การทดสอบทางการแพทย์

เมื่อคุณอยากรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร การทดสอบทางการแพทย์ คืออีกหนึ่งช่องทางที่จะให้คำตอบแก่คุณได้ แต่การทดสอบทางการแพทย์มีอะไรบ้าง ต้องมาติดตามกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)

การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนต้องตระหนัก โดยเฉพาะการตรวจสุขภาพหัวใจ เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่คอยเชื่อมกับระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในเอาไว้ด้วยกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย ที่เป็นอีกเทคนิคทางการแพทย์ ช่วยวัดประสิทธิภาพของหัวใจ มาฝากกันค่ะ การ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย คืออะไร การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST) เป็นการทดสอบอัตราการเต้นของหัวใจของคุณว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีอาการผิดปกติใด ๆ หรือไม่ แต่ในการทดสอบนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คุณออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น วิ่ง เดินลู่วิ่ง ใช้เครื่องปั่นจักรยาน ประมาณ 10-15 นาทีด้วยกัน โดยอาจมีพัก 3 นาที เพื่อตรวจสอบการหายใจ ในช่วงที่คุณออกกำลังกายเพื่อทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย แพทย์จะติดอุปกรณ์ทดสอบที่เรียกกว่า แผ่นอิเล็กโทรดที่เชื่อมโยงกับหน้าจอแสดงผล ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา หน้าอก เพื่อให้เห็นอัตราการเต้นของหัวใจ และบันทึกกราฟ หรือตัวเลขเอาไว้ให้เป็นข้อมูล […]

สำรวจ การทดสอบทางการแพทย์

การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Test)

ตรวจไวรัสตับอักเสบบี เป็นการตรวจหาสารต่างๆ ในเลือด ที่แสดงให้เห็นว่า การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีกำลังเกิดขึ้นหรือได้เกิดขึ้นในอดีต ข้อมูลพื้นฐาน การ ตรวจไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร ตรวจไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus Test ; HBV test) เป็นการตรวจหาสารต่างๆ ในเลือด ที่แสดงให้เห็นว่า การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีกำลังเกิดขึ้นหรือได้เกิดขึ้นในอดีตหรือไม่ การทดสอบนี้เป็นการตรวจหาสิ่งบ่งชี้ของการติดเชื้อต่างๆ (markers) ได้แก่ แอนติเจนเป็นสิ่งบ่งชี้ที่เกิดจากแบคทีเรียหรือไวรัส ดังนั้น การเกิดขึ้นของ HBV antigens หมายความว่ามีไวรัสอยู่ในร่างกาย แอนติบอดีเป็นโปรตีนที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้น เพื่อต้านการติดเชื้อ การเกิดขึ้นของ HBV antibodies หมายความว่า คุณได้สัมผัสไวรัสตับอักเสบบีมาในช่วงเวลาหนึ่ง แต่คุณอาจมีการติดเชื้อมาเป็นเวลานานแล้ว และมีอาการดีขึ้นแล้ว หรืออาจมีอาการติดเชื้อที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ สารพันธุกรรม (DNA) ของไวรัสตับอักเสบบีแสดงว่า มีไวรัสอยู่ในร่างกาย จำนวน DNA สามารถช่วยบอกได้ว่า อาการติดเชื้อมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใดและการตรวจไวรัสตับอักเสบบีสามารถแพร่กระจายได้ง่ายเพียงใด เป็นสิ่งสำคัญในการระบุประเภทของไวรัสตับอักเสบ ที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม กลุ่มการทดสอบที่มักใช้ในการทดสอบเบื้องต้น ได้แก่ การตรวจ Hepatitis B surface antigen (HBsAG)    ตรวจจับโปรตีนที่อยู่บนพื้นผิวของไวรัส เพื่อตรวจคัดกรอง ตรวจจับ และช่วยวินิจฉัยอาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเฉียบพลันและเรื้อรัง กล่าวคือเป็นสิ่งบ่งชี้ปกติในระยะแรกสุดของตับอักเสบบีเฉียบพลัน และมักระบุผู้ติดเชื้อก่อนมีอาการ โดยไม่สามารถตรวจจับได้ในเลือดในระหว่างพักฟื้น เป็นวิธีเบื้องต้นในการจำแนกผู้ป่วยติดเชื้อเรื้อรัง […]


การทดสอบทางการแพทย์

ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง (History And Physical Exam For Low Back Pain)

ข้อมูลพื้นฐานการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง (History And Physical Exam For Low Back Pain) คืออะไร ก่อนที่แพทย์จะสามารถวินิจฉัยอาการของคุณ และกำหนดแผนการรักษา การซักประวัติสุขภาพ และการตรวจร่างกายอย่างครบถ้วน ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากผลการทดสอบเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์สามารถทราบว่า อาการปวดหลังและอาการอื่นๆ ของคุณ เกี่ยวข้องกับการกดทับเส้นประสาทหรือไม่ และเส้นประสาทเส้นใดที่ถูกกดทับ ซึ่งแพทย์จะใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อช่วยกำหนดว่าการรักษาประเภทใดที่มีโอกาสได้ผลมากที่สุด และเป็นประโยชน์ต่อคุณมากที่สุด เหตุผลในการตรวจ การซักประวัติและการตรวจร่างกาย เป็นส่วนแรกในการจัดการอาการเกี่ยวกับหลังส่วนล่าง แพทย์อาจเปลี่ยนหรือข้ามการทดสอบบางประการ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้หลังบาดเจ็บในอนาคต ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง อาการปวดเกี่ยวข้องกับสาเหตุทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณมีความเครียด กล้ามเนื้อตึงหรือกล้ามเนื้อเกร็งสามารถเกิดขึ้นที่หลังได้ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดหรือมีอาการแย่ลง หากคุณหรือแพทย์ที่ทำการรักษารู้สึกว่า อาการปวดเกิดจากหรือมีอาการแย่ลงจากความเครียด ความโกรธ หรืออารมณ์ที่ยุ่งยากอื่นๆ ให้วางแผนเข้ารับการรักษาเฉพาะทาง การบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive-behavioral therapy) และการสร้างความสมดุลของร่างกาย (biofeedback) เป็นการรักษาสองประเภทที่เป็นเครื่องมือในการจัดการอาการปวด ขั้นตอนการตรวจการเตรียมตัวเพื่อการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง คุณควรเตรียมข้อมูลที่สมบูรณ์และละเอียดจากการวินิจฉัยและการรักษาที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าโรคหนึ่งหายขาดแล้ว หรือดูไม่สำคัญสำหรับคุณ แต่การรู้เกี่ยวกับอาการดังกล่าว อาจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนล่างได้ นอกจากนี้ การรู้เกี่ยวกับอาการทางสุขภาพในอดีตและปัจจุบันทั้งหมดของคุณ จะช่วยให้แพทย์หาวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพของคุณ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติสุขภาพของคุณ คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาชนิดต่างๆ ที่คุณใช้อยู่ เป็นการดีที่สุดที่จะนำรายการชื่อยาและขนาดยาล่าสุดของยาทั้งหมดที่ใช้อยู่มาด้วย ขั้นตอนการซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง ประการแรก คุณจะได้รับการซักประวัติสุขภาพของคุณ เกี่ยวกับอาการอย่างครบถ้วน […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Eye Angiogram)

ตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Eye Angiogram) เป็นหัตถการเพื่อตรวจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับดวงตา โดยการฉีดสีฟลูออเรสเซนต์เข้าไปในกระแสเลือด เพื่อให้สามารถถ่ายภาพติดได้   ข้อมูลพื้นฐานตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Eye angiogram) คืออะไร การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Fluorescein angiogram) เป็นหัตถการเพื่อตรวจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับดวงตา โดยการฉีดสีฟลูออเรสเซนต์เข้าไปในกระแสเลือด สีฟลูออเรสเซนต์จะทำให้เกิดสีที่หลอดเลือดบริเวณด้านหลังดวงตาเพื่อให้สามารถถ่ายภาพติดได้ การทดสอบนี้มักใช้เพื่อจัดการอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา โดยแพทย์อาจสั่งให้มีการทดสอบเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เพื่อกำหนดวิธีการรักษาที่เหมาะสม หรือเพื่อเฝ้าระวังอาการเกี่ยวกับหลอดเลือดบริเวณด้านหลังดวงตา ความจำเป็นใน การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี การทดสอบดำเนินการเพื่อดูว่า มีกระแสเลือดที่เหมาะสม ในหลอดเลือดด้านหลังดวงตาทั้งสองชั้นหรือไม่ (The retina and choroid) และการทดสอบนี้ยังสามารถใช้เพื่อวินิจฉัยปัญหาในดวงตา เพื่อดูว่าการรักษาดวงตาบางประเภทได้ผลดีหรือไม่ ข้อควรรู้ก่อนการตรวจข้อควรรู้ก่อนตรวจจอประสาทตา แพทย์ส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนให้ใช้ การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี นี้กับหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากสีสามารถส่งต่อไปยังลูกผ่านทางน้ำนมได้ จึงไม่ปลอดภัยที่จะให้นมบุตรเป็นเวลา 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังการทดสอบนี้ และควรใช้อุปกรณ์ปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า และทิ้งนมที่ปั๊มออกมาจนกว่าจะปลอดภัย แล้วจึงเริ่มให้นมบุตรอีกครั้ง หรืออาจต้องปั๊มและเก็บน้ำนมเป็นเวลาหลายวัน ก่อนการทดสอบ หรือใช้นมผงในระหว่างช่วงเวลานี้ สีที่ฉีดเข้าไปจะถูกกรองผ่านไตและขับออกจากร่างกาย ผ่านทางปัสสาวะภายในเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง โดยปัสสาวะอาจมีสีเหลืองหรือสีส้มสว่าง และสีที่เรียกว่า Indocyanine green พบว่าให้ผลดีกว่าในการตรวจหาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาบางประเภท และอาจใช้แทนสารฟลูออเรสซีน เพื่อให้แพทย์สามารถดูได้ว่าหลอดเลือดใต้เรตินารั่วหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบ การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี […]


การทดสอบทางการแพทย์

อัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ (Cranial Ultrasound)

อัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ เป็นการใช้คลื่นเสียงสะท้อน เพื่อสร้างภาพถ่ายสมอง และบริเวณกักเก็บของเหลวในโพรงสมอง ที่น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังไหลผ่าน   คำจำกัดความการตรวจ อัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ (Cranial Ultrasound) คืออะไร  การตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ (cranial ultrasound) ใช้คลื่นเสียงสะท้อนเพื่อสร้างภาพถ่ายสมองและบริเวณกักเก็บของเหลวในโพรงสมองที่น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังไหลผ่าน การทดสอบนี้มักดำเนินการในเด็กเพื่อประเมินอาการแทรกซ้อนของการคลอดก่อนกำหนด ส่วนในผู้ใหญ่นั้น การตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกอาจดำเนินการเพื่อแสดงให้เห็นก้อนสมองในระหว่างการผ่าตัด   คลื่นอัลตราซาวด์ไม่สามารถผ่านกระดูกได้ จึงไม่สามารถทำการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อประเมินสมองได้หลังจากที่กระดูกหุ้มสมอง (cranium) เชื่อมต่อกันสนิทแล้ว การตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกสามารถดำเนินการได้ในทารกก่อนที่กระดูกกะโหลกศีรษะเจริญเติบโตเต็มที่ ส่วนในผู้ใหญ่จะทำหลังจากผ่าตัดเปิดกะโหลกแล้ว การทดสอบนี้อาจใช้ประเมินอาการผิดปกติในสมองและโพรงสมองในทารกแรกเกิดไปจนอายุประมาณ 18 เดือน การอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะสำหรับทารก อาการแทรกซ้อนของการคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ อาการ periventricular leukomalacia (PVL) และเลือดออกในสมอง ซึ่งได้แก่อาการเลือดออกในโพรงสมอง (intraventricular hemorrhage: IVH) อาการ PVL เป็นภาวะหนึ่งที่เนื้อเยื่อสมองรอบโพรงสมองได้รับความเสียหายซึ่งอาจเกิดจากออกซิเจนหรือกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงสมองน้อยลง โดยอาจเกิดขึ้นก่อน ในระหว่าง หรือหลังการคลอดก็ได้ อาการ IVH และ PVL จะเพิ่มความเสี่ยงของความพิการในทารก ซึ่งอาจปราฏอาการได้หลากหลาย ตั้งแต่อาการที่ไม่รุนแรงเกี่ยวกับการเรียนรู้หรืออาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่เติบโตช้า (gross motor delays) ไปจนถึงอาการสมองพิการ (cerebral palsy) หรือความพิการทางสติปัญญา […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจหมู่โลหิต (Blood Typing)

ตรวจหมู่โลหิต ใช้เพื่อระบุหมู่โลหิตของผู้ป่วยก่อนให้หรือรับเลือด และเพื่อระบุหมู่เลือดของผู้ที่ต้องการมีบุตรเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเข้ากันไม่ได้ของ Rh ระหว่างมารดาและบุตร ข้อมูลพื้นฐาน การ ตรวจหมู่โลหิต คืออะไร ในเลือดหมู่ต่างๆ นั้น มีสารชีวเคมีหรือแอนติเจน ABO (ABO antigens) และ Rh เป็นตัวจำแนกหมู่เลือด โดยสามารถตรวจสอบเลือดของผู้บริจาคและเลือดของผู้ที่อาจจะรับบริจาค เพื่อดูการเข้ากันของเลือด นอกจากนี้ การทดสอบนี้ใช้ระบุหมู่เลือดของหญิงตั้งครรภ์และทารกเกิดใหม่ได้ด้วยบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับหมู่เลือดระบบ ABO และระบบ Rh ตลอดจนปฏิกิริยาข้ามกัน (cross-reactions) ระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดีที่เกิดขึ้น เมื่อมีความไม่เข้ากันของหมู่เลือดต่างกลุ่ม หรือต่างระบบกัน เลือดของมนุษย์ได้รับการจัดหมวดหมู่ตามการมีหรือไม่มีของแอนติเจนเอและบี ในเลือดกรุ๊ปเอ เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงจะประกอบด้วยแอนติเจนเอ ในเลือดกรุ๊ปบี เยื่อเม็ดเลือดแดงหมู่บีประกอบด้วยแอนติเจนบี ส่วนกรุ๊ปเลือดเอบี จะมีทั้งแอนติเจนเอและบีที่พื้นผิวของเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง ในขณะที่เลือดกรุ๊ปโอ จะไม่มีทั้งแอนติเจนเอและบีที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงเลย โดยปกติแล้ว ซีรัมในเลือดของบุคคลหนึ่งจะประกอบด้วยแอนติบอดีที่เข้ากันกับแอนติเจนบนเซลล์เม็ดเลือดแดง หมายความว่าแอนติเจนเอ (หมู่เลือดเอ) จะไม่มีแอนติบอดี anti-A แต่จะมีแอนติบอดี anti-B ในทางกลับกัน ผู้ที่มีแอนติเจนบีจะไม่มีแอนติบอดี anti-B แต่จะมีแอนติบอดี anti-A ส่วนเลือดกรุ๊ปโอจะมีสารแอนติบอดีทั้ง anti-A และ anti-B โดยแอนติบอดีเหล่านี้จะผลิตขึ้นในสามเดือนแรกหลังคลอดโดยการสัมผัสกับสารแวดล้อม เช่น แอนติเจนจากเม็ดเลือดแดง หรือแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร การถ่ายเลือด หมายความถึง […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจสารเคมีในเลือด (Blood Chemistry Screen)

ตรวจสารเคมีในเลือด เป็นการตรวจเลือดประเพื่อวัดระดับของสารต่างๆ ในเลือด (เช่น อิเล็กโทรไลต์) การตรวจสารเคมีในเลือดทำให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป ช่วยตรวจหาอาการบางประการ ตลอดจนประเมินผลของการรักษาสำหรับอาการเฉพาะ [embed-health-tool-bmr] ข้อมูลพื้นฐาน การ ตรวจสารเคมีในเลือด คืออะไร การตรวจสารเคมีในเลือด (Chemistry screen) เป็นการตรวจเลือดประเพื่อวัดระดับของสารต่างๆ ในเลือด (เช่น อิเล็กโทรไลต์) การตรวจสารเคมีในเลือดทำให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป ช่วยตรวจหาอาการบางประการ ตลอดจนประเมินผลของการรักษาสำหรับอาการเฉพาะ กระบวนการทั่วไปของการตรวจเลือดนี้ เป็นการวัดระดับของอิเล็กโตรไลต์ที่สำคัญและสารเคมีอื่นๆ ได้แก่ กลูโคส หรือ น้ำตาลในเลือดจะถูกย่อยในระดับเซลล์เพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย ระดับกลูโคสที่สูงขึ้นอาจเกิดจากเบาหวานหรือยาชนิดต่างๆ เช่น สเตียรอยด์ ระดับโซเดียม ในเลือดแสดงให้เห็นถึงสมดุลระหว่างการบริโภคโซเดียมและน้ำและการขับถ่าย ระดับโซเดียมที่ผิดปกติในเลือดอาจแสดงให้เห็นถึงการทำหน้าที่ผิดปกติของหัวใจหรือไตหรือภาวะขาดน้ำ โพแทสเซียม มีบทบาทสำคัญในการควบคุมกิจกรรมของกล้ามเนื้อ ซึ่งได้แก่ การหดตัวของหัวใจ ภาวะไตล้มเหลว รวมทั้งอาเจียนหรือท้องร่วงอาจทำให้มีระดับโพแทสเซียมที่ผิดปกติ ระดับคลอไรด์ อาจสูงขึ้นและลดลงในทิศทางเดียวกันกับระดับโซเดียมเพื่อคงสมดุลของประจุไฟฟ้า อาการผิดปกติหลายประการอาจเปลี่ยนแปลงระดับคลอไรด์ ซึ่งได้แก่ การทำงานที่ผิดปกติของไต โรคเกี่ยวกับต่อมหมวกไต อาเจียน ท้องร่วง และหัวใจวาย คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทำหน้าที่เป็นระบบบัฟเฟอร์เพื่อช่วยคงสมดุลกรด-เบสของเลือด โดยโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ (Respiratory disease) อาการผิดปกติของไต อาเจียนรุนแรง ท้องร่วง และติดเชื้อรุนแรงมากสามารถทำให้เกิดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดที่ผิดปกติได้ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว (Contraction Stress Test)

การ ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว (Contraction Stress Test) เป็นการตรวจเพื่อดูว่าว่าทารกในครรภ์จะปลอดภัยหรือไม่ เมื่อมดลูกหดรัดตัวระหว่างการคลอด ข้อมูลพื้นฐานการ ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว คืออะไร การตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว หรือการประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูก (Contraction Stress Test หรือ CST) เป็นการตรวจเพื่อประเมินว่าทารกในครรภ์จะปลอดภัยหรือไม่ในระหว่างที่ระดับออกซิเจนลดลงซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อมดลูกหดรัดตัวระหว่างการคลอด โดยเป็นการตรวจดูการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์จากภายนอก และมักทำการทดสอบเมื่อมีอายุครรภ์ 34 สัปดาห์หรือมากกว่า ในระหว่างมดลูกหดรัดตัว เลือดและออกซิเจนที่ไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์จะลดลงเป็นเวลาสั้นๆ สิ่งนี้ไม่ใช่ปัญหาสำหรับทารกส่วนใหญ่ แต่อัตราการเต้นของหัวใจของทารกบางรายอาจมีค่าช้าลง การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจนี้สามารถมองเห็นได้จากอุปกรณ์แสดงภาพจากภายนอก การตรวจสอบนี้ จะมีการให้ฮอร์โมนออกซิโทซิน (oxytocin) ผ่านทางหลอดเลือดดำ (intravenously หรือ IV) ของมารดา เพื่อทำให้มดลูกหดตัวเสมือนการคลอด หรืออาจมีการนวดหัวนมเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายปลดปล่อยฮอร์โมนออกซิโทซินออกมา หากอัตราการเต้นของหัวใจของทารกช้าลงหลังมดลูกบีบรัดตัว แสดงว่าทารกอาจมีปัญหาเกี่ยวกับแรงกดทับในการคลอดตามธรรมชาติ การตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว มักกระทำเมื่อหญิงตั้งครรภ์มีผลการตรวจความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นหัวใจ (Non-stress test) และการตรวจความสมบูรณ์ของทารก (biophysical profile) ผิดปกติ การตรวจความสมบูรณ์ของทารกทำได้โดยการอัลตราซาวด์เพื่อวัดลักษณะทางร่างกายของทารก ความจำเป็นในการ ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว การตรวจสอบภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ขณะมีการบีบตัวของมดลูกมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ เพื่อประเมินว่าทารกในครรภ์จะปลอดภัยหรือไม่ เมื่อมดลูกบีบตัวและระดับออกซิเจนลดลงระหว่างการคลอด ประเมินว่ารกแข็งแรงพอที่จะพยุงตัวทารกได้ การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์อาจดำเนินการเมื่อพบว่ามีผลการตรวจภาวะสุขภาพทารกในครรภ์แบบไม่มีแรงกดทับที่ตัวทารก (Non-stress test) หรือการตรวจความสมบูรณ์ของทารกผิดปกติ ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการ ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว ในบางกรณี การตรวจภาวะสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมีการบีบตัวของมดลูกอาจแสดงผลว่าการเต้นของหัวใจทารกช้าลง ทั้งๆ ที่ทารกไม่ได้มีอาการผิดปกติใดๆ กรณีนี้เรียกว่าผลบวกลวง ในปัจจุบัน การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ประเภทนี้ไม่เป็นที่นิยมนัก […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (Glycohemoglobin Test)

การ ตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (glycohemoglobin test) เป็นการตรวจเลือดประเภทหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือด ข้อมูลพื้นฐานการ ตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด คืออะไร การ ตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (glycohemoglobin test) หรือที่เรียกกันติดปากว่าการตรวจ “ฮีโมโกลบิน เอวันซี” (hemoglobin A1c) เป็นการตรวจเลือดประเภทหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบปริมาณน้ำตาล (กลูโคส) ที่จับตัวกับฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อฮีโมโกลบินและกลูโคสจับตัวกัน น้ำตาลจะเคลือบฮีโมโกลบิน ยิ่งปริมาณน้ำตาลในเลือดมากเท่าไหร่ รอยเคลือบก็จะยิ่งมีชั้นหนาขึ้นเท่านั้น การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด เป็นการวัดความหนาของรอยเคลือบในช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเท่ากับอายุขัยของเซลล์เม็ดเลือดแดง ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือมีภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นมักพบว่ามีค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (น้ำตาลที่ติดอยู่กับฮีโมโกลบิน) มากกว่าปกติ นอกจากนี้ การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด ยังสามารถใช้วินิจฉัยภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) หรือเบาหวาน (Diabetes) ได้ โดยเป็นการตรวจสอบการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาวในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แพทย์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด หรือการตรวจหาระดับเอซีวันนี้ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมเบาหวานได้ดีเพียงใด การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองที่บ้านถือเป็นการวัดระดับน้ำตาลในเลือดในขณะหนึ่งเท่านั้น ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดสามารถเปลี่ยนแปลงในระหว่างวันจากสาเหตุหลายประการ เช่น การใช้ยา อาหาร การออกกำลังกาย และระดับอินซูลินในเลือด สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน มีข้อแนะนำว่า ควรต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาว ซึ่งผลการตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือดจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยแปรผันต่าง ๆ เช่น อาหาร การออกกำลังกาย […]


การทดสอบทางการแพทย์

การตรวจความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blood Pressure Test)

คำจำกัดความการตรวจความดันโลหิตที่บ้าน คืออะไร การตรวจความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blood Pressure Test) ช่วยให้ติดตามค่าความดันโลหิตที่บ้านได้ด้วยตัวเอง โดยเป็นการวัดแรงดันของเลือดภายในหลอดเลือด คนส่วนใหญ่ใช้เครื่องมืออัตโนมัติเพื่อวัดความดันโลหิตที่บ้าน เครื่องมือนี้ทำงานโดยการเป่าลมเข้าไปยังสายรัดแขนที่จะใช้พันรอบแขนส่วนบนเพื่อหยุดกระแสเลือดในหลอดเลือดชั่วคราว ในขณะที่อากาศถูกปล่อยจากผ้ารัดแขนอย่างช้าๆ เครื่องมือวัดความดันโลหิตจะบันทึกค่าความดันขณะที่เลือดเริ่มไหลเวียนอีกครั้ง ความดันโลหิตจะถูกบันทึกเป็นสองค่า ตัวเลขแรกเป็นค่าความดันซิสโตลิก (systolic pressure) หมายถึงค่าความดันโลหิตสูงสุดที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัว ตัวเลขที่สองเป็นค่าความดันไดแอสโตลิก (diastolic pressure) หมายถึงค่าความดันโลหิตต่ำสุดที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจคลายตัวในระหว่างการเต้นของหัวใจ ค่าความดันโลหิตสองประการนี้แสดงเป็นหน่วยมิลลิเมตรของปรอท (mm Hg) เนื่องจากเครื่องมือดั้งเดิมที่ใช้วัดความดันโลหิตเป็นการใช้ปรอท ค่าความดันโลหิตบันทึกเป็น systolic/diastolic เช่น หากค่าความดันซิสโตลิกมีค่าเป็น 120 mm Hg และค่าความดันไดแอสโตลิกมีค่าเป็น 80 mm Hg ค่าความดันโลหิตของคุณบันทึกเป็น 120/80 เครื่องมือวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ เครื่องมือวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องมือวัดความดันโลหิตอิเล็กทรอนิกส์หรือดิจิทัล เป็นเครื่องมือวัดความดันโลหิตแบบใช้แบตเตอรี่ที่ใช้ไมโครโฟนเพื่อจับจังหวะการไหลเวียนเลือด สายรัดแขน ซึ่งใช้พันโดยรอบแขนส่วนบนจะมีการดูดลมเข้าและปล่อยลมออกโดยอัตโนมัติเมื่อกดปุ่มเริ่มการทำงาน เครื่องมือวัดความดันโลหิตที่พบได้ทั่วไปในซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา และชอปปิงมอลล์เป็นเครื่องมือแบบอัตโนมัติ ส่วนเครื่องมือวัดความดันโลหิตที่วัดค่าบริเวณนิ้วมือหรือข้อมือมักแสดงผลไม่แม่นยำและไม่แนะนำให้ซื้อ เครื่องมือวัดความดันโลหิตแบบธรรมดา เครื่องมือวัดความดันโลหิตแบบธรรมดาคล้ายคลึงกับเครื่องมือที่แพทย์ใช้เครื่องมือดังกล่าวที่เรียกว่าเครื่องวัดความดันชนิดปรอท (Sphygmomanometer) มักประกอบด้วยสายรัดแขน หลอดสำหรับบีบเพื่อเป่าลมเข้าสายรัดแขน เครื่องมือฟังเสียงหัวใจ (stethoscope หรือ microphone) และมาตรวัดเพื่อวัดความดันโลหิต การวัดความดันโลหิตทำได้โดยการหยุดการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดชั่วคราว (มักทำโดยการเป่าเข้าผ้ารัดแขนที่ใช้พันรอบแขนส่วนบน) จากนั้นวางเครื่องมือฟังเสียงหัวใจลงบนผิวหนังเหนือหลอดเลือดสามารถเริ่มฟังเสียงเลือดที่เริ่มไหลเวียนผ่านหลอดเลือดอีกครั้งในขณะที่ปล่อยอากาศออกจากสายรัดแขน ความดันโลหิตจะแสดงเห็นได้ในหน้าปัดรูปวงกลมที่มีเข็มชี้ ในขณะที่ความดันในสายรัดแขนเพิ่มขึ้น เข็มบนหน้าปัดจะเคลื่อนที่ตามเข็มนาฬิกา ในขณะที่ความดันของสายรัดแขนลดลง เข็มจะเคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกา […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone Test)

ข้อมูลพื้นฐานการตรวจโกรทฮอร์โมน คืออะไร การตรวจโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone Test) เป็นการตรวจวัดปริมาณโกรทฮอร์โมน (GH) ในเลือดของมนุษย์ โกรทฮอร์โมนถูกสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทั้งยังมีบทบาทสำคัญต่อระบบเผาผลาญของร่างกายด้วย การออกกำลังกาย การนอน ความตึงเครียดทางอารมณ์ และอาหาร สามารถทำให้ปริมาณโกรทฮอร์โมนในเลือดเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างวัน โกรทฮอร์โมนปริมาณมากเกินไปในวัยเด็กจะทำให้เด็กเจริญเติบโตมากกว่าปกติ (Gigantism) ในขณะที่โกรทฮอร์โมนปริมาณน้อยเกินไปในวัยเด็กจะทำให้เด็กเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ (Dwarfism) แต่ภาวะทั้งสองประการนี้สามารถรักษาได้หากตรวจพบแต่เนิ่นๆ ในผู้ใหญ่นั้น โกรทฮอร์โมนในปริมาณมากเกินไปเกิดจากมีเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งบริเวณต่อมใต้สมอง ซึ่งส่งผลให้กระดูกใบหน้า ขากรรไกร มือ และเท้า มีขนาดใหญ่กว่าปกติ (Acromegaly) โกรทฮอร์โมนทำให้เกิดการปลดปล่อยสารอื่นๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและระบบเผาผลาญของร่างกาย หนึ่งในสารเหล่านี้ คือ ตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน (Insulin-like growth factor 1 หรือ IGF-1) เมื่อระดับโกรทฮอร์โมนมีค่าสูงมาก ระดับ IGF-1 ก็จะสูงมากด้วยเช่นกัน โดยอาจมีการตรวจหา IGF-1 ร่วมด้วยเพื่อยืนยันระดับโกรทฮอร์โมนที่สูงขึ้น ความจำเป็นในการ ตรวจโกรทฮอร์โมน การตรวจโกรทฮอร์โมนมักทำในเด็กที่มีสิ่งบ่งชี้และอาการของภาวะขาดโกรทฮอร์โมน (growth hormone deficiency (GHD)  เช่น อัตราการเจริญเติบโตที่ช้าลงในวัยเด็กตอนต้น ความสูงน้อยกว่าเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้ากว่าปกติ การเจริญเติบโตของกระดูกช้า โดยสามารถะระบุได้จากการเอ็กซเรย์ การตรวจโกรทฮอร์โมนอาจจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่เมื่อมีสิ่งบ่งชี้และอาการของภาวะขาดโกรทฮอร์โมน ภาวะต่อมใต้สมองทำงานต่ำ  เช่น ความหนาแน่นของกระดูกลดลง อ่อนเพลีย การเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันที่เป็นอันตราย เช่น คอเลสเตอรอลสูง ความอึดในการออกกำลังกายน้อยลง ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนเข้ารับก่อน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน