วัยรุ่น

เมื่อลูกของคุณเริ่มเข้าสู่ "วัยรุ่น" (หญิงอายุ 12-17 ปี และชายอายุ 14-19 ปี) แน่นอนว่าการดูแลสุขภาพและเรื่องอื่น ๆ โดยรวมก็ต้องเปลี่ยนไปจากตอนที่ยังเป็นเด็ก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเรียนรู้วิธีการเลี้ยงลูกและสนับสนุนพวกเขาได้ ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

วัยรุ่น

ความรุนแรงในโรงเรียน คืออะไร และควรป้องกันอย่างไร

ความรุนแรงในโรงเรียน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกโรงเรียน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยที่ทำให้เด็กใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว การเลี้ยงดู เพื่อน สังคม สภาพแวดล้อม ภาวะสุขภาพ การใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งโรงเรียน คุณครู ผู้ปกครอง และชุมชนควรมีส่วนร่วมในการป้องกันความรุนแรงในโรงเรียน เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีของเด็กในอนาคต [embed-health-tool-bmi] ความรุนแรงในโรงเรียน คืออะไร ความรุนแรงในโรงเรียน คือ พฤติกรรมความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นภายในโรงเรียน ระหว่างการเดินไปและกลับจากโรงเรียน หรือการไปทัศนศึกษากับโรงเรียน เช่น การพูดจาก้าวร้าว การทำร้ายร่างกาย การใช้อาวุธทำร้ายผู้อื่น รวมไปถึงการทำความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโรงเรียน โดยสัญญาณเตือนของนักเรียนที่อาจมีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน คุณครูและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนอาจสังเกตได้จากสิ่งเหล่านี้ นักเรียนพูดคุยหรือเล่นกับอาวุธทุกชนิด นักเรียนมีพฤติกรรมทำร้ายสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์อื่น ๆ นักเรียนมีพฤติกรรมข่มขู่หรือกลั่นแกล้งผู้อื่น นักเรียนพูดถึงความรุนแรง ดูหนังที่มีความรุนแรง หรือชอบเล่นเกมที่มีความรุนแรง นักเรียนพูดหรือแสดงท่าทีก้าวร้าวทั้งต่อเพื่อนและผู้ใหญ่ สาเหตุของ ความรุนแรงในโรงเรียน อาจไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในโรงเรียน แต่อาจเป็นไปได้ว่าเด็กที่เป็นผู้ใช้ความรุนแรงอาจถูกครอบครัวหรือสังคมกดดันในด้านต่าง ๆ เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว การเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม ผลการเรียนตกต่ำ พฤติกรรม บุคลิกภาพ ฐานะครอบครัว ภาวะสุขภาพ การใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วัยอยากรู้อยากลอง ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เด็กที่ยังไม่มีวุฒิภาวะในการตัดสินใจมากพอ แสดงพฤติกรรมหรือลงมือทำความรุนแรงต่อผู้อื่น ๆ ได้ […]

สำรวจ วัยรุ่น

วัยรุ่น

วัยรุ่นแบ่งออกเป็นกี่ช่วง การเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นที่ควรรู้

วัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม การทำความเข้าใจว่า วัยรุ่นแบ่งออกเป็นกี่ช่วง และวัยรุ่นในแต่ละช่วงวัยมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างไรบ้าง อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกวัยรุ่นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจช่วยให้ลูกเจริญเติบโตได้สมวัย มีสุขภาพกายใจและความเป็นอยู่ที่ดี [embed-health-tool-vaccination-tool] วัยรุ่น คืออะไร วัยรุ่น คือ คนที่อยู่ในช่วงอายุ 10-21 ปี ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากเด็กไปเป็นผู้ใหญ่ คนวัยนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ ส่วนใหญ่มักเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง สามารถมองสิ่งต่าง ๆ ได้ลึกซึ้งมากขึ้น เริ่มสนใจรูปลักษณ์ของตัวเองและพยายามมองหาอัตลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะตัว มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย รู้สึกอยากมีอิสระจากครอบครัว เริ่มมีความสนใจเรื่องเพศมากขึ้น และมักต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนและสังคมที่ตัวเองอยู่ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่บางประการขณะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นอาจทำให้ลูกรู้สึกสับสนและรับมือไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เวลาในการปรับตัวและเข้าใจธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น พร้อมทั้งมอบความรักและความเข้าใจให้กับลูกอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้ลูกสามารถเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและผ่านพ้นวัยที่สับสนนี้ไปได้ด้วยดี วัยรุ่นแบ่งออกเป็นกี่ช่วง วัยรุ่น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ วัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นตอนกลาง และวัยรุ่นตอนปลาย วัยรุ่นตอนต้น อายุ 10-13 ปี ในช่วงนี้ วัยรุ่นจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อาจเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายได้อย่างชัดเจน เช่น สูงขึ้นแบบก้าวกระโดด เริ่มมีขนขึ้นตามแขน ขา และบริเวณอวัยวะเพศ ผู้หญิงอาจเริ่มมีหน้าอก ผู้ชายอาจเริ่มเสียงแตกหนุ่ม มีสิว วัยรุ่นตอนต้นจึงจะเริ่มรู้สึกอ่อนไหวและกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง อาจรู้สึกไม่มั่นใจและมักเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนที่อยู่ในวัยเดียวกัน หากวัยรุ่นบางคนเติบโตได้เร็วหรือช้ากว่าเพื่อนคนอื่น ๆ […]


วัยรุ่น

วัยรุ่นอายุเท่าไหร่ และปัญหาสุขภาพที่ควรให้ความสำคัญ

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจ แต่บางคนอาจมีการเจริญเติบโตทางร่างกายและมีพัฒนาการที่ช้าหรือเร็วกว่าเพื่อนคนอื่น ๆ จึงอาจทำให้พ่อแม่หรือคนภายนอกเกิดความสงสัยว่า วัยรุ่นอายุเท่าไหร่ ซึ่งปกติวัยรุ่นจะมีอายุอยู่ในช่วง 10-20 ปี ซึ่งเป็นวัยที่คุณพ่อคุณแม่อาจจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้วัยรุ่นดำเนินชีวิตและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] วัยรุ่นอายุเท่าไหร่ วัยรุ่นเป็นช่วงวัยเปลี่ยนผ่านระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ จึงเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยช่วงวัยรุ่นจะมีอายุตั้งแต่ 10-20 ปี ซึ่งร่างกายของเพศหญิงและเพศชายจะเริ่มเจริญเติบโตมากขึ้นและค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละส่วน เช่น หน้าอกและอัณฑะขยายใหญ่ขึ้น เสียงแตกหนุ่ม มีขนขึ้นที่รักแร้และอวัยวะเพศ สำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ วัยรุ่นจะเริ่มให้ความสนใจในบางเรื่องมากขึ้น เช่น อัตลักษณ์ทางเพศ ความสนใจเรื่องรูปร่างหน้าตา การเข้าสังคม ความต้องการเป็นอิสระจากครอบครัว สนใจเรื่องความสัมพันธ์แบบคู่รัก ซึ่งในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตในวัยรุ่นได้เช่นกัน ปัญหาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตในวัยรุ่น ปัญหาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่อาจพบได้บ่อยในวัยรุ่น มีดังนี้ ปัญหาภาพลักษณ์ทางร่างกาย วัยรุ่นเป็นวัยที่เริ่มให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์ทางเพศและรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างมาก จึงอาจทำให้วัยรุ่นบางคนพยายามทำพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เช่น อดอาหารเพื่อให้ผอม กินยาลดความอ้วน ใช้สารสเตียรอยด์เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ ปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เช่น ความไม่เข้าใจในครอบครัว พ่อแม่แยกทาง ความรุนแรงในครอบครัว การถูกล่วงละเมิดทางเพศ สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและสุขภาพร่างกายของวัยรุ่น ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นปมปัญหาภายในจิตใจในระยะยาวได้ การถูกกลั่นแกล้ง วัยรุ่นเป็นวัยที่ให้ความสำคัญกับการเข้าสังคมเป็นอย่างมาก จึงอาจมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการกลั่นแกล้ง หรือ […]


ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

6 ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการของวัยรุ่นอย่างตรงจุด อาจเป็นวิธีที่จะช่วยให้วัยรุ่นสามารถเจริญเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พ่อแม่จึงควรรู้ถึง ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น ทั้ง 6 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางชีวภาพ สภาพจิตใจและอารมณ์ โภชนาการ การเลี้ยงดูของครอบครัว ภาวะสุขภาพ และสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจมีทั้งปัจจัยตามธรรมชาติที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และปัจจัยที่สามารถส่งเสริม จัดการให้สามารถพัฒนาไปในทางที่ดีได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของวัยรุ่นที่ก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น มีความสำคัญอย่างไร การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นที่เหมาะสมตามวัย อาจมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เนื่องจากวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ต้องมีการปรับตัวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก จึงอาจทำให้มีความอ่อนไหวง่ายทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต บ่อยครั้งที่ปัจจัยต่าง ๆ อาจกระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดความเครียด กดดัน และวิตกกังวล จนอาจก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสมของวัยรุ่น 6 ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น ในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา อาจมีดังนี้ ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางชีวภาพเป็นปัจจัยภายในที่ได้รับมาตั้งแต่กำเนิดและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน เพศ ลักษณะรูปร่าง พื้นฐานอารมณ์ สภาพร่างกาย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจมีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายของวัยรุ่น เช่น ส่วนสูง รูปร่าง สีผม สีตา สีผิว และอาจมีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

วัยรุ่น กับพัฒนาการทางจิตใจที่ควรให้ความสำคัญ

วัยรุ่น เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและระบบประสาท รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ที่อาจส่งผลต่อสภาพจิตใจทำให้วัยรุ่นรู้สึกอยากรู้ อยากลอง กดดัน หรืออาจมีความวิตกกังวล เกี่ยวกับภาพลักษณ์ อัตลักษณ์ของตนเอง ความสนใจในเรื่องเพศ หรือต้องการความเป็นอิสระมากขึ้น ดังนั้น พ่อแม่จึงควรให้ความสำคัญและทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้ดูแลและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของวัยรุ่นได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] วัยรุ่น คืออะไร วัยรุ่น คือ ช่วงวัยที่มีอายุระหว่าง 10-21 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ วัยรุ่นจึงต้องมีการปรับตัวต่อสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอาจเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและระบบประสาทที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ อารมณ์ และสังคม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด จึงทำให้วัยรุ่นเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเองมากขึ้น ต้องการอิสระ มีความสนใจในรูปลักษณ์ของตัวเอง แสวงหาอัตลักษณ์ของตนเอง รวมถึงมีความสนใจในเรื่องเพศ สนใจที่จะเข้าสังคม และต้องการการยอมรับในสังคมมากขึ้น ความสำคัญของพัฒนาการทางจิตใจของวัยรุ่น ช่วงวัยรุ่นแบ่งออกเป็นวัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นตอนกลาง และวัยรุ่นตอนปลาย ซึ่งในแต่ละช่วงวัยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และสังคม ไปพร้อม ๆ กัน ดังนี้ วัยรุ่นตอนต้น อายุ 10-13 ปี ในช่วงนี้ร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น […]


วัยรุ่น

วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก

ประจำเดือน คือเลือดที่ไหลออกมาทางช่องคลอดในทุก ๆ เดือน เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ โดยส่วนใหญ่มักมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปี การเป็นประจำเดือนถือเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งในการเจริญเติบโตของลูก ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรสอนให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือนครั้งแรกและวิธีการใช้ผ้าอนามัยอย่างถูกต้อง เพื่อให้ลูกสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมเมื่อเป็นประจำเดือน [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือน คืออะไร ประจำเดือน คือ เลือดและเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาเนื่องจากจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) โดยปกติในแต่ละเดือน ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนออกมาเพื่อกระตุ้นให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมา และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับตั้งครรภ์ แต่หากไม่มีอสุจิมาผสมกับไข่ ระดับฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้จะลดลง และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกและไหลออกมาเป็นประจำเดือน โดยประจำเดือนมักจะมาทุก ๆ 21-45 วัน และอาจเป็นประจำเดือนนานประมาณ 3-8 วัน ทั้งนี้ รอบเดือนของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป สัญญาณเตือนเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก โดยปกติลูกมักจะเป็นประจำเดือนครั้งแรกเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์หรือวัยแรกรุ่น ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงอายุ 12 ปี แต่บางคนอาจมาช้าหรือเร็วกว่านั้นตามภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล โดยสัญญาณเตือนการเป็นประจำเดือนครั้งแรกของลูก มีดังนี้ ท้องเสีย ท้องอืด และอาจปวดท้องเกร็งช่วงท้องด้านล่าง อารมณ์แปรปรวน ปวดเมื่อยตามร่างกาย เหนื่อยล้า เจ็บหน้าอกและเต้านมเมื่อสัมผัส รู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้น หิวบ่อยขึ้น วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก อาจทำได้ดังนี้ พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือน หากเป็นไปได้ควรพูดก่อนที่ประจำเดือนจะมา เพื่อให้ลูกทำความเข้าใจและรับมือได้ด้วยตัวเอง ช่วยลดอาการตื่นตกใจเมื่อประจำเดือนมา สอนลูกเกี่ยวกับวิธีการเลือกผ้าอนามัย วิธีการใช้ผ้าอนามัย […]


วัยรุ่น

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ความเสี่ยงสุขภาพที่อาจพบได้ และวิธีรับมือ

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ ทั้งนี้ เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรรับมืออย่างถูกวิธี โดยคำนึงถึงสุขภาพกายและสุขภาพใจของคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ หากต้องการยุติการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเนื่องจากความไม่พร้อมหรือปัญหาสุขภาพ ควรเลือกวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องโดยให้หน่วยงานรัฐหรือสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ตั้งครรภ์มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] ความเสี่ยงต่อสุขภาพของ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพทั้งต่อแม่และทารก ดังต่อไปนี้ ภาวะความดันโลหิตสูง ผู้หญิงที่อายุยังน้อยเสี่ยงเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้มากกว่าผู้หญิงในวัย 20-30 ปี ภาวะนี้อาจส่งผลให้ร่างกายทำงานไม่ปกติ ใบหน้าและมือบวม ระดับโปรตีนในปัสสาวะสูงขึ้น และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อทั้งแม่และเด็กได้ เช่น รกเสื่อม ทารกเสียชีวิตในครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เด็กที่เกิดมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ เนื่องจากคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น เช่น เด็กอาจมีน้ำหนักเพียง 1.4-2.4 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าน้อยกว่าน้ำหนักตัวทารกคลอดตามกำหนดที่มักอยู่ระหว่าง 2.9-4 กิโลกรัม ทารกแรกเกิดที่น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากหน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ (Neonatal Intensive Care Unit หรือ NICU) โดยต้องอยู่ในตู้เพื่อให้ออกซิเจนจนกว่าจะสามารถหายใจเองได้ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อาจทำให้รู้สึกเครียดและกดดันอย่างมาก จนส่งผลให้มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ หากสงสัยหรือพบว่าตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ควรพูดคุยกับคนรอบตัวที่ไว้วางใจ […]


ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น ทางร่างกายและสติปัญญา

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น หมายถึง การพัฒนาทางร่างกายและสติปัญญาในช่วงอายุประมาณ 12-18 ปี โดยผู้หญิงมักจะเจริญเติบโตทางร่างกายเร็วกว่าผู้ชายประมาณ 2 ปี ในขณะที่พัฒนาการด้านสติปัญญานั้นอาจใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ การช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของวัยรุ่นอย่างเหมาะสม ถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้วัยรุ่นเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น [embed-health-tool-bmi] การเจริญเติบโตของวัยรุ่น มีอะไรบ้าง วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ มีการเจริญเติบโตทางร่างกายและทางสติปัญญา ดังนี้ การเจริญเติบโตของวัยรุ่น ทางร่างกาย ร่างกายของวัยรุ่นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งกล้ามเนื้อและรูปร่าง แต่ผู้หญิงกับผู้ชายอาจมีพัฒนาการทางร่างกายที่แตกต่างกัน ดังนี้ วัยรุ่นหญิง ส่วนใหญ่เริ่มมีพัฒนาการทางเพศตั้งแต่อายุ 8-13 ปี และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วระหว่างอายุ 10-14 ปี โดยผู้หญิงจะเริ่มมีการเปลี่ยนทางร่างกายหลายส่วน ได้แก่ ความสูงของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หน้าอกเริ่มใหญ่ขึ้นและสะโพกเริ่มมีส่วนเว้าส่วนโค้งมากขึ้น เริ่มมีขนรักแร้ ขนที่อวัยวะเพศ โดยปกติจะเริ่มมีขนภายใน 6-12 เดือนหลังจากเต้านมเริ่มขยาย ส่วนประกอบของระบบสืบพันธุ์ เช่น มดลูก คลิตอริส ช่องคลอด เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก อาจมีประจำเดือนตอนอายุประมาณ 13 ปี เมื่อผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน การพัฒนาของความสูงอาจเพิ่มขึ้นอีก 1-2 นิ้วและการพัฒนาของความสูงอาจค่อย ๆ ช้าลงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย วัยรุ่นชาย ส่วนใหญ่เริ่มมีพัฒนาการทางเพศตั้งแต่อายุ 10-14 ปี และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนอายุประมาณ 16 ปี ซึ่งการเจริญเติบโตของเด็กผู้ชายมักช้ากว่าผู้หญิง […]


ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

วัยรุ่น พัฒนาการและสุขภาพ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

วัยรุ่น เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ทั้งยังเป็นวัยที่ต้องการอิสระจากครอบครัวมากขึ้น ค้นหาตัวเอง และอาจติดเพื่อน มีความอยากรู้อยากลองในสิ่งใหม่ ๆ จึงอาจมีความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ  เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด ใช้ความรุนแรง มีเพศสัมพันธ์และอาจตั้งครรภ์โดยพร้อม ดังนั้น การทำความเข้าใจและการดูแลสุขภาพอาจช่วยส่งเสริมการเติบโตของวัยรุ่นที่ดีในระยะยาวได้ วัยรุ่น คืออะไร วัยรุ่น คือ ช่วงวัยเปลี่ยนผ่านระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ อายุประมาณ 12-20 ปี ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในหลายด้าน ทั้งด้านร่างกาย บุคลิกภาพ สติปัญญา อารมณ์และทางสังคม พัฒนาการวัยรุ่น พัฒนาการวัยรุ่นประกอบไปด้วยพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านสติปัญหา ด้านอารมณ์และทางสังคม ดังนี้ พัฒนาการด้านร่างกาย ร่างกายของวัยรุ่นทั้งชายและหญิงกำลังเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งรูปร่าง ความสูงและน้ำหนัก รวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์ก็จะเริ่มพัฒนาอย่างเต็มที่ ซึ่งวัยรุ่นบางคนอาจรู้สึกวิตกกังวล เครียดหรือสับสนกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น วัยรุ่นผู้หญิง เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อายุประมาณ 11-12 ปี อาจเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกอายุประมาณ 13 ปี เต้านมเริ่มขยายออก อาจเริ่มมีขนขึ้นตามจุดต่าง ๆ รวมทั้งรูปร่างอาจเริ่มมีสัดส่วนที่ชัดเจนมากขึ้น วัยรุ่นผู้ชาย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อายุประมาณ 14 ปี ซึ่งช้ากว่าผู้หญิงเล็กน้อย อวัยวะเพศเริ่มขยายใหญ่ขึ้น […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่น ปัญหาสุขภาพจิต ที่ไม่ควรละเลย

โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่น เป็นอีกปัญสุขภาพจิตที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย เนื่องจากวัยรุ่นทุกคนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ และหากวัยรุ่นเป็นโรคสมาธิสั้นก็สามารถส่งผลกับการเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียน และการใช้ชีวิตของวัยรุ่นได้ โรคสมาธิสั้น ส่งผลต่อวัยรุ่นอย่างไร โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่นอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเรียนได้ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการรักษาโรคสมาธิสั้นตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก และได้รับผลจากโรคต่อเนื่องมาถึงช่วงวัยรุ่น วัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจลืมทำงานหรือส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ทำหนังสือเรียนหาย รู้สึกเบื่อกับการนั่งเรียนนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน อาจกลายเป็นคนไม่สนใจการเรียนหรือบางคนอาจปรับตัวมาจริงจังกับการเรียนและการใช้ชีวิตมากเกินไปเนื่องจากเกิดความเครียด ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเรียนรู้ทักษะทางด้านกีฬาและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างด้วย โรคสมาธิสั้นในวันรุ่น เพิ่มความเสี่ยงสุขภาพจิตอื่น ๆ โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่นอาจเพิ่มความเสี่ยงสุขภาพจิตด้านอื่น ๆ ได้ ทั้งความผิดปกติทางจิต พฤติกรรมและอารมณ์ ดังนี้ ความผิดปกติทางพฤติกรรมซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดความรุนแรง และการกระทำผิดต่าง ๆ ความผิดปกติทางอารมณ์ทั้งความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า อาจเป็นเป้าหมายของการถูกกลั่นแกล้ง เสี่ยงใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ เสี่ยงฆ่าตัวตาย อาจมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การดูแล โรคสมาธิสั้นในวันรุ่น โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในหลายด้าน ครอบครัวและโรงเรียนจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้วัยรุ่นสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข การดูแลที่บ้าน คุณอาจช่วยให้วัยรุ่นสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยเริ่มต้นจากที่บ้าน ดังนี้ วางทิศทางการเรียนและขีดเส้นจำกัดกิจกรรมบางอย่างอย่างชัดเจน กำหนดตารางประจำวัน และเก็บสิ่งรบกวนสมาธิ สนับสนุนในกิจกรรมที่วัยรุ่นสนใจ เช่น กีฬา งานอดิเรก ดนตรี ให้รางวัลหรือแสดงคำชื่นชมเมื่อวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ดี จัดกิจวัตรประจำวันของสมาชิกในครอบครัวให้เหมือนกัน เพื่อเอื้อต่อการทำกิจกรรมของลูก พูดคุยกับครูที่โรงเรียนเพื่อร่วมมือกันช่วยเหลือวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้น ฝึกควบคุมอารมณ์เมื่อต้องการฝึกวินัยให้วัยรุ่นเป็นโรคสมาธิสั้น เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับวัยรุ่น […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

วัยรุ่นทำร้ายตัวเอง มีสาเหตุจากอะไร ป้องกันได้อย่างไร

วัยรุ่นทำร้ายตัวเอง ถือเป็นปัญหาสังคมที่ควรได้รับการเยียวยาแก้ไข ความรัก ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจภายในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง ควรให้ความใส่ใจ หมั่นสังเกต คอยพูดคุยสอบถาม และสอดส่องพฤติกรรมโดยเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม เปิดใจรับฟังในทุกปัญหาและทุกเรื่องราวโดยไม่ต่อว่าหรือดุด่า เมื่อวัยรุ่นรู้สึกว่าเขามีครอบครัวเป็นที่พึ่ง โอกาสที่เขาจะทำร้ายตัวเองย่อมลดน้อยลง วัยรุ่นทำร้ายตัวเอง มีสาเหตุจากอะไร วัยรุ่นทำร้ายตัวเองเกิดจากหลายสาเหตุ ขาดความรักและความใส่ใจ ต้องการให้มีใครสักคนให้เวลาและคอยรับฟังปัญหาด้วยความเข้าใจ มีความเครียดสะสมทางอารมณ์ หรือรู้สึกเศร้า กดดัน จากสิ่งต่าง ๆ และหาทางออกพื่อปลดปล่อยความรู้สึกด้วยการทำร้ายตัวเอง รู้สึกโกรธ และต้องการระบายความโกรธ เกลียดชัง ออกมาผ่านการทำร้ายตัวเอง เปลี่ยนความเจ็บปวดทางความรู้สึกให้กลายเป็นความเจ็บปวดทางร่างกายแทน ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ เพราะเมื่อทำร้ายตัวเอง อาจทำให้มีคนหยิบยื่นความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น วิธีการที่วัยรุ่นใช้ทำร้ายตัวเอง วัยรุ่นทำร้ายตัวเองสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ใช้มีดกรีด เกา สลักเครื่องหมายบนรางกาย แกะสะเก็ดแผลจนแผลไม่หาย ดึงผม หรือตัดผมให้แหว่ง ใช้การเผาตัวเอง กัดหรือตีตัวเองแรง ๆ หรือใช้อาวุธช่วย กระแทกตัวเองเข้ากับสิ่งของ ของแข็ง หรือผนัง ประตูบ้าน สัญญาณเตือนของ วัยรุ่นทำร้ายตัวเอง เมื่อวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง มักจะพยายามปิดบังสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากอาจรู้สึกละอายใจ กังวลว่าผู้อื่นจะโกรธ หรือไม่เข้าใจ สัญญาณเตือนว่าวัยรุ่นอาจมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ได้แก่ สัญญาณเตือนทางพฤติกรรม วิถีการนอนหรือการรับประทานอาหารมีความเปลี่ยนแปลงไป หมดความสนใจในกิจกรรมที่สนใจ […]

โฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


โฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม