โภชนาการเด็กวัยเรียน

การดูแลเด็กแต่ละช่วงวัยถือเป็นภารกิจที่ท้าทายมากสำหรับพ่อแม่ โดยเฉพาะการดูแลเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ลูกจะต้องเข้าไปใช้ชีวิตในสังคมใหม่ อย่างสังคมในโรงเรียน แต่พ่อแม่สามารถเสริมการดูแลเด็กวัยนี้ให้เหมาะสม ด้วยการใส่ใจ โภชนาการเด็กวัยเรียน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานเสริมสร้างร่างกายของเด็กให้แข็งแรง และช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเขาให้สมวัย

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเด็กวัยเรียน

เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ดีต่อสุขภาพ

มื้อกลางวัน เป็นอีกหนึ่งมื้ออาหารที่สำคัญไม่แพ้มื้อไหน ๆ โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ที่ต้องการสารอาหารและพลังงานเพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการเรียนในช่วงบ่าย ยิ่งหากจัดเตรียมข้าวกล่องไปเองจะยิ่งมั่นใจได้ว่าสามารถเลือกสรรค์วัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับลูก บทความนี้จึงอยากจะมาแนะนำ เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ที่ดีต่อสุขภาพของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] โภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กวัยเรียน เด็กวัยเรียนควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสม จากข้อแนะนำการบริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีแห่งสหรัฐอเมริกา ฉบับปี พ.ศ. 2563-2568 แนะนำว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ควรบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบ ดังนี้ ผักและผลไม้ต่าง ๆ ธัญพืช  ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม โปรตีนจากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ และถั่วต่าง ๆ ไขมันดี นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณการบริโภคอาหารดังต่อไปนี้ อาหารไขมันไม่ดีสูง เช่น ของทอด อาหารที่มีการเติมน้ำตาล เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม อาหารรสเค็มจัด ทั้งนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนและสมวัย เหมาะสำหรับพัฒนาการของเด็กวัยเรียน 3 เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ 1. ไข่ยัดไส้ ส่วนผสม ไข่ไก่ 1 ฟอง หมูสับ (หรือไก่สับ)  […]

สำรวจ โภชนาการเด็กวัยเรียน

โภชนาการเด็กวัยเรียน

อาหารบำรุงสมองสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง

อาหารบำรุงสมอง คืออาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของประสาทและสมอง ซึ่งจะทำให้เด็ก ๆ ในวัยเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น ความจำดีขึ้น แถมมีสมาธิดีขึ้นอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรเลือก อาหารบำรุงสมองสำหรับเด็ก ให้เหมาะสม เพื่อให้ส่งผลดีต่อโภชนาการและสุขภาพของเด็ก อาหารบำรุงสมองสำหรับเด็ก ที่ควรจัดให้ลูกอย่าได้ขาด 1. ไข่ ไข่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และในไข่แดงมีโคลีน (choline) ซึ่งเป็นสารอาหารที่จะช่วยพัฒนาความจำและการทำงานของสมอง นอกจากนี้สารอาหารในไข่ยังช่วยทำให้เด็กมีสมาธิด้วย 2. ปลา ปลามีวิตามินดีและกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่จะช่วยป้องกันสมองจากการสูญเสียความจำ และความจำที่ลดลงตามอายุ ปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน โดยปลาทูน่าถือเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยม แต่ในปลาทูน่าจะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 น้อยกว่าในปลาแซลมอน เนื่องจากปลาแซลมอนอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดดีเอชเอ (DHA) และอีพีเอ (EPA) ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 ทั้ง 2 ชนิดจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของสมอง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า ผู้ที่ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 มีสติปัญญาที่เฉียบแหลม และสามารถทำแบบทดสอบทักษะทางด้านจิตใจได้ดีขึ้น 3. ผักหลากสี ผักที่เต็มไปด้วยสีสัน เช่น มะเขือเทศ มันเทศ ฟักทอง แครอท ผักโขม […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

น้ำมันปลา เด็กกินได้ไหม มีประโยชน์และข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

น้ำมันปลา อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งอาจมีประโยชน์ทางสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น ช่วยเสริมสุขภาพดวงตา ช่วยเพิ่มไขมันดีในร่างกาย และอาจช่วยด้านความจำ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาข้อควรระวังในการให้ลูกบริโภคน้ำมันปลาให้เข้าใจก่อนให้ลูกกินน้ำมันปลา เพื่อให้ลูกได้รับประโยชน์จากน้ำมันปลาสูงสุด และเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพน้อยที่สุด เด็กแต่ละวันควรบริโภคน้ำมันปลาวันละเท่าไหร่ จากข้อมูลปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำปริมาณในการบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 (ชนิด DHA และ EPA) ต่อวัน โดยแบ่งตามช่วงอายุได้ดังนี้ ช่วงอายุ 6 เดือน-2 ปี ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 10-12 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ช่วงอายุ 2-3 ปี ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 100-150 มิลลิกรัม/วัน ช่วงอายุ 4-5 ปี ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 150-200 มิลลิกรัม/วัน ช่วงอายุ 6-8 ปี […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ติดน้ำหวาน เป็นอันตรายอย่างไรต่อร่างกายของลูก

เด็กติดน้ำหวาน เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่พบได้มาก จากข้อมูลของสมาคมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นไทย พบว่า เมื่อปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนของเด็กที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนกว่าร้อนละ 1.6-2.3 และเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กว่าร้อยละ 15.3 อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาเด็กติดน้ำหวานอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งเพิ่มความเสี่ยงโรคอ้วน โรคเบาหวาน ทำลายสุขภาพฟัน และอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็ก ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรจัดการกับปัญหาการติดน้ำหวานของเด็กให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] ติดน้ำหวาน อันตรายอย่างไร อาจทำให้อ้วน มีงานวิจัยมากกว่า 90 ชิ้น ที่บอกว่าน้ำหวานกับปัญหาน้ำหนักตัวของเด็กเกี่ยวข้องกัน การกินน้ำหวานวันละ 1 แก้วหรือ 2 แก้วต่างก็ทำให้เกิดปัญหาได้ การให้ลูกๆ กินน้ำหวาน นอกจากจะแคลอรี่สูงแล้ว ยังไม่ช่วยทำให้อิ่มอีกด้วย เด็กๆ จะรู้สึกอยากกินอย่างอื่นเพิ่มอีกเวลาที่กินน้ำหวาน มีงานวิจัยที่พบว่า เด็กผู้หญิงที่กินน้ำหวานมากๆ ในวัย 3-9 ขวบ ตอนที่อายุ 13 ปี เด็กผู้หญิงกลุ่มนี้จะมีน้ำหนักตัวมากกว่าเพื่อนๆ แถมยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะเด็กๆ มีรอบเอวหนา มีความดันสูง และมีไขมันดี […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

โซเดียมในขนม ภัยเงียบที่พ่อแม่ต้องระวัง

ขนมขบเคี้ยวที่เด็ก ๆ ชอบกินมักจะอุดมไปด้วยน้ำตาล แป้ง และผงชูรส พ่อแม่ส่วนใหญ่คิดว่าผงชูรสเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกสิ่งที่พ่อแม่อาจมองข้าม นั่นก็คือ โซเดียมในขนม ที่หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคไต และโรคอื่น ๆ ตามมา [embed-health-tool-heart-rate] โซเดียม คืออะไร โซเดียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ โซเดียมช่วยควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย และเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ โดยอวัยวะที่ควบคุมการทำงานของโซเดียม คือ ไต ร่างกายรับโซเดียมจากอาหารที่มีรสเค็ม และจากเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ เช่น เกลือ น้ำปลา กะปิ ซึ่งโซเดียมที่ร่างกายได้รับส่วนใหญ่มาจากเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมกับคลอไรด์ ส่วนการขับโซเดียมออกจากร่างกาย ร่างกายอาจขับโซเดียมส่วนเกินออกทางไตในรูปแบบปัสสาวะมากที่สุด รองลงมา คือ ขับออกทางเหงื่อ วันละประมาณ 25 มิลลิโมล และขับโซเดียมออกทางอุจจาระในปริมาณน้อยประมาณ 1-2 มิลลิโมล นอกจากนี้โซเดียมอาจมีประโยชน์อื่น ๆ ดังนี้ เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย การขาดโซเดียมอาจทำให้เกิดโรค เช่น โรคที่เกี่ยวกับกระดูก โซเดียมเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยอาหาร และเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ผลเสียจากการได้รับโซเดียมมากเกินไป เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่ควบคุมการใช้โซเดียมในร่างกาย การที่ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อไต โดยปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน คือ ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

โปรไบโอติก มีความสำคัญต่อเด็กอย่างไร

โปรไบโอติก (Probiotics) คือ แบคทีเรียดีที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร และระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากแบคทีเรียดีมีความสมดุลอาจช่วยให้ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารทำงานได้ดีขึ้น แต่หากแบคทีเรียดีเกิดความไม่สมดุลอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น เกิดการติดเชื้อ มีอาการเจ็บป่วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรไบโอติก เพื่อส่งเสริมสุขภาพของเด็กให้สมบูรณ์แข็งแรง โปรไบโอติก คืออะไร โปรไบโอติกหรือแบคทีเรียดี คือ แบคทีเรียดีหรือยีสต์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร และระบบอื่น ๆ ของร่างกาย โดยภายในร่างกายจะมีแหล่งรวมของเชื้อโรคที่เรียกว่า ไมโครไบโอม ซึ่งประกอบด้วยทั้งแบคทีเรียดี แบคทีเรียไม่ดี ไวรัส และเชื้อรา ซึ่งมันจะอาศัยอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็น ผิวหนัง ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ และน้ำลาย เมื่อแบคทีเรียดีและแบคทีเรียที่ไม่ดีในร่างกายเกิดความไม่สมดุล อาจทำให้ร่างกายเกิดการติดเชื้อ มีอาการเจ็บป่วย เมื่อเกิดการเจ็บป่วยและต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยาที่รับประทานเข้าไปอาจทำลายแบคทีเรียดีบางตัวในร่างกาย ซึ่งส่งผลทำให้แบคทีเรียเกิดความไม่สมดุลได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรไบโอติกเพื่อช่วยทำให้แบคทีเรียในร่างกายเกิดความสมดุล แหล่งอาหารที่อุดมด้วยโปรไบโอติก โปรไบโอติกไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะกับผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วยส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกัน ทั้งยังช่วยเรื่องท้องผูกและกรดไหลย้อนได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรเลือกแหล่งอาหารที่เด็กต้องการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับทารกอาจได้รับโปรไปโอติกจากนมแม่อยู่แล้ว แต่หากเด็กโตพอที่จะรับประทานอาหารได้แหล่งอาหารเหล่านี้ อาจเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรไปโอติก โยเกิร์ต โยเกิร์ตเป็นหนึ่งในแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรไบโอติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ โดยโยเกิร์ตที่ทำมาจากนมที่หมักด้วยแบคทีเรียที่ดี ส่วนใหญ่อาจอุดมด้วยกรดแลคติก (Lactic […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

โอเมก้า สารอาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กที่พ่อแม่ควรรู้

โอเมก้า เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วยลดความเสี่ยงองการเป็นโรคสมาธิสั้น ช่วยป้องกันโรคหอบหืด ทั้งยังช่วยในเรื่องของการเสริมสร้างสมอง โดยโอเมกานั้นส่วยใหญ่อาจพบได้ในปลา ได้แก่ ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาเทราต์ ปลาทูน่า คุณประโยชน์ของโอเมก้าต่อเด็ก ๆ  วัยเด็กจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารต่าง ๆ อย่างเพียงพอเพื่อประโยชน์ในการเจริญเติบโตของทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะโอเมก้าซึ่งมีคุณค่าประโยชน์ ดังนี้ ลดความเสี่ยงของโรคสมาธิสั้นหรือ Attention-Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) โอเมก้ามีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เสริมความจำ กระตุ้นสมาธิ ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดอาการสมาธิสั้นที่มักจะเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ ได้ ช่วยป้องกันโรคหอบหืด เด็กที่มีอาการหอบหืดตั้งแต่ยังเล็ก ๆ พ่อแม่ควรใส่ใจกับอาหาร หมั่นเลือกอาหารที่มีประโยชน์ และช่วยให้สุขภาพดี หนึ่งในนั้น คือ อาหารจำพวกปลา เพราะโอเมก้าช่วยป้องกันอาการหอบหืดได้ เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่า ผู้ที่รับประทานปลา น้ำมันตับปลา มีแนวโน้มของอาการหอบหืดน้อยลง ช่วยในการนอนหลับ มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หลายคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน การรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารประเภทโอเมก้า ช่วยลดการรบกวนการนอนหลับได้ เสริมสร้างสมอง โอเมก้ามีส่วนช่วยในการทำงานของระบบสมอง การรับประทานสารอาหารจำพวกโอเมก้าเป็นประจำ มีส่วนในการเสริมความจำ ทักษะการเรียนรู้ และบำรุงสมอง โอเมก้ากับปริมาณที่เด็กควรได้รับ สำหรับปริมาณที่ร่างกายต้องการโอเมก้านั้น จะถูกแบ่งตามช่วงอายุต่าง ๆ ดังนี้ อายุ […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

วิตามินเด็ก จากอาหารใกล้ตัว เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูก

วิตามินเด็ก เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ลูกน้อยเจริญเติบโตสมวัยและมีพัฒนาการที่ดีตามเกณฑ์ ซึ่งแหล่งวิตามินสำหรับเด็กชั้นดีไม่ใช่จากอาหารเสริม แต่อยู่ในพืชผักและผลไม้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรส่งเสริมให้ลูกน้อยได้รับประทานผักและผลไม้อย่างเพียงพอและหลากหลายในแต่ละวัน [embed-health-tool-vaccination-tool] วิตามินเด็ก หาได้จากอาหารใดบ้าง เนื่องด้วยวิตามินมีหลายประเภท และมักอยู่ในอาหารที่บริโภคกันทุกวัน คุณพ่อคุรแม่จึงควรให้ลูกกินอาหารให้หลากหลาย เพื่อจะได้รับวิตามินอย่างครบถ้วนและช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งวิตามินสำหรับเด็กชนิดต่าง ๆ อาจมีดังนี้ 1. วิตามินเอ ประโยชน์ของวิตามินเอ คือ ช่วยดูแลได้ทั้งผิวและสายตา ที่สำคัญยังช่วยในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน โดยวิตามินเอ พบได้จากอาหารเหล่านี้ นม ชีส ไข่ ผัก 2. วิตามินบี วิตามินบี ส่วนใหญ่จะช่วยในเรื่องของการเสริมสร้างพลังงานให้กับร่างกาย ซึ่งแหล่งอาหารที่มีวิตามินบีมากที่สุด นั่นก็คือ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ถั่วเหลือง ปลา 3. วิตามินซี (Vitamin C) วิตามินซี ช่วยบำรุงผิวและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ปัจจุบัน วิตามินซีมักมาในรูปแบบอาหารเสริมทั้งแบบเม็ดอม และแบบเยลลี่ กินง่ายและมีรูปทรงน่ารัก มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานจากการแต่งกลิ่นผลไม้สังเคราะห์ เช่น กลิ่นองุ่น  สับปะรด ทำให้เด็ก ๆ ชอบกินวิตามินซีที่เป็นอาหารเสริมเพราะคิดว่าเป็นลูกอมหรือขนม ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมให้ลูกน้อยกินอาหารที่มีวิตามินสำหรับเด็กจากอาหารมากกว่า สำหรับอาหารที่มีวิตามินซี ได้แก่ ผัก เช่น ผักคะน้า บร็อคโคลี่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน