backup og meta

ความเครียดทางการเงิน ไม่เพียงแต่ทำให้คุณร้อนใจ แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพมากมาย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 10/06/2020

    ความเครียดทางการเงิน ไม่เพียงแต่ทำให้คุณร้อนใจ แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพมากมาย

    ความเครียดทางการเงิน นั้นเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนอาจเคยพบเจอ ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจมีความย่ำแย่ ยิ่งทำให้เกิดปัญหาทางการเงินได้ง่าย จะใช้จ่ายแต่ละทีต้องคิดให้รอบครอบ ปัญหาทางการเงินนอกจากจะทำให้เกิดความร้อนใจ ไม่สบายใจแล้ว ปัญหาทางการเงิน ส่งผลต่อสุขภาพของเราได้ด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปัญหาทางการเงินส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร พร้อมเคล็ดลับดี ๆ ที่ช่วย จัดการปัญหาเหล่านี้

    ความเครียดทางการเงิน ส่งผลต่อสุขภาพ อย่างไรบ้าง

    ถึงแม้ว่าความเครียดจะส่งผลต่อสุขภาพของเรา แต่ปัญหาความเครียดทางการเงินนั้นส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าความเครียดอื่นๆ ความเครียดทางการเงินนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ดังนี้

    มีปัญหาสุขภาพทางด้านร่างกาย

    ความเครียดที่เกิดจากปัญหาทางการเงินนั้น เป็นความเครียดสะสม ปัญหาทางการเงินนั้นเป็นปัญหาที่เกิดต่อเนื่อง ติดต่อกัน ความเครียดที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีส่วนที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดไมเกรน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน รวมถึงมีปัญหาในการนอนหลับ หากปัญหาสุขภาพเหล่านี้ยังไม่ได้รับการรักษา ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดเรื้อรังจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

    เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้น้อยลง

    ปัญหาทางการเงิน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ไม่ว่าจะเป็น ไมเกรน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่มีความอันตราย ควรเข้ารับการรักษา แต่ด้วยปัญหาทางการเงิน ทำให้หลาย ๆ คนเลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษา

    จากการสำรวจประชากรชาวอเมริกันพบว่า มีชาวอเมริกันจำนวนร้อยละ 29 ไม่เข้ารับการรักษาเพราะปัญหาทางการเงิน ถึงแม้การไม่เข้ารับการรักษาจะเป็นวิธีการประหยัดเงินที่ดี แต่แน่นอนว่ามันต้องแลกมาด้วยกับปัญหาสุขภาพที่ย่ำแย่ลงจนบางครั้งอาจทำให้เสียเงินรักษาแพงขึ้นเมื่ออาการหนักขึ้นก็ได้ จะยิ่งทีให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น

    ส่งผลต่อสุขภาพจิต

    ความเครียดจากปัญหาทางการเงินย่อมที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต และการมีปัญหาสุขภาพจิตก็ส่งผลต่อปัญหาทางการเงิน ปัญหาทั้งสองอย่างนั้นเป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน หากเกิดปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งอีกปัญหาก็จะตามมา วนลูปเช่นนี้ จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็นหนี้นั้นจะมีปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น ปัญหาซึมเศร้า ความวิตกกังวล มากกว่าผู้อื่น

    นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหาทางการเงิน ย่อมมีปัญหาในการรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้น บางครั้งส่งผลทำให้เกิดวิธีการรับมือแบบผิด ๆ เช่น การดื่มสุรา การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หรือแม้กระทั่งการใช้สารเสพติด เป็นต้น

    วิธีจัดการกับปัญหา ความเครียดทางการเงิน

    การจัดการกับความเครียดทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพนั้น เป็นวิธีการที่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการ ควบคุมชีวิตของตนเองได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเครียด และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ด้วย การจัดการตั้งแต่ต้นต่อของสาเหตุจะช่วยให้คุณมีสุขภาพชีวิตในด้านอื่นๆ ดีขึ้นได้ด้วย

    เข้าใจวงจรของการเป็นหนี้

    การเข้าใจวงจรของการเป็นหนี้อย่างแท้จริงนั้น ก็เหมือนกับการเข้าใจต้นต่อของสาเหตุหลัก ที่ทำให้เกิดปัญหาความเครียดทางการเงิน เมื่อเราเข้าใจวงจรในการเป็นหนี้แล้วก็ควรจะเริ่มต้นหยุดวงจรนี้ โดยอาจจะไม่กู้เงินเพิ่ม เพื่อมาจ่ายอีกที่ แต่ควรเริ่มต้นชำระไปที่ละที่

    หารายได้เสริม

    หากรายได้ประจำที่มีอยู่นั้น ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย การหางานเสริมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยเพิ่มรายรับของเราให้เพียงพอ แต่ว่าการหารายได้เสริมโดยที่ไม่เพิ่มความเครียดนั้นก็ถือเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร ดังนั้นก่อนที่จะรับงานเสริมใด ๆ ควรศึกษางานก่อนว่าเหมาะสมกับทักษะที่เรามีหรือไม่

    จัดการรายรับ-รายจ่าย

    จัดการรายรับกับรายจ่ายให้มีความเหมาะสม โดยเริ่มจากการทำบัญชีรายรับกับรายจ่ายเพื่อให้เห็นว่า ในแต่ละวันนั้นเราใช้จ่ายอะไรไปบ้าง เมื่อเห็นภาพรวมของการใช้จ่ายแล้วก็ลดรายจ่ายส่วนที่ไม่จำเป็นออก เมื่อคุณสามารถควบคุมปัญหาในการเงินได้ ก็จะช่วยให้ปัญหาด้านการเงินบรรเทาลง ซึ่งจะช่วยให้ปัญหาความเครียดนั้นลดลงตามไปด้วย

    เมื่อสามารถหยุดหรือบรรเทาปัญหาทางการเงินได้แล้ว ย่อมช่วยให้สุขภาพทั้งสุขภาพกายและจิตดีขึ้นตามไปด้วย เมื่อร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย ก็จะช่วยให้เรามีสติและตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างดี มีเหตุผล จะส่งผลให้เราสามารถก้าวข้ามช่วงยากลำบากนี้ไปได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 10/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา