พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

โภชนาการสำหรับทารก

เด็กกินนมแพะ ดีต่อสุขภาพ หรือควรหลีกเลี่ยง

นมแพะ เป็นน้ำนมที่ได้จากการนำน้ำนมดิบของแพะ มาผ่านการพาสเจอไรส์ เพื่อให้สามารถดื่มได้อย่างปลอดภัย และได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งในบางครั้ง นมแพะมักเป็นตัวเลือกสำหรับทดแทนนมวัว แต่ในเด็กส่วนใหญ่ร่างกายยังไม่สามารถย่อยโปรตีนจากน้ำนมได้ดีเท่าไหร่นัก คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังพิจารณาจะให้เด็กกินนมแพะแทนนมแม่หรือนมผง ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับคำแนะนำ ประโยชน์ของนมแพะ นมแพะ ให้ประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพหลายประการ ดังนี้ ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก นมแพะ มีธาตุเหล็กมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จึงช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น เมื่อเทียบกับนมวัวที่มีปริมาณของธาตุเหล็กเพียง 13 เปอร์เซ็นต์ เสริมกระดูกของเด็กที่เป็นโลหิตจาง แน่นอนว่าการให้เด็กกินนมแพะ จะทำให้เด็กได้รับสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงไม่ต่างไปจกนมวัว ยิ่งสำหรับเด็กที่เป็นโรคโลหิตจาง นมแพะอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะเด็กที่เป็นโรคโลหิตจางมักมีอาการดีขึ้นเมื่อดื่มนมแพะเป็นประจำ  ดีต่อลำไส้ สารอาหารในนมแพะมีส่วนช่วยในการต้านแบคทีเรีย มากไปกว่านั้น นมแพะยังเป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรียชั้นดีในลำไส้ ช่วยให้ลำไส้สุขภาพดี ย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น นมแพะช่วยให้ย่อยง่าย เมื่อเปรียบเทียบกับนมวัวแล้ว พบว่า นมแพะ มีความหนาแน่นของโปรตีนที่น้อยกว่า อีกทั้งไขมันในนมแพะยังเป็นไขมันสายสั้นที่สามารถแตกตัวได้ง่าย ทำให้นมแพะย่อยได้ง่ายกว่านมวัว ซึ่งเป็นผลดีต่อระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย เด็กกินนมแพะ ได้หรือไม่ เด็กสามารถกินนมแพะได้ ในกรณีที่ไม่มีอาการแพ้โปรตีนในน้ำนมวัว เนื่องจากเด็กที่แพ้โปรตีนในนมวัว มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการแพ้โปรตีนในนมแพะด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม “นมแพะไม่เหมาะและไม่ควรให้ทารกแรกเกิด หรือทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปีกิน” เนื่องจากสารอาหารใน นมแพะ ไม่เหมาะกับทารก เพราะมีปริมาณของสารอาหาร เช่น โปรตีน แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส มากกว่าน้ำนมทั่วไปอย่างนมวัว นมแม่ หรือนมผง […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

ลูกน้อยหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

ลูกน้อยหายใจครืดคราดคุ หมายถึง อาการที่ลูกน้อยหายใจแล้วมีเสียงบางอย่างแทรกอยู่ด้วย หรือคล้ายมีบางอย่างอุดกั้นหรือติดค้างในลำคอทำให้ลูกหายใจได้ไม่สะดวก ซึ่งอาการเหล่านี้ย่อมทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความสงสัยและวิตกกังวลว่าเกิดจากอะไร เป็นสัญญาณสุขภาพที่อันตรายร้ายแรงหรือไม่ สิ่งสำคัญคือ ควรคอยสังเกตอาการลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพราะหากลมหายใจติดขัด หรือขาดห้วงเป็นเวลานานอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ ลูกน้อยหายใจครืดคราด อาการหายใจครืดคราดในเด็ก อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียซึ่งทำให้เนื้อเยื่อในทางเดินหายใจบวม เช่น ไข้หวัด  มีทางเดินหายใจที่แคบและตีบตั้งแต่กำเนิด ทำให้หายใจได้ลำบาก เกิดอาการบวมในทางเดินหายใจ จนก่อให้เกิดการอุดตัน หรืออักเสบ เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนอ่อนยวบ จนขัดขวางการไหลเวียนของอากาศ ทำให้เวลาหายใจมีเสียงดัง หรือหายใจมีเสียงครืดคราด เกิดการกดทับในทางเดินหายใจ จนหายใจลำบาก น้ำหนักตัวมาก หรือเป็นโรคอ้วน อาการทางสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด โรคปอด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง สัญญาณของ ลูกน้อยหายใจครืดคราด ลักษณะอาการโดยทั่วไปดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาเตือนว่า ลูกน้อยหายใจครืดคราด และควรเฝ้าระวัง ดังนี้ หายใจแปรปรวน ไม่คงที่ หายใจเร็ว มีการกลั้นหายใจ โดยเฉพาะในขณะนอนหลับ อาจสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีภาวะหยุดหายใจ 2-3 วินาที เวลาลูกน้อยหายใจ จะมีเสียงคล้ายเสียงกรน เสียงฮึดฮัด หรือเสียงครืดคราดเกิดขึ้น หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ลูกเป็นผื่นที่หน้า ปัญหาผิวหนังในเด็ก ที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

เนื่องจากผิวหนังของเด็กมีความบอบบาง ไวต่อการระตายเคือง และการติดเชื้อต่าง ๆ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้า นอกจากนั้น โรคภูมิแพ้ ความร้อน แรงเสียดทาน ความชื้น ก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกเป็นผื่นได้เช่นกัน ผื่นนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกายเด็ก ไม่ว่าจะเป็นใบหน้า คอ ขา แขน มือ เท่า ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องหาสาเหตุของการเกิดผื่น รวมถึงอาจต้องสังเกตอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะหากผื่นมีอาการรุนแรงขึ้น จะได้พาลูกน้อยไปพบคุณหมอได้อน่างทันท่วงที สาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้า ผิวหนังของเด็กมีความบอบบาง ไวต่อการระตายเคือง และการติดเชื้อต่าง ๆ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้า นอกจากนั้น สาเหตุที่อาจทำให้ลูกเป็นผื่นหน้า อาจมีดังนี้ โรคผิวหนังอักเสบ ส่งผลให้ผิวแห้ง หยาบกร้าน ระคายเคือง เป็นผื่น มักพบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือน-5 ปี ไขบนหนังศีรษะทารก (Cradle Cap) คือ ปัญหาความมันบนผิวหนังโดยเฉพาะหนังศีรษะของทารก ก่อให้เกิดไข หรือแผ่นสะเก็ดขาว ๆ และผดผื่นขึ้นตามหนังศีรษะ รอบดวงตา จมูก แก้ม […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ทารกผิวลอก กับวิธีจัดการอย่างง่ายๆ สำหรับพ่อแม่มือใหม่

ทารกผิวลอก โดยส่วนใหญ่แล้วมักไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจ อาจดูแลเบื้องต้นให้หายได้ภายในไม่กี่วัน อย่างไรก็ตาม ทารกผิวลอกเกิดได้จากหลายสาเหตุ หากเกิดจากปัญหาโรคผิวหนังบางอย่าง จำเป็นต้องได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกวิธี เช่น โรคสะเก็ดเงิน กลาก หรือผิวหนังเกล็ดปลา ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตผิวลูกน้อย และอาการร่วมอื่น ๆ เช่น มีไข้ ร้องไห้งอแงไม่มีสาเหตุ หากผิดปกติจะได้รับมือและหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทารกผิวลอก ปัญหาผิวลอกซึ่งมักพบได้บ่อยในทารกนั้น อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ สภาพอากาศแห้ง อุณหภูมิที่เย็นจัด การให้ทารกแช่ตัวในน้ำอุ่นนานเกินไป โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังเกล็ดปลาแบบสามัญ อาการแพ้ โรคในระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคคาวาซากิ โรคสะเก็ดเงิน การติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือรูขุมขน ผิวไหม้แดด โรคผิวหนัง เช่น กลาก  การแพ้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหนังหรือทำความสะอาดผิวหนัง ทารกผิวลอก เป็นอันตรายหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว ทารกผิวลอกไม่ถือว่าอันตรายร้ายแรงเท่าใดนัก การบรรเทาอาการหรือป้องกันเบื้องต้นอาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้ภายในไม่กี่วัน แต่หากเกิดจากโรคผิวหนังอย่าง โรคสะเก็ดเงิน กลาก หรือผิวหนังเกล็ดปลา อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเฉพาะทางกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และใช้ระยะเวลาสักพักกว่าที่สุขภาพผิวหนังจะดีขึ้น ทำอย่างไรเมื่อทารกผิวลอก หากเริ่มสังเกตเห็นว่าทารกผิวลอก คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมวิธีเริ่มรับมือและจัดการกับปัญหาเหล่านั้นในทันที ซึ่งในเบื้องต้นอาจปฏิบัติตามดังนี้ งดอาบน้ำนาน เพราะการให้ทารกอาบน้ำนาน ๆ จะทำให้สูญเสียน้ำมันธรรมชาติในชั้นผิวหนัง และไม่ควรให้ทารกแช่ในน้ำอุ่นนานจนเกินไปด้วย เสี่ยงที่จะทำให้ผิวแห้ง […]


โภชนาการสำหรับทารก

ปริมาณนมสำหรับทารก กินมากหรือน้อยแค่ไหนถึงจะพอดี

ทารก เป็นช่วงวัยที่ยังไม่สามารถกินอาหารได้มากเท่าไหร่นัก ดังนั้น อาหารหลักของทารกก็คือ น้ำนม ทั้งน้ำนมแม่ และนมผง แต่รู้ไหมว่า ปริมาณนมสำหรับทารก ในแต่ละวัน และในแต่ละช่วงวัย ควรอยู่ที่เท่าไหร่ ปริมาณนมมากหรือน้อยแค่ไหนจึงจะเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารก หากคุณสงสัยในเรื่องนี้อยู่ บทความนี้จาก Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากแล้วค่ะ ปริมาณนมสำหรับทารก ควรเป็นอย่างไร ปริมาณน้ำนมสำหรับ ทารก นั้น สามารถจำแนกได้ตามช่วงวัย ดังนี้ เด็กแรกเกิด (สองหรือสามสัปดาห์แรก) ควรได้รับนมครั้งละ 60-90 มิลลิลิตร และควรให้นมทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เด็กอายุ 2 เดือน ควรได้รับนมครั้งละ 120-150 มิลลิลิตร และควรให้นมทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง เด็กอายุ 4 เดือน ควรได้รับนมครั้งละ 120-180 มิลลิลิตร สำหรับความถี่ในการให้นมของเด็กในวัยนี้ ให้พิจาณาจากรูปร่าง และน้ำหนัก เด็กอายุ 6 เดือน ควรได้รับนมครั้งละ 180-230 มิลลิลิตร และควรให้นมทุก ๆ […]


การดูแลทารก

เด็ก1เดือน ไม่นอนกลางวัน ปัญหาสำคัญที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ

เด็ก1เดือน เป็นวัยที่มีกิจกรรมประจำวันอยู่เพียงไม่กี่อย่าง ได้แก่ กิน นอน ขับถ่าย ร้องไห้ และอาจตื่นเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่ในบางรายอาจพบปัญหาทารก1เดือน ไม่ยอมนอนในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่สามารถหาวิธีป้องกันและรับมือได้เพียงศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการนอนของทารก1เดือน [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก1เดือน กับการนอน ทารกเป็นช่วงวัยที่จำเป็นต้องมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะทารกที่มีอายุระหว่าง 0-3 เดือน ควรจะนอนหลับให้ได้ประมาณ 14-17 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งแบ่งเป็นนอนตอนกลางคืน 8-10 ชั่วโมง และตอนกลางวันประมาณ 7-9 ชั่วโมง ทำไม ทารก1เดือน ไม่นอนกลางวัน  ทารก1เดือน ไม่นอนกลางวันเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก เพราะอาจไม่เข้าใจสาเหตุว่าเพราะอะไร สาเหตุที่ทารก1เดือนไม่นอนกลางวันนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ ทารกรู้สึกหิว เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากการที่นมย่อยไวเกินไป มีการเว้นระยะห่างในการให้เด็กกินนมนานเกินไป หรือเด็กกินนมน้อยเกินไป จนทำให้เด็กหิว และนอนไม่หลับ ทารกไม่สบาย การไม่นอนกลางวันของ ทารก 1 เดือน อาจเกิดจากการไม่สบาย เช่น เป็นหวัด มีไข้ แก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องผูก ภูมิแพ้ อาการเจ็บป่วยเหล่านี้ มักทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว จนหลับยาก ทารกไม่สบายตัว อาจเกิดจากที่นอนของทารกแข็งจนเกินไป […]


โภชนาการสำหรับทารก

พัฒนาการทารก 5 เดือน อะไรรับประทานได้ อะไรควรเลี่ยง

พัฒนาการทารก 5 เดือน เป็นช่วงวัยที่บอบบางแม้จะเป็นระยะเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของขวบปีแล้วก็ตาม ในช่วงนี้ก็ยังจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเรื่องของอาหาการกิน ทั้งยังต้องระมัดระวังและใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมสำหรับการเจริญเติบโต และได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน โดยอาหารที่เหมาะสำหรับพัฒนาการทารก 5 เดือนั้น ได้แก่ นมแม่ ผักบด ผลไม้บด เนื้อสัตว์บด เป็นต้น นอกจากนั้น ก็มีอาหารบางอย่างที่ไม่เหมาะสำหรับทารก 5 เดือน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ [embed-health-tool-vaccination-tool] อาหารที่เหมาะสำหรับพัฒนาการทารก 5 เดือน ในช่วง พัฒนาการทารก 5 เดือน ทารกบางคนอาจเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นบ้างแล้ว แต่สำหรับบางคนอาจมีฟันขึ้นเมื่ออายุได้ 1 ปี หรืออย่างเร็วที่สุดก็คือ มีฟันซี่แรกขึ้นตั้งแต่ 3 เดือนแรก อย่างไรก็ตาม การมีฟันขึ้นของทารกที่อายุยังไม่ถึงขวบปี หรืออายุเพียง 5 เดือนนี้ ไม่ได้หมายความว่าทารกพร้อมสำหรับการรับประทานอาหารที่ต้องมีการบดเคี้ยวแล้ว เพราะทารกในวัย 5 เดือน ยังจำเป็นที่จะต้องได้รับอาหารเหลวหรืออาหารอ่อนอยู่ โดยอาหารต่อไปนี้ เป็นอาหารที่ช่วยให้เด็กรับประทานได้ง่าย และได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต นมแม่ ถือเป็นน้ำนมที่ดีที่สุดสำหรับช่วงพัฒนาการทารก 5 […]


ช่วงวัยเรียน

ตีลูก ส่งผลกับลูกอย่างไร และวิธีเลี้ยงลูกที่เหมาะสม

การตีลูก เพื่อให้เชื่อฟัง บางครั้งอาจไม่ได้เป็นเทคนิคที่เหมาะสมเสมอไป เพราะยังมีหนทางอื่น ๆ อีกมากมายในการอบรมสั่งสอนอย่างสร้างสรรค์ ที่จะช่วยให้ลูกรักรู้จักเหตุผล และพร้อมรับฟัง หรือเต็มใจพิจารณาสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการจะสื่อสารกับพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น ทำไม การตีลูก บ่อย ๆ ถึงไม่ดี ถึงแม้ในประเทศไทยของเรา จะใช้การตีลูก เป็นหนึ่งในวิธีอบรมสั่งสอน หรือเอาไว้ทำโทษกันมาอย่างยาวนาน แต่วิธีนี้ก็อาจจะไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมที่สุด เพราะยังมีวิธีอื่น ๆ อีกมากมายที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ในการอบรมสั่งสอนลูกได้ เช่น การแสดงสีหน้า น้ำเสียงที่ดุอย่างชัดเจน งดให้ทำกิจกรรมที่ชอบสักระยะจนกว่าพวกเขาจะรู้สึกผิด ที่สำคัญ หากคุณใช้วิธีการตีลูกอย่างเดียวอยู่บ่อยครั้ง อาจส่งผลเสียต่อเด็ก ๆ นั่นคือ อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงลบได้ในอนาคต เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่มีความสุขดังเดิม สภาพจิตใจของเด็กเปลี่ยนแปลงไป หรือมีการจดจำเพียงแต่ความเจ็บปวดจากการถูกตีมากกว่าการจดจำความทรงจำดี ๆ ทำให้เด็กก้าวร้าวมากขึ้น เด็ก ๆ อาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำ เป็นการเพิ่มความรุนแรงในครอบครัว เพราะบางครั้งเด็กอาจมีการโต้ตอบที่รุนแรงกลับ เช่น การตะโกน ส่งเสียงดัง ทำร้ายพ่อแม่กลับ หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงลูกรัก ก็สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์เพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ดี เรามีคำแนะนำหรือเคล็ดลับในการเลี้ยงลูกมาฝาก คุณจะได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมอุปนิสัยและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน จะได้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความรุนแรงหรือผลเสียข้างต้น เคล็ดลับสำหรับ การเลี้ยงลูก อย่างที่ทราบว่า การตีลูก […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

การเลี้ยงลูกแบบอิสระ และการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด อย่างไรจึงจะดีมากกว่ากัน

เนื่องจากการเป็นพ่อแม่คนนั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด บางครั้งเมื่อลูกทำผิดก็อาจจะต้องมีการอบรบสั่งสอน และเข้มงวดให้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ก็อยากให้ลูกรักย่อมมีการเรียนรู้จากความผิดพลาดด้วยตนเองจนปล่อยปะละเลย แล้วรู้หรือไม่ว่า ระหว่าง การเลี้ยงลูกแบบอิสระ และการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด แตกต่างกันอย่างไร [embed-health-tool-bmi] ข้อแตกต่าง การเลี้ยงลูกแบบอิสระ และแบบเข้มงวด แน่นอนว่าการเลี้ยงดูลูกทั้ง 2 รูปแบบนี้ย่อมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะการเลี้ยงลูกแบบอิสระเป็นการปล่อยให้ลูกรักตัดสินใจใช้ชีวิตด้วยตนเอง โดยไม่มีข้อบังคับ หรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ที่ทางผู้ปกครองตั้งไว้ ส่งผลให้เด็ก ๆ มีความมั่นใจ สุขภาพจิตดีขึ้น และกล้าจะเข้าสังคมใหม่ ๆ ในอนาคตที่ต้องพบเจอ แต่ขณะเดียวกันก็อาจทำให้เด็ก ๆ ไร้วินัย ถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดีได้ง่าย เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ที่เหล่าบรรดาวัยรุ่นนิยม หรือสูบบุหรี่ เป็นต้น ส่วนการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด ถึงแม้จะถูกผู้คนมองว่าเป็นการเลี้ยงลูกที่ไม่สมควรมากนัก เนื่องจากเป็นการเลี้ยงแบบไม่รับฟังความคิดเห็นของเด็กเสียเท่าไหร่ อีกทั้งยังมีกฏเกณฑ์มากเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจพวกเขาในเชิงลบได้ แต่ทว่า เมื่อเด็ก ๆ ถูกเข้มงวดมากขึ้นบางครั้งก็อาจทำให้เกิดระเบียบมีวินัย ไม่กล้าจะประพฤติผิด เพราะเกรงกลัวว่าจะถูกผู้ปกครองลงโทษ จนนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตดั่งเป้าหมายในอนาคต เรียกได้ว่า การเลี้ยงลูกทั้งแบบอิสระ และแบบเข้มงวด ย่อมให้ข้อดีข้อเสียไม่แพ้กัน เพื่อเป็นทางออกที่ดีที่สุดนั้น คุณพ่อคุณแม่ รวมถึงผู้ปกครองทุกคน ควรศึกษาจากลักษณะนิสัยของเด็ก พร้อมทั้งควรปรับการเลี้ยงดูให้สมเหตุสมผล และเอาใจใส่ทุกอย่างที่เป็นตัวตนของลูกให้มาก ๆ เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตใช้ชีวิตในโลกภายนอกได้อย่างมีความสุข เคล็ดลับ […]


การดูแลทารก

ลูกไม่ยอม ดูดนมจากขวด จะรับมืออย่างไรดี

ปัญหาการดูดนมจากขวด  เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความหนักอกหนักใจให้กับคุณแม่ เพราะลูกไม่สามารถพูดหรือสื่อสารให้คุณแม่เข้าใจได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นจากการดูดนมจากขวด ดังนั้น คุณแม่จึงควรสังเกตอาการลูกอย่างใกล้ชิด หากพบว่าลูกไม่ยอม ดูดนมจากขวด ก็ควรหาสาเหตุและวิธีรับมือที่เหมาะสมโดยด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลูกอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกไม่ยอม ดูดนมจากขวด เกิดจากอะไร การที่ลูกไม่ยอมดูดนมจากขวดอาจเกิดจากได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา โดยมีวิธีการสังเกตอาจทำได้ ดังนี้ ลูกอิ่ม หรือไม่มีความรู้สึกหิวมากพอที่ต้องกินนม อาจมีอาการไม่สบายท้อง เช่น จุกเสียด ท้องอืด จึงไม่สามารถกินนมเพิ่มได้ รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว ลูกเพิ่งหย่านม และรู้สึกคุ้นชินกับการกินนมจากเต้า เนื้อสัมผัสและรสชาติของนมเปลี่ยนไปจากเดิม  ลูกไม่ชอบเนื้อสัมผัสของจุกนม สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าลูกน้อยมีปัญหาเกี่ยวกับการ ดูดนมจากขวด หากลูกแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าลูกอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการกินนมจากขวด  ปิดปากแน่นสนิท ไม่ยอมเปิดปากกินขวดนม มีอาการไอ หรือนมกระเซ็นออกขณะกินนม กินนมน้อยกว่าปกติ  น้ำนมไหลออกมาจากปาก แหวะนมบ่อย ร้องไห้ทุกครั้งที่กำลังให้นม หรือมองเห็นขวดนม อมหัวนมไว้ในปาก แต่ไม่ยอมดูดนมต่อ  หันหลังให้ขวดนม  เคล็ด (ไม่) ลับ ฝึกให้ลูกน้อยกินนมจากขวด การให้ลูกดูดนมจากขวด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้คุณแม่สะดวกและประหยัดเวลามากขึ้น ซึ่งการปรับพฤติกรรมจากกินนมจากเต้ามาดูดนมจากขวด อาจทำได้ด้วยการฝึกฝน โดยวิธีที่จะช่วยฝึกให้ลูกดูดนมจากขวดอาจทำได้ ดังนี้ ค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมจากการให้นมลูกจากเต้าเปลี่ยนมาให้ดูดนมจากขวดแทน รอจนกว่าลูกจะรู้สึกหิวจึงให้ดูดนมจากขวด และให้ลูกกินนมในช่วงเวลาที่สม่ำเสมอ  ลองปรับเปลี่ยนขนาดและรูปของขวดนม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน