โรคผิวหนังอักเสบ

โรคผิวหนังอักเสบ คือโรคที่อาจเกิดจากสาเหตุมากมายนานัปการ อีกทั้งยังมีอาการที่แสดงออกมาแตกต่างกันออกไปตามสาเหตุของโรค การเรียนรู้ข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับโรคผิวหนังอักเสบ ที่ Hello คุณหมอได้รวบรวมไว้ที่นี่ อาจช่วยให้เราสามารถรับมือกับโรคนี้ได้อย่างเหมาะสม

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคผิวหนังอักเสบ

เซ็บเดิร์ม หนังศีรษะ เกิดจากสาเหตุใด รักษาได้อย่างไร

โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic dermatitis) เป็นโรคผิวหนังที่ได้พบบ่อย โดยเฉพาะในวัยเด็กและวัยกลางคน ผู้ที่เป็น เซ็บเดิร์ม หนังศีรษะ อาจมีขุยสีขาวหรือเหลืองหลุดลอก หนังศีรษะแดง และมีอาการคัน ระคายเคือง โดยทั่วไปสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อรา ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ แชมพูน้ำมันดิน ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ส่วนใหญ่อาการจะทุเลาลงภายในไม่สัปดาห์หลังรักษา แต่หากรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นเลย ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เซ็บเดิร์ม หนังศีรษะ คืออะไร เซ็บเดิร์ม หนังศีรษะ เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย ทำให้หนังศีรษะตกสะเก็ด หลุดลอกเป็นแผ่น หรือเป็นขุยเล็ก ๆ สีขาวหรือสีเหลือง มีรอยแดงและอาการคัน และอาจมีลักษณะอาการคล้ายคลึงกับโรคผิวหนังอื่น ๆ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) อาการทางผิวหนังที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ อาการของโรคเซ็บเดิร์มพบได้บ่อยบริเวณหนังศีรษะ จึงอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นรังแคได้ แต่โรคเซ็บเดิร์มต่างจากรังแคตรงที่สามารถพบที่ผิวหนังบริเวณอื่นที่มีไขมันมากได้เช่นกัน เช่น ใบหน้า หน้าอก รักแร้ หลัง รอบสะโพก ขาหนีบ และเซ็บเดิร์มจะทำให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบอย่างอาการบวมแดงร่วมด้วย ในขณะที่รังแคเป็นเพียงสะเก็ดหนังศีรษะที่หลุดลอก บางครั้งอาการเซ็บเดิร์มที่หนังศีรษะและรังแคจะรักษาด้วยวิธีเดียวกัน แต่คุณหมอผิวหนังอาจเพิ่มการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเซ็บเดิร์มที่ผิวหนังส่วนอื่น ๆ ด้วย เซ็บเดิร์ม หนังศีรษะ เกิดจากสาเหตุใด ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของโรคเซ็บเดิร์มได้ แต่ทารกแรกเกิดจะเสี่ยงในการเกิดเซ็บเดิร์มที่หนังศีรษะ ที่เรียกว่า […]

สำรวจ โรคผิวหนังอักเสบ

โรคผิวหนังอักเสบ

Eczema คือ อะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา

Eczema คือ โรคผื่นผิวหนังอักเสบ เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้บ่อย เกิดจากการอักเสบหรือการระคายเคือง เนื่องจากเกราะป้องกันผิวหนังอ่อนแอ รวมถึงอาจเกิดจากผิวหนังสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นหรือสารก่อภูมิแพ้ เช่น สารเคมี ส่งผลให้ผิวหนังแห้ง คัน และอักเสบ แม้โรคผื่นผิวหนังอักเสบจะไม่ใช่โรคติดต่อ และสามารถบรรเทาอาการได้เอง แต่ก็ควรดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค นอกจากนี้ หากรักษาด้วยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น หรือรุนแรงกว่าเดิม ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม Eczema คือ อะไร Eczema คือ โรคผื่นผิวหนังอักเสบ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ทำให้ผิวหนังแห้ง คัน และอักเสบ โดยผื่นผิวหนังอักเสบอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของยีนในร่างกายหรือความอ่อนแอของเกราะป้องกันผิวหนัง รวมถึงอาจเกิดจากการที่ผิวหนังสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นหรือสารก่อภูมิแพ้ เช่น สารเคมี โดยผู้ที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังยังอาจมีความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้อาหาร โรคหอบหืด และไข้ละอองฟางได้ด้วย แม้โรคผื่นผิวหนังอักเสบจะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่การดูแลผิวด้วยการให้ความชุ่มชื้นและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการลุกลามของโรคได้ อาการของ Eczema อาการของโรคผื่นผิวหนังอักเสบอาจเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย ดังนี้ ผิวแห้ง แตก ลอกเป็นขุย ผิวหนาและหยาบ และอาจมีอาการคันร่วมด้วย มีตุ่มนูนเล็ก ๆ หรือผื่นที่ผิวหนัง อาจมีสีแดงหรือสีชมพู ขึ้นอยู่กับสีผิวของแต่ละคน อาจมีหนองไหล ผิวรอบดวงตาคล้ำขึ้น นอกจากนี้ ยังควรสังเกตอาการอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการต่อไปนี้ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา อาการของโรคผื่นผิวหนังอักเสบรุนแรงขึ้นจนกระทบต่อคุณภาพการนอนและการใช้ชีวิตประจำวัน […]


โรคผิวหนังอักเสบ

ตุ่มใสที่มือ เกิดจากอะไร และควรรักษาอย่างไร

ตุ่มใสที่มือ เป็นสภาวะทางผิวหนังที่มักมีสาเหตุมาจากโรคผิวหนังหลายชนิด เช่น โรคอีสุกอีใส ผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ รวมถึงอาจมีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้ การติดเชื้อ หรืออาจเป็นความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย ทำให้เกิดตุ่มใสที่มือ ร่วมกับอาการอื่น ๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลักของโรค ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเป็นประจำทุกวัน อาจช่วยป้องกันปัญหาตุ่มใสที่มือได้ ตุ่มใสที่มือ เกิดจากอะไร ตุ่มใสที่มือ ส่วนใหญ่เป็นสภาวะของโรคผิวหนัง ซึ่งสาเหตุที่อาจทำให้เกิดตุ่มใสที่มือ มีดังนี้ โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เสื้อผ้า สารเคมี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผื่นแดง มีตุ่มใสที่มือ ผื่นลมพิษ คัน และไม่สบายตัว โรคเริม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus หรือ HSV) โดยอาจทำให้ผู้ป่วยมีตุ่มแดงหรือตุ่มใสเล็ก ๆ ปวด แสบร้อน คัน เป็นแผลพุพอง หรือเป็นสะเก็ดบริเวณอวัยวะเพศ แต่ในบางกรณีอาจมีตุ่มใสที่มือหรือปากเกิดขึ้นได้เช่นกัน โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสคอกแซกกี้ (Coxsackie Virus) ซึ่งอาจพบได้มากในช่วงหน้าฝน มักทำให้เกิดตุ่มใสที่มือ หลังมือ […]


โรคผิวหนังอักเสบ

เป็นฝีรักษายังไง ฝีเกิดจากอะไร

หลายคนอาจสงสัยว่าฝีเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นฝีรักษายังไง ฝีเป็นภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนังเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นก่อตัวเป็นก้อนนูน มีลักษณะกลมและมีหนอง ภายในฝีประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว เซลล์เม็ดเลือดขาว และแบคทีเรีย นอกจากนี้ ยังมีฝีที่ก่อตัวภายในร่างกาย ซึ่งอาจตรวจพบได้ยากกว่าฝีบริเวณผิวหนัง การรักษาฝีที่ผิวหนังโดยทั่วไปอาจใช้การประคบร้อน การระบายออกด้วยเข็ม และการผ่าตัดนำฝีออก หากพบว่ามีฝีควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี และไม่ควรบีบหรือเจาะฝีออกด้วยตัวเอง เพราะอาจเสี่ยงเกิดการติดเชื้อและทำให้อาการแย่ลงได้ ฝีเกิดจากอะไร ฝี (Abscesses) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เป็นภาวะอักเสบของผิวหนังที่เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนัง ระบบภูมิคุ้มกันจึงส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวไปต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา จนส่งผลให้ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้ออักเสบหรือบวมแดง และเกิดเป็นโพรงที่ผิวหนัง เซลล์ที่ตายแล้วและแบคทีเรียจะก่อตัวเป็นตุ่มหนองบริเวณโพรงจนเกิดเป็นฝี ซึ่งอาจอักเสบและขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ สัมผัสแล้วรู้สึกเจ็บและอาจมีกลิ่นเหม็น ฝีแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ ฝีที่ผิวหนัง (Skin abscesses) เป็นฝีที่เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปในผิวหนัง ทำให้เกิดตุ่มหนองอักเสบและเกิดก้อนฝีตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย อาจพบได้ที่ใต้วงแขน แขน ขา ลำตัว อวัยวะเพศ ก้น เป็นต้น ฝีภายใน (Internal abscesses) เป็นฝีที่ก่อตัวภายในอวัยวะหรือในช่องว่างระหว่างอวัยวะต่าง ๆ โดยปกติจะพบได้ยากกว่าฝีที่อยู่บริเวณผิวหนังเนื่องจากเกิดขึ้นภายในร่างกาย และบางครั้งอาจไม่มีสัญญาณภายนอกที่แสดงว่าเป็นฝี อาการของฝี อาการของฝี มีดังนี้ ฝีที่ผิวหนัง มีตุ่มบวมใต้ผิวหนัง […]


โรคผิวหนังอักเสบ

Bullous pemphigoid คือ โรคเพมฟิกอยด์ สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

Bullous pemphigoid คือ โรคเพมฟิกอยด์ เป็นโรคตุ่มน้ำพองที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดตุ่มน้ำพองที่ผิวหนังและเยื่อบุต่าง ๆ เมื่อตุ่มพองแตกออกจะทำให้เป็นแผลถลอกและอาจทำให้รู้สึกเจ็บ โรคนี้พบบ่อยในผู้สูงอายุ การรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปการรับประทานหรือทายาต้านอักเสบ ไม่แกะเกาผิวหนัง ดูแลผิวให้ดี อาจทำให้หายจากโรคนี้ได้ แต่ไม่หายขาด โรคนี้อาจเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่แข็งแรง หากพบว่ามีอาการที่เข้าข่ายโรคเพมฟิกอยด์ ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม Bullous pemphigoid คือ อะไร โรคเพมฟิกอยด์ หรือ Bullous pemphigoid คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ทำให้ชั้นหนังกำพร้าหลุดลอกออกจากชั้นหนังแท้ ส่งผลให้ทำให้เกิดตุ่มพอง พบมากบริเวณข้อพับ รักแร้ หน้าท้อง รอบขาหนีบ และอาจพบที่เยื่อบุช่องปากปาก ลิ้น หลอดอาหาร โพรงจมูก และเยื่อบุตาได้เช่นกัน อาการของโรคจะเริ่มจากมีผื่นแดง คัน ลักษณะคล้ายลมพิษ ขึ้นกระจายเป็นหย่อม ๆ จากนั้นผื่นจะกลายเป็นตุ่มพองหรือตุ่มน้ำใส เมื่อแตกออกจะทำให้รู้สึกเจ็บ และกลายเป็นแผลถลอก ส่วนใหญ่จะทิ้งรอยแผลเป็นไว้บนผิวหนัง ตุ่มน้ำพองอาจเกิดขึ้นในบริเวณไม่กว้างมากหรืออาจกระจายไปทั่วร่างกาย แขน และขา โรคนี้อาจหายได้เองภายในเวลาไม่กี่เดือน แต่บางครั้งอาจต้องใช้เวลารักษาหลายปี และอาจเป็นซ้ำได้อีก สาเหตุของโรค Bullous pemphigoid โรคเพมฟิกอยด์เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ และเข้าทำลายโปรตีนที่ทำหน้าที่ยึดผิวหนังชั้นกำพร้าและชั้นหนังแท้ไว้ด้วยกัน […]


โรคผิวหนังอักเสบ

เซ็บเดิร์ม คือ โรคต่อมไขมันอักเสบ สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การรักษา

เซ็บเดิร์ม คือ โรคต่อมไขมันอักเสบ เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากต่อมไขมันอักเสบเรื้อรัง จนส่งผลให้ผิวหนังตกสะเก็ด เป็นขุย มีผื่นคัน หรือเป็นรอยแดง พบได้บ่อยบริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า รวมถึงผิวหนังส่วนที่มีไขมันเยอะทั่วร่างกาย โดยทั่วไปสามารถรักษาได้ด้วยการใช้แชมพูขจัดรังแคและยาต้านเชื้อรา แต่หากรักษาเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือเกิดการติดเชื้อ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี เซ็บเดิร์ม คือ อะไร เซ็บเดิร์ม คือ โรคต่อมไขมันอักเสบ หรือโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน (Seborrheic Dermatitis) อาจเกิดจากการติดเชื้อยีสต์มาลาสซีเซีย พาไคเดอมาติส (Malassezia pachydermatis) หรือความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ส่งผลให้ต่อมไขมันอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีผิวหนังหลุดลอกเป็นแผ่น ผิวบวมแดง และเกิดรังแคหรือสะเก็ดที่หายได้ยาก พบมากในบริเวณหนังศีรษะ แต่ก็อาจส่งผลต่อผิวหนังบริเวณข้างจมูก คิ้ว หน้าผาก เปลือกตา หู หน้าอก หรือส่วนอื่น ๆ ที่มีต่อมไขมันมากได้เช่นกัน หากพบในทารกจะเรียกว่า ภาวะต่อมไขมันอักเสบในทารก ที่ทำให้เกิดแผ่นไขสีเหลืองบนหนังศีรษะ หรือไขที่ศีรษะ (Cradle Cap) ของทารก โรคเซ็บเดิร์มส่วนใหญ่มักเป็น ๆ หาย ๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการรักษาและดูแลที่เหมาะสม ปัจจัยเสี่ยงของโรค เซ็บเดิร์ม […]


โรคผิวหนังอักเสบ

ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง สาเหตุ ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลรักษา

ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการผิวแห้ง ผื่นแดง เป็นตุ่ม ผิวอักเสบ คันรุนแรง และผิวบอบบางแพ้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร โรคไข้ละอองฟาง โรคหอบหืด การติดเชื้อที่ผิวหนัง สีผิวไม่สม่ำเสมอ ปัญหาการนอนหลับ ปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งการดูแลตัวเองอาจเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันปัญหาผิวหนังอักเสบเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ ได้ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นอย่างไร ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นภาวะทางผิวหนังที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ทำให้มีอาการผิวแห้ง คัน ผิวหนา ผิวอักเสบ และผิวบอบบางแพ้ง่าย โดยปัญหาผิวหนังอักเสบเรื้อรังอาจมีแนวโน้มที่อาการจะลุกลามและรุนแรงขึ้น จนอาจทำให้เกิดความระคายเคืองทั่วร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้อาหาร โรคไข้ละอองฟาง และโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น สาเหตุของอาการผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ผิวหนังอักเสบเรื้อรังมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของยีนภายในร่างกายที่ทำให้สภาพผิวหนังอ่อนแอ ผิวจึงไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นและทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรค สารระคายเคือง และสารก่อภูมิแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบางกรณี ผิวหนังอักเสบเรื้อรังอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังมากเกินไป จนลดประสิทธิภาพการทำงานของผิวหนัง ส่งผลให้ผิวหนังอ่อนแอและเกิดการอักเสบขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาผิวหนังอักเสบเรื้อรังขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนของผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ผิวหนังอักเสบเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้ แพ้อาหาร ผู้ที่เป็นผิวหนังอักเสบเรื้อรังมักมีอาการแพ้อาหารเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการลมพิษกำเริบ เช่น อาการคัน รอยแดง มีอาการปวด ผิวหนังบวม โรคหอบหืด และโรคไข้ละอองฟาง ผู้ที่เป็นผิวหนังอักเสบเรื้อรังบางคนอาจมีอาการหอบหืดและไข้ละอองฟางเกิดขึ้น ซึ่งอาการของโรคทั้ง […]


โรคผิวหนังอักเสบ

ตุ่ม เล็ก ๆ ขึ้น ตาม แขน ไม่ คัน เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

ตุ่ม เล็ก ๆ ขึ้น ตาม แขน ไม่ คัน อาจเกิดจากปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ รูขุมขนอักเสบ ขนคุด ผดผื่น ลมพิษ และแมลงกัดต่อย ซึ่งแต่ละสาเหตุอาจบรรเทาอาการและรักษาได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้ยา อย่างไรก็ตาม หากมีอาการรุนแรง จำเป็นต้องเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] ตุ่ม เล็ก ๆ ขึ้น ตาม แขน ไม่ คัน เกิดจากอะไร ตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นตามแขนไม่คันอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่อาจพบได้บ่อยมีดังนี้ ปฏิกิริยาแพ้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นตามแขนที่อาจพบได้บ่อย โดยการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคือง เช่น อาหาร ฝุ่น ควัน เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เสื้อผ้า น้ำยาทำความสะอาด ละอองเกสร การรักษา อาจรักษาได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองต่าง ๆ แต่หากอาการรุนแรงหรือรักษาด้วยตัวเองแล้วยังไม่หายเป็นระยะเวลานาน ควรเข้าพบคุณหมอ ซึ่งคุณหมออาจสั่งจ่ายยาแก้แพ้ เพื่อช่วยบรรเทาอาการแพ้และอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รูขุมขนอักเสบ รูขุมขนอักเสบอาจเกิดขึ้นเมื่อเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียเข้าไปสะสมในรูขุมขน จนทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดการอักเสบ ส่งผลทำให้เกิดตุ่มแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง […]


โรคผิวหนังอักเสบ

คันมือ สาเหตุและวิธีการดูแลตัวเอง

คันมือ เป็นอาการคันทางผิวหนังที่อาจมีสาเหตุมาจากการสัมผัสกับสารระคายเคือง อาการแพ้ แผลติดเชื้อ ผิวแห้ง รวมถึงการใช้ยาบางชนิดหรือเกิดจากโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคกลาก โรคสะเก็ดเงิน โรคหิด โรคตับแข็ง อาการคันมือ เกิดจากอะไร อาการคันมืออาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การสัมผัสกับสารระคายเคืองและอาการแพ้ การใช้มือสัมผัสกับสารระคายเคือง เช่น สบู่ น้ำยาฆ่าเชื้อ ฝุ่น ดิน น้ำที่มีคลอรีน น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ และอาจส่งผลให้มือแห้ง แตก ลอก คันมือ ผิวแดงและเจ็บปวดได้ นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการแพ้ยาก็อาจทำให้เกิดอาการคันมือได้เช่นกัน เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าต่อต้านยาเหมือนกับต้านเชื้อโรค จนอาจทำให้เกิดอาการแพ้และมีอาการคันมือและเท้าเกิดขึ้น การรักษา หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ สารเคมีรุนแรงและจดบันทึกชนิดของยาที่มีประวัติแพ้ นอกจากนี้ ควรสวมถุงมือทุกครั้งเมื่อต้องสัมผัสสารเคมี ควรล้างมือให้สะอาดหากใช้มือสัมผัสกับสารระคายเคือง พร้อมทั้งทาครีมหรือมอยเจอร์ไรเซอร์บำรุงมือทุกครั้งเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว หากมีอาการแพ้รุนแรง คุณหมออาจสั่งยาแก้แพ้ ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบและบรรเทาอาการแพ้ ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใส ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใส เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่อาจทำให้เกิดตุ่มน้ำใสเป็นเม็ดเล็ก ๆ ใต้ผิวหนัง ที่นิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือและฝ่าเท้า คันมาก ผิวแดง ผิวแตก และอาจมีน้ำใส ๆ ออกมาจากตุ่มพอง สิ่งกระตุ้นที่พบบ่อย ได้แก่ ความเครียด  การพักผ่อนน้อย […]


โรคผิวหนังอักเสบ

โรคพุ่มพวง อาการ สาเหตุและการรักษา

โรคพุ่มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus หรือ SLE) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกายเหมือนกับการทำลายเชื้อโรค จนทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง โดยอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ฮอร์โมนและสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นอาการ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นบนใบหน้าและร่างกาย ผิวไวต่อแสง ร่วมทั้งอาการทางร่างกายอื่น ๆ เช่น มีไข้ ปวดข้อ ปวดหัว มึนงง เจ็บหน้าอก ซึ่งเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่ออวัยวะอื่น ๆ ได้รับผลกระทบ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรคพุ่มพวง คืออะไร โรคพุ่มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง คือ โรคภูมิต้านทานตนเองชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ เข้าทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อที่แข็งแรงในร่างกายเหมือนกับการทำลายเชื้อโรคที่เป็นอันตราย ส่งผลให้เซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะภายในถูกทำลายจนเกิดการอักเสบ และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น แผลในช่องปาก ผมร่วง เหนื่อยล้า มีไข้ ปวดข้อ ผื่นบริเวณใบหน้าและร่างกาย โรคพุ่มพวงพบบ่อยแค่ไหน โรคพุ่มพวงมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอาจพบมากในผู้ที่มีอายุประมาณ 15-45 ปี เนื่องจากผู้หญิงโดยเฉพาะในช่วงวัยเจริญพันธุ์อาจมีฮอร์โมนที่แปรปรวนบ่อย ทำให้ร่างกายอ่อนแอง่ายและระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติจนกระตุ้นให้อาการของโรคพุ่มพวงกำเริบขึ้น อาการ อาการของโรคพุ่มพวง อาการของโรคพุ่มพวงที่พบบ่อย อาจมีดังนี้ เหนื่อยล้า มีไข้ เจ็บหน้าอก หายใจถี่ ปวดข้อ ตึงและบวม […]


โรคผิวหนังอักเสบ

ผิวหนังอักเสบ (Eczema หรือ Dermatitis) สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ผิวหนังอักเสบ (Eczema หรือ Dermatitis) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้บ่อย เกิดจากการอักเสบหรือการระคายเคืองที่พบบ่อย ได้แก่  โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังหรือโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (Atopic dermatitis หรือ Atopic eczema) เนื่องจากผิวหนังสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นหรือสารก่อภูมิแพ้ เช่น สารเคมี ร่วมกับเกิดจากกรรมพันธุ์ อาการของโรคผิวหนังอักเสบที่พบมักแตกต่างกันไปตามสาเหตุ แต่ที่พบได้ทั่วไป เช่น มีผื่นแดง มีตุ่มใส ผิวแห้ง คันผิวหนัง โดยทั่วไปสามารถบรรเทาอาการของโรคผิวหนังอักเสบได้ด้วยการทายาเพื่อลดผดผื่นและอาการคัน แม้โรคนี้จะไม่ใช่โรคติดต่อและส่วนใหญ่สามารถบรรเทาอาการเองได้ แต่ก็ควรให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการโรค ทั้งนี้ หากรักษาด้วยยาแล้วอาการยังไม่ทุเลาหรือรุนแรงกว่าเดิม ควรเข้ารับการรักษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด ผิวหนังอักเสบ คืออะไร โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema หรือ Dermatitis) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็ก มักทำให้เกิดผื่นแดง ตุ่มนูนพอง หรือตุ่มน้ำที่ผิวหนัง ผิวหนังบริเวณที่อักเสบเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือน้ำตาลเข้ม รู้สึกระคายเคืองเมื่อสัมผัส และอาจแห้งลอก บวมแดง หรือคัน โดยเฉพาะตามข้อพับของร่างกายและผิวหนังบริเวณที่เสียดสีบ่อย ๆ เช่น คอ ข้อพับแขน ข้อพับขา รักแร้ ร่องก้น โรคผิวหนังอักเสบมีด้วยกันหลายชนิด ที่พบบ่อย เช่น โรคเซ็บเดิร์ม […]

โฆษณา
โฆษณา
โฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม