สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง

โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ เป็นโรคทางผิวหนังที่เกิดจากเซลล์แบ่งตัวเร็วผิดปกติ ทำให้ใต้เล็บหนาตัวขึ้น เล็บจึงฉีกขาดได้ง่าย บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำเสนอ วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ มาให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ จะมีวิธีการดูแลและรักษาอย่างไรบ้าง มาดูพร้อมกันเลย สะเก็ดเงินที่เล็บ (Nail psoriasis) สะเก็ดเงินที่เล็บ (Nail psoriasis) เป็นโรคเรื้อรังของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ใต้ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยปกติเซลล์ผิวหนังจะสร้างขึ้นใหม่ทุก ๆ 28-30 วัน แต่เมื่อเป็นโรคสะเก็ดเงิน เซลล์ผิวหนังจะผลัดเซลล์ผิวเร็วขึ้นทุก ๆ 3-4 วัน ส่งผลให้ผิวหนังงอกจากโคนเล็บหน้าขึ้น โดยเล็บจะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันไป เช่น เล็บเป็นหลุม สีเล็บเปลี่ยน เล็บเปิด ลักษณะอาการของโรคสะเก็ดเงินที่เล็บ ลักษณะอาการของโรคสะเก็ดเงินที่เล็บ จะแตกต่างกันไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เกิดรอยสีขาวบนเล็บ เล็บบิดเบี้ยว เล็บแตก เล็บฉีกง่าย เล็บเปิด มีรอยบุ๋มบนเล็บ เลือดใต้เล็บ เล็บเป็นหลุม เล็บฉีกขาดได้ง่าย ผิวหนังใต้เล็บหนาขึ้น วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ  วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ มีด้วยกันหลากหลายวิธีทั้งทางด้านแผนปัจจุบันและแผนทางเลือก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การรักษาแผนปัจจุบัน โดยการใช้ยา ชนิดใช้ภายนอก ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยาชนิดใช้ภายนอกที่ช่วยบรรเทาอาการสะเก็ดเงิน ลดการอักเสบ เช่น ขี้ผึ้ง […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

การดูแลเล็บ

สำรวจ สุขภาพผิว

สุขภาพผิว

ยาทาแก้เชื้อราในร่มผ้า และวิธีป้องกันการติดเชื้อรา

เชื้อราในร่มผ้า เป็นปัญหาผิวหนังที่ควรเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วด้วย ยาทาแก้เชื้อราในร่มผ้า เมื่อสังเกตว่ามีผื่นขึ้น อาการคันรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังรอบอวัยวะเพศ เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจส่งผลให้อวัยวะเพศบวมแดง รู้สึกเจ็บแสบขณะปัสสาวะและทำให้ปัสสาวะลำบากที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ก่อนการใช้ยารักษาควรเข้ารับการวินิจฉัยกับคุณหมอและแจ้งอาการให้ทราบ เพื่อรับชนิดยาที่เหมาะสมกับอาการที่เป็น [embed-health-tool-bmi] เชื้อราในร่มผ้า เกิดจากอะไร เชื้อราในร่มผ้า เกิดจากติดเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) ที่ก่อให้เกิดโรคกลากและโรคน้ำกัดเท้า การติดเชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) ที่ก่อให้เกิดโรคเกลื้อน การติดเชื้อราแคนดิดา (Candida albicans) ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนังตามธรรมชาติ โดยมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างไปกระตุ้นให้กลุ่มเชื้อราเจริญเติบโตมากเกินไปจนนำไปสู่การติดเชื้อราในร่มผ้า ดังนี้ ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน เช่น รองเท้า ถุงเท้า เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อราจากผู้ติดเชื้อ สภาพอากาศร้อนชื้น ที่ทำให้ร่างกายขับเหงื่อมากในร่มผ้า โดยเฉพาะผู้ที่เลือกสวมเสื้อผ้ามีการระบายอากาศและความอับชื้นได้ไม่ดี จจนนำไปสู่การกระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโต สวมเสื้อผ้าตัวเดิมซ้ำ ๆ เพราะอาจทำให้มีการสะสมของเชื้อราและเกิดการติดเชื้อบริเวณผิวหนังในร่มผ้า ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านการติดเชื้อราหรือทำให้ควบคุมการติดเชื้อได้ยาก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจส่งผลให้ต่อมไขมันผลิตไขมันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผิวมันและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อรา สวมถุงเท้าหรือรองเท้าที่คับและรัดแน่นจนเกินไป ส่งผลให้เหงื่อออกมาก เท้าอับชื้น ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อราที่เท้าและเล็บเท้า ไม่ทำความสะอาดสิ่งที่สัมผัสกับผิวหนังบ่อย ๆ เช่น พรมเช็ดเท้า รองเท้า ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว เพราะอาจทำให้มีการสะสมของคราบเหงื่อและสิ่งสกปรก ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อรา  ดังนั้น หากสังเกตว่า […]


สุขภาพผิว

ยาแก้ผื่นคัน มีอะไรบ้าง และวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง

ผื่นคัน เป็นปัญหาผิวที่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการแพ้ การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อรา ดังนั้น เมื่อสังเกตว่ามีผื่นแดงและมีอาการคันควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุให้ชัดเจนเพื่อรับการรักษาด้วย ยาแก้ผื่นคัน ตามอาการอย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยงการติดต่อไปยังบุคคลอื่น ๆ เนื่องจากโรคผิวหนังบางชนิดสามารถติดต่อผ่านการใช้สิ่งของและการสัมผัสได้ [embed-health-tool-bmi] ผื่นคันเกิดจากอะไร ผื่นคันอาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส รวมถึงแพ้สารระคายเคือง เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์ สารเคมี ฝุ่น น้ำหอม เหงื่อ น้ำยาปรับผ้านุ่ม รวมถึงแพ้อาหารและเครื่องดื่มที่รับประทาน จนส่งผลให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง ผิวหนังบวม มีตุ่มและผื่นขึ้นตามลำตัวรวมถึงส่วนอื่น ๆ นอกจากนี้ ผื่นคันอาจพบได้บ่อยในผู้ที่ทำงานสัมผัสกับสารระคายเคือง และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัสต่ำ นำไปสู่การเกิดผื่นคัน อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่ามีผื่นคันขึ้น มีไข้ ผื่นลุกลามไปยังบริเวณอื่น และมีอาการแย่ลงหรือไม่ตอบสนองต่อยารักษาเบื้องต้น ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดและรับการรักษาอย่างเหมาะสม ยาแก้ผื่นคัน มีอะไรบ้าง  ยาแก้ผื่นคัน อาจมีดังต่อไปนี้ คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) มีในรูปแบบเม็ดและครีม ใช้เพื่อบรรเทาอาการผิวหนังอักเสบ ลดอาการบวม แดงจากผื่นคัน โดยควรรับประทานตามที่คุณหมอแนะนำ เนื่องจากเป็นยาที่ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งจะพิจารณาจากอาการที่เป็นของแต่ละบุคคล ยานี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย […]


สุขภาพผิว

โรคผิวหนังมีอะไรบ้าง และมีวิธีรักษาอย่างไร

หลายคนอาจส่งสัยว่า โรคผิวหนังมีอะไรบ้าง ซึ่งโรคผิวหนังเป็นโรคที่เกิดจากการหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อรา รวมถึงอาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งแต่ละสาเหตุนั้นมีวิธีการรักษาแตกต่างกันออกไป ดังนั้น หากสังเกตว่ามีผื่นหรือตุ่มขึ้นบนผิวหนัง มีอาการคัน ผิวแห้ง ผิวบวม ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุให้ชัดเจน เพื่อดำเนินการรักษาอย่างรวดเร็ว ลดความเสี่ยงผิวหนังเสียหายและส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] โรคผิวหนัง คืออะไร โรคผิวหนัง คือ โรคที่ส่งผลให้เกิดผื่น ตุ่มหนอง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำ มีอาการคัน ผิวบวม สามารถเกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่บนผิวหนังของร่างกายหรืออาจเป็นเฉพาะบางจุด นอกจากนี้บางคนอาจมีไข้ อาเจียนคลื่นไส้ร่วมด้วยในกรณีที่ติดเชื้อรุนแรง  สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอาจอแตกต่างกันออกไป เช่น การติดเชื้อจากแบคทีเรีย การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อรา อาการแพ้ต่อสารระคายเคืองต่าง ๆ ยกตัวอย่าง ขนสัตว์เลี้ยง น้ำหอม ละอองเกสร อาหารที่รับประทาน สารเคมี สบู่ โลชั่น ครีม เป็นต้น  โรคผิวหนังมีอะไรบ้าง ที่พบบ่อย โรคผิวหนังที่พบบ่อย มีดังนี้ 1.โรคกลาก  โรคกลากเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) ที่เป็นแบคทีเรียธรรมชาติที่อยู่บนผิวเจริญเติบโตมากเกินไป จากปัจจัยบางอย่างกระตุ้น เช่น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ สภาพอากาศร้อนชื้น การสวมเสื้อผ้ารัดแน่น การอยู่ใกล้ชิดกับคนหรือสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อ การใช้ผ้าขนหนูและเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น  อาการของโรคกลาก […]


สุขภาพผิว

โรคเท้าแบน สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคเท้าแบน คือ ความผิดปกติของลักษณะเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งทำให้เท้าแบนติดกับพื้น ซึ่งอาจมีสาเหตุที่เชื่อมโยงกับภาวะข้อต่อหย่อน (Joint Hypermobility Syndrome) และโรคหนังยืดผิดปกติ (Ehlers-Danlos Syndrome) ที่ทำให้ผิวหนังยืดมากเกินไป สำหรับบางคนที่ไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการปวดมากในขณะเดินหรือเคลื่อนไหว ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้ใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรคเท้าแบน คืออะไร โรคเท้าแบน คือ โรคที่เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เชื่อมติดกัน หรือมีผิวหนังที่ยืดกว่าปกติ ทำให้ไม่มีส่วนโค้งของเท้า เท้าแบนราบติดกับพื้น เป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก แต่ก็อาจเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ภายหลังได้เช่นกัน นอกจากนี้โรคเท้าแบนยังแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ เท้าแบนแบบนิ่ม จัดเป็นภาวะเท้าแบนที่พบได้มากที่สุด เมื่อยืน ฝ่าเท้าจะราบไปกับพื้นทั้งหมด แต่เมื่อยกเท้าขึ้นมาจะเห็นช่วงโค้งของฝ่าเท้าและไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด แต่อาจส่งผลให้อาการแย่ลงตามช่วงอายุ เสี่ยงเส้นเอ็นฉีกขาดและรู้สึกเจ็บปวดได้ เท้าแบนแบบแข็ง เป็นประเภทที่พบได้น้อย โดยบริเวณหน้าเท้าจะโค้งนูนอออกผิดรูป มีลักษณะแข็งและเท้าหมุนจากข้างนอกเข้าด้านใน ทำให้รู้สึกเจ็บปวดและเคลื่อนไหวลำบากหากต้องยืนหรือเดินโดยใช้เท้าเป็นเวลานาน อาการ อาการของ โรคเท้าแบน อาการของโรคเท้าแบน มีดังนี้ เท้าแบนราบกับพื้น มีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณเท้าและต้นขา ปวดบริเวณส่วนโค้งของข้อเท้า ส้นเท้า ปวดเมื่อในขณะเคลื่อนไหว ส่วนของหน้าเท้าและนิ้วเท้าชี้ออกด้านออก ควรเข้าพบคุณหมอหากสังเกตตั้งแต่ช่วงวัยเด็กว่ามีรูปเท้าผิดปกติหรือไม่ รวมถึงการทรงตัวไม่ดี รู้สึกเจ็บปวดข้อเท้า และกล้ามเนื้อขาอย่างรุนแรง  สาเหตุ สาเหตุของโรคเท้าแบน โรคเท้าแบนอาจเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงวัยทารกและวัยเด็กที่มีสาเหตุมาจากร่างกายพัฒนายังไม่สมบูรณ์ หรือไม่พัฒนาเลย อย่างไรก็ตาม โรคเท้าแบนยังอาจเกิดได้จากภาวะผิวหนังยืดที่ได้รับจากพันธุกรรมของคนในครอบครัว […]


สิว

เป็นสิวที่ก้น เกิดจากอะไรและรักษาได้อย่างไรบ้าง

เป็นสิวที่ก้น อาจเกิดจากการอุดตันในรูขุมขนของแบคทีเรีย เซลล์ผิวเก่า และสิ่งสกปรก ที่ส่งผลให้รูขุมขนอักเสบและระคายเคืองที่รูขุมขนจนเกิดเป็นตุ่มสิว นอกจากนี้ การมีตุ่มขึ้นบริเวณก้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของฝี จึงควรเข้ารับการวินิจฉัยจากคุณหมอ เพื่อช่วยให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดและรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] เป็นสิวที่ก้น เกิดจากอะไร สิ่วที่ก้น เกิดจากการอุดตันในรูขุมขนที่ทำให้รูขุมขนอักเสบจากสิ่งสกปรก เซลล์ผิวเก่า และการติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas Aeruginosa) หรือสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) ที่ส่งผลให้เกิดตุ่มสิวบริเวณก้น อีกทั้งยังอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เกิดจากฮอร์โมนเพศแอนโดรเจนเพิ่มขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เพราะอาจทำให้ต่อมไขมันขยายและกระตุ้นการผลิตไขมันมากนำไปสู่การอุดตันในรูขุมขน จนก่อให้เกิดสิวที่ก้น ขนคุด เนื่องจากเส้นขนที่อยู่ใต้ผิวหนัง ไม่สามารถโผล่พ้นผิวหนังได้ตามปกติ ส่งผลให้เกิดรูขุมขนอักเสบและเกิดเป็นตุ่มนูนหรือก่อให้เกิดสิวที่ก้น มีหนอง และรู้สึกเจ็บมากเมื่อถูกเสียดสีจากกางเกงชั้นใน การดูแลสุขอนามัยไม่ดี การทำความสะอาดก้นไม่สะอาด อาจทำให้คราบ ขี้ไคล เซลล์ผิวหนังเก่า สิ่งสกปรก และเชื้อแบคทีเรียสะสมในรูขุมขนบริเวณก้น นำไปสู่รูขุมขนอุดตันและก่อให้เกิดสิว อีกทั้งการเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีสารเคมีรุนแรงอาจทำให้รูขุมขนบริเวณก้นเกิดการระคายเคือง และก่อให้เกิดสิวหรือสิวที่ก้นมีอาการอักเสบ ที่ควรเข้ารับการรักษาหรือใช้ยาตามที่คุณหมอแนะนำอย่างรวดเร็วเพื่อลดอาการเจ็บปวด  สวมใส่กางเกงรัดรูปหรือกางเกงชั้นในที่แน่น อาจทำให้ผิวหนังบริเวณก้นถูกเสียดสีและมีการระบายความชื้นได้ไม่ดี ทำให้รูขุมขนระคายเคืองและอักเสบนำไปสู่การเกิดสิวที่ก้น ประเภทของสิวที่อาจขึ้นบริเวณก้น ประเภทของสิวที่เกิดขึ้นบริเวณก้น อาจมีดังนี้ สิวตุ่มแดง มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดง ๆ ไม่มีหนองอยู่ข้างใน แต่อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดเมื่อถูกสัมผัส […]


สุขภาพผิว

อาการลมพิษ สาเหตุ และวิธีการรักษา

อาการลมพิษ เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดจากร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้และปล่อยสารฮิสตามีนที่ทำให้ผิวหนังบวมและมีอาการคันที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย เช่น หน้าท้อง หน้าอก ต้นแขน ขาส่วนบน ก้น หลัง บางคนอาจมีอาการในระดับรุนแรงที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ดังนั้น หากสังเกตว่ามีอาการดังกล่าว ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-bmr] อาการลมพิษ มีสาเหตุมาจากอะไร อาการลมพิษ มีสาเหตุมาจากร่างกายเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น อาหาร ฝุ่นละออง แสงแดด ละอองเกสร ขนสัตว์ นอกจากนี้ อาการของลมพิษยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภทที่พบได้บ่อยและมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้ ลมพิษเฉียบพลัน อาจมีสาเหตุมาจากการแพ้พิษจากแมลงกัดต่อย ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) รวมถึงการแพ้อาหาร เช่น ถั่ว มะเขือเทศ ไข่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ นม อาหารทะเล ช็อกโกแลต สารกันบูดหรือสารเคมีเจือปนในอาหาร ที่ส่งผลให้มีผื่นขึ้น และมีอาการคันไม่เกิน 6 สัปดาห์ ลมพิษเรื้อรัง อาจมีสาเหตุไม่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกิดจากสิ่งกระตุ้นรอบตัว เช่น […]


สุขภาพผิว

หน้าเหี่ยว ดูแก่ก่อนวัยเกิดจากอะไรและมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร

หน้าเหี่ยว ผิวหย่อนคล้อย เป็นปัญหาสุขภาพผิวที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุมากขึ้น ตากแดดมากเกินไป การสูบบุหรี่ ส่งผลให้ผิวดูแก่ก่อนวัย ผิวขาดความชุ่มชื้นและมีริ้วรอย หากอยากฟื้นฟูผิวให้กระชับขึ้นและมีสุขภาพดี ควรศึกษาวิธีดูแลผิวหน้าอย่างถูกวิธีหรือขอคำปรึกษาจากคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-heart-rate] หน้าเหี่ยว เกิดจากอะไร หน้าเหี่ยว อาจเกิดจากการตากแดดมากเกินไป เพราะแสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลตที่ทำลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในชั้นผิวหนัง เช่น คอลลาเจน อีลาสติน (Elastin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น และช่วยยึดเซลล์ผิวให้เรียงตัวกัน จึงส่งผลให้ผิวหนังสูญเสียความแข็งแรง ขาดความยืดหยุ่น นำไปสู่หน้าเหี่ยว หรือ แขน ขา เหี่ยว และอาจส่งผลให้ผิวหย่อนคล้อย มีริ้วรอยที่ทำให้ดูแก่ก่อนวัย นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ผิวเหี่ยวและผิวหย่อนคล้อย ดังนี้ อายุที่มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ผิวอาจเสื่อมสภาพและทำให้การผลิตคอลลาเจน การผลิตน้ำมันบนใบหน้าลดลง ส่งผลให้ผิวหน้าเหี่ยวและผิวหน้าแห้งกร้านได้ การแสดงออกทางสีหน้ามากเกินไป เช่น เครียด ยิ้ม หัวเราะ เพราะเป็นการใช้กล้ามเนื้อบนผิวหน้ามากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อผิวหน้าเสื่อมสภาพและสูญเสียความยืดหยุ่นของผิว จนเกิดร่องลึกใต้ผิวหนังนำไปสู่รอยเหี่ยวย่น การขาดการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เพราะอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

โรคกลาก เชื้อรา บนหนังศีรษะ เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไร

โรคกลาก เชื้อรา บนหนังศีรษะ หรือที่เรียกว่า ชันตุ เป็นการติดเชื้อราบนหนังศีรษะที่ทำให้เกิดผื่นวงแหวนบนหนังศีรษะและมีอาการคัน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้ผมร่วงและศีรษะล้านเป็นหย่อมได้ ดังนั้น จึงรับการรักษาอย่างรวดเร็วและควรขอคำแนะนำจากคุณหมอถึงวิธีป้องกันโรคกลากบนหนังศีรษะ ที่อาจช่วยไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมให้กลับมาแข็งแรง [embed-health-tool-heart-rate] โรคกลาก เชื้อรา บนหนังศีรษะ เกิดจากอะไร โรคกลาก เชื้อรา บนหนังศีรษะ เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophyte) ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ รวมถึงหนังศีรษะ โดยอาจมีสาเหตุมาจากเชื้อราเจริญเติบโตมากเกินไป การได้รับเชื้อรามาจากบุคคลที่เป็นโรคกลากบนหนังศีรษะ การใช้สิ่งของที่สัมผัสกับหนังศีรษะร่วมกัน เช่น หวี หมอน ผ้าห่ม ยางมัดผม กิ๊ฟติดผมและผ้าขนหนูเช็ดผม  อย่างไรก็ตาม การสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว หมู วัว และม้า โดยไม่ล้างมือหลังสัมผัส เมื่อนำมาจับเส้นผมหรือหนังศีรษะก็อาจส่งผลให้ติดเชื้อราจากสัตว์ได้เช่นกัน  อาการของโรคกลาก เชื้อรา บนหนังศีรษะ  อาการของโรคกลากจากการติดเชื้อราบนหนังศีรษะ อาจเริ่มปรากฏขึ้นเมื่อติดเชื้อราประมาณ 4-10 วัน ที่สังเกตได้ดังนี้ ผื่นแดงบนหนังศีรษะ มีอาการคันหนังศีรษะ ผื่นแดงพัฒนาเป็นวงแหวน ผมร่วงบริเวณที่เป็นกลาก รอยกลากและเป็นสะเก็ดที่มีขอบนูน ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว  เพื่อป้องกันผมร่วมถาวร หากมีอาการคันในระดับรุนแรงและผมร่วงเยอะมากจนศีรษะล้าน วิธีรักษาโรคกลาก เชื้อรา บนหนังศีรษะ วิธีรักษาโรคกลากที่เกิดจากการติดเชื้อราบนหนังศีรษะ มีดังนี้ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ขี้กลากขึ้นหัว สาเหตุ วิธีรักษาและการป้องกัน

ขี้กลากขึ้นหัว คือ การติดเชื้อราบนหนังศีรษะ ที่พบได้บ่อยที่สุดในช่วงวัยเด็ก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งยังสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสผิวหนังศีรษะได้โดยตรงส่งผลให้มีอาการคัน ศีรษะเป็นสะเก็ด ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพหนังศีรษะควรเข้ารับการรักษาขี้กลากขึ้นหัวและควรศึกษาหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอถึงวิธีป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ [embed-health-tool-heart-rate] ขี้กลากขึ้นหัว คืออะไร ขี้กลากขึ้นหัว หรือที่เรียกว่า “ชันนะตุ” คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อราสามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัส ซึ่งอาจติดเชื้อได้ตั้งแต่รากผม เส้นผม และหนังศีรษะส่งผลให้เกิดอาการคัน หนังศีรษะลอกลักษณะคล้ายรังแค ผมร่วงเป็นหย่อมและศีรษะล้านบริเวณที่เป็นขี้กลาก สาเหตุที่ทำให้ขี้กลากขึ้นหัว  สาเหตุที่ทำให้ขี้กลากขึ้นหัวเกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophyte) ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ เมื่อมีการเจริญเติบโตมากเกินไปบนผิวหนังชั้นนอกของหนังศีรษะและเส้นผม จึงทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้น อีกทั้งยังอาจได้รับเชื้อรามาจากบุคคลที่เป็นขี้กลากขึ้นหัวผ่านการสัมผัสกับหนังศีรษะโดยตรงหรือการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าขนหนูเช็ดผม หวี หมอน ผ้าห่ม ยางมัดผม กิ๊ฟติดผมนอกจากนี้การสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว หมู วัว ม้า ที่มีเชื้อราบนผิวหนัง โดยไม่ทำความสะอาดหลังสัมผัส เมื่อนำมาจับศีรษะก็อาจส่งผลให้ติดเชื้อจากสัตว์และเป็นขี้กลากได้เช่นกัน  อาการของขี้กลากขึ้นหัว อาการของขี้กลากขึ้นหัว มีดังนี้ ผื่นแดงบนหนังศีรษะ หรือเป็นตุ่มคล้ายสิวที่อาจเริ่มปรากฏขึ้นเมื่อติดเชื้อราประมาณ 4-10 วัน ผื่นแดงพัฒนาเป็นรอยกลากและเป็นสะเก็ดเป็นวงแหวนขอบนูนบริเวณหนังศีรษะ ส้นผมเปราะบางและผมร่วงเป็นหย่อม เส้นผมขาดง่าย อาจรู้สึกคันและเจ็บปวดหนังศีรษะ หากสังเกตว่าผมร่วงเยอะมากจนเห็นหนังศีรษะ และมีอาการคันรุนแรง ร่วมกับมีผื่นแดงคันเป็นวงขุย ๆ หรือมีตุ่มหนอง […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

หนังหัวลอก เกิดจากอะไร และวิธีการดูแลรักษา

หนังหัวลอก เป็นภาวะทางผิวหนังที่เกิดจากปัญหาหนังหัวแห้งและขาดความชุ่มชื้น จนส่งผลให้หนังหัวลอกเป็นขุย คัน ระคายเคือง และอาจมีอาการอักเสบร่วมด้วย ซึ่งปัญหาหนังหัวแห้งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคผิวหนัง รังแค สภาพอากาศแห้ง อายุที่มากขึ้น ดังนั้น การดูแลหนังศีรษะอย่างเหมาะสมจึงอาจช่วยป้องกันและบรรเทาอาการหนังหัวลอกและแห้งได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] หนังหัวลอก เกิดจากอะไร หนังหัวลอก เกิดจากการผลัดเซลล์ผิวบนหนังศีรษะที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหนังศีรษะแห้ง สูญเสียน้ำและความชื้นมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้มีอาการระคายเคือง คันและลอกได้ โดยปัญหาหนังหัวลอกอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ รังแค เป็นสาเหตุของหนังหัวลอกที่พบบ่อย โดยรังแคอาจเกิดขึ้นเพราะปัญหาผิวหนังอักเสบจากโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) โรคผื่นระคายสัมผัส การติดเชื้อรา การไม่สระผม ผิวแห้ง ฮอร์โมน ความเครียด ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น โดยรังแคเป็นสาเหตุที่ไม่ร้ายแรงสามารถหายได้หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม สภาพอากาศเย็นและแห้ง อาจทำให้หนังศีรษะขาดความชุ่มชื้นและแห้งลอกได้ ผิวหนังอักเสบจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น แชมพู เจลแต่งผม สเปรย์ฉีดผม รวมทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ขจัดเอาน้ำมันบนหนังศีรษะออกมากเกินไป การล้างแชมพูไม่หมด การสระผมบ่อยเกินไป อาจทำให้หนังหัวลอก แห้ง และระคายเคืองได้ อายุที่มากขึ้น เชื่อมโยงกับสภาพผิวหนังที่อ่อนแอลงทั่วร่างกาย ทำให้ผิวหนังแห้งกร้าน ระคายเคืองง่ายและหลุดลอกง่าย โรคผิวหนัง เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน