backup og meta

5 ต้นไม้ ฟอกอากาศ เสริมสุขภาพแห่งการนอนหลับ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    5 ต้นไม้ ฟอกอากาศ เสริมสุขภาพแห่งการนอนหลับ

    มลพิษทางอากาศ รวมไปถึงสภาพอากาศแปรปรวนที่เราต้องออกไปเผชิญอยู่ทุกวัน ในขณะที่คุณกำลังก้าวเท้าเข้าบ้านนั้น อาจทำให้ฝุ่นที่จับอยู่บนตามเสื้อผ้าหลุดลอดเข้ามาภายในบ้านได้ สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น การรบกวนระบบทางเดินหายใจ หรือการกระตุ้นอาการของโรคภูมิแพ้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับ การขจัดสารพิษต่างๆ ด้วยการปลูก ต้นไม้ ในห้องนอน เพิ่มทั้งความสวยงาม สร้างบรรยากาศการนอนที่ดี พร้อมดูแลสุขภาพของคุณได้ในเวลาเดียวกัน

    ทำไมเราจึงควร ปลูก ต้นไม้ ในห้องนอน?

    ถึงแม้จะมีข้อต้องห้ามต่างๆ ที่พูดถึงกันเป็นอย่างมากในเรื่องการปลูกต้นไม้ในบ้าน หรือห้องนอน เพราะเชื่อว่าพืชจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราได้

    แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งสำหรับพืชบางชนิด ที่มีการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงไม่ส่งผลใดๆ กับร่างกายมากนัก แถมยังช่วยลดความเครียด รักษาระดับความชื้นภายในห้องนอน ดูดสารพิษ ฝุ่น แบคทีเรีย และสารที่ก่อภูมิแพ้

    ยิ่งคุณปลูกในห้องที่มีเครื่องฟอกอากาศแล้วละก็ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมอากาศ และขจัดมลพิษภายในห้องนอนได้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ไซลีน (Xylenes) โทลูอีน (Toluene) เบนซีน (Benzene) ที่อาจไปขวางการทำงานของระบบหายใจ และการระคายเคืองของดวงตา

    5 พันธุ์ต้นไม้ ที่ควรปลูกในห้องนอน ฟอกอากาศเสียให้กลับมาดี

    ต้นไม้ทั้ง 6 พันธุ์นี้ นอกจากจะเพิ่มความสวยงามแบบเรียบง่ายให้แก่ห้องนอนของคุณแล้ว ยังสามารถส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับของคุณได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

    1. ลิ้นมังกร (Snake Plant)

    พืชชนิดนี้สามารถช่วยกรองอากาศ เปลี่ยนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นออกซิเจนในห้องนอนยามค่ำคืนได้เป็นอย่างดี ควบคุมการไหลเวียนของอากาศภายในห้องให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ

    ในการดูแลต้นลิ้นมังกรนั้นคุณควรรดน้ำอย่างพอดี ปลูกในกระถางที่มีการถ่ายเทของน้ำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้นไม้เน่าเปื่อย และตั้งไว้ในที่แสงแดดพอส่องถึง

    2. ต้นยางอินเดีย (Rubber Plant)

    ต้นยางอินเดียเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย และแพร่กระจายสู่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยกรรมวิธีนำเมล็ด หรือการปักชำมาเพาะปลูก พืชพันธุ์นี้สามารถดูดซับสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) มลพิษจากทางอากาศเป็นหลักเพื่อความปลอดภัยเวลาคุณสูดอากาศหายใจนอนหลับ

    ควรนำต้นยางอินเดียวางไว้ในที่ที่แดดส่องถึงประปราย และคอยรดน้ำอย่างน้อย 2-3 วันครั้ง ทำความสะอาดใบเมื่อพบเศษฝุ่นเกาะด้วยผ้าแห้งธรรมดา ตัดตกแต่งใบกิ่งก้าน เมื่อคุณสังเกตว่ามันรกเกินไป

    3. ต้นเฟิร์น (Boston Ferns)

    เป็นที่รู้จักกันดีถึงต้นไม้ชนิดนี้ เพราะสามารถพบได้ทั่วไปตามร้านอาหาร หรือทุกๆ สถานที่ และยังช่วยกำจัดสารพิษอย่างครบครันทั้งไซลีน (Xylene) โทลูอีน (Toluene) และฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ที่นำมาสู่อาการป่วยเป็นไข้ได้ การดูแลไม้พันธุ์นี้ ไม่ควรนำไปวางไว้ที่มีแสงแดดโดยตรง ควรให้แสงแดดส่องถึงพอประมาณ และรดน้ำในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น

    4. ต้นไผ่ปาล์ม (Bamboo Palm)

    เป็นไม้ประดับที่กำจัดสารเคมีอันตราย และมลพิษจากอากาศได้ โดยไม้พันธุ์นี้ชอบอยู่ในร่มเงา และแสงแดดอ่อนๆ ช่วยเพิ่มความผ่อนคลายยามคุณพักผ่อน ขจัดสารเบนซีน (Benzene) ที่มาจากควัน หรือก๊าซจากการทำอาหารภายในบ้านออกไปได้

    5. พลูด่าง (Pothos plant ; Epipremnum aureum)

    มีลักษณะเฉพาะตัวคล้ายเถาวัลย์ลวดลายบนใบมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมได้หลากหลาย เช่น ในน้ำ หรือกระถาง และใช้การรดน้ำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ช่วยในการกรองอากาศ กำจัดสารพิษได้ทุกประเภทเช่นเดียวกับต้นเฟิร์น

    วิธีเพิ่มความผ่อนคลาย ที่อาจช่วยให้คุณหลับสนิทได้ตลอดคืน

    • การฝึกจิตใจให้สงบโดยการนั่งสมาธิ หรือโยคะก่อนการนอนหลับ
    • เลือกเครื่องนอนที่เหมาะสมโดยเฉพาะหมอนรองคอที่ไม่ควรมีความนุ่ม และสูงจนเกินไป
    • รับประทานน้ำอุ่นก่อนนอนประมาณครึ่งชั่วโมง
    • เลือกชุดนอนที่ไม่รัดร่างกาย สวมใส่สบาย เพื่อการไหลเวียนเลือดที่ดี
    • ทำความสะอาดห้องนอนอย่างสม่ำเสมอ และเลือกโทนสีห้องนอนที่สื่อถึงความผ่อนคลายสบายตา
    • ทำกิจกรรมที่ทำให้คุณเพลิดเพลินและสามารถกล่อมคุณก่อนนอนได้ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือที่ไม่ทำให้คุณตื่นเต้นมากนัก เพราะอาจทำให้คุณนอนไม่หลับได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา