พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

พ่อแม่เลี้ยงลูก

เคล็ดลับ ทำงานที่บ้าน สำหรับคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกไปด้วย

ทำงานที่บ้าน อาจสร้างความลำบากให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่จำเป็นต้องเลี้ยงลูกไปด้วย และไม่มีคนอื่นมาช่วยเลี้ยง ยิ่งโดยเฉพาะสำหรับคุณแม่มือมือใหม่ที่อาจจำเป็นต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อให้เข้ากับชีวิตใหม่นี้ การเรียนรู้เกี่ยวกับเคล็ดลับการทำงานที่บ้านพร้อมดูแลลูกไปด้วย อาจช่วยให้คุณแม่มือใหม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมรับมือกับการดูแลลูกอย่างเหมาะสมไปพร้อมกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำงานที่บ้าน อย่างไรให้ได้งานเมื่อต้องเลี้ยงลูก ในช่วงกักตัวอยู่บ้าน หลายๆ บ้านที่มีลูก และต้องเลี้ยงลูกไปด้วยในช่วงนี้ อาจจะยังหาความลงตัวไม่ได้ งานก็ต้องทำ ลูกก็ต้องเลี้ยง ทุกอย่างดูวุ่นวายไปหมด แต่เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยให้ทำงานอยู่บ้านในขณะที่ต้องเลี้ยงลูกไปด้วยได้ แบ่งเวลาทำงานและดูแลลูกให้ชัดเจน จากผลการวิจัยจากการที่ศึกษาคนทำงาน 185 ล้านคน โดยเฉลี่ยแล้วคนเรานั้นทำงานอย่างเต็มที่ได้ 2 ชั่วโมง 48 นาที ซึ่งเป็นเวลา 2 ชั่วโมงที่จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ หากมีการจัดสรรเวลาในการทำงานที่ดี โดยใช้เวลาที่ทำงาน ทำอย่างมีประสิทธิภาพ ก็ช่วยให้งานออกมาดีได้ ที่สำคัญยังมีเวลาในการดูแลลูกอีกด้วย หรืออาจเลือกทำงานในช่วงเช้าก่อนที่เด็ก ๆ จะตื่น จะได้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น หรือทำงานในช่วงที่เขาเข้านอนแล้ว ตั้งเป้าหมายในการทำงานช่วง กักตัว การทำงานในบ้านที่มีเด็ก ๆ อยู่ด้วยนั้น อาจเป็นปัญหาในการทำงาน ทั้งเสียงดัง และต้องเลี้ยงเขาไปด้วย ดังนั้นการตั้งเป้าหมายในการทำงานอาจช่วยกระตุ้นการทำงานได้ ที่สำคัญควรเลือกตั้งเป้าหมายเป็นรายสัปดาห์แทนที่จะตั้งเป้าหมายเป็นรายวัน เพราะการตั้งเป้าหมายเป็นรายวันนั้นจะยิ่งเพิ่มความเครียดได้ โดยเริ่มแยกสิ่งที่ต้องทำในแต่ละสัปดาห์ แบ่งตามความด่วนของงานและเริ่มอาจเริ่มต้นทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อน เพราะการทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เสร็จจะช่วยให้มีกำลังใจในการทำงานที่ดีขึ้น ใส่ใจกับความต้องการของเด็ก […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

สัญญาณออทิสติกในวัยรุ่น และวิธีดูแลที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

โรคออทิซึม (Autism) หรือออทิสติก เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติใน 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ ด้านภาษา ด้านสังคม ด้านพฤติกรรม คือแสดงพฤติกรรมซ้ำ ๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสังเกตสัญญาณและอาการเบื้องต้นเองได้ แต่สัญญาณและอาการของโรคออทิสติกนั้นมักจะหลากหลายแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล และอาจเปลี่ยนแปลงไปตามวัยด้วย แม้สัญญาณออทิสติกในเด็ก อาจนำไปใช้สังเกตวัยรุ่นบางคนไม่ได้ Hello คุณหมอ จึงได้รวบร่วมข้อมูลเกี่ยวกับ สัญญาณออทิสติกในวัยรุ่น ที่พบได้บ่อย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรรู้ไว้ เพราะโรคออทิสติกนั้น แม้จะรักษาไม่หาย แต่หากสังเกตอาการได้เร็ว ก็จะช่วยให้จัดการกับอาการของโรคได้ดีขึ้น สัญญาณออทิสติกในวัยรุ่น ที่ควรรู้ สำหรับวัยรุ่นที่เป็นโรคออทิสติกในระดับเบา อาจมีอาการดังต่อไปนี้ มีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการเข้าสังคม เช่น คุยกับผู้อื่นไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจท่าทาง หรือภาษากายที่ใช้กันทั่วไป บางคนอาจชอบหาเพื่อนทางออนไลน์มากกว่า ไม่สบตาผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกาย เช่น การกอด การจับมือ ไม่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น หรือแม้กระทั่งความรู้สึกของตัวเองด้วย ชอบอยู่คนเดียว และอยากปลีกตัวจากโลกภายนอก ไม่อยากไปโรงเรียน มีปัญหาทางอารมณ์หรือสุขภาพจิต เช่น ความนับถือตัวเองต่ำ วิตกกังวลง่าย อารมณ์เสียบ่อย เป็นโรคซึมเศร้า มีปัญหาในการนอน […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ขาโก่ง ในเด็กใช่สัญญาณสะท้อนปัญหาสุขภาพกระดูกหรือไม่

ขาโก่ง เป็นอาการเกี่ยวกับกระดูกขาที่พบได้ในวัยทารก และมักสร้างความวิตกกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก เนื่องจากความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณ ทำให้หลายครอบครัวเลือกวิธีแก้อาการขาโก่งด้วยตัวเองแทนการปรึกษาคุณหมอ แท้ที่จริงแล้วอาการขาโก่งนั้นร้ายแรงหรือไม่ จะป้องกันได้ไหม มีวิธีการรักษาอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาอาการขาโก่งให้เข้าใจมากขึ้น เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ขาโก่ง คืออะไร ขาโก่ง (Bowlegs)  คือ ลักษณะอาการเมื่อยืนเท้าชิดกันแต่ช่วงหัวเข่าจะโค้งแยกออกจากกัน ส่วนใหญ่มักพบในวัยทารกและจะหายได้เองตามธรรมชาติเมื่อเด็กเริ่มมีอายุระหว่าง 12-18 เดือน ขาเด็กจะเริ่มเหยียดตรงเป็นปกติ ไม่จำเป็นต้องรับการรักษา อย่างไรก็ตาม ลักษณะอาการดังกล่าวนี้อาจเป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคกระดูกอ่อน โรคข้ออักเสบในหัวเข่าและสะโพก ขาโก่ง ตรวจสอบได้อย่างไร อาการขาโก่งของลูกอาจเกิดจากธรรมชาติ หรืออาจเกิดความผิดปกติจากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ โดยอาจสังเกตได้ ดังนี้ อาการขาโก่งตามธรรมชาติ เมื่อเด็กทารกคลอดออกมาใหม่ ๆ คุณแม่จะสังเกตได้ว่าเข่าทั้ง 2 ข้างของลูกจะห่างกัน แม้ว่าข้อเท้าจะชิดกัน ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเป็นเรื่องปกติในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 เดือน อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยมีอาการขาโก่งจนถึงอายุ 3 ขวบ นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาการขาโก่งแบบผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติจากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ หากเด็กมีอาการขาโก่ง อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคเบล้าท์ (Blount’s Disease) เป็นความผิดปกติของการเจริญเติบโตของกระดูกหน้าแข้ง […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

แป้งเด็ก ส่งผลอันตรายต่อ ทารก จริงหรือ

แป้งเด็ก เป็นผลิตภัณฑ์ที่อาจสร้างอันตรายให้แก่ ทารก ได้ เพราะร่างกายของทารกไม่พร้อมสำหรับการเผชิญมลภาวะ หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กรอบตัว การที่คุณแม่ใช้แป้งเด็กที่มีเนื้อละเอียด ง่ายต่อการฟุ้งกระจาย ชโลมบนร่างกายลูกรักโดยไม่ระมัดระวังก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ แแต่หากใช้แป้งฝุ่นสำหรับเด็กแรกเกิดอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้ปลอดภัยมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] แป้งเด็ก อันตรายต่อสุขภาพ ทารก มากน้อยแค่ไหน การใช้แป้งฝุ่น หรือแป้งเด็ก คุณแม่ส่วนใหญ่ใช้เพื่อปกป้องผดผื่น บริเวณที่อับชื้นของลูกน้อย ซึ่งจะบรรเทาอาการคันระคายเคืองไม่ให้จากอาการไม่สบายหรือจากการเสียดสีขณะใส่ผ้าอ้อม อย่างไรก็ตาม  ขนาดโมเลกุลอนุภาคของแป้งอาจเข้าไปสร้างปัญหาแก่ระบบทางเดินหายใจ จนไปถึงรบกวนการทำงานของปอด ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็กทารก หรือเด็กแรกเกิดได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับ ทารก เมื่อใช้แป้งเด็ก สาเหตุที่แป้งเด็ก อาจเข้าไปสร้างความเสียหายต่ออวัยวะภายในของทารกได้นั้น อาจมาจากส่วนประกอบบางอย่าง เช่น ทัลค์ หรือ ทัลคัม (Talcam) ที่เป็นสารใยหินที่มีคุณสมบัติด้านการดูดซับความชื้น ทำให้พื้นผิวนุ่มลื่น แต่เมื่อเด็กแรกเกิดที่มีภูมิต้านทานต่ำสูดดมบ่อยครั้ง ก็อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้ ดังนี้ โรคมะเร็งรังไข่ สารใยหิน หรือสารทัลค์ อาจมีส่วนที่ทำให้มะเร็งรังไข่ก่อตัวบริเวณอวัยวะเพศ และยิ่งใช้สารทัลค์ในบริเวณอวัยวะเพศมากเท่าไหร่ มะเร็งก็จะยิ่งเติบโตรวดเร็วมากเท่านั้น ซึ่งอาจพบได้บ่อยในเพศหญิงมากที่สุด ปัญหาระบบทางเดินหายใจ การรักษาอากาศรอบตัวของทารกให้ถ่ายทเอยู่เสมอ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ลูกรักหายใจได้สะดวก และได้รับอากาศบริสุทธิ์ในช่วงเวลาพักผ่อน แต่ขณะเดียวกันฝุ่นละอองจากแป้งที่ล่องลอย ฟุ้งกระจาย อาจทำให้เข้าไปขัดขวางตั้งแต่ระบบหายใจส่วนบน จนถึงระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จนพวกเขาเริ่มมีเสียงหายใจดัง ฮืด ๆ และอาการไอ […]


โภชนาการสำหรับทารก

ข้อควรรู้ก่อนฝึกให้ลูกกินอาหารแบบ BLW

BLW หรือ Baby Led Weaning หนึ่งในวิธีการสอนลูกให้กินอาหารหรือฝึกหยิบอาหารรับประทานด้วยตนเองตั้งแต่มื้อแรก นอกจากจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกแล้ว ยังอาจช่วยพัฒนากล้ามเนื้อให้ลูกได้อีกด้วย สอนลูกให้ ทานเอง ตั้งแต่มื้อแรก (Baby Led Weaning) BLW หรือ Baby Led Weaning  คือการปล่อยลูกให้ ทานเอง หยิบอาหารรับประทานเอง (คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ป้อนอาหารให้ลูกเลย) โดยส่วนใหญ่จะให้ลูกรับประทานเองเมื่อมีอายุ 6 เดือน เพราะลูกสามารถตั้งคอแข็ง หยิบจับสิ่งของได้เอง ลักษณะอาหารจะเป็นอาหารแข็งที่นุ่มเคี้ยวง่าย แต่ต้องไม่ผ่านการบด หรือปั่น คุณพ่อคุณแม่จะต้องหั่นเป็นชิ้นพอดีคำเพื่อให้ลูกสามารถหยิบจับอาหารรับประทานด้วยตนเองได้ เช่น ถั่ว กล้วย ฟักทอง ไข่ต้ม ข้าวโอ๊ต อะโวคาโด เป็นต้น BLW มีประโยชน์ต่อลูกอย่างไร? เชื่อหรือไม่คะว่า การปล่อยให้ลูกหยิบอาหาร รับประทานอาหารด้วยตนเอง นั้น มีประโยชน์ต่อลูกในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน ดังนี้ เสริมสร้างพัฒนาการที่ดีตั้งแต่ในวัยเด็ก สามารถควบคุมตัดสินใจได้ด้วยตนเองว่าต้องการรับประทานอะไร เมื่อไหร่ เวลาไหน ลำไส้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเอมไซม์ในการย่อยอาหารมากขึ้น ช่วยควบคุมปริมาณน้ำหนัก เนื่องจากเด็กที่หยิบรับประทานอาหารเอง จะกินพอดีเมื่อรู้สึกอิ่ม มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพราะสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลาย […]


โรคระบบประสาทในเด็ก

กลุ่มอาการทูเร็ตต์ อาการ สาเหตุ และวิธีรักษา

กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette Syndrome หรือ TS) คือ โรคกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาท รวมทั้งการหลั่งสารเคมี หรือฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) เซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) เข้าสู่สมองมากเกินไป จนทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว หรือแสดงพฤติกรรมบางอย่าง เช่น กะพริบตาถี่ ทำตาโต ส่งเสียงดัง โวยวาย กรีดร้อง เป็นต้น กลุ่มอาการทูเร็ตต์ คืออะไร กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette Syndrome หรือ TS) คือ โรคกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาท รวมทั้งการหลั่งสารเคมี หรือฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) เซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) เข้าสู่สมองมากเกินไป จนทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว หรือแสดงพฤติกรรมบางอย่างขึ้นมากะทันหัน ซึ่งอาการอาจแย่ลงกว่าเดิมเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ตื่นเต้น เครียด วิตกกังวล ถึงแม้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่นักวิจัยเชื่อว่า อาจมาจากพันธุกรรมที่ส่งต่อกันมาทางครอบครัวด้วยการเปลี่ยนแปลงของยีน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นำพาให้บุตรหลานป่วยอยู่ในกลุ่มของโรคนี้ได้เช่นกัน อาการของกลุ่มอาการทูเร็ตต์ อาการของกลุ่มอาการทูเร็ตต์ มักเริ่มต้นตั้งแต่ในช่วงอายุตั้งแต่ 5-10 ปี ขึ้นไป และอาจติดตัวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ โดยคนรอบข้างควรสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อนำไปขอคำปรึกษาจากคุณหมอ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรให้ เด็ก กินผัก

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจกำลังประสบกับปัญหาเด็กไม่กินผัก จึงอาจต้องพยายามหาวิธีการที่จะทำให้ เด็ก กินผัก โดยอาจจะตกแต่งอาหารในแต่ละมื้อด้วยผัก อาจลองทำให้ผักมีรูปร่างที่น่าสนใจ เช่น ทำเป็นรูปสัตว์ หรืออาจลองพูดคุยกับเด็กถึงประโยชน์ของการกินผัก ทั้งนี้ ก็เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของเด็กและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายต่อไป [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ เด็ก ไม่ชอบ กินผัก สาเหตุที่ทำให้เด็กไม่ชอบกินผัก อาจเป็นเพราะในช่วงวัยนี้ต่อมรับรสของพวกเข่ถูกสร้างให้ปกป้องรสขม ไม่ว่าจะมาจากผัก ยา หรืออาหารต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ต่อมรับรสขมอาจจะหายไปได้เอง เมื่อเด็กเริ่มเติบโตขึ้น ดังนั้น ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มฝึกจากการให้เด็กเริ่มกินผักในปริมาณที่เหมาะเสียก่อน ซึ่งอาจแบ่งตามเกณฑ์อายุได้ดังนี้ เด็กอายุระหว่าง 2-3 ปี ควรกินในปริมาณ 1-1/2 ถ้วย เด็กอายุระหว่าง 4-8 ปี ควรกินในปริมาณ 1/2-2 ถ้วย เด็กอายุระหว่าง 9-13 ปี ควรกินในปริมาณ 2-4 ถ้วย เด็กอายุระหว่าง 14-18 ปี ควรกินในปริมาณ 3-4 ถ้วย ผัก 5 ชนิด ที่เหมาะสำหรับเด็ก สำหรับผักที่อาจจะนำมาให้เด็กลองกิน อาจมีดังนี้ พริกหยวก เนื่องจากพริกหยวกมีสีสันภายนอกที่ค่อนข้างสดใส และยังมีรสชาติภายในที่หวานกรอบ […]


โรคผิวหนังในเด็ก

โรคกลากน้ำนม สาเหตุคืออะไร และรักษาได้อย่างไร

โรคกลากน้ำนม เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเด็ก ๆ เกิดจากความผิดปกติของของจำนวนเม็ดสีที่ลดลงจนทำให้สีผิวบางจุดจางลง และเกิดรอยด่างเป็นสีชมพูหรือสีแดงอ่อน ๆ เมื่ออาการดีขึ้นผิวหนังมักจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาวและอาจเป็นขุย มักเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคกลากเกลื้อน โรคกลากน้ำนม คืออะไร โรคกลากน้ำนม (Pityriasis Alba) เกิดจากความผิดปกติทางผิวหนังที่ทำให้เม็ดสีผิวในผิวหนังมีจำนวนลดลง โดยไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี อาการของโรคกลากน้ำนมคือ สีผิวบริเวณที่เม็ดสีผิดปกติจะเป็นลักษณะวงด่างโดยอาจจะมีสีชมพูหรือสีแดง นอกเหนือจากนี้ ยังมีลักษณะเป็นขุยแห้งและตกสะเก็ด ส่งผลให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง มักเกิดขึ้นบริเวณ ใบหน้า คาง แก้ม ต้นแขน คอ หน้าอก กลุ่มเสี่ยง กลากน้ำนม คือใครบ้าง โรคกลากน้ำนมนั้นจัดอยู่ในโรคภูมิแพ้ผิวหนังชนิดหนึ่ง (Atopic dermatitis หรือ AD) แต่ยังไม่มีการระบุที่แน่ชัดว่าโรคกลากน้ำนมเกิดจากสาเหตุอะไร โดยกลุ่มเสี่ยงดังต่อไปนี้ มักมีโอกาสเป็นกลากน้ำนม เด็กที่มีประวัติเคยเป็นโรคภูมิแพ้ หรือมีการอักเสบที่ผิวหนัง เด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี เด็กที่อาบน้ำอุ่นบ่อย ๆ หรือ โดนแดดบ่อย โดยไม่ทาครีมกันแดด วิธีรักษาโรคกลากน้ำนม   กลากน้ำนม สามารถหายเองได้ โดยไม่ต้องรับการรักษา แต่อาจต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าจะกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรทาครีมกันแดดที่มี SPF […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

น้ำนมเหลือง คุณค่าของนมหยดแรกจากอกแม่ที่ลูกรักคู่ควร

น้ำนมเหลือง หรือน้ำนมหยดแรก เป็นสีของน้ำนมปกติโดยเฉพาะแม่ที่เพิ่งคลอดลูก น้ำนมในช่วงแรกมักมีลักษณะเป็นสีเหลืองนวลจนถึงสีเหลืองเข้ม ในบางรายอาจมีเลือดซึมปะปนมาด้วย ทั้งนี้ คุณแม่มือใหม่ไม่ต้องกังวลเพราะน้ำนมเหลืองนี้นับเป็นน้ำนมที่มีประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมากต่อทารกแรกเกิด [embed-health-tool-bmi] น้ำนมเหลือง คืออะไร น้ำนมเหลือง หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า โคลอสตรุม (Colostrum) เป็นน้ำนมหยดแรก ๆ ที่ออกมาจากอกของคุณแม่เพื่อให้ลูกน้อยได้รับประทาน ในบางครั้งอาจมีเลือดปะปนมากับน้ำนมด้วย ซึ่งโคลอสตรุมไม่ได้มีเพียงแค่ในมนุษย์เท่านั้น แต่มีอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ เช่น วัว ทั้งนี้ การนำน้ำนมเหลืองจากวัวมาให้ดื่มอาจมาในรูปแบบที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ หรือผลิตภัณฑ์แบบกล่องดูด นมผง รวมถึงแบบขวด ซึ่งสามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัยรวมทั้งทารกตัวน้อยที่อาจยังไม่สามารถดื่มนมจากอกของคุณแม่ได้ แต่แนะนำในรูปแบบนมผงเท่านั้น คุณค่าด้านโภชนาการและประโยชน์ในน้ำนมเหลือง สารอาหารในน้ำนมเหลืองนี้มีวิตามินหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี ที่มีค่อนข้างสูง และยังมีธาตุอาหารอื่น ๆ ที่ดีต่อสุขภาพของทารก ได้แก่ แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) เป็นโปรตีนที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้เด็กแรกเกิดมีร่างกายที่แข็งแรง ลดอัตราการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ที่อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงได้ แอนติบอดี (Antibody) คือ โปรตีนชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อสู้กับไวรัส หรือแบคทีเรียที่แทรกซ้อนเข้ามา และช่วยลดอัตราการติดเชื้อให้แก่เด็กแรกเกิดเป็นอย่างดี นอกเหนือไปจากสารอาหารข้างต้นแล้ว โคลอสตรุมยังทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะภายในของลูกน้อยมีสุขภาพที่ดีขึ้นตามไปอีก โดยเฉพาะสุขภาพลำไส้ โดยโคลอสตรุม เข้าไปช่วยให้ผนังของลำไส้มีความแข็งแรงขึ้น ต้านการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ใหญ่ รวมทั้งรักษาอาการท้องร่วง ป้องกันโรคดีซ่านสำหรับเด็กแรกเกิดได้เป็นอย่างดี ข้อควรรู้เกี่ยวกับน้ำนมเหลือง ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับน้ำนมเหลืองมีดังนี้ ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

การล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก กับ สิ่งที่พ่อแม่ควรสอนลูก

การล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก ถือเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องใส่ใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเหตุการณ์ของการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้น อาจสามารถส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสติปัญญา สังคม และอารมณ์ของเด็กได้ แต่จะมีวิธีและเทคนิคอย่างไรบ้าง ที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเตือนลูก หรือสอนลูกเพื่อให้ลูกปลอดภัยจากสิ่งเหล่านี้ได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องราวที่น่าสนใจมาฝากคุณพ่อคุณแม่กัน สิ่งที่พ่อแม่ควรสอนลูก เพื่อให้ลูกรู้จักวิธีป้องกันตัวจาก การล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก บ่อยครั้งผู้กระทำความผิดมักจะเป็นคนรู้จักหรือคนในครอบครัว ที่เด็กมักจะให้ความไว้วางใจ แต่บ่อยครั้งนักที่เด็ก ๆ มักจะไม่เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขานั้นเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ ทั้งอาจมีความรู้สึกอับอายและกลัวเกิดขึ้น จึงทำให้พวกเขาไม่กล้าพูดออกมา ดังนั้น สิ่งที่ผู้ปกครองสามารถทำได้ ก็คือ การสอนลูก ๆ ให้รู้จักป้องกันตัวจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สอนให้เด็ก ๆ รู้จักกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตนเอง บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะอึดอัดใจที่จะพูดถึงองคชาติหรือช่องคลอด ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องที่จะพูดคุยในการสนทนาปกติ แต่การสอนให้พวกเขารู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายของตัวเอง ของคุณพ่อคุณแม่ รวมถึงอวัยวะเพศ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดยคุณพ่อคุณแม่ควรหาคำที่เหมาะสมในการสอนพวกเขา นอกจากนั้นควรสอนให้พวกเขาเรียกอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ได้อย่างถูกต้องด้วย สอนพวกเขาว่าบางส่วนของร่างกายถือเป็นของส่วนตัวหรือของสงวน คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามอธิบายให้เด็ก ๆ รู้ว่า อวัยวะบางส่วน อย่างเช่น อวัยวะเพศ ถือเป็นของส่วนตัว ที่พวกเขาไม่สามารถให้คนอื่น ๆ เห็นได้ พยายามอธิบายว่า ผู้ที่อยู่นอกบ้านควรเห็นพวกเขาขณะสวมใส่เสื้อผ้าเท่านั้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน