สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

one night stand คือ ความสัมพันธ์แบบไหน มีข้อควรระวังอย่างไร

ความสัมพันธ์แบบ one night stand คือ ความสัมพันธ์ชั่วข้ามคืน หรือการมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ผูกมัด ซึ่งควรได้รับความยินยอมพร้อมใจของทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และควรใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ และการตั้งครรภ์ไม่พร้อม [embed-health-tool-ovulation] one night stand คือ อะไร ความสัมพันธ์แบบข้ามคืนหรือ one night stand คือการมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ผูกมัด เป็นความสัมพันธ์แค่คืนเดียวเท่านั้น โดยความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้ควรได้รับความยินยอมพร้อมใจของทั้ง 2 ฝ่าย ที่ตกลงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ โดยทั่วไป one night stand คือความสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หรือคนที่เพิ่งรู้จักกันได้ไม่นาน จึงควรจะมีข้อตกลงร่วมกันและมีข้อควรระวังที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจ สิ่งที่ควรตกลงกันก่อนมี one night stand  การมีความสัมพันธ์แบบ one night stand ควรมีข้อตกลงร่วมกันหรือพูดคุยกันก่อน เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน เช่น พูดคุยกันถึงรสนิยม : ก่อนตัดสินใจ one night stand ควรตกลงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ว่า ทั้ง 2 ฝ่ายเต็มใจทำสิ่งไหน […]


สุขภาพทางเพศ

ยาปรับฮอร์โมน เป็นอย่างไร ชนิดเดียวกับยาคุมกำเนิดหรือไม่

ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จนถึงวัยหมดประจำเดือน มักจะมีปัญหาเรื่องฮอร์โมนภายในร่างกาย เพียงแต่ปัญหานั้นแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ ยาปรับฮอร์โมน เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ฮอร์โมนในร่างกายกลับมาปกติ [embed-health-tool-ovulation] ยาปรับฮอร์โมน คืออะไร ยาปรับฮอร์โมนเป็นยาที่ช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายให้กลับมาสมดุล หรือที่เรียกกันว่า ยาคุมกำเนิด ดังนั้น ยาปรับฮอร์โมนจะช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ปรับความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ลดอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือน อีกทั้งยังช่วยคุมกำเนิดได้ด้วย  ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน มีคุณสมบัติในการช่วยปรับฮอร์โมนในหญิงวัยเจริญพันธุ์และช่วยในการคุมกำเนิด โดยยาคุมกำเนิด ประกอบด้วย ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง 2 ชนิด ได้แก่ Ethinyl Estradiol ชนิดนี้คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายผู้หญิง และ Progestin ชนิดนี้คล้ายกับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน  ยาปรับฮอร์โมน ใช้เพื่ออะไร นอกจากการช่วยคุมกำเนิดแล้ว ยาปรับฮอร์โมนจะช่วยบรรเทาอาการที่ผู้หญิงมักจะเกิดขึ้นก่อนการมีประจำเดือน เช่น บรรเทาอาการปวดท้องน้อย ช่วยลดการเกิดสิวหรือหน้ามัน  ทำให้ประจำเดือนมาปกติและสม่ำเสมอ อารมณ์คงที่ ไม่ค่อยหงุดหงิดง่าย ลดอาการบวมน้ำ ปรับฮอร์โมนให้สมดุล ลดฮอร์โมนเพศชาย จึงช่วยเรื่องปัญหาขนดกที่เกิดขึ้น ประเภทของยาปรับฮอร์โมน ยาปรับฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดมี 2 แบบ ยาปรับฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดแบบ 28 เม็ด ประกอบด้วย ยาฮอร์โมน 21 เม็ดและเม็ดแป้ง 7 เม็ด โดยจะเรียงลำดับตั้งแต่ 1-28 ควรเริ่มกินเม็ดแรกในวันที่มีรอบเดือนวันแรก จากนั้นให้กินยาเรียงตามตัวเลขไปเรื่อย […]


การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

แตกในทำไม ไม่ป้องกัน เสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้จริงเหรอ

การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน อาจเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ ในรายที่ใช้ยาคุมกำเนิดหรือยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงการตั้งครรภ์ได้จริง แต่วิธีคุมกำเนิดด้วยยาไม่อาจป้องกันโรคได้ การแตกในหรือหลั่งอสุจิภายในช่องคลอดจึงมีความเสี่ยง แล้ว แตกในทำไม ถึงอันตราย นอกจากท้องได้แล้วยังเสี่ยงต่อโรคร้ายที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย [embed-health-tool-ovulation] แตกในทำไม ถึงอันตราย การแตกใน คือ การมีเพศสัมพันธ์ เมื่อผู้ชายถึงจุดสุดยอด ร่างกายจะหลั่งน้ำอสุจิออกมา การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัยจึงทำให้สัมผัสได้ทั้งน้ำหล่อลื่นของฝ่ายชายและเชื้ออสุจิ ซึ่งการแตกในนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจติดได้เมื่อ แตกใน โรคเอดส์ (AIDS) กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค หลังจากภูมิคุ้มกันต่ำลงจะทำให้ร่างกายติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย ทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรควัณโรค โรคปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคมะเร็ง ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยโรคเอดส์จะเสี่ยงต่อการเกิดอาการที่รุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตได้ โรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) หรือไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human Papillomavirus หรือ HPV) โรคนี้ติดต่อได้ง่ายผ่านทางเพศสัมพันธ์ เชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ แต่มีเชื้อไวรัส HPV มากถึง 14 สายพันธุ์ ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งช่องคลอด และโรคมะเร็งปากช่องคลอด   โรคหูดหงอนไก่ (Condyloma acuminata) เกิดจากเชื้อไวรัส HPV มีลักษณะเป็นติ่งเนื้ออ่อน […]


สุขภาพทางเพศ

วิธี ลดอาการปวดหัว ประจำเดือน ด้วยตัวเอง

อาการปวดหัวขณะเป็นประจำเดือนเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จนทำให้มีอาการปวดหัวตุบ ๆ คลื่นไส้ เหนื่อยล้า เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในทุกเดือน ๆ  วิธี ลดอาการปวดหัว ประจำเดือน ด้วยตัวเอง อาจทำได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียดมากเกินไป ปรับขนาดยาคุมกำเนิด กินยาบรรเทาอาการเช่น ยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) [embed-health-tool-ovulation] อาการปวดหัว ประจำเดือน คืออะไร อาการปวดหัวช่วงเป็นประจำเดือนหรือไมเกรนขณะมีประจำเดือน เป็นอาการปวดหัวจากฮอร์โมน (Hormone headache) ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนเป็นประจำเดือนหรือขณะเป็นประจำเดือน และอาจเกิดขึ้นได้ทุก ๆ เดือน หลายคนอาจมีอาการปวดหัวที่มักเกิดก่อนประจำเดือนมาประมาณ 2 วันและปวดต่อเนื่องไปอีกประมาณ 3 วัน ซึ่งอาการอาจแย่ลงได้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยการเคลื่อนไหว แสง กลิ่น หรือเสียง โดยอาการอาจเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือบางคนก็อาจปวดหัวนานเป็นวัน สาเหตุที่ เป็นประจําเดือนแล้วปวดหัว เวียนหัว  อาการปวดหัวช่วงเป็นประจำเดือนเกิดจากการเปลี่ยนแแปลงของฮอร์โมนในช่วงเป็นประจำเดือน ซึ่งฮอร์โมนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้แก่ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ผลิตมาจากรังไข่ และทำหน้าที่สร้างลักษณะทางกายภาพของผู้หญิง ช่วยในการสืบพันธุ์ ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ควบคุมการมีประจำเดือน รักษาสุขภาพกระดูก หัวใจ ผิวหนัง กระดูก สมอง และเนื้อเยื่ออื่น ๆ  ตามปกติแล้วร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณสูงสุดในช่วงกลางของรอบเดือน และจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำสุดในช่วงเป็นประจำเดือน […]


สุขภาพทางเพศ

ยาสอดแก้ตกขาว มีอะไรบ้าง และวิธีสังเกตสีของตกขาวที่ผิดปกติ

ตกขาว เป็นอาการปกติที่พบได้ในผู้หญิง แต่หากมีตกขาวที่สีเปลี่ยนไป ร่วมกับอาการคันในช่องคลอด เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ ความผิดปกติ ซึ่งอาจจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อรักษา หรือใช้ ยาสอดแก้ตกขาว ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการใช้ยาสอดแก้ตกขาวอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุให้แน่ชัดเสียก่อน ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง [embed-health-tool-ovulation] สีของตกขาว แบบไหนผิดปกติ ตกขาวเกิดได้จากการที่ผนังด้านในช่องคลอดสร้างสารเมือก คล้ายกับแป้งเปียกเพื่อออกมาในร่างกายของผู้หญิง โดยมีหน้าที่ช่วยหล่อลื่นช่องคลอด ขับสิ่งแปลกปลอม อีกทั้งปรับสภาพความเป็นกรดด่างในช่องคลอด ในภาวะปกติ ตกขาวจะไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง ไม่คัน และไม่มีกลิ่น ตกขาวจึงสามารถบ่งบอกสุขภาพร่างกาย ได้ดังนี้ ตกขาวเป็นน้ำหรือเมือกใส : อาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน โดยเฉพาะช่วงที่มีการตกไข่ ซึ่งจะมีปริมาณตกขาวมาก ตกขาวเป็นก้อนสีขาว : เกิดจากการติดเชื้อราที่มีชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) ส่งผลให้ตกขาวมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวข้น มีกลิ่นเหม็นแต่ไม่คาว อาจทำให้แสบคันในบางครั้ง ตกขาวสีเหลือง : สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัสและการติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม การติดเชื้อรา การติดเชื้อหนองใน และการติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ตกขาวสีเขียว : เกิดจากการติดเชื้อพยาธิประเภทโปรโตซัว ที่มีชื่อว่า ทริโคโมแนส วาจินาลิส […]


สุขภาพทางเพศ

ประจำเดือนเลื่อน นานสุด กี่วัน ถึงจะเรียกว่าผิดปกติ

ประจำเดือนเลื่อน นานสุด กี่วัน คำตอบคือ ปกติรอบเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 21-35 วัน หากมาช้ากว่า 35 วันในรอบเดือนนั้นโดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อาจเป็นสัญญาณว่ามีภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือตั้งครรภ์ แต่หากตรวจแล้วไม่พบว่าตั้งครรภ์ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การออกกำลังกายที่เหมาะสมเป็นประจำ การจัดการความเครียด แต่หากประจำเดือนยังมาไม่ปกติ ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุต่อไป [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือนเลื่อน นานสุด กี่วัน โดยปกติรอบเดือนของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะมาทุก ๆ 21-35 วัน โดยอาจช้าหรือเร็วกว่ารอบเดือนปกติที่มาเป็นประจำทุกเดือนประมาณ 3-7 วัน แต่หากพบว่าประจำเดือนมาช้ากว่า 35 วัน แสดงว่ามีภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ (Amenorrhea) ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนเลื่อน สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนเลื่อน อาจมีดังนี้ การตั้งครรภ์ สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนมาช้ากว่าปกติไปอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และในช่วงก่อนหน้านี้ไม่ได้ใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดขณะมีเพศสัมพันธ์ แสดงว่าอาจตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ควรตรวจครรภ์เพื่อยืนยันผลการตั้งครรภ์ และไปฝากครรภ์ที่คลินิกหรือโรงพยาบาลโดยเร็ว ความเครียด เมื่อมีความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนแห่งความเครียดในปริมาณมาก ซึ่งมักส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์และทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ น้ำหนักลดกะทันหัน น้ำหนักที่ลดลงอย่างรวดเร็วอาจทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติได้ เนื่องจากร่างกายมีไขมันไม่เพียงพอเพื่อใช้เป็นพลังงานสำหรับการทำงานของระบบสืบพันธุ์ตามปกติ ส่งผลให้ร่างกายหยุดผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการตกไข่และการมีประจำเดือน น้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์อาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนไม่สมดุลซึ่งอาจทำให้ประจำเดือนเลื่อนได้ […]


สุขภาพทางเพศ

ทำยังไงให้ประจำเดือนมา ประจำเดือนไม่มาเกิดจากอะไร

ทำยังไงให้ประจำเดือนมา ? หากประจำเดือนไม่มาตามปกติ โดยทั่วไป มักเกิดจากฮอร์โมนแปรปรวน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างซึ่งอาจช่วยให้ประจำเดือนมาตามปกติได้ เช่น หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำแต่ไม่หักโหม ทั้งนี้ หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วประจำเดือนยังไม่มา ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างตรงจุด [embed-health-tool-bmi] ประจำเดือนไม่มาเกิดจากอะไร ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงประจำเดือนไม่มาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งอาจเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้ สาเหตุตามธรรมชาติ การตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายจะหยุดผลิตไข่จากรังไข่ตลอดการตั้งครรภ์ และเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่สลายตัวไปเป็นประจำเดือน การให้นมบุตร หลังคลอด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำนมซึ่งยับยั้งไม่ให้ไข่ตก ทำให้ในช่วงนี้ไม่เป็นประจำเดือน วัยหมดประจำเดือน เมื่ออายุประมาณ 50 ปีจะถือว่าเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศจะลดลงตามธรรมชาติ ประจำเดือนจะมาน้อยลงหรือมาไม่ปกติ จนกระทั่งรังไข่ไม่ผลิตไข่ และทำให้ประจำเดือนไม่มาอีกต่อไป สาเหตุจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ทำให้ฮอร์โมนเพศสูงอยู่แทบจะตลอดเวลาแทนที่จะขึ้นลงตามรอบเดือน ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจมีทั้งประจำเดือนไม่มาติดต่อกันหลายเดือน ประจำเดือนมาน้อยหรือมามากกว่าปกติ เนื้องอกต่อมใต้สมอง เนื้องอกอาจไปรบกวนการควบคุมฮอร์โมนเพศ ส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะพร่องต่อมไทรอยด์ อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนไม่มาเลยได้ ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature […]


สุขภาพทางเพศ

เป็นประจําเดือน ปวดหัว เกิดจากอะไร ดูแลตัวเองยังไง

ผู้หญิงหลายคนอาจสังเกตว่าตัวเอง เป็นประจําเดือน ปวดหัว และต้องการทราบว่าเกิดจากอะไรและต้องดูแลตัวเองอย่างไร โดยทั่วไป อาการที่เกิดขึ้นช่วงเป็นประจำเดือน เช่น ปวดหัว ปวดหลัง เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว มักเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน โดยเฉพาะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ควรดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยการกินยาบรรเทาปวด พักผ่อนให้เพียงพอ เปลี่ยนยาคุมกำเนิดที่อยู่ใช้ หากิจกรรมผ่อนคลายและลดความเครียด เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] เป็นประจําเดือน ปวดหัว เกิดจากอะไร เป็นประจําเดือน ปวดหัวหรือที่เรียกว่าไมเกรนประจำเดือน (Menstrual migraine) เป็นอาการที่สัมพันธ์กับการเป็นประจำเดือน โดยในช่วงก่อนที่ร่างกายจะเริ่มมีประจำเดือนในแต่ละรอบเดือน ระดับฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนจะลดลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้มีอาการปวดหัว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ปวดหัวได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการกินยาคุมกำเนิด หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อบรรเทาอาการวูบวาบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง อาการ เป็นประจําเดือน ปวดหัว อาการไมเกรนขณะมีประจำเดือนจะเหมือนกับอาการปวดหัวไมเกรน ดังนี้ อาการปวดหัวที่มีความรุนแรงไม่มากไปจนถึงรุนแรง เหงื่อออกเยอะ หนาวสั่น ร่างกายมีความไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่น ปวดตึงบริเวณหนังหัว ไม่อยากอาหาร วิงเวียนศีรษะ สายตาพร่ามัว ตัวซีด เหนื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องไส้ปั่นป่วน ปวดท้อง ท้องเสีย หรือมีไข้ (พบได้ไม่บ่อย) อาการร่วมอื่น […]


สุขภาพทางเพศ

เมนส์มาน้อย ผิดปกติหรือไม่ ประจำเดือนมาน้อย เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

เมนส์มาน้อยหรือประจำเดือนมาน้อย อาจเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ หรือเป็นเพราะร่างกายส่งสัญญาณอันตราย ความเสี่ยงต่อโรคที่ต้องพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด [embed-health-tool-ovulation] เมนส์ คืออะไร ประจำเดือนหรือเมนส์ คือ การหลุดลอกตัวของผนังเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อเตรียมไว้สำหรับรับการฝังตัวของตัวอ่อน แต่เมื่อไม่มีการฝังตัว ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกจะผลัดออกมาตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ปรากฎเป็นเลือดออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือน โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนช่วงอายุ 12 ปี  ประจำเดือนแบบไหนปกติ เมนส์มาปกติควรมาไม่เกิน 7 วันต่อรอบเดือน มาเพียงเดือนละ 1 ครั้ง ยกเว้นผู้หญิงที่มีเมนส์ช่วงต้นเดือน อาจมาอีกครั้งในช่วงปลายเดือนก็ได้ รอบเดือนแต่ละครั้งจะห่างกัน 28 วันโดยเฉลี่ย แต่อาจเป็นประจำเดือนได้ตั้งแต่ 21 ถึง 35 วัน ผู้ที่เริ่มมีรอบเดือนในช่วงปีแรก ๆ และวัยใกล้หมดประจำเดือน อาจพบว่า เมนส์มาไม่สม่ำเสมอได้ ปริมาณของประจำเดือน ไม่ควรเกิน 80 ซีซี ปกติแล้วค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ซีซีต่อรอบ เปรียบเทียบปริมาณได้กับผ้าอนามัยประมาณ 3-4 ผืนต่อวัน หากเมนส์มาน้อยกว่านี้อาจพบความผิดปกติได้ สาเหตุที่ทำให้เมนส์มาน้อย ประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่ทำให้เมนส์มาน้อย เช่น ภาวะเครียดหรือวิตกกังวล : ความเครียดจากทั้งการเรียน การทำงาน และปัญหาส่วนตัว ล้วนส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกายที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เมนส์มาน้อย […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง ถึงปลอดภัย ช่วยคุมกำเนิดได้จริง

ยาคุมฉุกเฉินเป็นยาคุมกำเนิดที่ควรใช้เฉพาะช่วงเวลาฉุกเฉินเท่านั้น หากรับประทานยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ อาจเสี่ยงต่ออันตรายได้ อีกทั้งหากใช้อย่างไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้ยาคุมมีประสิทธิภาพลดลงได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาว่า ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง ถึงจะปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูงสุด [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน คืออะไร ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หรือยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน (Emergency Contraception Pill) มักจะเป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนเดี่ยว มีเฉพาะฮอร์โมนโพรเจสติน ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ ตัวยาสำคัญ Levonorgestrel เป็นสารสังเคราะห์เลียนแบบฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน มี 2 ขนาด คือ 0.75 มิลลิกรัมต่อเม็ด และ 1.5 มิลลิกรัมต่อเม็ด ออกฤทธิ์ในการรบกวนหรือชะลอการตกไข่ จึงช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์ได้ ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง ยาคุมฉุกเฉิน ขนาด 0.75 มิลลิกรัม ควรรับประทานให้เร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์ อย่างช้าไม่เกิน 72 ชั่วโมง ส่วนเม็ดที่ 2 ให้ห่างกัน 12 ชั่วโมง การรับประทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมง แล้วตามด้วยยาเม็ดที่สอง จะทำให้ ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75% แต่หากเริ่มรับประทานยาภายใน 24 ชั่วโมง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน