สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูข้อแตกต่างระหว่าง หนองในเทียม และ หนองในแท้ แบบเข้าใจง่าย กันค่ะ จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันอย่างไร และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ เลยค่ะ หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร หนองในเทียม และ หนองในแท้มีข้อแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ สาเหตุ หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) หนองในแท้ (Gonorrhoea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhea) ระยะการฟักตัว หนองในเทียม มีระยะการฟักตัวค่อนข้างนาน โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวมากกว่า 1-3 สัปดาห์ หนองในแท้ มีระยะการฟักตัวค่อนข้างสั้น โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวภายใน 1-5 วัน อาการของโรคหนองใน อาการโรคหนองในเทียมในเพศชาย ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกคันที่บริเวณท่อปัสสาวะ และมีน้ำสีใส ๆ หรือขุ่น ๆ ไหลออกมาจากปลายองคชาต อาการโรคหนองในแท้ในเพศชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

วิธีรักษาอาการแสบช่องคลอด ทำได้อย่างไรบ้าง

อาการแสบร้อนช่องคลอด อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพบางประการที่ควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยทั่วไป วิธีรักษาอาการแสบช่องคลอด จะแตกต่างกันไปตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาเภสัชกรหรือพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-bmi] อาการแสบช่องคลอด เกิดจากสาเหตุใดบ้าง อาการแสบช่องคลอด อาจเกิดจากหลายสาเหตุต่อไปนี้ ภาวะวัลโวดีเนีย (Vulvodynia) เป็นภาวะปวดบริเวณช่องคลอดเรื้อรังที่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัด แต่อาจเกิดจากปัจจัยกระตุ้นที่เกี่ยวกับการสัมผัส เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การใส่ผ้าอนามัยแบบสอด ทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือรู้สึกเจ็บบริเวณช่องคลอด บางครั้งอาจปวดลามไปทั่วอวัยวะเพศและทวารหนัก อาการระคายเคืองช่องคลอด อาการระคายเคืองช่องคลอดจากการใช้สิ่งของที่ทำให้ช่องคลอดระคายเคืองเช่น ถุงยางอนามัย ผ้าอนามัยแบบแผ่น ผ้าอนามัยแบบสอด น้ำยาซักผ้า สเปรย์กำจัดขน ครีม สบู่ กระดาษชำระที่มีน้ำหอม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องคลอด รวมถึงการสวนล้างช่องคลอด อาจทำให้ช่องคลอดและบริเวณโดยรอบระคายเคือง และมีอาการแสบช่องคลอดได้ โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) เกิดจากภายในช่องคลอดมีแบคทีเรียชนิดไม่ดีอย่างแบคทีเรียแอนแอโรบส์ (Anaerobes) มากเกินไป ส่งผลให้แบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุล และทำให้มีอาการแสบ คัน ระคายเคืองช่องคลอด ร่วมกับมีตกขาวเป็นสีเทา สีเขียว หรือสีขาวจขุ่น ที่อาจส่งกลิ่นเหม็นคาว โรคเชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis) มักเกิดจากเชื้อแคนดิดา แอลบิแคนส์ (Candida albicans) อาจทำให้เกิดอาการช่องคลอดและปากช่องคลอดแสบร้อนหรือบวมแดง มีตกขาวเป็นก้อนแป้งที่ไม่มีกลิ่น แต่จะรู้สึกคัน ระคายเคือง […]


สุขภาพทางเพศ

เลือดออกทางช่องคลอด สีน้ำตาล เกิดจากสาเหตุใด

เลือดออกทางช่องคลอด สีน้ำตาล ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ มักเป็นเลือดประจำเดือนที่ยังตกค้าง มักพบในวันแรกหรือวันท้าย ๆ ของการมีประจำเดือน หรือหลังจากประจำเดือนหมดประมาณ 1-2 วัน แต่ในบางกรณีก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การใช้ฮอร์โมนเพื่อคุมกำเนิด เลือดล้างหน้าเด็ก ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ การแท้งบุตร ทั้งนี้ หากมีอาการปวดท้อง ตกขาวผิดปกติ และช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-bmi] เลือดออกทางช่องคลอด สีน้ำตาล เกิดจากอะไร เลือดออกทางช่องคลอด สีน้ำตาล อาจเกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้ ประจำเดือน ในวันแรกและวันท้าย ๆ ของการเป็นประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 1-2 วัน อาจมีเลือดประจำเดือนบางส่วนตกค้างอยู่ในช่องคลอด ซึ่งร่างกายมักจะดูดซับและย่อยสลายไปเอง แต่หากทำกิจกรรมที่มีแรงกระแทก เช่น เล่นกีฬา มีเพศสัมพันธ์หลังประจำเดือนเพิ่งหมดใหม่ ๆ ก็อาจทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด สีน้ำตาล ได้ การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด เช่น ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด ห่วงคุมกำเนิดชนิดเคลือบฮอร์โมน อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเสียสมดุล และทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ มีเลือดออกทางช่องคลอด สีน้ำตาล สีแดง หรือสีชมพู โดยเฉพาะหากเพิ่งเริ่มใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดเป็นครั้งแรก เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation bleeding) จุดเลือดหรือเลือดที่ไหลออกจากช่องคลอด […]


สุขภาพทางเพศ

ตัดมดลูกทิ้ง ผลกระทบ ต่อร่างกาย มีอะไรบ้าง

การผ่าตัดเอามดลูกออก (Hysterectomy) เป็นวิธีรักษาภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง  เช่น โรคมะเร็งทางนรีเวช ภาวะเนื้องอกมดลูก ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ การ ตัดมดลูกทิ้ง มีผลกระทบต่อร่างกายหลายประการ จึงควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน และปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการป้องกันและการรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ตัดมดลูกทิ้ง ทำในกรณีใดบ้าง การผ่าตัดมดลูกทิ้ง อาจใช้เมื่อมีปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ เนื้องอกในมดลูก (เป็นกรณีที่พบบ่อยที่สุด) โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) โรคมดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) ปัญหาเกี่ยวกับอุ้งเชิงกราน เช่น ภาวะมดลูกหย่อน (Uterine prolapse) อาการปวดเชิงกรานเรื้อรัง ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก (Abnormal uterine bleeding) โรคมะเร็งทางนรีเวช เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งโพรงมดลูก โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งมดลูก ประเภทของการผ่าตัดมดลูก ประเภทของการผ่าตัดมดลูก อาจแบ่งออกได้ดังนี้ การตัดมดลูกทั้งหมด (Total Hysterectomy) เป็นการตัดมดลูกและปากมดลูกทั้งหมดออก โดยยังเก็บส่วนของรังไข่เอาไว้ การตัดออกเฉพาะมดลูก (Supracervical Hysterectomy) เป็นการตัดเฉพาะส่วนบนของมดลูก โดยไม่ตัดปากมดลูกออกไปด้วย คุณหมออาจผ่าตัดเอาเฉพาะมดลูกออกผ่านหน้าท้องหรือทางช่องคลอด การผ่าตัดนำมดลูก ปากมดลูก ท่อนำไข่ และปีกมดลูกทั้งหมด (Total Hysterectomy with […]


สุขภาพทางเพศ

เนื้องอก มดลูก 5 ซม. อันตราย ไหม และรักษาได้อย่างไร

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri) เป็นเนื้องอกที่พบได้บ่อยในผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ มีหลายลักษณะและหลายขนาดหากตรวจพบเนื้องอกขนาดใหญ่ อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หลายคนจึงอาจกังวลและสงสัยว่า เนื้องอก มดลูก 5 ซม. อันตราย ไหม จำเป็นต้องผ่าตัดมดลูกเพื่อนำก้อนเนื้องอกออกทันทีหรือไม่ โดยทั่วไป หากเนื้องอกไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติ หรือไม่ได้ขยายตัวเร็วจนน่ากังวล คุณหมอจะแนะนำให้เฝ้าระวังอาการและขนาดของเนื้องอกแทนการการผ่าตัดเนื้องอกออกทันที แต่หากเนื้องอกมดลูกมีขนาดใหญ่มากและทำให้มีอาการผิดปกติ อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและการใช้ยา [embed-health-tool-bmi] เนื้องอก มดลูก คืออะไร เนื้องอกมดลูก เป็นก้อนเนื้อชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งหรือเนื้อร้ายที่ก่อตัวขึ้นภายในมดลูกของผู้หญิง มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ทำให้มดลูกขยายตัวหรือมีรูปร่างบิดเบี้ยว ในกรณีรุนแรง เนื้องอกมดลูกอาจขยายตัวใหญ่และลามไปถึงกระดูกซี่โครง จนรบกวนการทำงานของอวัยวะส่วนอื่น ทั้งยังทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ เนื้องอกมดลูกอาจมีเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อน อาจมีขนาดเท่าเดิมไปตลอด เจริญเติบโตอย่างช้า ๆ หรือโตเร็วมาก เนื้องอกมดลูกอาจหดเล็กลงหรือหายไปหลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง เนื้องอก มดลูก อาจจำแนกเป็นประเภทตามตำแหน่งที่พบ ดังนี้ เนื้องอกในกล้ามเนื้อ (Intramural fibroid) เป็นเนื้องอกที่อยู่ภายในกล้ามเนื้อมดลูก เป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด เนื้องอกที่โพรงมดลูก (Submucosal fibroid) เป็นเนื้องอกที่ดันเข้าไปในโพรงมดลูก เนื้องอกที่ผิวด้านนอกมดลูก (Subserosal fibroid) เป็นเนื้องอกที่ยื่นออกมานอกมดลูก อาการของเนื้องอก มดลูก ส่วนใหญ่แล้ว เนื้องอกมดลูกจะไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ และจะตรวจพบได้เมื่ออัลตราซาวด์หรือตรวจภายในบริเวณอุ้งเชิงกรานเท่านั้น แต่บางครั้ง ตำแหน่ง ชนิด ขนาด […]


สุขภาพทางเพศ

ต่อมลูกหมากหน้าที่ คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อระบบสืบพันธุ์

ต่อมลูกหมาก (The prostate gland) เป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย ที่อยู่ลึกลงไปในกระดูกเชิงกราน ระหว่างองคชาตและกระเพาะปัสสาวะ โดยจะล้อมรอบท่อปัสสาวะอยู่ ต่อมลูกหมากหน้าที่ สำคัญ คือ ผลิตของเหลวที่หล่อเลี้ยงและปกป้องอสุจิ และในขณะที่ผู้ชายหลั่ง ต่อมลูกหมากจะบีบของเหลวเข้าไปในท่อปัสสาวะ และของเหลวนั้นจะถูกขับออกมานอกร่างกายในรูปแบบของน้ำอสุจิพร้อมกับตัวอสุจิ [embed-health-tool-bmi] ต่อมลูกหมากคืออะไร ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศชาย เช่นเดียวกับองคชาต ถุงน้ำเชื้อ และลูกอัณฑะ มีรูปร่างคล้ายลูกเกาลัดหรือลูกหมาก กว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร หนา 2 เซนติเมตร และหนัก 30 กรัมโดยประมาณ ต่อมลูกหมากมีตำแหน่งอยู่ที่บริเวณปากทางกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอยู่ด้านหน้าของลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (ไส้ตรง) โดยจะหุ้มรอบท่อปัสสาวะซึ่งเป็นท่อที่ไหลผ่านศูนย์กลางของต่อมลูกหมาก จากกระเพาะปัสสาวะไปยังองคชาต และลำเลียงปัสสาวะไหลออกจากร่างกาย ทำให้เมื่อต่อมลูกหมากมีปัญหา อาจส่งผลต่อการไหลเวียนปัสสาวะได้เช่นกัน ต่อมลูกหมากหน้าที่ คืออะไร หน้าที่หลักของต่อมลูกหมาก คือ การผลิตของเหลวหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ โดยของเหลวที่ต่อมลูกหมากหลั่งออกมาจะประกอบไปด้วยสารประกอบต่าง ๆ เช่น แอนติเจนเฉพาะของต่อมลูกหมาก (PSA) เอนไซม์ สังกะสี กรดซิตริก ที่ช่วยให้ตัวอสุจิแข็งแรง สามารถเดินทางผ่านท่อปัสสาวะได้สะดวก มีชีวิตรอดเมื่อผ่านเข้าไปในช่องคลอด และสามารถเดินทางเข้าไปผสมกับไข่ที่ปลายท่อนำไข่ได้ ซึ่งจำเป็นอย่างมากในการสืบพันธุ์ […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

HIV อาการ ในแต่ละระยะของการติดเชื้อ เป็นอย่างไร

เมื่อติดเชื้อ HIV อาการ ที่ปรากฏจะแตกต่างไปในแต่ละระยะ โดยการติดเชื้อ HIV แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการติดเชื้อเฉียบพลัน ระยะการติดเชื้อไม่แสดงอาการ และระยะโรคเอดส์ ทั้งนี้ หากผู้ติดเชื้อ HIV ดูแลสุขภาพตัวเองด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาดและปราศจากสารตกค้าง และรับประทานยาต้านไวรัสทุกวัน จะช่วยชะลอหรือป้องกันไม่ให้เข้าสู่ระยะโรคเอดส์ได้ ทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด [embed-health-tool-bmi] HIV คืออะไร HIV (เอชไอวี) ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเซลล์ซีดี 4 (CD4 cells) ซึ่งทำหน้าต่อสู้กับการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนี้น้อยลง จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และหากการติดเชื้อ HIV พัฒนาจนเข้าสู่ระยะสุดท้ายหรือระยะโรคเอดส์ (AIDs) ก็จะยิ่งทำให้เสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่มักรักษาได้ยากและติดเชื้อซ้ำได้ง่าย เช่น วัณโรค การติดเชื้อรา การติดเชื้อในสมอง เชื้อ HIV สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสหรือได้รับของเหลวในร่างกายของผู้ติดเชื้อ ด้วยวิธีต่อไปนี้ การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนักโดยไม่สวมถุงยางอนามัย เป็นวิธีที่พบได้บ่อยมากที่สุด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น เช่น การเสพยาเสพติดด้วยกัน การสัมผัสเลือดหรือของเหลวของผู้ติดเชื้อ […]


โรคซิฟิลิส

ตุ่มซิฟิลิส เป็นแบบไหน รักษาได้อย่างไร

ตุ่มซิฟิลิส เป็นตุ่มที่เกิดขึ้นเมื่อเป็นโรคซิฟิลิส (Syphilis) ในระยะที่ 2 โรคนี้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted disease หรือ STD) ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง พบได้บ่อยในผู้ที่มีพฤติกรรมทางเพศเสี่ยงสูงหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย การรักษาทำได้ด้วยการรับยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อออกจากร่างกาย ทั้งนี้ การไปพบคุณหมอตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้โรคไม่พัฒนาเข้าสู่ระยะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งยังช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] ซิฟิลิส คืออะไร ซิฟิลิส คือ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) จัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่แพร่กระจายได้เมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปากกับผู้ติดเชื้อ เมื่อติดเชื้อแล้ว เชื้อจะแฝงอยู่ในร่างกายได้เป็นเวลาหลายปี และอาจทราบได้ว่าเป็นโรคนี้จากการมีตุ่มซิฟิลิสขึ้นตามร่างกาย โรคนี้ไม่สามารถหายได้เองและจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อกำจัดเชื้อออกจากร่างกายและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่น หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ เช่น สมอง หัวใจ ดวงตา ระบบประสาท เสียหายได้ ซิฟิลิส อาการ เป็นอย่างไร อาการของการติดเชื้อซิฟิลิส อาจมีดังนี้ มีตุ่มขึ้นตามร่างกาย อ่อนเพลีย มีไข้ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผมร่วง ต่อมน้ำเหลืองโต หากการติดเชื้อรุนแรงและลามไปยังระบบประสาท อาจทำให้เกิดอาการต่อไปนี้ คอแข็ง ปวดศีรษะ สูญเสียการได้ยิน มีปัญหาเกี่ยวกับปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย […]


สุขภาพทางเพศ

ยาขับเลือด คืออะไร และควรใช้อย่างไรให้ถูกต้อง

ยาขับเลือด เป็นยาสตรีแผนโบราณที่ประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด มีทั้งชนิดน้ำและชนิดเม็ดสำหรับรับประทาน สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ปรับสมดุลฮอร์โมน ปรับการหมุนเวียนโลหิต และช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ซึ่งหากรับประทานยาขับเลือดอย่างถูกวิธีก็จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพผู้หญิงมากมาย แต่หากรับประทานผิดก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานยาทุกชนิดควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากยา [embed-health-tool-ovulation] ยาขับเลือด คืออะไร ยาขับเลือด หรือที่หลายคนอาจรู้จักกันในชื่อของ ยาสตรี เป็นยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรหลายชนิด เช่น ขิง ดีปรี พริกไทย น้ำมันสะระแหน่ ดอกคำฝอย ชะเอม โกฐเชียง โกฐหัวบัว กิ่งอบเชย ว่านชักมดลูก กวาวเครือขาว เทียนดำ เทียนแดง ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงร่างกาย และอื่น ๆ ดังนี้ บำรุงโลหิต กระตุ้นเลือดลมให้ไหลเวียนดี บรรเทาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการตกขาว ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยขับน้ำคาวปลา โดยสมุนไพรในยาขับเลือดมีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ช่วยในการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาขึ้น และเมื่อไม่มีการตั้งครรภ์เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกและสลายตัวกลายเป็นเลือดประจำเดือน ส่งผลให้ผู้หญิงประจำเดือนมาปกติมากขึ้น ยาขับเลือด ใช้อย่างไร ปัจจุบันยาขับเลือดมี 2 ชนิดให้เลือกรับประทานได้ตามความสะดวก คือ ชนิดน้ำและชนิดเม็ด โดยแต่ละชนิดอาจมีวิธีรับประทานที่แตกต่างกัน ดังนี้ ยาขับเลือดชนิดน้ำ รับประทานครั้งละ 2 […]


สุขภาพทางเพศ

ตกขาวสีเขียวอันตรายไหม ควรดูแลตัวเองอย่างไร

ผู้หญิงหลายคนที่พบความผิดปกติของตกขาว อาจสงสัยว่าหากมี ตกขาวสีเขียวอันตรายไหม หากมีตกขาวสีเขียวแต่ไม่มีอาการอื่น ๆ เช่น กลิ่นเหม็นเปรี้ยว ตกขาวเป็นฟอง ผื่นแดง แสบร้อน คันบริเวณอวัยวะเพศ ก็อาจไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่หากมีอาการดังที่กล่าวมาร่วมด้วยควรเข้าพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ เพราะอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวสีเขียว เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง ตกขาวสีเขียวส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิจากการมีเพศสัมพันธ์ และอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะ เพราะการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การเข้าห้องน้ำสาธารณะ การสวนล้างอวัยวะเพศ เป็นต้น ส่งผลให้แบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุล ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและทำให้มีอาการตกขาวสีเหลือง เขียว เทา ตกขาวมีกลิ่น คันและแสบร้อนช่องคลอด ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease หรือ PID) เป็นการติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ส่วนใหญ่เกิดจากโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน โรคหนองในเทียม นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการสวนล้างช่องคลอด หลังคลอดบุตร การแท้งบุตร เป็นต้น อาจทำให้มีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ ปวดท้อง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวสีเขียวหรือสีเหลือง ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis […]


สุขภาพทางเพศ

รอบเดือนเกิน 35 วัน ผิดปกติหรือไม่ และเกิดจากสาเหตุใด

ปกติ ผู้หญิงจะมีรอบเดือน 21-35 วัน หรือเฉลี่ยประมาณ 28 วัน หาก รอบเดือนเกิน 35 วัน อาจเป็นภาวะผิดปกติที่มีสาเหตุมาจากกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ กลุ่มอาการคุชชิงโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น การรักษาภาวะรอบเดือนเกิน 35 วันสามารถทำได้ด้วยการรักษาภาวะสุขภาพที่เป็นสาเหตุ เพื่อทำให้การทำงานของระบบสืบพันธุ์กลับมาทำงานเป็นปกติ [embed-health-tool-ovulation] รอบเดือนเกิน 35 วัน ผิดปกติหรือไม่ ตามปกติแล้ว ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์จะมีประจำเดือนนานประมาณ 4-7 วัน และจะมีรอบเดือนประมาณ 21-35 วัน และมีรอบเดือนเฉลี่ยประมาณ 28 วัน ขึ้นอยู่กับอายุและภาวะสุขภาพด้วย ทั้งนี้ หากมีจำนวนวันในแต่ละรอบเดือนเท่า ๆ กัน แสดงว่ารอบเดือนเป็นปกติ สำหรับการมีรอบเดือนเกิน 35 วัน เรียกว่ารอบเดือนห่าง หรือรอบระดูห่าง (Oligomenorrhea) ทำให้ใน 1 ปีมีรอบเดือนน้อยลงและอาจมีประจำเดือนเพียง 4-9 ครั้งเท่านั้น ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยนักในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ แต่ก็ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด รอบเดือนเกิน 35 วัน เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง การมีรอบเดือนเกิน 35 วัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน