ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

แค่ อ่านหนังสือ ก็ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีได้

อ่านหนังสือ อาจเป็นกิจกรรมยามว่างสำหรับใครหลายๆ คน ได้หนังสือที่ชอบสักหนึ่งเรื่องก็อยู่ได้ทั้งวัน การอ่านหนังสือไม่ใช่แค่กิจกรรมยามว่างเท่านั้น แต่ว่าการอ่านหนังสือยังช่วยส่งเสริม สุขภาพจิตที่ดีให้กับผู้อ่านได้อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับการอ่านหนังสือมาฝากกันค่ะ อ่านหนังสือ ส่งเสริมสุขภาพจิต ได้อย่างไร การอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมที่ช่วยสงเสริมทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต ซึ่งประโยชน์ของการอ่านหนังสื่อต่างๆ เหล่านี้จะอยู่กับเราไปตลอด การสงเสริมการอ่านตั้งแต่ยังวัยเยาว์จะส่งผลดีในอนาคตได้ การอ่านช่วยพัฒนาและเพิ่มความแข็งแรงของสมอง งานวิจัยในปี 2013 พบว่าการอ่านหนังสือช่วยให้ การสื่อสารในเซลล์สมองมีการพัฒนา ระบบประสาทและการสื่อสารในสมองนั้นมีความซับซ้อนมาก แต่การอ่านหนังสือจะช่วยให้ระบบต่างๆ เหล่านี้สื่อสารและทำงานได้ดีขึ้น โดยมีการวัดผลจากการทำ MRI สแกน และมีการทำให้ Somatosensory cortex ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่มีการตอบสนองต่อการสัมผัสทางกายภาพ เช่น การเคลื่อนไหว หรือความเจ็บปวด ดังนั้น พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรอ่านหนังสือให้เขาฟังตั้งแต่เป็นทารกแม้ว่าเขาจะยังไม่รู้เรื่องก็ตาม อ่านไปเรื่อยๆ จนกว่าเขาจะเริ่มอ่านเองได้ เพราะการอ่านจะช่วยให้เขาเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องที่สนุก และน่าสนใจ แถมยังพัฒนาสมองอีกด้วย การอ่านช่วยลดความเครียด ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งความเครียดเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองมากถึงร้อยละ 50 และทำให้เกิดโรคหัวใจร้อยละ 40 จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Sussex ในปี 2009 พบว่าการอ่าน ช่วยลดระดับความเครียดได้ถึงร้อยละ 68 ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าการฟังเพลงหรือการเดินออกกำลังกาย มีส่วนในการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความจำเสื่อม เมื่ออายุมากขึ้น สมองก็จะทำงนได้ช้าลง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ที่ชาวมิลเลนเนียลต้องใส่ใจ

ปัจจุบันโลกเราพัฒนาไปมาก มีเทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆ เกิดขึ้นให้เราตื่นตาตื่นใจไม่เว้นแต่ละวัน แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับพบว่า สุขภาพของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะชาวมิลเลนเนียล ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงานและเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน นั้นแย่ลงเรื่อยๆ ปัญหาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ในยุคนี้จะมีอะไรบ้างที่เราต้องใส่ใจ แล้วเราจะรับมือกับมันยังไงได้บ้าง บทความนี้มีคำตอบให้แล้ว ท็อปเทน ปัญหาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ยุคนี้เรื่องสุขภาพถูกพูดถึงมากขึ้น ผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจกับสุขภาพ เน้นการออกกำลังกายและการกินอาหารที่มีประโยชน์ หากมองในแง่นี้ เราอาจจะคิดว่า คนรุ่นใหม่จะต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงกว่าคนรุ่นเก่าๆ แต่ข้อมูลจาก Blue Cross Blue Shield Association (BCBSA) ซึ่งเป็นองค์กรเกี่ยวกับการประกันภัยในประเทศสหรัฐอเมริกากลับเผยว่า สุขภาพของคนรุ่นใหม่นั้นถือว่า ไม่แข็งแรงเลยหากเทียบกับอายุของพวกเขา โดยข้อมูลยังเผยอีกว่า โรคยอดฮิตในสิบอันดับแรกพบในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และชาวมิลเลนเนียลมากขึ้นนั้น ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคที่เกิดจากการใช้สารเสพติด โรคที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความดันโลหิตสูง อาการไฮเปอร์ (Hyperactivity) หรือภาวะอยู่ไม่สุข ขาดสมาธิ โรคจิต โรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ โรคเบาหวานชนิดที่สอง นอกจากสิบโรคดังกล่าวแล้ว ชาวมิลเลนเนียลและคนรุ่นใหม่ในยุคนี้ยังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพดังกล่าวมีทั้งปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ชาวมิลเลนเนียลนั้นมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าและอาการไฮเปอร์ และความชุกของโรคในกลุ่มประชากรชาวมิลเลนเนียลนั้นสูงกว่า คนเจนเอ็กซ์และคนกลุ่มเบบี้บูมเบอร์เสียอีก ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ปัญหาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะชาวมิลเลนเนียลที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ นี้ อาจเป็นผลมาจาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ชาวมิลเลนเนียลถือว่า เป็นกลุ่มคนที่เติบโตมากับเทคโนโลยีโดยแท้จริง และได้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ และใช้ชีวิตอยู่กับอุปกรณ์เหล่านั้นมากกว่าจะเรียนรู้ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การสบตาผู้คน ทำให้ไม่ถนัดในการอ่านสีหน้า หรือไม่ระมัดระวังในการรับมือกับอารมณ์ของผู้อื่นรวมถึงตัวเองเท่าไหร่นัก การขาดความตระหนักรู้ทางอารมณ์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล (SAD) เกิดขึ้นได้ เพราะอากาศที่เปลี่ยนไป

เมื่ออากาศหนาวๆ เข้าปกคลุมทีไร ฟ้าสลัวๆ อากาศครึ้มๆ มักทำให้เรารู้สึกเศร้าขึ้นมาอย่างไม่มีสาเหตุ บางครั้งที่เราเศร้าอยู่แล้วเจ้าอากาศเย็นๆ ก็พาให้เราเศร้าขึ้นไปอีก แล้วความเศร้านี้มันมาจากไหน ทำไมฤดูหนาวถึงพาเราเศร้ากว่าปกติทุกที วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะหนึ่งที่เรียกว่า “Seasonal affective disorder (SAD)” หรือ ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล แล้วเราจะจัดการกับความเศร้าในหน้าหนาวนี้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ ทำไมเราเศร้าเป็นพิเศษในฤดูหนาว? Seasonal affective disorder (SAD) ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล เป็นรูปแบบของ ภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือ ภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูหนาว คนที่มีอาการ SAD จะมีอารมณ์แปรปรวนและมีอาการคล้ายกับภาวะซึมเศร้าทำให้เรารู้สึกหดหู่ เศร้า ไม่สนใจทำกิจกรรมใดๆ  บางครั้งส่งผลให้นอนหลับยาก หรือแม้จะได้นอนมากแต่ก็จะมีอาการเมื่อยล้า อาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น หลังจากตื่นนอนรู้สึกไม่สดชื่น  โดยอาการมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ที่มีแสงแดดน้อยลงและมักจะดีขึ้นเมื่อฤดูใบไม้ผลิฤดูร้อนมาถึง SAD ไม่ใช่แค่ “Winter blue” อาการอาจเป็นที่น่าวิตกกังวล และสามารถแทรกแซงการทำงานประจำวันของเราได้ และมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สาเหตุของการเกิด ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล (SAD)  ในทางการแพทย์ยังไม่มีงานวิจัยที่มีความเฉพาะเจาะจงถึงปัญหาของโรค SAD ว่ามาจากอะไร […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ไม่ได้ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

หลายคนคงมีความเชื่อว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงอากาศเย็น จะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า…การ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในหลายๆ ด้าน ทาง Hello คุณหมอ จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ในแง่มุมต่างๆ มาฝากกัน ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย แม้แอลกอฮอล์จะช่วยทำให้เลือกสูบฉีดและไหวเวียนได้ดี แต่การ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป มีดังนี้ สมองทำงานช้าลง ในช่วงระยะเวลา 30 นาที หลังจากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป จะส่งผลให้สมองทำงานได้ช้าลง ทั้งในด้านการสื่อสาร อารมณ์ รวมถึงการตอบสนองต่างๆ อีกด้วย เซลล์สมองเปลี่ยนแปลง หากดื่มหนักเป็นเวลานานอาจทำให้เซลล์สมองเปลี่ยนแปลง และสมองหดลง จึงส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ และการจดจำสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ส่งผลทำให้ร่างกายรักษาอุณหภูมิได้ยากขึ้น ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ แอลกอฮอล์อาจทำให้เผลอหลับได้ง่ายขึ้น แต่ร่างกายจะไม่ได้พักผ่อนเพราะเมื่อร่างกายมีแอลกอฮอล์อยู่ตลอดทั้งคืน จะทำให้รู้สึกวิงเวียนอยู่ตลอดคืน ตื่นบ่อยเพื่อเข้าห้องน้ำ ส่งผลให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะฝันร้าย แผลในกระเพาะอาหาร การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคือง และทำให้น้ำย่อยไหลผ่าน เมื่อร่างกายมีกรดและแอลกอฮอล์อยู่เป็นจำนวนมาก จะทำให้รู้สึกคลื่นไส้และอาเจียน ในช่วงที่ดื่มหนักๆ อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีน้ำย่อยในปริมาณที่สูง จนทำให้ไม่รู้สึกหิว ดังนั้นเหล่านักดื่มที่ดื่มมาอย่างยาวนาน มักจะไม่ได้รับสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการ ลำไส้เกิดการระคายเคือง ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เกิดอาการระคายเคือง จึงเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องเสีย นอกจากนั้นยังทำให้มีอาการเสียดท้องมากยิ่งขึ้น ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ดังนั้นสมองจึงหยุดสั่งการฮอร์โมนที่ป้องกันไม่ให้ไตผลิตปัสสาวะมากเกินไป นั่นจึงทำให้เกินการปัสสาวะบ่อยขึ้น เซลล์ตับได้รับผลกระทบ ไตหยุดทำงาน ถ้าหากเป็นโรคตับอยู่ การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ขั้นตอนในการรักษาตับสูญเปล่า ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้ไขมันในอวัยวะและเนื้อเยื่อหนาขึ้นจนเป็นเส้นใย ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด เซลล์ตับก็จึงได้รับผลกระทบเช่นกัน อาจทำให้ไตถึงขั้นหยุดการทำงาน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวรู (Trypophobia) ขนลุกแบบขำๆ หรืออันตรายที่ต้องระวัง

หลายคนคงจะเคยเห็นภาพรูเล็กๆ ที่เรียงต่อกันหลายๆ รู ผ่านสายตากันมาบ้าง หลังจากเห็นภาพรูมากมายเหล่านั้นแล้ว คุณรู้สึกอย่างไร? รู้สึกขนลุกซู่ ขยะแขยง หรือรังเกียจหรือไม่? ถ้าหากคุณมีปฏิกิริยากับภาพรูเล็กๆ เหล่านั้น ไม่แน่ว่า คุณอาจจะกำลังเป็น โรคกลัวรู อยู่ก็เป็นได้ มาทำความรู้จักกับโรคกลัวรูให้มากขึ้นกับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ กันค่ะ รู้จักกับ โรคกลัวรู (Trypophobia)  เชื่อว่าไม่ใช่แค่เพียงคุณที่กำลังอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่าตนเองมีอาการหวาดกลัว ขนลุก ขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นภาพรูเล็กๆ เช่น ภาพฝักบัว รังผึ้ง หรือภาพวงกลมเล็กๆ หลายๆ วงเรียงต่อกัน ยังมีอีกหลายคนที่มีอาการเช่นเดียวกันกับที่คุณกำลังเป็นอยู่ อาการนั้นเรียกว่า โรคกลัวรู หรือ Trypophobia โดยคำว่า “Trypophobia” ได้เกิดขึ้นในสื่อเว็บไซต์ต่างๆ เมื่อปี 2005 ก่อนที่จะกลายมาเป็นกระแสไวรัลไปทั่วทั้งอินเทอร์เน็ตจนกระทั่งปัจจุบัน โรคกลัวรู คือ การที่บุคคลหนึ่งมีความรู้สึกรังเกียจและกลัวต่อรูเล็ก ๆ ที่เรียงติดกัน บุคคลนั้นจะรู้สึกอีดอัด ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หากจะต้องจ้องมองไปยังรูหรือหลุมเล็ก ๆ ที่เรียงติดกันเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม โรคกลัวรูก็ยังไม่ได้รับการระบุว่าเป็นความผิดปกติของโรค หรือความผิดปกติทางสุขภาพจิตแต่อย่างใด เนื่องจากข้อจำกัดในการวิจัย และข้อมูลที่ยังไม่เพียงพอ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รู้จักกับ โรค ไม่ชอบมี เพศ สัมพันธ์

โรค ไม่ชอบมี เพศ สัมพันธ์ถือเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีทัศนคติเชิงลบต่อเรื่องเพศ หรืออาจจะเคยโดนล่วงละเมิดทางเพศก็เป็นได้ แต่ความจริงแล้ว ภาวะเกลียดเซ็กส์นี้ยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีกด้วย แล้วเมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องเกี่ยวกับภาวะเกลียดเซ็กส์ มาฝากกัน [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักกับ โรค ไม่ชอบมี เพศ สัมพันธ์ โรค ไม่ชอบมี เพศ สัมพันธ์ คือ ภาวะที่มีอาการเบื่อทางเพศ หลีกเลี่ยง หวาดระแวง หรือหวาดกลัวเมื่อมีเพศตรงข้ามเข้ามาใกล้ชิด บางครั้งเป็นอาการที่เกิดขึ้น เพื่อยับยั้งความต้องการทางเพศ หลีกเลี่ยงทางเพศ หรือความเกลียดชังทางเพศ และอาจเกี่ยวข้องถึงปัญหาทางด้านร่างกายได้ ภาวะเกลียดเซ็กส์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง โดยอาการหลัก ๆ ของภาวะเกลียดเซ็กส์ คือ เบื่อกิจกรรมทางเพศ ขาดความต้องการทางเพศ รวมทั้งอาจรู้สึกกลัวหรือโกรธ เมื่อได้รับรู้เรื่อง ได้ยิน เนื้อหาเรื่องเซ็กส์ เหตุผลที่ทำให้เกิด โรค ไม่ชอบมี เพศ สัมพันธ์ สำหรับเหตุผลที่ทำให้เกิด โรค ไม่ชอบมี เพศ สัมพันธ์ มีด้วยกันหลายหลายสาเหตุ ตามแต่อาการ หรือผลกระทบจากประสบการณ์ที่ผู้ป่วยพบเจอมา ซึ่งสาเหตุต่าง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ย้ายบ้าน ย้ายงานใหม่ มีวิธีปรับตัวอย่างไร เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง

ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เราทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วดับไป แต่หลายครั้งการเปลี่ยนแปลงก็ส่งผลต่อตัวเรา ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนที่ทำงานใหม่ อาจทำให้หลายคนกังวลใจ บทความนี้ Hello คุณหมอจึงมี วิธีปรับตัว มาแนะนำ สำหรับผู้ที่กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการตนเอง ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสมเหมาะสม ทำไมคนเราถึงไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ก่อนจะไปรู้วิธีรับมือ เรามาดูสาเหตุกันก่อนดีกว่า ว่าทำไมคนเราไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ลองมาตรวจสอบดูกันว่าคุณต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เพราะสาเหตุเหล่านี้หรือเปล่า… สูญเสียการควบคุม การเปลี่ยนแปลงมักจะทำให้รู้สึกว่า เราไม่สามารถควบคุมเรื่องต่างๆ ได้ และเรื่องต่างๆ อาจอยู่เหนือการควบคุม จนทำให้คุณเกิดความกลัวขึ้นมา มีแต่ความไม่แน่นอน เวลาที่ต้องปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง คุณอาจจะมีความรู้สึกเหมือนกำลังเดินไปข้างหน้าทั้งๆ ที่มีผ้าปิดตาอยู่ เลยรู้สึกไม่ปลอดภัยกับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น จนเป็นเหตุให้ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง มีแต่เรื่องไม่คาดคิด เมื่อคุณเปลี่ยนที่ทำงานใหม่ หรือเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ คุณอาจต้องเจอกับเรื่องเซอร์ไพรส์ตลอดเวลา เช่น เพื่อนร่วมงานนิสัยแปลกๆ หรือเพื่อนบ้านนิสัยน่ากลัว ซึ่งคุณอาจไม่ได้เตรียมตัวที่จะรับมือกับเรื่องที่น่าประหลาดใจเหล่านี้ ทุกอย่างแตกต่างจากเดิมไปหมด การ ‘เปลี่ยนแปลง’ หมายถึง การ ‘เปลี่ยนไป’ แต่จะเปลี่ยนไปในแง่ไหนบ้างล่ะ คุณก็ต้องมาดูทีละเรื่อง เช่น การย้ายบ้านทำให้ชีวิตประจำวันของคุณเปลี่ยนไป หรือการไปในที่ทำงานใหม่ อาจทำให้คุณต้องปรับเปลี่ยนนิสัยการทำงานของตัวเอง ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้นนี้ อาจสร้างความสับสันและความกังวลให้คุณได้ กังวลเกี่ยวกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เวลาต้องย้ายไปอยู่ในสถานที่ใหม่ๆ อาจทำให้หลายคนกลัว ว่าตัวเองจะรับมือกับปัญหาต่างๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคไบโพลาร์ในวัยรุ่น สัญญาเตือนและการรับมือที่ถูกต้อง

โรคไบโพลาร์ หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) นั้นเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์เป็นสำคัญ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เวลาเศร้าก็จะเศร้ามากเป็นพิเศษ แต่เมื่อมีความสุขก็จะมีความสุขมากเป็นพิเศษเช่นกัน ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคนในครอบครัว และควรจะต้องไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับวิธีการรักษาที่ถูกต้อง โรคไบโพลาร์ นั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะ โรคไบโพลาร์ในวัยรุ่น คุณพ่อคุณมีควรจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะในวัยนี้บางครั้งยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เท่าที่ควร  บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน โรคไบโพลาร์ในวัยรุ่น ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ อาจมีหลายคนสงสัยว่า เมื่อเป็นโรคไบโพลาร์แล้ว จะยังสามารถใช้ชีวิตแบบปกติได้หรือไม่ หรือเมื่อเป็นแล้วจะกลับมาเป็นปกติได้หรือไม่ ลองมาดูข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อสงสัยต่างๆ ดังนี้ หลายคนเชื่อว่า เมื่อเป็นโรคอารมณ์สองขั้วแล้ว จะไม่สามารถมีอาการที่ดีขึ้น หรือใช้ชีวิตแบบปกติได้ ต้องบอกเลยว่า การใช้ชีวิตอยู่กับโรคไบโพลาร์นั้น ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก แต่จริงๆ แล้ว คนที่เป็นไบโพลาร์หลายคน มีอาชีพที่ประสบความสำเร็จ มีครอบครัวที่ดี และมีชีวิตที่มีความสุข ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะพวกเขาได้เข้ารับการรักษา พร้อมทั้งได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะในการเผชิญหน้ากับความเครียดที่ดี รวมถึงได้รับการสนับสนุนที่มั่นคงอีกด้วย โรคไบโพลาร์ส่งผลทางอารมณ์เท่านั้น ความจริงแล้ว โรคไบโพลาร์ ยังส่งผลต่อระดับพลังงาน การตัดสิน ความจำ สมาธิ ความอยากอาหาร รูปแบบการนอนหลับ แรงขับเคลื่อนทางเพศ รวมถึงการเห็นคุณค่าในตัวเอง นอกจากนี้ความผิดปกติของโรคนี้ ยังเชื่อมโยงกับความวิตกกังวล การใช้สารเสพติด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ไม่ใช่แค่ป่วยบ่อย แต่ ความเครียดจากการทำงาน ส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

ใครที่ป่วยบ่อย ป่วยง่าย ร่างกายไม่แข็งแรง แถมนอนไม่ค่อยหลับ คุณอาจโดนความเครียดเล่นงานเข้าให้แล้ว แล้วรู้หรือเปล่าว่า ถ้ายิ่งเป็น ความเครียดจากการทำงาน ที่คุณต้องเผชิญทุกวัน ก็สามารถทำให้สุขภาพแย่ลงในระยะยาว มาดูกันว่า ความเครียดจากการทำงาน จะส่งผลต่อสุขภาพของคุณอย่างไรได้บ้าง และเราจะเตรียมพร้อมรับมือ ความเครียดจากการทำงาน กันอย่างไรดี ความเครียดจากการทำงาน ส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด – ความเครียดทำให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ งานวิจัยพบว่า แม้จะเป็นเพียงความเครียดที่ไม่รุนแรง เช่น ความเครียดที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน ก็อาจทำให้เสียความสามารถในการควบคุมความกลัวและความกังวลได้ – ความเครียดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการป่วยทางจิต ความเครียดเชื่อมโยงกับความเจ็บป่วย และการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคปอด การฆ่าตัวตายเนื่องจากโรคซึมเศร้า นอกจากนี้งานวิจัยจากสถาบัน Johns Hopkins University  ให้ข้อมูลว่าเด็กที่เผชิญกับความเครียดเรื้อรัง มีแนวโน้มว่าจะพัฒนาอาการป่วยทางจิต หากมีความอ่อนแอทางพันธุกรรม – ความเครียดส่งผลต่อเรื่องทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์อาจมีส่วนช่วยบรรเทาความเครียด แต่ความเครียดก็สามารถส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน เนื่องจากมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า ความเครียดสามารถส่งผลต่อน้ำหนักตัวของผู้ชาย ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และความปรารถนาทางเพศ – ความเครียดอาจทำร้ายสุขภาพเหงือกและฟัน ความเครียดอาจส่งผลให้คุณมีอาการนอนกัดฟัน ขณะนอนหลับโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำลายสุขภาพเหงือกและฟัน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดกับโรคเหงือกด้วย – ความเครียด ทำร้ายหัวใจ ความเครียดสามารถสร้างความเสียหายให้กล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อฮอร์โมนเครียด หรือฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจก็จะเพิ่มขึ้นด้วย หลอดเลือดก็จะหดตัว ซึ่งส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น มากไปกว่านั้นความเครียดยังเพิ่มความดันโลหิต ถ้าคุณเป็นคนที่เครียดบ่อย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

วิกฤตวัยกลางคน แค่สภาวะทางอารมณ์ หรือจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพจิต

วิกฤตวัยกลางคน (midlife crisis) คือ ความรู้สึกไม่มีความสุข กังวล และรู้สึกผิดหวัง ที่หลายคนจะประสบในช่วงอายุประมาณ 37-59 ปี และภาวะนี้อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต โดยทั่วไปแล้ว คนส่วนใหญ่ไม่ได้ประสบกับวิกฤตวัยกลางคนอย่างรุนแรง แต่ก็มีหลายคนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตวัยกลางคน จนพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล หากคุณกำลังเผชิญกับวิกฤตวัยกลางคน บทความนี้ Hello คุณหมอ ชวนมาตรวจสอบ ‘อาการและสัญญาณ’ ที่บอกว่าวิกฤตวัยกลางคน ส่งผลต่อสุขภาพจิตแล้ว วิกฤตวัยกลางคน คืออะไร ความจริงแล้ว จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิกฤตวัยกลางคนไม่ได้เป็นปัญหาต่อคนส่วนใหญ่ในโลก และไม่ใช่ทุกคนที่จะเผชิญกับวิกฤตวัยกลางคน ซึ่งวิกฤตวัยกลางคน (midlife crisis) หมายถึงความรู้สึกไม่มีความสุข กังวล และรู้สึกผิดหวัง ที่หลายคนจะประสบในช่วงอายุประมาณ 37-59 ปี ความรู้สึกต่างๆ ช่วงวัยกลางคนสามารถเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง หรือการสูญเสียครั้งใหญ่ เช่น การหย่าร้าง หรือพ่อแม่เสียชีวิต และโดยทั่วไปแล้ว หลายคนจะคิดว่าวิกฤตวัยกลางคน คือความรู้สึกกลัวความตาย หรือความปรารถนาที่จะกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตวัยกลางคนนี้ อาจไม่แตกต่างจากความทุกข์ที่ใครบางคนกำลังประสบในช่วงวัยอื่นๆ เช่น วัยรุ่น หรือวัยชรา สัญญาณของวิกฤตวัยกลางคน หากคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้ และมีอายุ 37-59 ปี อาจหมายความว่าคุณกำลังเผชิญกับวิกฤตวัยกลางคน เหนื่อยล้า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน