การดูแลทารก

การดูแลทารก คือการดูแลลูกน้อยตั้งแต่เริ่มอาบน้ำไปจนถึงการพาเจ้าตัวน้อยเข้านอนอย่างสบายตลอดทั้งคืน ลองมาดูเคล็ดลับการดูแลทารกที่ได้รับรองจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

สำรวจ การดูแลทารก

การดูแลทารก

ลูกตัวเหลือง ดูแลอย่างไรหลังคลอดและเมื่อกลับมาอยู่บ้าน

ลูกตัวเหลือง เป็นภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นในทารกแรกเกิดหลังคลอด โดยส่วนใหญ่ร่างกายของทารกจะขับสารเหลืองออกมาทางของเสีย (ทางอุจจาระและปัสสาวะ) และภาวะตัวเหลืองจะหายไปเองเพียงไม่กี่วันหลังคลอด แต่ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจศึกษาวิธีดูแลทารกตัวเหลืองแบบง่าย ๆ และนำไปปฏิบัติร่วมกับคำแนะนำของคุณหมอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกตัวเหลือง เกิดจากอะไร เป็นเรื่องปกติที่ทารกแรกเกิดมักมีผิวสีเหลือง เนื่องจากการทำงานของตับในทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ยังไม่สามารถกำจัดสารบิลิรูบินในเลือด (Hyperbilirubinemia) ได้อย่างสมบูรณ์ จึงส่งผลให้ทารกมีสีผิวสีเหลืองได้นั่นเอง แต่บางกรณีหากพบว่าสีผิวของทารกยังคงมีภาวะตัวเหลืองใน 3 สัปดาห์ ก็อาจเป็นไปได้ว่าทารกอาจเสี่ยงเป็นโรคดีซ่าน จะทราบได้อย่างไรว่าทารกตัวน้อยเป็นโรคดีซ่านหรือไม่ อาจสังเกตได้จาก สีผิวของทารกที่มีสีเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม และไม่รับประทานอาหาร หรือกินนมได้น้อย ซึ่งหากสังเกตพบอาการเหล่านี้ ต้องเข้ารับการตรวจจากคุณหมอด้านกุมารเวชศาสตร์ในทันที เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนขั้นรุนแรง วิธีดูแลลูกตัวเหลืองที่บ้านแบบง่าย ๆ หลังคลอด หากคุณหมออนุญาตให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกรักกลับบ้านได้ โดยที่ทารกยังคงมีสีผิวสีเหลือง การดูแลลูกรักที่เหมาะสมที่สุด และเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ คือปฏิบัติดังนี้ ดูแลให้ทารกกินนมแม่ 8-12 ครั้งต่อวัน (คือ ให้นมทุก 2-3 ชม.) ในช่วง 3 วันแรกเกิด กรณีที่ทารกกินนมผงควรให้นมสูตรธรรมดา 1-2 ออนซ์ หรือ 30-60 มิลลิลิตร ทุก 2-3 ชั่วโมงในสัปดาห์แรก สังเกตอาการและสีผิวอย่างใกล้ชิด พร้อมจดบันทึกไว้เป็นข้อมูล เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้นำไปแจ้งให้คุณหมอทราบ สังเกตสีอุจจาระ หากเป็นสีเหลืองแปลว่าร่างกายขับสารเหลืองออกมาได้ดี อาการลูกตัวเหลืองแบบไหนที่ควรเข้าพบคุณหมอ โดยปกติทารกที่มีผิวสีเหลือง […]


การดูแลทารก

การดูแลทารกในหน้าหนาว เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกป่วย

รูปร่างขนาดเล็กและผิวหนังที่บางของทารก อาจส่งผลให้ทารกรู้สึกต่อสภาพอากาศภายนอกได้ค่อนข้างไว้ หากยิ่งเป็นในฤดูหนาวแล้วนั้น เป็นไปได้ว่าจะสามารถส่งเสริมทำให้ลูกเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การดูแลทารกในหน้าหนาว จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจ เพื่อป้องกันการเกิดโรคร้ายที่มาพร้อมกับหน้าหนาว เช่น ไข้วัด โรคระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคร้ายในหน้าหนาวที่อาจเกิดขึ้นกับทารก โรคที่พบได้บ่อยช่วงวัยของทารกในฤดูหนาว ส่วนใหญ่คือโรคระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะช่วงวัยของทารก ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ก็ควรป้องกันตนเองร่วมด้วย เนื่องจากอาจได้รับเชื้อไวรัสอาร์เอสวีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้เช่นเดียวกัน หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกห่างจากไกลจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ควรหลีกเลี่ยงการให้เด็กในวัยเรียนคนอื่น ๆเข้ามาเล่น กอด หอม หากคุณพ่อคุณแม่หรือคนในบ้านเป็นหวัด ควรสวมหน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมืออยู่เสมอ รวมถึงอาจต้องมีการนำพาลูกไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เมื่อมีอายุได้ 6 เดือน และหมั่นเข้ารับการฉีดเป็นประจำทุกปี คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจคิดว่า การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หรือวัคซีนชนิดอื่น ๆ ตามที่คุณหมอกำหนดไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ แต่เมื่อถึงเหตุการณ์ที่ลูกไม่สบาย คุณพ่อคุณแม่จะไม่สามารถรับรู้ได้ว่าอาการที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพมากแค่ไหน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นหนทางที่ดีในการช่วยลดความรุนแรงของโรคต่าง ๆ และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดี การดูแลทารกในหน้าหนาว ควรทำอย่างไร การดูแลลูกน้อยในสภาพอากาศที่หนาวเย็นเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เพื่อคอยสร้างความอบอุ่นให้ลูกมีสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่ดี ร่าเริงได้อยู่เสมอ โดยวิธีการดูแลทารกในหน้าหนาวอาจทำได้ ดังนี้ สวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอุ่นแก่ทารก ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าค่อนข้างอุ่น หรืออาจสวมใส่เสื้อผ้าประมาณ 2 ชั้น ชั้นแรกอาจใส่เป็นเสื้อแขนยาว ส่วนอีกชั้นเป็นเสื้อเชิ้ตคลุมตัว หากเป็นไปได้ควรหาหมวกมาคลุมศีรษะไว้ด้วย ป้องกันการรับอุณหภูมิที่เย็นจัดจนทำให้ลูกน้อยเป็นหวัด ส่วนร่างกายของทารกส่วนล่างควรเป็นกางเกงขายาว […]


การดูแลทารก

การดูแลทารกแรกเกิด ขั้นพื้นฐาน สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

การดูแลทารกแรกเกิด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรศึกษาวิธีการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐานเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการห่อตัวทารกแรกเกิด การเลือกผ้าอ้อม การอาบน้ำให้กับทารก แต่สิ่งสำคัญในการดูแลทารกแรกเกิด ก็คือ ความระมัดระวัง เนื่องจากร่างกายของทารกแรกเกินยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร [embed-health-tool-vaccination-tool] การดูแลทารกแรกเกิด ขั้นพื้นฐาน มีอะไรบ้าง การดูแลทารกแรกเกิด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ทุกคน เนื่องจาก ทารกแรกเกิดมีร่างกายที่ยังไม่แข็งแรงพอ เช่น กระดูก ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบควบคุมอุณหภูมิ ทำให้คุณพ่อแม่จึงจำเป็นต้องเรียนรู้การดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐานเอาไว้  ดังนี้ วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด การห่อตัวของทารก เป็นการทำให้เด็กทารกรู้สึกได้ถึงความอบอุ่น สบายใจ และปลอดภัย แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรจะรัดแน่นจนเกิดไป เพราะอาจทำให้ทารกอึดอัด หรืออาจมีไข้ได้ โดยวิธีการห่อตัวทารกที่ดีนั้นมีวิธี 5 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ กางผ้าสะอาด รูปสี่เหลี่ยมที่ต้องการห่อตัวทารกออก พับมุมบนลงมาเล็กน้อย พร้อมกับวางทารกลงบนผ้าในท่านอนหงายให้ศีรษะอยู่เหนือมุมพับขึ้นไปเล็กน้อย จับผ้ามุมซ้ายห่อเริ่มตัวทารกอย่างนุ่มนวล พาดจากซ้ายมาขวา และสอดเข้าไปด้านหลังทารกให้อยู่ใต้แขนขวา จับมุมผ้าด้านล่างช่วงขาทารกห่อขึ้นมา แต่ไม่ให้แน่นจนเกินไป ให้ดึงขึ้นพอมีที่ว่างให้ทารกยืดขา งอขาได้สะดวก จับผ้ามุมขวาห่อเข้ามาเหมือนขั้นตอนที่ 2 พาดจากขวามาซ้าย และสอดเข้าไปด้านหลังทารกใต้แขนซ้าย ซึ่งจะเห็นได้ว่าทารกจะเหลือแต่เพียงศีรษะ เพื่อให้พวกเขาได้หายใจสะดวก ข้อควรระวัง : ไม่ควรห่อทารกด้วยวิธีนี้ในช่วงอายุ 2 เดือนขึ้นไป เพราะอาจมีการพลิกตัวขณะห่อตัว สามารถทำให้เกิดการเสียชีวิตได้กะทันหัน […]


การดูแลทารก

ดูแลทารกแรกเกิด ให้แข็งแรงปลอดภัย ทำอย่างไร

การ ดูแลทารกแรกเกิด สำหรับคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจเป็นเรื่องยาก เพราะทารกพูดไม่ได้จึงแสดงออกได้เพียงการร้องไห้หรือส่งเสียง การหมั่นสังเกตท่าทางและพฤติกรรมเพื่อตีความหมายในสิ่งที่ทารกต้องการได้อย่างถูกต้องอาจช่วยได้  นอกจากนั้น การดูแลทำความสะอาดร่างกายลูกน้อยอย่างถูกวิธี การอุ้ม การกอด การสัมผัสจากคุณพ่อคุณแม่หรือสมาชิกในครอบครัว ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ลูกน้อยแข็งแรงสุขภาพดีและปลอดภัย [embed-health-tool-vaccination-tool] พื้นฐานในการดูแลทารกแรกเกิด เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงภูมิคุ้มกันของทารกยังไม่แข็งแรง และผิวของทารกยังค่อนข้างบอบบาง จึงอาจติดเชื้อหรือบาดเจ็บได้ง่าย พื้นฐานการดูแลเด็กทารกแรกเกิด ควรปฏิบัติ ดังนี้ ล้างมือให้สะอาด ก่อนจับตัวทารก ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งเพราะทารกยังไม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย รองรับศีรษะและคอทารก ขณะอุ้มทารกควรใช้มือรองรับศีรษะและประคองคอทารกเนื่องจากบริเวณคอและศีรษะยังไม่แข็งแรง อย่าเขย่าทารกแรกเกิด การสั่นสะเทือนอาจทำให้เกิดเลือดออกในสมองของทารกแรกเกิดได้ ระวังความปลอดภัย เมื่อใช้รถเข็นเด็กควรยึดทารกให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดการเด้งของตัวทารก และไม่ควรเล่นกับทารกด้วยความรุนแรง ดูแลทารกแรกเกิด ต้องใส่ใจเรื่องอะไรบ้าง สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ รวมทั้งสมาชิกครอบครัว หรือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลทารกแรกเกิด เรื่องที่ควรต้องระวังเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ของทารก ได้แก่ การอุ้มและการกอด ในช่วงแรกทารกยังต้องการความอบอุ่นจากการอุ้มและกอด โดยเฉพาะจากมารดา เนื่องจากเป็นสภาวะแวดล้อมที่ใกล้เคียงเหมือนตอนอยู่ในครรภ์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ลึกซึ้งและเชื่อมต่ออารมณ์ความรู้สึกกับทารก และส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ได้ด้วย คุณพ่อและคุณแม่ควรอุ้มเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ทารกอยู่เสมอ ผ้าอ้อมและกระดาษชำระแบบเปียก ปัจจุบันนี้ ผ้าอ้อมสำเร็จรูปนับเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทุกบ้านควรเตรียมให้เพียงพอเพราะทารกมีการขับถ่ายบ่อย อาจมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ที่สำคัญคือการเช็ดทำความสะอาดผิวหนังของทารก ด้วยกระดาษชำระแบบเปียก หลังจากนั้น ควรซับเบา ๆ ด้วยผ้าอ้อมที่เป็นผ้าแห้ง และควรใช้ครีมทาผิวก่อนใส่ผ้าอ้อม ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดผื่นผ้าอ้อมในทารกได้ การอาบน้ำ เตรียมอุปกรณ์อาบน้ำให้พร้อมสำหรับทารกให้เรียบร้อยก่อนอาบน้ำ ทั้งผ้าขนหนูอาบน้ำ ผ้าขนหนูเช็ดตัว […]


การดูแลทารก

วิธีห่อตัวทารก ประโยชน์ และความเสี่ยงของการห่อตัวทารก

วิธีห่อตัวทารก ที่เหมาะสม คือ ไม่ควรห่อตัวทารกจนแน่นเกินไป แต่ควรห่อให้กระชับพอดี ทำให้ทารกไม่รู้สึกอึดอัด การห่อตัวทารกเป็นวิธีที่อาจช่วยให้ทารกนอนหลับได้สบายมากขึ้น ช่วยเพิ่มความอบอุ่น และทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัย เหมือนอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ อย่างไรก็ตาม การห่อตัวทารกอย่างไม่ถูกต้อง อาจทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว และอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเคลื่อนไหวของทารกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการห่อตัวทารก ประโยชน์ของการห่อตัวทารกจะช่วยลดปฏิกิริยาการตื่นตกใจเมื่อนอนหลับ โดยอาจสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีอาการกระตุกหรือตกใจตื่นขณะหลับ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ การห่อตัวจึงมีประโยชน์ช่วยลดการสะดุ้งตกใจเพราะเหมือนเป็นการช่วยปลอบประโลมและทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัย การห่อตัวยังทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยเหมือนอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ที่มีพื้นที่ให้เคลื่อนไหวได้น้อย รู้สึกเหมือนกำลังถูกกอด ช่วยให้ทารกรู้สึกสงบนอนหลับสบายมากขึ้น และร้องไห้น้อยลง วิธีห่อตัวทารก คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกใช้ผ้าอ้อมทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ เนื้อผ้านิ่มสบายไม่เป็นขุย ระบายอากาศได้ดี และซักทำความสะอาดเรียบร้อย โดยวิธีห่อตัวทารกอย่างปลอดภัยขณะทารกหลับ มี 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ พับผ้าห่อตัวเป็นสามเหลี่ยมจากนั้นพับมุมด้านหนึ่งลงมาประมาณ 6 นิ้ว วางทารกลงบนผ้าอย่างนุ่มนวลและจัดท่าให้ศีรษะอยู่เหนือรอยพับและลำตัวเหยียดตรง จากนั้นนำผ้าทางด้านซ้ายห่อแขนซ้ายและหน้าอกของทารก แล้วนำมุมผ้าสอดไว้ใต้ลำตัวด้านขวาของทารกโดยไม่ปิดแขนขวา พับมุมด้านล่างขึ้นปิดเท้าของทารกแล้วสอดเก็บไว้ใต้คางของขอบผ้าด้านบน สุดท้ายจับแขนขวาทารกให้ชิดกับลำตัวนำผ้าด้านขวาพาดปิดแขนแล้วสอดปลายผ้าไว้ใต้ตัวด้านซ้าย ข้อควรระวัง ผ้าห่อตัวควรกระชับพอดีกับตัวทารก ไม่รัดแน่นจนเกินไป ผ้าห่มรอบสะโพกของทารกก็ควรหลวมพอดีเพื่อให้ทารกขยับขาได้อย่างอิสระใต้ผ่าห่อตัว ถ้าหากลูกน้อยต้องการเหยียดแขน ก็สามารถปล่อยแขนทารกออกมาหนึ่งหรือสองข้างก็ได้ หรือถ้าหากลูกดิ้นมากเกินไป ก็อาจต้องปล่อยให้ลูกน้อยอยู่อย่างอิสระ เพราะไม่ใช่ทารกทุกคนที่จะชอบการห่อตัว ลองเรียนรู้และปรับเปลี่ยนตามความชอบของทารก ความเสี่ยงของการห่อตัวทารก คุณพ่อคุณแม่แม่หลายคนอาจไม่เคยรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับการห่อตัวทารก การห่อตัวอาจทำให้ทารกนอนหลับยาวนานขึ้น ตื่นยากขึ้น และลดการตื่นตัวในทารก ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตด้วยโรคไหลตายในทารก หรือโรค SIDS ได้ ดังนั้น จึงควรเลือกผ้าฝ้ายแผ่นบาง ๆ […]


การดูแลทารก

ดูแลทารกผิวแห้ง ทำได้อย่างไร เพื่อให้ผิวลูกชุ่มชื้น

ผิวแห้ง เป็นอีกหนึ่งปัญหาผิวที่พบบ่อยในทารก การ ดูแลทารกผิวแห้ง จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสนใจ เนื่องจาก ผิวของทารกนั้นบอบบางและแพ้ง่าย เมื่อทารกผิวแห้งอาจทำให้เกิดอาการคัน ผื่น รวมถึงผิวลอก ซึ่งอาจสร้างความรำคาญใจ หรืออาจทำให้ทารกไม่สบายตัวได้ บางกรณีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้น การดูแลผิวทารกให้กลับมาชุ่มชื้นนั้น อาจช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกผิวแห้ง เกิดจากอะไร ทารกผิวแห้งมักมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม สภาพผิวที่บอบบางของทารกแรกเกิด หรือโรคบางชนิด เช่น โรคผิวหนัง กลาก โรคสะเก็ดเงิน นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ สภาพอากาศ ผิวแห้งอาจเกิดขึ้นได้ในฤดูหนาว เมื่ออุณภูมิและความชื้นลดลง ความร้อนหรือความเย็น การที่ลูกต้องเผชิญสภาพอากาศร้อน หรืออยู่ในห้องที่อากาศเย็นจากการเปิดเครื่องปรับอากาศ อาจเป็นตัวลดความชื้นและทำให้ผิวแห้งได้ การอาบน้ำ การอาบน้ำอุ่นเป็นระยะเวลานานอาจทำให้ทารกผิวแห้งได้ หรือการว่ายน้ำในสระที่มีคลอรีนก็อาจทำให้ผิวแห้งด้วยเช่นกัน สบู่ ผงซักฟอก หรือแชมพูบางชนิด อาจดึงเอาความชุ่มชื้นออกจากผิวได้ สภาพผิว ผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง กลาก โรคสะเก็ดเงิน อาจมีแนวโน้มทำให้ผิวแห้ง เวอร์นิกซ์ (Vernix) เป็นสารสีขาวเคลือบปกปิดผิวของทารกเมื่ออยู่ในครรภ์ ในทารกบางคนอาจมีเวอร์นิกซ์ติดร่างกายออกมาด้วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายและสามารถล้างออกได้ ในช่วงแรกเมื่อทารกสูญเสียเวอร์นิกซ์อาจทำให้เกิดผิวลอกในช่วงสัปดาห์แรก ดูแลทารกผิวแห้ง […]


การดูแลทารก

เด็ก1เดือน ไม่นอนกลางวัน ปัญหาสำคัญที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ

เด็ก1เดือน เป็นวัยที่มีกิจกรรมประจำวันอยู่เพียงไม่กี่อย่าง ได้แก่ กิน นอน ขับถ่าย ร้องไห้ และอาจตื่นเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่ในบางรายอาจพบปัญหาทารก1เดือน ไม่ยอมนอนในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่สามารถหาวิธีป้องกันและรับมือได้เพียงศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการนอนของทารก1เดือน [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก1เดือน กับการนอน ทารกเป็นช่วงวัยที่จำเป็นต้องมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะทารกที่มีอายุระหว่าง 0-3 เดือน ควรจะนอนหลับให้ได้ประมาณ 14-17 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งแบ่งเป็นนอนตอนกลางคืน 8-10 ชั่วโมง และตอนกลางวันประมาณ 7-9 ชั่วโมง ทำไม ทารก1เดือน ไม่นอนกลางวัน  ทารก1เดือน ไม่นอนกลางวันเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก เพราะอาจไม่เข้าใจสาเหตุว่าเพราะอะไร สาเหตุที่ทารก1เดือนไม่นอนกลางวันนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ ทารกรู้สึกหิว เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากการที่นมย่อยไวเกินไป มีการเว้นระยะห่างในการให้เด็กกินนมนานเกินไป หรือเด็กกินนมน้อยเกินไป จนทำให้เด็กหิว และนอนไม่หลับ ทารกไม่สบาย การไม่นอนกลางวันของ ทารก 1 เดือน อาจเกิดจากการไม่สบาย เช่น เป็นหวัด มีไข้ แก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องผูก ภูมิแพ้ อาการเจ็บป่วยเหล่านี้ มักทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว จนหลับยาก ทารกไม่สบายตัว อาจเกิดจากที่นอนของทารกแข็งจนเกินไป […]


การดูแลทารก

ลูกไม่ยอม ดูดนมจากขวด จะรับมืออย่างไรดี

ปัญหาการดูดนมจากขวด  เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความหนักอกหนักใจให้กับคุณแม่ เพราะลูกไม่สามารถพูดหรือสื่อสารให้คุณแม่เข้าใจได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นจากการดูดนมจากขวด ดังนั้น คุณแม่จึงควรสังเกตอาการลูกอย่างใกล้ชิด หากพบว่าลูกไม่ยอม ดูดนมจากขวด ก็ควรหาสาเหตุและวิธีรับมือที่เหมาะสมโดยด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลูกอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกไม่ยอม ดูดนมจากขวด เกิดจากอะไร การที่ลูกไม่ยอมดูดนมจากขวดอาจเกิดจากได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา โดยมีวิธีการสังเกตอาจทำได้ ดังนี้ ลูกอิ่ม หรือไม่มีความรู้สึกหิวมากพอที่ต้องกินนม อาจมีอาการไม่สบายท้อง เช่น จุกเสียด ท้องอืด จึงไม่สามารถกินนมเพิ่มได้ รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว ลูกเพิ่งหย่านม และรู้สึกคุ้นชินกับการกินนมจากเต้า เนื้อสัมผัสและรสชาติของนมเปลี่ยนไปจากเดิม  ลูกไม่ชอบเนื้อสัมผัสของจุกนม สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าลูกน้อยมีปัญหาเกี่ยวกับการ ดูดนมจากขวด หากลูกแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าลูกอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการกินนมจากขวด  ปิดปากแน่นสนิท ไม่ยอมเปิดปากกินขวดนม มีอาการไอ หรือนมกระเซ็นออกขณะกินนม กินนมน้อยกว่าปกติ  น้ำนมไหลออกมาจากปาก แหวะนมบ่อย ร้องไห้ทุกครั้งที่กำลังให้นม หรือมองเห็นขวดนม อมหัวนมไว้ในปาก แต่ไม่ยอมดูดนมต่อ  หันหลังให้ขวดนม  เคล็ด (ไม่) ลับ ฝึกให้ลูกน้อยกินนมจากขวด การให้ลูกดูดนมจากขวด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้คุณแม่สะดวกและประหยัดเวลามากขึ้น ซึ่งการปรับพฤติกรรมจากกินนมจากเต้ามาดูดนมจากขวด อาจทำได้ด้วยการฝึกฝน โดยวิธีที่จะช่วยฝึกให้ลูกดูดนมจากขวดอาจทำได้ ดังนี้ ค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมจากการให้นมลูกจากเต้าเปลี่ยนมาให้ดูดนมจากขวดแทน รอจนกว่าลูกจะรู้สึกหิวจึงให้ดูดนมจากขวด และให้ลูกกินนมในช่วงเวลาที่สม่ำเสมอ  ลองปรับเปลี่ยนขนาดและรูปของขวดนม […]


การดูแลทารก

ลูกร้องไห้ กลางดึก พ่อแม่ควรจัดการปัญหานี้อย่างไรดี

ลูกร้องไห้ กลางดึก อาจเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องเจอ ซึ่งช่วงเวลากลางคืนควรเป็นเวลาแห่งการพักผ่อนจากกิจกรรมที่เหนื่อยล้ามาทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือว่าการเลี้ยงลูก แต่หากเจอปัญหาลูกร้องไห้กลางดึกอาจจะยิ่งทำให้เหนื่อยกว่าเดิมจากการอดหลับอดนอน ไม่เพียงเท่านั้น การที่ ลูกร้องกลางดึก บ่อย ๆ ยังอาจทำให้ลูกอดนอน จนอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกร้องไห้ กลางดึก เกิดจากสาเหตุอะไร การนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้า นอกจากนี้ การนอนหลับยังมีส่วนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สำหรับทารกการนอนหลับถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ และการเรียนรู้ หากลูกนอนหลับไม่เพียงพอก็อาจทำให้เกิดความบกพร่องในการพัฒนาได้ โดยลูกร้องกลางดึกอาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ อาการป่วย เด็กทารกเป็นวัยที่ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ เมื่อลูกเกิดอาการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดหรือหูเกิดการอักเสบ ก็จะร้องไห้ออกมา จึงอาจส่งผลให้ ลูกร้องกลางดึก ได้ ฟันกำลังจะขึ้น ในช่วงที่ฟันกำลังจะขึ้น ทารกอาจรู้สึกคันเหงือก บางครั้งอาจมีอาการเหงือกบวมแดง จนทำให้ลูกร้องกลางดึก และไม่ยอมนอนในตอนกลางคืนได้ รู้สึกไม่สบายตัว เมื่อทารกรู้สึกไม่สบายตัว เช่น ร้อนเกินไป หนาวเกินไป รู้สึกคัน ก็อาจทำให้ ลูกร้องไห้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างสภาพแวดล้อมในการนอนให้มีความเหมาะสม เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่ให้เหมาะกับอากาศ เพื่อช่วยให้ทารกรู้สึกสบายตัวมากขึ้น และนอนหลับได้สนิท ไม่ร้องไห้กลางดึก วิตกกังวล เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มแยกห้องนอนกับลูก ลูกอาจเกิดความกังวลที่จะต้องแยกห้องนอน ส่งผลให้ลูกร้องไห้กลางดึกเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกกังวลได้ กลัวความมืด เด็กหลายคนอาจถูกปลูกฝังมาอย่างผิด ๆ จนทำให้กลัวความมืดและไม่สามารถนอนในห้องที่มืดได้ในตอนกลางคืน เมื่อเกิดความกลัว […]


การดูแลทารก

เด็กเอาของเข้าปาก ความเสี่ยงต่อสุขภาพ และวิธีรับมือที่ควรรู้

เด็กเอาของเข้าปาก เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนเคยเจอ เนื่องจากกังวลใจว่าลูกอาจหยิบสิ่งของที่มีเชื้อโรคหรือของที่เป็นพิษเข้าปาก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย หรือเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุที่เเด็กเอาของเข้าปาก อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถหาวิธีป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ เด็กเอาของเข้าปาก เมื่อเด็กอายุได้ 3-5 เดือน ก็จะเริ่มหยิบจับของได้ เมื่อคว้าอะไรได้ก็มักจะเอาเข้าปากเสมอ ซึ่ง เด็กหยิบของเข้าปากอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ สำรวจสิ่งใหม่ ๆ รอบตัว เด็กในวัย 3-5 เดือน เป็นช่วงที่เริ่มหยิบจับสิ่งของรอบ ๆ ตัวขึ้นมาสำรวจ แต่ว่าในช่วงวัยนี้มือของเด็กยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ และยังไม่สามารถควบคุมการใช้มือของตนเองได้ แต่ใขณะเดียวกันบริเวณปากเป็นบริเวณที่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่และยังเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยเส้นประสาทมากมาย ที่พร้อมจะสัมพันธ์และรับรู้กับสิ่งของรอบ ๆ ตัว นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เด็กเอาของเข้าปากเพื่อเรียนรู้สิ่งรอบตัว มองหาของกิน เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่เริ่มรับรู้รสชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับ และยังชอบของที่มีรสชาติหวาน ทำให้เมื่อเห็นอะไรรอบตัว เป็นต้องหยิบขึ้นมาชิมว่าของนั้นมีรสชาติหวานหรือเปล่า การหยิบของเข้าปากก็เพื่อสำรวจว่ามันมีรสชาติหวานไหม เมื่อรู้ว่าไม่ใช่หรือไม่อร่อยเด็กก็จะปาทิ้งไปอย่างรวดเร็ว เพราะวัยนี้มีการตอบสนองที่รวดเร็ว คันเหงือก เมื่อฟันเริ่มขึ้น เด็ก ๆ จะมีอาการคันเหงือก ต้องการหาอะไรมากัด มาแทะเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น นี่จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เด็ก ๆ มักหยิบของเข้าปาก มาเพื่อกัด แทะ บรรเทาอาการที่เกิดขึ้นเหล่านั้น สร้างความสบายใจ เมื่อเด็กได้ดูดหรือได้กัดสิ่งของต่าง ๆ จะช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้น ทำให้เมื่อเด็ก ๆ รู้สึกง่วง หิว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน