วัยรุ่น

เมื่อลูกของคุณเริ่มเข้าสู่ "วัยรุ่น" (หญิงอายุ 12-17 ปี และชายอายุ 14-19 ปี) แน่นอนว่าการดูแลสุขภาพและเรื่องอื่น ๆ โดยรวมก็ต้องเปลี่ยนไปจากตอนที่ยังเป็นเด็ก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเรียนรู้วิธีการเลี้ยงลูกและสนับสนุนพวกเขาได้ ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

วัยรุ่น

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ วัยรุ่น เพิ่มเติม

ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

สำรวจ วัยรุ่น

ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น ทางร่างกายและสติปัญญา

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น หมายถึง การพัฒนาทางร่างกายและสติปัญญาในช่วงอายุประมาณ 12-18 ปี โดยผู้หญิงมักจะเจริญเติบโตทางร่างกายเร็วกว่าผู้ชายประมาณ 2 ปี ในขณะที่พัฒนาการด้านสติปัญญานั้นอาจใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ การช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของวัยรุ่นอย่างเหมาะสม ถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้วัยรุ่นเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น [embed-health-tool-bmi] การเจริญเติบโตของวัยรุ่น มีอะไรบ้าง วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ มีการเจริญเติบโตทางร่างกายและทางสติปัญญา ดังนี้ การเจริญเติบโตของวัยรุ่น ทางร่างกาย ร่างกายของวัยรุ่นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งกล้ามเนื้อและรูปร่าง แต่ผู้หญิงกับผู้ชายอาจมีพัฒนาการทางร่างกายที่แตกต่างกัน ดังนี้ วัยรุ่นหญิง ส่วนใหญ่เริ่มมีพัฒนาการทางเพศตั้งแต่อายุ 8-13 ปี และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วระหว่างอายุ 10-14 ปี โดยผู้หญิงจะเริ่มมีการเปลี่ยนทางร่างกายหลายส่วน ได้แก่ ความสูงของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หน้าอกเริ่มใหญ่ขึ้นและสะโพกเริ่มมีส่วนเว้าส่วนโค้งมากขึ้น เริ่มมีขนรักแร้ ขนที่อวัยวะเพศ โดยปกติจะเริ่มมีขนภายใน 6-12 เดือนหลังจากเต้านมเริ่มขยาย ส่วนประกอบของระบบสืบพันธุ์ เช่น มดลูก คลิตอริส ช่องคลอด เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก อาจมีประจำเดือนตอนอายุประมาณ 13 ปี เมื่อผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน การพัฒนาของความสูงอาจเพิ่มขึ้นอีก 1-2 นิ้วและการพัฒนาของความสูงอาจค่อย ๆ ช้าลงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย วัยรุ่นชาย ส่วนใหญ่เริ่มมีพัฒนาการทางเพศตั้งแต่อายุ 10-14 ปี และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนอายุประมาณ 16 ปี ซึ่งการเจริญเติบโตของเด็กผู้ชายมักช้ากว่าผู้หญิง […]


ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

วัยรุ่น พัฒนาการและสุขภาพ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

วัยรุ่น เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ทั้งยังเป็นวัยที่ต้องการอิสระจากครอบครัวมากขึ้น ค้นหาตัวเอง และอาจติดเพื่อน มีความอยากรู้อยากลองในสิ่งใหม่ ๆ จึงอาจมีความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ  เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด ใช้ความรุนแรง มีเพศสัมพันธ์และอาจตั้งครรภ์โดยพร้อม ดังนั้น การทำความเข้าใจและการดูแลสุขภาพอาจช่วยส่งเสริมการเติบโตของวัยรุ่นที่ดีในระยะยาวได้ วัยรุ่น คืออะไร วัยรุ่น คือ ช่วงวัยเปลี่ยนผ่านระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ อายุประมาณ 12-20 ปี ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในหลายด้าน ทั้งด้านร่างกาย บุคลิกภาพ สติปัญญา อารมณ์และทางสังคม พัฒนาการวัยรุ่น พัฒนาการวัยรุ่นประกอบไปด้วยพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านสติปัญหา ด้านอารมณ์และทางสังคม ดังนี้ พัฒนาการด้านร่างกาย ร่างกายของวัยรุ่นทั้งชายและหญิงกำลังเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งรูปร่าง ความสูงและน้ำหนัก รวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์ก็จะเริ่มพัฒนาอย่างเต็มที่ ซึ่งวัยรุ่นบางคนอาจรู้สึกวิตกกังวล เครียดหรือสับสนกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น วัยรุ่นผู้หญิง เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อายุประมาณ 11-12 ปี อาจเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกอายุประมาณ 13 ปี เต้านมเริ่มขยายออก อาจเริ่มมีขนขึ้นตามจุดต่าง ๆ รวมทั้งรูปร่างอาจเริ่มมีสัดส่วนที่ชัดเจนมากขึ้น วัยรุ่นผู้ชาย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อายุประมาณ 14 ปี ซึ่งช้ากว่าผู้หญิงเล็กน้อย อวัยวะเพศเริ่มขยายใหญ่ขึ้น […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่น ปัญหาสุขภาพจิต ที่ไม่ควรละเลย

โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่น เป็นอีกปัญสุขภาพจิตที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย เนื่องจากวัยรุ่นทุกคนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ และหากวัยรุ่นเป็นโรคสมาธิสั้นก็สามารถส่งผลกับการเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียน และการใช้ชีวิตของวัยรุ่นได้ โรคสมาธิสั้น ส่งผลต่อวัยรุ่นอย่างไร โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่นอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเรียนได้ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการรักษาโรคสมาธิสั้นตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก และได้รับผลจากโรคต่อเนื่องมาถึงช่วงวัยรุ่น วัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจลืมทำงานหรือส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ทำหนังสือเรียนหาย รู้สึกเบื่อกับการนั่งเรียนนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน อาจกลายเป็นคนไม่สนใจการเรียนหรือบางคนอาจปรับตัวมาจริงจังกับการเรียนและการใช้ชีวิตมากเกินไปเนื่องจากเกิดความเครียด ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเรียนรู้ทักษะทางด้านกีฬาและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างด้วย โรคสมาธิสั้นในวันรุ่น เพิ่มความเสี่ยงสุขภาพจิตอื่น ๆ โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่นอาจเพิ่มความเสี่ยงสุขภาพจิตด้านอื่น ๆ ได้ ทั้งความผิดปกติทางจิต พฤติกรรมและอารมณ์ ดังนี้ ความผิดปกติทางพฤติกรรมซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดความรุนแรง และการกระทำผิดต่าง ๆ ความผิดปกติทางอารมณ์ทั้งความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า อาจเป็นเป้าหมายของการถูกกลั่นแกล้ง เสี่ยงใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ เสี่ยงฆ่าตัวตาย อาจมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การดูแล โรคสมาธิสั้นในวันรุ่น โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในหลายด้าน ครอบครัวและโรงเรียนจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้วัยรุ่นสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข การดูแลที่บ้าน คุณอาจช่วยให้วัยรุ่นสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยเริ่มต้นจากที่บ้าน ดังนี้ วางทิศทางการเรียนและขีดเส้นจำกัดกิจกรรมบางอย่างอย่างชัดเจน กำหนดตารางประจำวัน และเก็บสิ่งรบกวนสมาธิ สนับสนุนในกิจกรรมที่วัยรุ่นสนใจ เช่น กีฬา งานอดิเรก ดนตรี ให้รางวัลหรือแสดงคำชื่นชมเมื่อวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ดี จัดกิจวัตรประจำวันของสมาชิกในครอบครัวให้เหมือนกัน เพื่อเอื้อต่อการทำกิจกรรมของลูก พูดคุยกับครูที่โรงเรียนเพื่อร่วมมือกันช่วยเหลือวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้น ฝึกควบคุมอารมณ์เมื่อต้องการฝึกวินัยให้วัยรุ่นเป็นโรคสมาธิสั้น เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับวัยรุ่น […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

วัยรุ่น ทำร้ายตัวเอง มีสาเหตุจากอะไร ป้องกันได้อย่างไร

วัยรุ่น ทำร้ายตัวเอง ถือเป็นปัญหาสังคมที่ควรได้รับการเยียวยาแก้ไข ความรัก ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจภายในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง ควรให้ความใส่ใจ หมั่นสังเกต คอยพูดคุยสอบถาม และสอดส่องพฤติกรรมโดยเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม เปิดใจรับฟังในทุกปัญหาและทุกเรื่องราวโดยไม่ต่อว่าหรือดุด่า เมื่อวัยรุ่นรู้สึกว่าเขามีครอบครัวเป็นที่พึ่ง โอกาสที่เขาจะทำร้ายตัวเองย่อมลดน้อยลง [embed-health-tool-vaccination-tool] วัยรุ่น ทำร้ายตัวเอง มีสาเหตุจากอะไร วัยรุ่นทำร้ายตัวเองเกิดจากหลายสาเหตุ ขาดความรักและความใส่ใจ ต้องการให้มีใครสักคนให้เวลาและคอยรับฟังปัญหาด้วยความเข้าใจ มีความเครียดสะสมทางอารมณ์ หรือรู้สึกเศร้า กดดัน จากสิ่งต่าง ๆ และหาทางออกพื่อปลดปล่อยความรู้สึกด้วยการทำร้ายตัวเอง รู้สึกโกรธ และต้องการระบายความโกรธ เกลียดชัง ออกมาผ่านการทำร้ายตัวเอง เปลี่ยนความเจ็บปวดทางความรู้สึกให้กลายเป็นความเจ็บปวดทางร่างกายแทน ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ เพราะเมื่อทำร้ายตัวเอง อาจทำให้มีคนหยิบยื่นความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น วิธีการที่วัยรุ่นใช้ทำร้ายตัวเอง วัยรุ่นทำร้ายตัวเองสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ใช้มีดกรีด เกา สลักเครื่องหมายบนรางกาย แกะสะเก็ดแผลจนแผลไม่หาย ดึงผม หรือตัดผมให้แหว่ง ใช้การเผาตัวเอง กัดหรือตีตัวเองแรง ๆ หรือใช้อาวุธช่วย กระแทกตัวเองเข้ากับสิ่งของ ของแข็ง หรือผนัง ประตูบ้าน สัญญาณเตือนของ วัยรุ่นทำร้ายตัวเอง เมื่อวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง มักจะพยายามปิดบังสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากอาจรู้สึกละอายใจ กังวลว่าผู้อื่นจะโกรธ หรือไม่เข้าใจ สัญญาณเตือนว่าวัยรุ่นอาจมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ได้แก่ สัญญาณเตือนทางพฤติกรรม […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

ความรุนแรง ส่งผลต่อ วัยรุ่น อย่างไรบ้าง

ความรุนแรง อาจส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ โดยเฉพาะ วัยรุ่น ที่เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม วัยรุ่นที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับความรุนแรง อาจมีปัญหาสุขภาพจิตหลายประการ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่มั่นใจในตัวเอง รวมถึงอาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเองและผู้อื่นอีกด้วย ดังนั้น จึงควรหาวิธีการป้องกันความรุนแรงในวัยรุ่นอย่างเหมาะสม ความรุนแรง ส่งผลต่อ วัยรุ่น อย่างไร ความรุนแรงส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น โดยวัยรุ่นที่ถูกรังแกอาจประสบกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และอาจทำให้ความภูมิใจในตนเองต่ำลง อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่อยากไปโรงเรียน หรืออาจส่งผลร้ายแรงถึงการทำร้ายตัวเอง หรืออาจรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ส่วนวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น มีความเสี่ยงสูงที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมอย่างรุนแรง จนอาจทำให้เกิดปัญหาที่โรงเรียน การใช้สารเสพติด และมีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยผู้ปกครองควรใส่ใจกับพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณเตือนเหล่านี้ เช่น ทะเลาะวิวาทด้วยการใช้กำลังหรือวาจา มีพฤติกรรมโทษผู้อื่นเมื่อตัวเองทำความผิด นอกจากนี้วัยรุ่นที่ยืนดูการใช้ความรุนแรง อาจประสบกับปัญหาสุขภาพจิตได้เช่นกัน อาจมีความรู้สึกวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า โดยวัยรุ่นเหล่านี้อาจเผชิญกับความเครียดเพราะกลัวว่าตนจะถูกใช้ความรุนแรงเมื่อใด หรือรู้สึกกังวลเมื่ออยากเข้าไปช่วยผู้อื่นแต่ไม่สามารถทำได้ ปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงในวัยรุ่น ความรุนแรงในวัยรุ่นอาจหมายถึงการใช้ความรุนแรงในการทำร้ายร่างกายจนก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บหรืออาจรุนแรงไปถึงการฆาตกรรม ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นความรุนแรงที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อจิตใจและสังคมของบุคคลนั้น ทั้งตัวผู้กระทำและผู้ถูกกระทำเอง มาดูกันว่าจะมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ ความรุนแรงส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ดังนี้ ปัจจัยเสี่ยงจากตัวบุคคล โรคสมาธิสั้น หรือเกิดความผิดปกติทางพฤติกรรม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด และสูบบุหรี่ การมีส่วนร่วมในอาชญากรรม การว่างงาน ความรุนแรงในครอบครัว พฤติกรรมก้าวร้าว […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ที่ควรระวัง

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น เป็นพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้กับวัยรุ่นทุกคนที่กำลังประสบปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจ และให้ความสำคัญกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของวัยรุ่น วันนี้เรามาดูกันว่าพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นมีอะไรบ้าง เพื่อที่คุณจะได้รู้ทันอาการและแก้ไขได้อย่างตรงจุด สุขภาพจิตวัยรุ่น วัยรุ่นช่วงอายุประมาณ 10-19 ปี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมหลายประการ รวมถึงการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต เช่น ความยากจน การล่วงละเมิดทางเพศ หรือความรุนแรง เหล่านี้ล้วนสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในวัยรุ่นได้ทั้งสิ้น  ดังนั้นการส่งเสริมและปกป้องสุขภาพจิตในวัยรุ่นจึงมีความสำคัญ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา และเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย จิตใจให้สมบูรณ์เพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ต่อไป พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น คืออะไร มีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ยิ่งวัยรุ่นต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงมากเท่าใด ก็ยิ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตมากขึ้นเท่านั้น และปัจจัยที่อาจส่งผลต่อความเครียดในช่วงวัยรุ่น ได้แก่ ความต้องการอิสระมากขึ้น ความกดดันในการปรับตัวเข้าสังคม ลักษณะความแตกต่างทางเพศ การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำและการยอมรับในความหลากหลายทางเพศ ครอบครัว ความรุนแรง ตัวอย่างเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น และอาจก่อให้เกิด พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ได้เช่นกัน พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น มีอะไรบ้าง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นเป็นพฤติกรรมที่วัยรุ่นปฏิบัติหรือเลือกทำ เพื่อหนีจากความเครียด ความวิตกกังวล หรือเพื่อต่อต้านสิ่งต่าง ๆ ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย และอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้ ดังนี้ การกลั่นแกล้ง หรือการใช้ความรุนแรง วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมชอบกลั่นแกล้งหรือใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นตลอดเวลา มักมีความเสี่ยงสูงที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมมากขึ้น เช่น มีปัญหาที่โรงเรียน การใช้สารเสพติด และมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น สัญญาณที่บอกว่าวัยรุ่นมีพฤติกรรมชอบกลั่นแกล้ง ใช้ความรุนแรงทางร่างกาย และวาจา มักอยู่ในกลุ่มที่ชอบรังแกผู้อื่นเหมือนกัน มีความก้าวร้าวมากขึ้น มีปัญหาที่โรงเรียนบ่อยครั้ง ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตน ส่วนวัยรุ่นที่ยืนดูการกลั่นแกล้ง หรือถูกกลั่นแกล้ง มักมีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองต่ำลง สัญญาณที่บอกว่าวัยรุ่นกำลังถูกกลั่นแกล้ง อาการบาดเจ็บที่ไม่มีสาเหตุ เสื้อผ้า หนังสือ […]


สุขภาพวัยรุ่น

ปัญหาสุขภาพช่องปากในวัยรุ่น ปัญหาสุขภาพเล็ก ๆ ที่ต้องใส่ใจ

ปัญหาสุขภาพช่องปากในวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฟันคุด ฟันผุ เหงือกร่น หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก ล้วนเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้กับวัยรุ่นทุกคน โดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่ให้ความสำคัญในการดูแลช่องปาก เช่น กินขนมหวานแล้วไม่ยอมแปรงฟัน ดื่มน้ำอัดลมมากเกินไป การกระทำเหล่านี้ล้วนนำไปสู่ปัญหา สุขภาพช่องปากและฟันของวัยรุ่น ได้ในที่สุด การตระหนักรู้ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และการดูแลสุขภาพช่องปากของวัยรุ่นอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย ปัญหาสุขภาพช่องปากในวัยรุ่น มีอะไรบ้าง วัยรุ่นเป็นวัยที่อาจเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากมากมาย แตกต่างกันไปในแต่ละคน ปัญหาสุขภาพฟันของวัยรุ่น ที่อาจพบได้ มีดังนี้ ฟันผุ ฟันผุ เป็นหนึ่งใน ปัญหาสุขภาพฟันของวัยรุ่น ที่พบได้บ่อย หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ นำไปสู่อาการปวดหรือสูญเสียฟันได้ การป้องกันฟันผุสามารถทำได้โดยการรักษาสุขอนามัยในช่องปาก เช่น แปรงฟันหลังมื้ออาหารทุกครั้ง แปรงลิ้น ใช้ไหมขัดฟัน ควบคู่ไปกับการลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ลูกอม น้ำอัดลม โรคเหงือก โรคเหงือกมี 2 ชนิด คือ โรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งล้วนมีสาเหตุจากคราบพลัคสะสมที่โคนฟัน ทำให้มีอาการเลือดออก เหงือกแดงและบวม โรคเหงือกอักเสบมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคปริทันต์อักเสบ ที่อาจลุกลามมากขึ้นจนเหงือกติดเชื้อ และอาจส่งผลทำให้ฟันหลุดได้ ช่วงวัยรุ่นที่มีความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกมากขึ้น ดังนั้น วัยรุ่นจึงควรดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี และเข้าพบทันตแพทย์ทันทีถ้าหากสังเกตพบอาการของโรคเหงือก เช่น เหงือกบวม เหงือกอักเสบ มีเลือดออกในช่องปาก ฟันซ้อน ฟันไม่เรียงตัว อีกหนึ่ง […]


สุขภาพวัยรุ่น

การดื่มสุราในวัยรุ่น เรื่องสำคัญของสุขภาพในระยะยาว

การดื่มสุราในวัยรุ่น อาจเป็นสิ่งที่ยากต่อการหลีกเลี่ยง เพราะต้องยอมรับว่าในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนมากมักดื่มสุราเพื่อสังสรรค์ เข้าสังคม หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เป็นเรื่องปกติ ดังนั้นการป้องกันและรับมือกับปัญหาเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับปัญหา วัยรุ่นดื่มสุรา มาฝากทุกคนแล้วในบทความนี้เลยค่ะ เหตุผลของ การดื่มสุราในวัยรุ่น วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ วิถีชีวิต และความเป็นอิสระที่เพิ่มมากขึ้น จึงอาจมีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยงต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น ดังนี้ อยากรู้อยากลอง วัยรุุ่นเป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสมองของวัยรุ่นในช่วงอายุ 20 ปี ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการพัฒนาของสมองนี้อาจช่วยอธิบายพฤติกรรมบางอย่างของวัยรุ่นได้ เช่น มีแนวโน้มที่จะต้องการพบเจอกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่อาจเป็นอันตราย อย่างการเลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และวัยรุ่นเป็นวัยที่มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น จึงมักไม่ทราบว่าการกระทำของตนอาจส่งผลเสียตามมาได้ ความคาดหวังและมุมมอง มุมมองต่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มของวัยรุ่น วัยรุ่นที่มีมุมมองว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจ มักมีแนวโน้มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวัยรุ่นที่มีมุมมองแตกต่างกัน ความทนต่อแอลกอฮอล์ วัยรุ่นส่วนมากสามารถทนต่อผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น อาการง่วงนอน อาการเมาค้าง ได้มากกว่าวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากสมองของวัยผู้ใหญ่ที่เติบโตเต็มที่มีความแตกต่างกับสมองของวัยรุ่น การที่วัยรุ่นสามารถทนต่อผลเสียของสุราได้ดียังอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นมีความรู้สึกเชิงบวกต่อการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์มากกว่าวัยผู้ใหญ่ เพราะพวกเขาอาจรู้สึกสบายใจมากขึ้นเมื่อดื่มสุรานั่นเอง ลักษณะบุคลิกภาพและโรคทางจิตเวช เด็กที่เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนอายุ 12 ปี มักจะมีแนวโน้มที่จะเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ส่วนวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมชอบก่อกวน สมาธิสั้น และก้าวร้าว มักมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ซึมเศร้า ชอบเก็บตัว หรือวิตกกังวล […]


สุขภาพวัยรุ่น

6 พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น ที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวัง

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองและคนรอบข้างควรให้ความใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลตนเอง การคบเพื่อน โดยอาจเฝ้าสังเกตอยู่ห่าง ๆ และคอยให้คำปรึกษาเมื่อวัยรุ่นต้องการ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับวัยรุ่นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว [embed-health-tool-bmr] พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น มีอะไรบ้าง วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการความอิสระ อยากรู้อยากลองสิ่งต่าง ๆ ซึ่งในบางเรื่องอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพโดยรวมของวัยรุ่น และอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้เช่นกัน พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น อาจมีดังต่อไปนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด เด็กวัยรุ่นบางคนอาจมีพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจตามมา เช่น อาจเกิดปัญหาพัฒนาการทางร่างกาย อาจเกิดปัญหาด้านพัฒนาการทางสมอง อาจมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือท้องโดยไม่พร้อม อาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา และมีพฤติกรรมทางเพศที่รุนแรง เพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและการก่ออาชญากรรม อาจเสี่ยงเกิดการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ การเจาะร่างกาย วัยรุ่นที่ชื่นชอบการเจาะร่างกายอาจเป็นอีกหนึ่ง พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น ที่อาจเพิ่มโอกาสการติดเชื้อโรคทางเลือด เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี หรือเชื้อไวรัส HIV เชื้อไวรัสเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมของวัยรุ่นและอาจส่งผลต่อครอบครัวหรือคนรอบข้างได้เช่นกัน ความรุนแรงในโรงเรียน ความรุนแรงในวัยรุ่นเป็น พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในวัยรุ่น ที่อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ พัฒนาการ สุขภาพร่างกาย รวมถึงอาจส่งผลเสียต่อโรงเรียนและสังคมด้วย ตัวอย่างพฤติกรรมรุนแรงในโรงเรียน ดังนี้ การกลั่นแกล้งทั้งต่อหน้าและในโลกอินเทอร์เน็ต การทำร้ายร่างกาย การใช้อาวุธ ความรุนแรงทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ พฤติกรรมทางเพศในวัยรุ่นอาจนำไปสู่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หรืออาจเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย การเปลี่ยนคู่นอนหลายคน ไม่ป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ไม่ได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ

สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น อาจแสดงออกทางร่างกายไม่ว่าจะเป็นอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิด เกิดปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจในการสื่อสาร รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด สูบบุหรี่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตสัญญาณเหล่านี้ เพื่อเตรียมการรับมือ และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นรอไม่ได้อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้ สุขภาพจิตวัยรุ่น สิ่งที่ไม่ควรละเลย วัยรุ่น คือ ช่วงอายุตั้งแต่ 10-19 ปี เป็นช่วงอายุที่มีการพัฒนาในหลายด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์และสังคม รวมถึงการเผชิญหน้ากับสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การล่วงละเมิด ความรุนแรง ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตวัยรุ่น การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นอาจส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว และยังส่งผลดีต่อปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคตเมื่อวัยรุ่นเหล่านั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่น อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความผิดปกติของจิตใจ สถานการณ์ และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งทำให้ส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด พฤติกรรม และนี่คือตัวอย่าง สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น ที่อาจพบได้บ่อย สัญญาณวิตกกังวลทั่วไป รู้สึกกระสับกระส่าย เหนื่อยง่าย มีปัญหาการนอนหลับ หลับยาก หลับไม่สนิท ความคิดสับสน หรือสมาธิสั้นลง มีอาการหงุดหงิด รู้สึกตึงกล้ามเนื้อ มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ มีอารมณ์โกรธ ความเกลียดชัง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน