สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ป้องกัน “มะเร็งปากมดลูก” ด้วยการตรวจหาเชื้อ HPV แบบระบุสายพันธุ์

การตรวจคัดกรองเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสตรวจพบระยะก่อนมะเร็ง สามารถรักษาได้ มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของมะเร็งสตรีในผู้หญิงไทย  “โดยทุกๆ 2 ชั่วโมง มีหญิงไทยเสียชีวิต 1 คน” มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุหลักจากเชื้อไวรัส HPV  ซึ่งมี 14 สายพันธุ์เสี่ยงสูงก่อมะเร็ง ประกอบด้วย HPV 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 66 และ 68  ประโยชน์ของตรวจ HPV ระบุสายพันธุ์ HPV 14 สายพันธุ์เสี่ยงสูง  เป็นประโยชน์ในการตรวจติดตามการรักษาผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วตรวจพบไวรัส HPV  ว่าร่างกายสามารถกำจัดเชื้อได้ (Clearance) หรือยังคงติดเชื้อซ้ำ HPV สายพันธุ์เดิมไม่สามารถกำจัดได้ (Persistence) ซึ่งการติดเชื้อซ้ำนี้มีโอกาสเพิ่มการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้  สามารถบอกถึงภาวะติดเชื้อร่วมหลายสายพันธุ์ (Co-infection) ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ตรวจข้อมูลสายพันธุ์ของเชื้อ HPV  สามารถมีข้อมูลเลือกวัคซีนที่เหมาะสมในการป้องกันได้ สามารถเก็บข้อมูลระบาดวิทยาของ HPV แต่ละสายพันธุ์ได้  ทราบข้อมูลทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากการตรวจแบบแยกระบุสายพันธุ์ได้ ตรวจครอบคลุม […]

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

โรคติดเชื้อเอชพีวี

โรค HPV คืออะไร? วัคซีน HPV ป้องกัน มะเร็งปากมดลูก ได้จริงหรือ?

โรคhpvคืออะไร HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อเอชพีวี อาจทำให้เกิดหูดในร่างกาย แต่เชื้อ HPV บางสายพันธุ์อาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้หลายชนิด การได้รับวัคซีน HPV จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการเกิดโรคร้าย  [embed-health-tool-ovulation] HPV มีกี่ประเภท เชื้อไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (HPV) มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม HPV ชนิดก่อมะเร็ง - เชื้อไวรัส HPV ชนิดก่อมะเร็งมีมากถึง 14 สายพันธุ์ โดย HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 คือ สาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก รองลงมาคือ HPV สายพันธุ์ 45, 31 และ 33  HPV ชนิดไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง - แม้ HPV กลุ่มนี้จะไม่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ เช่น HPV  สายพันธุ์ […]


สุขภาพทางเพศ

นับวันตกไข่ อย่างแม่นยำ ด้วยเครื่องมือคำนวณการตกไข่

เครื่องมือคำนวณการตกไข่เป็นเครื่องมือที่ช่วย นับวันตกไข่ ของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการตั้งครรภ์ โดยจะสามารถคำนวณวันแรกของประจำเดือนครั้งต่อไป ระยะปลอดภัยในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ทั้งนี้ การนับวันตกไข่ จะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุดในผู้หญิงที่มีรอบเดือนมาสม่ำเสมอหรือประมาณทุก ๆ 28 วัน อย่างไรก็ตาม การนับวันตกไข่ไม่อาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% จึงควรป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น สวมถุงยางอนามัย กินยาคุมกำเนิด ร่วมด้วยเสมอ [embed-health-tool-ovulation] การตกไข่ คืออะไร การตกไข่ (Ovulation) หมายถึง ช่วงระยะเวลาไม่กี่วันในรอบหนึ่งเดือนที่ไข่ของผู้หญิงหลุดออกจากรังไข่ แล้วเคลื่อนลงมาตามท่อนำไข่และพักอยู่บริเวณนั้นเป็นเวลา 12-24 ชั่วโมง เพื่อรอการผสมกับอสุจิ เมื่ออสุจิตัวที่แข็งแรงที่สุดและรวดเร็วมากที่สุดเดินทางมาถึงไข่ก็จะทำให้เกิดการปฏิสนธิขึ้น โดยไข่จะแปรสภาพกลายเป็นตัวอ่อนและพัฒนาไปเป็นทารกในครรภ์ในที่สุด ในช่วงนี้ผนังมดลูกจะหนาขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน โดยทั่วไป อสุจิจะมีชีวิตอยู่ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงได้นานประมาณ 5 วันหลังจากนั้น ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้ ผู้หญิงจะมีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุดในรอบเดือน เพราะเป็นช่วงที่มีอสุจิอยู่ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง นับวันตกไข่ มีประโยชน์อย่างไร การ นับวันตกไข่ มีประโยชน์ในการวางแผนการตั้งครรภ์ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงตกไข่ (Fertility window) หรือระหว่าง 5 วันก่อนวันตกไข่ วันตกไข่ ไปจนถึง 24 ชั่วโมงหลังวันตกไข่ อาจเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์เพราะอสุจิจะมีชีวิตอยู่ในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงยาวนานมากพอที่จะเดินทางไปผสมกับไข่ที่พักรออยู่บริเวณท่อนำไข่ได้ ทั้งนี้ […]


สุขภาพทางเพศ

ผู้ป่วย หนองในแท้ เป็นเอดส์ ได้ง่ายขึ้นหรือไม่

หากเป็นโรค หนองในแท้ เป็นเอดส์ ได้ง่ายขึ้นหรือไม่ ? คำตอบคือ ไม่ว่าจะเป็นโรคหนองในแท้ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เป็นโรคเอดส์ (AIDS) ได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หากต้องการลดความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีเพศสัมพันธ์กับคนไม่รู้จัก มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน [embed-health-tool-bmi] หนองในแท้ คืออะไร โรคหนองในแท้ หรือ โรคหนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases หรือ STDs) ที่พบได้บ่อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก (ออรัลเซ็กส์) นอกจากนี้ อาจติดโรคได้จากการใช้ไวเบรเตอร์ (Vibrator) หรือเซ็กส์ทอยอื่น ๆ ร่วมกับผู้อื่นโดยที่ไม่ได้ล้างให้สะอาดทั้งก่อนหรือหลังใช้ หรือไม่ได้สวมถุงยางอนามัยเวลาที่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าว อาการของหนองในแท้ อาการของหนองในแท้ มีดังต่อไปนี้ อาการหนองในแท้ในผู้หญิง มีตกขาวผิดปกติ เช่น สีเหลือง สีเขียว […]


สุขภาพทางเพศ

Kink หรือ คิงก์ รสนิยมทางเพศที่เป็นอันตรายหรือไม่

Kink หรือ คิงก์ เป็นการทำกิจกรรมทางเพศที่มีขอบเขตจินตนาการโลดโผนมากกว่าการเล้าโลมเพื่อให้เกิดอารมณ์และมีเพศสัมพันธ์แบบทั่วไป ทั้งยังอาจช่วยเติมเต็มความรู้สึกเร่าร้อนทางเพศระหว่างคู่รักที่มีรสนิยมตรงกันให้สมบูรณ์มากขึ้นอีกด้วย การศึกษาเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศและทำความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างถูกต้อง ช่วยให้ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศที่หลากหลายและแตกต่างไปจากบรรทัดฐานของสังคมยอมรับตัวเองและมีความสุขกับตัวตน ในขณะเดียวกันก็จะช่วยให้คนในสังคมตระหนักและเข้าใจในเรื่องนี้ได้มากขึ้นไม่ก่อให้เกิดการล้อเลียนจนนำไปสู่ความอับอาย [embed-health-tool-bmi] Kink คืออะไร Kink เป็นรสนิยมทางเพศและเป็นกิจกรรมปลุกเร้าอารมณ์ที่อยู่นอกขอบเขตของบรรทัดฐานทางสังคม มักมีลักษณะแนวคิดที่เป็นจินตนาการโลดโผนและไม่เป็นจริง คู่รักจะสวมบทบาทสมมติขณะทำกิจกรรมทางเพศเพื่อเติมเต็มความปรารถนาทางเพศของกันและกัน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยินยอมของผู้กระทำกิจกรรมทางเพศทั้ง 2 ฝ่าย โดย คิงก์จะต่างไปจาก Fetish หรือ เฟติช ตรงที่ คิงก์จะเป็นรสนิยมในกิจกรรมทางเพศ (Sexual preference) ที่แตกต่างไปจากปกติ ในขณะ Fetish คือ ความต้องการทางเพศ (Sexual need) จากการใช้วัตถุหรือส่วนของร่างกายในกิจกรรมทางเพศ ซึ่งบางครั้งการมี Fetish อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตตามปกติและต้องรับการรักษาจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ลักษณะ Kink ที่พบได้บ่อย ลักษณะที่พบได้บ่อยคือรสนิยมทางเพศแบบบีดีเอสเอ็ม หรือ BDSM ที่อาจแบ่งออกได้เป็น 6 ลักษณะ B ย่อมาจาก Bondage คือ พันธนาการ เป็นการจำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของคู่นอน เช่น การใช้เชือก กุญแจมือ โซ่ ผ้าปิดปาก จิกผม หรือใช้เครื่องพันธนาการอื่น […]


สุขภาพทางเพศ

PMS หรือ Premenstrual Syndrome อาการและวิธีรับมือ

PMS หรือ Premenstrual Syndrome คือ กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการของ PMS เช่น ปวดท้อง หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล นอนไม่ค่อยหลับ มีอารมณ์ทางเพศน้อยลง อย่างน้อย 1 อาการในทุก ๆ เดือน รับประทานยา เช่น ไอบูโพรเฟน แอสไพริน กรดมีเฟนามิก ร่วมกับการด้วยการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การนอนหลับให้เพียงพอ การงดคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ อาจช่วยบรรเทาอาการนี้ได้ [embed-health-tool-bmi] PMS คืออะไร และเกิดจากอะไร PMS หรือ Premenstrual Syndrome คือ กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มอาการทางร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของ PMS ได้อย่างแน่ชัด แต่ภาวะนี้อาจเกิดจากระดับฮอร์โมนแปรปรวนในช่วงก่อนเป็นประจำเดือน โดยอาจเริ่มมีอาการหลังวันตกไข่ 1 วัน เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะลดลงอย่างมาก ตามปกติแล้วกลุ่มอาการที่กล่าวมาจะหายไปหลังจากเริ่มเป็นประจำเดือนในรอบนั้น ๆ […]


สุขภาพทางเพศ

รังไข่ทําหน้าที่อะไร สำคัญอย่างไรต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

รังไข่เป็นอวัยวะที่สำคัญต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิงเป็นอย่างมาก แต่หลายคนก็ยังอาจไม่ทราบแน่ชัดว่า รังไข่ทําหน้าที่อะไร  รังไข่มีหน้าที่สำคัญในการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงและเซลล์สืบพันธุ์ ทั้งยังควบคุมการปล่อยไข่ในแต่ละเดือน เพื่อให้มีไข่สุกพร้อมสำหรับการผสมกับอสุจิ ผู้หญิงทุกคนควรดูแลสุขภาพให้ดี เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเกี่ยวกับรังไข่ เช่น ซีสต์รังไข่ เนื้องอกรังไข่ ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องตัดรังไข่ทิ้ง และกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ [embed-health-tool-ovulation] รังไข่ คืออะไร รังไข่ (Ovary) คือ อวัยวะขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกับปีกมดลูกทั้งสองข้าง จัดเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงและระบบต่อมไร้ท่อ มีรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์และมีตั้งแต่สีเทาอ่อนไปจนถึงสีขาว รังไข่จะกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นในอุ้งเชิงกรานยึดไว้ให้อยู่กับที่ และจะมีเอ็นที่เรียกว่า โอวาเรียน ลิกาเมนต์ (Ovarian Ligament) คอยยึดรังไข่ไว้กับมดลูก โดยทั่วไป รังไข่จะมีขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร หรืออาจขยายตัวถึง 6 เซนติเมตร ทั้งนี้ ขนาดของรังไข่จะสัมพันธ์กับอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น รังไข่ก็จะยิ่งเล็กลง และอาจมีขนาดเพียง 2 เซนติเมตรหลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน รังไข่ทําหน้าที่อะไร รังไข่เป็นอวัยวะสำคัญในกระบวนการสืบพันธุ์และผลิตฮอร์โมน มีหน้าที่ผลิตและเก็บรักษาไข่ หลั่งฮอร์โมนเพศหญิง เช่น เอสโตรเจน (Estrogen) โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดลักษณะของเพศหญิง เช่น พัฒนาการของเต้านม รูปร่าง และขนตามร่างกาย นอกจากนี้ ฮอร์โมนเพศหญิงยังมีหน้าที่ควบคุมรอบประจำเดือน ภาวะเจริญพันธุ์ […]


สุขภาพทางเพศ

วิธีรักษาอาการแสบช่องคลอด ทำได้อย่างไรบ้าง

อาการแสบร้อนช่องคลอด อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพบางประการที่ควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยทั่วไป วิธีรักษาอาการแสบช่องคลอด จะแตกต่างกันไปตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาเภสัชกรหรือพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-bmi] อาการแสบช่องคลอด เกิดจากสาเหตุใดบ้าง อาการแสบช่องคลอด อาจเกิดจากหลายสาเหตุต่อไปนี้ ภาวะวัลโวดีเนีย (Vulvodynia) เป็นภาวะปวดบริเวณช่องคลอดเรื้อรังที่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัด แต่อาจเกิดจากปัจจัยกระตุ้นที่เกี่ยวกับการสัมผัส เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การใส่ผ้าอนามัยแบบสอด ทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือรู้สึกเจ็บบริเวณช่องคลอด บางครั้งอาจปวดลามไปทั่วอวัยวะเพศและทวารหนัก อาการระคายเคืองช่องคลอด อาการระคายเคืองช่องคลอดจากการใช้สิ่งของที่ทำให้ช่องคลอดระคายเคืองเช่น ถุงยางอนามัย ผ้าอนามัยแบบแผ่น ผ้าอนามัยแบบสอด น้ำยาซักผ้า สเปรย์กำจัดขน ครีม สบู่ กระดาษชำระที่มีน้ำหอม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องคลอด รวมถึงการสวนล้างช่องคลอด อาจทำให้ช่องคลอดและบริเวณโดยรอบระคายเคือง และมีอาการแสบช่องคลอดได้ โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) เกิดจากภายในช่องคลอดมีแบคทีเรียชนิดไม่ดีอย่างแบคทีเรียแอนแอโรบส์ (Anaerobes) มากเกินไป ส่งผลให้แบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุล และทำให้มีอาการแสบ คัน ระคายเคืองช่องคลอด ร่วมกับมีตกขาวเป็นสีเทา สีเขียว หรือสีขาวจขุ่น ที่อาจส่งกลิ่นเหม็นคาว โรคเชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis) มักเกิดจากเชื้อแคนดิดา แอลบิแคนส์ (Candida albicans) อาจทำให้เกิดอาการช่องคลอดและปากช่องคลอดแสบร้อนหรือบวมแดง มีตกขาวเป็นก้อนแป้งที่ไม่มีกลิ่น แต่จะรู้สึกคัน ระคายเคือง […]


สุขภาพทางเพศ

เลือดออกทางช่องคลอด สีน้ำตาล เกิดจากสาเหตุใด

เลือดออกทางช่องคลอด สีน้ำตาล ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ มักเป็นเลือดประจำเดือนที่ยังตกค้าง มักพบในวันแรกหรือวันท้าย ๆ ของการมีประจำเดือน หรือหลังจากประจำเดือนหมดประมาณ 1-2 วัน แต่ในบางกรณีก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การใช้ฮอร์โมนเพื่อคุมกำเนิด เลือดล้างหน้าเด็ก ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ การแท้งบุตร ทั้งนี้ หากมีอาการปวดท้อง ตกขาวผิดปกติ และช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-bmi] เลือดออกทางช่องคลอด สีน้ำตาล เกิดจากอะไร เลือดออกทางช่องคลอด สีน้ำตาล อาจเกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้ ประจำเดือน ในวันแรกและวันท้าย ๆ ของการเป็นประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 1-2 วัน อาจมีเลือดประจำเดือนบางส่วนตกค้างอยู่ในช่องคลอด ซึ่งร่างกายมักจะดูดซับและย่อยสลายไปเอง แต่หากทำกิจกรรมที่มีแรงกระแทก เช่น เล่นกีฬา มีเพศสัมพันธ์หลังประจำเดือนเพิ่งหมดใหม่ ๆ ก็อาจทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด สีน้ำตาล ได้ การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด เช่น ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด ห่วงคุมกำเนิดชนิดเคลือบฮอร์โมน อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเสียสมดุล และทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ มีเลือดออกทางช่องคลอด สีน้ำตาล สีแดง หรือสีชมพู โดยเฉพาะหากเพิ่งเริ่มใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดเป็นครั้งแรก เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation bleeding) จุดเลือดหรือเลือดที่ไหลออกจากช่องคลอด […]


สุขภาพทางเพศ

ตัดมดลูกทิ้ง ผลกระทบ ต่อร่างกาย มีอะไรบ้าง

การผ่าตัดเอามดลูกออก (Hysterectomy) เป็นวิธีรักษาภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง  เช่น โรคมะเร็งทางนรีเวช ภาวะเนื้องอกมดลูก ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ การ ตัดมดลูกทิ้ง มีผลกระทบต่อร่างกายหลายประการ จึงควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน และปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการป้องกันและการรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ตัดมดลูกทิ้ง ทำในกรณีใดบ้าง การผ่าตัดมดลูกทิ้ง อาจใช้เมื่อมีปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ เนื้องอกในมดลูก (เป็นกรณีที่พบบ่อยที่สุด) โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) โรคมดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) ปัญหาเกี่ยวกับอุ้งเชิงกราน เช่น ภาวะมดลูกหย่อน (Uterine prolapse) อาการปวดเชิงกรานเรื้อรัง ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก (Abnormal uterine bleeding) โรคมะเร็งทางนรีเวช เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งโพรงมดลูก โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งมดลูก ประเภทของการผ่าตัดมดลูก ประเภทของการผ่าตัดมดลูก อาจแบ่งออกได้ดังนี้ การตัดมดลูกทั้งหมด (Total Hysterectomy) เป็นการตัดมดลูกและปากมดลูกทั้งหมดออก โดยยังเก็บส่วนของรังไข่เอาไว้ การตัดออกเฉพาะมดลูก (Supracervical Hysterectomy) เป็นการตัดเฉพาะส่วนบนของมดลูก โดยไม่ตัดปากมดลูกออกไปด้วย คุณหมออาจผ่าตัดเอาเฉพาะมดลูกออกผ่านหน้าท้องหรือทางช่องคลอด การผ่าตัดนำมดลูก ปากมดลูก ท่อนำไข่ และปีกมดลูกทั้งหมด (Total Hysterectomy with […]


สุขภาพทางเพศ

เนื้องอก มดลูก 5 ซม. อันตราย ไหม และรักษาได้อย่างไร

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri) เป็นเนื้องอกที่พบได้บ่อยในผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ มีหลายลักษณะและหลายขนาดหากตรวจพบเนื้องอกขนาดใหญ่ อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หลายคนจึงอาจกังวลและสงสัยว่า เนื้องอก มดลูก 5 ซม. อันตราย ไหม จำเป็นต้องผ่าตัดมดลูกเพื่อนำก้อนเนื้องอกออกทันทีหรือไม่ โดยทั่วไป หากเนื้องอกไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติ หรือไม่ได้ขยายตัวเร็วจนน่ากังวล คุณหมอจะแนะนำให้เฝ้าระวังอาการและขนาดของเนื้องอกแทนการการผ่าตัดเนื้องอกออกทันที แต่หากเนื้องอกมดลูกมีขนาดใหญ่มากและทำให้มีอาการผิดปกติ อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและการใช้ยา [embed-health-tool-bmi] เนื้องอก มดลูก คืออะไร เนื้องอกมดลูก เป็นก้อนเนื้อชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งหรือเนื้อร้ายที่ก่อตัวขึ้นภายในมดลูกของผู้หญิง มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ทำให้มดลูกขยายตัวหรือมีรูปร่างบิดเบี้ยว ในกรณีรุนแรง เนื้องอกมดลูกอาจขยายตัวใหญ่และลามไปถึงกระดูกซี่โครง จนรบกวนการทำงานของอวัยวะส่วนอื่น ทั้งยังทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ เนื้องอกมดลูกอาจมีเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อน อาจมีขนาดเท่าเดิมไปตลอด เจริญเติบโตอย่างช้า ๆ หรือโตเร็วมาก เนื้องอกมดลูกอาจหดเล็กลงหรือหายไปหลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง เนื้องอก มดลูก อาจจำแนกเป็นประเภทตามตำแหน่งที่พบ ดังนี้ เนื้องอกในกล้ามเนื้อ (Intramural fibroid) เป็นเนื้องอกที่อยู่ภายในกล้ามเนื้อมดลูก เป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด เนื้องอกที่โพรงมดลูก (Submucosal fibroid) เป็นเนื้องอกที่ดันเข้าไปในโพรงมดลูก เนื้องอกที่ผิวด้านนอกมดลูก (Subserosal fibroid) เป็นเนื้องอกที่ยื่นออกมานอกมดลูก อาการของเนื้องอก มดลูก ส่วนใหญ่แล้ว เนื้องอกมดลูกจะไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ และจะตรวจพบได้เมื่ออัลตราซาวด์หรือตรวจภายในบริเวณอุ้งเชิงกรานเท่านั้น แต่บางครั้ง ตำแหน่ง ชนิด ขนาด […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม