ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รับมือได้อย่างไรเมื่อถูก อาการแพนิก โจมตี

อาการวิตกกังวล เป็นอาการที่ใครๆ ก็มีได้ทั้งนั้น เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด แต่จะมีบางคนที่มีอาการวิตกกังวลเกินไป คิดไปถึงเหตุการณ์ร้ายๆ ต่างๆ นานา กังวลจนส่งผลกระทบต่อตนเอง ทำให้ขวัญเสีย ทั้งๆ ทียังไม่เกิดเรื่องร้ายแรงใดๆ ขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักกับ อาการแพนิก ซึ่งเกิดจากความวิตกกังวลของเราเอง และเมื่อ แพนิก แล้วควรจะจัดการอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาฝากกันค่ะ อาการแพนิก (Panic) คืออะไร อาการแพนิกคือการเกิดอาการกลัวหรือไม่สบายใจขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาที ซึ่งจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ตัวสั่น หายใจถี่หอบ เจ็บหน้าอก รู้สึกคลื่นไส้หรือปวดท้อง วิงเวียนเหมือนจะเป็นลม รู้สึกหนาวหรือร้อน กลัวการเสียชีวิต แต่อาการแพนิก มักจะมีความคล้ายคลึงกับ โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ซึ่งทั้งสองโรคนี้มีความแตกต่างกัน ทั้งสองโรคมีความแตกต่างกันที่ ความเข้มข้นและระยะเวลาของการแสดงอาการของโรค ซึ่งอาการแพนิกจะมีความเข้มข้นของอาการมากกว่า ซึ่งจะมีอาการ 10 นาทีเป็นอย่างต่ำ ส่วนโรควิตกกังวล มีความเข้มข้นไม่เท่าอาการแพนิก แต่จะมีระยะเวลาในการแสดงอาการนานกว่า อาการแพนิกนั้นสามารถเกิดขึ้นในเวลาใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่มีเรื่องวิตกกังวล […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รู้หรือไม่ อาการติดเตียง มากเกินไป เสี่ยงต่อโรคทางจิตได้

เรียกได้ว่าเป็นอาการยอดฮิตของผู้คน ทุกเพศ ทุกวัย ในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ สำหรับ อาการติดเตียง หรือนอนกินบ้านกินเมือง ที่ผู้ใหญ่มักนิยมพูดให้เราได้ยินกันบ่อยๆ บางคนแทบใช้เวลา 24 ชม. ไปกับการนอนกลิ้งไปกลิ้งมาไม่ยอมลุกไปไหนมีความสุขกับการนอนพักผ่อนหย่อนใจ แต่คุณรู้ไหมการกระทำเหล่านี้ทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิตได้นะ มารู้จักกับอาการติดเตียงให้มากขึ้นพร้อมกับ Hello คุณหมอ กันเถอะ ติดเตียงนุ่มๆ ทั้งวันทั้งคืน รู้ไหมเรียกว่าโรคอะไร… อาการติดเตียง หรือ โรคติดที่นอน (Dysania) ส่วนมากมักเป็นกันในช่วงเวลาที่คุณตื่นนอนในตอนเช้า มีความรู้สึกไม่อยากลุกห่างจากเตียงไปไหน อยากซุกตัวอยู่ใต้ผ้าห่มอุ่นๆ อาจเป็นเพราะการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันจนเกิดความเครียด หดหู่ใจ หรืออ่อนเพลียเรื้อรัง สะสมให้ร่างกายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจนต้องการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารสรีรวิทยาในปี 2008 นักวิจัยได้ทำการทดลองด้วยหนูทดลองอยู่ที่จัดช่วงเวลาการหลับพักผ่อนที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ หลังจากผ่านไป 2 สัปดาห์ พบว่าหนูทดลองเริ่มมีพฤติกรรมถึงความเครียด และแสดงอาการซึมเศร้า มึนงง นอกจากนี้การนอนมากเกินไป หรือการใช้ชีวิตติดเตียงอาจเพิ่มความเสี่ยงการทำงานของเส้นเลือดที่อยู่ในบริเวณกระดูกเชิงกราน และขาเนื่องจากถูกกดทับเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดอุดตันนำไปสู่อาการร้ายแรง สัญญาณเหล่านี้ อาจเกี่ยวข้องกับ อาการติดเตียง ของคุณ อาการซึมเศร้า เป็นโรคทางอารมณ์ที่ทำให้อยากอยู่คนเดียวแบบเงียบๆ ไม่มีแรงกระตุ้นที่จะทำกิจวัตรอย่างอื่น รู้สึกไม่มีความสุข โศกเศร้าตลอดเวลา กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (CFS) เกิดจากการพลังงานมากเกินขีดจำกัดของร่างกาย ทำให้เกิดอาการอ่อนล้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่เร่งผลให้ต่อการเข้าสู่อาการติดเตียงได้ อาการไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) หรืออาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ มักมีอาการเจ็บปวดตามลำตัวร่วมกับอาการอ่อนล้า มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ รวมทั้งยังสามารถขัดขวางในระบบความจำทำให้ ความคิด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ ระวังเป็น โรคพีบีเอ (PBA) โดยไม่รู้ตัว!

ร้องไห้ทั้งที่ไม่ได้รู้สึกเสียใจ หัวเราะทั้งที่ไม่มีเรื่องให้ขำ ฟันธง! ได้เลยว่าคุณกำลังเข้าสู่ โรคพีบีเอ (PBA) หรืออาการที่ตัวละครในหนังดังเรื่องหนึ่งกำลังเป็นอยู่นั่นก็คือ โจ๊กเกอร์ จนทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งในชีวิตจริงก็มีผู้ป่วยบางกลุ่มกำลังเผชิญต่อสู้กับโรคนี้ไม่แพ้กัน วันนี้ Hello คุณหมอ ขออาสาพาทุกคนมารู้จักโรคพีบีเอ และเช็กอาการสุ่มเสี่ยงที่คุณอาจยังไม่รู้ตัว โรคพีบีเอ (PBA) ร้ายแรงอย่างที่เราคิดกันไว้ไหมนะ ? โรคพีบีเอ (Pseudobulbar impact) หรือ (PBA) เป็นสภาวะอาการทางอารมณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ในเรื่องของการหัวเราะ และร้องไห้ ซึ่งผู้ป่วยจะแสดงอาการออกมาอย่างฉับพลันทำให้คนรอบข้างไม่ทันตั้งตัวเลยทีเดียว ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ได้จัดอยู่ในโรคทางจิต เพียงแต่อาจเคยได้รับการกระทบกระเทือน อย่างรุนแรงทางระบบประสาทจึงทำให้สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์นั้นได้รับความเสียหาย นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งเชื่อว่าโรคพีบีเอ เกิดจากความเสียหายต่อเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยควบคุมอารมณ์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่เชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้า และอารมณ์แปรปรวน เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ป่วยนั้นเริ่มมีอาการหัวเราะ หรือร้องไห้ออกมาโดยที่หาสาเหตุไม่ได้ เช็กอาการของคุณว่ากำลังเข้าข่ายโรคพีบีเอ อยู่หรือเปล่า … สัญญาณหลักของโรคพีบีเอสังเกตได้ง่าย ดังนี้ อาการหัวเราะ หรือร้องไห้ออกมาโดยไม่มีสาเหตุ การร้องไห้ และหัวเราะ เป็นเวลานานหลายนาที หรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องถี่ๆ ในระยะเวลาสั้น รับประทานอาหารได้น้อยลง รู้สึกเศร้าปะปน มีปัญหาด้านการนอนผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ เวลานอนไม่สม่ำเสมอ นอกจากสัญญาณสุ่มเสี่ยงเบื้องต้นที่กล่าวมาแล้วยังมีปัจจัย หรืออาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับในการเข้าสู่ภาวะโรคพีบีเอ นั่นก็คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รู้จักกับ โรคละเมอแชท ภัยเงียบของผู้ที่ติดสมาร์ทโฟน

ผู้ที่รักการแชทเป็นชีวิตจิตใจพึงระวังให้ดี เพราะตอนนี้กำลังมีโรคแปลกใหม่กำลังคุกคามเข้ามา สำหรับผู้ที่ติดสมาร์ทโฟนอย่างหนัก ทั้งวัน ทั้งคืน เรียกกันว่า โรคละเมอแชท ฟังผ่านๆ อาจจะยังไม่ค่อยรู้สึกถึงอันตรายเท่าไหร่นัก ดังนั้น Hello คุณหมอจึงขออาสาพาทุกคนมารู้จัก และวิธีแก้ไขกัน โรคละเมอแชท (Sleep Texting) ภัยเงียบที่ทุกคนควรรู้ไว้ เมื่อตื่นมาจากการนอนหลับส่วนใหญ่เรามักจะจับโทรศัพท์เป็นอย่างแรก แต่พอลองเช็กข้อความดูกลับพบว่า ข้อความบางอย่างได้ถูกส่งไปโดยที่เราไม่รู้ตัว ทางการแพทย์นิยามอาการนี้ว่า โรคละเมอแชท (Sleep Texting) ซึ่งเกิดมาจากการติดสมาร์ทโฟนมากเกินไป ใช้ในการแชท หรือส่งข้อความ แม้กระทั่งถึงเวลาที่คุณจวนจะนอนพักก็ยังไม่ละเว้นที่จะปล่อยโทรศัพท์ไว้ไม่ให้ห่างจากตัว นานวันเข้าจึงทำเกิดอาการละเมอแชทขึ้น โดยผู้ที่มีอาการละเมอแชทนั้นจะอยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น และถูกกระตุ้นการตอบสนองของสมอง ด้วยการลุกขึ้นมาส่งข้อความตอบกลับจากการได้ยินเสียงแจ้งเตือน หรือการสั่นสะเทือนจากสมาร์ทโฟนด้วยความเคยชินทันที จากการศึกษาที่เชื่อถือได้ของการใช้เทคโนโลยี และการนอนหลับ ในปี 2013 นักวิจัยพบว่า 10 % ของผู้เข้าร่วมทดลองมีอาการเข้าข่ายที่จะเป็นโรคละเมอแชท เพราะพวกเขาได้เผลอกดส่งข้อความโดยไม่จำเป็น และมีอาการสะดุ้งตื่นทำให้นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อย่างน้อย 2-3 คืน ต่อสัปดาห์เลยทีเดียว เช็กด่วน คุณมีอาการสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคละเมอแชทหรือเปล่า ?! ภัยเงียบจากโรคละเมอแชทอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้คุณนั้นพักผ่อนไม่เพียงพอ รู้สึกเหนื่อยง่ายไม่มีแรงในการที่จะทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และยังรวมถึงอาการ หรือพฤติกรรมเหล่านี้ปะปนอีกด้วย มีความตึงเครียด หรือวิตกกังวลเป็นเวลาหลายคืน การเปลี่ยนแปลงเวลานอนหลับอย่างไม่สม่ำเสมอ มีไข้ร่วมด้วยเล็กน้อย อดหลับอดนอนเป็นเวลานานติดกัน การนอนหลับโดยมีสิ่งรบกวนรอบข้าง การใช้ยากล่อมประสาทร่วม ความผิดปกติของการหายใจ แก้ไขพฤติกรรมซะ ถ้าไม่อยากเสียสุขภาพเพราะโรคละเมอแชท การศึกษาในปี 2015 จากแหล่งข้อมูลของประเทศนอร์เวย์ พบว่าการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งกลางวัน และก่อนนอนในกลุ่มวัยรุ่นมีความสัมพันธ์กับมาตรการการนอนหลับ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รู้จักกับ โรคกลัวเข็ม โรคใกล้ตัวที่คุณอาจเป็นแบบไม่รู้ตัว

ตอนเด็กๆ คุณเคยร้องไห้เพราะโดนฉีดยากันไหม? สำหรับบางคนเพียงแค่เห็นเข็มต่อมน้ำตาก็เริ่มทำงานแล้ว บางรายถึงขนาดหมดสติ เข่าอ่อนเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ทุกคนล้วนมีความกลัวที่แตกต่างกันไป ไม่ใช่เรื่องแปลก และไม่ใช่เรื่องน่าอาย มารู้จักกับ โรคกลัวเข็ม ไปพร้อมๆ Hello คุณหมอกันเถอะ โรคกลัวเข็ม (Trypanophobia) คืออะไร? เป็นอาการกลัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการฉีดยา หรือพบเห็นปลายวัตถุที่แหลมคม ทางการแพทย์ได้นิยามความหมาย ของโรคกลัวเข็ม (Trypanophobia) ไว้ดังนี้ ดร. แมคกี้ (Dr. McGee) จิตแพทย์ และหัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์ของ The Haven at Pismo ศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติดแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า “อาการกลัวเข็มนั้นเป็นเรื่องธรรมดามาก เพราะเป็นพื้นฐานทางพันธุกรรมที่เราทุกคนมีความกลัวต่อสิ่งที่แหลมคมจะทิ่มแทงทะลุเนื้อของเรา ส่วนมากมักพบในเด็กเสียส่วนใหญ่” แต่สำหรับบางคนอาจมีผลต่อจิตใจเนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือน หรือสัมผัสเหตุการณ์ที่ฝังใจในช่วงเยาว์วัย ซึ่งมีอาการกลัวเข็มถึงร้อยละ 20-50% ในช่วงวัยรุ่นอาการกลัวเข็มพบได้ประมาณ 20-30% ส่วนในวัยผู้ใหญ่กลางคน โดยทั่วไปแล้วอาการกลัวเข็มจะลดลงเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น สาเหตุและอาการบ่งบอกว่าคุณ กลัวเข็ม หรือหนามแหลม ยังไม่มีการวิจัย และข้อพิสูจน์ ที่แน่ชัดของนักวิทยาศาสตร์ว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการกลัวเข็ม แต่มีการสันนิษฐานเบื้องต้นว่าอาจะเกิดมากจากปัจจัยเหล่านี้ ความกลัวที่ส่งผ่านพันธุกรรม หรือการบอกเล่า ในผู้ใหญ่หรือคนรอบข้างที่มีอาการกลัวเข็ม การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสมอง ความคิดที่ติดลบต่อแพทย์ และพยาบาลในวัยเด็ก เมื่อคุณเห็นเข็มฉีดยา หรือสิ่งของที่แหลมคม มักจะเกิดอาการ ดังต่อไปนี้ วิงเวียนศีรษะจนถึงขั้นหมดสติ อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตสูงขึ้น เกิดอาการวิตกกังวล เกิดการนอนที่ผิดปกติ เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เช็คด่วน 5 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเป็น โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก

โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) ถือเป็น 1 ใน 5 โรคฮิตจากโซเชียลมีเดีย หลายคนอาจสงสัยว่า เล่นเฟซบุ๊กก็มีเพื่อนตั้งมากแล้วจะเป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างไร แต่อาการนี้เกิดขึ้นได้จริง ๆ เพราะคนเราเมื่อติดอยู่แต่หน้าจอ จิ้มๆ กดๆ คุยกับคนในโลกออนไลน์ ก็กลายเป็นไปเพิกเฉยต่อคนในโลกจริง แถมหลายคนใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาเราว้าเหว่ เหงา เดียวดาย ก็ยิ่งโพสต์เยอะ วันนี้ Hello คุณหมอ พามาทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียด เราจะได้รู้ทันและป้องกันก่อนสายเกินแก้ โรคฮิตของคนติดจอ โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก(Facebook Depression Syndrome)เกิดจากการใช้งานเฟซบุ๊ก จนอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้หากเครือข่ายสังคมก่อให้เกิดความอิจฉาในหมู่ผู้ใช้ ขณะเดียวกัน เฟสบุ๊กอาจเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและส่งผลให้สุขภาพดีหากผู้ใช้ใช้ประโยชน์เพื่อเชื่อมต่อกับครอบครัว และเพื่อนเก่าเพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจและมีความสำคัญในชีวิตในรูปแบบที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากเฝ้ามองเพื่อนที่กำลังทำเงินหรือสร้างความสุข เฟซบุ๊กก็สามารถดึงคุณให้ไปสู่ความรู้สึกที่หดหู่ใจได้ 5 สัญญาณเตือน คุณมีภาวะเสี่ยง โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กหรือไม่? ลองมาดูกันว่าโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กหากคุณมีอาการเหล่านี้อย่างน้อย 2ข้อ แสดงว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เป็นสุข ของเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊ก ตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของกิจกรรมชีวิตประจำวันของผู้อื่นๆ มักเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของตนเองกับเพื่อนๆ อยู่เสมอ รู้สึกกระวนกระวายใจ เมื่อไม่สามารถเช็คข้อความ ข่าวสาร หรือ สถานะของคุณได้เหมือนที่ทำเป็นปกติ คุณมักลับสมองและค้นหาข้อความขำขัน แหลมคม อัพเดทสถานะแบบดึงดูด  […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

นวดรักษาซึมเศร้า อีกหนึ่งวิธีรับมือโรคซึมเศร้าที่ไม่ใช่แค่เรื่องเพ้อฝัน

อารมณ์ของคนเราเปลี่ยนแปลงได้แทบจะทุกวินาที และคงไม่มีใครสามารถมีความสุขได้ตลอดเวลา หากจะเครียด หรือซึมเศร้าบ้างก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่หากอาการซึมเศร้าเริ่มเรื้อรัง จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ทำคุณหมดพลัง นอนไม่หลับ อาจเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้า ซึ่งต้องหาทางรักษาหรือบรรเทาให้ดีขึ้น ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ปัจจุบันมีวิธีรักษาโรคซึมเศร้ามากมาย เช่น การใช้ยา จิตบำบัด การรักษาด้วยไฟฟ้า และอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือ การ นวดรักษาซึมเศร้า ที่อาจช่วยให้คุณรับมือกับโรคนี้ได้ดีขึ้น นวดบำบัด… อีกตัวเลือกในการรักษาโรค การนวดบำบัดโดยนักบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลให้เรารู้สึกผ่อนคลาย จัดเป็นวิธีบำบัดโรคที่นิยมใช้แพร่หลายในหลายภูมิภาค อย่างประเทศจีนก็มีการนวดบำบัดมาตั้งแต่เมื่อ 3,000 ปีก่อน หรืออย่างประเทศไทยเรา ก็มีการนวดแผนไทย หรือการนวดแผนโบราณเพื่อบำบัดโรคมาช้านาน การ นวดรักษาซึมเศร้า ได้อย่างไร เมื่อกล้ามเนื้อและเนื่อเยื่อเกี่ยวพันแข็งตึง อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด หรือทำให้เราเคลื่อนไหวร่างกายได้จำกัด แต่เมื่อเราได้รับการนวดบำบัด ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แข็งตึงอยู่คลายตัว เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น และทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายขึ้นด้วย การนวดบำบัดอาจไม่ได้รักษาโรคซึมเศร้าได้โดยตรง แต่ก็อาจช่วยบรรเทาอาการทางกาย และอาการทางจิตใจที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าได้ เช่น อาการเฉื่อยชา ปวดหลัง ปวดข้อต่อ ปวดกล้ามเนื้อ รวมถึงยังช่วยลดอาการเหนื่อยล้า และปัญหาเกี่ยวกับการนอน ที่ผู้เป็นโรคซึมเศร้าต้องประสบได้ด้วย เมื่ออาการบรรเทาลง โรคซึมเศร้าของคุณก็อาจดีขึ้น ผลวิจัยทางคลีนิกจากสถาบัน The […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ไม่น่าเชื่อ! โรคกลัวทะเล มีอยู่จริง มารู้จักโรคแปลกใหม่นี้กันเถอะ

ทะเลประกอบด้วยธรรมชาติที่สวยงาม รายล้อมไปด้วยน้ำสีคราม ทรายสีนวลที่นุ่มละมุน ท้องฟ้าอันสดใส และต้นมะพร้าวที่พลิ้วไสว ทำให้ดึงดูดผู้คนมาตากแดดอาบลม เซลฟี่เก็บความทรงจำ แต่สงสัยกันไหมทำไมมีผู้คนบางกลุ่มถึงไม่ยอมลงเล่นน้ำบ้างเลย อาจเป็นเพราะว่าพวกเขากำลังเป็น โรคกลัวทะเล อยู่ก็เป็นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมารู้จักกับโรคแปลกนี้กัน โรคกลัวทะเล (Thalassophobia) คือ สำหรับผู้ที่มีอาการกลัวทะเล เพียงมองจากภาพถ่ายก็กลัวจนตัวสั่นแล้ว เพราะจินตนาการไปไกลว่าภายใต้ท้องทะเลจะมีอะไรซุกซ่อนอยู่จากพื้นผิวที่เราไม่มองเห็นหรือเปล่า โรคกลัวทะเล (Thalassophobia) คือโรคที่จัดอยู่ในประเภทของความหวาดกลัวเฉพาะเมื่อมองดู หรือสัมผัสกับแหล่งน้ำที่มีบริเวณกว้างใหญ่ ลึก และมืด ทำให้การทำงานด้านจิตใจ รวมถึงสมองของคุณนั้นเกิดอาการวิตกกังวลทันที สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (NIMH) เผยว่าโรคนี้เป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางจิตไม่มีอันตรายร้ายแรงซึ่งพบได้ในหมู่ประชากรทั่วไปที่กลัวสภาพแวดล้อมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น โรคกลัวชุมชน โรคกลัวที่แคบ โรคกลัวรู  อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลัง กลัวทะเล อัตราการเต้นหัวใจถี่ขึ้น หรือหายใจเร็ว เหงื่อออกทั่วร่างกาย วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ เกิดอารมณ์เกลียดชัง หงุดหงิด ท้องไส้ปั่นป่วน กระสับกระส่าย วิตกกังวลมากกว่าปกติ เสียขวัญจนทำให้การนอนหลับผิดปกติ (นอนไม่หลับ) หากคุณจำเป็นที่ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้ ขอให้คุณอยู่ในระยะที่พอเหมาะเพื่อป้องกันการเกิดอาการข้างต้น สาเหตุที่ทำให้คุณ กลัวทะเล อย่างไม่มีเหตุผล มีหลายปัจจัยด้วยกันที่ทำให้คุณเกิดอาการกลัวทะเล มหาสมุทร หรือแหล่งน้ำลึก อาจเป็นเพราะคุณเคยมีความทรงจำฝังใจที่ไม่ดีต่อแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ ปัจจัยทางพันธุกรรม : การที่คนรอบข้าง หรือคนในครอบครัวของคุณเป็นโรคกลัวทะเล จนนำมาสู่การถ่ายทอดอาจเป็นในรูปแบบบอกเล่า เพื่อสร้างความปลอดภัย คุณจึงจดจำสิ่งที่ถูกถ่ายทอด และทำให้ติดตัวคุณมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : คือสิ่งที่คุณเคยประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่ดีมาก่อนไม่ว่าในรูปแบบที่พบเจอด้วยตัวเอง หรือตามแหล่งข่าว เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวที่แคบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ทุกคนล้วนมีความกลัวอยู่ภายในจิตใจที่เก็บเป็นความลับเอาไว้ สำหรับบางคนอาจกลัวความมืดจนต้องเปิดไฟทั้งวันทั้งคืน บางคนมีอาการกลัวรูเพียงแค่เห็นภาพก็ชวนขนลุก รวมถึง โรคกลัวที่แคบ นี้ด้วย โรคเหล่านี้หลายคนอาจไม่ให้ความสำคัญทั้งที่จริงแล้วสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตในด้านอื่นๆ ได้ด้วย ควรหาวิธีรับมือกับโรครวมทั้งรักษาให้หายขาดเพื่อสุขภาพชีวิตที่ดี [embed-health-tool-bmi] โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia) คือ โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia)  คือ กลุ่มอาการวิตกกังวลผิดปกติ เป็นโรคเฉพาะเจาะจงรายบุคคล เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกให้อยู่คนเดียวในบริเวณที่ปิดล้อม และในพื้นที่แออัด เช่น ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรืออยู่ในลิฟต์ที่เต็มไปด้วยคนเยอะๆ ซึ่งส่งผลให้รู้สึกไม่สบายใจ หายใจไม่สะดวก หรือเริ่มมีอาการหงุดหงิด เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้ สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคกลัวที่แคบ  สาเหตุสำคัญของการเป็นโรคกลัวที่แคบอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของ อะมิกดะลา (Amygdala) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ควบคุมความรู้สึกกลัวหวาดระแวง และอาจเกี่ยวข้องกับความทรงจำในอดีตที่ทำให้สะเทือนต่อจิตใจ บางครั้งความกลัวที่แคบสามารถเริ่มต้นได้จากเหตุการณ์ในวัยเด็กที่ทำให้ฝังใจ เนื่องจากตอเยาว์วัยจิตใจของเด็กนั้นค่อนข้างอ่อนไหวง่ายต่อสิ่งรอบข้าง เช่น การถูกกลั่นแกล้ง การถูกกักขัง อุบัติเหตุที่ทำให้จำเป็นต้องติดในที่แคบแห่งนั้น เช่น ลิฟต์ค้าง และยังส่งผลให้รู้สึกกลัวบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดเมื่อพบเห็น ไม่ว่าจะเป็น ลิฟต์ อุโมงค์ ตู้เสื้อผ้า รถไฟได้ดิน ห้องเล็กๆ เป็นต้น อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคกลัวที่แคบ เหงื่อออก ตัวสั่น อัตราการเต้นของหัวใจแรงขึ้น ความดันโลหิตสูง วิงเวียนศีรษะและมึนหัว ริมฝีปากซีดแห้ง แน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวก ท้องไส้ปั่นป่วน อาการข้างต้นสามารถหายเองได้ ภายใน 5-30 นาที หัดสังเกตอาการของตนเองให้ถี่ถ้วนว่าอยู่ในภาวะที่รุนแรงหรือไม่ เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที วิธีรักษาให้หายขาดจากโรคกลัวที่แคบ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวการแต่งงาน แค่คิดไปเองหรือปัญหาทางสภาพจิตใจ

การแต่งงานดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายของคู่รักหลายๆ คู่ แต่บางคนกลับกลัวการต้องผูกมัด หรือการสูญเสียความเป็นอิสระเมื่อต้องแต่งงาน จนอาจทำให้เกิดเป็น โรคกลัวการแต่งงาน (Gamophobia) เกิดขึ้น ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นผ่านทางบทความของ Hello คุณหมอ กันดีกว่า โรคกลัวการแต่งงาน (Gamophobia) คืออะไร? การแต่งงาน ถือเป็นพันธะที่น่ากลัวสำหรับบางคน เนื่องจากการแต่งงานถือเป็นการผูกมัดคน 2 คนเอาไว้ด้วยกัน ดังนั้น โรคกลัวการแต่งงาน (Gamophobia) จึงเป็นความกลัวการผูกมัดที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ความกลัวที่เกิดขึ้นไม่สามารถควบคุมได้ จาการศึกษาพบว่า โรคกลัวการแต่งงานนั้นมักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่นั้นมีความต้องการที่จะแต่งงาน หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ผู้ที่เป็นโรคกลัวการแต่งงานบางคนอาจจะกลัวการใช้ชีวิตทั้งชีวิตกับบุคคลคนเดียว แต่ในบางคนก็อาจกลัวความผิดหวังที่อาจจะเกิดขึ้นหลังแต่งงานนั่นเอง เหตุผลที่ทำให้กลัวการแต่งงาน การหย่าร้าง ถือเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่อาจทำให้เกิดโรคกลัวการแต่งงาน แต่ความจริงแล้วยังมีเหตุผลอื่นๆ อีกที่ทำให้คุณกลัวการแต่งงาน ซึ่งเหตุผลอื่นๆ มีดังนี้ ประสบการณ์เชิงลบในอดีต กลัวว่าจะตัดสินใจพลาด รู้สึกว่ากำลังจะสูญเสียความเป็นอิสระ ความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย เช่น ภาวะมีบุตรยาก ขาดความมั่นใจในตัวเอง เงื่อไขภาวะซึมเศร้าอื่นๆ วิธีเอาชนะโรคกลัวการแต่งงาน สำหรับผู้ที่ต้องการจะเอาชนะโรคกลัวการแต่งงาน สามารถเอาชนะความกลัวและสร้างชีวิตแต่งงานที่สมบูรณ์และยั่งยืนได้ด้วยการ พัฒนาความคาดหวังให้เป็นความจริง ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง รู้เหตุผลในการแต่งงาน และเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเองว่าจะประสบความสำเร็จ นอกจากนั้นแล้วหากมีความคิดที่จะแต่งงานและต้องการเอาชนะโรคกลัวการแต่งงานที่เกิดขึ้น ก็สามารถทำได้ดังนี้ ตระหนักว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงหลังจากการแต่งงาน นอกเหนือจากนามสกุล หรือบางคนอาจจะไม่เปลี่ยนนามสกุลก็เป็นได้ และพยายามทำตัวให้เคยชินหากถูกเรียกว่าภรรยาหรือสามี ความจริงก็คือความสัมพันธ์ส่วนใหญ่ไม่ได้เปลี่ยนหลังจากเกิดการแต่งงาน อาจจะเข้ารับการบำบัดเล็กน้อย ด้วยการลองเข้าไปมีส่วนร่วมกับคู่แต่งงานที่มีความสุข หากเป็นไปได้ให้พูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับวิธีเอาชนะความกลัวต่อการแต่งงาน และลองคิดว่าจะนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้กับความสัมพันธ์ของตัวเองได้อย่างไร ลองหากต้นกำเนิดแห่งการกลัว ด้วยการมองไปรอบๆ ตัว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน