โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดและหัวใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เรียนรู้ข้อมูลและเคล็ดลับการจัดการกับ โรคความดันโลหิตสูง จากผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันสูง เกิดจาก สาเหตุอะไร และวิธีป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง

ความดันสูง เกิดจาก หลายสาเหตุ โดยเป็นภาวะที่ระดับความดันโลหิตสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายและเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจวาย โรคสมองเสื่อม ดังนั้น ควรดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันความดันสูง [embed-health-tool-bmi] ความดันสูง คืออะไร  ความดันสูง หรือความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่ค่าความดันสูงผิดปกติจากค่าความดันปกติ หากมีภาวะความดันสูงเรื้อรังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยตัวเลขค่าบนอยู่ที่ 130-139 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่างอยู่ที่ 85-89 มิลลิเมตรปรอท นอกจากนี้ ค่าความดันสูงอาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้  ค่าความดันสูงระยะที่ 1: ตัวเลขค่าบน 140-159 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่าง 90-99 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันสูงระยะที่ 2: ตัวเลขค่าบน 160-179  มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่าง 100-109 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันสูงระยะที่ 3: ตัวเลขค่าบนสูงตั้งแต่ 180  มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และตัวเลขค่าล่างสูงกว่า 110 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป อาการความดันสูง  ความดันสูงในระยะแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการ แต่หากมีค่าความดันสูงมากอาจส่งผลให้เกิดอาการ […]

สำรวจ โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง วิตามินและแร่ธาตุ ชนิดใดที่ช่วยจัดการได้

การกินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสม สามารถช่วยลดและจัดการปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน รวมไปถึงภาวะความดันโลหิตสูงด้วย หากคุณมีปัญหา ความดันโลหิตสูง วิตามินและแร่ธาตุ ที่ส่งผลดีต่อความดันโลหิตตามธรรมชาตินั้นมีอะไรบ้าง เรามีคำตอบมาให้แล้ว [embed-health-tool-heart-rate] ความดันโลหิตสูง วิตามินและแร่ธาตุ เหล่านี้ช่วยได้ โพแทสเซียม หากร่างกายได้รับโพแทสเซียมในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยลดผลกระทบจากโซเดียม และช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ จึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง และป้องกันการเกิดตะคริวได้ ทั้งยังช่วยให้การนำไฟฟ้าของคลื่นไฟฟ้าหัวใจและระบบประสาทส่วนกลางทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้ด้วย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ทั้งผู้หญิงและผู้ชายควรได้รับโพแทสเซียมในปริมาณ 4,700 มิลลิกรัมต่อวัน โพแทสเซียมสามารถพบได้ในมันฝรั่ง ลูกพรุน แอปริคอต เห็ด ถั่ว ส้ม ปลาทูน่า ปวยเล้ง มะเขือเทศ ลูกเกด เกรปฟรุต นมพร่องมันเนย โยเกิร์ต แมกนีเซียม แมกนีเซียมสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดของคุณได้ แมกนีเซียมช่วยให้หลอดเลือดคลายตัว ความดันโลหิตจึงลดลง แมกนีเซียมในระดับสูงสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วย อาหารจำพวกผักใบเขียวเข้ม ธัญพืช และพืชตระกูลถั่ว อุดมไปด้วยแมกนีเซียม ปริมาณแมกนีเซียมที่แนะนำ คือ 420 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ชายอายุ 50 ปีหรือมากกว่า และ 320 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้หญิงอายุ 50 ปีหรือมากกว่า […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงขั้นต้น (Prehypertension)

ภาวะที่ความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อย เรียกว่า ภาวะ ความดันโลหิตสูงขั้นต้น (Prehypertension) ซึ่งหากไม่ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ก็มักพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูง (hypertension) ในภายหลัง คำจำกัดความความดันโลหิตสูงขั้นต้น (Prehypertension) คืออะไร ภาวะที่ความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อย เรียกว่า ภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น (Prehypertension) ซึ่งหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ออกกำลังกายให้มากขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็มักจะกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง (hypertension) ในภายหลัง ภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น และโรคความดันโลหิตสูงนั้น อาจสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือที่มักเรียกกันว่า ภาวะหัวใจวาย (heart attack) โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) ได้ ค่าระดับความดันโลหิตนั้นมีสองตัวเลข คือ ตัวเลขด้านบนและตัวเลขด้านล่าง โดยเลขตัวบนหมายถึง ระดับความดันที่หลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบตัว (systolic pressure) ส่วนเลขตัวล่างคือ ระดับความดันที่หลอดเลือดแดงในช่วงระหว่างการเต้นของหัวใจ (diastolic pressure) ภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้นจะมีค่าความดันโลหิตตัวบนอยู่ระหว่าง 120-139 มม.ปรอท หรือมีค่าความดันโลหิตตัวล่างอยู่ที่ 80-89 มม.ปรอท ความดันโลหิตสูงขั้นต้น พบบ่อยแค่ไหน จากค่าเฉลี่ยของการวัดความดันโลหิตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป เมื่อเข้ารับการตรวจร่างกายเบื้องต้นก่อนพบหมอตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีอายุ […]


โรคความดันโลหิตสูง

5 เคล็ดลับ ลดเกลือ ที่ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง

ลดเกลือ กันเถอะ! ถึงแม้ว่าเกลือจะมีทั้งประโยชน์ในบางด้านก็ตาม เช่น ช่วยป้องกันโรคคอพอก แต่ขณะเดียวกันก็อาจให้โทษแต่สุขภาพของเราได้ หากเราบริโภคเกลือแต่ละมื้อในปริมาณที่มากเกินไป จนเกิดการสะสมก็จะนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงได้ ฉะนั้น Hello คุณหมอ จึงขอนำ 5 เคล็ดลับในการลดเกลือ เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงมาแนะนำทุกคนกัน 5 เคล็ดลับ ลดเกลือ ป้องกันความดันโลหิตสูง 1. เลือกส่วนประกอบสดใหม่ นักโภชนาการแนะนำให้ใช้ วัตถุดิบที่สดใหม่ในการปรุงอาหาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดีกว่าวัตถุดิบที่ปรุงสำเร็จ หรืออาหารแปรรูปที่อยู่ในกระป๋อง เนื่องจากอาหารสด ๆ มักมีจะโซเดียมตามธรรมชาติน้อย ยกตัวอย่างเช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว หรือเนื้อหมูสด ที่มีโซเดียมน้อยกว่าในแฮม และเบคอน เป็นต้น อีกทั้งการรับประทานผัก และผลไม้สดก็มีปริมาณโซเดียมน้อยเช่นกัน แต่สิ่งที่เราควรต้องระวังมาก ๆ อีกอย่างนั่นก็คือ อาหารที่เก็บในตู้เย็นเป็นเวลานาน เพราะยิ่งเก็บนานเท่าไรก็ยิ่งมีโซเดียมอยู่ในปริมาณมากขึ้นได้ 2. อ่านฉลากโภชนาการให้ดี เวลาที่คุณทำการเลือกซื้ออาหารอะไรก็ควรอ่านฉลากก่อนเสมอ เพื่อตรวจดูว่า ผลิตภัณฑ์ที่จะซื้อมีส่วนประกอบของอะไร มีปริมาณโซเดียมมากน้อยแค่ไหน ทำให้เราสามารถเปรียบเทียบแต่ละยี่ห้อ เพื่อหาผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมผสมอยู่น้อยที่สุดได้ ในกรณีการเลือกซื้อผัก ผลไม้แช่แข็งควรเลือกแบบที่ระบุบนฉลากว่า “Fresh Frozen” เพราะจะทำให้มั่นใจได้ว่า จะมีปริมาณของโซเดียมต่ำ ส่วนถ้าใครต้องการใช้เครื่องเทศ ก็ให้มองหาเครื่องเทศแบบที่ไม่มีเกลือผสมอยู่ โดยตรวจสอบได้จากฉลากข้างผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกัน 3. เปลี่ยนวิธีปรุงอาหาร นอกจากจะเลือกส่วนประกอบที่สดใหม่สำหรับการทำอาหารแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการเติมเกลือลงไปในอาหารเพิ่มเติมด้วย โดยอาจเป็นการใช้เครื่องเทศอย่างอื่นแทน เช่น กระเทียม ขิง มะนาว ไวน์ อบเชย พริก และอื่น ๆ ที่จะสามารถช่วยให้อาการมีรสชาติรู้อร่อยขึ้นแทนได้ นอกจากนี้คุณยังควรลดซอสมะเขือเทศ หรือซอสต่าง ๆ […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง สามารถ ออกกำลังกาย ในรูปแบบใดได้บ้าง

การออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นอีกทางเลือนึ่งที่อาจช่วยลดระดับความดันโลหิตสูง ลดความเครียด และยังทำให้รู้สึกดีขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ คุณควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาวะอาการของตนเอง หรือศึกษาข้อมูลในบทความของ Hello คุณหมอ ว่าคนที่มี ความดันโลหิตสูง ควรมีการ ออกกำลังกาย ด้วยวิธีใดบ้าง เพื่อการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง [embed-health-tool-heart-rate] การออกกำลังกาย ช่วยทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้อย่างไร ปกติแล้วการออกกำลังกายจะช่วยทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ซึ่งเมื่อหัวใจแข็งแรงก็จะสามารถสูบฉีดเลือดได้ดี ไม่ต้องทำงานหนักมาก และมักจะส่งผลให้ค่าความดันโลหิตลดลง เกณฐ์มาตรฐานของค่าความดันโลหิตปกติจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีตัวเลขค่ารัดับความดันที่สูงขึ้น การออกกำลังกายอาจช่วยทำให้ค่าความดันโลหิตลดลงได้ โดยจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 เดือนเพื่อให้เห็นผล และควรออกกำลังกายต่อไป อย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีที่ถูกตองที่สามารถทำการเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ ความดันโลหิตสูง ควร ออกกำลังกาย แบบไหนดี การออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือแบบคาร์ดิโอ สามาช่วยลดความดันโลหิต และทำให้หัวใจแข็งแรง เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การกระโดดเชือก การปั่นจักรยาน การเต้นแอโรบิค และการว่ายน้ำ การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง เพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จะช่วยเผาผลาญแคลอรี่ในระหว่างวัน และช่วยทำให้ข้อต่อและกระดูกแข็งแรงด้วย การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้คุณเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น และยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บด้วย ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงอาจออกกำลังกายแบบแอโรบิค […]


โรคความดันโลหิตสูง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

บทความนี้ Hello คุณหมอ นำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรค ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ มาฝากคุณแม่มือใหม่กันค่ะ จะมีลักษณะอาการอย่างไร รวมถึงจะส่งผลกระทบบต่อคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย อาการของโรค ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ อาการของโรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์  มีลักษณะแสดงออก ดังต่อไปนี้ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์: สตรีมีครรภ์อาจจะมีอาการของโรค เกิดขึ้นในช่วงหลังการตั้งครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ ซึ่งยังไม่มีอาการผิดปกติของอวัยวะภายใน หรือยังตรวจไม่พบว่ามีโปรตีนส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะ แต่สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้นก็อาจมีอาการลุกลามจนกลายเป็นครรภ์เป็นพิษได้ ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง : นี่คืออาการของโรคความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นก่อนการตั้งครรภ์ หรือพัฒนาขึ้นในช่วง 20 สัปดาห์แรก แต่ยังไม่มีอาการอะไรที่เห็นได้ชัดเจน ความดันโลหิตสูงเรื้องรังที่มีโปรตีนในปัสสาวะ: อาการเช่นนี้เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนการตั้งครรภ์ และต่อมาก็มีอาการหนักขึ้น หรือมีอาการแทรกซ้อนมากขึ้นในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ : นี่คือภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ ที่อาจมีสาเหตุมาจากโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงในช่วงหลังตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจมีอันตรายร้ายแรงต่อแม่และลูกได้ 4 ภาวะแทรกซ้อนของโรค ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อย มีดังต่อไปนี้ ไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงที่รก: ซึ่งก็หมายความว่า ทารกจะได้รับสารอาหารและออกซิเจนน้อย ซึ่งท้ายที่สุดก็จะส่งผลให้เจริญเติบโตช้า น้ำหนักตอนคลอดน้อย หรืออาจคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด: สภาวะครรภ์เป็นพิษของแม่ ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่ออาการนี้ การลอกตัวที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการเสียเลือดมากเกินไป จนทำให้ชีวิตของแม่และเด็กมีความเสี่ยง คลอดก่อนกำหนด: เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ แพทย์ก็อาจจำเป็นต้องทำคลอดก่อนกำหนด มีแนวโน้มเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด: สภาวะครรภ์เป็นพิษของแม่ อาจทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด […]


โรคความดันโลหิตสูง

ค่าความดันโลหิตสูง ลดลงได้ด้วยเคล็ดลับง่าย ๆ หากคุณปฏิบัติถูกวิธี

ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก สาเหตุหลักๆ ก็มาจากวิธีการดำเนินชีวิตของคนในยุคนี้ และไลฟ์สไตล์ในวิถีชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป วันนี้ Hello คุณหมอ นำเคล็ดลับดีๆ  เพื่อลดความเสี่ยงของ ค่าความดันโลหิตสูง มาฝากกันค่ะ ค่าความดันโลหิตสูง สามารถลดลงได้ด้วยวิธีเหล่านี้ โดยปกติภาวะ ความดันโลหิตสูง จะไม่แสดงอาการ บางคนจึงไม่รู้ตัวว่าตัวเอง ความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงควรตรวจวัดค่าความดันอยู่เสมอ หากคุณมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะนี้ เช่น คุณอายุมากกว่า 40 ปี คุณมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรืออ้วน คุณเครียด หรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรค ความดันโลหิตสูง ถ้าได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ ความดันโลหิตสูง คุณอาจปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง เพื่อให้ค่าความดันลดลง ดังนี้ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คุณควรเลือกรับประทานธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย ผลไม้ ผัก และอาหารไขมันต่ำ อย่าแตะต้องอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง เมื่อพูดถึงเนื้อสัตว์ก็ควรเลือกรับประทานแบบไม่มีไขมัน และจำกัดอาหารที่มีโซเดียม ไขมัน และน้ำมัน โดยกินอาหารแบบสดๆ แทนอาหารกระป๋อง หรืออาหารที่ผ่านการแปรรูป เลือกดื่มอย่างชาญฉลาด แอลกอฮอล์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งอาจจะช่วยลดความดันลงได้ถ้าดื่มในปริมาณเล็กน้อย แต่การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ เนื่องจากจะทำให้ความดันพุ่งสูงขึ้นได้ รวมทั้งลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้รักษาโรค ความดันโลหิตสูง ด้วย ฉะนั้นก็ควรดื่มแต่พอดี คาเฟอีน คือ เครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่งที่ต้องระวังเอาไว้ให้ดี ถึงแม้ว่ายังไม่มีข้อสรุปถึงผลเสียก็ตาม แต่ที่แน่ๆ คาเฟอีนส่งผลกระทบต่อความดันโลหิตแตกต่างกัน ระหว่างผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำกับผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ ลองปรึกษาแพทย์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายจากการดื่มกาแฟ ออกกำลังกายป้องกัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน