พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

โภชนาการเด็กวัยเรียน

ลูกติดน้ำอัดลม ดื่มน้ำอัดลมบ่อย คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไรดี

น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในคนทุกวัย เพราะมีรสชาติหวาน ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น แต่หาก ลูกติดน้ำอัดลม จะส่งผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรช่วยให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ลดการดื่มน้ำอัดลม เพื่อให้ลูกมีสุขภาพดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ลูกติดน้ำอัดลม อันตรายอย่างไร หากลูกติดน้ำอัดลมอาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ดังนี้ เสี่ยงเกิดโรคอ้วน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงอย่างน้ำอัดลม มักให้แคลอรี่สูงแต่ให้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพน้อย การดื่มน้ำอัดลมบ่อย ๆ จึงเสี่ยงทำให้ลูกได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินไป เช่น คาร์โบไฮเดรต ทั้งยังอาจทำให้ร่างกายสะสมแคลอรี่เอาไว้มากขึ้น หากลูกไม่ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ส่วนเกิน ก็อาจทำให้น้ำหนักขึ้น หรือเสี่ยงเกิดโรคอ้วนตั้งแต่อายุยังน้อย เสี่ยงฟันผุ น้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง หากคุณพ่อคุณแม่ไม่คอยดูแลให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำอัดลมในปริมาณที่เหมาะสม และแปรงฟันหลังรับประทานอาหารและดื่มน้ำอัดลม ทำให้มีน้ำตาลสะสมตามผิวฟัน และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างฟันผุได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเด็กดื่มน้ำอัดลมในมื้อเย็นแล้วไม่แปรงฟัน ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อฟันผุมากขึ้นไปอีก เสี่ยงเกิดปัญหาในกระเพาะอาหาร น้ำอัดลมนอกจากจะให้น้ำตาลสูงแล้ว ยังมีกรดจำพวกกรดคาร์บอนิก (Carbonic acid) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้น้ำอัดลมซ่า มีฟอง และมีรสออกเปรี้ยว แต่กรดชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน หากลูกติดน้ำอัดลมและดื่มน้ำอัดลมบ่อย ๆ กรดคาร์บอนิกอาจทำให้จะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร จนกระเพาะอาหารอักเสบ ทั้งยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคลำไส้อักเสบได้ด้วย เสี่ยงเกิดภาวะกระดูกพรุน น้ำอัดลมมีกรดฟอสฟอริก (Phosphoric acid) ซึ่งหากดื่มบ่อย ๆ เกิดการสะสมในร่างกายมากเกินไป จะเสี่ยงทำให้แคลเซียมในมวลกระดูกสูญสลาย ในระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ วิธีรับมือเมื่อ ลูกติดน้ำอัดลม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของเด็ก ๆ ดังต่อไปนี้ อาจมีส่วนช่วยแก้ปัญหาลูกติดน้ำอัดลมได้ ลดปริมาณการดื่มน้ำอัดลม การลดปริมาณการดื่มน้ำอัดลมของลูกลงทีละนิด โดยไม่ห้ามหรือหักดิบจนเกินไป […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

ฝึกลูกนอนคนเดียว แบบค่อยเป็นค่อยไป ด้วยวิธีไหนดี

ฝึกลูกนอนคนเดียว เป็นการฝึกให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะทำอะไรด้วยตัวเองเป็น โดยไม่ต้องพึ่งพาพ่อกับแม่เสมอไป รวมทั้งทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้มีเวลาส่วนตัว แต่การฝึกลูกนอนคนเดียวนั้นอาจไม่ง่ายนัก ต้องค่อยเป็นค่อยไป สื่อสารให้ลูกเข้าใจถึงเหตุผลและให้เวลาลูกปรับตัวเพื่อจะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว หรือรู้สึกว่าโดนกีดกันออกจากพ่อกับแม่ ยังคงความรักและความเข้าใจในครอบครัว ฝึกลูกนอนคนเดียว ดีอย่างไร การฝึกให้ลูกรู้จักเข้านอนคนเดียวโดยไม่ต้องมีคุณพ่อคุณแม่คอยตามประกบเข้านอนด้วยนั้น เป็นผลดีต่อเด็กในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้ รู้จักจัดการกับความรู้สึก การฝึกลูกนอนคนเดียว เป็นการฝึกให้ลูกเรียนรู้ที่จะจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง เพราะการอยู่คนเดียวในตอนกลางคืนหรือท่ามกลางความมืดอาจเป็นเรื่องน่ากลัว หากคุณพ่อคุณแม่ยังต้องนอนกับลูกทุกครั้งอาจจะเป็นการจำกัดความสามารถในการจัดการกับความรู้สึกตัวเองของลูก การฝึกลูกนอนคนเดียว จะช่วยให้เขารับมือกับความกลัว เพื่อเรียนรู้ที่จะรับมือและจัดการกับความรู้สึกอื่น ๆ ด้วยตัวเองต่อไป เข้าใจสิทธิความเป็นส่วนตัว เมื่อลูกเรียนรู้ที่จะเข้านอนคนเดียวในห้องนอนของตัวเอง เท่ากับเรียนรู้ว่าทุก ๆ คนต่างต้องการความเป็นส่วนตัว เมื่อเด็กมีพื้นที่ส่วนตัวเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการนึก คิด หรือทำอะไรก็ตามที่เป็นเรื่องส่วนตัว ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้เด็กรู้จักที่จะเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นด้วย เสริมสร้างความมั่นใจ  การฝึกให้ลูกได้ทำอะไรด้วยตนเอง ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจว่าพวกเขาทำได้ แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยอย่างการนอนคนเดียว การใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง การไปโรงเรียนเอง หรือการล้างจานเอง ทำให้รู้จักการตัดสินใจด้วยตัวเอง นำมาซึ่งความภูมิใจที่สามารถทำอะไรด้วยตัวเองจนสำเร็จ เปิดโอกาสการทำกิจกรรมได้มากขึ้น เมื่อลูกโตพอที่จะต้องทำอะไรด้วยตัวเองได้แล้ว แต่ถ้ายังติดการนอนกับพ่อแม่อยู่ ก็อาจกลายเป็นการจำกัดกิจกรรมบางอย่าง เช่น การไปพักค่ายค้างแรม เพราะหากไม่มีพ่อกับแม่คอยช่วยเหลืออยู่ข้าง ๆ แบบตอนอยู่ที่บ้านแล้ว ก็อาจทำให้รู้สึกไม่สนุก กังวล ไม่เต็มที่กับการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งปัญหานอนไม่หลับ เป็นการตัดโอกาสที่จะทำให้ลูกเติบโตและเรียนรู้กิจกรรมที่มีประโยชน์รวมทั้งการเข้าสังคมอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วย เทคนิคการ ฝึกลูกนอนคนเดียว คุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่กำลังประสบปัญหาการฝึก ลูกนอนคนเดียว แต่ยังไม่ได้ผล อาจลองใช้เทคนิคง่าย ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป […]


วัคซีน

วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง

โรคคางทูม โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน เป็นโรคจากการติดเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจพบได้บ่อยในเด็ก เด็กจึงควรได้รับ วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน (Measles Mumps and  Rubella vaccine: MMR vaccine) 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้ โดย วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง ที่พบได้บ่อย คือ เป็นไข้ มีผื่น และอาการปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและอาจหายไปได้เอง อย่างไรก็ตาม หากสังเกตพบอาการผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาในทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน  ลูกน้อยต้องได้รับการฉีด วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมันเข็มแรกเมื่ออายุ 12-15 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 4-6 ปี เพื่อป้องกันโรคที่สำคัญ 3 โรค ซึ่งได้แก่ โรคคางทูม โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน โดยแต่ละโรคมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้  โรคคางทูม (Mumps) […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคตาในเด็ก ปัญหาสุขภาพดวงตาของเด็ก ๆ ที่พ่อแม่ควรระวัง

เด็ก ๆ มักจะพบกับปัญหาสุขภาพตาได้บ่อย ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้ปัญหาสุขภาพตาของเด็กรุนแรงจนนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่รุนแรง โรคตาในเด็ก ที่พบได้บ่อย เช่น ภาวะตาขี้เกียจ ตาเหล่ ตากุ้งยิง ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรละเลย เพื่อไม่ให้นำไปสู่ปัญหาสุขภาพตา หรือสุขภาพโดยรวมที่รุนแรงขึ้น โรคตาในเด็ก ที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง ปัญหาเกี่ยวกับ สุขภาพดวงตา ที่สามารถพบได้บ่อย ๆ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ดังนี้ ภาวะตาขี้เกียจ  ภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia) เป็นภาวะที่สายตามีระดับการมองเห็นที่ผิดปกติ โดยที่การมองเห็นของสายตาข้างใดข้างหนึ่งอาจเห็นได้ไม่ชัดเท่ากับสายตาอีกข้างหนึ่ง ส่งผลให้เกิดภาวะตาเหล่ ภาวะหนังตาตก รวมถึงโรคต้อกระจกตามมา อย่างไรก็ตาม โรคตาขี้เกียจสามารถรักษาหายได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เด็ก ๆ อาจเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคตามัวชนิดถาวร ตาเขหรือตาเหล่ อาการตาเขหรือตาเหล่ในเด็ก เกิดจากการที่ตำแหน่งของดวงตาชี้ไปในทิศทางที่ต่างกัน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ความผิดปกติของเส้นประสาท หรือเป็นผลมาจากภาวะตาขี้เกียจ อย่างไรก็ตาม อาการตาเหล่ ตาเขในเด็ก สามารถที่จะรักษาได้ตั้งแต่อายุยังน้อย และไม่ควรปล่อยเอาไว้จนโต เพราะอาจตาเหล่ถาวร ตากุ้งยิง ตากุ้งยิง (Chalazion) เป็นปัญหา สุขภาพดวงตา เกิดจากการอักเสบหรืออุดตันที่บริเวณต่อมไขมันของเปลือกตาบนหรือล่าง หรือเกิดการอักเสบที่บริเวณเยื่อบุตา ทำให้เกิดอาการบวมแดงจนนูนเป็นตุ่ม ภาวะน้ำตาเอ่อ ภาวะน้ำตาเอ่อ (Epiphora) เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำตา ส่งผลให้มีอาการตาแฉะ และมีน้ำตาไหลออกมาอยู่บ่อย […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

แพ้ถั่วปากอ้า ภาวะขาดเอนไซม์ในเด็ก

แพ้ถั่วปากอ้า หรือ ภาวะพร่องเอนไซม์ เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของโครโมโซมเพศเอ็กซ์ ส่งผลต่อเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD) ที่เป็นเอนไซม์ที่สำคัญในขบวนการสร้างน้ำตาลกลูโคส ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางที่เกิดจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง (Hemolysis) ได้ แพ้ถั่วปากอ้า คืออะไร สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย ระบุว่า แพ้ถั่วปากอ้า หรือ ภาวะพร่องเอนไซม์ (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase หรือ G6PD) เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของโครโมโซมเพศเอ็กซ์ ที่ส่งผลต่อเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สำคัญในขบวนการสร้างน้ำตาลกลูโคส (Pentose Phosphate Pathway) และควบคุมปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้เสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตจางที่เกิดจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง (Hemolysis) ได้ โดยส่วนใหญ่ อาจพบผู้ป่วยแพ้ถั่วปากอ้าในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะในประชากรชาวไทย พบร้อยละ 12 ในเพศชาย และร้อยละ 2 ในเพศหญิง นอกจากนี้ ยังมีประชากรทั่วโลกอาจเป็นโรคนี้ 200-400 ล้านคน โดยเฉพาะประชากรในแถบแอฟริกา เสียชีวิตจากโรคนี้มากถึง 20% แพ้ถั่วปากอ้า เกิดจากอะไร แพ้ถั่วปากอ้า เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของโครโมโซมเอ็กซ์ (X Syndrome) กลายพันธ์จากผู้เป็นแม่ โดยลูกชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแพ้ถั่วปากอ้าในอัตราร้อยละ 50 […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เป็นเรื่องน่ากังวลหรือไม่

ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว และถี่กว่าผู้ใหญ่ ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะบางครั้งทารกต้องการเพิ่มออกซิเจนเข้าปอด เนื่องจากร่างกายต้องใช้แรงมากขึ้น จึงมักหายใจเร็ว สลับกับการหายใจในจังหวะที่ปกติ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะการหายใจของทารก และศึกษาข้อมูลว่าการหายใจของทารกในลักษณะใดที่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการหายใจที่เป็นอันตราย [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เกิดจากอะไรได้บ้าง ทารกแรกเกิดหายใจเร็วถือเรื่องปกติ เนื่องจากร่างกายของทารกต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อออกแรงมากกว่าปกติ เช่น คลาน ร้องไห้  โดยปกติแล้ว ทารกแรกเกิดหายใจเร็วไม่ใช่เรื่องอันตราย แต่ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เช่น ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด (Transient tachypnea of the newborn หรือ TTNB) ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด มักเกิดในทารกที่มีอายุไม่เกิน 9-10 เดือน โดยปกติแล้วทารกแรกเกิดจะขับของเสียออกจากปอดหลังคลอด แต่สำหรับทารกที่มีภาวะหายใจลำบากชั่วขณะจะขับของเสียของจากปอดได้ไม่ดี ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนส่งผลให้หายใจเร็ว เพื่อให้ได้รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น อารมณ์เสีย ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เมื่อรู้สึกอารมณ์ไม่ดี ไม่ว่าจะเกิดจากโมโห โกรธ หรือฉุนเฉียว โดยทารกแรกเกิดที่หายใจเร็วเนื่องจากอารมณ์เสียจะหายใจมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งไม่มีอันตราย ตราบใดที่การหายใจนั้นกลับเข้าสู่ภาวะปกติตามสภาพอารมณ์ที่ดีขึ้น อุณหภูมิร้อนเกินไป เมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไป อาจทำให้ทารกแรกเกิดหายใจเร็วขึ้นได้ ทั้งนี้ อุณหภูมิในร่างกายที่สูงเกินไปถือเป็นเรื่องอันตรายและอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรตรวจสภาพอุณหภูมิของห้องหรือสภาพที่อยู่รอบ ๆ ตัวทารกเป็นประจำ ไม่ควรให้อุณหภูมิร้อนหรือหนาวเกินไป ปัญหาระบบทางเดินหายใจ หากทารกแรกเกิดหายใจเร็วอย่างต่อเนื่อง […]


การดูแลทารก

ลูกร้องไห้ กลางดึก พ่อแม่ควรจัดการปัญหานี้อย่างไรดี

ลูกร้องไห้ กลางดึก อาจเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องเจอ ซึ่งช่วงเวลากลางคืนควรเป็นเวลาแห่งการพักผ่อนจากกิจกรรมที่เหนื่อยล้ามาทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือว่าการเลี้ยงลูก แต่หากเจอปัญหาลูกร้องไห้กลางดึกอาจจะยิ่งทำให้เหนื่อยกว่าเดิมจากการอดหลับอดนอน ไม่เพียงเท่านั้น การที่ ลูกร้องกลางดึก บ่อย ๆ ยังอาจทำให้ลูกอดนอน จนอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกร้องไห้ กลางดึก เกิดจากสาเหตุอะไร การนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้า นอกจากนี้ การนอนหลับยังมีส่วนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สำหรับทารกการนอนหลับถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ และการเรียนรู้ หากลูกนอนหลับไม่เพียงพอก็อาจทำให้เกิดความบกพร่องในการพัฒนาได้ โดยลูกร้องกลางดึกอาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ อาการป่วย เด็กทารกเป็นวัยที่ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ เมื่อลูกเกิดอาการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดหรือหูเกิดการอักเสบ ก็จะร้องไห้ออกมา จึงอาจส่งผลให้ ลูกร้องกลางดึก ได้ ฟันกำลังจะขึ้น ในช่วงที่ฟันกำลังจะขึ้น ทารกอาจรู้สึกคันเหงือก บางครั้งอาจมีอาการเหงือกบวมแดง จนทำให้ลูกร้องกลางดึก และไม่ยอมนอนในตอนกลางคืนได้ รู้สึกไม่สบายตัว เมื่อทารกรู้สึกไม่สบายตัว เช่น ร้อนเกินไป หนาวเกินไป รู้สึกคัน ก็อาจทำให้ ลูกร้องไห้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างสภาพแวดล้อมในการนอนให้มีความเหมาะสม เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่ให้เหมาะกับอากาศ เพื่อช่วยให้ทารกรู้สึกสบายตัวมากขึ้น และนอนหลับได้สนิท ไม่ร้องไห้กลางดึก วิตกกังวล เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มแยกห้องนอนกับลูก ลูกอาจเกิดความกังวลที่จะต้องแยกห้องนอน ส่งผลให้ลูกร้องไห้กลางดึกเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกกังวลได้ กลัวความมืด เด็กหลายคนอาจถูกปลูกฝังมาอย่างผิด ๆ จนทำให้กลัวความมืดและไม่สามารถนอนในห้องที่มืดได้ในตอนกลางคืน เมื่อเกิดความกลัว […]


โรคผิวหนังในเด็ก

กลากน้ำนม อาการ สาเหตุ และการรักษา

กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) เกิดจากความผิดปกติทางผิวหนัง ที่มักส่งผลกระทบต่อเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี บริเวณผิวหนังจะมีสีชมพูอ่อน ๆ หรือแดง เป็นรูปทรงกลมหรือทรงรี แห้ง และตกสะเก็ด [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ กลากน้ำนม คืออะไร กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) เกิดจากความผิดปกติทางผิวหนัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี บริเวณผิวหนังจะมีสีชมพูอ่อน ๆ หรือแดง เป็นรูปทรงกลมหรือทรงรี แห้ง และตกสะเก็ด กลากน้ำนมพบได้บ่อยเพียงใด  กลากน้ำนมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี  อาการ อาการของกลากน้ำนม ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลากน้ำนม มีจะมีผิวสีชมพูอ่อน ๆ เป็นรูปทรงวงกลมหรือวงรี แห้ง และตกสะเก็ด มีขนาดตั้งแต่ 0.6-2.5 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มักขึ้นบริเวณใบหน้า ต้นแขน คอ หน้าอก หลัง เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม รอยจะจางหายไปได้เองในระยะเวลาไม่กี่เดือน แต่ในบางรายอาจมีอาการเป็นปี และยิ่งเห็นชัดขึ้นในช่วงฤดูร้อน การทาครีมกันแดดจะช่วยบรรเทาให้รอยดูจางลงได้  ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาคุณหมอ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล สาเหตุ สาเหตุของกลากน้ำนม ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคกลากน้ำนม แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

โรคขราบเบย์ (Krabbe Disease)

โรคขราบเบย์ (Krabbe Disease) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นโรคที่พบได้ยาก ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นในเด็กทารก โดยร่างกายมีความบกพร่องในการผลิตเอนไซม์ที่ชื่อว่า Galactosylceramidase (GALC) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญในการควบคุมการเผาผลาญไมอีลิน (myelin) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท และเป็นโรคที่มีอัตราเสียชีวิตสูงมาก เพื่อป้องกันโรคขราบเบย์เกิดกับเด็กทารก ผู้ที่ต้องการมีบุตรควรตรวจเลือดหาโรคทางพันธุกรรมเพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ คำจำกัดความโรคขราบเบย์คืออะไร โรคขราบเบย์ (Krabbe) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านทางยีนส์ เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท ผู้ที่เป็นโรคขราบเบย์ร่างกายจะมีความบกพร่องในการผลิตเอนไซม์ที่ชื่อว่า Galactosylceramidase (GALC) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญในการควบคุมการเผาผลาญไมอีลิน (myelin) ที่เป็นปลอกหุ้มเซลล์ประสาท เมื่อปลอกหุ้มเซลล์ประสาทถูกทำลายก็จะทำให้เซลล์เสื่อม จนส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทในร่างกายผิดปกติ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก โรคขราบเบย์ พบบ่อยแค่ไหน ในสหรัฐอเมริกาโรคขราบเบย์เป็นโรคที่พบได้ใน 1 ใน 100,000 คนเท่านั้น โดย 85-90 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยโรคขราบเบย์พบในทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม โรคขราบเบย์สามารถพบได้ในช่วงวัยอื่น ๆ ด้วย อาการอาการของ โรคขราบเบย์ อาการและความรุนแรงของโรคขราบเบย์นั้นมีความหลากหลาย แต่ยิ่งโรคขราบเบย์เกิดขึ้นในเด็กที่อายุน้อยเท่าไร อาการก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น อาการของโรคขราบเบย์ในช่วงทารก ทารกที่เป็นโรคขราบเบย์จะมีอาการดังนี้ หงุดหงิดง่าย กลืนอาหารลำบาก อาเจียน มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ หมดสติ มีความไวต่อเสียง ทำให้ตกใจได้ง่าย มีอาการชัก ตาบอด มีปัญหาด้านพัฒนาการ มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนปลาย อาการของโรคขราบเบย์ในวัยรุ่น วัยรุ่นที่เป็นโรคขราบเบย์จะมีอาการดังนี้ บางครั้งไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ สูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ควรไปพบหมอเมื่อไร อาการที่เกิดในทารกเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่สามารถบ่งบอกได้ว่า ทารกอาจจะเป็นโรคขราบเบย์ หากทารกมีอาการของโรคขราบเบย์ ผู้ปกครองควรพาไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจอย่างละเอียดว่าทารกมีความผิดปกติอย่างไรบ้าง สาเหตุสาเหตุของโรคขราบเบย์ โรคขราบเบย์มีสาเหตุมาจากการกลายพันธ์ของพันธุกรรม โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นของดีเอ็นเอ (DNA) ที่อยู่ในยีนส์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคขราบเบย์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นของดีเอ็นเอในโครโมโซมคู่ที่ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

สัญญาณบ่งบอก โรคเรื้อนในเด็ก มีอะไรบ้าง

โรคเรื้อน หนึ่งในโรคผิวหนังที่ทำให้เกิดอาการผื่นแดง ผิวหนังเป็นด่าง และประสาทสัมผัสลดลง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับคนและสัตว์เลี้ยง รวมถึงในเด็ก คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาเกี่ยวกับสัญญาณเตือนของ โรคเรื้อนในเด็ก รวมถึงวิธีการรักษาและการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยปกป้องลูกน้อยจากโรคนี้ [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคเรื้อนในเด็ก อันตรายอย่างไร โรคเรื้อน (Leprosy) คือโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่สามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้ผ่านสารคัดหลั่งในตัวผู้ป่วย เช่น น้ำลาย น้ำมูก โรคเรื้อนเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Mycobacterium leprae เมื่อเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เข้าสู่ร่างกาย จะไปรบกวนการทำงานของผิวหนัง เยื่อเมือก และระบบประสาท ส่งผลให้การรับรู้ความรู้สึกลดลง เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้นที่ผิวหนัง และอาจนำไปสู่การเป็นอัมพาตได้ เมื่อปี ค.ศ. 2011 ประเทศที่มีการตรวจพบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่มากที่สุดในโลก 3 อันดับคือ อินเดีย 83% บราซิล 16% และอินโดนีเซีย 9% โดยจากข้อมูลพบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จะพบโรคเรื้อนได้มากที่สุดในช่วงอายุ 10-14 ปี อีกทั้งยังมีกรณีที่เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ติดโรคเรื้อนอีกด้วย แม้โรคเรื้อนจะพบได้มากในกลุ่มผู้ใหญ่ แต่กลับมีความอันตรายกว่ามากหากเกิดขึ้นกับเด็ก เนื่องจากเมื่อ เด็กเป็นโรคเรื้อน อาการอาจจะสังเกตเห็นได้ยากกว่าผู้ใหญ่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน