าอกขยายและคัดตึง เนื่องจากระดับฮอร์โมนแปรปรวนในช่วงตั้งครรภ์จึงอาจทำให้หน้าอกคัดตึง บวม หรือเจ็บ เส้นเลือดอาจมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น และหัวนมอาจดำคล้ำ ทั้งนี้ อาการต่าง ๆ […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 1

ไตรมาสที่ 1

การตรวจคัดกรองไตรมาส 1 สำคัญอย่างไร

ตรวจคัดกรองไตรมาส 1 ของคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นการตรวจสุขภาพโดยรวมของคุณแม่ และทารกที่อยู่ในครรภ์ เพื่อตรวจคัดกรองข้อมูลเบื้องต้นและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นของตัวทารก ซึ่งรวมถึงข้อบกพร่องของโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม เอ็ดเวิร์ดซินโดรม สามารถช่วยให้ติดตามและวางแผนดูแลคุณแม่และลูกน้อยได้อย่างใกล้ชิด ในกรณีที่ผลตรวจมีความผิดปกติ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ตรวจคัดกรองไตรมาส 1 ควรการตรวจอะไรบ้าง ตรวจคัดกรองไตรมาส 1 นั้น แพทย์อาจจะทำการตรวจดังต่อไปนี้ การซักถามประวัติ และตรวจสุขภาพคุณแม่เบื้องต้น คุณแม่อาจจะตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพและประวัติโรคในครอบครัว เพื่อให้แพทย์รับรู้ข้อมูลว่ามีความเสี่ยงเฉพาะเจาะจงหรือไม่ เช่น โรคทางพันธุกรรมที่สามารถสืบทอดส่งต่อรุ่นสู่รุ่นได้ การตรวจอุ้งเชิงกรานและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อตรวจสุขภาพของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน รวมไปถึงตรวจหามะเร็งปากมดลูกและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) บางชนิด การตรวจเลือด เพื่อตรวจดูความเข้มข้นของเลือด กรุ๊ปเลือด ตรวจหาโรคเอดส์ กามโรค ไวรัสตับอักเสบบี และตรวจคัดกรองโรคเลือดธาลัสซีเมีย รวมไปถึงการวัดสารชีวเคมี 2 ชนิดที่พบในเลือดของคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ  Pregnancy-associated plasma protein-A หรือPAPP-A โปรตีนนี้สร้างโดยรก และ Human chorionic gonadotropin หรือ hCG […]


ไตรมาสที่ 1

อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ควรกินและควรเลี่ยงอะไร

โภชนาการ ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ที่แม่ตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เพราะการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ไม่เพียงแต่จะส่งผลดีต่อแม่ตั้งครรภ์ แต่ยังช่วยให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ตามวัยด้วย แม่ตั้งครรภ์และผู้ดูแลควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ที่ควรกินและควรลดหรืองด เพื่อจะได้เลือกรับประทานอาหารได้เหมาะกับการตั้งครรภ์ในแต่ละช่วง ทั้งนี้ แม่ตั้งครรภ์สามารถปรึกษาคุณหมอหรือนักโภชนาการ เพื่อให้ทราบข้อมูลอาหารที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ควรกินอะไร เมื่อคุณรู้ว่ากำลังเป็นแม่คนแล้ว ดังนั้น แม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ควรให้ความสำคัญในเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และช่วยเสริมสร้างพัฒนาการต่าง ๆ โดยอาหารที่แนะนำให้ แม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก รับประทานมีดังนี้ โฟเลตและกรดโฟลิก เป็นวิตามินบีที่ช่วยป้องกันข้อบกพร่องของท่อประสาท และอาจป้องกันการพิการแต่กำเนิด ควรรับประทานประมาณ 400-1,000 ไมโครกรัม/วัน ซึ่งสามารถหาได้จาก ผักใบเขียว (ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง) ผลไม้รสเปรี้ยว ผักและผลไม้ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของน้ำผลไม้ ผลไม้แห้ง กระป๋อง แช่แข็ง หรือสดก็ได้ แต่ก็ควรระมัดระวังปริมาณน้ำตาล ไฟเบอร์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ขนมปังโฮลเกรน ข้าวซ้อมมือ รำข้าว ข้าวโอ๊ต ผักและผลไม้ต่าง ๆ แคลเซียม ผลิตภัณฑ์จากนม โยเกิร์ต […]


ไตรมาสที่ 1

การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสแรก ควรทำอย่างไร

การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสแรก เป็นเรื่องที่คุณแม่และสมาชิกในครอบครัวควรให้ความสำคัญ เนื่องจาก สุขภาพร่างกายโดยรวมของคุณแม่อาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยในระยะยาวได้ โดยปกติแล้ว ในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในด้านต่าง ๆ เช่น เต้านมอ่อนไหวง่าย เหนื่อยล้า คลื่นไส้ อารมณ์แปรปรวนง่าย อาการแพ้ท้อง ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของคุณแม่ ดังนั้น การดูแลสุขภาพคนท้องช่วงไตรมาสแรก จึงเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสแรก การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสแรก สำหรับคุณแม่ที่รู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์อาจทำได้ดังนี้ ตรวจร่างกาย การเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกาย อาจช่วยให้คุณแม่ทราบถึงสุขภาพโดยรวมของตัวเอง โดยคุณหมอจะตรวจความดันโลหิต น้ำหนักและส่วนสูง ค่าดัชนีมวลกาย เพื่อกำหนดน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ คุณหมอยังอาจตรวจสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ตรวจเต้านมและหัวนม ตรวจอุ้งเชิงกราน ตรวจคัดกรองหัวใจ ปอด ต่อมไทรอยด์ และอาจตรวจเพื่อหามะเร็งปากมดลูก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพโดยรวมของคุณแม่ ตรวจหมู่เลือดหลัก A B O และหมู่เลือดย่อย Rh หากคุณแม่หรือคุณพ่อมีสถานะ Rh Negative การตั้งครรภ์จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ วัดค่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เพื่อให้แน่ใจว่าระดับฮีโมโกลบินไม่ต่ำจนเกินไปเพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคโลหิตจาง ซึ่งภาวะโลหิตจางอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อยล้ามากและอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ เช่น ทารกน้ำหนักน้อย […]


ไตรมาสที่ 1

อาการคนท้องไตรมาสแรก สัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์

อาการคนท้องไตรมาสแรก เป็นสัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์ โดยแต่ละอาการอาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ เพื่อให้แน่ใจถึง อาการคนท้องไตรมาสแรก อาจลองสังเกตสัญญาณของอาการเหล่านี้ที่อาจกำลังเกิดขึ้นกับตัวเอง เพื่อจะรู้ตัวทันและดูแลเจ้าตัวน้อยได้อย่างดีที่สุด [embed-health-tool-”due-date”] อาการคนท้องไตรมาสแรก เป็นอย่างไร แม้ว่า อาการคนท้อง อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่สัญญาณแรกที่บอกว่าผู้หญิงกำลังตั้งครรภ์ คือ รอบประจำเดือนที่ขาดหายไป โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์อาจมีเลือดออกเป็นจุดเล็ก ๆ หรือเรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation Bleeding) นอกจากนี้ อาการคนท้อง ช่วงไตรมาสแรก ยังอาจมีดังต่อไปนี้ เต้านมบวมและกดเจ็บ ในช่วง ไตรมาสแรก เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิ ฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้หน้าอกของคุณไวต่อความรู้สึกมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเจ็บ หรือรู้สึกไม่สบายตัวในบริเวณเต้านมอีกด้วย อาการเหล่านี้จะลดลงเมื่อผ่านไป 2-3 สัปดาห์ เนื่องจากร่างกายมีการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รู้สึกคลื่นไส้ เมื่อตั้งครรภ์เป็นระยะเวลาหนึ่ง ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดอาการแพ้ท้องตามมา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน โดยอาจสามารถจัดการกับ อาการคนท้อง เหล่านี้ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ อย่าปล่อยให้ท้องว่าง กินช้า ๆ ในปริมาณน้อย ๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารหรือกลิ่นที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ เลือกรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบขิง อาจช่วยให้อาการคลื่นไส้ดีขึ้น ปัสสาวะบ่อยครั้ง ปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ […]


ไตรมาสที่ 1

ออกกำลังกายสำหรับท้องไตรมาสแรก แบบไหนจึงจะเหมาะสม

ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนอาจงดออกกำลังกายไปเลย เพราะเกรงว่าจะกระทบทารกในครรภ์ แต่ในความเป็นจริง การออกกำลังกายตั้งแต่เริ่มท้องในช่วงไตรมาสแรกอาจให้ประโยชน์ต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์ได้หลายประการ เช่น ช่วยลดปัญหาท้องผูก ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยไม่ให้อารมณ์แปรปรวน แต่ทั้งนี้  อาจต้องเลือกวิธีการ ออกกำลังกายสำหรับท้องไตรมาสแรก ให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์ สามารถขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพและอายุครรภ์ได้จากคุณหมอ [embed-health-tool-due-date] การออกกำลังกายช่วงท้องไตรมาสแรก ดีอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกออกกำลังกาย อาจส่งผลดีต่อสุขภาพ ดังนี้ อารมณ์ดีขึ้น ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการมีลูก อาจส่งผลต่ออารมณ์ของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ แต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์ออกกำลังกายเป็นประจำ อาจช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย และอาจช่วยกระตุ้นการหลั่งสารที่ช่วยคลายเครียด ทำให้อารมณ์ดีขึ้น เช่น นอร์เอพิเนฟริน เซโรโทนิน เอนดอร์ฟิน นอนหลับได้ดี การออกกำลังกายจะช่วยปรับสมดุลของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมน ทั้งยังส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพของคุณแม่ ช่วยให้สามารถนอนหลับได้เร็วขึ้นและนานขึ้น แต่คุณแม่ตั้งครรภ์อาจต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงใกล้เวลาเข้านอน หรือเกิน 3 ทุ่มไปแล้ว เพราะอาจทำให้ตื่นตัว และมีอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ จนนอนไม่หลับ ลดปัญหาท้องผูก ขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก คุณแม่อาจประสบกับปัญหาท้องผูกได้เนื่องจากมดลูกขยายตัวจนไปเบียดลำไส้ และร่างกายหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมากขึ้นจนทำให้ลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวช้าลง และขับถ่ายยาก แต่เมื่อออกกำลังกายบ่อย […]


ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 12 [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 12 ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกอาจมีขนาดเท่ากับลูกมะนาว โดยมีน้ำหนักประมาณ 15 กรัม และสูงประมาณ 5 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า อวัยวะของลูกน้อยส่วนใหญ่ได้พัฒนาขึ้นแล้ว แต่ยังต้องการเวลาในการพัฒนาให้โตเต็มที่ เพื่อที่จะได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป อวัยวะที่พัฒนาขึ้นแล้วก็คืออวัยวะในระบบย่อยอาหาร ลูกกำลังเริ่มฝึกการเคลื่อนไหวเพื่อย่อยอาหาร ซึ่งอาจจะมีการเคลื่อนไหวที่ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นต่าง ๆ เช่น การกำมือ การดูด การสะอึก คุณแม่อาจยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเหล่านี้ แต่ในอีกประมาน 2-3 สัปดาห์ ก็จะเริ่มรู้สึกได้อย่างชัดเจน ไขกระดูกในกระดูกของลูกกำลังผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวขึ้นมา ซึ่งจะทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ พร้อมกันนี้ก็สร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมาด้วย ต่อมใต้สมองจะเริ่มผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ๆ ขึ้นมาในช่วงสัปดาห์นี้ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เลือดที่สูบฉีดมากขึ้นจะช่วยให้ผิวของคุณแม่ดูเปล่งปลั่งสดใส แต่อาจจะทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะได้ ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ซึ่งรวมถึงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้เส้นเลือดคลายตัวและขยายใหญ่ขึ้น อาจส่งผลให้สูบฉีดเลือดเพื่อลำเลียงสารอาหารสำคัญ ๆ ไปให้ลูกน้อยได้มากขึ้น จึงอาจทำให้ความดันโลหิตลดลง และมีเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงสมองน้อยลงด้วย นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะ มากไปกว่านั้น คุณแม่อาจรู้สึกหน้ามืดมากขึ้น เมื่อลุกขึ้นยืนหรือเคลื่อนไหวร่างกายเร็วเกินไป ดังนั้น คุณหมอาจแนะนำให้ทำงานหรือทำกิจกรรมที่ไม่หนักจนเกินไป และอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะ คือ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ […]


ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 11 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 11 เป็นช่วงที่ทารกพัฒนาจากตัวอ่อนมาเป็นทารกในครรภ์ เริ่มมีลักษณะรูปร่างคล้ายกับมนุษย์ อีกทั้งยังเริ่มมีการพัฒนาของอวัยวะเพศ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจเริ่มมีอาการแพ้ท้องลดลง แต่อาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น อาการท้องผูก อาการอ่อนเพลีย ดังนั้น จึงควรดูตัวเองให้ดี เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 11 ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกของคุณแม่มีขนาดเท่ามะเดื่อฝรั่ง หรือลูกฟิก และยาว 3 เซนติเมตรจากศีรษะถึงปลายเท้า และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับการเจริญเติบโตของทารก เส้นเลือดในรกจะเพิ่มมากขึ้นทั้งขนาดและจำนวน เพื่อส่งสารอาหารจำนวนมากให้กับทารกผ่านทางเลือดของคุณแม่ ตอนนี้ลูกของคุณแม่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็กอีกต่อไปแล้ว สามารถเรียกว่าทารกได้อย่างเต็มปากแล้ว อย่างไรก็ตาม ศีรษะของทารกยังต้องมีการพัฒนาต่อไป และโดยปกติจะมีขนาดครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว แต่ร่างกายจะเติบโตอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่สัปดาห์ต่อจากนี้ ภายในปลายสัปดาห์นี้ อวัยวะเพศชายหรืออวัยวะเพศหญิงก็จะเริ่มพัฒนาขึ้น และจะพัฒนาต่อไปอีกสองสามสัปดาห์ แต่จะยังตรวจด้วยอัลตราซาวด์ไม่พบ จนกว่าจะถึงประมาณสัปดาห์ที่ 18 ถึง 20 ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ตอนนี้คุณแม่รู้สึกมีพลังขึ้นมาบ้างนิดหน่อยแล้ว และอาการคลื่นไส้ก็เริ่มลดลง แต่โชคร้ายหน่อยตรงที่มีอาการอย่างอื่นเข้ามาแทน หนึ่งในอาการเหล่านั้นก็คืออาการท้องผูก ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากคุณแม่อุจจาระลำบาก หรือไม่ได้อุจจาระมานานกว่า 3 วัน ซึ่งต้นเหตุก็มาจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ โดยฮอร์โมนนี้จะทำให้กระเพาะและหลอดอาหารเกิดการคลายตัว ทำให้การย่อยอาหารช้าลง นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอาหารไม่ย่อยและท้องอืดอีกด้วย ในการจัดการกับอาการท้องผูกนั้น คุณแม่ควรดื่มน้ำให้มาก และกินไฟเบอร์หรือกากใยให้มากขึ้นด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยกากใยก็ได้แก่ผลไม้สดต่าง ๆ เช่น มะละกอ […]


ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 10

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 10 เป็นระยะที่ทารกในครรภ์มีน้ำหนักประมาณ 7 กรัม ความยาวจากศีรษะถึงปลายเท้าประมาณ  2.54 เซนติเมตร หรือขนาดเท่ากับผลส้มจี๊ด ในสัปดาห์ที่ 10 เริ่มจะมีการพัฒนาร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ จนสามารถเห็นอวัยวะทุกส่วนของทารกเป็นรูปร่างขึ้น [embed-health-tool-”due-date”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 10ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ทารกในครรภ์มีขนาดเท่ากับผลส้มจี๊ดแล้ว โดยมีน้ำหนักประมาณ 7 กรัม ความยาวจากศีรษะถึงปลายเท้าประมาณ  2.54 เซนติเมตร ในสัปดาห์ที่ 10 อวัยวะทุกส่วนของทารกจะเป็นรูปร่างขึ้น อาจเห็นได้ชัดเจนเมื่อทำการอัลตร้าซาวด์ กระดูกและกระดูกอ่อนต่าง ๆ กำลังก่อร่างขึ้นเป็นขา เพื่อพัฒนาเป็นหัวเข่าและข้อเท้า ในขณะเดียวกันแขนก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง และมีความแข็งแรงขึ้น และในขณะที่กระดูกเริ่มแข็งแรงขึ้นนั้น ฟันก็เริ่มก่อร่างขึ้นมาใต้เหงือก แต่ยังจะไม่โผล่พ้นเหงือกจนกว่าจะมีอายุ 6 เดือน ระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็กำลังพัฒนาเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบย่อยอาหารซึ่งเริ่มผลิตน้ำย่อย ในขณะที่ไตเริ่มผลิตปัสสาวะซึ่งจะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะของคุณแม่ หากเป็นเพศชาย อัณฑะเริ่มผลิตฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่าเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ขึ้นมาแล้ว ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ในช่วงก่อนที่จะตั้งครรภ์นั้น มดลูกของเพศหญิงมักมีขนาดเท่าลูกแพร์ลูกเล็ก ๆ แต่มาถึงสัปดาห์นี้ มดลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าผลเกรปฟรุต หน้าท้องจึงเริ่มยื่นออกมาให้เห็นแล้ว อาจต้องหาชุดคลุมท้องมาใส่เพราะชุดปกติอาจจะเริ่มสวมใส่แล้วรู้สึกไม่ค่อยสบายตัวแล้ว เพราะอาจเริ่มรู้สึกคับบริเวณหน้าอก ท้องที่ใหญ่ขึ้นก็อาจเกิดจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งอาการท้องอืดด้วย […]


ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 9 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 9 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 9ทารกในครรภ์ จะเติบโตอย่างไร ตอนนี้คุณตั้งครรภ์ได้ 9 สัปดาห์แล้ว ทารกในครรภ์ ในตอนนี้มีขนาดเท่าผลองุ่น หนักประมาณ 28 กรัม และมีความยาวประมาณ 2.54 เซนติเมตร หัวใจของ ทารกในครรภ์ พัฒนาจนเกือบจะสมบูรณ์แล้ว โดยแบ่งออกเป็นสี่ห้อง ลิ้นปิดเปิดก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นแล้ว ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง ถึงแม้คุณจะไม่ได้ยินหรือรู้สึกอะไร แต่เราก็สามารถตรวจจับเสียงหัวใจเต้นได้ด้วยเครื่องมือชนิดพิเศษที่เรียกว่า ดอพเพลอร์ (Doppler) คุณหมอจะใช้เครื่องมือนี้ตรวจสอบการเต้นของหัวใจ ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกสบายใจที่ได้ยินเสียงหัวใจเต้นของลูกน้อย และสิ่งนี้จะช่วยย้ำเตือนคุณว่า ลูกน้อยกำลังเจริญเติบโตและมีความแข็งแรงขึ้นทุกวัน ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ในช่วงนี้อาจจะมีคนทักว่าคุณมีผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ซึ่งก็อาจเป็นจริงตามนั้นนะ เนื่องจากการช่วยให้ ทารกในครรภ์ เจริญเติบโตนั้น ร่างกายจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดเพิ่มขึ้น และกระตุ้นความดันโลหิตเพิ่มขึ้นด้วย เลยอาจทำให้ผิวพรรณของคุณดูเปล่งปลั่งสดใสขึ้น นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย คือเวียนหัว หน้ามืด หรือรู้สึกร้อนและเหงื่อออก ซึ่งถือเป็นอาการปกติ มากไปกว่านั้น ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่ไม่ได้ ตั้งครรภ์ จะมีเลือดประมาณ 100 มิลลิลิตร สูบฉีดอยู่ในมดลูก แต่ในช่วงตั้งครรภ์ […]


ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 8 ที่โดดเด่นคือ ตัวอ่อนเริ่มพัฒนาเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น นิ้วมือที่เป็นพังผืดแยกออกจากกัน และมีเปลือกตา ในช่วงนี้คุณแม่ควรดูแลตัวเอง ทั้งเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ผ่อนคลายความเครียด และรับประทานวิตามินบำรุงครรภ์ตามที่คุณหมอแนะนำ นอกจากนี้ อาจออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดินเล่น ว่ายน้ำ และควรหลีกเลี่ยงการออกแรงมากหรือทำกิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วย [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 8 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 8 ในช่วงนี้ทารกจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 2.7 เซนติเมตร ทารกจะเริ่มเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง นิ้วมือและนิ้วเท้าจากที่เคยติดกันคล้ายพังผืด จะเริ่มแยกออกจากกันและเริ่มมองเห็นเป็นรูปเป็นร่าง ตัวอ่อนจะเริ่มดูเหมือนทารกมากขึ้น มีริมฝีปากบน จมูกน้อย  ๆ และเปลือกตาขนาดจิ๋ว เริ่มมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น รวมถึงน้ำคร่ำก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นประมาณสัปดาห์ละ 30 มิลลิลิตร ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ซึ่งรวมถึงฮอร์โมนที่เรียกว่าโปรเจสเตอโรน คือตัวการที่ทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือการพักผ่อน อย่าพยายามฝืนร่างกาย โดยอาจงีบหลับช่วงสั้น ๆ เพื่อช่วยเรียกคืนพลังงานที่สูญเสียไป ควรสังเกตอาการของร่างกายให้ดี อย่าให้ร่างกายทำงานหักโหมเกินไป ควรระมัดระวังอะไรบ้าง อาการแพ้ท้องอาจทำให้รู้เหนื่อยอ่อน นี่คือเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้จัดการกับอาการแพ้ท้องได้ เลือกอาหารให้เหมาะ ควรเลือกอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตน้อย ไขมันต่ำ และย่อยง่าย รวมถึงเลือกกินของว่างอื่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน