การทดสอบทางการแพทย์

เมื่อคุณอยากรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร การทดสอบทางการแพทย์ คืออีกหนึ่งช่องทางที่จะให้คำตอบแก่คุณได้ แต่การทดสอบทางการแพทย์มีอะไรบ้าง ต้องมาติดตามกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)

การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนต้องตระหนัก โดยเฉพาะการตรวจสุขภาพหัวใจ เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่คอยเชื่อมกับระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในเอาไว้ด้วยกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย ที่เป็นอีกเทคนิคทางการแพทย์ ช่วยวัดประสิทธิภาพของหัวใจ มาฝากกันค่ะ การ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย คืออะไร การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST) เป็นการทดสอบอัตราการเต้นของหัวใจของคุณว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีอาการผิดปกติใด ๆ หรือไม่ แต่ในการทดสอบนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คุณออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น วิ่ง เดินลู่วิ่ง ใช้เครื่องปั่นจักรยาน ประมาณ 10-15 นาทีด้วยกัน โดยอาจมีพัก 3 นาที เพื่อตรวจสอบการหายใจ ในช่วงที่คุณออกกำลังกายเพื่อทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย แพทย์จะติดอุปกรณ์ทดสอบที่เรียกกว่า แผ่นอิเล็กโทรดที่เชื่อมโยงกับหน้าจอแสดงผล ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา หน้าอก เพื่อให้เห็นอัตราการเต้นของหัวใจ และบันทึกกราฟ หรือตัวเลขเอาไว้ให้เป็นข้อมูล […]

สำรวจ การทดสอบทางการแพทย์

การทดสอบทางการแพทย์

ชิลเบลนส์ (Chilblains) อาการคันตามมือเท้า ที่มาพร้อมอากาศหนาว

เคยเป็นกันไหมอยู่ๆ พออากาศเย็นก็รู้สึกคันตามมือ เท้า และผิวหนัง บางครั้งก็มีผื่นแดงเกิดขึ้นแถมยังมีอาการคันตามมา ทำให้รู้สึกรำคาญใจเป็นอย่างมาก ไม่เพียงเท่านั้นยังรู้สึกเจ็บปวดอีกด้วย ถ้าคุณกำลังเป็นเช่นนี้ นั่นอาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังเป็น ชิลเบลนส์ ก็เป็นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องเกี่ยวกับชิลเบลนส์มาฝากกัน [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักกับชิลเบลนส์ ชิลเบลนส์ (Chilblains) เป็นแผลขนาดเล็กที่เกิดจากอาการอักเสบของเส้นเลือดเล็กๆ เมื่อสัมผัสกับอากาศเย็น มันมักจะทำให้รู้สึกเจ็บปวด คัน ทั้งยังส่งผลกระทบต่อผิวที่มือและเท้าของคุณ ทำให้เกิดอาการบวม หรือพองได้อีกด้วย โดยทั่วไปแล้วชิลเบลนส์จะหายได้เองภายใจ 1-3 สัปดาห์ถ้าอากาศอุ่นขึ้น แต่ก็สามารถเป็นซ้ำได้ตามฤดูกาล ชิลเบลนส์มักไม่ส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บถาวร แต่สามารถนำไปสู่การติดเชื้อ และอาจจะรุนแรงมากขึ้นได้หากไม่ได้รับการรักษา สาเหตุของการเกิดชิลเบลนส์ ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้หลอดเลือดเล็กๆ ใกล้ผิวหนังของคุณกระชับขึ้น เมื่อคุณรู้สึกอุ่นขึ้นหลอดเลือดเหล่านี้อาจจะขยายตัวเร็วเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดเลือดไหลรั่วเข้าไปในเนื้อเยื่อใกล้เคียงจนทำให้เกิดอาการบวมเกิดขึ้น ซึ่งอาการบวมนั้นจะทำให้เส้นประสาทในบริเวณที่ได้รับผลกระทบเกิดการระคายเคือง ทั้งยังทำให้เกิดอาการปวดได้อีกด้วย ความจริงแล้วแพทย์ก็ยังไม่ชี้ชัดว่า ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ แต่มันอาจจะเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อการสัมผัสอาการเย็นและอากาศอุ่นได้ เมื่อเป็นชิลเบลนส์จะมีอาการเป็นอย่างไร เมื่อคุณเป็นชิลเบลนส์จะมีอาการต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น มีผื่นสีแดงบริเวณเล็กๆ เกิดขึ้นบนผิวหนัง โดยปกติแล้วผื่นมักจะขึ้นตามมือหรือเท้า มีแผลพุพอง หรือแผลผิวหนัง อาการบวมของผิวหนัง แสบร้อนบริเวณผิว การเปลี่ยนแปลงของสีผิว จากสีแดงกลายเป็นสีน้ำเงินเข้ม และมีอาการเจ็บปวด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดชิลเบลนส์ แม้จะยังไม่สามารถชีชัดได้ว่า ชิลเบลนส์ สามารถพัฒนากลายเป็นโรคอะไรได้บ้าง แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่มีต้นเหตุมาจากชิลเบลนส์ นั่นก็คือ การใส่เสื้อผ้าที่แน่นจนเกินไป ผิวหนังสัมผัสกับอากาศที่เย็นและชื้น […]


การทดสอบทางการแพทย์

วิงเวียน (Dizzy)

วิงเวียน หรือหรือมึนศีรษะ คืออาการอย่างหนึ่ง ที่มักจะพบได้ในโรคต่างๆ วิงเวียน ใช้อธิบายถึงอาการที่ร่างกายรู้สึกไม่สมดุล มึนงง ส่วนใหญ่แล้ว อาการวิงเวียนนั้นจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง และมักจะหายไปได้เอง คำจำกัดความวิงเวียน คืออะไร วิงเวียน หรือหรือมึนศีรษะ คืออาการอย่างหนึ่ง ที่มักจะพบได้ในโรคต่างๆ วิงเวียนใช้อธิบายถึงอาการที่ร่างกายรู้สึกไม่สมดุล มึนงง อาการวิงเวียนนี้สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้อีก แม้ว่าจะรักษาไปแล้ว แต่ส่วนใหญ่แล้ว อาการวิงเวียนนั้นจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง และมักจะหายไปได้เอง   วิงเวียนพบได้บ่อยแค่ไหน อาการวิงเวียนสามารถพบได้บ่อย และสามารถเกิดได้กับคนทุกวัย สามารถจัดการได้โดยการรักษาที่ต้นเหตุ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการวิงเวียน อาการวิงเวียนศีรษะนั้นเป็นลักษณะของอาการ ไม่ใช่โรค นอกจากอาการวิงเวียนแล้ว ยังอาจมีอาการอื่นๆ ที่มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการวิงเวียน เช่น อาเจียน มึนศีรษะ หน้ามืด ร่างกายไม่สมดุล คลื่นไส้ รู้สึกเบาโหวง นอกจากนี้ หากคุณมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรรีบติดต่อแพทย์ในทันที ปวดหัวเฉียบพลัน หรือปวดหัวอย่างรุนแรง หมดสติ เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ อ่อนแรง หรือมีอาการชา หายใจติดขัด ไข้สูง มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ ชัก อาเจียน สาเหตุสาเหตุของการวิงเวียน อาการวิงเวียนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุรวมถึงภาวะต่อไปนี้ หูชั้นในมีปัญหา การเมารถ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาต้านซึมเศร้า ยานอนหลับ และยาคลายกังวลต่างๆ การไหลเวียนเลือดไม่ดี ความดันโลหิตต่ำ หัวใจวาย การติดเชื้อ การได้รับบาดเจ็บ ไมเกรน น้ำในหูไม่เท่ากัน โรควิตกกังวล ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะโลหิตจาง อากาศร้อนเกินไป ภาวะขาดน้ำ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของอาการวิงเวียน ปัจจัยเสี่ยงของการวิงเวียนมีหลายปัจจัยได้แก่ อายุ ผู้สูงอายุมักจะมีโอกาสที่จะเกิดอาการวิงเวียนได้มากกว่า โดยเฉพาะอาการรู้สึกไม่สมดุล เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นมักจะมีโอกาสที่จะใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการวิงเวียน อาการวิงเวียนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต หากคุณเคยมีอาการวิงเวียนในอดีตมาก่อน คุณก็อาจจะมีโอกาสที่จะวิงเวียนได้ในอนาคต การวินิจฉัยและการรักษาโรคข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยอาการวิงเวียน ตรวจร่างกาย เอ็มอาร์ไอ หรือซีทีแสกน สำหรับกรณีของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจสอบความสามารถในการทรงตัวขณะเดิน ตรวจการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ตรวจสอบความสามารถในการได้ยินและการทรงตัว ตรวจการเคลื่อนไหวจองลูกตาและศีรษะ การรักษาอาการวิงเวียน โดยทั่วไปอาการวิงเวียนจะดีขึ้นเองโดยไม่ต้องรักษา แต่หากจำเป็นต้องรักษาก็จะรักษาตามสาเหตุและอาการ โดยการใช้ยา และการออกกำลังกาย ยาที่อาจจะใช้มีดังต่อไปนี้ ยาลดอาการวิงเวียน เช่น ยาต้านฮีสตามีน ยาต้านโคลิเนอร์จิก ยาต้านอาการคลื่นไส้ ยาลดความวิตกกังวล […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจคอร์ติซอลในเลือด (Cortisol Blood Test)

ฮอร์โมนคอร์ติซอลมีบทบาทสำคัญต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบเผาผลาญ โรคบางชนิด เช่น โรคคุชชิ่ง อาจส่งผลต่อระดับคอร์ติซอลในร่างกาย และทำให้ระบบต่างๆผิดปกติได้ การ ตรวจคอร์ติซอลในเลือด จึงอาจช่วยให้เราสามารถค้นหาความผิดปกติของร่างกายได้ ข้อมูลพื้นฐานการตรวจคอร์ติซอลในเลือดคืออะไร คอร์ติซอลเป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมน ที่ผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไต (adrenal gland) จะหลั่งออกมาเมื่อมีการหลั่งฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคทรอปิก (adrenocorticotropic หรือ ACTH) ซึ่งถูกผลิตจากต่อมพิทูอิทารีใกล้สมอง ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคทรอปิกจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนโดยต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex) คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนหลัก ที่ถูกหลั่งออกมาเมื่อเกิดความเครียดและเพื่อตอบสนองความรู้สึก “สู้หรือถอย” ซึ่งเป็นสัญชาตญาณหรือปฏิกิริยาทางธรรมชาติของมนุษย์เราในการป้องกันตัวจากอันตรายหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้น กลุ่มปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกาย ทำให้ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนอลเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดพลังงานและพละกำลังอย่างฉับพลัน ในการตอบสนองความรู้สึก “สู้หรือถอย” คอร์ติซอลจะทำหน้าที่กดการทำงานต่างๆ ที่ไม่จำเป็น หรือเป็นอันตรายต่อการตอบสนอง ส่งผลให้เกิดอาการใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ท้องปั่นป่วน ท้องร่วง และตื่นตระหนก การหลั่งคอร์ติซอลยังไปกดกระบวนการเจริญเติบโต การทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบสืบพันธุ์ และกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันด้วย การตรวจคอร์ติซอลในเลือด เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวัดระดับของคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไตที่อยู่ด้านบนของไต การตรวจนี้อาจเรียกว่า การตรวจคอร์ติซอล ซีรั่ม (serum cortisol test) ความจำเป็นในการ ตรวจคอร์ติซอลในเลือด การวัดระดับคอร์ติซอลเป็นการตรวจดูว่า การผลิตฮอร์โมนชนิดนี้อยู่ในระดับที่มากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ โรคบางโรค เช่น โรคแอดดิสัน […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจซี-รีแอคทีฟ โปรตีน (C-Reactive Protein Test)

ตรวจซี-รีแอคทีฟ โปรตีน (C-reactive Protein Test) เป็นการตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณโปรตีนที่เรียกว่า ซี-รีแอคทีฟ โปรตีน (C-reactive protein) หรือ CRP ในเลือด ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ระดับการติดเชื้อทั่วไปในร่างกาย [embed-health-tool-bmi] ข้อมูลพื้นฐาน การตรวจซี-รีแอคทีฟ โปรตีนคืออะไร การตรวจซี-รีแอคทีฟ โปรตีน (C-reactive Protein Test) เป็นการตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณโปรตีนที่เรียกว่า ซี-รีแอคทีฟ โปรตีน (C-reactive protein) หรือ CRP ในเลือด ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ระดับการติดเชื้อทั่วไปในร่างกาย ระดับ CRP ที่สูงเกิดจากการติดเชื้อและโรคเรื้อรังหลายชนิด แต่การตรวจซี-รีแอคทีฟ โปรตีนเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถแสดงให้เห็นบริเวณและสาเหตุของการติดเชื้อ จึงต้องการมีการตรวจอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อหาสาเหตุและบริเวณที่มีการติดเชื้อต่อไป ความจำเป็นในการ ตรวจซี-รีแอคทีฟ โปรตีน การตรวจซี-รีแอคทีฟ โปรตีนเป็นการตรวจทั่วไปเพื่อหาการติดเชื้อในร่างกาย จึงไม่ใช่การตรวจเฉพาะ นั่นหมายความว่า การตรวจนี้สามารถแสดงให้เห็นว่ามีการติดเชื้อในบางบริเวณในร่างกาย แต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้ โดยแพทย์อาจให้มีการทดสอบนี้เพื่อ ตรวจหาการกำเริบของโรคติดเชื้อ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) โรคลูปัส (lupus) หรือหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis) ตรวจดูว่ายาต้านการอักเสบมีการออกฤทธิ์เพื่อรักษาโรคหรือภาวะต่างๆ หรือไม่ ข้อควรรู้ก่อนตรวจ ข้อควรรู้ก่อนการ ตรวจ ซี-รีแอคทีฟ […]


การทดสอบทางการแพทย์

กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)

คำจำกัดความกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง คืออะไร กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือ Chronic Fatigue Syndrome : CFS คือ ความผิดปกติที่ซับซ้อนที่บ่งชี้ได้จากความเหนื่อยล้ารุนแรง ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยอาการอื่นๆ โดยความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียนี้อาจทำให้กิจกรรมทางกายและจิตย่ำแย่ลง และคงอยู่เป็นระยะเวลานาน พักผ่อนแล้วก็ยังไม่หายไป ซึ่งจำกัดความสามารถในการทำกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือสามารถอ้างอิงถึงในชื่อ อาการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบ (Myalgic Encephalomyelitis : ME) หรือ Systemic exertion intolerance disease (SEID) ถึงแม้ว่า CFS และ ME และ SEID จะมีอาการร่วมกัน คือ อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง แต่ก็มีความหลากหลายในนิยามของความผิดปกติ โดยอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังนี้อาจเป็นผลจากหลายสาเหตุ สาเหตุของกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และมีทฤษฏีเกี่ยวกับสาเหตุของโรคนี้มากมาย ตั้งแต่การติดเชื้อไวรัส ไปจนถึงความเครียดทางจิตใจ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเชื่อว่า กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังนั้นเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ในปัจจุบันยังไม่มีการวินิจฉัย เฉพาะสำหรับกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจทางการแพทย์หลายประเภทเพื่อค้นหาความผิดปกติอื่นๆที่มีอาการคล้ายคลึงกัน กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังพบได้บ่อยแค่ไหน โดยทั่วไปกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ แต่สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง สัญญาณและอาการที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป มีดังนี้ ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย การสูญเสียความทรงจำและสมาธิ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลือง บริเวณคอหรือใต้รักแร้โต ปวดกล้ามเนื้อ แบบไม่ทราบสาเหตุ ความเจ็บปวดย้ายจากข้อบริเวณหนึ่ง ไปยังข้ออีกบริเวณหนึ่งโดยไม่มีการบวมหรือแดง ปวดศีรษะ นอนไม่เต็มอิ่ม อ่อนเพลียแบบรุนแรงเป็นเวลามากกว่า […]


การทดสอบทางการแพทย์

อาการอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)

หลายคนคงเคยประสบกับ อาการอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) ที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว บทความนี้มาพร้อมกับข้อมูลดี ๆ ให้คุณรู้จักอาการนี้ดีขึ้น คำจำกัดความอาการอาหารไม่ย่อย คืออะไร อาการอาหารไม่ย่อย หรือทางการแพทย์เรียกว่า ดิสเพปเซีย (Dyspepsia) คือ ความรู้สึกอึดอัดและปวดบริเวณทางเดินอาหารส่วนบน (กระเพาะอาหาร, หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น) อาหารไม่ย่อยประกอบไปด้วยหลายกลุ่มอาการ เช่น ท้องอืด คลื่นไส้ และเรอ ซึ่งเป็นอาการพื้นฐานของอาหารไม่ย่อย พบได้บ่อยเพียงใด อาการอาหารไม่ย่อยไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มโรค แต่คือการแสดงออกทางอาการพื้นฐานของความผิดปกติทางสุขภาพและเกิดขึ้นได้กับทุกคนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการ ควรทำการปรึกษาแพทย์เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการทั่วไปของอาการอาหารไม่ย่อย ได้แก่ ท้องอืด คลื่นไส้และอาเจียน แสบร้อนในกระเพาะอาหาร อิ่มง่าย แม้รับประทานอาหารในขนาดปกติ รับรู้ได้ถึงรสชาติกรดภายในปาก ปวดท้อง เรอเปรี้ยว อาจมีอีกหลายอาการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ กรุณาปรึกษาแพทย์เพื่อรักข้อมูลเพิ่มเติม ควรไปพบหมอเมื่อใด คุณควรไปพบหมอหากคุณมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ อาเจียนรุนแรงหรืออาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ มีปัญหาในการกลืน เจ็บปวดหน้าอก ตาและผิวเหลือง หายใจลำบาก กรดไหลย้อน หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ ทั้งนี้แต่ละคนมีการแสดงออกของอาการแตกต่างกันไป การเข้ารับการรักษากับแพทย์เป็นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด สาเหตุสาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อย ดิสเพปเซียเป็นการแสดงออกของอาการมากกว่ากลุ่มโรค อาการเจ็บป่วยที่อาจก่อให้เกิดอาการดิสเพปเซีย ได้แก่ โรคกรดไหลย้อน (GERD) อาการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร ก่อให้เกิดการระคายเคืองและสร้างความเสียหายแก่ทางเดินอาหาร ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาหารไม่ย่อย ความเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ความผิดปกติในการทำงานของลำไส้ใหญ่ การติดเชื้อในกระเพาะอาหารสาเหตุจากเชื้อเอชไพโลไร แผลในกระเพาะอาหาร รอยขีด หรือรูในผนังกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร ยาที่อาจก่อให้เกิดอาการดิสเพปเซีย แอสไพรินและยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs (ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) ยาที่มีส่วนผสมของไนเตรท (เช่น ยาลดความดันโลหิต) เอสโตรเจนและยาคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยารักษาไทรอยด์ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของอาการอาหารไม่ย่อย กิจวัตรประจำวันอาจมีผลต่อการเกิดอาการอาหารไม่ย่อย นอกจากนี้โรคและสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ รับประทานอาหารมากเกินไปและเร็วเกินไป ความเครียดและเหนื่อยล้า การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลต่อไปนี้ไม่ใช่คำแนะนำการรักษาทางการแพทย์ โปรดเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ทุกครั้งเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยอาการอาหารไม่ย่อย แพทย์อาจสอบถามอาการของโรค ประวัติการใช้ยา และอาจตรวจสอบกระเพาะและทรวงอกร่วมด้วย แพทย์อาจทำการทดสอบเพื่อทำความเข้ากับอาการและวินิจฉัยโรคที่อาจเป็นสาเหตุของอาหารไม่ย่อย การส่องกล้อง วิธีการนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่การรักษาอื่นไม่ได้ผล […]


การทดสอบทางการแพทย์

แก้อาการบ้านหมุน วิธีต่อไปนี้ช่วยได้

อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) หรือ อาการบ้านหมุน เป็นความรู้สึกเวียนศีรษะ ซึ่งทำให้ผู้ที่มีอาการไม่สามารถทำงานหรือเรียนหนังสือได้ตามปกติ Helloคุณหมอ ขอแนะนำข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการ แก้อาการบ้านหมุน ที่จะช่วยให้คุณอาการดีขึ้น ความหมายของอาการบ้านหมุน อาการบ้านหมุนเป็นภาวะหนึ่งที่มีความรู้สึกว่า โลกโดยรอบตัวของเรากำลังหมุน ปัญหาเกี่ยวกับหูชั้นในเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบ้านหมุน สาเหตุอาการบ้านหมุน ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ปัญหาเกี่ยวกับหูชั้นในทำให้เกิดอาการบ้านหมุน ซึ่งปัญหาดังกล่าว ได้แก่ หินปูนในหูชั้นในเคลื่อน เมื่ออาการหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign Paroxysmal Positional Vertigo: BPPV) เกิดขึ้น แคลเซียมจำนวนหนึ่งจะเกิดการสะสมตัว หรือมีอนุภาคหลุดเข้าไปอยู่ในช่องหูชั้นใน แล้วหูส่งสัญญาณที่ผิดไปยังสมอง ซึ่งทำให้เสียสมดุลของร่างกาย ไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดสำหรับ BPPV อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับอายุที่มากขึ้น น้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นที่เชื่อกันว่าภาวะน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease) เกิดขึ้นเมื่อของเหลวสะสมตัวในหู ซึ่งส่งผลต่อความดันปกติในหู เส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ การติดเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของปัญหาเส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ (Vestibular Neuritis) เมื่ออาการนี้เกิดขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบที่ส่งผลต่อเส้นประสาทของหูชั้นใน ซึ่งทำหน้าที่ในการคงความสมดุลของร่างกาย แก้อาการบ้านหมุน วิธีนี้ช่วยคุณได้  ในบางครั้ง อาการบ้านหมุนจะหายไปเอง โดยไม่ต้องมีการรักษาเฉพาะใดๆ ในทางกลับกัน ในหลายกรณี อาการบ้านหมุนจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ การฟื้นฟูเส้นประสาทการทรงตัว ระบบประสาทการทรงตัวทำหน้าที่ส่งสัญญาณต่างๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายไปยังสมอง ส่งผลดีให้สมองทราบและปรับเพื่อทำให้ทรงตัวได้ การฟื้นฟูเส้นประสาทการทรงตัว (Vestibular rehabilitation) เป็นการบำบัดประเภทหนึ่งที่ช่วยให้ระบบประสาทการทรงตัวแข็งแรงมากขึ้น การทำให้หินปูนในหูชั้นในกลับเข้าที่เดิม การบำบัดด้วยการทำให้หินปูนในหูชั้นในกลับเข้าที่เดิม (Canalith repositioning maneuvers) วิธีนี้ใช้เพื่อจัดการภาวะ BPPV […]


การทดสอบทางการแพทย์

อาการปากแห้ง หลังตื่นนอน

เมื่อตื่นนอนขึ้นมาในตอนเช้าพร้อมกับ อาการปากแห้ง ซึ่งทำให้เราหงุดหงิดและรำคาญ จริงๆ แล้วอาการที่ปากแห้งมีสาเหตุมาได้จากหลายอย่าง แต่ไม่ทราบว่าสาเหตุมันเกิดจากอะไร ลองไปอ่านบทความนี้เพื่อทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น เมื่อรู้ถึงสาเหตุเราจะได้แก้ปัญหากันได้ง่ายกว่าที่เคย อาการปากแห้ง หลังตื่นนอน คืออะไร อาการช่องปากแห้งหลังจากตื่นนอนในตอนเช้า ในทางการแพทย์เรียกว่า Xerostomia เป็นภาวะที่ปากมีอาการแห้งกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากการที่ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายออกมาได้ไม่เพียงพอ ที่จะทำให้ปากของเรามีความชุ่มชื่น โดยปกติแล้วมีสาเหตุมาจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด ปัญหาอายุที่มากขึ้น หรือเป็นผลจากรังสีที่ผู้ป่วยมะเร็งเข้ารับการรักษา น้ำลายมีหน้าที่ในการช่วยป้องกันฟันผุ โดยทำให้กรดที่ผลิตโดยแบคทีเรียลดลง จำกัดการเติบโตของแบคทีเรียและกำจัดเศษอาหารออกไป นอกจากนี้น้ำลายยังช่วยเพิ่มความสามารถในการลิ้มรสและทำให้เคี้ยวและกลืนง่ายขึ้นง่าย นอกจากนี้เอนไซม์ในน้ำลายยังช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย และอาจเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยทั่วไป ของสุขภาพฟันและเหงือกของคุณ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความอยากอาหารและความเพลิดเพลินในการรับประทานอาหารอีกด้วย อะไรกันที่ทำให้เรา ปากแห้งหลังตื่นนอน เมื่อมีอาการช่องปากแห้งมีสาเหตุมาจากต่อมน้ำลายในปากผลิตน้ำลายออกมาไม่เพียงพอ และทำให้ปากของเราขาดความชุ่มชื่น และการที่ต่อมน้ำลายทำงานผิดปกติอาจเกิดจากปัญหาเหล่านี้ การใช้ยา ยาหลายร้อยชนิด รวมทั้งยาที่ขายตามร้านขายยาทั่วไปบางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการปากแห้งโดยเฉพาะยาบางประเภทจะมีแนวโน้มก่อให้เกิดปัญหามาก ได้แก่ บางตัวที่ใช้ในการรักษาอาการซึมเศร้า ความดันโลหิตสูง ยาคลายวิตกกังวล ยาต้านฮิสตามีนซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาอาการภูมิแพ้ต่างๆ ยาหดหลอดเลือด ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาระงับอาการปวด การรักษาโรคมะเร็ง เคมีบำบัดที่ผู้ป่วยมะเร็งได้รับมีผลต่อความสามารถในการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของน้ำลายและการผลิต เคมีบำบัดอาจทำให้มีอาการปากที่แห้งเพียงชั่วคราวและน้ำลายอาจจะกลับมาทำงานได้อย่างปกติเมื่อหยุดรับเคมีบำบัด นอกจากนี้การรักษาด้วยการฉายแสงที่ศีรษะและขอยังส่งผลต่อการทำงานของต่อมน้ำลายให้ผลิตน้ำลายได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาการปากแห้งจากการฉายรังสีอาจจะเกิดขึ้นแค่ชั่วคราวหรืออาจจะเกิดถาวรทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับและส่วนที่โดนรังสีว่ามากน้อยเพียงใด การเสียหายของเส้นประสาท การได้รับบาดเจ็บหรือการผ่าตัดที่ทำให้เส้นประสาทบริเวณศีรษะและคอเสียหายก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ ภาวะสุขภาพอื่น ๆ อาจเป็นผลกระทบที่เกิดจากโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อราในปาก โรคอัลไซเมอร์ โรคภูมิต้านตนเองเช่นโรค Sjogren หรือ HIV / AIDS ไปจนถึงการนอนกรน […]


การทดสอบทางการแพทย์

เลือดออกตามไรฟัน (Bleeding Gums)

คำจำกัดความเลือดออกตามไรฟัน คืออะไร เลือดออกตามไรฟัน (Bleeding gums) เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเลือดไหลออกจากบริเวณเหงือกและตามไรฟัน ส่วนใหญ่มักเกิดจากขาดการกำจัดคราบหินปูน (plague) ออกจากฟันในส่วนที่ติดกับร่องเหงือก ซึ่งโรคเลือดออกตามไรฟันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมได้ เลือดออกตามไรฟัน พบบ่อยเพียงใด โรคเลือดออกตามไรฟันนั้นพบได้ทั่วไป และเกิดขึ้นในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย แต่สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์หากคุณต้องการข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม อาการอาการของโรคเลือดออกตามไรฟัน สัญญาณเตือนและอาการของโรคเลือดออกตามไรฟันที่มักจะพบได้มีดังต่อไปนี้ เหงือกมีอาการบวม แดง และเจ็บ เหงือกบวมตั้งแต่บริเวณรากฟัน ฟันโยก ลมหายใจมีกลิ่น มีการรับรสชาดิที่ผิดเพี้ยนไป การสบฟันผิดปกติ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรไปพบหมอทันทีหากคุณและคนที่คุณรักมีอาการดังต่อไปนี้ อาการเลือดออกนั้นรุนแรงและเรื้องรัง เหงือกยังคงมีเลือดออกต่อเนื่อง แม้ได้รับการรักษาแล้ว มีอาการอื่นๆ ตามมาหลังอาการเลือดออก เมื่อมีอาการดังกล่าวข้างต้นหรือมีข้อสงสัยโปรดปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้ร่างกายของคนเรามีปฏิกิรยาแตกต่างกัน โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและแนวทางการรักษาที่เหมาะกับอาการของคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคเลือดออกตามไรฟัน คุณอาจจะมีอาการเลือดออกตามไรฟัน หากคุณมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ แปรงฟันแรงเกินไปหรือขนแปรงสีฟันไม่นุ่มพอ เพิ่งเริ่มใช้ไหมขัดฟัน เหงือกจึงยังไม่คุ้นเคย รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เหงือกอักเสบเนื่องจากตั้งครรภ์ ฟันปลอมไม่พอดีกับเหงือก นอกจากนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ เหงือกอักเสบ (Gingivitis) เลือดออกตามไรฟันเป็นสัญญาณเตือนของโรคเหงือกอักเสบ หรือเกิดการอักเสบบริเวณเหงือก พบได้ทั่วไปและเป็นอาการเหงือกอักเสบที่ไม่รุนแรง สาเหตุเกิดจากการก่อตัวของคราบหินปูนบริเวณไรฟัน หากคุณมีอาการเหงือกอักเสบ สังเกตได้จากเหงือกเกิดการระคายเคือง แดง และบวม หรืออาจมีเลือดออกขณะแปรงฟัน คุณสามารถขจัดปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยฟันของคุณให้ดี โดยการแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน และใช้ไหมขัดฟันทุกวัน รวมทั้งบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมที่ต้านแบคทีเรีย และพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ โรคปริทนต์ (Periodontitis) หากคุณปล่อยปละละเลยอาการเหงือกอักเสบ นั่นอาจเป็นสาเหตุของภาวะลุกลามที่นำไปสู่โรคที่เรียกว่า ปริทนต์ (periodontitis) คือ อาการเรื้อรังที่เหงือกถูกทำลายลงไปถึงระดับเนื้อเยื่อและกระดูกที่คอยพยุงฟัน หากคุณมีอาการของโรคปริทนต์ เหงือกของคุณจะอักเสบและติดเชื้อ ลุกลามไปจนถึงระดับรากฟัน หากเหงือกของคุณเลือดออกได้ง่าย อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคปริทนต์ คุณอาจต้องสูญเสียฟันหรือฟันผิดรูป อาจมีกลิ่นปาก การรับรสที่ผิดเพี้ยน การสบฟันที่ผิดปกติ เหงือกบวมแดงและอักเสบ หากไม่ทำการรักษาโรคปริทนต์ คุณอาจต้องสูญเสียฟันบางส่วน เบาหวาน (Diabetes) เลือดออกตามไรฟัน หรือเหงือกบวมนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวานประเภทที่ […]


การทดสอบทางการแพทย์

การตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน (Home Lung Function Test)

การตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน เป็นการใช้เครื่องมือตรวจสภาพและการทำงานของปอด เพื่อตรวจและประเมินปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการหายใจที่คุณอาจมีในแต่ละวัน ข้อมูลพื้นฐานการตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน คืออะไร การตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน (Home Lung Function Test) เป็นการใช้เครื่องมือมาตรฐานในการประเมินการทํางานของปอด (peak flow meter หรือ home spirometer) เพื่อตรวจและประเมินปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการหายใจที่คุณอาจมีในแต่ละวัน เครื่องมือนี้ช่วยให้คุณวัดปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงในวินาทีที่ 1 (ค่า Forced Expiratory Volume at 1 second หรือ FEV1) ได้ หากคุณเป็นโรคปอด เช่น หอบหืด แพทย์อาจตรวจหาอัตราการไหลของอากาศหายใจเข้าที่สูงที่สุด (ค่า peak inspiratory flow หรือ PIF) และอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด  ( ค่า peak expiratory flow หรือ PEF) เพื่อวัดปริมาณอากาศที่คุณสามารถหายใจเข้าและหายใจออก ซึ่งเป็นการตรวจการทำงานของปอดที่สมบูรณ์มากขึ้น ความจำเป็นของการตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน การตรวจวัดปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงในวินาทีที่ 1 หรืออัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดที่บ้าน มีประโยชน์ดังนี้ เพื่อตรวจว่าปอดของผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด นั้นทำงานได้ดีเพียงใด การวัดอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด จะให้ข้อมูลเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหอบหืดตัดสินใจเข้ารับการรักษาที่ดีขึ้นได้ เพื่อตรวจสอบสมรรถภาพการทำงานของปอดอย่างสม่ำเสมอ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน