สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

เช็กอาการ PTSD หลังแผ่นดินไหว และวิธีการรับมือ

แผ่นดินไหว คือภัยพิบัติทางธรรมชาติจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน โดยเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชั้นหินและดิน ซึ่งอาจมีตั้งแต่การสั่นสะเทือนระดับเบาไปจนถึงรุนแรง และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ถนนหรือตึก และอาจส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเกิดความวิตกกังวลหรือภาวะ PTSD ได้หลังจากนั้น [embed-health-tool-bmi] PTSD ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว PTSD (Post-traumatic stress disorder) คือ ความผิดปกติของสภาพจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์รุนแรง ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยปกติแล้ว คนที่ผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงอาจจะปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ในช่วงสั้น ๆ ได้ยาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการก็มักจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงไม่ดีขึ้นแม้เวลาจะผ่านไป และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็จะถือว่าคนนั้นมีอาการ PTSD ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว 7.7 ริกเตอร์ที่เมียนมาร์ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนไปจนถึงประเทศโดยรอบ รวมไปถึงประเทศไทย จนทำให้เกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม ซึ่งส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งคนที่อยู่ในเหตุการณ์ คนใกล้เคียง หรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับรู้ผ่านทางข่าวจากช่องทางต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิด PTSD จากเหตุการณ์นี้ได้ทั้งสิ้น  การเข้ารับการรักษาหลังจากมีอาการ PTSD เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถรับมือและจัดการกับสภาพจิตใจให้ดียิ่งขึ้นได้ อาการ PTSD อาการ PTSD มักจะปรากฏภายในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากเหตุการณ์รุนแรง แต่บางคนอาจมีอาการหลังจากนั้นหลายปีก็ได้เช่นกัน  อาการของ PTSD ที่พบได้ มีดังนี้ มองเห็นเหตุการณ์เดิมซ้ำ ๆ […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

สุขภาพจิต

การเมตตาตนเอง (Self-Compassion) กุญแจสำคัญ สู่ชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น

การมีเป้าหมายในชีวิตที่แน่ชัดนั้นเป็นเรื่องที่ดี ยิ่งเมื่อเราอยู่ในโลกยุคที่มีการแข่งขันสูงอย่างในปัจจุบัน การก้าวผิดพลาด อาจนำไปสู่การล้มเหลวได้อย่างง่าย ๆ แต่แรงกดดันจากการพยายามใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จเหล่านี้ อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิตของตัวคุณเองได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับ การเมตตาตนเอง หลักการสำคัญ ที่จะนำทุกคนไปสู่ชีวิตที่มีความสุขมากยิ่งขึ้น การเมตตาตนเอง เป็นอย่างไร การเมตตาตนเอง (Self-compassion) เป็นแนวความคิดที่มาจากหลักของพุทธศาสนาที่ว่าด้วย “ความเมตตา” หมายถึงการแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใย ความเอาใจใส่ และความใจดีแก่ผู้อื่น การมีเมตตาต่อตนเองก็หมายถึง การที่เรานั้นมีความรู้สึกรักตนเองมากพอ ที่จะใจดีต่อตนเอง และยอมรับในตัวเอง ไม่เว้นแม้แต่ข้อเสีย หรือข้อผิดพลาดที่ตัวเองมี องค์ประกอบหลักของการเมตตาต่อตนเองนั้น มีดังนี้ ใจดีต่อตนเอง หมายถึงการไม่กดดันตัวเอง และเอาแต่วิพากษ์วิจารณ์ตนเองมากจนเกินไป ยอมรับในความผิดพลาด ทำความเข้าใจว่าการทำความผิดพลาดนั้นเป็นเรื่องปกติ ไม่มีใครในโลกนี้สมบูรณ์แบบ มีสติ เผชิญหน้ากับสถานการณ์โดยไม่มีความคิดเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง แม้ว่าสิ่งที่เจออาจจะเป็นเรื่องที่เจ็บปวด ไม่เพิกเฉยหรือตีความสถานการณ์ที่เจอแบบเกินจริง การมีเมตตาต่อตนเองนั้นจะแตกต่างจากการนับถือตัวเอง (Self-esteem) เนื่องจากการนับถือตนเองนั้นจะมุ่งเน้นไปที่การประเมินตัวเองในทางที่ดี มองข้อดีของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำเร็จของตัวเอง เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น แต่การมีเมตตาต่อตนเองนั้นจะมุ่งเน้นไปที่ยอมรับต่อข้อบกพร่องและความผิดพลาดของตน เข้าใจว่าไม่ว่าใครก็สามารถทำผิดกันได้ และยอมรับกับสิ่งที่ตัวเองเป็น เป็นการตระหนักว่าตัวเองเป็นคน ๆ หนึ่ง แทนที่จะเป็นคนที่ดีที่สุด ผู้ที่มีความเมตตาต่อตนเองนั้นมักจะสามารถรับมือกับความผิดพลาดได้ดีกว่า ในขณะที่ผู้ที่นับถือตนเองมีแนวโน้มสูงกว่าที่จะไม่สนใจหรือปฏิเสธข้อบกพร่องของตัวเอง ประโยชน์ของการเมตตาตนเอง เป้าหมายหลักสำคัญของการมีเมตตาต่อตนเอง คือการยอมรับในข้อบกพร่องและความผิดพลาดของตัวเอง ทำให้สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างการเป็นคนที่ล้มเหลว กับการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ ผู้ที่มีเมตตาต่อตนเองนั้นจะสามารถยอมรับในความผิดพลาดได้ดีขึ้น และส่งผลให้สุขภาพจิตโดยรวมดีขึ้นอีกด้วย มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการมีเมตตาต่อตนเอง กับความเป็นอยู่ที่ดีทางจิตใจ […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

รักเขาข้างเดียว แอบรักมานาน ปัญหาหัวใจที่รับมือยาก แต่รับมือได้

การสมหวังกับความรักเป็นหนึ่งในเรื่องราวดี ๆ ที่ทำให้รู้สึกว่าชีวิตนี้ช่างโชคดีจริง ๆ  ที่เกิดมาแล้วมีใครอีกคนคอยอยู่เคียงข้างเสมอ ซึ่งก็คงมีแต่คนที่สมหวังเท่านั้นแหละ ที่รู้สึกว่า ความรัก เป็นเรื่องสวยงาม เพราะถ้าเทียบกับคนที่ไม่สมหวัง หรือคนที่ได้แต่แอบรักเขาข้างเดียว โดยไม่ได้ความรักตอบกลับมานั้น มันช่างเป็นความเจ็บปวดจนยากที่จะป่าวประกาศให้ใครรู้ได้ คุณผู้อ่านก็เป็นอีกคนหนึ่งหรือเปล่า ที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้แล้วรู้สึกว่ายากเหลือเกินที่จะก้าวผ่านมันไป วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีรับมือกับอาการ รักเขาข้างเดียว มาฝากค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] รักเขาข้างเดียว เป็นอย่างไร อาการรักเขาข้างเดียว คือความรู้สึกที่รัก ห่วงใย และถวิลหาใครสักคนอย่างหนักหน่วง โดยที่อีกฝ่ายอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ แต่ที่แน่ ๆ คือไม่ได้มีความรู้สึกแบบเดียวกันตอบกลับมา ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “รักเขาข้างเดียว” เพราะมีแค่เราคนเดียวเท่านั้นที่รู้สึกกับอีกฝ่ายมากมายขนาดนี้ ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบของ ความรัก ที่ไม่สมหวัง และบางครั้งอาจจะเจ็บปวด เศร้าโศก เสียใจ จนยากที่จะข้ามผ่านมันไปได้ การรักเขาข้างเดียว มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ดังนี้ รักใครสักคนโดยที่ไม่ได้ ความรัก แบบเดียวกันตอบกลับมา รักใครสักคนที่เขามีเจ้าของอยู่แล้ว ทั้งสองฝ่ายมีความรู้สึกเดียวกัน แต่ต่างฝ่ายต่างมีแฟนอยู่แล้ว ยังรักแฟนเก่าอยู่ แม้ว่าจะเลิกรามานานแล้ว สัญญาณที่กำลังบอกว่ามีอาการ รักเขาข้างเดียว เป็นฝ่ายเข้าหาอยู่คนเดียว เมื่อรู้สึกหลงรักหรือแอบชอบใครสักคนอย่างหนักหน่วง เราจะพยายามทำตัวเข้าไปใกล้ชิด สนิทสนม หรือพยายามใช้เวลาอยู่กับคนที่แอบรักให้มากขึ้น แต่ก็จะรู้สึกได้ว่าอีกฝ่ายไม่มีปฏิกิริยาตอบกลับมา หรืออีกฝ่ายมีระยะห่างซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

ความสัมพันธ์เป็นพิษ แสนปวดใจ จะรักษาความสัมพันธ์ครั้งนี้เอาไว้อย่างไรดี

ทุกความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ไม่มีความสัมพันธ์ที่จะราบรื่นหรือสมบูรณ์แบบทั้งหมด แน่นอนว่า คู่รักอาจจะต้องพบปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการมีปากเสียง การหึงหวง การโกหก และอื่น ๆ โดยสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิด ความสัมพันธ์เป็นพิษ เมื่อเกิดความสัมพันธ์เป็นพิษแล้ว คุณควรจะจัดการอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน สัญญาณที่บ่งบอกว่า ความสัมพันธ์เป็นพิษ (Toxic Relationship) Jor-El Caraballo นักบำบัดความสัมพันธ์กล่าวเอาไว้ว่า หากคุณรู้สึกเหนื่อยล้า หรือไม่มีความสุขอยู่เสมอ หลังจากที่ใช้ชีวิตร่วมกับคู่ของคุณ นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าสิ่งต่าง ๆ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ความสัมพันธ์ของคุณกำลังเป็น “ความสัมพันธ์เป็นพิษ (Toxic Relationship )”  ลองมาสังเกตสัญญาณบางอย่างที่กำลังบ่งบอกว่า ความสัมพันธ์ของคุณกำลังเป็นพิษ ซึ่งสัญญาณเหล่านั้น ได้แก่ ขาดการสนับสนุน ความสัมพันธ์ที่ดีมีพื้นฐานมาจากความปรารถนาร่วมกันที่จะเห็นอีกฝ่ายประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต แต่เมื่อเกิดความสัมพันธ์เป็นพิษ ความสำเร็จทุกอย่างจะกลายเป็นการแข่งขัน นั่นหมายความว่า คุณอาจจะไม่ได้รู้สึกว่าคู่ของคุณให้การสนับสนุนคุณอยู่นั่นเอง การสื่อสารที่เป็นพิษ แทนที่คุณจะปฏิบัติตัวต่อกันด้วยความสุภาพ บทสนทนาส่วนใหญ่ของคุณจะการเป็นการถากถาง คำวิจารณ์ หรือการเป็นศัตรูต่อกัน นั่นจึงทำให้พวกคุณอาจจะเริ่มหลีกเลี่ยงในการพูดคุยกัน ความหึงหวง แน่นอนว่าเรื่องของความหึงหวงนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในความสัมพันธ์ปกติ แต่เมื่อความสัมพันธ์ของคู่คุณเริ่มเป็นพิษ ความหึงหวงมันอาจหลายเป็นปัญหาได้ หากคุณไม่สามารถคิดหรือรู้สึกในเชิงบวกกับคู่ของคุณได้อีกต่อไป การควบคุมพฤติกรรม การตั้งคำถามว่าอยู่ที่ไหนตลอดเวลา หรืออารมณ์เสียมากเกินไป เมื่อคุณไม่ตอบข้อความในทันที เป็นสัญญาณของพฤติกรรมการควบคุม ซึ่งอาจทำให้เกิดความสัมพันธ์เป็นพิษได้ ในบางกรณีการพยายามควบคุมเหล่านี้ ยังอาจเป็นสัญญาณของการละเมิดความเป็นส่วนตัวได้อีกด้วย ความไม่พอใจ เมื่อคบกันเป็นเวลานานอาจจะทำให้เกิดความไม่พอใจในเรื่องต่าง […]


สุขภาพจิต

คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน แสนปวดหัว จะหยุดคิดอย่างไรให้ถูกวิธี

ความจริงแล้วภาวะซึมเศร้า สามารถทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ วิตกกังวล รวมไปถึงการ คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน แล้วเมื่อเกิดความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันขึ้นมา คุณจะมีวิธีการจัดการกับความคิดนั้นได้อย่างไร ทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน (Racing Thoughts) คืออะไร การคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน มักจะเป็นรูปแบบของการคิดซ้ำซาก โดยอาจจะมุ่งเน้นไปที่หัวข้อเดียวหรืออาจจะรวมถึงแนวคิดต่าง ๆ ซึ่งเรื่องส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดความคิดหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน ได้แก่ ปัญหาทางการเงิน ช่วงเวลาที่น่าอับอาย หรือความหวาดกลัวต่าง ๆ ซึ่งความคิดที่เกิดขึ้นมันอาจจะบานปลายได้ นอกจากนั้นการ คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน สามารถเพิ่มความกังวล ความรู้สึกไม่สบายใจ และอาจทำลายสมาธิของคุณได้ เมื่อคุณมีความคิดที่ไล่เลี่ยกันเกิดขึ้น คุณอาจจะรู้สึกว่า จิตใจของคุณก้าวไป 1 ไมล์ต่อนาที คุณไม่สามารถชะลอความคิดของตัวเองได้ จิตใจของคุณไม่สามารถสงบได้ และคุณไม่สามารถผ่อนคลายได้เต็มที่ การพยายามมุ่งเน้นไปที่สิ่งอื่นถือเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก คุณมักคิดเกี่ยวกับปัญหาที่จบไปแล้ว คุณเริ่มคิดถึงเรื่องในแง่ลบ หรือคิดถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน อาจส่งผลให้นอนไม่หลับ ซึ่งมันมักจะเกิดขึ้นเมื่อคุณพยายามที่จะนอนหลับ เพราะคุณไม่สามารถทำให้ความคิดของคุณช้าลงได้ในตอนกลางคืน สาเหตุที่ทำให้คุณ คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน เป็นอาการที่อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งสามารถพบได้บ่อยที่สุดในความวิตกกังวล แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันได้ ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ อาจมีได้ดังนี้ ความวิตกกังวล ความวิตกกังวลเป็นสาเหตุของความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน ในขณะเดียวกันความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันเป็นเรื่องปกติมากที่จะทำให้คุณเกิดความวิตกกังวล ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งการคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันอาจเกิดขึ้นจากความวิตกกังวล หรือคุณอาจจะมีความวิตกกังวลก่อนที่จะเกิดความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน […]


สุขภาพจิต

ชอบเกาหัว แกะผิวหนัง แกะแผล ยิ่งแกะยิ่งมัน! คุณอาจเป็น โรคแกะผิวหนัง ก็ได้นะ

ไม่ว่าใครก็น่าจะเคยแคะ แกะ หรือเกาผิวหนังของตัวเองกันทั้งนั้น เช่น เกาหัวเวลาเครียด เกาแขนเพราะรู้สึกคัน แกะสิว แกะแผล พฤติกรรมเหล่านี้ หากนาน ๆ ทำครั้งก็คงไม่แปลกอะไร แต่ถ้าคุณชอบแคะ แกะ หรือเกาะผิวหนังตัวเองจนหยุดไม่ได้ ยิ่งแกะก็ยิ่งมัน มิหนำซ้ำยังลามไปแกะ เกาแขนเพื่อนข้าง ๆ ด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณเป็นโรคจิตเวชอย่าง โรคแกะผิวหนัง ที่ปล่อยไว้อาจเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ ว่าแต่โรคนี้จะมีอาการอย่างไร และส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณแล้วในบทความนี้ [embed-health-tool-bmr] โรคแกะผิวหนัง คืออะไร โรคแกะผิวหนัง (Skin Picking Disorder หรือ Dermatillomania หรือ Excoriation Disorder) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะเกา แคะ หรือแกะผิวหนังของตัวเองซ้ำ ๆ หรือแสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกมาโดยไม่รู้ตัว จนส่งผลให้เกิดรอยโรคที่ผิวหนัง ผิวหนังเป็นแผล อักเสบ ติดเชื้อ หรือร้ายแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด และส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วย โรคแกะผิวหนังเป็นโรคเรื้อรัง หากปล่อยไว้ไม่รักษา ผู้ป่วยอาจมีอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ ติดต่อกันได้เป็นสัปดาห์ […]


สุขภาพจิต

ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา คุณควรจัดการกับความคิดนี้อย่างไรดี

สำหรับบางคนอาจจะเป็นโรคชอบย้ำคิดย้ำทำ หรือบางคนอาจจะมีความคิดความคิดหนึ่งอยู่ในหัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการคิดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ อาจทำให้คุณกลายเป็นคนที่ ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมันอาจส่งผลต่อสุขภาพทางจิตและทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย ถ้าอยากนั้นจะจัดการกับความครุ่นคิดที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องไปติดตามกันใน Hello คุณหมอ ทำความรู้จักกับการ ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา (Ruminating) บางครั้งในหัวของคุณอาจจะเคยเต็มไปด้วยความคิดหนึ่ง หรือความคิดมากมายที่คุณเอาแต่คิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งการเอาแต่คิดเกี่ยวกับเรื่องหนึ่ง ๆ ซ้ำ ๆ มักจะก่อให้เกิดอาการเศร้าและรู้สึกมืดมน การคิดซ้ำ ๆ แบบนี้ถูกเรียกว่า “การ ครุ่นคิดอยู่คลอดเวลา” ซึ่งพฤติกรรมนี้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของคุณได้ การ ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา อาจทำให้ภาวะซึมเศร้ายาวนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งอาจลดความสามารถในการคิดและประมวลผลทางอารมณ์ของคุณลง นอกจากนี้ การครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา ยังอาจทำให้คุณรู้สึกโดดเดี่ยว และในความเป็นจริงมันทำให้คุณผลักไสผู้คนที่อยู่รอบตัวคุณออกไปได้อีกด้วย สาเหตุที่ทำให้คุณ ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา คนเราจะเกิดภาวะครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลาด้วยสาเหตุต่าง ๆ หลายประการ ทางสมาคมจิตแทพย์แห่งอเมริกา (American Psychological Association) ได้ระบุสาเหตุทั่วไปบางประการที่ทำให้เกิดการครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา เอาไว้ดังนี้ ความเชื่อว่าด้วยการคุร่นคิดอยู่ตลอดเวลา จะทำให้คุณจะพบทางออกเกี่ยวกับปัญหาชีวิตหรือปัญหาต่าง ๆ ได้ มีประวัติการบาดเจ็บทางอารมณ์หรือร่างกาย เผชิญกับความเครียดที่ไม่สามารถควบคุมได้ การครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องปกติในผู้ที่มีลักษณะบุคลิกภาพบางอย่าง เช่น นิยมความสมบูรณ์แบบ โรคประสาท และการให้ความสำคัญกับผู้อื่นมากเกินไป ซึ่งคุณอาจมีแนวโน้วที่จะตีค่ากับความสัมพันธ์ของคุณกับผู้อื่นมากเกินไป จนต้องเสียสละตัวตนของคุณ เพื่อรักษาความสัมพันธ์เอาไว้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้สนใจคุณก็ตาม วิธีจัดการกับการ ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา เมื่อคุณกำลังติดอยู่ในวงจรการ ครุ่นคิด […]


สุขภาพจิต

โรคแกะผิวหนัง ภาวะสุขภาพจิตที่ไม่ควรมองข้าม

โรคแกะผิวหนัง อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นบนผิวหนัง และเกิดการติดเชื้อได้อีกด้วย นอกจากนั้น พฤติกรรมดังกล่าวยังมีความเชื่อมโยงกับโรคย้ำคิดย้ำทำ หนึ่งในภาวะสุขภาพจิตที่ควรได้รับการดูแลรักษา ลองสำรวจตนเองดูว่า มีพฤติกรรมเข้าข่ายโรคดังกล่าวหรือไม่ ควรป้องกันและหาวิธีจัดการกับโรคนี้อย่างไรดี [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักกับโรคแกะผิวหนัง (Excoriation) การแกะสะเก็ดแผล หรือผิวหนังเป็นครั้งคราวไม่ใช่เรื่องที่แปลกอะไร แต่สำหรับบางคน การแกะผิวหนัง อาจกลายเป็นอาการเรื้อรัง อาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรืออาจทำให้เกิดแผลใหม่ได้ นอกจากนั้น ยังอาจทำให้ผิวตกสะเก็ดเพิ่มเติม แล้วนำไปสู้การเกิดแผลเป็น การแกะผิวอย่างต่อเนื่องนี้อาจนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า “โรคแกะผิวหนัง” หรือเสพติดการแกะผิวหนัง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้จะแกะผิวหนังด้วยความเคยชินโดยไม่มีอะไรมากระตุ้น บางคนใช้เวลาใน การแกะผิวหนัง สั้น ๆ หลายครั้งต่อวัน หรือคนอื่น ๆ อาจจะแกะผิวหนังอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน โรคแกะผิวหนังนั้นไม่ใช่เรื่องปกติ พฤติกรรมเช่นนี้เป็นภาวะสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder หรือ OCD) ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำจนพัฒนาไปเป็นความผิดปกติของการเสพติดการแกะผิวหนัง แต่หลาย ๆ คนที่มีการเสพติดการแกะผิวหนังมักจะพบว่าเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำเช่นกัน สัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็น โรคแกะผิวหนัง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณและอาการของความผิดปกติของโรคแกะผิวหนัง สามารถช่วยให้ทราบได้ว่า พฤติกรรมบางอย่างเป็นผลของพฤติกรรมการแกะ “ตามปกติ” หรือไม่ หรือบางครั้งความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจกำลังบ่งบอกถึงโรคหรือปัญหาที่ร้ายแรงกว่าก็ได้ ตัวอย่างเช่น การแกะผิวหนัง เป็นครั้งคราวมักจะไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ สะเก็ดที่เกิดขึ้นมักจะทำให้รู้สึกคันในขณะแผลที่ผิวหนังที่กำลังจะหาย จะทำให้หลายคนรู้สึกอยากเกาที่ผิวหนัง ถึงแม้จะมีคำแนะนำในทางตรงกันข้ามก็ตาม แต่หลายคนก็ยังจะเลือกที่จะแกะสิว หรือสิวหัวดำ เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นโรคแกะผิวหนัง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อีกหนึ่งภาวะสุขภาพที่ลูกหลานควรใส่ใจ

โรคซึมเศร้าจัดเป็นโรคทางอารมณ์ที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่คนบางช่วงวัย โดยเฉพาะ วัยผู้สูงอายุ ก็อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากกว่าคนวัยอื่น ๆ จากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ชาวอเมริกันที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าประมาณ 6 ล้านคน และจำนวนผู้ป่วยในแต่ละปีก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ Hello คุณหมอ ก็มีข้อมูลว่าประเทศไทยเองก็เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว นั่นทำให้ โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่ลูกหลานไม่ควรมองข้าม เพราะหากผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงวัยสูงอายุ มักเป็นสาเหตุให้เกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย เช่น การเกษียณ หรือการหยุดทำงานประจำ การมีเงิน หรือทรัพย์สินน้อยลง ปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะสมองเสื่อม ภาวะปวดเรื้อรัง การเสียชีวิตของคู่ชีวิต หรือเพื่อนในวัยเดียวกัน และยิ่งหากผู้สูงอายุมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ก็ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น เป็นผู้หญิง มีสถานภาพโสด ไม่ได้แต่งงาน หย่าร้าง หรือเป็นม่าย ขาดการปฏิสัมพันธ์กับลูกหลาน เพื่อน หรือคนรอบข้าง สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า ใช้ยาเสพติด หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการอย่างไร อาการหรือสัญญาณที่บ่งชี้ว่าผู้สูงอายุอาจเป็นโรคซึมเศร้า ได้แก่ รู้สึกเศร้า วิตกกังวล หรือรู้สึกว่างเปล่าติดต่อกันเป็นเวลานาน หมดความสนใจในงานอดิเรก หรือกิจกรรมโปรดของตน รู้สึกสิ้นหวัง หรือหมดอาลัยตายอยาก รู้สึกไร้ค่า หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่มีประโยชน์ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง มีปัญหาด้านความจำ การตัดสินใจ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ภาวะ Toxic Positivity เมื่อการคิดบวกไม่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น หากภายในใจยังติดลบ

เมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้าย จนเกิดความวิตกกังวล คิดไปในทางลบต่าง ๆ นานา จนรู้สึกเครียด คนรอบตัวกลับเอาแต่บอกว่า คิดบวกเข้าไว้ ทำตัวร่าเริงเข้าใจจะได้ไม่เครียด ถึงแม้ว่าความคิดเชิงบวก มองโลกในแง่ดีจะช่วยลดความเครียด แต่เมื่อเราตกอยู่ในสถาการณ์ที่แย่ การคิดเชิงบวกอย่างเดียว แต่ซ่อนความโศกเศร้าไว้ความคิดเช่นนี้เรียกว่า ภาวะ Toxic Positivity ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตเราได้ ซึ่งใครที่ยังไม่เคยรู้จักอาการนี้ Hello คุณหมอ จะพามาทำความรู้จักกันค่ะ ภาวะ Toxic Positivity คืออะไร เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก แน่นอนว่าต้องเกิดทั้งความเครียดและความวิตกกังวล บางครั้งก็ชวนให้เรานั้นคิดไปในทางแย่ ๆ ต่าง ๆ นานา ซึ่งแนวคิดแบบ Toxic Positivity คือการบอกให้เรานั้นมองโลกในแง่ดี คิดบวกเข้าไว้ โดยที่ไม่ได้สนใจปัญหา ปฏิเสธความรู้สึกด้านลบที่ยังคงเกิดขึ้น ทำให้รู้สึกเหมือน ซ่อน ความคิดลบ ๆ นั้นไว้ภายในใจ แต่สิ่งที่แสดงว่ามีความสุข คิดบวก กลับสวนทางกลับความรู้สึกภายในใจ จนการคิดบวกนั้นทำให้เรารู้สึกแย่กว่าเดิม แนวคิดแบบนี้มองว่าคนที่มีอารมณ์ในทางลบนั้นเป็นเรื่องที่แย่ ทำให้เกิดความเครียด จึงยัดเยียดความสุขและความคิดแบบบวกเข้าไปแทน ซึ่งอาจทำให้เราเข้าสู่สภาวะ ปฏิเสธความจริง (Denial) ซึ่งหลักและหัวใจสำคัญของ Toxic Positivity […]


โรคการกินผิดปกติ

หยุด! ล้วงคอ เพื่อลดน้ำหนัก อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

บางคนอาจมีความเชื่อว่าการ ล้วงคอ หลังรับประทานอาหาร เพื่อทำให้อาเจียนเอาอาหารออกมา อาจช่วยในเรื่องของการ ลดน้ำหนัก   ซึ่งเป็นความเชื่อแบบผิด ๆ วิธีดังกล่าวนี้ไม่สามารถทำให้น้ำหนักลดลงได้ แถมยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วย เช่น เจ็บคอ ฟันผุ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เป็นต้น โดยพฤติกรรมดังกล่าวนี้เข้าข่าย “โรคล้วงคอ” หรือ “โรคบูลิเมีย” นั่นเอง [embed-health-tool-bmi] โรคล้วงคอ พฤติกรรมการกินแบบผิด ๆ ที่อาจนำมาซึ่งการเสียชีวิต โรคล้วงคอ (Bulimia nervosa) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โรคบูลิเมีย เป็นภาวะความผิดปกติของการรับประทานอาหาร เช่น ความรู้ผิดในการรับประทานอาหารปริมาณมากๆ และอยากจะกำจัดออกเพื่อไม่อยากให้ร่างกายรับอาหารที่มีแคลอรี่มาก โดยจะทำการ ล้วงคอ เพื่อให้ตนอาเจียนออกมา หรืออาจมีการใช้ยาระบาย อาหารเสริมลดน้ำหนัก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม โรคล้วงคอมักพบในเพศหญิงที่มีอายุในช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ต้น ๆ ที่มีความกังวลในเรื่องของรูปร่าง หน้าตา ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เจ็บคอ ท้องอืด อาเจียน เป็นต้น สาเหตุและปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการล้วงคอ ในปัจจุบันยังไม่มีทราบสาเหตุที่แน่ชัดของพฤติกรรมการล้วงคอ โดยพบว่าอาจเกี่ยวกับปัจจัยทางชีววิทยาและสภาพแวดล้อม ดังนี้ มีความกังวลในเรื่องของรูปร่าง โรคซึมเศร้า ความเครียด วิตกกังวล […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน