สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูข้อแตกต่างระหว่าง หนองในเทียม และ หนองในแท้ แบบเข้าใจง่าย กันค่ะ จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันอย่างไร และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ เลยค่ะ หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร หนองในเทียม และ หนองในแท้มีข้อแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ สาเหตุ หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) หนองในแท้ (Gonorrhoea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhea) ระยะการฟักตัว หนองในเทียม มีระยะการฟักตัวค่อนข้างนาน โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวมากกว่า 1-3 สัปดาห์ หนองในแท้ มีระยะการฟักตัวค่อนข้างสั้น โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวภายใน 1-5 วัน อาการของโรคหนองใน อาการโรคหนองในเทียมในเพศชาย ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกคันที่บริเวณท่อปัสสาวะ และมีน้ำสีใส ๆ หรือขุ่น ๆ ไหลออกมาจากปลายองคชาต อาการโรคหนองในแท้ในเพศชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

ซาดิสม์ คืออะไร อันตรายหรือไม่ พฤติกรรมแบบไหนเข้าข่ายซาดิสม์

ซาดิสม์ หรือ ซาดิส หรือ ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศแบบซาดิส (Sadism หรือ Sexual Sadism Disorder) จัดเป็นความผิดปกติทางเพศแบบหนึ่ง โดยผู้ที่ซาดิสม์จะมีความสุขหรือมีความตื่นตัวทางเพศ เมื่อได้จินตนาการ เห็น หรือแสดงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง ไม่ว่าทางกายหรือจิตใจ ซึ่งแม้ในปัจจุบัน พฤติกรรมซาดิสจะเป็นที่ยอมรับในคู่รักบางคู่ แต่ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ สำหรับผู้ที่ต้องการปรับหรือลดพฤติกรรมซาดิสม์นั้นสามารถทำได้ด้วยการพูดคุยกับคุณหมอเพื่อปรับทัศนคติ ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะที่มีคุณสมบัติลดความต้องการทางเพศและโอกาสที่จะใช้ความรุนแรงแบบขาดสติ [embed-health-tool-bmi] ซาดิสม์ คืออะไร ซาดิสม์เป็นคำเรียกผู้ที่มีรสนิยมหรือจินตนาการทางเพศแบบซาดิสม์ ซึ่งเป็นการใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น ไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจ ทั้งนี้ พฤติกรรมที่เข้าข่ายซาดิสม์มีหลายระดับ ตั้งแต่การพูดจารุนแรงหรือด่าทอเพื่อให้คู่นอนเสียความรู้สึก ไปจนถึงการมีเพศสัมพันธ์แบบรุนแรงและการทรมานอีกฝ่ายให้เจ็บปวด เช่น การใช้แส้ฟาด การกัด การตี การใช้เชือกมัดแขนขา การใช้โซ่ตรวนล่าม ทั้งนี้ แม้ซาดิสม์อาจเป็นรสนิยมทางเพศที่ดูอันตราย แต่มีกลุ่มที่ชื่นชอบพฤติกรรมความรุนแรงนี้ เรียกว่า มาโซคิสม์ (Sexual Masochism) ซึ่งเป็นผู้ที่ชอบถูกทำร้าย ทั้งทางกายและทางใจ เพื่อให้เกิดการตื่นตัวทางเพศหรือถึงจุดสุดยอด ในปัจจุบันนี้ ซาดิสม์-มาโซคิสม์ได้กลายเป็นพฤติกรรมทางเพศที่ได้รับการยอมรับในคู่รักบางคู่ อย่างไรก็ตาม การใช้ความรุนแรงบางอย่างอาจนำไปสู่การเสียชีวิตโดยไม่ตั้งใจได้ โดยเฉพาะการรัดคอด้วยเชือกหรือถุงพลาสติกซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมทางเพศแบบซาดิสม์-มาโซคิสม์ ซาดิสม์แสดงพฤติกรรมอย่างไร และใครบ้างที่เข้าข่ายซาดิสม์ คู่มือวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ของสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา ระบุว่า ผู้ที่เข้าข่ายว่ามีรสนิยมทางเพศแบบซาดิสม์นั้นจะตื่นตัวทางเพศเมื่อได้ใช้ความรุนแรง ทั้งผ่านการทำร้ายด้วยคำพูดหรือการกระทำที่ส่งผลให้คู่นอนเจ็บปวดทางกายหรือใจ โดยความรู้สึกตื่นตัวทางเพศดังกล่าวต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน […]


สุขภาพทางเพศ

เทคฮอร์โมนชาย มีประโยชน์อย่างไร มีเกิดผลข้างเคียงหรือไม่

เทคฮอร์โมนชาย เป็นการนำฮอร์โมนเพศชายหรือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเข้าสู่ร่างกายของเพศหญิงที่ต้องการเป็นผู้ชายหรือผู้ชายข้ามเพศ ผ่านการฉีด การใช้ครีม หรือแผ่นแปะ เพื่อให้ร่างกายมีลักษณะต่าง ๆ ของเพศชาย ทั้งเสียงที่ทุ้มใหญ่ หนวดที่หนาดก ขนตามลำตัวที่มากขึ้น และมวลกล้ามเนื้อที่มากกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม การเทคฮอร์โมนชายอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ เช่น หัวล้าน สิวขึ้น เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ความดันโลหิตสูง ก่อนตัดสินใจเทคฮอร์โมนชาย ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีรับมือกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-ovulation] เทคฮอร์โมนชาย มีประโยชน์อย่างไร การเทคฮอร์โมนชาย เป็นการเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพของผู้หญิงที่อยากเป็นผู้ชายหรือผู้ชายข้ามเพศ ให้ดูเหมือนกับเพศชายยิ่งขึ้น ด้วยการฉีดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือทาครีม หรือใช้แผ่นแปะ เพื่อให้เสียงทุ้มใหญ่ มีหนวดเคราขึ้น มีขนขึ้นดกหนาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่าเดิม การเทคฮอร์โมนชายอาจเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 16 ปี และหากต้องการให้ตนเองมีลักษณะของเพศชายอยู่ตลอด จำเป็นต้องเทคฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง หรือทุก ๆ 2-4 สัปดาห์ หากหยุดเทคฮอร์โมน ลักษณะต่าง ๆ ของเพศชายจะค่อย ๆ หายไป ทั้งนี้ การเทคฮอร์โมนชายอาจไม่เหมาะกับผู้ชายข้ามเพศทุกคน โดยผู้ที่ไม่ควรเทคฮอร์โมนชาย คือ ผู้ป่วยมะเร็งชนิดที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับการอุดตันของหลอดเลือด […]


สุขภาพทางเพศ

make love คือ อะไร แตกต่างจากการมีเซ็กส์อย่างไร

Make love คือ คำศัพท์ที่ใช้เรียกการมีเพศสัมพันธ์ในลักษณะที่มีความใกล้ชิดทางอารมณ์และให้ความสำคัญต่อความต้องการของกันและกัน มากกว่าแค่ตอบสนองต่อความต้องการทางเพศเพียงอย่างเดียว แตกต่างจากการมีเซ็กส์ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางกายที่จะทำโดยมีหรือไม่มีอารมณ์รักใคร่มาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ [embed-health-tool-ovulation] Make love คือ อะไร การร่วมรัก หรือเมคเลิฟ คือ การมีเพศสัมพันธ์ที่ทำเพื่อแสดงความรักไม่ใช่แค่ทำเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางกายเพียงอย่างเดียว การเมคเลิฟมักจะมีอารมณ์และความรู้สึกผูกพันและรักใคร่ร่วมด้วย คู่รักจะให้ความสำคัญในการใช้เวลาเล้าโลมและสัมผัสใกล้ชิดกันเพื่อสร้างช่วงเวลาที่ดีต่อกันมากกว่าแค่การสนองความใคร่ไปจนถึงระยะจุดสุดยอดเท่านั้น การเมคเลิฟที่เป็นไปตามที่แต่ละฝ่ายต้องการจะช่วยให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น ถือเป็นการตอบสนองต่อความปรารถนาทางกายบนพื้นฐานของความรักและความเคารพซึ่งกันและกัน ความแตกต่างของการเมคเลิฟและการมีเซ็กส์ การเมคเลิฟและการมีเซ็กส์มีความเชื่อมโยงทางอารมณ์และความสนิทสนมกันของทั้งสองฝ่ายในระดับที่แตกต่างกัน การเมคเลิฟเป็นการแสดงความรักต่อกันผ่านการสัมผัสใกล้ชิดและให้ความสำคัญกับความต้องการของอีกฝ่ายไปพร้อม ๆ กับความต้องการของตัวเอง และมักใช้เวลากระตุ้นอารมณ์และมอบความพึงพอใจให้กับคู่ของตัวเองมากกว่าที่จะสนองความต้องการทางเพศของตัวเองเท่านั้น อาจกล่าวได้ว่า การเมคเลิฟเป็นการแสดงความรักต่อบุคคลที่ตัวเองรู้สึกผูกพันลึกซึ้ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ ในขณะที่การมีเซ็กส์ คือ การมีความสัมพันธ์ทางกายทั่วไปเพื่อตอบสนองต่อความสุขทางเพศของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถทำกับใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์รักใคร่หรือความผูกพันทางอารมณ์มาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การเมคเลิฟและการมีเซ็กส์ คือการร่วมเพศด้วยท่าร่วมเพศต่างๆ เช่นเดียวกัน เช่น ท่ามิชชันนารี ท่าคาวเกิร์ล รวมทั้ง มีการกอด จูบ ลูบ คลำ หรือเล้าโลม รวมทั้งสอดใส่ผ่านช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือการทำออรัลเซ็กส์เพื่อให้อีกฝ่ายถึงจุดสุดยอดเช่นเดียวกัน ประโยชน์ของกิจกรรมทางเพศต่อสุขภาพ การทำกิจกรรรมทางเพศ ไม่ว่าจะในรูปแบบของการเมคเลิฟหรือการมีเซ็กส์ หากทำอย่างถูกต้องและอยู่บนพื้นฐานความต้องการของทุกฝ่าย อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้ ช่วยให้นอนหลับสบาย เมื่อถึงจุดสุดยอดจากการมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองที่ชื่อว่าโปรแลคติน (Prolactin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกผ่อนคลายและง่วงนอน ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยผ่อนคลายอารมณ์และคลายเครียด ในขณะทำกิจกรรมทางเพศกับคู่นอน ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินและออกซิโทซิน […]


สุขภาพทางเพศ

ขนหมออ้อย มีประโยชน์อย่างไร ควรโกนออกหรือไม่

ขนหมออ้อย หมายถึง ขนบริเวณหัวหน่าวหรืออวัยวะเพศซึ่งจะเริ่มขึ้นเมื่อเพศชายและเพศหญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ มีหน้าที่ลดการเสียดสีของผิวหนังเมื่อมีเพศสัมพันธ์หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงช่วยป้องกันเชื้อโรค หากกำจัดขนหมออ้อยด้วยการโกนหรือแวกซ์อาจเพิ่มความเสี่ยงให้หัวหน่าวและอวัยวะเพศเป็นแผลและติดเชื้อได้ รวมทั้งอาจเป็นสาเหตุของอาการคันบริเวณหัวหน่าวและเกิดตุ่มขนคุดอีกด้วย [embed-health-tool-ovulation] ขนหมออ้อยมีประโยชน์อย่างไร ขนหมออ้อยหรือขนบริเวณอวัยวะเพศมีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังต่อไปนี้ ลดการเสียดสีบริเวณอวัยวะเพศ ผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศนั้นบอบบางมาก ขนหมออ้อยช่วยป้องกันผิวหนังไม่ให้บาดเจ็บจากการเสียดสี ไม่ว่าจะเป็นระหว่างการร่วมเพศ เดิน ออกกำลังกาย หรือช่วยตัวเอง ป้องกันการติดเชื้อ ขนหมออ้อยช่วยป้องกันเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย เช่นเดียวกับขนตา ขนคิ้ว และขนตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ช่วยรักษาอุณหภูมิของอวัยวะเพศ โดยเฉพาะอวัยวะเพศชายเพราะอุณหภูมิที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศและคุณภาพของตัวอสุจิในอัณฑะ ขนหมออ้อย ควรกำจัดทิ้งหรือไม่ การกำจัดขนหมออ้อย เช่น การโกน การแว๊กซ์ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนี้ ทำให้คันบริเวณอวัยวะเพศ เพิ่มโอกาสเป็นตุ่มขนคุด บริเวณหัวหน่าวหรืออวัยวะเพศ ทำให้เป็นผื่นระคายสัมผัส หากแพ้สารประกอบในผลิตภัณฑ์กำจัดขนต่าง ๆ การใช้มีดโกนหรือการแว็กซ์ขนเพื่อกำจัดขนหมออ้อยอาจเพิ่มความเสี่ยงให้หัวหน่าวหรืออวัยวะเพศเป็นแผลและอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับการกำจัดขนหมออ้อยและโอกาสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เผยแพร่ในวารสาร Sexually Transmitted Infections ปี พ.ศ. 2560 นักวิจัยได้สำรวจชาวอเมริกันจำนวน 7,580 ราย อายุระหว่าง 18-65 ปี เกี่ยวกับการกำจัดขนหมออ้อย […]


สุขภาพทางเพศ

อาการก่อนเมนส์มา กับ ท้อง แตกต่างกันอย่างไร

อาการก่อนเมนส์มา กับ ท้อง ของผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ล้วนเป็นภาวะที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย จึงทำให้มีอาการบางประการที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น อยากอาหาร ปวดท้อง อารมณ์แปรปรวน ท้องผูก จนอาจทำให้สับสนได้ว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้น เป็นอาการก่อนเมนส์มา หรือเกิดจากการตั้งท้องกันแน่ การเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างอาการก่อนเมนส์มากับท้อง อาจช่วยให้สามารถรับมือและดูแลตัวเองได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ลักษณะของอาการก่อนเมนส์มา กลุ่มอาการก่อนเมนส์มา หรือกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS หรือ Premenstrual Syndrome) อาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ อาการทางร่างกาย ปวดศีรษะ คัดตึงเต้านม ปวดท้อง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่อ มือและเท้าบวม เป็นสิว น้ำหนักขึ้น ท้องผูกหรือท้องเสีย อาการทางอารมณ์ วิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า ร้องไห้ง่าย อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ไม่อยากอยู่กับคนเยอะ ๆ รู้สึกว่าเรื่องต่าง ๆ ถาโถมจนรับมือไม่ไหว หรือควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ อาการทางพฤติกรรม ขี้ลืม ไม่มีสมาธิ จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้นาน เหนื่อยง่าย หิวง่าย รับประทานอาหารมากกว่าปกติ ไวต่อสัมผัส กลิ่นหรือรสชาติของอาหารบางชนิดมากกว่าปกติ สัญญาณของการตั้งท้องระยะแรก อาการของผู้ที่ตั้งท้องระยะแรก อาจมีดังนี้ อาการทางร่างกาย […]


สุขภาพทางเพศ

เพศสัมพันธ์ กับความเชื่อผิด ๆ ที่ควรรู้

เพศสัมพันธ์ อาจเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ของคนในสังคมอาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ และการคุมกำเนิดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การหลั่งอสุจินอกร่างกายคู่นอน การสวนล้างช่องคลอดทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ การศึกษาเรียนรู้เรื่องเพศสัมพันธ์อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคติดต่อ หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อมได้ [embed-health-tool-ovulation] ความเชื่อและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ เพศสัมพันธ์ ความเชื่อเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ที่แพร่หลายอยู่ในสังคม มีข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ ความเชื่อ: เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) สามารถแพร่ผ่านสารคัดหลั่งใดก็ได้ ความจริง: เชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ สามารถแพร่เชื้อผ่านน้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่น เลือด น้ำนม และสารคัดหลั่งจากช่องคลอดเท่านั้น โดยไม่สามารถแพร่เชื้อผ่านสารคัดหลั่งอื่น ๆ อย่างน้ำตา น้ำลาย เหงื่อ หรือปัสสาวะได้ ความเชื่อ: มีเพศสัมพันธ์แบบหลั่งนอก ไม่ทำให้ตั้งครรภ์ ความจริง: ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หากอวัยวะเพศชายสอดใส่เข้าไปในช่องคลอด น้ำหล่อหลื่นและน้ำอสุจิบางส่วนจากระบบสืบพันธุ์เพศชาย จะถูกขับออกทางองคชาตตั้งแต่ก่อนถึงจุดสุดยอด ดังนั้น การมีเพศสัมพันธ์แบบหลั่งนอกก็อาจสามารถทำให้ตั้งครรภ์ได้ โดยมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากถึง 22% ความเชื่อ: เพศสัมพันธ์ ครั้งแรกไม่ทำให้ตั้งครรภ์ ความจริง: หากเพศหญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ หรือมีประจำเดือนแล้ว การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะหากตัวอสุจิเข้าไปในช่องคลอดในขณะที่ฝ่ายหญิงอยู่ในช่วงไข่ตกพอดี ความเชื่อ: เพศหญิงจะไม่ตั้งครรภ์ หากมีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือน ความจริง: ผู้หญิงที่มีรอบเดือนสั้น หรือระหว่าง 21-24 […]


สุขภาพทางเพศ

แต๊บ คือ อะไร มีขั้นตอนอย่างไร มีผลเสียหรือไม่

แต๊บ คือ การใช้อุปกรณ์บางอย่าง เช่น เทปกาว กางเกงในแบบกระชับ เพื่อซ่อนอวัยวะเพศชายไว้บริเวณช่องขาหนีบไม่ให้เห็นเด่นนูนออกมาเมื่อสวมเสื้อผ้าในกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศ เพื่อแต่งตัวให้ตัวเองดูคล้ายผู้หญิงจริง ๆ มากขึ้น ทั้งนี้ การแต๊บอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เพราะทำให้ปัสสาวะลำบาก จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งอาจเป็นสาเหตุให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกหากติดเทปกาวแน่นจนเกินไป หากแต๊บแล้วเกิดอาการที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว เช่น ปวดท้อง พบเลือดปนในปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด [embed-health-tool-bmi] แต๊บ คือ อะไร แต๊บ คือหนึ่งในวิธีการซ่อนองคชาตและอัณฑะไว้บริเวณหว่างขา เพื่อปกปิดความเป็นชาย อาจใช้เทปกาว หรือกางเกงในแบบรัดกระชับ เป็นที่นิยมกันมากในหมู่หญิงข้ามเพศ หรือเพศชายที่ต้องการแต่งตัวเป็นเพศหญิงแต่ยังไม่ได้ผ่าตัดแปลงเพศ เพื่อให้ตนเองแต่งกายแล้วดูคล้ายเพศหญิงมากที่สุด แต๊บ มีขั้นตอนอย่างไร วิธีแต๊บ มีขั้นตอนคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้ แปะองคชาตและถุงอัณฑะให้ติดกันด้วยเทปกาว ดันองคชาตและถุงอัณฑะไปด้านหลัง หรือพื้นที่ว่างระหว่างอวัยวะเพศและทวารหนัก จากนั้นปิดเทปกาวให้แน่นอีกครั้งโดยใช้เทปกาวแปะยึดติดกับบริเวณขาหนีบ สวมกางเกงในที่แน่นกระชับ หรือกางเกงในที่เรียกว่ากาฟ (Gaffe) เพื่อป้องกันอวัยวะเพศชายเคลื่อนจากตำแหน่งที่ปิดเทปกาวไว้ นอกจากนี้ การแต๊บโดยไม่ใช้เทปกาวแต่สวมกางเกงในแบบกระชับ อาจมีขั้นตอนดังนี้ สวมกางเกงในที่แน่นกระชับ หรือกาฟ ค้างไว้บริเวณหัวเข่า ใช้มือข้างหนึ่งดันองคชาตและถุงอัณฑะไปยังช่องขาหนีบ ใช้มืออีกข้างดึงกางเกงในที่สวมค้างไว้บริเวณหัวเข่าขึ้นมาสวม ขณะที่มืออีกข้างหนึ่งยังประคององคชาตและถุงอัณฑะไว้ เมื่อมั่นใจว่าองคชาตและอัณฑะจะไม่เคลื่อนจากช่องขาหนีบ ค่อย ๆ ดึงมือข้างที่ประคององคชาตและถุงอัณฑะไว้ออกมา ทั้งนี้ การแต๊บแบบไม่ใช้เทปกาวอาจทำให้อวัยวะเพศเคลื่อนจากตำแหน่งที่แต๊บไว้ […]


สุขภาพทางเพศ

ประจำเดือนมาไม่ตรง เกิดจากสาเหตุใด

ประจำเดือน คือ เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกผ่านช่องคลอดออกมาเป็นเลือดประจำเดือนในทุก ๆ เดือน เกิดขึ้นเมื่อไข่ไม่ได้ผสมกับอสุจิและเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน โดยปกติแล้วประจำเดือนจะมาในช่วงเวลาและปริมาณที่ใกล้เคียงกันทุกเดือน แต่บางคนอาจมีอาการ ประจำเดือนมาไม่ตรง ในบางเดือน ซึ่งอาจเกิดจากภาวะเครียด การออกกำลังกายหักโหมเกินไป ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ เป็นต้น ปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติอาจแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น หาวิธีคลายเครียด ปรับวิธีออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ดีต่อสุขภาพ แต่หากปรับพฤติกรรมแล้วไม่ได้ผล ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-ovulation] ลักษณะของประจำเดือนตามปกติ รอบประจำเดือนของผู้หญิงแต่ละรอบจะเริ่มนับจากวันสุดท้ายของการมีประจำเดือนรอบล่าสุดไปจนถึงวันแรกของการมีประจำเดือนในรอบถัดไป โดยทั่วไป รอบเดือนปกติในแต่ละเดือนจะห่างกันประมาณ 28 วัน หรืออาจอยู่ในช่วง 21-35 วัน ในแต่ละรอบเดือน ผู้หญิงจะมีประจำเดือนประมาณ 3-5 วัน ในช่วงปีแรก ๆ ของการมีประจำเดือนหรือในช่วงที่เพิ่งเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (อายุ 13-16 ปี) ผู้หญิงหลายคนอาจมีรอบเดือนห่างกันมากและจำนวนวันในแต่ละรอบเดือนอาจแปรปรวน แต่เมื่ออายุมากขึ้นรอบเดือนมักจะสั้นลง และมีจำนวนวันในแต่ละรอบเดือนใกล้เคียงกันมากขึ้น เนื่องจากการหลั่งฮอร์โมนเริ่มคงที่ อาการของประจำเดือนมาไม่ตรง อาการของประจำเดือนมาไม่ตรง อาจมีดังนี้ รอบเดือนเปลี่ยนไปจากเดิม อาจมาช้าหรือมาเร็วกว่าปกติ ประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรือมาน้อยกว่าปกติ จำนวนวันที่เป็นประจำเดือนแตกต่างจากเดิม อาจเพิ่มขึ้นหรือน้อยลง มีจุดเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ตรง เกิดจากสาเหตุใด ปัจจัยที่อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ตรง อาจมีดังนี้ ความเครียด เมื่อเกิดภาวะเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เช่น […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ผื่นแดง เอดส์ เป็นอย่างไร เกิดจากอะไร

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอสไอวี (HIV) จะมีอาการของโรคหลายระดับ การติดเชื้อในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการและผู้ป่วยยังมีร่างกายแข็งแรงเหมือนคนปกติที่ไม่ติดเชื้อ แต่เมื่อไวรัสแบ่งตัวและเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันจนเม็ดเลือดขาวมีจำนวนลดลง และหากถึงระยะสุดท้ายของการติดเชื้อหรือที่เรียกว่าระยะเอดส์ อาจทำให้มีอาการเจ็บป่วย เช่น เกิด ผื่นแดง เอดส์ กระจายทั่วร่างกาย เกิดอาการคันที่แขน ขา ใบหน้า และลำตัว ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยระดับความรุนแรงของอาการที่พบมักขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย [embed-health-tool-bmr] เอดส์คืออะไร โรคเอดส์ (AIDS) คือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ถือเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human immunodeficiency virus หรือ HIV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่เข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ ได้ตามปกติ เชื้อเอชไอวีมักแพร่กระจายได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสกับเลือดที่ติดเชื้อ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ เป็นต้น ทั้งยังสามารถแพร่จากแม่สู่ลูกได้ทั้งในช่วงตั้งครรภ์ ขณะคลอด และในช่วงให้นม ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะมีอาการที่แตกต่างกันไปตามระยะของการติดเชื้อ ภาวะทางผิวหนัง เช่น ตุ่มคัน ผื่นแดง เป็นอาการที่พบได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อเอชไอวี หากไม่ควบคุมด้วยการรับประทานยาต้านไวรัส การติดเชื้อจะลุกลามไปเรื่อย ๆ นำไปสู่ระยะป่วยเป็นโรคเอดส์ หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome หรือ AIDS) […]


สุขภาพทางเพศ

คันน้องสาว เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร

คันน้องสาว หรืออาการคันบริเวณอวัยวะเพศหญิง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับจุดซ่อนเร้นที่มีส่วนผสมที่ทำให้ผิวหนังระคายเคือง การติดเชื้อบริเวณช่องคลอด การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศในร่างกาย และการถูกตัวโลนกัด ทั้งนี้ อาการคันน้องสาวสามารถรักษาได้ด้วยยาที่เหมาะสมกับตัวโรค และอาจป้องกันได้ด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยนต่อจุดซ่อนเร้น มีเพศสัมพันธ์โดยสวมถุงยางอนามัยป้องกันทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงการฉีดสวนล้างอวัยวะเพศ [embed-health-tool-ovulation] คันน้องสาว มีสาเหตุมาจากอะไร อาการคันบริเวณอวัยวะเพศหญิง อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ผื่นระคายสัมผัส (Contact Dermatitis) เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสกับสารที่ทำให้ระคายเคือง หรือมีอาการแพ้ เช่น สบู่ ครีมอาบน้ำ น้ำยาปรับผ้านุ่ม ครีมบำรุงผิว น้ำหอมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ผ้าอนามัย เมื่อเป็นผื่นระคายสัมผัสอาจมีอาการดังนี้ ผิวหนังแห้ง แตก ตกสะเก็ด บวม รู้สึกคัน การติดเชื้อในช่องคลอด ไม่ว่าจะเป็นภาวะช่องคลอดอักเสบเนื่องจากแบคทีเรีย หรือโรคเชื้อราในช่องคลอด มักทำให้คันบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงตกขาวมีสีผิดปกติและปัสสาวะแสบขัด โดยมีสาเหตุจากการเสียสมดุลของแบคทีเรียแลคโตบาซิลไล (Lactobacilli) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแบคทีเรียและเชื้อราชนิดอื่น ๆ ไม่ให้มีมากเกินไปจนทำให้ติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่จะเป็นหนองในแท้ หนองในเทียม เริม หูดหงอนไก่ หรือโรคพยาธิในช่องคลอด มักทำให้ผู้ป่วยรู้สึกคันน้องสาว นอกจากนี้ ในกรณีของเริมและหูด ผู้ป่วยมักมีแผลพุพองและตุ่มเนื้อบริเวณอวัยวะเพศที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ในช่วงก่อนเข้าสู่วัยทองหรือหญิงระยะให้นมบุตร […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน