ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

งานหนักไม่เคยฆ่าใคร จริงเหรอ คนเราควรทำงานวันละกี่ชั่วโมงกันแน่

ไม่ว่าใครอาจก็เคยได้ยินวลีที่ว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” ก่อน เราทุกคนอาจจะคิดว่า การทำงานหนัก นั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะแสดงให้เห็นถึงความขยัน และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเรา แต่จริง ๆ แล้ว การทำงานหนักเกินไป อาจจะส่งผลร้ายต่อเราได้มากกว่าที่ทุกคนคิด และแท้จริงแล้ว เราควรทำงานวันละเท่าไหร่จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด มาลองหาคำตอบด้วยกันกับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ การทำงานหนักเกินไป ส่งผลเสียอย่างไร การทำงานหนักเกินไป หมายถึงการที่คุณทำงานมากกว่าสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง หรือก็คือมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ถือว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของเวลาในหนึ่งวัน มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การทำงานหนักเกินไปนั้นส่งผลให้เกิดผลเสียอย่างมาก ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ จากข้อมูลที่ศึกษาผู้ที่ทำงานหนักเกินไป ในช่วงปี 1995-2012 พบว่า ผู้ที่ทำงานงานหนักมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมงนั้นมีโอกาสที่จะเกิดอาการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากสาเหตุดังต่อไปนี้ เช่น โรคระบบไหลเวียนโลหิต โรคเบาหวาน กลุ่มอาการอ้วนลงพุง สภาวะความผิดปกติทางจิต โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล การนอนหลับผิดปกติ และสภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การทำงานหนักเกินไปเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต นอกจากนี้ยังมีการวิจัยความเกี่ยวข้องของการทำงานในระยะเวลานานต่อโรคซึมเศร้าและความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพพบว่าผู้หญิงที่ทำงานเป็นระยะเวลานานนั้น จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้บ่อยกว่า และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ชายนั้นจะมีโอกาสสูบบุหรี่กับดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นมากกว่าผู้หญิง ระยะเวลาทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แม้ว่างานวิจัยจะแสดงให้เห็นว่า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รู้จักและรับมือกับ Xenophobia หรือ โรคหวาดกลัวชาวต่างชาติ

ปัจจุบันแม้ว่ากระแสนิยมเทรนด์แฟชั่นของชาติตะวันตกและอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะ ดนตรี อาหาร ภาษา หรือผู้คนมีอยู่ไม่น้อย แต่ว่าในขณะเดียวกันก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รู้สึกสบายใจถ้าหากต้องอยู่ร่วมกับชาวต่างชาติเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องมีการพบปะ หรือทำกิจกรรมร่วมกับชาวต่างชาติ อาการดังกล่าวเป็นที่รู้จักในชื่อ โรคหวาดกลัวชาวต่างชาติ หรือ Xenophobia วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะอาการของ โรคหวาดกลัวชาวต่างชาติ มาฝากผู้อ่าน ดังต่อไปนี้ โรคหวาดกลัวชาวต่างชาติเป็นอย่างไร โรคหวาดกลัวชาวต่างชาติ (Xenophobia) หรือพูดง่ายๆคือ อาการหวาดกลัว หรือ ความเกลียดชังชาวต่างชาติหรือคนแปลกหน้า โดยจะมีทัศนคติและพฤติกรรมที่มีการเลือกปฏิบัติต่อชาวต่างชาติ จนบ่อยครั้งทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้ ผลการวิจัยหลายฉบับก็รายงานให้เห็นอีกว่าอาการหวาดกลัวชาวต่างประเทศไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามในสังคมเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพด้วยเหมือนกัน  อาการของโรคหวาดกลัวชาวต่างชาติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้วินิจฉัยคนที่เป็นโรค Xenophobia ว่า อาการดังกล่าวอาจมีลักษณะคล้ายกับโรควิตกกังวลอื่นๆ นักวิจัยได้ทำการค้นคว้าเพื่อค้นหาว่าทำไมคนเราถึงมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างสุดโต่งต่อคนแปลกหน้าที่ไม่เคยพบมาก่อน และพบอาการดังนี้ มีความวิตกกังวลเมื่อต้องพบปะกับชาวต่างชาติ หรือการเดินทางไปยังต่างประเทศ หายใจถี่รัวหากต้องสนทนากับชาวต่างชาติ มีอาการตื่นตระหนกอย่างหนัก ตัวสั่นรัว เหงื่อออกมากผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นแรงผิดปกติ หากผู้ที่มีอาการหวาดกลัวชาวต่างชาติ (Xenophobic) ถูกปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะส่งผลทำให้การใช้ชีวิตมีความลำบากมากขึ้น นำไปสู่อาการหวาดกลัวคนแปลกหน้าที่ไม่ได้เจาะจงแค่เพียงชาวต่างชาติเท่านั้น และส่งผลให้มีพฤติกรรมปลีกตัวออกจากสังคม  สาเหตุของอาการหวาดกลัวชาวต่างชาติ สาเหตุหลักของโรคนี้มาจากความไม่เข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม รวมไปถึงการสร้างภาพซ้ำหรือการผลิตภาพลักษณ์เดิมๆของกลุ่มชาติพันธ์บางกลุ่มออกมา ทำให้เกิดความยึดติดกับภาพนั้นจนเกิดเป็นความหวาดกลัว ในขณะเดียวกันเรื่องของภาษาพูดที่แตกต่างกันก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กลัวการเผชิญหน้าและต้องพูดคุยกับคนต่างชาติ วิธีบำบัดอาการ การรักษาโรคหวาดกลัวชาวต่างประเทศก็เหมือนโรควิตกกังวลอื่นๆ ที่จำเป็นต้องมีการบำบัดและฟื้นฟูโดยผู้เชี่ยวชาญ ในบางกรณีมีการใช้ยาเพื่อลดความวิตกกังวล แต่การรักษาส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสงบหรือผ่อนคลายลง เพื่อที่จะสามารถควบคุมปฏิกิริยาของตนเองให้ดีขึ้น พร้อมกับมีการบำบัดพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อช่วยตรวจสอบสาเหตุของความวิตกกังวล และเช่นเดียวกับโรควิตกกังวลรูปแบบอื่นๆ การฟื้นตัวของผู้ที่เป็นโรคหวาดกลัวชาวต่างชาตินั้นเป็นกระบวนการที่อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่ผู้ป่วยจะรู้สึกผ่อนคลายกับชาวต่างชาติหรือคนแปลกหน้า โรคหวาดกลัวชาวต่างชาตินำไปสู่การเหยียดเชื้อชาติอย่างไร ความหวาดกลัวชาวต่างชาติและการเหยียดเชื้อชาติมักจะมีความทับซ้อนกันอยู่ แต่เป็นปรากฏการณ์ที่แตกต่างกัน เพราะในขณะที่การเหยียดเชื้อชาติมักจะสร้างความแตกแยกจากความแตกต่างของลักษณะทางกายภาพ การมีอคติหรือเป็นปรปักษ์ต่อเชื้อชาติ สีผิว […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รักขมหรือรักหวาน? คุณกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่มี การใช้ความรุนแรง หรือเปล่า

เราทุกคนต่างก็ควรมีความสัมพันธ์หรือความรักที่ดี ที่ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย มีคุณค่า และทำให้เรารู้สึกได้ถึงความรักที่แท้จริง แต่สำหรับบางคน อาจยังไม่ได้เจอกับรักดีๆ เพราะมัวแต่อยู่กับความรักแย่ๆ หรือความสัมพันธ์ที่มี การใช้ความรุนแรง ที่ไม่ใช่แค่ทำให้เสียสุขภาพกายและสุขภาพจิต แต่ยังส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคุณอีกหลายด้าน ทั้งการเงิน ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว การงาน สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าความสัมพันธ์ของตัวเองตอนนี้ เป็นความสัมพันธ์ที่มี การใช้ความรุนแรง หรือไม่ Hello คุณหมอ มีจุดสังเกตมาฝาก สัญญาณเตือนว่ารักที่มีไม่ใช่รักที่ดี หลายคนอาจคิดว่าความสัมพันธ์แบบกดขี่ หรือความสัมพันธ์ที่มีการใช้ความรุนแรง (abusive relationship) มักจะต้องมีการลงไม้ลงมือ ทำร้ายร่างกาย แต่ความจริงแล้ว การใช้ความรุนแรงมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบกับแค่ร่างกาย แต่ยังส่งผลต่อจิตใจ ความรู้สึก รวมไปถึงการเห็นคุณค่าในตัวเองของคุณด้วย รูปแบบความสัมพันธ์ที่มีการใช้ความรุนแรง เช่น ทำร้ายร่างกาย เช่น การทุบตี เตะต่อย ดึงผม บีบคอ ขว้างปาข้าวของใส่ ทำให้ร่างกายคุณได้รับบาดเจ็บ ทารุณกรรมทางเพศ ด้วยการข่มขืน กระทำชำเรา หรือบังคับให้คุณทำกิจกรรมทางเพศ เช่น จูบ มีเพศสัมพันธ์ด้วยโดยไม่เต็มใจ ทำร้ายด้วยคำพูด หรือการทำร้ายจิตใจและความรู้สึก เช่น ชอบโกหกหลอกลวง พูดจาดูถูก เหยียดหยาม ตะคอก หรือต่อว่าจนทำให้คุณรู้สึกเศร้า เจ็บปวด รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง และไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อย่าเรียกชื่อเก่า! การเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเกิด (Deadnaming) ส่งผลกระทบกว่าที่คิด

ชื่อ ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่บอกถึงตัวตนของเราได้ สำหรับคนที่ไม่พอใจชื่อเก่า หรือชื่อเดิมของตัวเอง ก็สามารถเปลี่ยนชื่อได้ หากไม่ผิดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อบุคคลตามกฎหมาย เมื่อใครเปลี่ยนชื่อแล้ว เราก็ควรเรียกเขาด้วยชื่อใหม่ที่เขาเลือก เพราะถือเป็นการยอมรับในตัวตน และให้เกียรติคนๆ นั้น โดยเฉพาะ คนข้ามเพศ หรือเพศทางเลือก  ที่เปลี่ยนชื่อให้เข้ากับตัวตนและสถานะเพศจริงๆ ของพวกเขา ซึ่ง Hello คุณหมอ แนะนำว่า คุณควรเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อใหม่ เพราะ การเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเกิด อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด ทำความรู้จักกับ การเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเกิด (Deadnaming) สำหรับเพศทางเลือก โดยเฉพาะผู้ที่เป็นคนข้ามเพศ การเปลี่ยนชื่อจากชื่อเก่าหรือชื่อเกิด มาใช้ชื่อที่ตัวเองเลือกและเหมาะสมกับตัวเอง ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนรอบข้างมองคนข้ามเพศด้วยสภาพเพศที่พวกเขาเป็นจริงๆ ไม่ใช่เพศโดยกำเนิด รวมถึงยังช่วยให้คนข้ามเพศและคนรอบข้างรู้สึกอึดอัดใจน้อยกว่าการถูกเรียกชื่อเดิมด้วย แต่บางครั้งด้วยความเคยชิน คนรอบข้างก็อาจยังเผลอเรียกชื่อคนข้ามเพศด้วยชื่อเก่า หรือซ้ำร้ายกว่านั้น บางคนจงใจเรียกชื่อเก่า หรือชื่อเกิด เพราะต้องการหยอกล้อ ล้อเลียน หรือทำให้คนข้ามเพศอับอาย แม้คนข้ามเพศจะเปลี่ยนชื่ออย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็ตาม ซึ่ง การเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเก่า ชื่อเกิด หรือชื่อก่อนที่พวกเขาจะผ่าตัดแปลงเพศ ซึ่งเป็นชื่อที่พวกเขาไม่ได้ใช้อีกแล้ว ไม่เรียกชื่อคนข้ามเพศด้วยชื่อที่พวกเขาเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เราเรียกว่า “Deadnaming” ผลกระทบของการเรียกชื่อเก่าหรือชื่อเกิด หากเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคนข้ามเพศคนนั้นเปลี่ยนชื่ออย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว อาจทำให้คนข้ามเพศรู้สึกไม่ได้รับการยอมรับ คนไม่ให้เกียรติ หรือเคารพในตัวตนของพวกเขา และการเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเกิด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ คืออะไร ทำแล้วดีต่อสุขภาพจิตหรือเปล่า

ทุกวันนี้ โซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตเราอย่างมาก และจากการสำรวจพบว่าคนไทยใช้โซเชียลมีเดียเป็นประจำ 51 ล้านคน จากจำนวนประชากรประมาณ 69.24 ล้านคน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นประจำ Hello คุณหมอ ชวนให้คุณลองใช้วิธี โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ ดังต่อไปนี้ เหตุผลที่คุณควรทำโซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ หากคุณใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือโซเชียลมีเดีย จนกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณ ก็ถึงเวลาแล้วที่คุณควรจะลองห่างกันสักพักกับโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตบ้าง นอกจากนี้การใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตดังนี้ สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิต งานวิจัยในปี 2016 ให้ข้อมูลว่า ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย วัยประมาณ 20-30 ปี มีภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลเพิ่มขึ้น มากไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า ในโลกโซเชียลมีมาตรฐานความสวยความงาม และความสำเร็จที่ไม่อาจบรรลุได้ จนมีแนวโน้มว่าจะทำให้วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ได้รับผลกระทบ จากการอยู่ภายใต้ความกดดันของความสมบูรณ์แบบเหล่านี้ อาจส่งผลต่อการนอนหลับ งานวิจัยในปี 2014 ที่ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง วัย 19-32 ปี ที่ใช้โซเชียลมีเดียมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันโดยเฉลี่ย และประมาณ 30 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า 57% รายงานว่าพวกเขามีปัญหาการนอนหลับ ซึ่งถ้าการนอนหลับถูกรบกวน จะส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เกิดความเครียด และมีปัญหาสุขภาพตามมาในที่สุด โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ผู้หญิงทำงานหนัก มากกว่า 11 ชั่วโมงต่อวัน อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว

โดยปกติแล้ว การทำงานติดต่อกันเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า (Depression) แต่มีงานวิจัยที่ชี้ว่า ผู้หญิงทำงานหนัก มากกว่า 11 ชั่วโมงต่อวัน อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ทาง Hello คุณหมอ ขอเตือนคุณผู้หญิงหลายๆ ท่าน หากคุณกำลังทำงานหนักเกิน 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แถมยิงยาวไปถึงวันเสาร์อาทิตย์ ระวังเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว งานวิจัยชี้ว่า ผู้หญิงที่ทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร the Journal of Epidemiology & Community Health ให้ข้อมูลว่า ผู้หญิงที่ทำงาน 55 ชั่วโมงหรือมากกว่า ต่อสัปดาห์ และผู้หญิงที่ทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์ มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ดังนั้น ผู้หญิงทำงานหนัก มากกว่า 11 ชั่วโมงต่อวัน อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้ค่อนข้างง่าย งานวิจัยนี้ได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานผู้ชาย 11,215 คน และผู้หญิง 12,188 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม นอกจากผลการศึกษาจะพบว่า ผู้หญิงทำงานมากกว่า 55 […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการ ออกกำลังกาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพิ่มเติมไปกว่านั้น การออกกำลังกาย ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพจิต Hello คุณหมอ มีข้อมูลว่าในด้าน สุขภาพจิต ออกกำลังกาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพจิตดังนี้ ออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างไร ออกกำลังกายช่วยทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น เพราะช่วยลดความกังวล ภาวะซึมเศร้า และอารมณ์ด้านลบ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความนับถือตนเอง (self-esteem) ด้วย มากไปกว่านั้น ยังมีหลักฐานที่พบว่าการออกกำลังกาย สามารถบรรเทาอาการ เช่น การนับถือตนเองต่ำ (low self-esteem) และการปลีกตัวออกจากสังคม และยังสำคัญต่อคนไข้ที่เป็นโรคจิตเภท เนื่องจากคนไข้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคจิตเภท และเข้าร่วมโปรแกรมปรับสภาพร่างกาย เป็นเวลา 3 เดือน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สุขภาพจิตกับการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กัน ในคนไข้โรคจิตเภทมีการพัฒนาในด้านการควบคุมน้ำหนัก และจากรายงานพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของระดับการออกกำลังกาย ความทนทานต่อการออกกำลังกาย ระดับความดันโลหิตลดลง และระดับพลังงานเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มระดับความแข็งแรงของร่างกายส่วนบน และการใช้มือจับด้วย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ให้ออกกำลังกาย 30 นาที ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่า การออกกำลังกาย ดีต่อสุขภาพจิต ตราบใดที่ไม่ได้ออกกำลังกายหนักเกินไป และผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำอีกว่า การออกกำลังกาย 30 […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ไม่มีเงินแล้วหดหู่ เรื่องเงินๆ ทองๆ เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตหรือเปล่า

เงินทองมีปัญหา ปรึกษาใครได้บ้าง Hello คุณหมอ อาจให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินไม่ได้ แต่ช่วยบอกได้ว่า คุณไม่ใช่คนเดียวที่มี ปัญหาเรื่องเงิน เนื่องจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ได้ให้ข้อมูลว่า ประมาณ 75% ของชาวอเมริกันทั้งหมด มีความเครียดหรือความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเงิน บทความนี้จึงมีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากว่า ความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเงิน สามารถส่งผลต่อสุขภาพของเราได้อย่างไรบ้าง ปัญหาเรื่องเงิน กับสุขภาพจิต ปัญหาเรื่องเงินส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างไรบ้าง เรื่องเงินสามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราได้ เช่น ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คุณเคยประสบเหล่านี้ คุณจ่ายเงินเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น แต่เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน จนทำให้ต้องหยุดทำงานหรือไม่สามารถทำงานได้ การหยุดงานจะกระทบกับรายได้ของคุณ คุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการพูดคุยทางโทรศัพท์ เวลาไปธนาคาร หรือกังวลตอนเปิดอ่านจดหมาย คุณรู้สึกว่าถูกบังคับให้ทำงานที่ไม่ชอบ เพราะภาระหนี้สิน คุณอาจหมดกำลังใจที่จะจัดการกับเรื่องเงิน คุณกังวลเวลาที่จ่ายเงินเพื่อชำระหนี้สิน ทั้ง ๆ ที่มีเงินมากพอที่จะจ่าย แต่ก็รู้สึกไม่สบายใจ การจัดการกับเรื่องหนี้สิน ทำให้คุณรู้สึกเครียดและกังวลเกี่ยวกับอนาคต คุณมีเงินไม่พอ ที่จะซื้อของที่จำเป็น หรือปัจจัย 4 เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม หรือยารักษาโรค ปัญหาเรื่องเงินส่งผลต่อความสัมพันธ์ เช่น ยืมเงินจนเสียเพื่อน ซึ่งการมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ งานวิจัยชี้ มีเงินมากขึ้น อาจไม่ทำให้มีความสุขมากขึ้น เป็นความจริงที่ว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องสำคัญ และการมีเงินจะทำให้เรามีความสุข รวมถึงเราจะไม่มีความสุขแน่ ๆ เวลาที่ไม่มีเงิน อย่างไรก็ตาม […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

จัดการอย่างไรกับอาการ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง

ในภาวะที่ชีวิตเต็มไปด้วยความเครียด ความวิตกกังวล แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อความคิดของเราอย่างแน่นอน หากเราไม่สามารถควบคุมและกำจัดมันออกไปได้ ก็ย่อมส่งผลต่อชีวิตของเรา บางคนมีอาการ นอนไม่หลับ[embed-health-tool-heart-rate]เพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง ก่อนนอนทีไรคิดนู้นนี่ ฟุ้งซ่านเต็มไปหมด ไม่ยอมหลับสักที วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับอาการ Racing Thoughts หรืออาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดคิด ว่าเกิดจากอะไรและทำอย่างไรถึงจะควบคุมมันได้   อาการ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง คืออะไร อาการ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง เป็นอาการนอนไม่หลับที่มีสาเหตุมาจากการที่สมองไม่ยอมหยุดคิด ยังคงคิดวนเวียนอยู่แต่เรื่องเดิม ซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งเรื่องส่วนใหญ่ที่มักจะคิดเป็นเรื่องความกลัว เรื่องน่าอายในอดีต ปัญหาต่างๆ ที่เจอมา ซึ่งอาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดคิดทำให้เราวิตกกังวล รู้สึกอึดอัดและไม่มีสมาธิอยู่กับปัจจุบัน แน่นอนว่าอาการต่างๆ เหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ความจำ และการนอนหลับอีกด้วย อาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดคิด ทำให้คุณรู้สึกว่า คุณควบคุมความคิดไม่ได้ ไม่มีสมาธิ อีกสักครู่ก็กลับมาคิดเรื่องเดิมอีกแล้ว แต่อาการเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณมีอาการทางจิต เพียงแค่คุณมีความเครียดและความวิตกกังวลสูงกว่าปกติเท่านั้นเอง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง จริงๆ แล้ว อาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หากทราบถึงต้นต่อของปัญหาที่แท้จริง ก็จะง่ายต่อการรักษาและแก้ไข ลองไปดูกันค่ะว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง ความวิตกกังวล ความวิตกกังวลเป็นสาเหตุที่พบได้ทั่วๆ ไปของ อาการนอนไม่หลับเพพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง ซึ่งอาการนี้มักเกิดขึ้นหลังจาก ที่คุณถูกความวิตกกังวลโจมตี โรคสมาธิสั้น (ADHD) อาการของโรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถมีสมาธิกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ทำให้เมื่อเจอหรือได้รับเหตุการณ์ใหม่ๆ เข้ามาทำให้มุ่งความสนใจไปที่เรื่องใหม่ๆ ที่เข้ามา ทำให้คิดอยู่ตลอดเวลา จนสมองไม่ได้หยุดพัก โรคย้ำคิดย้ำทำ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เพศทางเลือกกับการถูกรังแก ในโรงเรียน

บูลลี่ (Bully) คือการรังแก กลั่นแกล้ง กระทำความรุนแรงไม่ว่าจะเป็นทั้งทางคำพูดหรือการทำร้ายร่างกาย เช่น การพูดจาถากถาง พูดให้เกิดความรู้สึกแย่ เสียดสี ด่าทอ รวมทั้งการทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ การลวนลามก็ถือเป็นการบูลลี่เช่นกัน ซึ่งเป็นปัญหาความรุนแรงในเด็ก โดยเฉพาะเด็ก LGBT มองว่าการถูกบูลลี่เป็นปัญหาชีวิตอันดับ 2 รองลงมาจากเรื่องที่ครอบครัวไม่ยอมรับ ปัญหา เพศทางเลือกกับการถูกรังแก จึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากกับเด็กกลุ่มนี้ เพศทางเลือกกับการถูกรังแก จากการศึกษาพบว่าเด็กที่เป็น LGBT มีโอกาสในการถูกบูลลี่มากกว่าเด็กคนอื่นๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ผู้ที่บูลลี่มองว่า LGBT แตกต่างจากคนอื่น มีความผิดปกติ หรือขัดต่อความเชื่อที่ว่าผู้ชายต้องคู่กับผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งการถูกบูลลี่ มีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษา การขาดเรียน และคุณภาพชีวิตทางอารมณ์ที่ดี ในปี 2017 Government Equalities Office (GEO) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความเท่าเทียมทางสังคมแห่งอังกฤษได้มีการสำรวจพบว่า ร้อยละ 19 ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยถูกล่วงละเมิดทางวาจา ถูกดูหมิ่น หรือถูกวิจารณ์ทางโลกออนไลน์อย่างรุนแรงในช่วงปีที่ผ่านมาเพียงเพราะว่าพวกเขาเป็น LGBT การถูกบูลลี่ส่งผลอย่างไรต่อเด็ก ชีวิตส่วนใหญ่ของเด็กวัยเรียนก็มักจะอยู่ในโรงเรียนเป็นหลัก เมื่อถูกบูลลี่ในโรงเรียนก็เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องส่งผลกระทบต่อเด็กๆ อย่างแน่นอน พ่อแม่ ผู้ปกครองหรือว่าคุณครูไม่ควรปล่อยปะละเลยเด็กๆ เหล่านี้ เพราะผลกระทบที่เกิดจากการถูกบูลลี่ร้ายแรงกว่าที่เราคิด ไม่ว่าจะเป็น การใช้สารเสพติด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเด็กในกลุ่ม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน