โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดและหัวใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เรียนรู้ข้อมูลและเคล็ดลับการจัดการกับ โรคความดันโลหิตสูง จากผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันสูง เกิดจาก สาเหตุอะไร และวิธีป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง

ความดันสูง เกิดจาก หลายสาเหตุ โดยเป็นภาวะที่ระดับความดันโลหิตสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายและเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจวาย โรคสมองเสื่อม ดังนั้น ควรดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันความดันสูง [embed-health-tool-bmi] ความดันสูง คืออะไร  ความดันสูง หรือความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่ค่าความดันสูงผิดปกติจากค่าความดันปกติ หากมีภาวะความดันสูงเรื้อรังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยตัวเลขค่าบนอยู่ที่ 130-139 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่างอยู่ที่ 85-89 มิลลิเมตรปรอท นอกจากนี้ ค่าความดันสูงอาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้  ค่าความดันสูงระยะที่ 1: ตัวเลขค่าบน 140-159 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่าง 90-99 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันสูงระยะที่ 2: ตัวเลขค่าบน 160-179  มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่าง 100-109 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันสูงระยะที่ 3: ตัวเลขค่าบนสูงตั้งแต่ 180  มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และตัวเลขค่าล่างสูงกว่า 110 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป อาการความดันสูง  ความดันสูงในระยะแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการ แต่หากมีค่าความดันสูงมากอาจส่งผลให้เกิดอาการ […]

สำรวจ โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง

เทคนิคการ ควบคุมความดันโลหิตสูง โดยไม่ต้องพึ่งยา

ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง คุณอาจจะกังวลว่าต้องกินยา เพื่อรักษาตนเองในปริมาณที่เยอะเป็นแน่ แต่ในความจริงแล้วไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตถือเป็นบทบาทสำคัญในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง โดยที่คุณสามารถ ควบคุมความดันโลหิต โดย ไม่พึ่งยา ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะขออาสาพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคความดันโลหิตสูงให้มากขึ้นกัน พร้อมกับเทคการควบคุมความดันโลหิตด้วยตนเอง มาฝากกันค่ะ ความดันโลหิตโลหิตสูง คืออะไร ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่ทำให้เลือดส่งผลกระทบต่อหลอดเลือดแดงเป็นระยะเวลานาน จนท้ายที่สุดอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โดยค่าความดันโลหิต จะเป็นการบอกปริมาณเลือดที่หัวใจสูบฉีด และปริมาณของความต้านทานต่อการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดแดง ยิ่งโดยเฉพาะหากหัวใจของคุณสูบฉีดเลือดมาก พร้อมหลอดเลือดแดงของคุณแคบ ก็จะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นนั่นเอง คุณสามารถเป็นความดันโลหิตสูงได้เป็นเวลาหลายปี โดยไม่แสดงอาการ แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการ หลอดเลือด และหัวใจก็อาจได้รับความเสียหายไปบ้างแล้วไม่มากก็น้อ นอกจากนี้หากภาวะความดันโลหิตไม่ได้รับการรักษา ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ยังถือเป็นความโชคดีที่ความดันโลหิตสูงดังกล่าวนี้นั้นเป็นภาวะที่ตรวจพบได้ง่าย จึงส่งผลให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่รับการรักษาได้อย่างเท่าทัน เทคนิคการ ควบคุมความดันโลหิต โดย ไม่พึ่งยา ทีมวิจัยพบว่าอาหาร การออกกำลังกาย และการนอนหลับ คือหัวใจสำคัญในการลดความดันโลหิตโดยไม่ต้องใช้ยา และยังมีวิธีอื่นที่มีส่วนช่วยในการควบคุมความดันโลหิตอีกที่คุณอาจเลือกนำไปปฏิบัติได้ ดังนี้ 1.ลดน้ำหนัก และดูแลรอบเอวของคุณ การลดน้ำหนัก เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมความดันโลหิต โดยปกติแล้วการลดน้ำหนักทุก ๆ 1 กิโลกรัม (2.2 […]


โรคความดันโลหิตสูง

ยากลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไร

ภาวะความดันโลหิตสูงสามารถทำให้คุณเป็นอันตรายจากการเกิดหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองได้ ยาบางชนิดที่ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูงนั้น อาจจะฟังดูแปลกหูสำหรับคุณ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจยาในกลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ (Angiotensin II Receptor Blockers) ที่ใช้เพื่อรักษาความดันโลหิตสูงมากขึ้น ตัวอย่างของยาในกลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ (Angiotensin II Receptor Blockers) นั้นมีอยู่มากมาย แต่มีเพียงแค่ไม่กี่ตัวที่แพทย์นิยมสั่งให้ใช้ แพทย์จะสั่งยาที่เหมาะสมกับคุณที่สุด โดยขึ้นอยู่กับสุขภาพและสภาวะทางการแพทย์ ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ มีดังนี้ ยาอะซิลซาร์แทน (Azilsartan) อย่างเอดาร์บิ (Edarbi) ยาแคนดีซาร์แทน (Candesartan) อย่างอะทาแคนด์ (Atacand) ยาอิโพรซาร์แทน (Eprosartan) ยาเออร์บีซาร์แทน (Irbesartan) อย่างอวาโพร (Avapro) ยาลอซาร์แทน (Losartan) อย่างโคซาร์ (Cozaar) ยาโอล์มีซาร์แทน (Olmesartan) อย่างเบนิคาร์ (Benicar) ยาเทลมิซาร์แทน (Telmisartan) อย่างไมคาร์ดิส (Micardis) ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) อย่างไดโอแวน (Diovan) ยากลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ ใช้เพื่ออะไร คุณสามารถใช้ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์เพียงชนิดเดียว หรือใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ในบางครั้งแพทย์อาจสั่งยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ หากคุณไม่สามารถใช้ยายับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติง (Angiotensin-converting enzyme inhibitors) ได้ เนื่องจากยายับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติง สามารถทำให้เกิดอาการไอ ไม่เหมือนกับยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ที่มีโอกาสทำให้เกิดอาการไอน้อยกว่า ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ยังสามารถใช้เพื่อรักษาอาการอื่นได้ด้วย […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง VS โรคความดันโลหิตสูง ความแตกต่างที่ควรรู้

ภาวะความดันโลหิตสูง (High blood pressure) และ โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) มักเป็นคำที่ใช้แทนกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตสูง และ โรคความดันโลหิตสูงก็ ยังคงมีความแตกต่างเล็กน้อยสำหรับ โดยจะมีความต่างกันอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนให้หายข้องใจไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตในอัตราที่เหมาะสมของคนเรานั้น ควรอยู่ระหว่าง 90/60 มม. ปรอท และ 120/80 มม. ปรอท หากความดันโลหิตมีค่าถึง 140/90 มม. ปรอท หรือสูงไปกว่านี้ ก็อาจหมายความได้ว่าคุณกำลังมีภาวะ ความดันโลหิตสูง นั่นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่าความดันโลหิตมักไม่มีตัวเลขคงที่เสมอไป เพราะมักมีการเปลี่ยนแปลงค่าตลอดเวลา โดยขึ้นอยู่กับสภาพอารมณ์ กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ และแม้กระทั่งอาหา หรือเครื่องดื่มที่รับประทานในแต่ละมื้อ อีกทั้งความดันโลหิตของคุณอาจเพิ่มสูงขึ้นหลังจากการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง การเดินในระยะไกล หรือการปีนขั้นบันได หรือกำลังตกอยู่ในสถานการณ์บางอย่างที่กระทบกระเทือนจิตใจ และมีอัตราของค่าความดันเพียงระยะสั้น ๆ ชั่วคราว อย่างไรก็ตามการมีภาวะความดันโลหิตสูงนาน ๆ ครั้ง […]


โรคความดันโลหิตสูง

ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ด้วย 7 วิธีง่าย ๆ ก่อนจะสายเกินแก้!

กันไว้ดีกว่าแก้ เป็นคติที่ใช้ได้เสมอ โดยเฉพาะกับปัญหาสุขภาพ ที่แม้จะยังไม่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายใด ๆ ในขณะนี้ แต่การป้องกัน และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงไว้แต่เนิ่น ๆ ย่อมเป็นหานทางที่ดีกว่า เช่นเดียวกันกับโรคความดันโลหิตสูง ที่เป็นโรคยอมนิยมของคนแทบจะทั้งโลกมักเผชิญเลยก็ว่าได้ วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อช่วย ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง มาฝากทุกท่านค่ะ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เริ่มต้นได้ง่าย ๆ โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความเจ็บป่วย และการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยไม่แพ้กับโรคอื่น ๆ  อีกทั้งยังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากการไม่แสดงอาการใด ๆ ของโรคดังกล่าวทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่รู้ตัว หรือตระหนักถึงภาวะของโรคนี้เลย เพื่อเป็นการป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป คุณสามารถปฏิวัติตัวเองด้วยวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ 1. การเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมความดันโลหิต ควรเริ่มจากการคุมปริมาณโซเดียม (เกลือ) ที่รับประทาน และเพิ่มโพแทสเซียมในมื้ออาหาร สิ่งสำคัญก็คือ คุณควรทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เพิ่มปริมาณผัก ผลไม้ ธัญพืช ในมื้ออาหารแต่ละมื้อของคุณร่วม พร้อมกับดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน หรืออาจลองใช้แนวทางการรับประทานอาหารที่เรียกว่า แนวทางโภชนาการเพื่อหยุดความดันโลหิตสูง (Dietary Approaches to Stop Hypertension) หรือ DASH ร่วม […]


โรคความดันโลหิตสูง

วัดความดันโลหิต ด้วยตัวเอง ทำอย่างไรให้ถูกต้อง

ความดันโลหิตของคุณสามารถบอกบางอย่าง เกี่ยวกับภาวะทางสุขภาพของคุณได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องไปหาแพทย์ เพื่อทำการตรวจวัดระดับความดันโลหิตทุกครั้ง บทความนี้จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการตรวจ วัดความดันโลหิต ด้วยตัวเองที่บ้านว่าทำอย่างไร Hello คุณหมอ มีบทความและสาระดีๆ สำหรับการวัดความดันโลหิตมาฝากกันค่ะ การเตรียมตัวก่อนทำการตรวจ วัดความดันโลหิต สิ่งที่คุณควรเตรียมตัว ก่อนทำการวัดระดับความดันโลหิต มีดังนี้ คุณจำเป็นต้องฟังเสียงชีพจร ฉะนั้นคุณจึงควรหาที่เงียบสงบ ควรนั่งพักเป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที เพื่อให้ร่างกายไม่เหนื่อย ระบบการหายใจเป็นปกติ ก่อนที่จะทำการวัดระดับความดันโลหิตเพื่อค่าความดันโลหิตที่ชัดเจน ในสภาวะของร่างกายที่เป็นปกติ ควรทำกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง เพื่อที่คุณจะได้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ อย่าวัดระดับความดันโลหิตหากคุณรู้สึกตึงเครียด หลังการออกกำลังกายเสร็จใหม่ๆ หรือรับประทานคาเฟอีน และสูบบุหรี่ภายใน 30 นาที ที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อผลการตรวจได้ ควรนั่งตัวตรงบนเก้าอี้ เอนหลังหลังให้พิงกับเก้าอี้ ไม่ควรไขว้ขา และวางเท้าราบกับพื้น หากคุณกำลังใส่เสื้อแขนยาว ควรม้วนแขนเสื้อขึ้นไป หากกำลังใส่เสื้อผ้ารัดแขนแน่นๆ ให้ถอดออกเสีย วางแขนไว้ที่ระดับเดียวกับหัวใจ ขั้นตอนในการ วัดระดับความดันโลหิต คุณสามารถวัดระดับความดันโลหิตได้ด้วยตัวเอง โดยเริ่มต้นดังนี้  เริ่มต้นจากการวัดชีพจร วางนิ้วชี้และนิ้วกลางที่ตรงกลางพับข้อศอก พันผ้ารอบต้นแขน ส่วนขอบล่างของผ้า (ส่วนหัวของหูฟังแพทย์) ควรอยู่เหนือพับข้อศอก 2.5 เซนติเมตร บริษัทผู้ผลิตอาจจะใส่ลูกศรเพื่อช่วยให้คุณทราบตำแหน่งของหูฟังของแพทย์ หากคุณใช้เครื่องวัดความดันโลหิต แบบควบคุมด้วยมือ ใส่หูฟังของแพทย์เพื่อฟังเสียงหัวใจเต้น แขนข้างหนึ่งถือเกจวัดความดัน (ดูเหมือนนาฬิกา) และแขนอีกข้างถือส่วนกระเปาะไว้ ปิดวาวล์ไหลเวียนอากาศที่กระเปาะ (ตรงเข็มนาฬิกาข้างกระเปาะ) บีบกระเปาะให้ปลอกแขน วัดความดันโลหิตพองขึ้น ขณะที่คอยจับตาดูเกจวัดความดัน หยุดบีบเมื่อเกจ์ขึ้นไปถึง 30 […]


โรคความดันโลหิตสูง

ยารักษาความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้จริงหรือ?

มีการศึกษาหนึ่งที่ชี้ว่าการกิน ยารักษาความดันโลหิตสูง กลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ในระยะยาว อาจทำให้ผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่จะมีข้อมูล หรือสรุปถึงการกินยารักษาโรคความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมจริง หรือเท็จแค่ไหนนั้น Hello คุณหมอ เรามีข้อมูลในเรื่องนี้มาให้คุณได้ทราบกันค่ะ ยารักษาความดันโลหิตสูง กับ มะเร็งเต้านม การศึกษาก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2013 มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาจาก Fred Hutchinson Cancer Research Center ที่สังเกตเห็นว่า การใช้ยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (calcium channel blockers) ระยะยาวในปัจจุบัน อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านมในผู้หญิงบางราย นับว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างมาก เนื่องจากยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ เป็นยาชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยปกติยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ดังต่อไปนี้ เป็นยารักษาความดันโลหิตสูงประเภทหนึ่งที่ใช้กันโดยทั่วไป ยานี้ใช้เพื่อป้องกันแคลเซียมไม่ให้เข้าไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของหัวใจ และผนังหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลง ยาแอมโลดิปีน (Amlodipine) อย่างเช่น Norvasc® ยาดิลไทอาเซม (Diltiazem) อย่างเช่น Cardizem LA® และ Tiazac® ยาไอซราดิพีน (Isradipine) อย่างเช่น DynaCirc CR® ยาไนคาร์ดิพีน (Nicardipine) อย่างเช่น Cardene SR® ยาไนเฟดิพีน […]


โรคความดันโลหิตสูง

เกลือ หรือ น้ำตาล อะไรแย่กว่ากัน สำหรับโรคความดันโลหิตสูง

ทั้งเกลือและน้ำตาล ต่างได้ชื่อว่าสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ แต่ เกลือ หรือ น้ำตาล กันแน่ล่ะ ที่เป็น “ผู้ร้าย” ที่แท้จริง และควรพึงระวัง ปัจจุบันเชื่อว่า น้ำตาลอาจมีผลเสียมากกว่าเกลือ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Open Heart น้ำตาลเป็นภัยเงียบต่อความดันโลหิต แต่ขณะเดียวกันเกลือก็ยังคงส่งผลเสียต่อสุขภาพไม่แพ้การรับประทานน้ำตาลน้ำตาล วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำข้อเท็จจริงดังกล่าวระหว่างเกลือ และน้ำตาล ว่าสารปรุงแต่งใดที่คุณควรหลีกเลี่ยงมาฝากกันค่ะ การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เราทุกคนทราบว่า การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเผาผลาญของร่างกาย มีหลักฐานมากพอที่จะระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไป และความผิดปกติเกี่ยวกับการเผาผลาญของร่างกายหลายประการ เช่น ภาวะดื้ออินซูลิน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง รวมถึงไขมันในเลือดสูง การบริโภคน้ำตาลทำให้ระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เกิดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติก (sympathetic nervous system) เมื่อร่างกายมีการตอบสนองภาวะดังกล่าว จะเข้าไปกระตุ้นการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต ทำให้หน่วยรับความรู้สึกที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต ก็มีประสิทธิภาพมีลดลงเรื่อย ๆ จนเสี่ยงเกิดหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความดันภายในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เกลือ หรือ น้ำตาล ที่ส่งผลต่อโรคความดันโลหิตสูง การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง แม้เป็นเวลาเพียงสองสัปดาห์ อาจส่งผลที่เห็นได้ชัดเจนต่อความดันโลหิตของคุณ มีการศึกษาว่า อาหารที่มีน้ำตาลสูง จะเพิ่มความดันโลหิตได้มากกว่าอาหารที่มีโซเดียมสูง (7mmHg/5mmHg […]


โรคความดันโลหิตสูง

5 เรื่องของความดันโลหิตสูง ที่คุณคิดว่ารู้ แต่จริงๆ เข้าใจผิดทั้งเพ!

เรื่องของความดันโลหิตสูง เป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจผิด และคิดว่าต้องมีอาการป่วยไข้บางอย่าง ถึงจะรู้ได้ว่าตัวเองมีความดันโลหิตสูง ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะหลายคนความดันโลหิตสูง แต่ไม่ได้ปรากฏอาการอะไร และยังดูเหมือนว่าเป็นคนที่มีสุขภาพดีอีกด้วย นอกจากนี้ ความดันโลหิตสูงมักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ และไม่สามารถตรวจพบได้เป็นเวลาหลายปี แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ความดันโลหิตสูงอาจก่อให้เกิดปัญหารุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงชวนมาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาวะดังกล่าว โดยต่อไปนี้เป็นความเข้าใจผิด 5 ประการ เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง ความเข้าใจผิดที่ 1: ความดันโลหิตสูงไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่ เมื่อไม่มีอาการ คุณอาจรู้สึกว่าไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพของคุณ นี่เป็นเหตุผลที่ความดันโลหิตสูงเป็นที่รู้จักว่าเป็น “ฆาตกรเงียบ” ความดันโลหิตสูงอาจก่อให้เกิดความเสียหายที่หลอดเลือด ไต หัวใจ และอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายของคุณ โดยปกติแล้ว หัวใจของคุณเต้นในอัตราปกติ เพื่อสูบฉีดโลหิตผ่านหลอดเลือด ซึ่งจะลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในขณะที่เลือดดันตัวผ่านผนังหลอดเลือด หลอดเลือดอาจขยายตัวหรือหดตัวตามความจำเป็น เพื่อให้การไหลของเลือดเป็นไปด้วยดี เมื่อคุณมีความดันโลหิตสูง แรงดันที่ดันเลือดผ่านทางหลอดเลือดจะมีค่าสูงเกินไป ความดันโลหิตสูงอาจไม่ดูเหมือนเป็นเรื่องใหญ่ แต่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เห็นพ้องว่า เป็นเรื่องใหญ่ที่ควรให้ความสนใจ และเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจความดันโลหิตสูงในระยะเริ่มแรก เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อไป ความเข้าใจผิดที่ 2: ความดันโลหิตสูงไม่สามารถป้องกันได้ คุณอาจมีสมาชิกในครอบครัวที่มีความดันโลหิตสูง หรืออยู่ในช่วงอายุที่ทำให้คุณมีความเสี่ยงมากขึ้น หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับความดันโลหิตสูง คุณอาจคิดว่าคุณไม่สามารถป้องกันตนเองได้จากความดันโลหิตสูง แต่คุณควรคิดใหม่ได้แล้ว ถึงแม้ว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ แต่คุณก็ยังสามารถป้องกันความดันโลหิตสูงได้ ต่อไปนี้เป็นข้อปฏิบัติบางประการที่คุณสามารถทำได้ รักษาน้ำหนักร่างกายให้พอดี  […]


โรคความดันโลหิตสูง

ออกกำลังกายลดความดัน แบบไหนได้ผลดีที่สุด?

หากคุณมีความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายลดความดัน อาจเป็นวิธีที่สามารถช่วย และเห็นผลได้ชัดเจน อีกทั้งเพราะการออกกำลังกายนั้นก็มีหลายประเภทด้วยกัน จนอาจทำให้คุณรู้สึกสับสนได้ว่าควรเลือกออกกำลังแบบใดจึงจะเหมาะสมมากที่สุด วันนี้ Hello คุณหมอ ขออาสาพามารู้จักกับการ ออกกำลังกายลดความดัน ที่น่าจะเป็นประโยชน์กับสุขภาพทุกคน มาฝากกัน วิธีการ ออกกำลังกายลดความดัน ที่เหมาะสำหรับโรคความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายแบบแอโรบิก หรือ การออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทน (Endurance exercises) เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ปีนบันได วิ่งเหยาะ หรือ เต้นรำ เป็นต้น เป็นวิธีการออกกำลังกายที่ดีต่อหัวใจของคุณ โดยการออกกำลังกายประเภทนี้ จะมีการใช้มัดกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ มีการหายใจเพิ่ม หัวใจเต้นเร็ว ส่งผลให้ร่างกายสามารถใช้ออกซิเจนได้มากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการออกกำลังกายที่จะช่วยให้หัวใจ และปอดของคุณแข็งแรงขึ้นได้นั่นเอง นอกจากนี้การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ยังช่วยให้หลอดเลือดแดงคลายตัว ลดความดันเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี หากคุณมีความดันเลือดสูง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจึงมีส่วนช่วยให้คุณพ้นจากความเสี่ยงการเกิดหัวใจวายได้ ที่สำคัญคุณควรลองออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น ว่ายน้ำ 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ แต่ถึงอย่างไรคุณไม่จำเป็นต้องมีการฝืนตนเองมากเกินไป โดยอาจเริ่มจากการออกกำลังกายในระยะเวลาที่เหมาะสมกับแรงกายสักประมาณ 10 นาทีค่อวัน แล้วจึงค่อย […]


โรคความดันโลหิตสูง

เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) อีกหนึ่ง ยาลดความดัน ที่คุณควรรู้จัก

เบต้าบล็อกเกอร์ (Beta Blockers) คือ ยาลดความดัน ที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งถ้าคุณเป็นโรคนี้อยู่ก็อาจจะคุ้นกับชื่อยานี้ก็ได้ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าทำไมคุณถึงต้องรับประทาน แล้วยานี้จะช่วยลดความดันลงได้อย่างไร หาคำตอบได้ในบทความเรื่องนี้ จาก Hello คุณหมอ ค่ะ ตัวอย่างของ ยาลดความดัน เบต้าบล็อกเกอร์ มี ยาเบต้าบล็อกเกอร์ หลายประเภท ที่สามารถรับประทานได้ บางชนิดก็จะมีผลทั้งกับหัวใจของคุณ และหลอดเลือดของคุณ ขณะที่บางชนิดจะมีผลแค่เฉพาะหัวใจ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วคุณจะไม่ใช้ยาเบต้าบล็อกเกอร์ทั้งหมด แพทย์ของคุณจะเป็นคนจ่ายยาที่เหมาะสมที่สุดให้กับคุณ ตัวอย่างของ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ ยาอะซีบูโทลอล (Acebutolol) อย่างเช่น เซคทราล (Sectral) ยาอะทีโนลอล (Atenolol) อย่างเช่น เทนอร์มิน (Tenormin) ยาเบตาโซลอล (Betaxolol) อย่างเช่น เคอร์โลน (Kerlone) ยาบิโซโพรลอล(Bisoprolol) อย่างเช่น ซีเบต้า (Zebeta) หรือ ซีแอค (Ziac) ยาคาร์ทีโอลอล ไฮโดรคลอไรด์ (Carteolol hydrochloride) อย่างเช่น คาร์ทรอล (Cartrol) ยาคาร์วีดิลอล (Carvedilol) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน