สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

การบำบัดด้วย EMDR ที่ช่วยบำบัดแผลที่เลวร้ายในใจ

บางครั้งเหตุการณ์ที่เลวร้ายในอดีตที่เกิดขึ้น ไม่ได้จบลงไปดังเช่นอดีตที่ผ่านพ้นไป แต่ยังคงฝังอยู่ในความทรงจำของเรา เมื่อใดที่ถูกกระตุ้น ความเจ็บปวด ทุกข์ทรมานที่ฝังอยู่ ก็จะตามมาหลอกหลอนเราถึงปัจจุบัน จนบางครั้งทำให้เรานั้นเกิดความเครียด วิตกกังวล แม้เวลาจะผ่านไปนานขนาดไหนเหตุการณ์เลวร้ายในอดีตก็ยังคงอยู่ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปรู้จักกับ การบำบัดด้วย EMDR ซึ่งเป็นการบำบัดที่ช่วยให้ข้ามผ่านความเจ็บปวดในอดีตที่เคยเกิดขึ้น ออกไปจากสมองของเรา ช่วยให้เราก้าวไปข้างหน้า และใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างปกติ การบำบัดด้วย EMDR คืออะไร EMDR เป็นคำที่ย่อมาจาก Eye Movement Desensitization and Reprocessing เป็นเทคนิคในการการบำบัด ความเจ็บปวดและความทรงจำที่เลวร้ายในอดีต เพื่อบรรเทาความเครียดทางจิตใจที่เกิดขึ้น แม้ว่าเหตุการณ์เลวร้ายเหล่านั้นจะจบลงไปนานแล้ว แต่เมื่อถูกกระตุ้นก็จะทำให้เรานั้นนึกถึงและรู้สึกเจ็บปวดขึ้นมา ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบัน การบำบัดด้วยอีเอ็มดีอาร์ เป็นการบำบัดที่มีโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการทำงานความทรงจำ ความรู้สึก ความเชื่อมั่นในตนเอง และอารมณ์ โดยนักบำบัดจะใช้วิธีการเคลื่อนไหวดวงตา เพื่อช่วยบรรเทาความทรงจำที่เลวร้ายในอดีต ทำให้สมองเกิดความรู้ความเข้าใจใหม่ และยกความทรงจำที่เลวร้ายในอดีตนั้นออกไป เพื่อให้คุณหลุดพ้นจากอดีตที่เลวร้าย หลักการบำบัดด้วย EMDR เป็นอย่างไร การบำบัดแบบอีเอ็มดีอาร์ เป็นรูปแบบการบำบัดโดยธรรมชาติ ที่แสดงให้เห็นว่าจิตใจของคนเรานั้นสามารถประมวลผลได้ใหม่ โดยการยกเรื่องราวที่เลวร้ายในอดีตออกไปจากความทรงจำได้ และช่วยให้เรานั้นสามารถมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามประสบการณ์ที่เลวร้ายในอดีตนั้น สามารถส่งผลต่อการทำงานของสมองได้ เมื่อสมองได้รับรู้ถึงเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจหรือเป็นเหตุการณ์ที่ยากจะลืม สมองจะทำการกักเก็บข้อมูลนี้ไว้ทั้งรูปภาพ ความรู้สึก และอารมณ์ในตอนนั้น การบำบัดด้วยอีเอ็มดีอาร์ […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

เอ็กซ์โทรเวิร์ต (Extrovert) บุคลิกภาพของผู้ที่ชื่นชอบการเข้าสังคม เป็นชีวิตจิตใจ

แม้จะเหนื่อยจากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันมากหนักหน่วงเท่าไหร่ก็ไม่หวั่น แถมยังพร้อมเสมอที่จะเข้าร่วมปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อนฝูงได้ทุกเมื่อ ซึ่งบุคคลที่รักการเข้าสังคมเช่นนี้ อาจถูกจัดอยู่ในกลุ่ม เอ็กซ์โทรเวิร์ต (Extrovert) ที่วันนี้ Hello คุณหมอ จะขออาสาพาทุกคนมาร่วมรู้จักกับบุคคล ที่มีบุคลิกดังกล่าวให้มากขึ้น ไปพร้อม ๆ กันค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] การใช้ชีวิตแบบ Extrovert คืออะไร บุคคลที่มักมีบุคลิกภาพแบบ เอ็กซ์โทรเวิร์ต (Extrovert) หรือการใช้ชีวิตที่ชื่นชอบการเข้าสังคม นั้น คือกลุ่มบุคคลที่มีบุคลิกตรงกันข้ามกับคนชอบเก็บตัว อย่าง อินโทรเวิร์ต (Introvert) ซึ่งมักความชื่นชอบในการปาร์ตี้สังสรรค์ เพื่อเติมพลังกายที่เหน็ดเหนื่อยมาจากการเผชิญปัญหาต่าง ๆ อีกทั้งพวกเขายังมีความสดใสในรูปแบบของตนเองโดยไม่จำเป็นต้องฝืนใด ๆ จึงทำให้บางครั้งพวกเขามักเป็นที่ดึงดูดผู้คนอื่น ๆ ให้เข้ามาร่วมทำความรู้จักกันเป็นพิเศษอีกด้วย ในทางกลับกัน การที่พวกเขามีพฤติกรรมเช่นนี้ ก็อาจถูกผู้คนภายนอกมองไปในทางแง่ลบได้ว่า เป็นคนที่เรียกร้องความสนใจ สร้างจุดเด่นให้คนเข้าหา เพราะไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ตัวคนเดียวได้ แต่ทางที่ดีไม่ว่าผู้คนภายนอกที่มองคุณในมุมไหนก็ตาม เพียงแค่ทุก ๆ วัน คุณใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใครก็เป็นพอแล้วค่ะ ลักษณะของผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ Extrovert คุณสามารถสังเกตจากบุคคลรอบข้างได้อย่างง่ายดาย เพราะพวกเขานั้นอาจเผยพฤติกรรม หรือปฏิกิริยาต่อคนอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ให้เห็นได้อย่างชัดเจน ชอบที่จะพูดคุยอยู่เสมอ ในกรณีนี้อาจรวมไปถึงการพูดคุยได้ทั้ง ครอบครัว เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่บุคคลที่พึ่งจะทำความรู้จักได้ไม่นาน และพยายามหาเรื่องมาคุยได้ตลอดเวลา […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ภาวะซึมเศร้าและความเศร้า มีความแตกต่างกันอย่างไร

มีผู้คนมากมายที่ต้องเผชิญกับความเศร้าหรือความหดหู่ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต แต่บางคนก็อาจคิดว่าตัวเองกำลังตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า ความจริงแล้ว ภาวะซึมเศร้าและความเศร้า มีความแตกต่างกันอยู่ การเข้าไปพบคุณหมอจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ลองมาดูกันดีกว่าว่า ภาวะซึมเศร้าและความเศร้า แตกต่างกันอย่างไร ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน ทำความรู้จักกับ ภาวะซึมเศร้าและความเศร้า การรับรู้และความเข้าใจในความแตกต่างของทั้ง 2 สิ่งนี้ สามารถช่วยให้บุคคลรับรู้ว่าเมื่อใดที่ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างเหมาะสม ภาวะซึมเศร้า โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นความผิดปกติทางจิตที่มีผลกระทบรุนแรงในหลาย ๆ ช่วงชีวิต ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ภาวะนี้สามารถส่งผลให้พฤติกรรมและทัศนคติของคนเราเปลี่ยนไปได้ ในปี ค.ศ. 2015 มีผู้คนราว 16.1 ล้านคน ในสหรัฐอเมริกา ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีอาการซึมเศร้าอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงปีค.ศ. 2014 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.7 ของผู้ใหญ่ทั้งหมดในประเทศ โดยอาการต่าง ๆ ของภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความรู้สึกท้อแท้ ความเศร้า ความสิ้นหวัง ขาดแรงจูงใจ การสูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่แต่ละคนเคยพบว่าสนุก ในกรณีที่รุนแรงบุคคลนั้นอาจคิดถึงหรือพยายามฆ่าตัวตาย พวกเขาอาจไม่รู้สึกอยากใช้เวลาร่วมกับครอบครัวหรือเพื่อนฝูงอีกต่อไป อาจหยุดทำงานอดิเรก หรือรู้สึกว่าไม่สามารถไปทำงานหรือไปโรงเรียนได้ หากเกิดความรู้สึกสงสัยและมีอาการเหล่านี้เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์อาจวินิจฉัยว่า บุคคลนั้นเป็นโรคซึมเศร้า (Major Depressive […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปรึกษานักบำบัดออนไลน์ (Teletherapy) สามารถทำได้จริงหรือ?

ในยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในด้านของกาารสื่อสาร ถือว่าเป็นเรื่องที่ทำให้เรานั้นสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะการ ปรึกษานักบำบัดออนไลน์ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขภาพจิต เพราะส่วนใหญ่แล้วคนที่ประสบกับปัญหานี้คงไม่อยากออกที่จะพบผู้คนจำนวนมาก ให้เกิดเป็นกังวลใจเสียเท่าไหร่นัก วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีทางออกดี ๆ ในการขอคำแนะนำจากแพทย์ที่ทำได้จริงมาฝากทุกคนให้ได้ทราบกันค่ะ ทำความเข้าใจการ ปรึกษานักบำบัดออนไลน์ กันเถอะ การขอคำปรึกษา หรือพูดคุยกับแพทย์ผ่านทางออนไลน์ (Teletherapy) ถือว่าเป็นการบำบัดที่ค่อนข้างอำนวยความสะดวกอย่างมาก เพราะผู้คนส่วนใหญ่นั้นมักใช้เวลาไปกับภาระหน้าที่ในชีวิตประจำวันจนไม่มีเวลาว่างมากพอที่จะเขาเข้าพบกับแพทย์ในโรงพยาบาลโดยตรง ซึ่งในการเข้าร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ หรือนักบำบัดช่องทางออนไลน์ ส่วนใหญ่มักจะมาในรูปแบบการให้คำปรึกษาทางด้านปัญหาต่าง ๆ ของสุขภาพจิต ที่ระบุไว้แยกตามประเภทหัวข้อไว้ในแอพพลิเคชั่นที่ผู้พัฒนาด้านเทคโนโลยีสร้างขึ้นมา อีกทั้งยังสามารถทำให้ผู้ป่วยอาจเลือกแพทย์ รวมไปถึงวัน เวลา ที่ระบุไว้ในแอพพลิเคชั่นได้ด้วยตนเองอีกด้วย มากไปกว่านั้นบางแอพพลิเคชั่นยังให้คุณเลือกพูดคุยกับคุณหมอทั้งในแบบเสียงธรรมดา หรือแบบวีดิโอคอล เพื่อลดอาการวิตกกังวลในการพบเจอ เรียกได้ว่าเป็นการสื่อสารอันก้าวไกลแบบใหม่ที่ตอบสนองแก่การใช้ชีวิตในสังคมยุคปัจจุบันได้อย่างมากเลยทีเดียว ข้อดี และข้อเสียในการ ปรึกษานักบำบัดออนไลน์ งานวิจัยส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่าการพูดคุย หรือขอคำแนะนำจากนักบำบัดทางออนไลน์นั้น มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการนัดพบตัวต่อตัว เพราะเปรียบเสมือนเป็นการบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา ที่นักบำบัดนิยมนำมาใช้ในการสร้างความรับรู้ความเข้าใจของผู้ป่วยด้านสุขภาพจิต แต่เปลี่ยนจากพูดคุยต่อหน้ามาเป็นการพูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์แทน ที่สำคัญเทคนิคการรักษาเช่นนี้ยังมีข้อดีอื่น ๆ ที่ผู้ใช้บริการทุกคนล้วนให้ความพึงพอใจเป็นอย่างมาก คือ… ลดค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น ค่าเดินทาง ค่ารักษา แต่อาจยังมีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยที่ต้องชำระตามแต่ละแอพพลิเคชั่น หรือคุณหมอได้ระบุไว้ เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้ผู้ป่วยในการปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญได้มากขึ้น ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงพอสมควร เพราะเนื่องจากบางคนนั้นไม่สามารถที่จะเดินทาง หรือมีเวลามากพอในการเข้าไปพับปะคุณหมอในโรงพยาบาลได้โดยตรง สุขภาพจิตใจ และสุขภาพกายดีขึ้น อย่างที่ทราบกันดีเนื่องจากขณะนี้มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงทำให้การที่จะออกไปข้างนอกแต่ละทีนั้นค่อนข้างได้รับความเสี่ยง จึงทำให้บางคนหันมาใช้แอพพลิเคชั่นที่สามารถพูดคุยกับคุณหมอได้มากขึ้น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคเรียกร้องความสนใจผ่านตัวแทน อาการป่วยทางจิตที่ควรเร่งรักษา

โรคเรียกร้องความสนใจผ่านตัวแทน เรียกได้ว่าอาจเป็นโรคทางจิตที่ค่อนข้างรุนแรงอยู่พอสมควรเลยทีเดียว เนื่องจากเราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าใครจะถูกตกเป็นเหยื่อในการกระทำของผู้ป่วยโรคนี้ได้บ้าง ทางที่ดีเราควรศึกษาถึงอาการแรกเริ่มของโรคดังกล่าวไว้ ดังนั้น Hello คุณหมอ จึงได้นำข้อมูลและสาระสำคัญเกี่ยวกับโรคนี้มาฝากคุณผู้อ่านกันค่ะ เพื่อให้คุณผู้อ่านได้ใช้เป็นข้อสังเกตในการแจ้งข้อมูลผู้เชี่ยวชาญให้นำพาผู้ป่วยไปรักษาได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmr] โรคเรียกร้องความสนใจผ่านตัวแทน คืออะไร โรคเรียกร้องความสนใจโดยผ่านตัวแทน หรือ กลุ่มอาการ มึนเชาเซน บาย พร็อกซี (Munchausen Syndrome by Proxy ; MSBP) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสุขภาพจิตที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักสร้างการกระทำ หรือแสดงกิริยาบางอย่างผ่านบุคคลรอบข้าง เพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่น โกหกว่ามีคนป่วย หรือแม้แต่เป็นคนลงมือทำร้ายบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อด้วยตนเองแล้วแสร้งว่าพวกเขานั้นมีอาการบาดเจ็บ หรือป่วยด้วยโรคอื่น ๆ เพื่อให้บุคคลที่ได้รับฟังเกิดความสนใจ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ตัวแทนหรือเหยื่อที่ผู้ป่วยเลือกกระทำ อาจเป็นได้ตั้งแต่ เด็กเช่น บุตรหลาน ผู้สูงอายุ ไปจนถึงผู้พิการที่อยู่ภายใต้การดูแลของตน สาเหตุที่แท้จริงนั้นเราไม่สามารถชี้ชัดได้เลยว่าเหตุใดจึงก่อให้เกิดโรคดังกล่าวขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญอาจคาดว่าเป็นเพราะผู้ป่วยถูกกระทำบางอย่างที่ทำให้เกิดฝังใจ และเจ็บปวดทางจิตใจมาตั้งแต่อดีต หรือตั้งแต่ช่วงเยาว์วัย เช่น การถูกทอดทิ้ง การถูกล่วงละเมิดทางร่างกาย เลยเกิดเป็นความเครียด วิตกกังวล นำจนไปสู่พฤติกรรม ความคิด ที่อยากมีคนมาให้ความสนใจ เอาใจใส่แก่พวกเขานั่นเอง อาการแรกเริ่ม ของโรคเรียกร้องความสนใจผ่านตัวแทน ถึงแม้การแสดงออกทางพฤติกรรมของผู้ป่วยอาจแตกต่างกันออกไปตามความคิด และอารมณ์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักมีสัญญาณเตือนบางอย่างที่อยู่ในอาการของโรคนี้ค่อนข้างเหมือนกันอยู่บ้าง ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ดังนี้ เริ่มมีคำพูดที่โกหกอยู่บ่อยครั้ง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

คิดว่าตัวเองไร้ค่า เก่งไม่จริง คุณอาจเป็น โรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ

เป็นเรื่องปกติที่ความสามารถและความเก่งในด้านต่างๆ ของคนเรามักไม่เท่ากัน แต่สำหรับบางคนมักคิดว่าสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่นั้นยังไร้ค่า ยังไม่ดีพอ ทั้งที่คนอื่นมองว่าคุณเก่ง หากคุณกำลังมีความคิดแบบนี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า คุณอาจจะกำลังเป็น โรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ แต่อาการของโรคนี้จะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันในบทความที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากกันวันนี้ โรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ (Impostor Syndrome) เป็นอย่างไร โรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ (Impostor Syndrome) หมายถึงประสบการณ์ภายในที่เชื่อว่าคุณไม่มีความสามารถอย่างที่คนอื่นมองว่าคุณเป็น แม้คำจำกัดความมักจะถูกใช้กับสติปัญญาและความสำเร็จ แต่ก็มีความเชื่อมโยงกับความสมบูรณ์แบบและบริบททางสังคม พูดง่ายๆ ก็คือ โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ คือประสบการณ์ของความรู้สึกที่เหมือนของปลอม คุณจะรู้สึกราวกับว่าเมื่อใดก็ตามที่คุณถูกพบว่าเป็นคนหลอกลวง เช่น คุณไม่ได้ไปถึงจุดที่ตั้งเป้าหมายไว้ หรือโชคไม่ดี มันสามารถส่งผลกระทบต่อทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสถานะทางสังคมพื้นฐาน การทำงาน ระดับทักษะ หรือระดับความเชี่ยวชาญ นักจิตวิทยาได้อธิบายถึงกลุ่มอาการนี้เป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1978 จากนั้นยังมีการวิจัยเพิ่มเติมในปีค.ศ. 2011 ชี้ให้เห็นว่า ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนจะมีอาการของโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งพอแอบแฝงอยู่อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต โดยอาการนี้มักจะเป็นที่แพร่หลายอย่างยิ่งในหมู่ผู้หญิงที่ถือว่าประสบความสำเร็จสูง หลายคนอาจจะมีอาการในช่วงเวลาที่จำกัด เช่น ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของงานใหม่เท่านั้น ประเภทของโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ Dr.Valerie Young นักพูด นักเขียน และผู้เชี่ยวชาญชั้นนำที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติเกี่ยวกับโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ ได้แบ่งชนิดของโรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอเอาไว้ 5 […]


การเสพติด

บ้างาน เสพติดการทำงาน เช็กด่วน! คุณกำลังมีอาการแบบนี้อยู่รึเปล่า

งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข แต่ทำงานหนักมากไป อาจกลายเป็นคน บ้างาน หรือ เสพติดการทำงาน ได้ ซึ่งการเสพติดงานนั้น ส่งผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ในระยะยาวอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ แต่…เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังบ้างาน  วันนี้ Hello คุณหมอ มีสัญญาณของการบ้างานมาฝากค่ะ บ้างาน คืออะไร มีอยู่หลายคำจำกัดความทีเดียวที่ใช้เพื่ออธิบายถึงขอบเขตและความหมายของคำว่าบ้างาน หรือ เสพติดการทำงาน (Workaholic) ซึ่งก็มักจะหนีไม่พ้นคำอธิบายที่ว่า การบ้างาน คือสภาวะของบุคคลผู้ซึ่งหมกหมุ่นอยู่กับการทำงานตลอดเวลา ทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างหนักหน่วงในการทำงาน แม้จะเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์หรือวันหยุดยาว ก็ยังคงใช้เวลาจดจ่ออยู่กับภาระงาน จนเรียกได้ว่าเป็นการเสพติดงาน อาการ เสพติดงาน นี้ ก็คล้ายกับอาการเสพติดชนิดอื่นๆ คือไม่สามารถที่จะหยุดได้จนกว่าจะประสบความสำเร็จหรือบรรลุผล เป้าหมายของผู้ที่ทุ่มเทในการทำงานอาจเป็นตำแหน่งที่สูงขึ้น เงินเดือนที่มากขึ้น โบนัสที่เพิ่มขึ้น หรือเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น ช่างฟังดูเป็นตัวอย่างของความตั้งใจทำงาน และสร้างแรงผลักดันในการบรรลุเป้าหมายเสียจริงๆ แต่ทว่า อาการเสพติดก็มักจะมีผลกระทบที่ไม่ต่างกันสักเท่าไรไม่ว่าจะเป็นการเสพติดการกินหวาน เสพติดยา หรือเสพติดงาน สิ่งที่จะเข้ามาหยุดอาการเสพติดเหล่านี้ได้ ก็คือปัญหาทางสุขภาพ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายเริ่มเจ็บป่วยหรือทรุดโทรมลง ผู้ที่ เสพติดการทำงาน ก็จะรู้สึกตัวได้ว่าถึงเวลาแล้วล่ะที่จะต้องหยุดหรือพักงานลงบ้าง สัญญาณที่บอกว่ากำลัง บ้างาน นักวิจัยภาควิชาจิตวิทยาสังคมศาสตร์ (The Department of Psychosocial Science) แห่งมหาวิทยาลัยเบอร์เกน (University […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder)

ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder) หรือที่มักเรียกกันว่า โรคเครียด เป็นภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นหลังจากต้องเผชิญความกดดัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมหรือเครียดจัด และไม่สามารถตอบสนอง หรือปรับตัวได้อย่างเหมาะสม คำจำกัดความภาวะการปรับตัวผิดปกติ คืออะไร ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder) หรือที่มักเรียกกันว่า โรคเครียด เป็นภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นหลังจากต้องเผชิญความกดดัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมหรือเครียดจัด และไม่สามารถตอบสนอง หรือปรับตัวได้อย่างเหมาะสม จนส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงาน การเรียน ความสัมพันธ์ หรือการเข้าสังคม การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิต เช่น คนที่คุณรักเสียชีวิต มีปัญหาด้านความรัก ถูกไล่ออกจากงาน มักทำให้เรารู้สึกเครียดจัด แต่โดยทั่วไปแล้ว คนเรามักปรับตัวได้ภายใน 2-3 เดือนหลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ผู้ที่มีภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักจะทำใจ ยอมรับ หรือปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดังกล่าวไม่ได้ ร่างกายและจิตใจตอบสนองต่อสถานการณ์นั้น ๆ ในแง่ลบ จนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ในที่สุด อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องเผชิญกับภาวะนี้เพียงลำพัง เพราะยังมีวิธีการรักษาที่ใช้เวลาไม่นาน ที่จะช่วยให้คุณสามารถกลับคืนสู่สภาวะปกติได้อีกครั้ง ภาวะการปรับตัวผิดปกติ พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะการปรับตัวผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้บ่อยในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต อย่างช่วงวัยรุ่น ช่วงวัยกลางคน ช่วงบั้นปลายชีวิต โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ ภาวะการปรับตัวผิดปกติ อาการของภาวะการปรับตัวผิดปกติขึ้นอยู่กับประเภทของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ภาวะแมเนีย (Mania) อีกหนึ่งอาการพบบ่อยในผู้ป่วยไบโพลาร์

เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคไบโพลาร์ (Bipolar) เกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์  ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จึงมักมีอารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย บทจะดีก็อารมณ์ดีตื่นตัวผิดปกติ บทจะร้ายก็ก้าวร้าว มีอารมณ์รุนแรง หรืออาจมีอาการซึมเศร้าอย่างหนัก บทความนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ  ภาวะแมเนีย หรือที่เรียกว่า ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ เป็นอีกหนึ่งภาวะทางอารมณ์ของโรคไบโพลาร์ จะมีลักษณะและอาการอย่างไร ติดตามอ่านในบทความนี้ค่ะ ทำความรู้จัก ภาวะแมเนีย (Mania) ภาวะแมเนีย (Mania หรือ Hypomania) หรือ ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ โดยเกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ดีผิดปกติ มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา สำหรับผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ที่อยู่ในภาวะแมเนีย อาจเกิดขึ้นสลับกับภาวะซึมเศร้า หรือมีอารมณ์ก้าวร้าว รุนแรง หากปล่อยไว้เนิ่นนานโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันแล้วยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจอีกด้วย ภาวะแมเนียเกิดจากสาเหตุอะไร   ถึงแม้ว่าภาวะแมเนีย อาจเป็นภาวะหนึ่งในอาการของโรคไบโพลาร์ แต่ภาวะแมเนียอาจเกิดจากสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ได้ดังนี้ การใช้แอลกอฮอล์หรือยาเสพติด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการนอนหลับ อาการซึมเศร้า มีระดับความเครียดสูง ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด อาการของภาวะแมเนีย ในผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ ภาวะแมเนียส่งผลให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ดีผิดปกติ มีการตื่นตัวตลอดเวลา รวมถึงอาการอื่น ๆ  ดังนี้ มีพลังมากมาย ฟุ้งซ่านได้ง่าย พูดเร็ว ตัดสินใจเร็ว ขนาดการยับยั้งชั่งใจ มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดผลกระทบภายหลัง พูดเยอะผิดปกติ หรือมีความรู้สึกกดดันว่าต้องพูดต่อไป นอนน้อยกว่าปกติ มีพลังมาก ไม่รู้สึกง่วงนอน มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น การพูดคำหยาบ การแต่งกาย รู้สึกมีแรงผลักดันอย่างมาก […]


การจัดการความเครียด

ความเครียดจากการตกงาน เมื่อโรคระบาด นำพามาซึ่งความซึมเศร้า

ในช่วงที่ยังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจซบเซา เนื่องจากปัญหาโรคระบาด อย่างในปัจจุบันนี้ การตกงาน ก็อาจจะเป็นปัญหาที่ยากจะเลี่ยงได้ แต่การตกงานนั้นนอกจากจะทำให้เราต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านการเงินแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพจิต เพราะความเครียดที่รุมเร้าได้อีกด้วย Hello คุณหมอ เลยอยากจะมาแนะนำ แนวทางในการรับมือกับ ความเครียดจากการตกงาน ที่ดีต่อสุขภาพจิตของคุณกันค่ะ การตกงาน ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพจิต การตกงานนั้นจัดได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ ในชีวิตหลายๆ คน เพราะส่งผลโดยตรงกับปัญหาเรื่องปากท้อง ที่มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะนำไปสู่ปัญหาโรคซึมเศร้า วิตกกังวล การใช้ความรุนแรง และการฆ่าตัวตายได้ และจากสถิติพบว่า ผู้ที่ตกงานนั้นมีโอกาสสูงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตต่างๆ มากกว่าผู้ที่กำลังมีงานที่มั่นคงอีกด้วย เหตุผลที่ว่าทำไมความเครียดจากการตกงานนั้นจึงผลอย่างรุนแรงต่อสุขภาพจิต มีดังนี้ ความยากลำบากในการหาซื้อสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต การที่เราจะใช้ชีวิตได้นั้นจำเป็นต้องใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้ออาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค หรือที่อยู่อาศัย ผู้ที่ตกงานจะต้องพยายามขวนขวายเพื่อจะได้เติมเต็มความจำเป็นเหล่านั้น ทำให้เกิดความเครียด และส่งผลให้สุขภาพจิตเสียได้ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยลง ผู้ที่ตกงานมักจะมีความอาย และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะติดต่อพบหากับเพื่อนหรือคนรู้จัก หรือไม่มีโอกาสได้พบเจอกับคนอื่นมากเท่ากับตอนทำงาน ทำให้เกิดความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว หดหู่ และอารมณ์ไม่ดีได้มากขึ้น ไม่มีเป้าหมายในชีวิต การทำงานนั้นเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เรามีเป้าหมายในชีวิต มีจุดมุ่งหมายที่เห็นได้ชัดขึ้นว่าสิ่งที่ควรทำในแต่ละวันคืออะไร การตกงานจะทำให้คุณสูญเสียเป้าหมายนั้น และอาจทำให้หลายคนรู้สึกขาดความหมายในการมีชีวิต และทำให้จิตตก และสุขภาพจิตเสียได้ รับมือกับความเครียดได้ไม่ดี บางคนอาจจะรับมือกับความเครียดจากการตกงานได้อย่างไม่เหมาะสม คือแทนที่จะพยายามหางาน หารายได้ ลดรายจ่าย หรือหาวิธีที่จะให้ตัวเองหลุดพ้นจากภาวะว่างงานนั้น แต่อาจจะหันไปหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ความรุนแรงแทน กลายเป็นการเสียทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตแทน หนทางในการรับมือกับ ความเครียดจากการตกงาน เรามีวิธีดีๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน