สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

เช็กอาการ PTSD หลังแผ่นดินไหว และวิธีการรับมือ

แผ่นดินไหว คือภัยพิบัติทางธรรมชาติจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน โดยเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชั้นหินและดิน ซึ่งอาจมีตั้งแต่การสั่นสะเทือนระดับเบาไปจนถึงรุนแรง และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ถนนหรือตึก และอาจส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเกิดความวิตกกังวลหรือภาวะ PTSD ได้หลังจากนั้น [embed-health-tool-bmi] PTSD ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว PTSD (Post-traumatic stress disorder) คือ ความผิดปกติของสภาพจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์รุนแรง ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยปกติแล้ว คนที่ผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงอาจจะปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ในช่วงสั้น ๆ ได้ยาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการก็มักจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงไม่ดีขึ้นแม้เวลาจะผ่านไป และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็จะถือว่าคนนั้นมีอาการ PTSD ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว 7.7 ริกเตอร์ที่เมียนมาร์ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนไปจนถึงประเทศโดยรอบ รวมไปถึงประเทศไทย จนทำให้เกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม ซึ่งส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งคนที่อยู่ในเหตุการณ์ คนใกล้เคียง หรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับรู้ผ่านทางข่าวจากช่องทางต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิด PTSD จากเหตุการณ์นี้ได้ทั้งสิ้น  การเข้ารับการรักษาหลังจากมีอาการ PTSD เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถรับมือและจัดการกับสภาพจิตใจให้ดียิ่งขึ้นได้ อาการ PTSD อาการ PTSD มักจะปรากฏภายในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากเหตุการณ์รุนแรง แต่บางคนอาจมีอาการหลังจากนั้นหลายปีก็ได้เช่นกัน  อาการของ PTSD ที่พบได้ มีดังนี้ มองเห็นเหตุการณ์เดิมซ้ำ ๆ […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

สุขภาพจิต

วิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า ด้วยแนวทางในก้าวข้ามพลังงานเชิงลบ

เมื่อเกิดภาวะซึมเศร้า หลายคนมักจะรู้สึกหดหู่ รวมถึงมีพลังงานเชิงลบเกิดขึ้น ดังนั้น หลายคนจึงพยายามหา วิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า เพื่อทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากพลังงานเชิงลบ และทำให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้น สำหรับวิธีการต่อสู่กับภาวะซึมเศร้าจะทำอย่างไรได้บ้าง บทความนี้ของ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน วิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า ด้วยแนวทางในการก้าวข้ามพลังงานเชิงลบ ภาวะซึมเศร้า (Depression) ไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกหมดพลังงาน แต่ยังทำให้คุณรู้สึกว่างเปล่าและเหนื่อยล้า และสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถส่งผลให้การรวบรวมพลังกายและใจ หรือความรู้สึกตั้งมั่นว่าอยากจะเข้ารับการรักษานั้นเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม ก็ยังพอมี วิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ช่วยให้คุณสามารถควบคุมความรู้สึกและปรับปรุงความเป็นอยู่โดยรวมของคุณให้ดีขึ้นได้ ซึ่ง วิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า สามารถทำได้ดังนี้ เปิดใจยอมรับสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ อาการซึมเศร้าเป็นเรื่องธรรมดาที่พบได้บ่อย ภาวะดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้าน รวมถึงบางคนในชีวิตคุณด้วย คุณอาจจะไม่รู้ตัวว่าพวกเขากำลังเผชิญกับความท้าทาย อารมณ์ และอุปสรรคที่คล้ายคลึงกันอยู่ สำหรับกุญแจสำคัญในการรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเอง คือ การเปิดใจยอมรับ รักตัวเอง และสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่ ความผิดปกตินี้จะแตกต่างกันออกไปในทุก ๆ วัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของคุณอย่างจริงจัง จงหมกมุ่นอย่างสร้างสรรค์ การระงับความรู้สึกและอารมณ์ของคุณ อาจดูเหมือนเป็นวิธีเชิงกลยุทธ์ในการรับมือกับอาการทางลบของภาวะซึมเศร้า แต่ในที่สุดเทคนิคนี้ก็ไม่ได้ดีต่อสุขภาพเสมอไป หากคุณมีวันหยุด ลองปล่อยได้ตัวเองรู้สึกถึงอารมณ์ แต่อย่าจมอยู่อย่างนั้น ลองเขียนบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่คุณกำลังประสบอยู่ จากนั้น เมื่อความรู้สึกเพิ่มขึ้นให้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนั้นด้วย รู้ว่าวันนี้ไม่ได้บ่งบอกถึงวันพรุ่งนี้ อารมณ์ ความรู้สึก หรือความคิด ไม่ได้ส่งผลต่อวันพรุ่งนี้ หากคุณไม่ประสบความสำเร็จในการลุกจากเตียง หรือทำเป้าหมายให้สำเร็จในวันนี้ อย่าลืมว่า […]


สุขภาพจิต

ภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด คุณจะสามารถรับมือกับภาวะนี้ได้อย่างไร

เรื่องของสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใคร บางคนอาจจะมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่อยู่ ๆ ก็ต้องเข้ารับการผ่าตัดกะทันหันก็เป็นไปได้เช่นกัน แล้วเมื่อผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดอาจจะเกิด ภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด เนื่องจากไม่สามารถทำอะไรได้เหมือนปกติ ซึ่งทาง Hello คุณหมอได้นำเรื่องนี้ รวมถึงวิธีการรับมือกับภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นมาฝากกัน ภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด (Postsurgery Depression) คืออะไร การฟื้นตัวจากการผ่าตัดอาจต้องใช้เวลา และทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว หลายคนอาจจะรู้สึกมีกำลังใจที่พวกเขากำลังจะรู้สึกดีขึ้นอีกครั้ง การพัฒนาของโรคซึมเศร้าหลังการผ่าตัด หรือ ภาวะซึมเศร้าหลังผ่าตัดนั้นถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการผ่าตัดทุกประเภทผ่านพ้นไป และนับเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องได้รับการเอาใจใส่ เพื่อการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมในกรณีที่ตัวคุณเอง หรือคนที่คุณรักต้องประสบกับภาวะดังกล่าวนี้ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด หลายคนที่มีอาการซึมเศร้าหลังจากได้รับการผ่าตัดนั้นเป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่คาดคิด ซึ่งแพทย์ก็ไม่สามารถเตือนได้ล่วงหน้าเสมอไป สำหรับสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัดนั้น ได้แก่ มีภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัด อาการปวดเรื้อรัง ปฏิกิริยาต่อการระงับความรู้สึก ปฏิกิริยาต่อยาแก้ปวด การที่ต้องเผชิญหน้ากับความเป็น-ตายของตนเอง ความเครียดทางร่างกายและอารมณ์ ความกังวลเกี่ยวกับระยะในการฟื้นตัว ความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ความรู้สึกผิดที่จะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น กังวลว่าการผ่าตัดนั้นอาจจะยังไม่เพียงพอต่อการรักษา ความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัว การกลับบ้าน ต้นทุนทางการเงิน และอื่น ๆ การผ่าตัดบางอย่างนั้นอาจมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังผ่าตัด ซึ่งจากการศึกษาในปีค.ศ. 2016 จากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้พบว่า ภาวะซึมเศร้าหลังผ่าตัดมีความเชื่อมโยงกับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังด้วย อาการของ ภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด อาการของภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัดอาจเกิดขึ้นได้ง่าย เนื่องจากอาการบางอย่างอาจคล้ายคลึงกับผลของการผ่าตัด ซึ่งได้แก่ นอนมากเกินไปหรือนอนบ่อยกว่าปกติ ความหงุดหงิด ขุ่นเคืองใจ การสูญเสียความสนใจในกิจกรรม ความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวล […]


สุขภาพจิต

ศิลปะบำบัด (Art Therapy) วิธีเยียวยาจิตใจด้วยศิลปะ

ทุกคนย่อมมีปัญหาหนักอกหนักใจ ที่แตกต่างกันออกไป บางคนสามารถก้าวผ่านปัญหาเหล่านั้นไปได้ และใช้ชีวิตต่อ แต่สำหรับบางคน ปัญหาที่เจอนั้นก็หนักหนาสาหัสเกินกว่าจะผ่านไปได้แบบสบาย ๆ ทำให้ปัญหาเหล่านั้นส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ จนบางครั้งก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้วย การปรึกษาจิตแพทย์เป็นวิธีการที่ดีที่สุด เมื่อเราไม่สามารถจัดการปัญหาเหล่านั้นไม่ได้ การรักษาของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนมารู้จักกับ ศิลปะบำบัด รูปแบบการบำบัดแบบบูรณาการ ที่ใช้ศิลปะเข้ามาช่วยให้ผู้ป่วยถ่ายทอดปัญหาออกมา [embed-health-tool-heart-rate] ศิลปะบำบัด คืออะไร การใช้ศิลปะบำบัด (art therapy) เป็นรูปแบบการบำบัดแบบบูรณาการรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้ผู้รับการบำบัดแสดงอารมณ์และความคิดออกมาผ่านทางศิลปะ อย่างที่ทราบกันว่าการวาดรูป ทำงานศิลปะเป็นกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายกิจกรรมหนึ่ง นักบำบัดจึงใช้ศิลปะเป็นตัวช่วยให้เราได้แสดงความคิด ความรู้สึกออกมาผ่านงานศิลปะและทำการบำบัดไปด้วย ซึ่งการทำศิลปะบำบัดนั้นมีส่วนช่วยให้เรามีการรับรู้ มีสติมากกว่าการบำบัดแบบพูดคุย หลักการทำงานของ ศิลปะบำบัด ศิลปะบำบัดเป็นรูปแบบการบำบัดที่ช่วยให้ทั้งผู้ใหญ่ เด็ก วัยรุ่นได้สำรวจอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง เพื่อปรับปรุง จัดการกับความเครียด ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นจนบางครั้งอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต สำหรับศิลปะบำบัดนั้น ผู้ที่เข้ารับการบำบัดไม่จำเป็นจะต้องมีทักษะในการวาดรูปหรือการทำงานศิลปะก็สามารถเข้ารับการบำบัดได้ เพราะหัวใจของศิลปะบำบัดคือการมุ่งเน้นหาความสัมพันธ์ ปัญหา โดยจะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางงานศิลปะ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าใช้ศิลปะเป็นตัวกระตุ้นให้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาออกมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวในความทรงจำที่เลวร้ายหรือความรู้สึกจากจิตใต้สำนึก ซึ่งมีศิลปะหลายแขนงที่เลือกใช้ในการบำบัด ดังนี้ จิตรกรรม การวาดภาพ […]


การจัดการความเครียด

จัดดอกไม้ ผ่อนคลายความเครียด รู้ไหมดอกไม้ดีต่อสุขภาพจิตมากเลยนะ

หากคุณผู้อ่านเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าช่วงนี้มีชีวิตมีแต่ความยุ่งเหยิง หมดพลัง ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย และอยากจะหากิจกรรมสนุก ๆ ทำ เพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ในใจ ที่ไม่ใช่แค่การดูหนัง ฟังเพลง หรือไปเที่ยว Hello คุณหมอ ขอแนะนำกิจกรรมดี ๆ ที่นอกจากจะช่วยผ่อนคลายอารมณ์แล้ว ก็ยังมีส่วนช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดีขึ้นด้วย นั่นคือกิจกรรม จัดดอกไม้ ค่ะ แต่ การจัดดอกไม้ จะดีต่อสุขภาพจิตอย่างไรนั้น มาติดตามกันเลยค่ะ ดอกไม้ ดีต่อสุขภาพจิตอย่างไร ส่งเสริมด้านอารมณ์ มีผลการศึกษาและผลงานวิจัยหลากแขนงและหลายสถาบันที่ชี้ให้เห็นว่าดอกไม้นั้น สามารถช่วยให้สุขภาพจิตของคนเราดีขึ้นได้จริง ๆ ถึงแม้ดอกไม้ที่ปักอยู่ในแจกัน หรือช่อดอกไม้ที่เพิ่งได้รับเป็นของขวัญมา หรือแปลงดอกไม้ที่สวนหลังบ้านดูจะเป็นเพียงสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พอช่วยให้สบายตาเท่านั้น แต่จากผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) พบว่า การตื่นเช้ามาแล้วมองเห็นดอกไม้เป็นสิ่งแรกของวัน ทำให้อารมณ์ดีและมีความสุขมากขึ้น เพิ่มความชื้นในอากาศ ดร.ดัสกุปตา (Dr. Dasgupta) ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ และศาสตราจารย์ประจำ Keck School of Medicine แห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (University of Southern California) เผยว่า การจัดดอกไม้ […]


สุขภาพจิต

ความวิตกกังวลกับความโกรธ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ความวิตกกังวลกับความโกรธ นั้นมีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ ความจริงแล้ว ความวิตกกังวลกับความโกรธมีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากทั้ง 2 อารมณ์นั้นตอบสนองต่อการรับรู้ถึงภัยคุกคาม ซึ่งจะช่วยให้เรารอดพ้นจากสถานการณ์อันตรายนั่นเอง แต่เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ลองไปติดตามบทความนี้ของ Hello คุณหมอกัน ความวิตกกังวลกับความโกรธ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร มนุษย์นั้นมีอารมณ์และความรู้สึกที่หลากหลาย ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้มักจะเชื่อมโยงกัน ส่วนความวิตกกังวล (Anxiety) นั้นคือความกลัวที่คุณรู้สึกตอบสนองต่อภัยคุกคามที่สามารถรับรู้ได้ ความโกรธ (Anger) ก็ถือเป็นการตอบสนองต่อภัยคุกคาม ซึ่งทั้ง 2 อารมณ์นี้จะควบคู่ไปกับความรู้สึกของการถูกรบกวนหรือความรำคาญ ด้านนักวิจัยได้คาดการณ์เอาไว้ว่า ความวิตกกังวลกับความโกรธ นั้นอาจมีส่วนสำคัญต่อความสามารถการรับรู้และตอบสนองต่ออันตราย โดยอารมณ์ทั้ง 2 อย่างนี้อาจทำให้เกิดอาการทางร่างกาย โดยการปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดของคุณ นอกจากนั้นมันยังสามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน อารมณ์ทั้ง 2 อย่างนี้สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือทำให้แย่ลงได้ตามความคิดของตัวคุณเอง ซึ่งปฏิกิริยาของความวิตกกังวลและความโกรธมีความเชื่อมโยงกัน ดังนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ ทุกคนสามารถโกรธและรู้สึกวิตกกังวลได้ ในความเป็นจริงแล้วมีหลายครั้งที่ความวิตกกังวลเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล และความโกรธคือการตอบสนองที่เหมาะสม ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้ ในช่วงเวลาของความเครียด ความตึงเครียดจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อความขัดแย้งในชีวิตส่วนตัวของคุณขยายตัวจากเหตุการณ์ต่าง ๆ จึงทำให้ความกังวลและความโกรธดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ อาการทางสรีรวิทยาที่เหมือนกัน เมื่อคุณโกรธหรือวิตกกังวล ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนซึ่งรวมถึงคอร์ติซอล (Cortisol0 และ อะดรีนาลีน (Adrenaline) […]


สุขภาพจิต

ความรู้สึกโกรธ เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิธีจัดการอย่างไรบ้าง

ความรู้สึกโกรธ (Anger) สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ แต่เมื่อรู้สึกโกรธแล้วคุณจะสามารถควบคุมความรู้สึกนี้ได้ดีเพียงใด เพื่อไม่ให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเลวร้ายลงไปมากกว่าเดิม หากคุณไม่สามารถควบคุมความรู้สึกโกรธได้บางครั้งคุณอาจจะแสดงความรุนแรงออกไปโดยที่คุณไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้น ลองมาดูกันว่าความรู้สึกโกรธนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วคุณควรจะควบคุมความโกรธที่เกิดขึ้นอย่างไร จากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ สาเหตุของการเกิดความรู้สึกโกรธ แน่นอนว่าทุกคนต้องเคยมีประสบการณ์เกิดความรู้สึกขึ้น ซึ่งความรุนแรงของความโกรธนั้นมีตั้งแต่ความรำคาญอย่างรุนแรง ไปจนถึงความโกรธที่รุนแรง ซึ่งเป็นเรื่องปกติและดีที่จะรู้สึกโกรธเป็นครั้งคราว เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์บางอย่าง ในบางครั้งผู้คนที่มีความรู้สึกโกรธ ก็ไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งอารมณ์โกรธก็มักจะทวีคูณความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อความโกรธนั้นมีการยั่วยุเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งในกรณีนี้ความโกรธไม่ใช่อารมณ์ที่ปกติ แต่เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง ความโกรธนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปัญหาส่วนตัว เช่น พลาดการเลื่อนตำแหน่งในที่ทำงาน หรือปัญหาด้านความสัมพันธ์ ปัญหาที่เกิดจากบุคคลอื่น เช่น การยกเลิกนัด เหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การจราจรติดขัด หรืออุบัติเหตุทางรถยนต์ ความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจหรือทำให้รู้สึกโกรธแค้น ในอีกกรณีหนึ่ง ปัญหาความโกรธอาจเกิดจากการบาดเจ็บในระยะเริ่มต้น หรือเหตุการณ์ในชีวิตของแต่ละบุคคลที่หล่อหลอมบุคลิกภาพขึ้นมา ในบางกรณี อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจนอาจทำให้เกิดความโกรธ เช่นเดียวกับความผิดปกติทางจิตบางอย่างนั่นเอง ความรู้สึกโกรธ นำไปสู่ปัญหาอะไรบ้าง บางครั้งเมื่อคุณมีความรู้สึกโกรธ ความรู้สึกดังกล่าวนั้น สามารถส่งสัญญาณบางอย่างที่ทำให้รู้ว่าความโกรธที่เกิดขึ้นนั้นไม่ปกติ ซึ่งสัญญาณหรืออาการเหล่านั้น ได้แก่ ความรู้สึกโกรธนั้นเริ่มมีผลต่อความสัมพันธ์และชีวิตทางสังคม เมื่อรู้สึกโกรธแล้วคุณต้องพยายามเก็บซ่อนมันเอาไว้ เกิดความคิดเชิงลบอย่างต่อเนื่องและมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์เชิงลบ รู้สึกว่าไม่มีความอดทน หงุดหงิด และไม่เป็นมิตรอยู่ตลอดเวลา มีการโต้เถียงกับผู้อื่นบ่อย ๆ และทำให้เกิดความโกรธขึ้นมาในระหว่างที่โต้เถียง เมื่อมีความรู้สึกโกรธ ก็จะมีความรุนแรงทางร่างกายเกิดขึ้น เมื่อมีความรู้สึกโกรธ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับตัวเองเริ่มมีการไปคุกคามผู้อื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธของตัวเองได้ รู้สึกถูกบังคับให้ทำ ทำสิ่งรุนแรง หรือหุนหันพลันแล่น เมื่อมีความรู้สึกโกรธ เช่น ขับรถโดยประมาท […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการซึมเศร้า ได้จริงหรือไม่

น้ำมันหอมระเหยเป็นสารสกัดจากพืชเข้มข้น สามารถใช้ในทางการแพทย์ได้หลายอย่าง นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยยังสามารถใช้ไล่ยุง ช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดคอ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการซึมเศร้า ได้อีกด้วย ซึ่งทาง Hello คุณหมอ มีประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยที่ใช้สำหรับการบำบัดภาวะซึมเศร้ามาฝากกันค่ะ น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการซึมเศร้า มีอะไรบ้าง ลาเวนเดอร์ กลิ่นจากดอกลาเวนเดอร์ เป็นกลิ่นที่ได้รับการยกย่องว่ามีฤทธิ์ช่วยให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าน้ำมันหอมระเหยจากดอกลาเวนเดอร์มีส่วนช่วยคลายความกังวล ลดความเครียดช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้ กะทือ จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2014 พบว่ากะทือมีคุณสมบัติในการต้านภาวะซึมเศร้า จากการศึกษา นักวิจัยได้ให้หนูทดลองดมน้ำมันหอมระเหยจากกะทือ แล้วพบว่าหนูเหล่านั้นมีความเครียดน้อยลง นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมซึมเศร้าน้อยลง จากการวิจัย นักวิจัยคิดว่าน้ำมันกะทือจะไปกระตุ้นสมองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ซึ่งจะไปช่วยชะลอการหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียด หรือคอร์ติซอล (Cortisol) ได้ น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด กลิ่นจากพืชตระกูลส้ม อย่างมะกรูดนั้นมีส่วนช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2013 พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีส่วนช่วยลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่กำลังรอการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญมะกรูดอาจช่วยลดการหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดเมื่อตกอยู่ในช่วงสถานการณ์ที่มีความเครียด นอกจากนี้ยังมีน้ำมันหอมระเหยชนิดอื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายอีกมากมาย เช่น น้ำมันดอกคาโมไมล์ น้ำมันดอกมะลิ น้ำมันจากดอกไม้จันทน์ กำยาน น้ำมันหอมระเหยดอกส้ม น้ำมันหอมระเหยจากเกรปฟรุต ใช้น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการซึมเศร้า อย่างไรให้ได้ผล สารเคมีที่มีอยู่ในน้ำมันหอมระเหยจะทำปฏิกิริยากับร่างกาย เมื่อมีการสูดดมแล้วไปกระตุ้นสมอง หรือการดูดซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อเซลล์เฉพาะทางในส่วนบนของจมูก ตรวจพบกลิ่น เซลล์เหล่านั้นจะทำหน้าที่ในการส่งแรงกระตุ้นไปยังสมองตามเส้นประสาทรับกลิ่น บริเวณจุดรับกลิ่นที่เรียกว่า ออลแฟคทอรี บัลบ์ (Olfactory bulb) เมื่อออลแฟคทอรี บัลบ์ได้รับกลิ่นแล้ว ก็จะเกิดการประมวลผล […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

แนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพจิตสำหรับ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยที่ประสบกับโรคเบาหวานส่วนใหญ่ นอกเหนือจากจะต้องเผชิญกับอาการต่าง ๆ ของโรคแล้ว ผู้ป่วยยังอาจจะต้องประสบกับความเครียด และความกดดันของตนเองเพิ่มเติม ดังนั้น ผู้ที่อยู่รอบข้างจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องเป็นเสาหลักที่มีสภาพจิตใจเข้มแข็งกว่าผู้ป่วย เพื่อเป็นการสร้างพลังด้านบวกให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้มีกำลังใจมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันตัว ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ก็อาจมีสภาวะจิตใจที่แย่ลงตาม เนื่องจากต้องรับมือกับพฤติกรรมหลากหลาย ที่ไม่อาจคาดเดาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำวิธีดูแลสุขภาพจิตสำหรับ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เบื้องต้นมาฝากทุกคนกันค่ะ ความเครียดของ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่อาจพบเจอ มีการวิจัยหนึ่งที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยที่ประสบกับโรคเรื้อรัง ซึ่งผลสรุปออกมาว่า ผู้ดูแลเพศหญิงนั้นอาจมีแนวโน้มในวันที่ร่างกายไม่พร้อมต่อการดูแลถึง 12.7% โดยอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาทางสุขภาพ แต่ในขณะที่ผู้ดูแลเพศชายมีความไม่พร้อมทางร่างกายเพียง 11.1 % ไม่เพียงเท่านั้น ทั้งสภาพความไม่พร้อมด้านจิตใจผู้ดูแลเพศหญิงมีเปอร์เซ็นต์สูงถึง 16.1 % เมื่อเทียบกับเพศชายที่มีแค่เพียง 11.9 % แต่..ไม่ว่าจะผู้ดูแลจะอยู่เพศสภาพใด ก็ล้วนจะต้องเผชิญกับความเครียดในการดูแลผู้ป่วยอยู่แล้วทั้งสิ้น เพราะการดูแลผู้ป่วยนั้นต้องใช้ความรับผิดชอบอย่างมาก เนื่องจากเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าวันไหนอาการผู้ป่วยจะเป็นอย่างไร ซึ่งทำให้ผู้ดูแลนั้นจำเป็นอย่างมากที่ต้องรับมือผู้ป่วยแต่ละวันได้อย่างเท่าทัน เพราะทุกครั้ง หรือทุกนาทีที่ผู้ป่วยเกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น กะทันหัน คือนาทีชีวิตสำคัญของผู้ป่วยเลยทีเดียว โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุ เพราะผู้ดูแลนั้นต้องมีการเข้าตรวจสุขภาพ อย่างตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ต่อเนื่อง เฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยที่อาจกำเริบ พร้อมทั้งเตือนผู้ป่วยให้ทานยาตรงต่อเวลา ซึ่งตัวยาที่จะนำมาให้ผู้ป่วยแต่ละบุคคลก็มักแตกต่างกันออกไป บางรายก็อาจต้องมีการทานยาหลายชนิดด้วยกัน จึงทำให้ ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ต้องมีความรับผิดชอบ […]


สุขภาพจิต

ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Holiday Depression หรือ Holiday Blues) เมื่อเวลาแห่งความสุขหมดลง

เมื่อใกล้เข้าสู่ช่วงสิ้นปี เทศกาลแห่งวันหยุดยาวก็เริ่มใกล้เข้ามาทุกที หลายคนเริ่มวางแผนเที่ยวในวันหยุดยาวกันแล้ว ช่วงเทศกาลหยุดยาวนี้ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขเลยก็ว่าได้ เพราะได้เที่ยว พักผ่อน ผ่อนคลายจากการทำงานเครียดมาทั้งปี แต่เมื่อเวลาแห่งความสุขหมดลง ก็ต้องกลับมาทำงาน ทำให้หลายคนมีภาวะ ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Holiday Depression หรือ Holiday Blues) วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับ ภาวะซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว พร้อมวิธีรับมือมาให้อ่านกันค่ะ หลังจากหยุดยาวเราจะได้รับมือทันถ่วงที ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Holiday Depression) คืออะไร ภาวะซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว นั้นจะทำให้เรารู้สึกเศร้า เสียใจ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้จะมีความรุนแรงที่เกิดขึ้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน บางคนอาจจะมีภาวะซึมเศร้าเพียงแค่วันแรกของการกลับมาทำงานเท่านั้น สำหรับบางคนอาจจะมีภาวะนี้นานจนกว่าจะถึงวันหยุดอีกครั้งเลยทีเดียว ทำไมบางคนจึงมีภาวะ ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว เทศกาลวันหยุดยาวนั้นถือเป็นเวลาแห่งความสุข และเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนที่ใครหลาย ๆ คนรอคอยเลยก็ว่าได้ ช่วงวันหยุดยาวนั้นถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง บางคนนัดปาร์ตี้ สังสรรค์กับเพื่อน ๆ ที่ไม่ได้เจอกันนาน ทั้งดื่มทั้งกิน สนุกอย่างเต็มที่ สำหรับบางคนอาจเลือกการพักผ่อนด้วยการไปเที่ยว เมื่อเวลาแห่งความสุขเหล่านี้จบลง หลายคนมีภาวะเครียด ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น รายจ่ายที่จ่ายไปกับการปาร์ตี้จนเกินพอดี ทำให้เกิดความเครียดด้านการเงิน อีกหนึ่งความรู้สึกคือรู้สึกเศร้า เหงาที่ต้องอยู่คนเดียว หลังจากที่คนอื่น ๆ ต่างแยกย้ายกันไปทำหน้าที่ […]


สุขภาพจิต

วิธีการตั้งสติ เมื่อกำลังตกอยู่ในความวิตกกังวล

สำหรับบางคนเมื่อเกิดความวิตกกังวล อาจทำให้ไม่สามารถมีสติในการทำงาน หรือไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อหน้าที่การงาน รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะนั้น เมื่อเกิดความวิตกกังวล การตั้งสติให้ได้ไวที่สุดจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่ วิธีการตั้งสติ จะทำอย่างไรได้บ้าง ต้องไปติดตามกันใน Hello คุณหมอ วิธีการตั้งสติ ให้ตัวเอง เมื่อเกิดความวิตกกังวล ความวิตกกังวลสามารถทำให้คุณเหน็ดเหนื่อยและส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณ แต่ก่อนที่คุณจะวิตกกังวลและเครียด การวิจัยจากแหล่งที่เชื่อถือได้พบว่า คุณสามารถลดความวิตกกังวลและความเครียดได้ด้วย วิธีการตั้งสติ แบบง่าย ๆ การตั้งสติ นั้นเป็นเรื่องของการให้ความสนใจกับการใช้ชีวิตประจำวันและสิ่งที่ทำอย่างเร่งรีบ ซึ่งก็มีส่วนในการช่วยลดระดับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับคุณได้ วิธีการตั้งสติ ให้กับตัวเอง เมื่อคุณเกิดความวิตกกังวล สามารถทำได้ดังนี้ ตั้งจุดมุ่งหมาย ในช่วงเช้าก่อนที่จะทำกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ลองตั้งเจตนาและจุดมุ่งหมายเอาไว้ เพื่อจะช่วยให้คุณจดจ่อและเตือนตัวเองว่าทำไมคุณถึงต้องทำอะไรบางอย่าง หากมีบางสิ่งที่คุณกำลังวิตกกังวล เช่น การปราศรัยใหญ่ในที่ทำงาน ให้ตั้งจุดมุ่งหมายในการปราศรัยเอาไว้ก่อนจะเป็นการดีที่สุด ฝึกทำสมาธิ การทำสมาธิสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงหาพื้นที่ว่างและเปิดแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมออนไลน์ เพื่อทำการฝึกสมาธิหรือฝึกสติด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องไปเรียนในที่แพง ๆ หรือใช้เวลามากเกินไป แน่นอนว่า มีการสอนทำสมาธิออนไลน์อยู่มากมายที่ให้คำปรึกษาได้ฟรี นอกจากนั้น การใช้แอปพลิเคชันในการฝึกสมาธิก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี วาดภาพแบบ Doodle หรือระบายสี การวาดภาพแบบ Doodle ประมาณ 2-3 นาที จะทำให้คุณได้รับความคิดสร้างสรรค์ที่ไหลลื่น ทั้งยังช่วยให้คุณได้ปล่อยใจ เพื่อเป็นการหยุดพักอีกด้วย นอกจากนั้นการระบายสีลงในสมุดระบายสี ทั้ง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน