สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เลิก เกลียดตัวเอง แล้วหันมาเรียนรู้วิธีก้าวข้ามมันไปดีกว่า

ความรู้สึกเกลียดตัวเอง ไม่ชอบตัวเองล้วนเป็นสิ่งทีทุกๆ นั้นมีด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการไม่ชอบนิสัยตัวเอง ไม่ชอบที่ตัวเองอ่อนไหวกับเรื่องง่ายๆ หรือแม้แต่กระทั่งไม่ชอบที่ตัวเองมักเสียใจ น้อยใจจากการกระทำของคนอื่น จนเก็บมาคิดมาอยู่บ่อย ๆ แต่สำหรับบางคนกลับคิดว่าตัวเองนั้นไม่ดีไปหมดเสียทุกอย่าง แล้วก็เอาแต่โทษตัวเองอยู่อย่างนั้น แล้วก็คิดแต่ว่าตัวเองนั้นไม่สามารถดีขึ้นได้ ซึ่งก็ยิ่งทำให้เราไม่สามารถรู้สึกดีขึ้นสักที วันนี้ Hello คุณหมอ อยากชวนทุกคนมาสำรวจความรู้สึกของตนเองกันว่าอะไรที่เป็นสาเหตุทำให้เรารู้สึก เกลียดตัวเอง เพื่อที่เราจะได้ก้าวข้ามความรู้สึกนี้ไปให้ได้ สาเหตุที่ทำให้เรารู้สึก เกลียดตัวเอง ความรู้สึกเกลียดชังตัวเอง เป็นความรู้สึกที่ก่อตัวขึ้นจากหลายปัจจัยรวมกันทั้งความเจ็บปวดที่พบเจอ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ความคาดหวังต่าง ๆ ที่แบกรับ และพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่พบคือ การบาดเจ็บ หลายคนที่มีความเกลียดชังตัวเองนั้น มักจะเคยผ่านเรื่องราวที่เลวร้าย เจ็บปวดในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการถูกล่วงละเมิดทางเพศ การถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ หรือแม้แต่กระทั่งการถูกทอดทิ้ง เมื่อได้ผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มาก็จะทำให้เขามองโลกเปลี่ยนไป รู้สึกว่าโลกนี้ไม่ปลอดภัย คนรอบ ๆ ตัวนั้นเป็นอันตราย และคิดไปเองว่าตัวเองนั้นไม่มีค่าพอที่จะได้รับความรักจากใคร ผิดหวังกับสิ่งที่ตั้งใจ เป็นเรื่องปกติที่คนทุก ๆ คนอยากจะเป็นที่ยอมรับ จึงพยายามทำทุกอย่างอย่างดีที่สุด ไม่มีข้อบกพร่อง แต่บางครั้งเราก็มักจะคาดหวังมากเกินไป หรือมากเกินความสามารถของตนเอง เมื่อทำไม่ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ ก็จะทำให้รู้สึกผิดหวัง รู้สึกว่าตนเองนั้นล้มเหลว แม้หลาย ๆ คนจะเข้าใจว่าสิ่งที่เราคาดหวังไว้นั้นมันไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย แต่ความรู้สึกของเราก็ยังมองว่าตัวเองนั้นล้มเหลวอยู่ดี […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ทรายบำบัด (Sand Tray Therapy) ระบายความในใจลงในถาดทราย

ผู้ป่วยบางรายมีเรื่องทุกข์ใจที่ไม่กล้าเล่าให้ใครฟัง พวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อต้องเล่าถึงเรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้น หรือบางครั้งเขาก็ไม่สามารถสื่อสารความรู้สึกอันหนักอึ้งภายในใจได้ แม้ว่าการพบจิตแพทย์จะเป็นพื้นที่ที่เขาจะมีสิทธิ์พูด อธิบายความรู้สึกของตนเองได้อย่างเต็มที่ แต่สำหรับบางคนการสื่อสารก็เป็นเรื่องยาก เขาอาจจะไม่สามารถอธิบายมันออกมาได้ ดังนั้นจิตแพทย์มักมีวิธีการอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยได้แสดงความรู้สึกของตนเองออกมา ผ่านสิ่งต่า งๆ เช่น ตุ๊กตา ศิลปะ หรือ ถาดทราย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ทรายบำบัด มาให้ได้อ่านกันค่ะ ใครที่สงสัยว่าการใช้ถาดทรายในการบำบัดนั้นเป็นอย่างไร ไปอ่านกันเลยค่ะ ทรายบำบัด (Sand Tray Therapy) คืออะไร ทรายบำบัด (Sand Tray Therapy) เป็นรูปแบบการบำบัดที่นำ การเล่นบำบัด (Play Therapy) มาใช้ร่วมกับการบำบัดแนวซาเทียร์ (Satir Model; Satir Transformational Systemic Therapy) ซึ่งในถาดทรายนั้นมักจะเต็มไปด้วยตุ๊กตาและของเล่นตัวจิ๋วที่มีความหลากหลาย เพื่อให้เขาได้สร้างโลกแห่งการเล่นที่แทนความรู้สึกในใจของเขา การบำบัดด้วยทรายนั้นเป็นการบำบัดที่มักจะใช้กับผู้ป่วยที่ประสบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ มีความทุกข์ มีบาดแผลในใจ เคยเจอเหตุการณ์ในอดีตที่เลวร้าย หรือกำลังเผชิญกับปัญหาที่เลวร้ายในปัจจุบัน จนส่งผลต่อสุขภาพของตัวเอง การใช้ทรายบำบัดเป็นการทำลายกำแพงความกลัวในใจของผู้ป่วย เป็นตัวช่วยให้ผู้ป่วยเปิดใจ กล้าที่จะสื่อสารกับหมอมากขึ้น หลักการทำงานของการใช้ทรายบำบัด แพทย์มักเลือกใช้ทรายบำบัดกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารความรู้สึกทุกข์ เจ็บปวดที่มีอยู่ในใจของตัวเองออกมาได้ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เลิกเหยียดคนอื่นกันเถอะ เพราะ การเหยียด มีแต่จะทำให้เสียสุขภาพ

การดูถูก หรือ การเหยียด ผู้อื่นนั้นมีอยู่ในทุกสังคม คนเราสามารถเหยียดกันได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา การแต่งตัว หน้าที่การงาน รูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ หรือที่กำลังเป็นประเด็นร้อนอยู่ในขณะนี้ก็คือ เหตุการณ์ความสูญเสียที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดเชื้อชาติ หรือการเหยียดสีผิวในสหรัฐอเมริกา ซึ่งกลายเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้คนทั่วโลกหันมาต่อต้านการเหยียดกันอย่างเต็มที่ หากว่ากันตามตรง คุณเองก็อาจจะเคยเหยียดคนอื่นโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน และบ่อยครั้ง การเหยียดผู้อื่นทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจก็มักจะนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างปัญหาด้านความสัมพันธ์ ปัญหาอาชญากรรมในสังคม รวมไปถึงปัญหาด้านสุขภาพด้วย ว่าแต่การเหยียดนั้นจะส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง เราไปดูกันเลย ผลกระทบต่อสุขภาพจาก การเหยียด การเหยียด กับปัญหาสุขภาพกาย งานวิจัยโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (USC) และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Psychoneuroendocrinology เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 ระบุว่า การโดนเหยียดเรื่องเชื้อชาติและการโดนเลือกปฏิบัติทำให้ร่างกายของชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาเกิดภาวะอักเสบในระดับเซลล์มากขึ้น และเมื่อเซลล์ในร่างกายอักเสบนาน ๆ เข้า ก็สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเรื้อรังได้ เช่น ภาวะหัวใจวาย โรคมะเร็งระยะแพร่กระจาย (Metastatic cancer) กลุ่มโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท (Neurodegenerative diseases) อย่างโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น โดยงานศึกษาวิจัยชิ้นนี้มีกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมงานศึกษาวิจัยในครั้งนี้ทั้งสิ้น 71 […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

การเหยียดเชื้อชาติ (Racism) พฤติกรรมที่นำไปสู่ความวุ่นวายในสังคม

ปัจจุบันนี้โลกของเรามีเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ชีวิตประจำวันของเรามีความสะดวกสบายมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันความเจริญทางเทคโนโลยีอาจไม่ได้ช่วยยกระดับความเจริญทางจิตใจของมนุษย์ให้พัฒนาตามไปด้วยเท่าไหร่นักในบางกรณี ดังที่เรามักจะเห็นการใช้เครื่องมือสื่อสารอันเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการกลั่นแกล้ง สร้างความเสื่อมเสียให้กับกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น การใช้โซเชียลเพื่อบูลลี่ผู้อื่น การนำเสนอข่าวปลอมเพื่อสร้างความเกลียดชัง หรือแม้แต่ การเหยียดเชื้อชาติ (Racism) ที่ขณะนี้กำลังเป็นประเด็นใหญ่อยู่ทั่วทุกมุมโลก แล้วการเหยียดเชื้อชาติ นำไปสู่ปัญหาความรุนแรงได้อย่างไร มาติดตามสาระเรื่องนี้ได้จาก Hello คุณหมอ การเหยียดเชื้อชาติ เป็นอย่างไร การเหยียดเชื้อชาติ (Racism) สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายลักษณะและไม่เลือกสถานที่ เป็นพฤติกรรมที่มีอคติต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชาติพันธุ์หรือสีผิว และแสดงออกด้วยการเลือกปฏิบัติกับบุคคลอื่น โดยอาจอ้างอิงสาเหตุจากความไม่ชอบหรือเกลียดชังในเชื้อชาติ สีผิว รูปร่างหน้าตา หรือภาษาพูด ผู้ที่กระทำการเหยียดผู้อื่นจะมีความเข้าใจในมุมมองและความเชื่อที่ตนเองได้รับมาอย่างยาวนานว่า การกระทำของตนเองนั้นเหมาะสม และผู้อื่นที่แตกต่างไม่ควรจะมีสิทธิ์เท่าเทียมกับตนเอง ส่วนผู้ที่ถูกเหยียดนั้น อาจเป็นคนกลุ่มเล็กๆ ในสังคมนั้นๆ จึงถูกมองว่าแปลกแยก หรือแตกต่าง บ่อยครั้งที่การเหยียดนำไปสู่การแสดงออกที่ไม่เหมาะสม ตั้งแต่การล้อเลียน การกลั่นแกล้ง การบูลลี่ หรือร้ายแรงไปจนถึงขั้นที่มีการทำร้ายร่างกาย และอาจรุนแรงจนถึงขั้นที่อีกฝ่ายมีการเสียชีวิตขึ้นมา นอกเหนือไปจากประเด็นของความเชื่อและแนวคิดที่ได้รับปลูกฝังมาอย่างยาวนานจนนำไปสู่การแสดงออกถึงการเหยียดเชื้อชาติ อีกหนึ่งสาเหตุที่อาจจะมีส่วนก็คือ พฤติกรรมของโรคเกลียดกลัวชาวต่างชาติ (xenophobia) ซึ่งอาจมีที่มาจากความเขินอาย ความไม่คุ้นเคย ความไม่ถนัดทางภาษา และไม่ต้องการที่จะพบปะหรือพูดคุยกับชาวต่างประเทศ หรืออาจแย่กว่านั้นคือ อาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกเกลียดชัง หรือความรู้สึกที่นำไปสู่การเหยียดได้ ปัญหาที่มาจากการเหยียดเชื้อชาติ ปัญหาเรื่องของการเหยียดเชื้อชาติ เป็นปัญหาที่ถูกพูดถึงกันมาอย่างยาวนานในสังคมโลกของเรา การเหยียดไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด แต่เมื่อแสดงออกไปแล้ว ผู้ที่ถูกกระทำย่อมได้รับความเจ็บปวด […]


โรควิตกกังวล

คำพูดต้องห้าม ที่ไม่ควรพูดกับคนที่เป็นโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่เท่ากัน ผู้ที่เป็นมักมีอาการที่ต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาเหมือนกันคือ ต้องการกำลังใจจากคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นจากการกระทำ หรือคำพูด แต่รู้หรือไม่ว่า ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลนอกจากมักมี ความวิตกกังวล แล้วยังมีความอ่อนไหวต่อคำพูดบางอย่าง แล้ว คำพูดต้องห้าม ที่ไม่ควรพูดกับคนเป็นโรควิตกกังวลมีอะไรบ้าง Hello คุณหมอ นำมาฝากกัน คำพูดต้องห้าม สำหรับผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล แม้ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลมักจะต้องการได้กำลังใจจากคนรอบข้าง แต่ก็มีบางคำพูดที่ทำให้พวกเขารู้สึกอึดอัดขึ้นมาได้ ลองมาดูกันว่า คำพูดต้องห้าม เหล่านั้นมีอะไรบ้าง “ทำไมคุณเงียบๆ” แม้คำถามอาจจะดูเหมือนไม่มีอะไร แต่มันไม่สามารถพูดกับผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลได้ เพราะการถามว่า “ทำไมคุณเงียบ” มันเหมือนบ่งบอกว่าคุณกำลังให้ความสนใจไปที่ความกังวลใจของพวกเขา และพวกเขาก็ไม่มีวิธีที่ดีในการตอบคำถามนี้อย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าคุณต้องการเริ่มบทสนทนาจริงๆ ลองใช้คำถามปลายเปิดเกี่ยวกับหัวข้อที่บุคคลนั้นชื่นชอบ หรือพยายามแบ่งปันเรื่องราวตลกๆ จะดีกว่า “ไม่ต้องกังวล” ความกังวลนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบตั้งแต่แบบเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง บางความกังวลสามารถส่งผลต่อตัวบุคคลก็มี การพยายามปลอบใจผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลจึงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เพราะพวกเขาไม่สามารถละทิ้งความรู้สึกเหล่านี้ไปได้ หากคุณอยากปลอบใจเขาจริงๆ เพียงคุณบอกว่าคุณมาที่นี่เพื่อพวกเขา แล้วบอกให้พวกเขาได้รู้ว่า ถ้าเขาไม่อยากพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นก็ไม่เป็นไร โดยไม่ต้องพยายามเสนอวิธีแก้ไขปัญหา หรืออย่าคาดหวังให้พวกเขาเลิกมี ความวิตกกังวล อย่างรวดเร็ว “หยุดนะ” คำว่า “หยุดนะ” จะทำให้ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลรู้สึกเสียขวัญ หรือคิดว่าพวกเขากำลังอยู่ในอันตราย และต้องหาวิธีอยู่รอดเสียมากกว่า เพราะช่วงที่พวกเขากำลังวิตกกังวล มันมักจะทำให้พวกเขาคิดหาทางต่อสู้ หรือการเอาตัวรอด นอกจากนั้น สมองของพวกเขายังไม่สามารถคิดได้อย่างมีเหตุผลอีกด้วย “คุณแค่ต้องคิดในแง่บวก” มันเป็นเรื่องยากที่จะบอกให้คนที่มีอาการป่วยทางจิตคิดในแง่บวกได้ เนื่องจากพวกเขากำลังคิดจะหากทางเอาชนะกับสิ่งที่เกิดขึ้น แม้ว่าคุณคิดว่าคำแนะนำของคุณอาจจะมีประโยชน์ แต่มันก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ “คุณแค่ต้องเผชิญหน้ากับความกลัว” ความคิดนี้มักจะควบคู่ไปกับการคิดเชิงบวก […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ระวัง เสพข่าวมากเกินไป อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิต

ในช่วงนี้ มีข่าวที่สร้างความตึงเครียดปรากฏอยู่บนช่องทางสื่อต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ หรือข่าวอาชญากรรมก็มีมาให้เห็นได้ไม่เว้นวัน การที่เรารับฟังข่าวสารเพื่อให้ท่วงทันสถานการณ์นั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ดี แต่การ เสพข่าวมากเกินไป โดยเฉพาะข่าวร้ายๆ แบบนี้ อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิตของผู้รับข่าวสารได้ การเสพข่าวมากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพจิต หาคำตอบได้จากบทความนี้ เสพข่าวมากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพจิต ตามปกติแล้ว ข่าวที่เราพบเห็นตามสื่อต่าง ๆ มักจะเป็นข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี เนื่องจากข่าวที่สะเทือนใจนั้นมักจะดึงดูดความสนใจได้มากกว่า สื่อต่าง ๆ จึงมักชอบที่จะเลือกรายงานข่าวที่สร้างความสะเทือนใจ เช่น ข่าวโรคระบาด ข่าวก่อการร้าย ข่าวการเมือง ข่าวมหันตภัย และแทบจะไม่ให้ความสนใจกับการรายงานข่าวที่เป็นด้านบวกเลย เพราะข่าวร้ายนั้นจะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้รับชมได้ง่าย ความให้เกิดความน่าสนใจ น่าติดตาม และเมื่อเราเสพข่าวสารเหล่านั้นไปมาก ๆ ก็จะกลายเป็นความกังวลและความเครียด ส่งผลให้สุขภาพจิตแย่ลงอีกด้วย คนส่วนใหญ่ที่ได้รับฟังข่าวด้านลบนั้นมักจะรู้สึกไม่ปลอดภัย วิตกกังวล ด้อยค่า สิ้นหวัง และกังวลกับอนาคตที่จะเกิดขึ้น เช่น ในช่วงที่มีเหตุการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ โควิด-19 สื่อทุกช่องก็จะรายงานข่าวเกี่ยวกับโรคระบาดนี้อยู่ทุกวัน ว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นกี่ราย เสียชีวิตไปแล้วกี่คน เราสามารถพบเจอข่าวเหล่านี้ได้เกือบทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นบนทีวี วิทยุ หรือแม้แต่ในโซเชียลมีเดีย ผู้ที่รู้สึกเป็นกังวลต่อสถานการณ์ก็จะยิ่งเกาะติดสถานการณ์ คอยอัพเดทข่าวสารอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการเพิ่มความกังวลและความเครียดให้กับตัวเองด้วยเช่นกัน การเสพข่าวสารมากเกินไป […]


การเสพติด

ใครชอบทาลิปมันมาทางนี้! เช็กสิ คุณเข้าขั้น เสพติดลิปมัน หรือเปล่า

ไหนลองเช็กสิ คุณมีลิปมัน ลิปบาล์ม หรือลิปบำรุงริมฝีปากในครอบครองทั้งหมดกี่แท่ง แล้วคุณทาลิปมันแทบจะตลอดเวลา… หิวก็ทา เครียดก็ทาหรือเปล่า แล้วคุณซื้อลิปมันบ่อยมากจนเพื่อนทักเลยใช่ไหม หากใครพยักหน้าหรือตอบว่าใช่ คุณอาจเข้าขั้น เสพติดลิปมัน แล้วก็ได้นะ ว่าแต่แค่ไหนถึงเรียกว่าเสพติดลิปมัน  แล้วจะป้องกันหรือแก้ไขได้อย่างไรบ้าง เรามีคำตอบมาให้แล้ว และไม่ใช่แค่นั้น เพราะเรายังมีเคล็ดลับดี ๆ ในการเลือกซื้อลิปมันให้ดีต่อริมฝีปากมาฝากคุณด้วย ชอบทาลิปมัน กับเสพติดลิปมันต่างกันยังไง เวลาคุณแสดงพฤติกรรมอะไรบ่อย ๆ คุณก็จะติดเป็น “นิสัย” คือ ร่างกายจะแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นออกมาเองตามสัญชาตญาณ โดยที่คุณไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ซึ่งพฤติกรรมการทาลิปมันก็เป็นอย่างนั้นเช่นกัน เมื่อคุณทาลิปมันบ่อย นาน ๆ ไปคุณก็จะหยิบลิปมันมาทาจนเป็นนิสัย หรือ “ชอบทาลิปมัน” ไปโดยปริยาย แต่ “การเสพติด” นั้น ถือเป็นโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง ส่งผลให้คุณรู้สึกอยากหรือกระหายสสารใดสสารหนึ่งอย่างรุนแรง หรืออยากแสดงพฤติกรรมบางอย่างอย่างหนัก ที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ก็เช่น การเสพติดยา หรือที่มักเรียกว่า การติดยาเสพติดนั่นเอง ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การเสพติดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอย่าง นิสัยหรือความชอบ หากกลายมาเป็นข้อบังคับหรือสิ่งที่ต้องทำอย่างเลี่ยงไม่ได้ ก็ถือเป็นการเสพติดเช่นกัน ฉะนั้น ความชอบทาลิปมันของคุณ วันหนึ่งก็อาจกลายเป็นการเสพติดลิปมันได้เช่นกัน และเมื่อคุณเสพติดอะไรบางอย่าง ก็มักจะทำให้เกิดผลเสียตามมา อย่างในกรณีของลิปมัน […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

6 พฤติกรรมทำลายชีวิตคู่ ที่ทำให้คนรักต้องเลิกรากันมากที่สุด

ไม่ว่าใครต่างก็อยากรักษาความรักและความสัมพันธ์ให้ยั่งยืนยาว อยู่เคียงคู่กับคนรักไปจนแก่เฒ่า แต่ในบางครั้ง เราอาจไม่เคยสังเกตเลยว่า พฤติกรรมบางอย่างที่เราแสดงออกมา อาจกลายเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ความรักของเราต้องถึงจุดจบ และเลิกรากันไปอย่างน่าเสียดาย วันนี้ Hello คุณหมอ จะมานำเสนอ 6 พฤติกรรมทำลายชีวิตคู่ ที่ควรหลีกเลี่ยง หากอยากให้ความรักยังคงยืนยาว พฤติกรรมทำลายชีวิตคู่ ที่ทำให้คนรักต้องเลิกรา 1. ทำให้คนรักอับอายในที่สาธารณะ พฤติกรรมสร้างความอับอาย ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยความลับ การล้อเลียนข้อด้อย จุดอ่อน หรือการดุด่าว่ากล่าวในที่สาธารณะ ทั้งต่อหน้าเพื่อนที่น้อง หรือต่อหน้าคนอื่น ๆ ที่ไม่รู้จัก ก็ล้วนแล้วแต่ก็สร้างความอับอายให้แก่อีกฝ่ายทั้งสิ้น ไม่มีใครชอบที่จะต้องมาอับอายต่อหน้าคนอื่นกันทั้งนั้น แล้วทำไมเราถึงได้แสดงพฤติกรรมที่สร้างความอับอายแก่คนรักของเรากันล่ะ แม้ว่าเจตนาของเราอาจจะเป็นเพียงแค่เรื่องล้อเล่น ขบขัน หรือความพยายามในการอยากให้คนรักเปลี่ยนแปลงตัวหรือนิสัยที่เราคิดว่าไม่ดี แต่อย่างไรก็ไม่ควรที่จะพูดขึ้นมาขณะที่กำลังอยู่ในที่สาธารณะ แต่ควรเก็บไว้ไปพูดในที่ส่วนตัว ที่ผู้ฟังจะรู้สึกว่าปลอดภัย และสามารถรับฟังข้อติเตียนของเราได้ดีกว่า อีกทั้งยังเป็นการถนอมน้ำใจอีกฝ่าย ไม่ให้ต้องอับอายต่อหน้าคนอื่น ๆ อีกด้วย 2. ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง การสื่อสารนั้นเป็นสิ่งสำคัญถ้าอยากให้ชีวิตคู่ยั่งยืนยาว แต่หากเมื่อเกิดปัญหาทะเลาะกัน แล้วเราเอาแต่ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง ไม่รู้จักรับฟังเหตุผลของอีกฝ่าย หรือทะเลาะต่อล้อต่อเถียงกันด้วยถ้อยคำที่รุนแรง จนทำให้เกิดความบาดหมางใจกัน ก็อาจกลายเป็นสาเหตุ นำพาความรักไปยังจุดจบได้ง่าย ๆ การใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งนั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้คนรักหลายคู่ต้องเลิกรากัน ยิ่งโดยเฉพาะหลาย ๆ คนเวลาที่รู้สึกโมโหอย่างรุนแรง มักจะไม่ค่อยระวังคำพูดของตัวเอง และอาจเผลอพูดคำที่ทำร้ายจิตใจของอีกฝ่ายได้ง่าย ๆ แม้ว่าจะไม่เจตนา […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

‘รักตัวเอง’ กับ ‘หลงตัวเอง’ ความแตกต่าง ที่มีเพียงแค่เส้นบาง ๆ คั่นไว้

ความรู้สึก ‘รักตัวเอง’ เป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ควรจะต้องมีไว้ เพราะเป็นความรู้สึกที่ทำให้เรารู้จักการนับถือตัวเอง มีความมั่นใจ และสามารถทำสิ่งดีๆ ให้ตัวเองได้ แต่การรักตัวเองจนมากเกินไป อาจกลายเป็นความ ‘หลงตัวเอง’ ได้ในที่สุด รักตัวเองกับหลงตัวเอง นั้นแตกต่างกันอย่างไร และเราจะรักตัวเองอย่างไร ไม่ให้กลายเป็นหลงตัวเอง หาคำตอบได้จากบทความนี้   รักตัวเองกับหลงตัวเอง แตกต่างกันอย่างไร การ ‘รักตัวเอง (Self-love)’ นั้น เป็นความรู้สึกที่ใกล้เคียงกับ ความนับถือตัวเอง (Self-esteem) และความเคารพตัวเอง (Self-respect) หมายถึง การที่คุณนับถือตัวเองได้มากพอที่จะไม่ยอมรับและปฏิเสธผู้ที่เข้ามาทำร้ายคุณ ทั้งทางกายและทางจิตใจ การรักตัวเอง หมายถึง รู้จักภูมิใจในตัวเอง สามารถยอมรับข้อผิดพลาดและความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเอง เพื่อให้สามารถเผชิญหน้ากับความล้มเหลวหรือความผิดพลาดของตัวเองได้ โดยที่ไม่เกินเลยไปถึงขั้นการเอาแต่ใจและเห็นแก่ตัว ในทางกลับกัน การ ‘หลงตัวเอง (Narcissism)’ นั้น เป็นความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพประเภทหนึ่ง หมายถึง ผู้ที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนสำคัญมากผิดปกติ และขาดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอย่างสิ้นเชิง ผู้ที่หลงตัวเองนั้นจะเชื่อว่าตัวเองเหนือกว่าผู้อื่น และมีเพียงผู้ที่สูงส่งเหมือนตัวเองเท่านั้นถึงจะเข้าใจความรู้สึกของพวกเขาได้ คนที่ หลงตัวเอง โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะต้องการการยอมรับและคำชื่นชมจากคนรอบข้างอยู่เสมอ เพราะความนับถือตนเองของคนเหล่านี้ค่อนข้างที่จะเปราะบาง ยกตัวอย่างเปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น การได้รับการยอมรับ ผู้ที่ รักตัวเอง จะมีความรู้สึกนับถือตัวเองมากเพียงพออยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ในขณะที่ผู้ที่ หลงตัวเอง นั้นต้องการเป็นที่ยอมรับและจดจำจากผู้อื่น หากไม่มีคนคอยชม […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

แค่นอน ฟังเสียงฝน ลดความเครียด ได้จริงหรือไม่

ในช่วงฤดูฝนแบบนี้ หลาย ๆ คนคงจะเกลียดความเฉอะแฉะของน้ำเจิ่งนองหลังฝนตก หรือเกลียดความยากลำบากในการเดินทางในวันฝนตก ทั้งถนนลื่น รถติด คนแน่นไปหมด แต่ในความยากลำบากของฤดูฝน ก็ยังมีสิ่งที่ดี ๆ ที่ช่วยให้เราผ่อนคลาย ลดความเครียด ด้วยการนอน ฟังเสียงฝน ลดความเครียด ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการนอนฟังเสียงฝนตกนั้น มีส่วยช่วยลดความเครียดได้อย่างไรบ้าง ไปอ่านกันเลยค่ะ เสียงจากธรรมชาติส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างไรบ้าง การเดินในป่า หรือแม้กระทั่งการได้ยินเสียงธรรมชาติจากแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็ส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ และยังช่วยส่งผลต่อสมองอีกด้วย เมื่อได้ฟังเสียงน้ำไหล เสียงทะเล หรือเสียงใบไม้ไหว หรือแม้กระทั่งเสียงนกร้อง สมองของคุณก็จะรู้สึกปลอดโปร่ง นักวิจัยได้พยายามหาคำอธิบายว่า ทำไมเสียงจากธรรมชาติ มีส่วนในการฟื้นฟูจิตใจของคนเราได้ จากการศึกษาพบว่า เสียงจากธรรมชาติเหล่านี้จะช่วยปรับการสื่อสารในสมอง ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายลงได้เองเมื่อได้ยินเสียงจากธรรมชาติ งานวิจัยบางชิ้นที่ได้ทำการศึกษา ผู้ใหญ่ที่มีร่างกายที่แข็งแรงจำนวน 11 คน โดยให้พวกเขาเข้ารับการตรวจการทำงานของสมองด้วยรูปแบบ Functional magnetic resonance imaging (FMRI) ในขณะที่กำลังฟังเสียงของธรรมชาติ และเสียงที่เกิดจากคนทำ เปรียบเทียบกัน พบว่าในขณะที่พวกเขาได้ฟังเสียงที่เกิดจากการที่คนทำขึ้น สมองจะมีทำงานโดยสนใจแต่ตนเอง ทำให้เกิดความเครียด อาการซึมเศร้า และความวิตกกังวล ที่สำคัญผู้ที่เข้ารับการทดลองโดยการฟังเสียงที่เกิดจากคนนั้นมีการตอบสนองที่ช้า ในขณะที่คนที่ฟังเสียงจากธรรมชาติพบว่าการทำงานของสมองมีการผ่อนคลายขึ้น และยังมีส่วนช่วยเพิ่มการตอบสนองของการทำงานของระบบประสาท […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน