สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูข้อแตกต่างระหว่าง หนองในเทียม และ หนองในแท้ แบบเข้าใจง่าย กันค่ะ จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันอย่างไร และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ เลยค่ะ หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร หนองในเทียม และ หนองในแท้มีข้อแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ สาเหตุ หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) หนองในแท้ (Gonorrhoea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhea) ระยะการฟักตัว หนองในเทียม มีระยะการฟักตัวค่อนข้างนาน โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวมากกว่า 1-3 สัปดาห์ หนองในแท้ มีระยะการฟักตัวค่อนข้างสั้น โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวภายใน 1-5 วัน อาการของโรคหนองใน อาการโรคหนองในเทียมในเพศชาย ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกคันที่บริเวณท่อปัสสาวะ และมีน้ำสีใส ๆ หรือขุ่น ๆ ไหลออกมาจากปลายองคชาต อาการโรคหนองในแท้ในเพศชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน เสี่ยงโรคอะไร แต่ละโรคมีอาการอย่างไร

จุดซ่อนเร้นหรือบริเวณอวัยเพศหญิงเป็นจุดที่บอบบาง ต้องดูแลสุขภาพและดูแลสุขอนามัยเป็นพิเศษ หากไม่ดูแลอย่างดีอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ เมื่อมีอาการ อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน หลายคนอาจเกิดความกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายหรือไม่ อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน จริง ๆ แล้วเสี่ยงจะเป็นโรคอะไรได้บ้าง [embed-health-tool-ovulation] ลักษณะของอวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน  เมื่อคลำบริเวณอวัยวะเพศหญิง อาจเจอกับก้อนเนื้อ รู้สึกว่า อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน จับแล้วเป็นลักษณะแข็ง เกิดขึ้นได้บริเวณอวัยวะเพศ หรือเป็นก้อนแข็งใกล้กับอวัยวะเพศ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย หากปล่อยทิ้งไว้ไม่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด สาเหตุของอวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน  สาเหตุจากถุงน้ำหรือซีสต์ (Cyst)  ซีสต์ เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย สามารถเกิดได้ใต้ผิวหนังไปจนถึงอวัยวะภายใน แต่ซีสต์ ไม่ใช่เนื้องอกจึงไม่มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็ง ซีสต์มีลักษณะเป็นถุง ข้างในอาจมีส่วนประกอบของน้ำ ส่วนขนาดที่แท้จริงอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากการติดเชื้อ เซลล์ในร่างกายผิดปกติ หรือการอุดตันของต่อมในร่างกาย สิ่งที่ทำให้อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน อาจเกิดได้จากถุงน้ำในช่องคลอด (Vaginal Cysts) ที่เกิดจากการอุดตันของต่อมหรือท่อ จนของเหลวเข้าไปรวมกัน กลายเป็นก้อนแข็งบริเวณช่องคลอด อาจเกิดได้บริเวณด้านนอกหรือภายในช่องคลอดก็ได้ เช่น Vaginal Inclusion Cysts ถุงน้ำในช่องคลอดชนิดนี้พบได้บ่อย อาจเกิดได้จากการผ่าตัดขยายช่องคลอดหรือผ่าตัดคลอด หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ช่องคลอด Bartholin’s Gland Cyst ต่อมบาร์โธลินอักเสบ หรือโรคฝีต่อมบาร์โธลิน เกิดจากการอุดตันของท่อของต่อม เกิดเป็นการสะสมของสารคัดหลั่งขยายตัวกลายเป็นถุงน้ำ เพราะหน้าที่ของต่อมนี้จะผลิตเมือกในช่องคลอด ลักษณะเป็นฝีแบบเดียวกับที่เกิดในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย […]


สุขภาพทางเพศ

ยาขับประจําเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ อันตรายหรือไม่

ยาสตรี ยาขับเลือด หรือ ยาขับประจําเดือน เป็นยาสมุนไพรแผนโบราณที่นิยมใช้เพื่อการบำรุงเลือด บรรเทาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือใช้บำรุงสำหรับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอยู่ไฟ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาเกี่ยวกับส่วนผสมและข้อควรระวังของยาขับประจำเดือนก่อนใช้ อีกทั้งยังควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรเสมอก่อนใช้ยา  [embed-health-tool-ovulation] ยาขับประจําเดือน หรือยาสตรี มีส่วนผสมอะไร ส่วนใหญ่แล้ว ยาขับประจำเดือนหรือยาขับเลือดจะมีสมุนไพรหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ ส่วนใหญ่แล้วยาสตรีจะมีหลายตำรับ ใช้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น  การใช้ยาสตรีเพื่อบำรุงร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงโลหิต อาจกระตุ้นเลือดลมให้ไหลเวียนดี ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง การใช้ยาสตรีเพื่อทดแทนการอยู่ไฟ จึงช่วยขับน้ำคาวปลาหลังคลอด ช่วยฟอกโลหิต อาจช่วยให้มดลูกของแม่หลังคลอดกลับมาสู่สภาพปกติ การใช้ยาสตรีเพื่อแก้ปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ ให้รอบเดือนมาได้อย่างปกติเป็นประจำ อาจบรรเทาอาการตกขาว ส่วนประกอบสำคัญของยาสตรี  ยาสำหรับสตรีมักจะมีตัวยาสมุนไพรที่มีรสร้อนตามศาสตร์ของยาแผนไทย แต่ละตำรับยาก็แตกต่างกันไปตามสูตร โดยส่วนประกอบสำคัญของยาสตรี จะมีสมุนไพรที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิงหรือฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ได้จากพืช ชื่อว่า ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล โดยเฉพาะยาขับประจําเดือน ที่จะช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น ลอกออกมาเป็นประจำเดือน ทำให้รอบเดือนมาปกติ ตัวอย่างสมุนไพร เช่น   กวาวเครือขาว ว่านชักมดลูก โกฏเชียง  โกฏหัว  บัว  ตานเซียม  กิ่งอบเชย  บักดี้  ขิง  ดีปลี  พริกไทย  น้ำมันสะระแหน่ […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Chancroid คือ อะไร เป็นอันตรายหรือไม่ หายเองได้ไหม

Chancroid คือ โรคแผลริมอ่อน ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีตุ่มแดงหรือตุ่มหนองขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ เมื่อสัมผัสแล้วทำให้รู้สึกเจ็บหรือแสบร้อน เมื่อตุ่มที่เป็นหนองแตกออกจะกลายเป็นแผลเปื่อยภายใน 1-2 วันร่วมกับอาการต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณขาหนีบ ซึ่งหมายความว่าร่างกายกำลังต่อสู้กับแบคทีเรียและเป็นสัญญาณว่ามีการติดเชื้อ [embed-health-tool-bmi] Chancroid คือ อะไร Chancroid คือโรคแผลริมอ่อน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลุสดูเครย์ (Haemophilus ducreyi) ซึ่งติดต่อทางคนสู่คนได้ 2 วิธี ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีแผลเปื่อยและการสัมผัสกับหนองหรือแผลเปื่อยของผู้ป่วยโดยตรง แผลเปื่อยมักเกิดขึ้นบริเวณหนังหุ้มปลายองคชาต ร่องหลังหัวองคชาต ลำองคชาต หัวองคชาต รวมไปถึงถุงอัณฑะ และอาจเกิดแผลเปื่อยขึ้นบริเวณแคมใน ฝีเย็บ ต้นขาด้านในของผู้หญิง โดยทั่วไป โรคนี้มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงที่ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มักไม่มีอาการ หรือมีแผลภายในช่องคลอดเท่านั้น อาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองให้สังเกตเห็นบ้าง แม้ว่า Chancroid รักษาได้ง่าย แต่เชื้อก็แพร่กระจายได้ง่ายมากเช่นกัน จึงควรรักษาให้หายตั้งแต่เนิ่น ๆ และงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหาย เพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจายไปยังผู้อื่น อาการของ Chancroid ตามปกติ จะเริ่มมีอาการภายใน 4-10 วัน หลังสัมผัสเชื้อแบคทีเรีย อาการที่พบได้บ่อย มักมีดังนี้ เกิดตุ่มเล็ก ๆ ที่มีขอบนูนชัดเจนบริเวณอวัยวะเพศ ตุ่มเปลี่ยนเป็นแผลเปื่อยภายใน 1-2 วัน แผลเปื่อยขยายใหญ่ แตกออกเป็นแผลหนอง […]


สุขภาพทางเพศ

ประจำเดือนมา2ครั้ง ในเดือนเดียว ผิดปกติไหม

ประจำเดือนมา2ครั้ง ในเดือนเดียวกัน เป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่ ? ตามปกติ รอบเดือนของผู้หญิงแต่ละรอบอยู่ที่ 28-35 วัน หากความถี่ของประจำเดือนมากกว่านั้นในแต่ละเดือน อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพ เช่น เข้าสู่วัยรุ่น เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ภาวะเครียด เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ปัญหาต่อมไทรอยด์ หากประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอร่วมกับมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องรุนแรง เลือดออกระหว่างรอบเดือน มีบุตรยาก ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมและรับการรักษาตามสาเหตุ [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือนมา2ครั้ง เกิดจากอะไร ประจำเดือนมา2ครั้ง ในเดือนเดียวกัน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เริ่มต้นเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงที่เพิ่งเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรืออยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนต้น จะพบกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลายประการ ทั้งหน้าอกที่ขยายใหญ่ขึ้น เอวคอดลง เป็นสิว อารมณ์แปรปรวน รวมไปถึงการมีประจำเดือน ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ประจำเดือนในช่วงแรก ๆ อาจมาไม่ปกติ อาจมาไม่กี่เดือนแล้วหยุดไป หรือประจำเดือนมา2ครั้ง ทั้งนี้ เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว ประจำเดือนก็มักจะกลับมาเป็นปกติในที่สุด ระยะก่อนหมดประจำเดือน ในช่วงที่ร่างกายเตรียมเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ระดับฮอร์โมนค่อนข้างแปรปรวนจึงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ในบางเดือนอาจมีประจำเดือนมาน้อย ประจำเดือนขาดไปหลายเดือนแล้วกลับมาใหม่ ประจำเดือนมา2ครั้ง ในเดือนเดียว เป็นต้น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อมดลูกก่อตัวขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ส่วนใหญ่จะอยู่ที่บริเวณรังไข่ […]


โรคติดเชื้อเอชพีวี

โรค HPV คืออะไร? วัคซีน HPV ป้องกัน มะเร็งปากมดลูก ได้จริงหรือ?

โรคhpvคืออะไร HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อเอชพีวี อาจทำให้เกิดหูดในร่างกาย แต่เชื้อ HPV บางสายพันธุ์อาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้หลายชนิด การได้รับวัคซีน HPV จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการเกิดโรคร้าย  HPV มีกี่ประเภท เชื้อไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (HPV) มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม HPV ชนิดก่อมะเร็ง - เชื้อไวรัส HPV ชนิดก่อมะเร็งมีมากถึง 14 สายพันธุ์ โดย HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 คือ สาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก รองลงมาคือ HPV สายพันธุ์ 45, 31 และ 33  HPV ชนิดไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง - แม้ HPV กลุ่มนี้จะไม่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ เช่น HPV  สายพันธุ์ […]


สุขภาพทางเพศ

นับวันตกไข่ อย่างแม่นยำ ด้วยเครื่องมือคำนวณการตกไข่

เครื่องมือคำนวณการตกไข่เป็นเครื่องมือที่ช่วย นับวันตกไข่ ของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการตั้งครรภ์ โดยจะสามารถคำนวณวันแรกของประจำเดือนครั้งต่อไป ระยะปลอดภัยในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ทั้งนี้ การนับวันตกไข่ จะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุดในผู้หญิงที่มีรอบเดือนมาสม่ำเสมอหรือประมาณทุก ๆ 28 วัน อย่างไรก็ตาม การนับวันตกไข่ไม่อาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% จึงควรป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น สวมถุงยางอนามัย กินยาคุมกำเนิด ร่วมด้วยเสมอ [embed-health-tool-ovulation] การตกไข่ คืออะไร การตกไข่ (Ovulation) หมายถึง ช่วงระยะเวลาไม่กี่วันในรอบหนึ่งเดือนที่ไข่ของผู้หญิงหลุดออกจากรังไข่ แล้วเคลื่อนลงมาตามท่อนำไข่และพักอยู่บริเวณนั้นเป็นเวลา 12-24 ชั่วโมง เพื่อรอการผสมกับอสุจิ เมื่ออสุจิตัวที่แข็งแรงที่สุดและรวดเร็วมากที่สุดเดินทางมาถึงไข่ก็จะทำให้เกิดการปฏิสนธิขึ้น โดยไข่จะแปรสภาพกลายเป็นตัวอ่อนและพัฒนาไปเป็นทารกในครรภ์ในที่สุด ในช่วงนี้ผนังมดลูกจะหนาขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน โดยทั่วไป อสุจิจะมีชีวิตอยู่ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงได้นานประมาณ 5 วันหลังจากนั้น ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้ ผู้หญิงจะมีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุดในรอบเดือน เพราะเป็นช่วงที่มีอสุจิอยู่ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง นับวันตกไข่ มีประโยชน์อย่างไร การ นับวันตกไข่ มีประโยชน์ในการวางแผนการตั้งครรภ์ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงตกไข่ (Fertility window) หรือระหว่าง 5 วันก่อนวันตกไข่ วันตกไข่ ไปจนถึง 24 ชั่วโมงหลังวันตกไข่ อาจเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์เพราะอสุจิจะมีชีวิตอยู่ในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงยาวนานมากพอที่จะเดินทางไปผสมกับไข่ที่พักรออยู่บริเวณท่อนำไข่ได้ ทั้งนี้ […]


สุขภาพทางเพศ

ผู้ป่วย หนองในแท้ เป็นเอดส์ ได้ง่ายขึ้นหรือไม่

หากเป็นโรค หนองในแท้ เป็นเอดส์ ได้ง่ายขึ้นหรือไม่ ? คำตอบคือ ไม่ว่าจะเป็นโรคหนองในแท้ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เป็นโรคเอดส์ (AIDS) ได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หากต้องการลดความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีเพศสัมพันธ์กับคนไม่รู้จัก มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน [embed-health-tool-bmi] หนองในแท้ คืออะไร โรคหนองในแท้ หรือ โรคหนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases หรือ STDs) ที่พบได้บ่อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก (ออรัลเซ็กส์) นอกจากนี้ อาจติดโรคได้จากการใช้ไวเบรเตอร์ (Vibrator) หรือเซ็กส์ทอยอื่น ๆ ร่วมกับผู้อื่นโดยที่ไม่ได้ล้างให้สะอาดทั้งก่อนหรือหลังใช้ หรือไม่ได้สวมถุงยางอนามัยเวลาที่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าว อาการของหนองในแท้ อาการของหนองในแท้ มีดังต่อไปนี้ อาการหนองในแท้ในผู้หญิง มีตกขาวผิดปกติ เช่น สีเหลือง สีเขียว […]


สุขภาพทางเพศ

Kink หรือ คิงก์ รสนิยมทางเพศที่เป็นอันตรายหรือไม่

Kink หรือ คิงก์ เป็นการทำกิจกรรมทางเพศที่มีขอบเขตจินตนาการโลดโผนมากกว่าการเล้าโลมเพื่อให้เกิดอารมณ์และมีเพศสัมพันธ์แบบทั่วไป ทั้งยังอาจช่วยเติมเต็มความรู้สึกเร่าร้อนทางเพศระหว่างคู่รักที่มีรสนิยมตรงกันให้สมบูรณ์มากขึ้นอีกด้วย การศึกษาเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศและทำความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างถูกต้อง ช่วยให้ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศที่หลากหลายและแตกต่างไปจากบรรทัดฐานของสังคมยอมรับตัวเองและมีความสุขกับตัวตน ในขณะเดียวกันก็จะช่วยให้คนในสังคมตระหนักและเข้าใจในเรื่องนี้ได้มากขึ้นไม่ก่อให้เกิดการล้อเลียนจนนำไปสู่ความอับอาย [embed-health-tool-bmi] Kink คืออะไร Kink เป็นรสนิยมทางเพศและเป็นกิจกรรมปลุกเร้าอารมณ์ที่อยู่นอกขอบเขตของบรรทัดฐานทางสังคม มักมีลักษณะแนวคิดที่เป็นจินตนาการโลดโผนและไม่เป็นจริง คู่รักจะสวมบทบาทสมมติขณะทำกิจกรรมทางเพศเพื่อเติมเต็มความปรารถนาทางเพศของกันและกัน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยินยอมของผู้กระทำกิจกรรมทางเพศทั้ง 2 ฝ่าย โดย คิงก์จะต่างไปจาก Fetish หรือ เฟติช ตรงที่ คิงก์จะเป็นรสนิยมในกิจกรรมทางเพศ (Sexual preference) ที่แตกต่างไปจากปกติ ในขณะ Fetish คือ ความต้องการทางเพศ (Sexual need) จากการใช้วัตถุหรือส่วนของร่างกายในกิจกรรมทางเพศ ซึ่งบางครั้งการมี Fetish อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตตามปกติและต้องรับการรักษาจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ลักษณะ Kink ที่พบได้บ่อย ลักษณะที่พบได้บ่อยคือรสนิยมทางเพศแบบบีดีเอสเอ็ม หรือ BDSM ที่อาจแบ่งออกได้เป็น 6 ลักษณะ B ย่อมาจาก Bondage คือ พันธนาการ เป็นการจำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของคู่นอน เช่น การใช้เชือก กุญแจมือ โซ่ ผ้าปิดปาก จิกผม หรือใช้เครื่องพันธนาการอื่น […]


สุขภาพทางเพศ

PMS หรือ Premenstrual Syndrome อาการและวิธีรับมือ

PMS หรือ Premenstrual Syndrome คือ กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการของ PMS เช่น ปวดท้อง หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล นอนไม่ค่อยหลับ มีอารมณ์ทางเพศน้อยลง อย่างน้อย 1 อาการในทุก ๆ เดือน รับประทานยา เช่น ไอบูโพรเฟน แอสไพริน กรดมีเฟนามิก ร่วมกับการด้วยการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การนอนหลับให้เพียงพอ การงดคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ อาจช่วยบรรเทาอาการนี้ได้ [embed-health-tool-bmi] PMS คืออะไร และเกิดจากอะไร PMS หรือ Premenstrual Syndrome คือ กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มอาการทางร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของ PMS ได้อย่างแน่ชัด แต่ภาวะนี้อาจเกิดจากระดับฮอร์โมนแปรปรวนในช่วงก่อนเป็นประจำเดือน โดยอาจเริ่มมีอาการหลังวันตกไข่ 1 วัน เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะลดลงอย่างมาก ตามปกติแล้วกลุ่มอาการที่กล่าวมาจะหายไปหลังจากเริ่มเป็นประจำเดือนในรอบนั้น ๆ […]


สุขภาพทางเพศ

รังไข่ทําหน้าที่อะไร สำคัญอย่างไรต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

รังไข่เป็นอวัยวะที่สำคัญต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิงเป็นอย่างมาก แต่หลายคนก็ยังอาจไม่ทราบแน่ชัดว่า รังไข่ทําหน้าที่อะไร  รังไข่มีหน้าที่สำคัญในการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงและเซลล์สืบพันธุ์ ทั้งยังควบคุมการปล่อยไข่ในแต่ละเดือน เพื่อให้มีไข่สุกพร้อมสำหรับการผสมกับอสุจิ ผู้หญิงทุกคนควรดูแลสุขภาพให้ดี เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเกี่ยวกับรังไข่ เช่น ซีสต์รังไข่ เนื้องอกรังไข่ ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องตัดรังไข่ทิ้ง และกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ [embed-health-tool-ovulation] รังไข่ คืออะไร รังไข่ (Ovary) คือ อวัยวะขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกับปีกมดลูกทั้งสองข้าง จัดเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงและระบบต่อมไร้ท่อ มีรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์และมีตั้งแต่สีเทาอ่อนไปจนถึงสีขาว รังไข่จะกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นในอุ้งเชิงกรานยึดไว้ให้อยู่กับที่ และจะมีเอ็นที่เรียกว่า โอวาเรียน ลิกาเมนต์ (Ovarian Ligament) คอยยึดรังไข่ไว้กับมดลูก โดยทั่วไป รังไข่จะมีขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร หรืออาจขยายตัวถึง 6 เซนติเมตร ทั้งนี้ ขนาดของรังไข่จะสัมพันธ์กับอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น รังไข่ก็จะยิ่งเล็กลง และอาจมีขนาดเพียง 2 เซนติเมตรหลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน รังไข่ทําหน้าที่อะไร รังไข่เป็นอวัยวะสำคัญในกระบวนการสืบพันธุ์และผลิตฮอร์โมน มีหน้าที่ผลิตและเก็บรักษาไข่ หลั่งฮอร์โมนเพศหญิง เช่น เอสโตรเจน (Estrogen) โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดลักษณะของเพศหญิง เช่น พัฒนาการของเต้านม รูปร่าง และขนตามร่างกาย นอกจากนี้ ฮอร์โมนเพศหญิงยังมีหน้าที่ควบคุมรอบประจำเดือน ภาวะเจริญพันธุ์ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน