การทดสอบทางการแพทย์

เมื่อคุณอยากรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร การทดสอบทางการแพทย์ คืออีกหนึ่งช่องทางที่จะให้คำตอบแก่คุณได้ แต่การทดสอบทางการแพทย์มีอะไรบ้าง ต้องมาติดตามกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)

การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนต้องตระหนัก โดยเฉพาะการตรวจสุขภาพหัวใจ เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่คอยเชื่อมกับระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในเอาไว้ด้วยกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย ที่เป็นอีกเทคนิคทางการแพทย์ ช่วยวัดประสิทธิภาพของหัวใจ มาฝากกันค่ะ การ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย คืออะไร การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST) เป็นการทดสอบอัตราการเต้นของหัวใจของคุณว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีอาการผิดปกติใด ๆ หรือไม่ แต่ในการทดสอบนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คุณออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น วิ่ง เดินลู่วิ่ง ใช้เครื่องปั่นจักรยาน ประมาณ 10-15 นาทีด้วยกัน โดยอาจมีพัก 3 นาที เพื่อตรวจสอบการหายใจ ในช่วงที่คุณออกกำลังกายเพื่อทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย แพทย์จะติดอุปกรณ์ทดสอบที่เรียกกว่า แผ่นอิเล็กโทรดที่เชื่อมโยงกับหน้าจอแสดงผล ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา หน้าอก เพื่อให้เห็นอัตราการเต้นของหัวใจ และบันทึกกราฟ หรือตัวเลขเอาไว้ให้เป็นข้อมูล […]

สำรวจ การทดสอบทางการแพทย์

การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจวัดปริมาณไขมันดี (HDL Cholesterol Test)

ตรวจวัดปริมาณไขมันดี (HDL Cholesterol Test) เป็นการวัดระดับของคอเลสเตอรอลดีในเลือด แพทย์อาจสั่งให้มีการตรวจวัดไขมันดี เพื่อเป็นการติดตามผล จากการตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลที่อยู่ในระดับสูง   ข้อมูลพื้นฐานการ ตรวจวัดปริมาณไขมันดี คืออะไร ตรวจวัดปริมาณไขมันดี (HDL Cholesterol Test) เป็นการวัดระดับของคอเลสเตอรอลดีในเลือด ไขมันดี (HDL) คือ คอเลสเตอรอลไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง ไลโปโปรตีนประกอบด้วยโปรตีนและไขมัน ไขมันเอชดีแอล รู้จักกันในชื่อ คอเลสเตอรอลดี เนื่องจากไขมันชนิดนี้ดักเอาคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (LDL) ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันที่เป็นอันตรายและส่งไปที่ตับเข้าสู่กระบวนการ เมื่อไขมันดีเข้าสู่ตับ จากนั้นตับจะทำการย่อยไขมันไม่ดีให้อยู่ในรูปของน้ำดีและขับออกจากร่างกาย งานวิจัยเผยว่า ผู้ที่ระดับไขมันดีอยู่ในระดับที่เหมาะสม มีความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ในระดับต่ำ ความจำเป็นในตรวจวัดปริมาณไขมันดี แพทย์อาจสั่งให้มีการตรวจวัดไขมันดี เพื่อเป็นการติดตามผลจากการวัดระดับคอเลสเตอรอลที่อยู่ในระดับสูง การตรวจวัดไขมันดีมักทำควบคู่ไปกับการวัดระดับอื่น ๆ ด้วย เช่น คอเลสเตอรอลโดยรวม ไขมันเลว และไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการตรวจวัดค่าลิปิดโปรไฟล์ (lipid profile) ที่เป็นการตรวจสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ มีดังนี้ การสูบบุหรี่ อายุ (ชาย 45 ปีขึ้นไป หรือหญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป) ความดันโลหิตสูง (ระดับค่า 140/90 หรืออยู่ระหว่างการใช้ยารักษาอาการความดันโลหิตสูง) ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจก่อนวัย (สมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ (Anti-DNA Antibody Test)

ข้อมูลพื้นฐาน การตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ คืออะไร การตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ (Anti-DNA antibody test) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัย และติดตามอาการโรคภูมิแพ้ตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus หรือ SLE) ส่วนใหญ่แล้ว จะพบแอนติบอดีชนิดนี้ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตนเองจำนวนร้อยละ 65 ถึง 80 อาการของโรคภูมิแพ้ตนเอง คือ มีแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอในปริมาณสูง อย่างไรก็ตาม หากปริมาณความเข้มข้นของแอนติบอดีอยู่ในระดับกลางหรือต่ำ อาจหมายความว่าคุณไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ตนเอง เนื่องจาก ยังมีโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ ที่พบว่า เกี่ยวข้องกับระดับความเข้มข้นของแอนติบอดีอยู่ในระดับกลางหรือต่ำ ความจำเป็นในการ ตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ แพทย์จะเจาะจงการตรวจชนิดนี้ เมื่อคุณมีสัญญาณหรืออาการที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือมีผลการตรวจเอเอ็นเอ (ANA test) เป็นบวก อาการของโรคภูมิแพ้ตนเอง ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ ไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ผมร่วง น้ำหนักลด ผิวไวต่อแสง ปวดข้อ เหมือนอาการข้ออักเสบ แม้ไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ ชาหรือเสียวแปลบที่มือและเท้าเหมือนโดนเข็มทิ่ม การตรวจนี้สามารถใช้ในการติดตามและบ่งชี้อาการกำเริบของโรคลูปัสชนิดร้ายแรงได้ด้วย ข้อควรรู้ก่อนตรวจ ข้อควรรู้ก่อนการ ตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ คุณควรระวังปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการตรวจ ดังต่อไปนี้ หากคุณรับการตรวจด้วยรังสีภายใน 1 สัปดาห์ก่อนการตรวจหาแอนติบอดี ผลการตรวจอาจคลาดเคลื่อนได้ ยาชนิดต่างๆ อาจเพิ่มความเข้มข้นของแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ เช่น ไฮดราลาซีน (hydralazine) […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด (Activated Clotting Time)

การ ตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด (Activated Clotting Time) คือการตรวจสอบประสิทธิภาพของสารต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาเฮพาริน หรือยากลุ่มทรอมบินอินฮิบิเตอร์ [embed-health-tool-bmi] ข้อมูลพื้นฐาน การตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด คืออะไร การตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด (Activated clotting time หรือ ACT) เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของสารต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาเฮพาริน (heparin) หรือยากลุ่มทรอมบินอินฮิบิเตอร์ (thrombin inhibitors) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการผ่าตัดขยายเส้นเลือด (angioplasty) การฟอกไต (kidney dialysis) และการผ่าตัดบายพาสหัวใจ (CPB) การตรวจชนิดนี้จะวัดระยะเวลาการแข็งตัวของเลือด หลังจากให้สารกระตุ้น แพทย์จะติดตามอาการของคุณในขณะที่คุณเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาเฮพาริน การตรวจวัดการสร้างสภาวะลิ่มเลือด (Activated Partial Thromboplastin Time หรือ APTT) และการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด (ACT) จะใช้เพื่อติดตามอาการของผู้ที่กำลังรักษาด้วยยาเฮพาริน จากการเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Cardiopulmonary Bypass หรือ CPB) แต่การตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด มีข้อดีมากกว่าการตรวจวัดการสร้างสภาวะลิ่มเลือด ประการแรก การตรวจวัดการแข็งตัวของเลือดให้ผลที่แน่นอนกว่า เมื่อมีการให้ยาเฮพารินเพื่อต้านการแข็งตัวของเลือดในปริมาณสูง วิธีการนี้มีประโยชน์ในกรณีที่มีการใช้ยาเฮพารินปริมาณสูง เช่น การทำบายพาสหัวใจ ซึ่งต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดมากกว่าลิ่มเลือดถึง 10 […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจดูมุมตา (Gonioscopy)

การ ตรวจดูมุมตา (Gonioscopy) เป็นการตรวจเพื่อดูว่าบริเวณที่มีของเหลวไหลออกจากดวงตา  มีการเปิดหรือปิด การตรวจขึ้นอยู่กับอายุและความเสี่ยงในการเป็นต้อหิน ข้อมูลพื้นฐานการตรวจดูมุมตาคืออะไร การตรวจดูมุมตา (Gonioscopy) เป็นการตรวจตาประเภทหนึ่งที่บริเวณดวงตาส่วนหน้า (anterior chamber) ระหว่างกระจกตาและม่านตา เพื่อดูว่า มุมระบายของเหลวของตา (drainage angle) อยู่ในลักษณะปกติหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มุมระบายของเหลวของตานั้นจะค่อนข้างเปิดกว้าง ส่วนใหญ่คือ 45 องศา และไม่ตีบตัน โดยปกติแล้ว การตรวจดูมุมตา มักดำเนินการในระหว่างการตรวจตาปกติ ขึ้นอยู่กับอายุ และความเสี่ยงในการเกิดต้อหิน (glaucoma) หากแพทย์เห็นว่าคุณควรได้รับการตรวจหาต้อหิน ก็จะทำการตรวจดูมุมตาของคุณ ต้อหินเป็นโรคตาประเภทหนึ่งที่อาจทำลายเส้นประสาทดวงตาจนส่งผลให้ตาบอดได้ หากคุณเป็นต้อหิน การตรวจดูมุมตาสามารถช่วยให้จักษุแพทย์มองเห็นว่าคุณเป็นต้อหินประเภทใด ความจำเป็นในการ ตรวจดูมุมตา แพทย์จะทำการตรวจดูมุมตา ในกรณีต่อไปนี้ ตรวจหาต้อหินที่บริเวณดวงตาด้านหน้า ตรวจสอบว่าบริเวณมุมระบายของเหลวของตามีการปิดหรือเกือบปิดหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยว่าคุณเป็นต้อหินประเภทใด นอกจากนี้ การตรวจมุมดวงตายังสามารถตรวจหาพังผืดหรือความเสียหายอื่นๆ ที่มีต่อบริเวณมุมระบายของเหลวของตาได้ด้วย การรักษาต้อหิน – ในระหว่างการตรวจดูมุมตา แพทย์จะฉายเลเซอร์ผ่านเลนส์พิเศษที่มุมระบายของเหลวของตา การรักษาด้วยเลเซอร์สามารถลดความดันลูกตาและช่วยควบคุมต้อหินได้ ตรวจหาความผิดปกติแต่กำเนิด (birth defects) ที่อาจทำให้เกิดต้อหิน ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อน ตรวจดูมุมตา คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจอื่นๆ เพื่อตรวจหาต้อหิน หรือปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับดวงตา การตรวจตาเพิ่มเติม เช่น การตรวจตาด้วย slit lamp ซึ่งเป็นกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษที่ช่วยให้แพทย์ส่องเห็นทั้งภายในและภายนอกดวงตาได้แบบ 3 มิติ การตรวจวัดความดันลูกตา (tonometry) การตรวจจอประสาทด้วยเครื่องส่องดูตา […]


การทดสอบทางการแพทย์

การตรวจไข้เลือดออก (Dengue Fever Testing)

ข้อมูลพื้นฐาน การตรวจไข้เลือดออกคืออะไร ไข้เลือดออก (Dengue fever) เป็นโรคประเภทหนึ่งที่เกิดจากยุงในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อน ไข้เลือดออกที่มีอาการไม่รุนแรง ทำให้มีไข้สูง มีผื่นขึ้น ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ ไข้เลือดออกรุนแรง (Dengue Hemorrhagic Fever) สามารถทำให้เลือดออกมาก ความดันโลหิตลดลงกะทันหัน (shock) และเสียชีวิตได้ การวินิจฉัยไข้เลือดออกเป็นเรื่องยาก เนื่องจากสัญญาณเตือนและอาการต่างๆ สามารถสับสนกับโรคอื่นๆ ได้ เช่น มาลาเรีย ไข้ฉี่หนู (leptospirosis) ไข้ไทฟอยด์ (typhoid fever) การตรวจไข้เลือดออก ใช้เพื่อวินิจฉัยว่า คนที่มีสัญญาณเตือนและอาการต่างๆ และอาจได้รับเชื้อเมื่อไม่นานมานี้ มีการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออก (dengue virus) หรือไม่ ความจำเป็นในการตรวจไข้เลือดออก อาจให้มีการตรวจเมื่อมีสัญญาณเตือนและอาการต่างๆ ที่สัมพันธ์กับไข้เลือดออกที่เกิดขึ้น โดยสัญญาณเตือนและอาการสำคัญบางประการ ได้แก่ มีไข้สูงกะทันหัน (40°C) มีอาการปวดศีรษะหรือปวดหลังดวงตากะทันหัน มีอาการปวดที่ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และ/หรือกระดูก มีเลือดออกที่เหงือกและจมูก มีแผลฟกช้ำง่าย มีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ ภายในหนึ่งสัปดาห์ที่มีอาการต่างๆ จะต้องดำเนินการตรวจในระดับโมเลกุล (Molecular testing)  เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเฉียบพลัน และอาจมีการตรวจแอนติบอดีหลังจากอาการหายไปมากกว่า 4 วัน หากมีการตรวจแอนติบอดี อาจมีการเก็บตัวอย่างเลือดเพิ่มเติม […]


การทดสอบทางการแพทย์

เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo)

เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) เป็นอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุน หรือถูกดึงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อาการรู้สึกหมุนเป็นอาการของโรคและความผิดปกติหลายอย่าง เมื่อมีอาการเวียนศีรษะบ่อยๆ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อหูชั้นใน ทำให้มีอาการหูอื้อได้       คำจำกัดความเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน คืออะไร เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) เป็นอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุน หรือถูกดึงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อาการรู้สึกหมุนเป็นอาการของโรคและความผิดปกติหลายอย่าง เมื่อมีอาการเวียนศีรษะบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อหูชั้นใน ทำให้มีอาการหูอื้อได้ อย่างไรก็ตามอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนสามารถเกิดขึ้นได้ในระยะยาวและระยาวสั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับสตรีมีครรภ์ รวมถึงผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับบริเวณหูชั้นใน พบได้บ่อยเพียงใด อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป อาการอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน ผู้ป่วยส่วนมใหญ่ทีมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนจะมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้ รู้สึกหมุน รู้สึกเอียง รู้สึกแกว่ง รู้สึกไม่สมดุล รู้สึกถูกดึงในทิศทางหนึ่ง รู้สึกคลื่นไส้ การเคลื่อนไหวของดวงตาที่กระตุกหรือผิดปกติ (Nystagmus) ปวดศีรษะ เหงื่อออก มีเสียงอื้อในหู หรือสูญเสียการได้ยิน อาการเหล่านี้สามารถคงอยู่ได้เป็นเวลาสองสามนาที หรือนานถึงสองสามชั่วโมงหรือมากกว่า อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนมักเกิดจากอาการเจ็บป่วย หรือความผิดปกติต่างๆ ที่ส่งผลต่อหูชั้นใน ซึ่งได้แก่ โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign paroxysmal positional vertigo): มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตำแหน่งของศีรษะที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมุนกะทันหัน ตัวอย่างเช่น ผลึกขนาดเล็กแตกในช่องหูด้านในและสัมผัสปลายประสาทด้านในที่ไวต่อการรู้สึก หูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน (Acute labyrinthitis): เกิดจากการอักเสบของโครงสร้างเกี่ยวกับการทำให้สมดุลของหูชั้นใน ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส น้ำในหูไม่เท่ากัน (Ménière’s disease): เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณของเหลวภายในหูชั้นใน อาการรู้สึกหมุนสามารถเกิดจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ การบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ ปัญหาต่างๆ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจอุจจาระ (Stool Analysis)

ตรวจอุจจาระ เป็นชุดการตรวจตัวอย่างอุจจาระ แล้วส่งไปยังห้องปฏิบัติการ การตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะบางประการที่ส่งผลต่อทางเดินอาหาร ข้อมูลพื้นฐาน การตรวจอุจจาระ คืออะไร ตรวจอุจจาระ (stool analysis) เป็นชุดการตรวจตัวอย่างอุจจาระ เพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะบางประการที่ส่งผลต่อทางเดินอาหาร ภาวะดังกล่าว ได้แก่ การติดเชื้อ (เช่น จากปรสิต ไวรัส หรือแบคทีเรีย) การดูดซึมแร่ธาตุได้น้อย หรือมะเร็ง สำหรับการตรวจอุจจาระนั้น มีการเก็บตัวอย่างอุจจาระในภาชนะที่สะอาด แล้วส่งไปยังห้องปฏิบัติการ การตรวจในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ การทดสอบสารเคมี และการทดสอบทางจุลชีววิทยา จะมีการตรวจอุจจาระเพื่อดูสี ความต่อเนื่อง ปริมาณ รูปร่าง กลิ่น และเมือก อาจมีการตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดที่เจือปน (occult) ไขมัน เส้นใยเนื้อสัตว์ น้ำดี เซลล์เม็ดเลือดขาว และน้ำตาลที่เรียกว่าน้ำตาลในอุจจาระ (reducing substances) อาจมีการตรวจวัดค่า pH ของอุจจาระอีกด้วย กระเพาะเชื้อจากอุจจาระดำเนินการเพื่อดูว่าแบคทีเรียเป็นสาเหตุของการติดเชื้อหรือไม่ ความจำเป็นในการตรวจอุจจาระ ตับอ่อน เอนไซม์บางชนิด (เช่น เอนไซม์ trypsin หรือ elastase) อาจมีการตรวจหาในอุจจาระเพื่อดูว่าตับอ่อนทำงานได้ทีเพียงใด ช่วยหาสาเหตุของอาการต่างๆ ที่ส่งผลต่อทางเดินอาหาร ซึ่งได้แก่ อาการท้องร่วงเป็นเวลานาน ถ่ายเป็นเลือด มีแก๊สมากขึ้นในท้อง […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV Viral Load Measurement)

ตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นการวัดจำนวนไวรัสเอชไอวีในเลือด มีการเริ่มตรวจวัดค่าไวรัสเอชไอวี เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ข้อมูลพื้นฐาน การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี คืออะไร การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV Viral Load Measurement) เป็นการวัดจำนวนไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV) ในเลือด มีการเริ่มตรวจวัดค่าไวรัสเอชไอวี เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสเอชไอวี การตรวจวัดในเบื้องต้นนี้เป็นค่าบรรทัดฐาน และการตรวจวัดค่าไวรัสเอชไอวีในอนาคต นำมาเปรียบเทียบกับค่าบรรทัดฐานนี้ เนื่องจากค่าไวรัสเอชไอวีสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละวัน แนวโน้มค่าไวรัสเมื่อเวลาผ่านไป จะใช้เพื่อดูว่า การติดเชื้อมีอาการแย่ลงหรือไม่ หากค่าไวรัสเอชไอวีของคุณแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างคงที่ในการวัดหลายครั้ง หมายความว่าการติดเชื้อมีอาการแย่ลง หากแนวโน้มค่าไวรัสเอชไอวีมีค่าลดลงในการวัดหลายครั้ง หมายความว่าการติดเชื้อถูกควบคุมไว้ มีการตรวจวัดค่าไวรัสเอชไอวีโดยใช้การทดสอบหนึ่งในสามประเภทดังต่อไปนี้ การตรวจ Reverse-transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR) การตรวจ Branched DNA (bDNA) การตรวจ Nucleic acid sequence-based amplification (NASBA) การตรวจเหล่านี้เป็นการวัดจำนวนสารพันธุกรรม (RNA) ของไวรัสเอชไอวีในเลือด แต่การตรวจแต่ละประเภทมีรายงานผลการตรวจแตกต่างกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ผลการตรวจเดิมเมื่อเวลาผ่านไป เหตุผลในการ ตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี โอกาสที่คุณจำเป็นต้องเข้ารับการทดสอบค่าไวรัสเอชไอวี ได้แก่ หลังการวินิจฉัย เรียกว่าการวัดค่าบรรทัดฐาน (baseline measurement) สามารถใช้เปรียบเทียบกับผลการตรวจวัดในอนาคตได้ ทุก ๆ สองถึงแปดสัปดาห์ในการเริ่มต้นการรักษา หรือเมื่อการรักษามีการเปลี่ยนแปลง ช่วยประเมินประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ของยา ทุก ๆ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว (History And Physical Exam For Heart Failure)

ข้อมูลพื้นฐานการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว (History And Physical Exam For Heart Failure) คืออะไร ถึงแม้ว่าหัวใจล้มเหลวเป็นกลุ่มอาการทางคลินิกที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ แต่มักจะถูกมองข้ามหรือผิดพลาด ประวัติการรักษาที่ละเอียดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และควรกล่าวถึง ซึ่งไม่เพียงเฉพาะสิ่งบ่งชี้ และอาการหัวใจล้มเหลวที่มีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังควรกล่าวถึงสิ่งบ่งชี้และอาการ ที่แสดงให้เห็นถึงสาเหตุเฉพาะของหัวใจล้มเหลวอีกด้วย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) ความดันโลหิตสูง (hypertension) หรือโรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) เป็นสิ่งสำคัญในการดูว่า ผู้ป่วยได้มีอาการเกี่ยวกับหัวใจมาก่อนหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) ขั้นตอนแรกในการวินิจฉัยหัวใจล้มเหลว คือ การได้รับประวัติการรักษาที่ครบถ้วน ประวัติสุขภาพของคุณรวมทั้งสิ่งใดๆ ก็ตาม เกี่ยวกับสุขภาพในอดีตและปัจจุบันของคุณ ซึ่งเป็นภาวะที่คุณเคยเป็น หรือภาวะที่คุณเป็นอยู่ ควรมีการบันทึกความดันโลหิตของผู้ป่วยและอัตราการเต้นของหัวใจ อาจมีความดันโลหิตสูง ปกติ หรือต่ำ การพยากรณ์โรคจะแสดงอาการของโรคที่ไม่ดีในผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (systolic blood pressure ) น้อยกว่า 90 ถึง 100 มม. ปรอท […]


การทดสอบทางการแพทย์

ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (History And Physical Exam For COPD)

ข้อมูลพื้นฐานซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คืออะไร โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) เป็นโรคปอดชนิดหนึ่งที่ทำให้หายใจลำบาก มักเป็นการเกิดของโรคสองชนิดร่วมกันที่มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ คือ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) และ ภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อ (emphysema) เมื่อเวลาผ่านไป โรคนี้สามารถทำให้เกิดอาการหายใจลำบากและปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่รุนแรง ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD)  โรค COPD ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การใช้ยาและการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์อาจช่วยบรรเทาอาการได้ หนทางที่เชื่อถือได้หนทางเดียวในการชะลอการเกิดโรค COPD คือการเลิกสูบบุหรี่ ประวัติสุขภาพของคุณจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ที่สำคัญ ที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ เหตุผลในการตรวจ ประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย ช่วยให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคได้ เป็นส่วนของการเข้าพบแพทย์เป็นประจำและมีความสำคัญ ข้อควรทราบก่อนตรวจข้อควรทราบก่อนการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรมีการซักประวัติสุขภาพและการตรวจหัวใจอย่างระมัดระวัง เพื่อแบ่งแยกโรคหัวใจที่สัมพันธ์กับ หรือไม่ก็ทำให้เกิดอาการต่างๆ ที่คล้ายคลึงกับอาการของโรค COPD เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เนื่องจากการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจรวมทั้งโรค COPD การตรวจหัวใจอาจแสดงให้เห็นถึงอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็ว หรือแสดงสิ่งบ่งชี้ของภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) ตับอาจมีขนาดโตขึ้น ซึ่งในบางครั้งสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากอาการหัวใจล้มเหลวด้านขวา (cor pulmonale) ผลการตรวจร่างกายจะแตกต่างกันออกไป ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ที่เป็นไปได้ของโรค COPD ขั้นตอนการตรวจการเตรียมตัวเพื่อการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คุณควรเตรียมข้อมูลของการวินิจฉัยและการรักษาที่ผ่านมาอย่างละเอียดและครบถ้วน ถึงแม้ว่าอาการของโรคจะหายขาดแล้วก็ตาม หรืออาการของโรคไม่ได้มีสำคัญสำหรับคุณ แต่การทราบเกี่ยวกับอาการดังกล่าวอาจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ นอกจากนี้ การทราบเกี่ยวกับอาการทางสุขภาพในอดีตและปัจจุบันทั้งหมดของคุณจะช่วยให้แพทย์หาวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพของคุณ นอกเหนือจากประวัติอาการของโรคที่ผ่านมา คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาชนิดต่างๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน