พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

พัฒนาการเด็กวัยประถม กับการเปลี่ยนแปลง ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

เด็ก ๆ ที่เข้าสู่ช่วงวัยประถมส่วนใหญ่มักอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ด้วยกัน พร้อมมีการเจริญเติบโตขึ้นตามแต่ละช่วงวัย รวมไปถึงการอบรม เอาใจใส่ และการดูแลของคุณพ่อคุณแม่ร่วมด้วย แต่คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่คะว่า ในช่วงอายุลูกรักดังกล่าว จะส่งผลให้พวกเขามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นในด้านใดบ้าง ถ้าหากยังไม่ทราบละก็ วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ถึง พัฒนาการเด็กวัยประถม และเคล็ดลับการดูแลให้เหมาะกับช่วงวัย มาฝากผู้ปกครองทุกคนกันค่ะ รูปแบบการเรียนรู้ของ เด็กวัยประถม แต่ละช่วงอายุ และอุปนิสัยเด็ก ๆ แต่ละบุคคลนั้น ย่อมมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจมีความต้องการอยากจะเรียนรู้ทางด้านวิชาการ ในขณะที่เด็กบางคนอาจอยากเรียนรู้ทางด้านกิจกรรม แต่ส่วนใหญ่โดยรวมแล้วเด็กในช่วงวัยประถมมักอยากเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ที่เข้ามาเสมอ พวกเขาจะกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการพบเจอสังคมใหม่ในโรงเรียน วิชาเรียน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางคุณครูผู้สอนได้มอบหมายให้ ซึ่งมักจะทำให้เด็กคัดกรองในสิ่งที่ตนเองชอบได้ว่า ตัวพวกเขานั้นถนัดอะไร ชอบทำอะไร และสิ่งใดที่ไม่ค่อยถนัด ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัยนี้ผู้ปกครองทุกคนควรสนับสนุนหากเป็นไปในทางที่ดี และควรตักเตือนหากลูกรักมีพฤติกรรมที่ไม่สมควร แต่ไม่ถึงกับต้องบังคับตลอดเวลา เนื่องจากเด็กวัยประถมต้องการอิสระในภายใต้การขอความคิดเห็นจากผู้ปกครองร่วม เพื่อทำให้เขาตัดสินใจลงมือทำ และเพลิดเพลินกับสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบได้อย่างสนุกขึ้น พัฒนาการเด็กวัยประถม แต่ละช่วงอายุ อย่างที่ทราบกันดีว่า เด็กวัยประถม ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี […]


การเติบโตและพัฒนาการ

พัฒนาการลูก ทั้ง 4 ด้าน มีอะไรบ้าง สำคัญอย่างไร

พัฒนาการลูก เป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนควรเอาใจใส่เพราะส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตที่เหมาะสมกับวัยเพื่อที่เด็ก ๆ จะสามารถช่วยเหลือตัวเองและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยเฉพาะ พัฒนาการลูก ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านความคิดและสติปัญญา พัฒนาการทางด้านสังคมและอารมณ์ และพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการลูก ทั้ง 4 ด้าน ที่คนในครอบครัวควรรู้ พัฒนาการลูกทั้ง 4 ด้าน อาจสามารถนำไปร่วมในการวางแผน เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ หรือเสริมทักษะให้แก่ลูกรักได้ดียิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้ 1. พัฒนาการด้านร่างกาย  เป็นพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย การควบคุมกล้ามเนื้อ การทรงตัว รวมไปถึงระบบประสาทสัมผัส ขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดิน วิ่ง คลาน หยิบจับสิ่งของ โดยเด็ก ๆ แต่ละคนย่อมมีร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเจริญเติบโตแต่ละช่วงวัย ควรได้รับการส่งเสริมและดูแลให้บริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนให้ทำกิจกรรมหรือเล่นอย่างเหมาะสมกับช่วงวัย 2. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา ระบบความคิด สติปัญญา การเรียนรู้เพื่อประมวลผล ล้วนเป็นพัฒนาการที่มีปัจจัยเชื่อมโยงจากการเลี้ยงดู ฝึกอบรม และสภาพแวดล้อมรอบข้างเป็นหลัก เพราะเป็นแรงกระตุ้นให้เด็ก ๆ นั้นเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้น พร้อมจดจำเอาไว้ในความทรงจำ หรืออาจนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับในชีวิตประจำวันจนส่งผลในเชิงบวก จวบจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีแต่หากเป็นสิ่งที่ผู้คนรอบข้างปลูกฝังในสิ่งที่นำพาเด็ก ๆ […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

สร้างวินัยให้ เด็กวัยก่อนเข้าเรียน เพื่อพฤติกรรมที่ดีของลูกน้อย

เด็กวัยก่อนเข้าเรียน ส่วนมากมักอยู่ในช่วงอายุ 2-5 ปี โดยก่อนที่พวกเขาจะออกสู่สังคมเจอผู้คนแปลกใหม่ และห่างไกลจากคุณพ่อคุณแม่แล้ว ผู้ปกครองควรเตรียมตัวสร้างวินัยพื้นฐานให้ลูกรัก ได้เข้าใจถึงการใช้ชีวิตที่เด็ก ๆ อาจต้องไปเจอ ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน การแบ่งปันสิ่งของ อยู่ในระเบียบกฎโรงเรียน เป็นต้น วิธีง่าย ๆ ที่ผู้ปกครองสามารถเริ่มปรับวินัยของเด็ก ๆ ให้ลองนำไปฝึกพวกเขาวันละนิดมีอะไรบ้าง [embed-health-tool-child-growth-chart] พฤติกรรมส่วนใหญ่ของ เด็กวัยก่อนเข้าเรียน ส่วนใหญ่ในช่วงวัยก่อนเข้าเรียน มักมีพฤติกรรมที่จะแสดงให้ผู้ปกครองได้เห็นว่า พวกเขากำลังมีความต้องการอิสระมากขึ้น และค่อนข้างอยากรู้อยากเห็นสิ่งแปลกใหม่ ถึงแม้จะมีความเชื่อกันว่าเด็ก ๆ มักจะสอนระเบียบวินัย และเชื่อฟังผู้ใหญ่ง่าย แต่ขณะเดียวกันก็อาจเป็นไปได้ค่อนข้างยากในเด็กบางคน เพราะพวกเขาชอบที่จะตัดสินใจทำตามความรู้สึกตนเองเสมอ ดังนั้นผู้ปกครองทุกคนจึงอาจจำเป็นต้องปล่อยให้เด็ก ๆ เผชิญกับปัญหาด้วยตนเอง โดยมีคุณคอยสังเกตการณ์ และตักเตือนเล็กน้อยอยู่ข้าง ๆ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่ส่งผลให้เกิดอันตราย อีกทั้งในเด็กบางคนถึงจะมีความรักอิสระมากเพียงใด แต่ก็ยังมีความกังวลเล็กน้อยอยู่บ้าง เมื่อต้องเข้าไปเผชิญกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากหน้าหลายตาที่ไม่ใช่ครอบครัวขณะอยู่โรงเรียน เช่น คุณครู และเพื่อน ๆ ช่วงวัยเดียวกัน ทางออกพื้นฐานที่ผู้ปกครองควรทำ คือการพูดคุยในสิ่งที่ลูกจะต้องไปพบเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้พวกเขารู้ล่วงหน้า และอาจปรับตัวได้ไวขึ้นเมื่อถึงเวลาต้องเข้าไปชีวิตร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ วิธีสร้างวินัยให้ เด็กวัยก่อนเข้าเรียน การฝึกให้ลูกอยู่ในระเบียบวินัยเป็นการสอนให้พวกเขาได้รับรู้ว่าควรมีพฤติกรรมเช่นใดในการชีวิตแต่ละวัน เพื่อให้ถูกละเว้นจากการลงโทษ และเป็นที่รักของทุกคนมากกว่าการได้รับการกระทำเชิงลบจากบุคคลอื่น ๆ เมื่อเขาเติบโตขึ้น โดยเริ่มจากวิธีต่าง […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ขนมเพื่อสุขภาพ ที่เหมาะสำหรับเด็ก

ขนมเพื่อสุขภาพ คือขนมที่ให้พลังงานและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกน้อย ขนมหรือของว่างที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกให้ลูกรับประทาน คือ ขนมที่ทำจากผัก ผลไม้ ธัญพืช ควรให้ลูกหลีกเลี่ยงขนมที่มีโซเดียมและน้ำตาลสูง เช่น มันฝรั่งทอด เค้ก ลูกกวาด หรืออาจจำกัดปริมาณการรับประทานขนมเหล่านี้ เพราะอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน [embed-health-tool-bmi] เด็กกินขนมมากไป ส่งผลเสียได้อย่างไร ขนมส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยโซเดียม และน้ำตาล หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ก็อาจส่งผลให้ร่างกายสะสมสารอาหารที่ไม่ดีอยู่ภายในก่อให้เกิดโรคอ้วนตั้งแต่ยังเยาว์วัย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง ไขมันในตับ และเกิดปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันผุ อีกทั้งยังทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติส่งผลให้เป็นโรคลำไส้แปรปรวน ท้องอืด ท้องร่วง อาหารแต่ละมื้อที่ประกอบด้วยโซเดียมและน้ำตาลสูงก็อาจส่งผลให้เด็กเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ปกครองควรจำกัดปริมาณอาหารและขนมในแต่ละวันให้พอดี โดยควรจำกัดน้ำตาลไว้ที่ 25 กรัมสำหรับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำตาลไม่ว่าจะในรูปแบบอาหารหรือเครื่องดื่ม เด็กที่มีอายุ 1-3 ปี ควรบริโภคน้อยกว่า 1,500 มิลลิกรัม เด็กที่มีอายุ 4-8 ปี ควรบริโภคน้อยกว่า 1,900 […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

การออกกำลังกายสำหรับเด็ก ที่อาจช่วยพัฒนาความเคลื่อนไหวได้ดี

ไม่ว่าจะช่วงอายุใด การออกกำลังกาย ก็ย่อมเป็นกิจกรรมที่สำคัญเสมอที่ทุกคนควรหันมาขยับร่างกายบ้าง สัปดาห์ละ 1-2 วัน ก็ยังดี โดยเฉพาะเมื่อเริ่มฝึกตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก ที่นอกจากจะเป็นการส่งเสริมความแข็งแรงแล้ว ยังอาจทำให้เด็ก ๆ ค้นพบกีฬาที่ตนเองรัก และต่อยอดไปถึงอนาคตได้อีกด้วย [embed-health-tool-child-growth-chart] เด็ก ๆ ควรออกกำลังกาย มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากการเคลื่อนไหวของเด็กแต่ละช่วงวัยค่อนข้างแตกต่างกัน ทำให้บางกิจกรรมเด็กในบางคนก็ไม่สามารถทำได้เป็นระยะเวลานาน เพราะอาจเกิดความเสียหายต่อร่างกายขึ้น ตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ถึงระดับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเด็กนั้น จึงถูกแบ่งออกตามช่วงอายุ ดังต่อไปนี้ เด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3-5 ปี ควรมีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดทั้งวัน แต่อาจอยู่ในระดับเบา เช่น เดินวิ่งไปมา ภายในสวน และหรือในบ้าน เพื่อเป็นการพัฒนาด้านการเคลื่อนไหวและการเจริญเติบโตได้ไวขึ้น เด็กวัยเรียนจนถึงวัยรุ่น อายุ 6-12 ปี ควรออกกำลังกายในระดับปานกลางอย่างน้อย 60 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ หรืออาจเป็นการแอโรบิคเป็นประจำทุกวัน ประโยชน์ของ การออกกำลังกายสำหรับเด็ก หากลูกรักมีการขัยบร่างกาย หรือหมั่นออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ สามารถทำให้สุขภาพของลูกรักนั้นแข็งแรง ห่างไกลจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นต้น เสริมสร้างความแข้งแรงของกล้ามเนื้อ […]


การเติบโตและพัฒนาการ

พัฒนาการเด็กวัยก่อนเข้าเรียน กับเคล็ดลับการดูแล ที่พ่อแม่ควรทราบ

นอกจากอุปนิสัย และการใช้ชีวิตประจำวันของลูกรัก ที่คุณพ่อคุณแม่ทราบดีแล้ว การรู้จักสังเกตพัฒนาการของลูกก็ย่อมเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันที่ผู้ปกครองทุกคนควรมีการจดบันทึกถึงการเจริญเติบโตเด็ก ๆ เอาไว้ร่วมด้วย โดยเฉพาะ พัฒนาการเด็กวัยก่อนเข้าเรียน เพื่อดูแลลูกน้อยให้สามารถเริ่มใช้ชีวิตอีกขั้นในสังคมแห่งการเรียนรู้ภายนอกได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] การเปลี่ยนแปลง พัฒนาการเด็กวัยก่อนเข้าเรียน ในช่วงอายุของเด็กวัยก่อนเข้าเรียน (3-5 ปี) มักมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงหลายด้านตามการเจริญเติบโต ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านสังคม พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ทักษะการเรียนรู้ พัฒนาการด้านภาษา และการสื่อสาร ที่คุณจะสังเกตได้ถึงพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่มีความคิดเป็นของตัวเองมากขึ้น อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ ๆ มีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉงเนื่องจากกระดูกเริ่มมีความแข็งแรง และยืดหยุ่น รวมไปถึงอยากเข้าสังคมมีปฏิสัมพันธ์ผูกมิตรกับเพื่อนใหม่เมื่อพบเจอ โดยพัฒนาการข้างต้นที่กล่าวมานั้น ยังขึ้นอยู่กับการดูแลของผู้ปกครอง และสภาวะแวดล้อมรอบข้างร่วมด้วยว่าอยากให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการไปในเชิงบวก หรือเชิงลบ เพราะบางคนอาจนำไปสู่การพัฒนาด้านพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น การคิดคำโกหก อารมณ์ฉุนเฉียว เป็นต้น เคล็ดลับการเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเข้าเรียน เพื่อให้ลูกรักที่อยู่ในช่วงวัยก่อนเข้าเรียนมีพัฒนาการที่ดีตามเกณฑ์อายุ คุณพ่อคุณแม่สามารถนำเคล็ดลับการดูแลเด็ก ๆ ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ ไปใช้ร่วมกับเทคนิคการดูแลที่คุณใช้อยู่ด้วยได้ จัดตารางอาหารที่ต่อสุขภาพให้แก่ลูกรัก เพื่อให้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ให้เด็ก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ โดยช่วงอายุเด็กวัยก่อนเข้าเรียนควรนอนหลับ 11-13 ชั่วโมงต่อวัน จำกัดเวลาให้เด็ก ๆ อยู่กับหน้าจอโทรศัพท์ แท็ปเล็ต คอมพิวเตอร์ […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกกินขนมมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ ที่มักเห็นอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป อาจเป็นสิ่งที่ดึงดูดลูก ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ลูกสามารถรับประทานได้ แต่ขนมเหล่านี้ก็อาจส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพได้เช่นกัน หากคุณพ่อคุณแม่ยังอยากให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง อาจต้องระวังไม่ให้ ลูกกินขนมมากเกินไป ขนมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง ในปัจจุบัน ขนมหรืออาหารว่างอาจประกอบไปด้วยโซเดียม น้ำตาล คาเฟอีน และไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปอาจทำลายสุขภาพของลูกได้ เมื่อเกิดการสะสมเป็นอยู่ภายในร่างกายเป็นเวลานาน โดยไม่มีการเผาผลาญออก ซึ่งขนม อาหาร และเครื่องดื่มที่คุณพ่อคุณแม่ควรจำกัด หรือหลีกเลี่ยงให้ลูกรักรับประทานอาจมีดังนี้ อาหารฟาสฟู้ด เช่น พิซซ่า เฟรนช์ฟรายส์ ขนมที่อุดมไปด้วยน้ำตาล เช่น เค้ก โดนัท น้ำอัดลม น้ำผลไม้ปรุงแต่ง และโยเกิร์ตที่มีปริมาณน้ำตาลสูง โดยคุณพ่อคุณแม่อาจมีความกังวลใจ อาจอ่านได้จากฉลากข้อมูลโภชนาการบนผลิตภัณฑ์ เพื่อาจส่วนประกอบต่าง ๆ ในขนม นอกจากนี้ หากคุณพ่อคุณแม่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับขนมที่ลูกควรหลีกเลี่ยง อาจเข้าขอรับคำปรึกษาจากคุณหมอเพิ่มเติมได้ ลูกกินขนมมากเกินไป ส่งผลเสียอย่างไร หากจำกัดปริมาณขนม และอาหารว่างให้อยู่ในปริมาณที่พอดี ก็อาจทำให้ลูกมีความเสี่ยงในการสารบางอย่างที่ทำลายสุขภาพลดลง แต่กรณีที่คุณพ่อคุณแม่ยังมีการตามใจลูกและให้รับประทานขนมมากจนเกินไป อาจทำให้ลูกเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ท้องผูก เสพติดในอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อารมณ์แปรปรวน ขาดความตื่นตัว พลังงานลดลง อาการซึมเศร้า การนอนหลับผิดปกติ สมาธิสั้น การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพอาจก่อให้เกิดโรคหอบหืด จมูกอักเสบ โรคเรื้อน นอกจากนี้ […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก 7 เดือน ที่ควรรับประทานและควรเลี่ยง

ทารกวัย 7 เดือน ถือเป็นช่วงวัยที่บอบบางและจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหาร การทราบข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารเด็ก 7 เดือน ที่ควรรับประทานและควรเลี่ยง อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลอาหารให้เด็ก 7 เดือน ได้อย่างเหมาะสมและหลากหลาย เพื่อให้เด็กได้รับพลังงานและสารอาหารที่ครบถ้วน ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก 7 เดือนกินอะไรได้บ้าง เด็ก 7 เดือน เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวดีขึ้นมาก พวกเขาสามารถคลานได้อย่างคล่องแคล่ว หรือเริ่มตั้งไข่ได้บ้างแล้ว ทั้งยังสามารถพยุงตัวขึ้นนั่งเองได้ และนิ้วมือก็สามารถหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้คล่องขึ้นด้วย นอกจากนี้เด็ก 7 เดือนเริ่มมีฟันขึ้นมาหลายซี่ ทำให้สามารถกินอาหารได้หลากหลายขึ้น ไม่ใช่แค่นมแม่ นมผง อาหารบด ผักบด ผลไม้บด เหมือนช่วงที่ผ่านมา แต่สามารถกินอาหารที่แข็งขึ้นมาเล็กน้อยได้ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวสวย อาหารเด็ก 7 เดือน ที่ควรรับประทาน เด็ก 7 เดือนสามารถกินอาหารได้มากขึ้น หลากหลายขึ้น รวมถึงเริ่มกินอาหารที่แข็งขึ้นมาเล็กน้อยได้แล้ว โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มให้ลูกน้อยกินอาหารดังต่อไปนี้ได้ ธัญพืช เด็ก 7 เดือนเริ่มเคี้ยวธัญพืชต่าง ๆ ได้ดีขึ้นแล้ว ธัญพืชที่เหมาะสำหรับเด็ก […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

ฝึกลูกนอนเร็ว มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

การ ฝึกลูกนอนเร็ว อาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ แต่ละครอบครัวต่างมีวิธีที่แตกต่างกันไป บางคนเลือกเล่านิทาน บางครอบครัวอาจเลือกร้องเพลงกล่อม แต่อาจจะไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ ทั้งนี้ อาจต้องอาศัยหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการฝึกสร้างระเบียบวินัย การสร้างบรรยากาศ การพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจถึงเหตุผลในการนอนเร็ว เพื่อฝึกให้ลูกนอนเร็วได้ผลดียิ่งขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ฝึกลูกนอนเร็ว มีประโยชน์อย่างไร การฝึกลูกเข้านอนเร็ว ถือเป็นกิจวัตรประจำวันที่ส่งผลดีและมีประโยชน์ต่อเด็กในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้ การเข้านอนแต่หัววัน จะทำให้เด็กได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่รู้สึกอ่อนเพลียเมื่อตื่นนอนตอนเช้า มีส่วนช่วยให้พัฒนาการด้านความจำและสุขภาพจิตดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ การฝึกลูกนอนเร็วมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาความดันโลหิตได้ การพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่ปัญหาโรคอ้วน การฝึกลูกนอนเร็วจึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่โรคอ้วนในเด็กได้ หากลูกน้อยนอนดึกอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด ซึมเศร้า เมื่อลูกเข้านอนเร็วจึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าได้ ฝึกลูกนอนเร็ว ทำได้อย่างไร สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เคยเลี้ยงลูกมาแล้วอาจสามารถรับมือกับปัญหาลูกเข้านอนดึกได้ดีกว่าเพราะมีประสบการณ์มาก่อนแล้ว แต่สำหรับพ่อแม่มือใหม่ การพาลูกเข้านอนแต่ละครั้งอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย หากกำลังประสบกับปัญหาลูกน้อนไม่ยอมนอนหรือนอนดึก อาจลองใช้วิธีดังต่อไปนี้ เพื่อฝึกลูกนอนเร็ว  กำหนดเวลาเข้านอนให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกน้อยสามารถจดจำได้ว่าเวลานี้เป็นเวลาที่ควรจะพักผ่อนนอนหลับ และควรกำหนดเวลาเข้านอนจนถึงเวลาตื่นนอนให้ได้อย่างน้อย 9-11 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ผ่อนคลายก่อนนอน การชวนลูกทำกิจกรรม เช่น เล่นเกม ร้องเพลงกล่อม เล่านิทาน สัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

ทารกท้องอืด ป้องกันได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ทารกท้องอืด มักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในหนึ่งวัน เนื่องจากทารกมีโอกาสมากที่จะกลืนอากาศเข้าร่างกาย ทั้งตอนดูดนมจากเต้า ตอนดูดนมจากขวด ตอนร้องไห้ รวมทั้งอาจเกิดจากอาหารไม่ย่อย ทำให้มีกรดและแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้ทารกไม่สบายตัว โดยปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่สามารถหาวิธีช่วยป้องกันทารกท้องอืดได้   ทารกท้องอืด เกิดจากอะไร อาการท้องอืดในเด็กทารก อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ ทารกกลืนอากาศเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปในขณะที่กำลังกินนมหรือร้องไห้ ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี ทำให้ย่อยอาหารได้เร็วเกินไป หรือย่อยได้ไม่หมด มีอาการแพ้อาหารหรือสิ่งที่รับประทานเข้าไป อาการท้องผูก ทารกท้องอืด ป้องกันได้อย่างไร แม้ภาวะทารกท้องอืดจะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในหนึ่งวัน แต่จริง ๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจป้องกันอาการท้องอืด ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ เปลี่ยนท่าให้นมทารก ควรให้ศีรษะของทารกอยู่สูงกว่าขวดนมเสมอ เพื่อให้น้ำนมไหลลงไปที่ก้นกระเพาะอาหาร และเพื่อให้อากาศไหลขึ้นข้างบน ทำให้ทารกเรอออกมาได้ง่าย ป้องกันอากาศค้างในกระเพาะอาหาร ทำให้ทารกเรอ หลังป้อนนมทารก ให้ลองอุ้มทารกพาดบ่าแล้วตบหลังเบา ๆ หรือพยายามทำให้ทารกเรอออกมา เพื่อคลายเอาอากาศออกจากกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดอาการท้องอืด พยายามลดการกลืนอากาศ โดยเฉพาะเวลาให้นม ควรดูแลให้ขวดนมมีน้ำนมเต็มขวดอยู่เสมอ เพราะขวดนมที่มีน้ำนมอยู่น้อยอาจจะมีปริมาณของอากาศอยู่มาก และไม่ควรเขย่าขวดนมมากเกินไป เพราะจะทำให้ขวดนมเกิดฟองอากาศมากขึ้น ให้ทารกทำท่าจักรยานอากาศ โดยการที่คุณพ่อหรือคุณแม่อุ้มทารกจากด้านหลัง จับขาของเด็กไว้ แล้วค่อย ๆ หมุนขาเบา ๆ คล้ายกับเด็กกำลังปั่นจักรยาน วิธีนี้จะช่วยดันอากาศในท้องของทารกออกมา หรือจะทำท่าจักรยานอากาศโดยให้ทารกนอนหงาย แล้วชันเข่าของทารกขึ้นมาติดกับหน้าท้อง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน