สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

เช็กอาการ PTSD หลังแผ่นดินไหว และวิธีการรับมือ

แผ่นดินไหว คือภัยพิบัติทางธรรมชาติจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน โดยเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชั้นหินและดิน ซึ่งอาจมีตั้งแต่การสั่นสะเทือนระดับเบาไปจนถึงรุนแรง และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ถนนหรือตึก และอาจส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเกิดความวิตกกังวลหรือภาวะ PTSD ได้หลังจากนั้น [embed-health-tool-bmi] PTSD ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว PTSD (Post-traumatic stress disorder) คือ ความผิดปกติของสภาพจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์รุนแรง ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยปกติแล้ว คนที่ผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงอาจจะปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ในช่วงสั้น ๆ ได้ยาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการก็มักจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงไม่ดีขึ้นแม้เวลาจะผ่านไป และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็จะถือว่าคนนั้นมีอาการ PTSD ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว 7.7 ริกเตอร์ที่เมียนมาร์ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนไปจนถึงประเทศโดยรอบ รวมไปถึงประเทศไทย จนทำให้เกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม ซึ่งส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งคนที่อยู่ในเหตุการณ์ คนใกล้เคียง หรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับรู้ผ่านทางข่าวจากช่องทางต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิด PTSD จากเหตุการณ์นี้ได้ทั้งสิ้น  การเข้ารับการรักษาหลังจากมีอาการ PTSD เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถรับมือและจัดการกับสภาพจิตใจให้ดียิ่งขึ้นได้ อาการ PTSD อาการ PTSD มักจะปรากฏภายในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากเหตุการณ์รุนแรง แต่บางคนอาจมีอาการหลังจากนั้นหลายปีก็ได้เช่นกัน  อาการของ PTSD ที่พบได้ มีดังนี้ มองเห็นเหตุการณ์เดิมซ้ำ ๆ […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

จัดการอย่างไรกับอาการ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง

ในภาวะที่ชีวิตเต็มไปด้วยความเครียด ความวิตกกังวล แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อความคิดของเราอย่างแน่นอน หากเราไม่สามารถควบคุมและกำจัดมันออกไปได้ ก็ย่อมส่งผลต่อชีวิตของเรา บางคนมีอาการ นอนไม่หลับ[embed-health-tool-heart-rate]เพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง ก่อนนอนทีไรคิดนู้นนี่ ฟุ้งซ่านเต็มไปหมด ไม่ยอมหลับสักที วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับอาการ Racing Thoughts หรืออาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดคิด ว่าเกิดจากอะไรและทำอย่างไรถึงจะควบคุมมันได้   อาการ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง คืออะไร อาการ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง เป็นอาการนอนไม่หลับที่มีสาเหตุมาจากการที่สมองไม่ยอมหยุดคิด ยังคงคิดวนเวียนอยู่แต่เรื่องเดิม ซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งเรื่องส่วนใหญ่ที่มักจะคิดเป็นเรื่องความกลัว เรื่องน่าอายในอดีต ปัญหาต่างๆ ที่เจอมา ซึ่งอาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดคิดทำให้เราวิตกกังวล รู้สึกอึดอัดและไม่มีสมาธิอยู่กับปัจจุบัน แน่นอนว่าอาการต่างๆ เหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ความจำ และการนอนหลับอีกด้วย อาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดคิด ทำให้คุณรู้สึกว่า คุณควบคุมความคิดไม่ได้ ไม่มีสมาธิ อีกสักครู่ก็กลับมาคิดเรื่องเดิมอีกแล้ว แต่อาการเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณมีอาการทางจิต เพียงแค่คุณมีความเครียดและความวิตกกังวลสูงกว่าปกติเท่านั้นเอง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง จริงๆ แล้ว อาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หากทราบถึงต้นต่อของปัญหาที่แท้จริง ก็จะง่ายต่อการรักษาและแก้ไข ลองไปดูกันค่ะว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง ความวิตกกังวล ความวิตกกังวลเป็นสาเหตุที่พบได้ทั่วๆ ไปของ อาการนอนไม่หลับเพพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง ซึ่งอาการนี้มักเกิดขึ้นหลังจาก ที่คุณถูกความวิตกกังวลโจมตี โรคสมาธิสั้น (ADHD) อาการของโรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถมีสมาธิกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ทำให้เมื่อเจอหรือได้รับเหตุการณ์ใหม่ๆ เข้ามาทำให้มุ่งความสนใจไปที่เรื่องใหม่ๆ ที่เข้ามา ทำให้คิดอยู่ตลอดเวลา จนสมองไม่ได้หยุดพัก โรคย้ำคิดย้ำทำ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เพศทางเลือกกับการถูกรังแก ในโรงเรียน

บูลลี่ (Bully) คือการรังแก กลั่นแกล้ง กระทำความรุนแรงไม่ว่าจะเป็นทั้งทางคำพูดหรือการทำร้ายร่างกาย เช่น การพูดจาถากถาง พูดให้เกิดความรู้สึกแย่ เสียดสี ด่าทอ รวมทั้งการทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ การลวนลามก็ถือเป็นการบูลลี่เช่นกัน ซึ่งเป็นปัญหาความรุนแรงในเด็ก โดยเฉพาะเด็ก LGBT มองว่าการถูกบูลลี่เป็นปัญหาชีวิตอันดับ 2 รองลงมาจากเรื่องที่ครอบครัวไม่ยอมรับ ปัญหา เพศทางเลือกกับการถูกรังแก จึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากกับเด็กกลุ่มนี้ เพศทางเลือกกับการถูกรังแก จากการศึกษาพบว่าเด็กที่เป็น LGBT มีโอกาสในการถูกบูลลี่มากกว่าเด็กคนอื่นๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ผู้ที่บูลลี่มองว่า LGBT แตกต่างจากคนอื่น มีความผิดปกติ หรือขัดต่อความเชื่อที่ว่าผู้ชายต้องคู่กับผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งการถูกบูลลี่ มีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษา การขาดเรียน และคุณภาพชีวิตทางอารมณ์ที่ดี ในปี 2017 Government Equalities Office (GEO) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความเท่าเทียมทางสังคมแห่งอังกฤษได้มีการสำรวจพบว่า ร้อยละ 19 ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยถูกล่วงละเมิดทางวาจา ถูกดูหมิ่น หรือถูกวิจารณ์ทางโลกออนไลน์อย่างรุนแรงในช่วงปีที่ผ่านมาเพียงเพราะว่าพวกเขาเป็น LGBT การถูกบูลลี่ส่งผลอย่างไรต่อเด็ก ชีวิตส่วนใหญ่ของเด็กวัยเรียนก็มักจะอยู่ในโรงเรียนเป็นหลัก เมื่อถูกบูลลี่ในโรงเรียนก็เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องส่งผลกระทบต่อเด็กๆ อย่างแน่นอน พ่อแม่ ผู้ปกครองหรือว่าคุณครูไม่ควรปล่อยปะละเลยเด็กๆ เหล่านี้ เพราะผลกระทบที่เกิดจากการถูกบูลลี่ร้ายแรงกว่าที่เราคิด ไม่ว่าจะเป็น การใช้สารเสพติด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเด็กในกลุ่ม […]


การเสพติด

เสพติดเซ็กส์ เป็นอย่างไร สังเกต สัญญาณและอาการ ได้อย่างไร

เสพติดเซ็กส์ เป็นอาการของ พฤติกรรมทางเพศแบบย้ำทำ (Compulsive Sexual Behavior) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะความต้องการทางเพศสูงกว่าปกติ (Hypersexuality)  หรือหมายถึงการเสพติดการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual addiction) ซึ่งเป็นอาการของการหมกมุ่นในเรื่องเพศมากกว่าปกติ เช่น จินตนาการถึงเรื่องทางเพศมากผิดปกติ ความต้องการมีเพศสัมพันธ์มากกว่าปกติ หรือมีพฤติกรรมที่ยากจะควบคุม โดยการเสพติดการมีเพศสัมพันธ์นั้น สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพ งาน ความสัมพันธ์ และส่งผลต่อด้านต่าง ๆ ในชีวิต [embed-health-tool-bmi] สัญญาณและอาการของภาวะ เสพติดเซ็กส์ สัญญาณและอาการ ที่บอกว่าอาจเสพติดเซ็กส์ ได้แก่ จินตนาการในเรื่องทางเพศซ้ำ ๆ และรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความต้องการและพฤติกรรมทางเพศที่ใช้เวลานาน รวมถึงรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมได้ รู้สึกมีแรงขับเคลื่อนในการทำพฤติกรรมทางเพศบางอย่าง และรู้สึกว่าได้ปลดปล่อยความตึงเครียดหลังจากทำพฤติกรรมนั้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็รู้สึกผิดและมีความสำนึกผิดด้วย พยายามแล้วแต่ไม่สำเร็จ ในการที่จะลดหรือควบคุมความต้องการทางเพศ พฤติกรรมและจินตนาการทางเพศ ใช้ความต้องการทางเพศเพื่อหลีกหนีจากปัญหาอื่น เช่น ความโดดเดี่ยว ความกังวล หรือความเครียด มีพฤติกรรมทางเพศที่อาจส่งผลร้ายแรงในภายหลัง เช่น มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหรือแพร่เชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ อาจสูญเสียความสัมพันธ์ดี ๆ หรือมีปัญหากับที่ทำงาน มีปัญหาเรื่องเงิน รวมถึงทำสิ่งผิดกฎหมาย […]


โรควิตกกังวล

คิดมาก หวาดระแวง เป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือเปล่า

ความ หวาดระแวง (Paranoia) เป็นความคิดและความรู้สึกเสมือนกับว่าคุณถูกคุกคาม แม้ว่าความจริงจะไม่เป็นเช่นนั้นก็ตาม ในทางการแพทย์ ความคิดหวาดระแวงยังสามารถอาจอธิบายได้ว่าเป็นภาวะการหลงผิด โดยผู้ป่วยที่มีอาการนี้มักเป็นกังวลต่อเหตุการณ์หลายอย่าง ที่ทำให้พวกเขารู้สึกถูกคุกคาม ผู้ที่อยู่ในภาวะหวาดระแวงขั้นรุนแรง ความกลัวของผู้ป่วยจะเพิ่มระดับขึ้น และทุกคนที่ผุู้ป่วยพบเจอจะถูกดึงไปสู่สารระบบของความกลัวภายในใจ โดยผู้ป่วยก็จะรู้สึกว่าเขาอยู่ตรงกลางของจักรวาลที่คุกคามและเป็นอันตรายอยู่ตลอดเวลา Hello คุณหมอจะพาทุกคนไปรู้จักกับ การหวาดระแวง ว่าเป็นสุขภาพจิตหรือไม่กันค่ะ มีอะไรบ้างที่สามารถทำให้คุณเกิดความ หวาดระแวง ทุกคนล้วนประสบภาวะหวาดระแวงแตกต่างกันออกไป ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของภาวะความคิดหวาดระแวงที่มักพบบ่อยในคนส่วนใหญ่ มีคนหรือองค์กรแอบพูดถึงคุณลับหลัง คนอื่น ๆ กำลังพยายามกีดกันคุณ หรือทำให้คุณดูแย่ การกระทำหรือความคิดของคุณถูกคนอื่น ๆ แทรกแซง คุณถูกควบคุม หรือรัฐบาลกำลังเพ่งเล็งคุณ คุณตกอยู่ในอันตราย หรืออาจถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกฆ่า มีคนกำลังพยายามทำให้คุณหงุดหงิดหรือขุ่นเคืองโดยตั้งใจ บางคนอาจมีความคิดเหล่านี้เป็นจริงเป็นจังตลอดเวลา หรือเพียงแค่บางโอกาสเมื่ออยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด หรือในบางครั้งก็อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ด้วย ความหวาดระแวงเป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ ความหวาดระแวงเป็นอาการหนึ่งของความผิดปกติทางจิตบางประเภท แต่ไม่สามารถใช้เป็นการวินิจฉัยโรคได้ ความคิดหวาดระแวงอาจมีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก และประสบการณ์เหล่านี้อาจค่อนข้างแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีความยึดติดกับความคิดหวาดระแวงอยู่ในระดับใด คุณเชื่อในความคิดหวาดระแวงของคุณเป็นเรื่องจริง คุณคิดเกี่ยวกับความคิดหวาดระแวงของคุณอยู่ตลอดเวลา ความคิดหวาดระแวงทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิด ความคิดหวาดระแวงส่งผลกับการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ บุคคลจำนวนมาก ซึ่งอาจมากถึงหนึ่งในสาม เกิดภาวะหวาดระแวงแบบไม่รุนแรงในบางช่วงเวลาของชีวิต มักเป็นที่รู้จักว่าเป็นภาวะหวาดระแวงที่พบได้ในชีวิตประจำวัน (Non-clinical paranoia) แต่ความหวาดระแวงนั้นจะเปลี่ยนแปลงตามเวลา สำหรับคนปกติ มักคิดได้ว่าความคิดเหล่านั้นไม่มีเหตุผล และสามารถหยุดความคิดเหล่านั้นได้ โดยไม่มีผลกระทบทางจิตใจใด ๆ ตามมา แต่หากเป็นภาวะหวาดระแวงขั้นรุนแรงมาก หรือที่เรียกว่า อาการหลงผิดว่ามีคนปองร้ายตลอดเวลา (Persecutory delusions) ก็จำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยอาจต้องพิจารณารับการรักษาและบำบัด หากมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ความหวาดระแวงอาจเป็นหนึ่งในอาการของปัญหาทางสุขภาพจิตดังต่อไปนี้ โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia) โรคจิตหลงผิด (Delusional […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ประโยชน์ของการร้องไห้ ต่อสุขภาพ ที่คุณอาจไม่เคยรู้

การร้องไห้ เป็นเรื่องปกติของคนเรา ที่ร่างกายจะตอบสนองต่ออารมณ์ต่าง ๆ ทำให้เรานั้นร้องไห้ออกมา ไม่ว่าจะเป็นความเสียใจ ความสุข หรือร้องไห้เมื่อรู้สึกโกรธ ซึ่งนักจิวัยพบว่าการร้องไห้นั้นมีประโยชน์ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับ ประโยชน์ของการร้องไห้ มาให้อ่านกันค่ะ [embed-health-tool-bmr] ทำไมมนุษย์เราถึงร้องไห้ การร้องไห้เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของมนุษย์ ต่ออารมณ์และความรู้สึกที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสีย ความเศร้าโศก เสียใจ หรือแม้กระทั่งความสุข แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะร้องไห้ เมื่อพวกเขาตกอยู่ในภาวะความเศร้าโศก หรืออาจจะร้องไห้น้อยกว่าที่ตนเองหรือผู้อื่นคิด แม้ว่าสำหรับหลาย ๆ คน มักจะร้องไห้เมื่อรู้สึกเศร้า แต่การไม่ร้องไห้ เมื่อรู้สึกเศร้าก็ไม่ได้ถือว่าเป็นความผิดปกติแต่อย่างใดสาเหตุหลักอาจเป็นเพราะคนเรามีความแตกต่างกันมาก ทั้งการแสดงออกต่อภาวะสะเทือนอารมณ์ และปฏิกิริยาการตอบสนองของระบบประสาท ต่อความตึงเครียดจากความเศร้าโศก โดยเฉพาะในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่น ๆ ที่คนร้องไห้อีก เช่น ร้องไห้เมื่อถูกกระตุ้นจากบางอย่าง เช่น แสงแดด แก๊สน้ำตา สารระเหยจากหัวหอม หรือร้องไห้จากการระคายเคือง ประโยชน์ของการร้องไห้ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ ประโยชน์ของการร้องไห้ต่อสุขภาพกาย ล้างสารพิษในร่างกาย Reflex tears หรือ น้ำตาที่เกิดจากการกระตุ้น เป็นน้ำตาที่มีส่วนช่วยล้างเศษฝุ่น ออกจากดวงตา ส่วนน้ำตาที่ช่วยเพิ่มความหล่อลื่น (Continuous tears) นอกจากช่วยเพิ่มชุ่มชื่นให้ดวงตาแล้วยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้ออีกด้วย ส่วนน้ำตาจากอารมณ์ (Emotional tears) […]


การจัดการความเครียด

กินแก้เครียด เครียดแล้วต้องกิน รีบแก้ไขก่อนจะสายเกินไป!

อากาศร้อน ฝนตก รถติด ผลการเรียนไม่ดี โดนเจ้านายบ่น แต่ละวันมีสารพันปัญหากระทบจิตใจ ทำให้เราเครียดจนแทบทนไม่ไหว และคงไม่มีใครอยากให้ความเครียดอยู่กับเราตลอดไป แต่ละคนจึงต้องสรรหากิจกรรมแก้เครียด เช่น อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ เล่นเกม ฟังเพลง ท่องเที่ยว และที่ขาดไม่ได้คงเป็น “การกิน” ที่ถือเป็นวิธีแก้เครียดที่ใครหลายคนโปรดปราน แต่ใครที่ชอบ กินแก้เครียด ก็ต้องระวังเอาไว้ให้ดี เพราะหากเครียดเมื่อไหร่เป็นต้องกิน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณได้ กินแก้เครียด… ทำไมเครียดแล้วต้องกิน เมื่อคนเราเครียด ร่างกายจะหลั่งคอร์ติซอล หรือที่เรียกกันว่าฮอร์โมนความเครียดออกมาเพื่อรับมือกับความเครียด แต่หากมีคอร์ติซอลมากเกินไป อาจทำให้มีปัญหาในการนอน วิตกกังวล รวมไปถึงทำให้อยากอาหารมากกว่าปกติได้ด้วย เมื่อเราหายเครียดคอร์ติซอลในร่างกายก็จะลดลงสู่ระดับปกติ แต่หากเรามีความเครียดสะสม เกรลิน (ghrelin) ซึ่งเป็นเปปไทด์ฮอร์โมนที่สร้างจากกระเพาะอาหารและรู้จักกันในชื่อของ “ฮอร์โมนความหิว” จะถูกหลั่งออกมามากขึ้น ทำให้เรารู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารที่มีรสชาติ หวาน เค็ม หรืออาหารไขมันสูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด เค้ก เป็นต้น ความเครียดนี้นอกจากจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการกินแล้ว ยังสร้างปัญหาให้กับระบบเมตาบอลิซึม ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้น้อยลงอีกด้วย โดยผลการวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำการศึกษากับกลุ่มอาสาสมัครหญิงระบุว่า หลังจากกินอาหารไขมันสูงไปแล้ว 7 ชั่วโมง อาสาสมัครกลุ่มที่มีอาการเครียดจากงานหรือปัญหาครอบครัวสามารถเผาผลาญพลังงานได้น้อยกว่าอาสาสมัครกลุ่มที่ไม่เครียดถึง 104 […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ย้ำคิดย้ำทำ กับเพอร์เฟกชันนิสต์ เส้นกั้นบางๆ ของจิตผิดปกติ

คุณคงเคยพบเห็นคนหรือตัวละครที่มีบุคลิกรักษาความสะอาดมากเกินปกติ และมักทำความสะอาดทุกสิ่งหลังการสัมผัส บางคนอาจคิดว่าพฤติกรรมเหล่านี้คงเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนที่นิยมความสมบูรณ์แบบ หรือ เพอร์เฟกชันนิสต์ แต่หากถามจิตแพทย์ อาจได้คำตอบว่า อาการเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของโรค ย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder, OCD) นั่นเอง โรคย้ำคิดย้ำทำ เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่หากเกิดขึ้นแล้ว ถือเป็นอาการป่วยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยและคนที่อยู่รอบตัวอย่างมาก โรคนี้เป็นความผิดปกติทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะไม่กล้าเปิดเผยให้คนอื่นรู้ว่าเขามีความผิดปกติ จึงเป็นสาเหตุที่ผู้ป่วยหลายคนไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่น่าเกิดขึ้น โรค ย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder: OCD) เป็นรูปแบบหนึ่งของความผิดปกติทางจิตชนิดเรื้อรัง และคงอยู่เป็นระยะเวลานาน โดยมีลักษณะเฉพาะ คือ ความผิดปกติทางสมองในกระบวนการประมวลผลข้อมูล พวกเขาจะเกิดความคิดแบบซ้ำๆ (ความหมกมุ่น) และพฤติกรรม (การย้ำทำ) ที่ทำให้เขาหรือเธอรู้สึกถึงแรงกระตุ้นให้ทำสิ่งใดๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ต่อไปนี้เป็นสิ่งแสดงอาการในระยะเริ่มต้นของโรคย้ำคิดย้ำทำ โรคนี้เป็นอาการป่วยทางจิตที่พบไม่บ่อย และคนที่เป็นโรคนี้ตามปกติเป็นวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว แต่ก็สามารถเกิดได้ในผู้สูงอายุหรือเด็กได้เช่นกัน ควรทำการวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อไม่ให้ทำให้เกิดผลเสียรุนแรงตามมาซึ่งจะส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของพวกเขาในระยะยาว ในระยะเริ่มต้น การหมกมุ่นกับสิ่งที่มองไม่เห็นหรือไม่มีตัวตนมักจะทำให้จิตใจของผู้ป่วยตกอยู่ในสภาวะกังวล เหนื่อยล้า และสับสน เช่น การรังเกียจสิ่งที่มองเห็น (visual aversion) หรือผมร่วง หรือมีพฤติกรรมอื่นๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือ มีพฤติกรรมลักเล็กขโมยน้อย หรือการจับจ่ายซื้อของแบบไม่ยั้งคิด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

พฤติกรรมและอาการแปลกๆ สัญญาณเบื้องต้นที่อาจนำไปสู่ โรคจิตเภท

โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป โดยเกิดขึ้นได้อัตราหนึ่งในร้อยของบุคคลทั่วไป และสามารถเป็นได้ตั้งแต่วัยรุ่น ขั้นแรกของโรคจะเรียกว่าระยะแสดงอาการ (Prodromal phase) ในระยะนี้ การนอนหลับ อารมณ์ความรู้สึก แรงจูงใจ การสื่อสารและความสามารถในการคิด จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด อาการของ โรคจิตเภท เป็นอย่างไร โรคจิตเภทจะทำให้ผู้ป่วยมีความคิด ความรู้สึก และการกระทำที่ผิดปกติไปจากเดิม แต่ละคนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไม่เหมือนกัน และอาการนั้นสามารถเป็นๆ หายๆ ได้เช่นกัน ไม่มีผู้ป่วยคนใดจะแสดงอาการตลอดเวลา โดยทั่วไป อาการจะแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการทางบวก (Positive Symptoms) มีพฤติกรรมที่เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม กลุ่มอาการทางลบ (Negative Symptoms) หยุดการกระทำหรือพฤติกรรมที่เคยทำ และมีอาการเฉื่อยชา กลุ่มบกพร่องทางเชาวน์ความคิด (Cognitive Deficit) อาการเหล่านี้ปกติจะเกิดขึ้นในช่วงอายุระหว่าง 16 ถึง 30 ปี โดยที่ผู้ชายมักเป็นเร็วกว่าผู้หญิง อาการกลุ่มทางบวก (Positive) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้ยินเสียงแว่วในหัวซึ่งคอยสั่งการให้ทำสิ่งต่างๆ หรือร้องเตือนถึงอันตราย รวมถึงพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไม่ดีใส่ผู้ป่วย และเสียงแว่วเหล่านั้นอาจเป็นการพูดคุยกันเองได้เช่นกัน ผู้ที่เกิดอาการอาจคิดว่ามีใครสักคนกำลังพยายามควบคุมสมองของตนเองผ่านทางโทรทัศน์ หรือตำรวจจะมาจับกุมตัว รวมถึงรอาจเชื่อว่าตนเองเป็นคนอื่น เช่น คิดว่าตนเองเป็นดาราดังหรือประธานาธิบดี และหลงผิดคิดว่าตัวเองมีพลังพิเศษอีกด้วย มีความคิดและการพูดที่สับสน ผู้ป่วยโรคจิตเภทจะจัดระเบียบความคิดได้ยาก จึงพูดคุยกับคนปกติไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยจึงแสดงพฤติกรรมแปลกแยก อยู่ตัวคนเดียว […]


โรควิตกกังวล

ภาวะวิตกกังวล หลังการสูญเสีย อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจมากกว่าที่คิด

ภาวะวิตกกังวล สามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตได้ ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นจากการสูญเสียคนที่รัก ซึ่งถือว่าเป็นความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต อย่างไรก็ตามแต่ละคนนั้นมีความสามารถในการควบคุมความรู้สึกแตกต่างกัน ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อการสูญเสียนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างซึ่งผู้ที่อยู่ในภาวะนี้ สามารถรับมือได้ด้วยเทคนิค ดังต่อไปนี้ ภาวะวิตกกังวล จากความเศร้าในความหมายทางการแพทย์ ทางการแพทย์ ได้แบ่งระดับความเศร้าออกไว้ 5 ขั้น ได้แก่ ไม่ยอมรับ โกรธ ต่อรอง ซึมเศร้า และยอมรับ ซึ่งเราทุกคนล้วนผ่าน 5 ขั้นตอนเหล่านี้ตามวิถีทางของตัวเองมาแล้วทั้งนั้น ความเศร้า สามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำๆ หากมีการระลึกถึงความสูญเสียในโอกาสสำคัญๆ ที่อยู่ในความทรงจำของเราและคนรักที่สูญเสียไป เช่น การครบรอบวันแต่งงาน การครบรอบวันเสียชีวิต หรือ แม้แต่ การฟังเพลง ที่หวนให้ระลึกถึงความเศร้าแต่หนหลัง ในบางราย อาจต้องประสบกับภาวะวิตกกังวล ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความเศร้า ที่ไม่ได้อยู่ใน 5 ขั้นที่กล่าวมา ความวิตกกังวลในบางครั้ง สามารถส่งผลต่อชีวิตเป็นอย่างมากและทำให้คุณรู้สึกราวกับว่า ทุกสิ่งทุกอย่างพังทลายลงไปในเวลาเดียวกันจนคุณอาจจะต้องทำทุกอย่างให้ช้าลง หากคุณยังรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างยังคงถาโถมเข้าใส่ตัวคุณ ลองมองหาความช่วยเหลือจากใครสักคนที่คุณวางใจ เมื่อเกิดความสูญเสียจะมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง การสูญเสียจากความโศกเศร้า อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อแต่ละคน ในรูปแบบที่ต่างกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว อาการที่พบบ่อยหลังจากเกิดความสูญเสีย มีดังนี้ ช็อคและมึนงง นี่คือปฏิกิริยาแรกที่จะเกิดขึ้น เมื่อเกิดความสูญเสีย เมื่อมีความเศร้ามากๆ จะมีอาการร้องไห้ฟูมฟาย อ่อนเพลีย รู้สึกโกรธ ต่อคนที่คุณต้องศูญเสีย หรือสาเหตุของการสูญเสีย รู้สึกผิด เช่น รู้สึกผิดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณได้พูด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ศาสตร์ในการ ควบคุมความโกรธ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและจิต

ความโกรธ เป็นอารมณ์ธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน แต่ถ้าหากคุณรู้สึกว่าไม่สามารถ  ควบคุมความโกรธ ได้แล้วละก็ นั่นอาจส่งผลร้ายต่อความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของคุณด้วย  Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการแสดงอารมณ์โกรธของมนุษย์ทุกคน รวมทั้งเทคนิคในการ ควบคุมความโกรธ ที่คุณสามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และเสริมสร้างสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดีในระยะยาวของตัวคุณเอง มาฝากคุณผู้อ่านทุกคนในบทความนี้ ทำไมคุณจำเป็นต้อง ควบคุมความโกรธ อันที่จริง อารมณ์โกรธก็ไม่ได้แย่ แต่ก็ไม่ได้ดีเท่าใดนัก ก็เหมือนทุกอารมณ์อื่นๆ ที่ทำหน้าที่แสดงข้อความบางอย่างที่อยู่ภายในใจ และแสดงความรู้สึกของคุณออกมา เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจ รู้สึกโดนข่มขู่ หรือแม้แต่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม แม้จะเป็นเรื่องปกติหากคุณจะรู้สึกโกรธเมื่อได้รับการปฎิบัติที่แย่ๆ จากคนอื่น แต่ความโกรธอาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ทันที หากคุณแสดงมันออกมาในทางที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น และนี่จึงเป็นเหตุผลที่จำเป็นต้องมีเครื่องมือจัดการกับความโกรธ ผลดีของการควบคุมความโกรธคืออะไร วัตถุประสงค์ของการจัดการความโกรธนั้นไม่ได้มุ่งหวังที่จะซ่อนความโกรธเอาไว้ แต่เป็นการทำความเข้าใจและรู้เท่าทัน เหตุผลของการเกิดอารมณ์เหล่านั้น และแสดงมันออกมาในเชิงสร้างสรรค์และไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อทั้งตัวคุณเองและคนรอบข้าง ถ้าคุณประสบความสำเร็จในการจัดการความโกรธ ไม่เพียงแต่คุณจะรู้สึกดีเท่านั้น แต่คุณยังสามารถที่จะจัดการความขัดแย้งต่างๆ ในชีวิต รวมทั้งสามารถเสริมสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้อีกด้วย เทคนิคการควบคุมอารมณ์โกรธอย่างได้ผล เทคนิดเหล่านี้ จะช่วยคุณทำความเข้าใจอารมณ์โกรธและควบคุมอารมณ์โกรธได้ดีขึ้น คิดก่อนพูด คุณควรใช้เวลาหยุดคิดสักครู่ ก่อนที่จะพูดอะไรออกมา เพื่อรวบรวมและเรียบเรียง สิ่งที่คุณอยากจะพูดออกมาให้เรียบร้อยภายในหัวก่อน แล้วจึงค่อยพูดออกมา เพราะหากคุณปล่อยให้อารมณ์โกรธครอบงำ แล้วพูดออกมาโดยไม่คิด คุณอาจจะเสียใจภายหลังได้ รอให้ใจเย็นลงก่อนแล้วค่อยบอกว่าโกรธ การบอกให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าคุณโกรธนั้นเป็นเรื่องดี เพราะจะช่วยให้ปรับความเข้าใจกันได้ดีขึ้น แต่การบอกไปขณะที่กำลังโกรธอยู่ อาจทำให้อารมณ์ปะทุ และใช้แต่อารมณ์คุยกัน จนอาจเผลอทำร้ายอีกฝ่ายได้ คุณควรรอให้ใจเย็นลงเสียก่อน แล้วจึงค่อยพูดคุยปรับความเข้าใจกับอีกฝ่าย เพื่อจะได้อธิบายสิ่งที่คุณไม่พอใจได้อย่างชัดเจน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน