การทดสอบทางการแพทย์

เมื่อคุณอยากรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร การทดสอบทางการแพทย์ คืออีกหนึ่งช่องทางที่จะให้คำตอบแก่คุณได้ แต่การทดสอบทางการแพทย์มีอะไรบ้าง ต้องมาติดตามกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)

การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนต้องตระหนัก โดยเฉพาะการตรวจสุขภาพหัวใจ เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่คอยเชื่อมกับระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในเอาไว้ด้วยกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย ที่เป็นอีกเทคนิคทางการแพทย์ ช่วยวัดประสิทธิภาพของหัวใจ มาฝากกันค่ะ การ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย คืออะไร การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST) เป็นการทดสอบอัตราการเต้นของหัวใจของคุณว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีอาการผิดปกติใด ๆ หรือไม่ แต่ในการทดสอบนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คุณออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น วิ่ง เดินลู่วิ่ง ใช้เครื่องปั่นจักรยาน ประมาณ 10-15 นาทีด้วยกัน โดยอาจมีพัก 3 นาที เพื่อตรวจสอบการหายใจ ในช่วงที่คุณออกกำลังกายเพื่อทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย แพทย์จะติดอุปกรณ์ทดสอบที่เรียกกว่า แผ่นอิเล็กโทรดที่เชื่อมโยงกับหน้าจอแสดงผล ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา หน้าอก เพื่อให้เห็นอัตราการเต้นของหัวใจ และบันทึกกราฟ หรือตัวเลขเอาไว้ให้เป็นข้อมูล […]

สำรวจ การทดสอบทางการแพทย์

การทดสอบทางการแพทย์

เรื่องที่ควรรู้ ก่อนการตรวจ เอกซเรย์

เมื่อพูดถึงการตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์ เราก็อาจจะคุ้นหู หรือเคยผ่านการตรวจด้วยวิธีนี้มากันบ้างแล้ว เพราะการตรวจเอกซเรย์นั้นมักจะรวมอยู่ในการตรวจสุขภาพประจำปีเสมอ แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า จริง ๆ แล้วการตรวจเอกซเรย์นั้นทำไปเพื่ออะไร และมีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ เลยจะพาทุกคนมารู้จักกับ การตรวจเอกซเรย์ เพื่อการทำความเข้าใจที่มากขึ้น เกี่ยวกับการตรวจเอกซเรย์ การตรวจเอกซเรย์ คืออะไร การตรวจเอกซเรย์ (X-ray) คือการตรวจร่างกายชนิดหนึ่ง โดยการฉายรังสีเอกซเรย์ผ่านตัวผู้ป่วย เพื่อสร้างภาพภายในร่างกาย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงมือผ่าตัดให้เกิดแผล การตรวจเอกซเรย์นี้มีใช้กันมาเป็นเวลาหลายสิบปี เนื่องจากเป็นวิธีการตรวจที่รวดเร็ว และไม่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวอีกด้วย เมื่อรังสีเอกซเรย์ถูกฉายผ่านร่างกาย รังสีนั้นก็จะถูกดูดซึมในอัตราที่แตกต่างกันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเครื่องตรวจจับรังสีเอกซเรย์ ก็จะบันทึกภาพออกมาเป็นแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ ให้แพทย์สามารถใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคได้ โดยส่วนที่มีความหนาแน่นสูง เช่น กระดูก มักจะแสดงให้เห็นเป็นส่วนสีขาวในแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ ส่วนจุดที่ความหนาแน่นน้อยกว่า เช่น หัวใจ หรือปอด ก็จะแสดงเป็นส่วนสีดำ ประเภทของการตรวจเอกซเรย์ การตรวจเอกซเรย์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ การถ่ายภาพรังสี (Radiography) เป็นการตรวจเอกซเรย์ที่พบได้มากที่สุด ใช้เพื่อฉายภาพในบริเวณกระดูก ฟัน และหน้าอก เป็นวิธีการตรวจที่ใช้รังสีเอกซเรย์น้อยที่สุด การตรวจเอกซเรย์ฟลูออโรสโคปี (Fluoroscopy) เป็นการตรวจโดยการฉายภาพแบบเรียลไทม์ ใช้เพื่อตรวจดูการทำงานของลำไส้หลังจากกลืนสารแบเรียม (Barium) ลงไป จะใช้รังสีมากกว่าการถ่ายภาพรังสีเล็กน้อย การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ริมฝีปากเขียวคล้ำ สัญญาณเตือนของโรคร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึง

เชื่อหรือไม่! ปากสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของสุขภาพได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มี ริมฝีปากเขียวคล้ำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบความผิดปกติ เพราะนั่นอาจไม่ใช่อาการของคนที่มีปากคล้ำทั่วไป แต่แท้จริงแล้วอาจสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงปัญหาของสุขภาพ จะมีวิธีการรักษาและวิธีการป้องกันอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้ทุกคนค่ะ [embed-health-tool-bmr] ริมฝีปากเขียวคล้ำ (Blue Lips) คืออะไร? ริมฝีปากเขียวคล้ำ อาจไม่ใช่อาการของคนปากคล้ำทั่วไป แต่นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าร่างกายขาดออกซิเจนในเลือด นอกจากนี้ยังสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell disease) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าริมฝีปากของเราจะเปลี่ยนสีได้เมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิเย็น แต่อาการริมฝีปากเขียวคล้ำ ต้องได้รับการรับการปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบหาความผิดปกติของโรค การขาดออกซิเจนในเลือด สาเหตุของริมฝีปากเขียวคล้ำ โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุของ ริมฝีปาก เขียวคล้ำเกิดจากการขาดออกซิเจนในเลือด และสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ สภาพแวดล้อม สัมผัสกับความเย็น อยู่ในที่สูง การได้รับสารพิษ ภาวะระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอด โรคปอดอักเสบ โรคความดันโลหิตสูงในปอด ภาวะอื่นๆ มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคซาง โรคหัวใจวาย สูบบุหรี่ โรคโลหิตจาง อาการหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด อาการที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกับ ริมฝีปาก เขียวคล้ำ หากคุณมีอาการริมฝีปากเขียวคล้ำเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และไม่ได้เกิดขึ้นจากการออกกำลังกายหนักหรืออยู่ในที่กลางแจ้งนาน ให้หมั่นสังเกตอาการ หากไม่ดีขึ้นใน […]


การทดสอบทางการแพทย์

มีรสโลหะในปาก อีกหนึ่งสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพ ที่คุณไม่ควรละเลย

เคยไหม? แปรงฟันก็แล้ว บ้วนปากก็แล้ว ยังรู้สึก มีรสโลหะในปาก อยู่ตลอดเวลา ปัญหานี้ นอกจากจะทำให้คุณรำคาญแล้ว ยังทำให้สูญเสียความมั่นใจได้ด้วย การมีรสโลหะในปากนี้ จัดเป็นโรคเกี่ยวกับการรับรส (Taste disorder) ประเภทหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า การรู้รสผิดธรรมดา (Parageusia) หรือการรับรสเปลี่ยนแปลงไปไม่ตรงกับความเป็นจริง (Dysgeusia) ส่วนใหญ่แล้ว ภาวะนี้จะไม่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ควรหาสาเหตุให้พบ จะได้รับมือได้อย่างถูกวิธี ว่าแต่สาเหตุของภาวะมีรสโลหะในปาก จะมีอะไรบ้าง แล้วเราจะรับมือกับภาวะนี้ได้อย่างไร Hello คุณหมอ นำบทความนี้มาให้คำตอบแล้ว สาเหตุที่อาจทำให้คุณ มีรสโลหะในปาก ปัญหาสุขภาพช่องปาก หากคุณมีปัญหาสุขภาพในช่องปาก เช่น โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) โรคปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) ฟันติดเชื้อ ก็อาจทำให้เกิดกลิ่นปาก รวมถึงรสชาติแย่ในปากได้ เช่น รสชาติโลหะ ดังนั้น คุณจึงควรดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ ด้วยการแปรงฟันและลิ้นอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ โรคเหงือกและฟันที่เป็นสาเหตุทำให้มีรสโลหะในปากจะได้ไม่ถามหา และหากคุณพบว่าสุขภาพช่องปากผิดปกติ ก็ควรรีบเข้าพบทันตแพทย์ทันที แพทย์จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะปัญหาสุขภาพปากและฟันบางอย่าง เช่น การติดเชื้อที่ฟัน หากปล่อยไว้ อาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น […]


การทดสอบทางการแพทย์

สลัดผักในถุง กับอันตรายแฝงจากเชื้อโรค ที่คุณอาจไม่เคยรู้

สลัดผัก เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ แต่หลายคนอาจจะไม่สะดวกที่จะทำสลัดผักรับประทานเอง จึงต้องมีสลัดผักในถุงพร้อมรับประทานที่หาซื้อได้ง่ายทั่วไป แต่คุณรู้หรือไม่คะว่า สลัดผักในถุง เหล่านี้ อาจจะแฝงมาพร้อมกับอันตราย ที่หลายคนมักจะมองข้าม อันตรายที่ว่านั้นคืออะไร มาหาคำตอบร่วมกันกับ Hello คุณหมอ เลยค่ะ อันตรายที่มาพร้อมกับ สลัดผักในถุง หนึ่งในสลัดผักพร้อมรับประทานที่เราอาจจะคุ้นตากันที่สุด ก็คือ สลัดผักในถุง ที่มักจะวางขายกันอยู่ทั่วไป ตามร้านค้าในตลาดและซูเปอร์มาร์เก็ต สลัดผักในถุงเหล่านี้ แม้ว่าจะมีลักษณะสีสันสวยงาม ดูน่ารับประทาน แต่ก็มักจะแฝงมากับอันตรายต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน เพราะสลัดผักในถุงเหล่านี้ อาจปนเปื้อนไปด้วยสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น พิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง หรือเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ที่สามารถก่อให้เกิดโรคในคนได้ เมื่อช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ได้มีรายงานพบการปนเปื้อนของ Cyclospora cayetanensis ซึ่งเป็นเชื้อปรสิตที่สามารถทำให้เกิดโรคท้องร่วง การดูดซึมสารอาหารผิดปกติ และภาวะขาดน้ำ ปะปนอยู่ในสลัดผักในถุงยี่ห้อหนึ่ง ที่วางขายอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อจากการกินสลัดผักในถุงนั้นมากถึง 690 ราย และมี 37 รายที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทำให้ต้องมีการเรียกเก็บสลัดผักยี่ห้อนั้นกลับมาเพื่อทำลายทิ้งเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกัน ก็มีงานวิจัยที่พบว่า สลัดผักในถุงนั้นจะเป็นสภาพแวดล้อมชั้นดี ที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลา (Salmonella) หรือเชื้ออีโคไล (Escherichia […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน การเตรียมพร้อมก่อนเริ่มต้นชีวิตคู่ที่ไม่ควรมองข้าม

คุณผู้อ่านท่านใดมีข่าวดีเตรียมตัวลั่นระฆังวิวาห์บ้างคะ Hello คุณหมอ ขอแสดงความยินดีไว้ล่วงหน้าก่อนเลย ซึ่งโอกาสมงคลแบบนี้คู่รักหลายคู่ก็มักจะยุ่งอยู่กับการเตรียมงาน หาฤกษ์งามยามดี ผูกดวงสมพงศ์ หรือกราบไหว้ผู้ใหญ่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอพรให้การใช้ชีวิตคู่นั้นเป็นสิริมงคลและราบรื่น แต่เหนือสิ่งอื่นใด ต้องไม่ลืมว่าสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะคนทั้งสองคนจะต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันไปอีกนาน การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่คู่รักไม่ควรละเลย แต่ทำไมเราต้อง ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ? ตรวจแล้วจะได้อะไร ? แล้วต้องตรวจอะไรบ้าง ? ถ้าอยากรู้ล่ะก็มาติดตามกันได้ที่บทความนี้เลยค่ะ ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน คืออะไร การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน คือ การเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อเช็กสภาพความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจของคู่รักที่กำลังจะตกลงปลงใจแต่งงานและสร้างครอบครัวไปด้วยกัน ซึ่งกระบวนการในการตรวจจะไม่แตกต่างจากการตรวจสุขภาพโดยทั่วไปมากนัก การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานนี้เจึงป็นเสมือนคู่มือพื้นฐานสำหรับคู่รักเพื่อประกอบการตัดสินใจและวางแผนการใช้ชีวิตหลังแต่งงานได้ ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ต้องตรวจอะไรบ้าง โดยทั่วไปแล้ว การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน นั้นมักจะมีโปรแกรมการตรวจที่คล้ายๆ กัน แต่อาจจะมีความแตกต่างกันไปตามแพ็กเกจหรือโปรโมชั่นของสถานพยาบาลที่เลือกใช้บริการ ซึ่งปกติแล้วแพทย์จะทำการตรวจโดยมีโปรแกรมสำคัญๆ ดังนี้ การตรวจเลือด การตรวจเลือดก่อนตัดสินใจแต่งงานถือว่ามีความสำคัญ เพราะคู่รักจะสามารถทราบหมู่โลหิตของลูกที่จะเกิดมา ทราบความเสี่ยงทางพันธุกรรมที่อาจมาจากพ่อหรือแม่เป็นพาหะ รวมถึงทราบความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ซึ่งทารกที่จะเกิดมาในอนาคตอาจมีภาวะเหล่านี้ได้ หากตรวจเลือดแล้วพบว่าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นพาหะของโรค ตรวจภาวะการมีบุตรยาก เพื่อลดปัญหาการกล่าวโทษกันแบบที่อาจจะเห็นกันบ่อยๆ ทั้งในละครและชีวิตจริง ที่เมื่อเกิดปัญหาการไม่มีบุตรสักทีแล้วก็มักจะกล่าวโทษกันเองว่ากรรมพันธุ์ฉันดี กรรมพันธุ์เธอไม่ดี การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพื่อหาภาวะการมีบุตรยากจะช่วยไขข้อข้องใจในกรณีนี้สำหรับผู้ที่ต้องการมีบุตร รวมถึงสามารถที่จะหาทางออกในกรณีที่ต้องการจะมีบุตรได้อีกด้วย ตรวจพันธุกรรม การตรวจพันธุกรรมสามารถช่วยระบุความเสี่ยงที่จะส่งต่อไปยังทารกที่จะเกิดมาในอนาคตได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคซิสติก […]


การทดสอบทางการแพทย์

อาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre Syndrome)

อาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre Syndrome)  คือ ระบบประสาทเกิดความผิดปกติ จนทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการดังกล่าวนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักเกิดจากการติดเชื้อในกระเพาะลำไส้อักเสบ หรือการติดเชื้อในปอด  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชาบริเวณแขน และขา  บางรายอาจร้ายแรงจนกลายเป็นอัมพาต คำจำกัดความอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre Syndrome)  คืออะไร อาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre Syndrome)  คือ ระบบประสาทเกิดความผิดปกติ จนทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการดังกล่าวนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักเกิดจากการติดเชื้อในกระเพาะและลำไส้อักเสบ หรือการติดเชื้อในปอด  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชาบริเวณแขน และขา  บางรายอาจร้ายแรงจนกลายเป็นอัมพาต พบได้บ่อยเพียงใด อาการกิลแลง-บาร์เรสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน พบได้บ่อยในเพศชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขี้นไป อาการอาการกิลแลง-บาร์เร อาการกิลแลง-บาร์เรส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนปลาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ดังต่อไปนี้ อาการชาบริเวณข้อมือ นิ้วมือ อาการชาบริเวณเท้า ข้อเท้า ท่าเดินไม่มั่นคง กลืนอาหารลำบาก หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำ ความดันโลหิตสูง อาการปวดหลังรุนแรง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของอาการกิลแลง-บาร์เร ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ที่ทำให้เกิดอาการกิลแลง-บาร์เร โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (US Centers for Disease Control and Prevention […]


การทดสอบทางการแพทย์

มาจัดการปัญหาตัวบวม ด้วย อาหารที่ช่วยลดอาการบวมน้ำ เหล่านี้กันดีกว่า

อาการบวมน้ำ (Edema) คือภาวะที่มีของเหลวสะสมอยู่ในเซลล์ร่างกายมากเกินไป เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การนั่งหรือยืนนาน ๆ โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน การตั้งครรภ์ การมีประจำเดือน ปัญหาสุขภาพเรื้อรัง (เช่น โรคปอด โรคไต) อาการบวมน้ำนี้สังเกตได้ด้วยการใช้นิ้วกดบริเวณที่บวมค้างไว้ 10-15 วินาที หากบุ๋มเป็นรอยนิ้วแปลว่าบวมน้ำ คนที่มีภาวะบวมน้ำมักตัวบวม อึดอัด ไม่สบายตัว ทำกิจกรรมอะไรก็ไม่สะดวก แถมยังทำให้รู้สึกว่าน้ำหนักขึ้นจนเครียดได้ด้วย วันนี้เราเลยมี อาหารที่ช่วยลดอาการบวมน้ำ มาแนะนำ รับรองกินตามนี้ อาการตัวบวมน้ำของคุณจะดีขึ้นแน่นอน อาหารที่ช่วยลดอาการบวมน้ำ หน่อไม้ฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่งหรือแอสพารากัส (Asparagus) คืออาหารที่ช่วยลดอาการบวมน้ำซึ่งคุณไม่ควรพลาด โดยศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ (University of Maryland Medical Center) ประเทศสหรัฐอเมริกาเผยว่า หน่อไม้ฝรั่งมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะตามธรรมชาติ กินแล้วช่วยขจัดของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกายได้ แถมหน่อไม้ฝรั่งยังมีโซเดียม (Sodium)ต่ำด้วย จึงยิ่งเหมาะกับคนที่มีปัญหาตัวบวมน้ำ เพราะโซเดียมถือเป็นตัวการสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำนี้ แดนดิไลออน แดนดิไลออน (Dandelion) หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Taraxacum officinale เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะมาช้านาน กินแล้วจะช่วยให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น จึงทำให้มีของเหลวสะสมอยู่ในร่างกายน้อยลง โดยผลงานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งที่ให้กลุ่มตัวอย่าง 17 คนกินสารสกัดจากใบแดนดิไลออนปริมาณ 3 โดส จากนั้นให้กลุ่มตัวอย่างสังเกตปริมาณของเหลวที่บริโภคเข้าไปและที่ปัสสาวะออกมา […]


การทดสอบทางการแพทย์

เลือดเป็นพิษ หรือติดเชื้อในกระแสเลือด อันตราย! เป็นแล้วโอกาสตายสูง

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เลือดเป็นพิษ หรือภาวะพิษจากการติดเชื้อ ในข่าวการเสียชีวิตของคนดังกันมาบ้างแล้ว แต่อาจยังไม่รู้ว่าภาวะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร หรือเป็นแล้วอันตรายแค่ไหน Hello คุณหมอ บอกเลยว่าภาวะนี้อันตรายมาก หากรักษาไม่ทันอาจถึงแก่ชีวิตได้ด้วย แต่อย่าเพิ่งเป็นกังวลไป เพราะคุณเองก็สามารถสังเกตอาการ และป้องกันภาวะนี้ด้วยตัวเองได้ เลือดเป็นพิษ หรือการติดเชื้อในกระแสเลือด คืออะไร ภาวะพิษจากการติดเชื้อ หรือ เลือดเป็นพิษ ที่มักเรียกว่า การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการตอบสนองที่รุนแรงต่อการติดเชื้อ หรือสารพิษของเชื้อโรค ทำให้เกิดจากอักเสบทั่วร่างกาย ความจริงแล้วคำว่า ภาวะพิษจากการติดเชื้อ หรือภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) กับคำว่า ภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือการติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) นั้นเป็นคนละคำกัน แต่เนื่องจากเป็นภาวะที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน จึงมักใช้ในความหมายเดียวกัน โดยปกติแล้ว เมื่อมีเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา เข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองด้วยการปล่อยสารเคมีบางชนิดเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นๆ แต่ในบางกรณี ระบบภูมิคุ้มกันก็ปล่อยสารเคมีออกมามากเกิน หรือมีการตอบสนองที่ผิดปกติไป จนส่งผลให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย เกิดลิ่มเลือดและหลอดเลือดอุดตัน จนระบบไหลเวียนเลือดและความดันเลือดหยุดชะงัก ออกซิเจนและสารอาหารจึงไม่ถูกลำเลียงไปส่งยังอวัยวะต่างๆ จนอวัยวะเสียหาย และหากไม่รีบรักษา อาจทำให้เกิดมีภาวะช็อกจากพิษเหตุติดเชื้อ (Septic Shock) จนถึงแก่ชีวิตได้ เลือดเป็นพิษ เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง การติดเชื้อทุกชนิดสามารถกระตุ้นให้เกิดเลือดเป็นพิษได้ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ลิ้นแตก เป็นร่องยาว เพราะร่างกายเราผิดปกติจริงหรือ?

ขณะที่คุณกำลังนำอาหารเข้าปากนั้น เมื่อเมล็ดข้าวเผลอไปสัมผัสกับลิ้น เคยรู้สึกถึงอาการแสบ หรือเจ็บจี๊ดขึ้นมาแบบฉับพลันกันบ้างหรือเปล่า นั่นอาจเป็นเพราะสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าสุขภาพช่องปากของคุณกำลังมีปัญหาอยู่ก็เป็นได้ จากการทานอาหารที่แสนง่าย ก็กลายเป็นการทานที่ยากลำบากขึ้นทันที วันนี้  Hello คุณหมอ มีวิธีรักษาตนเองเบื้องต้นจากอาการ ลิ้นแตก มาฝากทุกคนกัน เพื่อให้คุณกลับมาเพลิดเพลินกับการทานอาหารได้อย่างสบายใจอีกครั้ง [embed-health-tool-bmi] อาการของ ลิ้นแตก (Fissured tongue) คืออะไร รอยแยกบนพื้นผิวของลิ้น สำหรับบุคลที่มีร่องรอยติดตัวมาตั้งแต่ยังเด็กจนถึงปัจจุบัน นั่นอาจมาจากพันธุกรรมภายในครอบครัวคุณที่เป็นต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งจะมีลักษณะเป็นรอยแยก สีแดง หรือสีอมชมพู เป็นร่อง บางรายอาจมีร่องลึกถึง 6 มิลลิตร เลยทีเดียว ในบางกรณีก็อาจมีสาเหตุจากสารบางอย่างที่ทำให้เราแพ้จนมีอาการลิ้นแตก เช่น การรับประทานอาหารรสเผ็ดจัดๆ ที่สารในพริกไปทำลายสุขภาพลิ้นจนเกิดรอยแตกขึ้น หรือเป็นอาการร่วมของโรคบางอย่างที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเราอยู่ก็เป็นได้ โรคที่อาจก่อให้เกิดอาการลิ้นแตก นอกจากที่อาการนี้จะได้รับมาจากพันธุกรรมแล้ว ยังมีความเกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ อีกด้วย ดังนี้ ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) ผู้ป่วยที่มีอาการดาวน์ซินโดรม อาการลิ้นแตกมักเกิดขึ้นในเด็กมากที่สุดถึง 80% ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นทำความสะอาดช่องปาก และลิ้นมิให้มีเศษอาหารเข้าไปติด เพราะอาจเกิดการสะสมจากแบคทีเรียจนทำให้ลูกของคุณมีอาการเจ็บลิ้นได้ กลุ่มอาการเมลเคอร์สสัน-โรเซ็นทาล (Melkersson-Rosenthal syndrome ; MRS) เป็นภาวะทางระบบประสาทที่ผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อในส่วนของใบหน้าเปลี่ยนแปลง นำไปสู่อาการลิ้นแตก และมีริมฝีปากที่บวม ภาวะทุพโภชนาการ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เนื้องอกน้อยๆ ที่อาจเกิดได้เมื่อคุณอายุมากขึ้น

รู้หรือไม่ ข้อมือที่ปวดล้าเมื่อคุณใช้งานหนักจนเกินไป อาจเกิดเป็นเนื้องอกเล็กๆ ที่ดูเผินๆ คล้ายกระดูกปกติ แต่จริงๆ แล้ว มันคือ ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ที่นูนใหญ่พร้อมกับอาการเจ็บจี๊ดๆ เมื่อคุณขยับ ซึ่งวันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำสาระความรู้ของอาการนี้มาฝากกัน ที่หลายคนอาจมองข้ามจนเกิดเป็นปัญหาเรื้อรังได้ [embed-health-tool-bmr] ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ คืออะไร ร้ายแรงแค่ไหนกันนะ ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (Ganglion Cyst) คือ เนื้อเยื่อภายในข้อมือ ข้อต่อ ที่หล่อรวมจนเกิดเป็นก้อนกึ่งแข็งกึ่งนิ่ม ส่วนมากมักพบได้บนข้อมือ ฝ่ามือ ข้อเท้า และฝ่าเท้า คล้ายก้อนซีสต์ พบได้ตั้งแต่วัย 15-40 ปี ขึ้นไป โดยอาจมีขนาดที่เล็กมากเท่าเมล็ดถั่วจนถึงขนาดเท่าลูกกอล์ฟเลยทีเดียว ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ อาจมาจากการพัฒนาของอายุที่มากขึ้น การบาดเจ็บบริเวณข้อต่อ เส้นเอ็น ที่มาจากอุบัติเหตุ และการใช้งานของข้อมือที่มากเกินไป จนเกิดการสะสมทำให้มีตุ่มผุดขึ้นมา สังเกตจากอาการเหล่านี้ หากคุณกำลังคิดว่า มีเนื้องอกกำลังเกิดขึ้น สูญเสียความคล่องตัว ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเล่นกีฬา รู้สึกชา มีอาการเจ็บปวดข้อมือแบบเฉียบพลัน รู้สึกเสียวซ่าบริเวณข้อมือ ขนาดเนื้อที่งอกออกมาเป็นตุ่มเล็ก จนลุกลามไปเป็นก้อนใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-3 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน