สุขภาพชาย

สมรรถภาพทางกาย สุขภาพทางเพศ สุขภาพจิต ฮอร์โมน และการนับถือตัวเอง ล้วนเป็นสิ่งที่ส่งผลคือ สุขภาพชาย ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมเรื่องเหล่านี้เอาไว้ให้คุณผู้ชายได้ศึกษาและลองนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพชาย

โรคอ้วนในผู้ชาย กับปัญหาสุขภาพที่เพศชายพบบ่อย

โรคอ้วนไม่ได้มีปัญหาเฉพาะแค่รูปร่างเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสุขภาพร่างกายอีกด้วย  โดยเฉพาะ โรคอ้วนในผู้ชาย เหล่าคุณผู้ชายอยากรู้หรือไม่ว่า โรคอ้วนส่งผลกระทบอะไรบ้างต่อร่างกายของคุณ แต่ก่อนอื่นเลยเราจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโรคอ้วน กับน้ำหนักเกินเกณฑ์มีความแตกต่างกันนะ ไปอ่านเลย โรคอ้วน กับน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานต่างกันอย่างไร โรคอ้วน คือ  มีไขมันสะสมมากเกินไป โดยมี BMI (ดัชนีมวลกาย) มากกว่า 30 น้ำหนักเกิน คือ ภาวะที่บุคคลนั้นมีน้ำหนักมากกว่าปกติสำหรับส่วนสูง อายุ และเพศ จะถือว่าน้ำหนักเกินเมื่อ BMI อยู่ระหว่าง 25 ถึง 29.9 อาจมี หรือไม่มีไขมันสะสมมากเกินไปก็ได้ การคำนวณ BMI คือนำน้ำหนักตัว(Kg) / (ส่วนสูง(m) ยกกำลังสอง) สามารถคำนวณได้ตั้งแต่ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ไขมันที่หน้าท้อง อันตรายกว่าที่คิด จริงหรือเปล่า ใช่ ปัญหาของไขมันหน้าท้อง คือไม่ได้จำกัดอยู่แค่ไขมันใต้ผิวหนังเท่านั้น แต่ยังรวมถึงไขมันในช่องท้องอีกด้วย ซึ่งไขมันที่หน้าท้องที่เราเห็นอาจคิดว่าไม่อันตราย แต่ความจริงแล้วภายในร่างกายที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ อาจส่งผลกระทบได้อันตรายมากกว่าที่คุณคิด ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ และหลอดเลือด ที่เรียกมันว่าหลอดเลือด หมายถึง "การแข็งตัวของหลอดเลือดแดง " มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก เกิดภาวะซึมเศร้า […]

สำรวจ สุขภาพชาย

ปัญหาฮอร์โมนในเพศชาย

รู้หรือไม่ ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้คุณผู้ชายมี ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ

ปัญหาเรื่องเทสโทสเตอโรนต่ำ เป็นสิ่งที่ผู้ชายกำลังตื่นตัวกันเป็นอย่างมาก จนน่าสงสัยว่า ทำไมผู้ชายในยุคนี้ถึงมีปัญหาเรื่อง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปดูกันว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ชายที่สุขภาพดี ควรที่จะรักษาระดับการสร้างเทสโทสเตอโรนตามปกติเอาไว้ได้ ระดับเทสโทสเตอโรนที่ลดต่ำลงเป็นสิ่งบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงสุขภาพของผู้ชายที่ย่ำแย่หรืออาจผิดปกติ ขณะเดียวกันอาจมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับเทสโทสเตอโรนของคุณได้ โดยคุณอาจจะคิดไม่ถึง และนี่คือปัจจัยต่างๆที่คุณผู้ชายควรระวังเอาไว้! ปัจจัยที่ส่งผลให้ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ 1 คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ อาหารที่เรากินส่วนใหญ่ในตอนนี้ มักเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นข้าวขัดขาว ขนมปัง พาสต้า อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารกล่องสำเร็จรูป การกินอาหารเหล่านี้เป็นประจำ ทำให้การหลั่งอินซูลินของตับอ่อนเพิ่มขึ้น ระดับอินซูลินที่เพิ่มขึ้นนี้มักจะเกิดขึ้นอยู่เป็นเวลานาน ก่อนที่จะโรคเบาหวานจะจู่โจมตัวคุณด้วยซ้ำ อินซูลินที่เพิ่มรบกวนเส้นทางของฮอร์โมนหลักในร่างกาย และกดการสร้างเทสโทสเตอโรนของร่างกาย เพราะฉะนั้นคุณควรระมัดระวังในการบริโภคอาหารประเภทนี้  เพราะไม่เพียงแต่มันทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ลงได้แล้ว มันยังรบกวนระบบฮอร์โมนเพศชายของคุณด้วย 2 ฮอร์โมนในเนื้อ ปัจจุบันมีการใช้ฮอร์โมนอย่างมากในเนื้อวัว เนื้อหมู และอุตสาหกรรมนม ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบกินเนื้อ มันก็อาจส่งผลต่อฮอร์โมนเพศชายของคุณได้ ทางออกก็คือพยายามกินผักให้มากขึ้น ผักช่วยให้สุขภาพดี และยังช่วยให้การสร้างฮอร์โมนเป็นปกติด้วย 3 สารเคมีในสิ่งแวดล้อม มีสารเคมีนับพันชนิดที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา และสารเคมีหลายอย่างมีลักษณะที่เหมือนกับเอสโตรเจน (Estrogen) การได้รับกับสารเคมีเหล่านี้จึงรบกวนและขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อต่าง ๆ ได้ งานวิจัยชี้ว่าสารเคมีอย่าง เช่น พาทาเลต หรือ BPA ได้แสดงผลถึงการลดลงของเทสโทสเตอโรนในทุกกลุ่มอายุ และกระทั่งรบกวนการแตกเนื้อหนุ่มในเด็กผู้ชายด้วย การกินอาหารออร์แกนิกเป็นหนทางที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในการหลีกเลี่ยงสารเคมีเหล่านี้ 4 ความเครียด ถ้าคุณเจอความเครียดสูงอยู่ตลอดเวลา ความสามารถระบบการสืบพันธุ์ของคุณก็จะมีปัญหาแน่นอน […]


ปัญหาฮอร์โมนในเพศชาย

วัยทองในผู้ชาย...เรื่องจริงหรืออิงนิยาย?

ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่า ผู้ชายมีภาวะ “วัยทอง” เหมือนผู้หญิงจริงหรือไม่ ในผู้หญิง วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ส่งผลกระทบหลายประการต่อสุขภาพและร่างกายของผู้หญิง เช่น สภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสามารถสังเกตได้ชัดเจน แต่สำหรับผู้ชายก็สามารถพบอาการและการเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่างได้เช่นกัน ที่เรียกว่า “วัยทองในผู้ชาย” ขณะที่อายุมากขึ้น Hello คุณหมอ ตามหาข้อมูลของเรื่องนี้มาฝากกัน ไปดูกันเลยดีกว่า อาการ วัยทองในผู้ชาย ช่วงวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงมักจะเกิดอาการหลายอย่าง เนื่องมาจากการลดลงของฮอร์โมนเพศ ซึ่งก็เป็นอาการที่สามารถพบได้ในผู้ชายที่มีอายุมากขึ้นด้วยเช่นกัน อย่างเช่น อาการร้อนวูบวาบ อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย ไขมันสะสมรอบเอวและหน้าอก สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ผิวแห้งและบางลง เหงื่อออกมากขึ้น การศึกษาในวารสาร New England Journal of Medicine ยังระบุด้วยว่า นอกเหนือจากอาการเหล่านี้แล้ว อาการที่พบได้บ่อยในผู้ชายสูงวัย ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศชายก็คือ อารมณ์ทางเพศที่ลดลง การแข็งตัวในตอนเช้าที่บ่อยน้อยลง และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ รวมทั้งยังมีอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น พลังวังชาที่ลดลง ไม่สามารถเดินได้ไกล และไม่สามารถทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกายได้ เช่น การวิ่ง การยกของหนัก รวมถึงการคุกเข่า ก้มตัว หรือนั่งยองๆ ก็จะยากมากขึ้น สาเหตุของอาการ วัยทองในผู้ชาย นักวิจัยบางคนชี้ว่า อาการเหล่านี้เกิดมาจากการลดลงของฮอร์โมนแอนโดรเจนในผู้ชายสูงวัย (Androgen Decline In The Aging Male-ADAM) […]


ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เทสโทสเตอโรนช่วยคุณได้หรือเปล่า?

สำหรับคุณผู้ชาย ระดับเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ของคุณ จะเชื่อมโยงโดยตรงกับสุขภาพทางเพศ ดังนั้นอาจดูสมเหตุผสมผล ที่จะบอกว่าเทสโทสเตอโรนส่งผลต่อการ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอาจไม่ได้เกี่ยวกับระดับเทสโทสเตอโรนต่ำเลยก็เป็นได้ ถ้าอย่างนั้นบทบาทของเทสโทสเตอโรนในเรื่องสุขภาพทางเพศของผู้ชายคืออะไร และมันส่งผลต่อสมรรถทางเพศของคุณอย่างไร? Hello คุณหมอ จะพาไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเทสโทสเตอโรนและสมรรถภาพทางเพศกัน สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเทสโทสเตอโรน เทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมน ที่เรียกว่าแอนโดรเจน ซึ่งสร้างขึ้นโดยอัณฑะ แต่ต่อมอะดรีนาลีนก็สร้างฮอร์โมนนี้ขึ้นมาด้วยในปริมาณเล็กน้อย เทสโทสเตอโรนมีส่วนในการสร้างอสุจิ และแรงขับทางเพศ ปัญหาเรื่องเทสทอสเทอโรนต่ำ เป็นสิ่งที่พบได้บ่อย จากข้อมูลของ American Urological Association ของสหรัฐฯ ชายชาวอเมริกันหนึ่งในห้า ที่อายุมากกว่า 60 มีระดับ เทสโทสเตอโรนต่ำ แต่ปัญหานี้ก็เกิดกับผู้ชายที่อายุน้อยกว่าด้วยเช่นกัน ที่จริงแล้วเมื่อคุณอายุแตะสามสิบ ระดับเทสโทสเตอโรนของคุณก็อาจจะเริ่มลดลงแล้วก็เป็นได้ เนื่องจากเทสโทสเตอโรน มีบทบาทในเรื่องที่เกี่ยวกับการทางเพศ และอาการของการมีเทสโทสเตอโรนต่ำ นอกจากการสร้างอสุจิที่ลดลง มวลกล้ามเนื้อลดลง แรงขับทางเพศลดลง และขนาดหน้าอกที่ใหญ่ขึ้นแล้ว ก็ยังอาจมีอาการไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศรวมอยู่ด้วย หากนั่นก็ยังไม่อาจสรุปได้ว่า ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำเป็นเหตุให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คืออะไร ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหลอดเลือด ไม่ใช่เรื่องของฮอร์โมน ในการรักษาการแข็งตัวของอวัยวะเพศเอาไว้ได้ คุณต้องการการสูบฉีดโลหิตที่มากพอเข้าไปสู่อวัยวะเพศ ซึ่งต้องการหัวใจที่แข็งแรงและการสูบฉีดโลหิตที่ดี ซึ่งไม่เกี่ยวกับระดับเทสโทสเตอโรน นักวิจัยอาจยังไม่เข้าใจเต็มที่ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเทสโทสเตอโรนและการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แต่ที่พวกเขารู้แน่นอนสองเรื่องก็คือ ระดับเทสโทสเตอโรนปกติ […]


สุขภาพชาย

มีลูกยาก สัมพันธ์กับเทสโทสเตอโรนอย่างไร ?

คุณอาจรู้แล้วว่า หากเทสโทสเตอโรนต่ำสามารถทำให้ผู้ชายหมดความสนใจในเรื่องเพศได้ และไม่เพียงเท่านั้น ยังกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ชาย ทำให้เกิด มีลูกยาก หรือเป็นหมัน แต่การแก้ปัญหา หรือรักษาภาวะนี้ในผู้ชาย ไม่ใช่เพียงแค่การเติมเทสโทสเตอโรน (Testosterone) เข้าไปในร่างกาย คงต้องผ่านกระบวนการตามแพทย์แนะนำทีละขั้นตอน เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้บุคคลที่ตกอยู่ในมีลูกยาก มีอาการแย่ลงกว่าเดิมก็เป็นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ นำความรู้เบื้องต้นของความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนเทอเทสเตอโรน กับการมีลูกยาก พร้อมทั้งการรักษาทางการแพทย์ มาฝากทุกคนให้ทราบกันค่ะ เทสโทสเตอโรนกับภาวะเจริญพันธุ์ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) มีบทบาทสำคัญในการเจริญพันธุ์ เนื่องจากมีหน้าที่ในการสร้างอสุจิ โดยกระบวนการสร้างฮอร์โมนชนิดนี้ เริ่มต้นขึ้นที่ในสมองส่วนที่เรียกว่าไฮโปธาลามัส และต่อมใต้สมองซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน สมองส่วนไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) จะสร้างสารเคมี ซึ่งทำหน้าที่สื่อสารกับต่อมใต้สมองให้สร้างฮอร์โมนสำคัญ ที่เกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเซลล์อสุจิขึ้น ขณะเดียวกันอัณฑะก็จะถูกระตุ้นให้สร้างฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างอสุจิ แต่เมื่อใดก็ตามที่เทสทอสเทอโรนลดต่ำ ก็เท่ากับว่าร่างกายจะผลิตอสุจิได้น้อยลง ทำให้โอกาสที่จะมีลูกน้อยลงตามไปด้วยซึ่งหนึ่งในการรักษาภาวะที่เทสทอสเทอโรนลดต่ำลง ก็คือ การให้ฮอร์โมนทดแทน แต่ผู้เชี่ยวชาญอย่างเช่น นพ.แฮริส เอ็ม เนเกอร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ แห่งโรงเรียนแพทย์ ณโรงพยาบาลเมาท์ไซนายในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก็ชี้ว่า แทนที่จะได้ผลดี การรับเทสโทสเตอโรนทดแทน อาจจะทำร้ายภาวะเจริญพันธุ์ของคุณมากไปกว่าเดิมได้ ผลกระทบของการใช้ฮอร์โมนทดแทนกับภาวะเจริญพันธุ์ เหตุผลหลักก็คือ เมื่อคุณได้รับเทสโทสเตอโรนทดแทนในขนาดที่ไม่เหมาะสม หรือได้รับฮอร์โมนติดต่อกันเป็นเวลานาน สมองจะคิดว่าได้ทำหน้าที่ครบแล้ว และลดการสร้างฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิน รีลีสซิ่ง (Gonadotropin […]


ปัญหาฮอร์โมนในเพศชาย

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ลดต่ำ กับความต้องการทางเพศ

การสูญเสียแรงขับทางเพศเป็นปัญหาที่อาจพบได้บ่อย โดยอาจมีสาเหตุมาจากความเครียดในเรื่องต่าง ๆ เช่น ชีวิตส่วนตัว การทำงาน การเปลี่ยนแปลงในชีวิตด้านต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม แรงขับทางเพศที่หายไป โดยเฉพาะเมื่อหายไปเป็นเวลานาน หรือเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจบ่งชี้ถึงปัญหาอื่นที่ซ่อนอยู่ก็เป็นได้ และหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในผู้ชาย คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ลดต่ำลง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน คืออะไร เทสโทสเตอโรน (Testosterone) คือ ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอย่างมากในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น และอาจมีหน้าที่ในการช่วยกำหนดลักษณะของเพศชาย เช่น อวัยวะเพศชายและลูกอัณฑะโตขึ้น เสียงแตก กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรงขึ้น ความสูงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ หลังช่วงแตกเนื้อหนุ่มหรือเข้าสู่วัยรุ่น เทสโทสเตอโรนอาจมีส่วนช่วยในการทำงานของร่างกาย ดังนี้ การสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง การสร้างมวลกระดูก การกระจายของไขมันในร่างกาย การสร้างขนบนใบหน้าและตามร่างกาย การสร้างอสุจิ การสร้างแรงขับทางเพศ การแข็งตัวของอวัยวะเพศ ความสำคัญของ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน กับผู้ชาย เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอย่างมากในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น และอาจมีหน้าที่ในการช่วยกำหนดลักษณะของเพศชาย มื่อระดับเทสโทสเตอโรนลดต่ำลง อาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลง อ่อนเพลีย หมดแรง และอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ โดยระดับเทสโทสเตอโรนจะเริ่มลดต่ำลงหลังจากอายุ 40 ปี และอาจลดลงมากขึ้น […]


สุขภาพชาย

ทุกสิ่งที่ผู้ชายควรรู้เกี่ยวกับความสำคัญของ ฮอร์โมนเพศชาย “เทสโทสเตอโรน”

ฮอร์โมน เป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นจากต่อมซึ่งอยู่ในจุดต่างๆ ของร่างกาย และส่งผ่านไปทางกระแสเลือดและของเหลวในร่างกาย ไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกายส่วนต่างๆ เพื่อควบคุมและส่งเสริมการทำงานของร่างกาย ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานไปจนถึงระบบที่ซับซ้อน รวมถึงเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ และสำหรับผู้ชายแล้ว หนึ่งใน ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญที่สุดก็คือ “เทสโทสเตอโรน (Testosterone)” Hello คุณหมอ มีรายละเอียดในเรื่องนี้มาให้คุณอ่านแล้ว ฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรนคืออะไร เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ฮอร์โมนเพศหลักในผู้ชาย ซึ่งรับผิดชอบต่อพัฒนาการหลายๆ ด้าน ในเรื่องลักษณะกายภาพของผู้ชาย ผู้หญิงเองก็มีฮอร์โมนตัวนี้ แต่มีในปริมาณเพียงเล็กน้อย เทสโทสเตอโรนเป็นหนึ่งในคลาสของฮอร์โมน ที่เรียกว่า แอนโดรเจน (Androgen) สร้างขึ้นโดยลูกอัณฑะที่ได้รับการส่งสัญญาณกระตุ้นจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) บทบาทของเทสโทสเตอโรนในพัฒนาการเพศชายและสุขภาพ ในผู้ชายเทสโทสเตอโรน มีหน้าที่สำคัญอย่างมากในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้ชายมีความเจริญเติบโตทางเพศพร้อมที่จะสามารถสืบพันธุ์ได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างเช่น อวัยวะเพศชายและลูกอัณฑะโตขึ้น มีขนบนใบหน้า ขนในที่ลับ และขนตามร่างกาย เสียงแตก กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรงขึ้น ความสูงเพิ่มขึ้น หลังช่วงแตกเนื้อหนุ่มหรือเข้าสู่วัยรุ่น เทสโทสเตอโรนจะช่วยในการทำงานของร่างกายดังต่อไปนี้ การสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง การสร้างมวลกระดูก การกระจายของไขมันในร่างกาย มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การสร้างขนบนใบหน้าและตามร่างกาย การสร้างอสุจิ การสร้างแรงขับทางเพศ เรื่องที่ผู้ชายควรรู้เกี่ยวกับเทสโทสเตอโรน 1 ช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน ช่วยในการพัฒนาของมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงและความกระชับของกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแรงและความอดทน งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าเทสโทสเตอโรน โดยเฉพาะเมื่อรวมกับการฝึกความแข็งแรง เช่น การยกย้ำหนัก จะเพิ่มกล้ามเนื้อที่ปราศจากไขมัน ทั้งในเรื่องของขนาดและความแข็งแรงในผู้ชายทั่วไป 2 ปกป้องสุขภาพหัวใจ เนื่องจากเทสโทสเตอโรน […]


ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

เสื่อมสมรรถภาพเพศชาย สาเหตุ การรักษา และการป้องกันที่ช่วยคุณได้

เราอาจคิดว่า ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile dysfunction: ED) ในผู้ชาย เป็นปัญหาในชายสูงอายุ หากในความเป็นจริงแล้ว การ เสื่อมสมรรถภาพเพศชาย นี้สามารถเกิดได้กับผู้ชายแทบจะทุกวัย โดยสถาบัน National Kidney and Urologic Diseases Information Clearinghouse ให้ข้อมูลว่า ในแต่ละปี ผู้ชายมากกว่า 30 ล้านคนมีโอกาสเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โดยผู้ชายวัยหนุ่มมักจะเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชั่วคราว แต่จะมีอาการเพิ่มขึ้นตามอายุ ผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป 4% และผู้ชายที่อายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 17% ไม่สามารถที่จะทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่ออายุมากขึ้น และไม่ได้จำเป็นต้องทำลายชีวิตทางเพศของคุณ ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศคืออะไร ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คือการที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัว หรือไม่สามารถแข็งตัวได้นานพอเพื่อการมีเพศสัมพันธ์ อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชั่วคราวเป็นเรื่องปกติ ผู้ชายหลายคนมีอาการเมื่อพวกเขาเครียด และการเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชั่วคราวบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกปัญหาสุขภาพที่ต้องการการรักษา นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณของปัญหาทางอารมณ์ หรือมาจากความสัมพันธ์ ซึ่งอาจให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยค้นหาสาเหตุของปัญหา ปัญหาเรื่องทางเพศของผู้ชาย อาจไม่ได้เกิดจากภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดความผิดปกติในเรื่องทางเพศของเพศชาย  ได้แก่ การหลั่งเร็ว การหลั่งช้า หรือไม่มีการหลั่งอสุจิ ขาดความสนใจในการมีเพศสัมพันธ์ อาการของภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คุณอาจเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ หากคุณมีอาการเหล่านี้เป็นประจำ มีปัญหาในการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย ไม่สามารถรักษาการแข็งตัวระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ความสนใจในการมีเพศสัมพันธ์ลดลง นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติในเรื่องทางเพศที่เกี่ยวข้องกับภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ได้แก่ การหลั่งเร็ว การหลั่งช้า และการไม่บรรลุจุดสุดยอดทางเพศ […]


ปัญหาฮอร์โมนในเพศชาย

6 วิตามินเพิ่มพลังทางเพศ ให้หนุ่มๆ ฟิตปั๋ง!!

ชายหนุ่มส่วนใหญ่ อาจจะมีความภาคภูมิใจในสมรรถภาพทางเพศของตัวเองอยู่ไม่น้อย แต่การจะคงไว้ซึ่งความภาคภูมิใจนั้นอาจจะเป็นเรื่องจาก เพราะสุขภาพทางเพศนั้นจะได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย ทั้ง สิ่งแวดล้อม อายุ หรือการดูแลรักษาร่างกาย แต่อย่ากังวลไปเลยค่ะ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำ สุดยอด วิตามินเพิ่มพลังทางเพศ เพื่อเป็นตัวช่วยให้หนุ่มๆ ดูแลรักษาสุขภาพทางเพศของตัวเองกัน 6 สุดยอด วิตามินเพิ่มพลังทางเพศ 1. วิตามินซี วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยป้องกันอนุมูลอิสระไม่ให้ลดระดับกรดไนตริกในร่างกายลง การรักษาระดับกรดไนตริกมีความสำคัญ เนื่องจากปริมาณความเข้มข้นของกรดไนตริก แปรผันโดยตรงกับความเข้มข้นของออกซิเจนในร่างกาย เพื่อให้ได้รับวิตามินซี คุณควรรับประทานผลไม้บางประเภท เช่น เบอรรี่สด กีวี่ มะนาว และส้ม 2. วิตามินเอ ภาวะขาดวิตามินเอ สัมพันธ์กับการขาดการผลิตฮอร์โมนเพศ ในทั้งผู้ชายและผู้หญิง อาจส่งผลให้เกิดภาวะอัณฑะฝ่อ (testicular shrinkage) สำหรับผู้ชาย และภาวะรังไข่ฝ่อสำหรับผู้หญิง วิตามินเอสามารถพบได้ในผลไม้และผักบางประเภท เช่น แครอท พริก แอพริคอต และอื่นๆ 3. ฟีนิลอะลานีน ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่ช่วยเพิ่มระดับสารเอนโดรฟินในร่างกายของคุณ ช่วยกระตุ้นอารมณ์ และทำหน้าที่เป็นยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ แหล่งที่อุดมไปด้วยฟีนิลอะลานีนมากที่สุดก็คือ ช็อกโกแลต […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม