การทดสอบทางการแพทย์

เมื่อคุณอยากรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร การทดสอบทางการแพทย์ คืออีกหนึ่งช่องทางที่จะให้คำตอบแก่คุณได้ แต่การทดสอบทางการแพทย์มีอะไรบ้าง ต้องมาติดตามกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)

การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนต้องตระหนัก โดยเฉพาะการตรวจสุขภาพหัวใจ เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่คอยเชื่อมกับระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในเอาไว้ด้วยกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย ที่เป็นอีกเทคนิคทางการแพทย์ ช่วยวัดประสิทธิภาพของหัวใจ มาฝากกันค่ะ การ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย คืออะไร การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST) เป็นการทดสอบอัตราการเต้นของหัวใจของคุณว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีอาการผิดปกติใด ๆ หรือไม่ แต่ในการทดสอบนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คุณออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น วิ่ง เดินลู่วิ่ง ใช้เครื่องปั่นจักรยาน ประมาณ 10-15 นาทีด้วยกัน โดยอาจมีพัก 3 นาที เพื่อตรวจสอบการหายใจ ในช่วงที่คุณออกกำลังกายเพื่อทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย แพทย์จะติดอุปกรณ์ทดสอบที่เรียกกว่า แผ่นอิเล็กโทรดที่เชื่อมโยงกับหน้าจอแสดงผล ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา หน้าอก เพื่อให้เห็นอัตราการเต้นของหัวใจ และบันทึกกราฟ หรือตัวเลขเอาไว้ให้เป็นข้อมูล […]

สำรวจ การทดสอบทางการแพทย์

การทดสอบทางการแพทย์

รักษามะเร็งเต้านมด้วย การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม เป็นอย่างไร

การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (Breast censervation surgery) หรือที่เรียกกันว่า การผ่าเอาเฉพาะเนื้องอกออก (lumpectomy) การผ่าตัดเอาเต้านมออกบางส่วน (Partial mastetomy) การผ่าตัดเต้านมออกประมาณหนึ่งในสี่ (Quadrantectomy) หรือการผ่าตัดออกบางส่วน (Segmental mastetomy) การผ่าตัดวิธีนี้เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยจะผ่าตัดเอาเฉพาะส่วนของเต้านมที่เป็นมะเร็งเท่านั้น ออกไป จำนวนของเนื้อเยื่อเต้านมที่ถูกผ่าออกขึ้นอยู่กับขนาดเเละตำเเหน่งของเนื้องอก รวมถึงปัจจัยอื่นๆ โปรดให้แน่ใจว่าคุณมีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับการผ่าตัด เช่น รอยเเผลเป็นจะเป็นอย่างไรหลังการผ่าตัด คุณจะสูญเสียเต้านมไปเท่าไหร่ เมื่อพิจารณาถึงเนื้อเยื่อดีใกล้เคียงที่อาจถูกผ่าออกเช่นกัน ใครบ้างที่ควรรับ การผ่าตัดเเบบสงวนเต้านม ข้อดีหลักของการผ่าตัดเเบบสงวนเต้านมก็คือ ผู้หญิงสามารถรักษาเต้านมส่วนมากไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องสามารถเข้ารับการรักษาด้วยรังสี โดยปกติแล้วแพทย์จะประเมินตามหลักนี้เพื่อทำ การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม มีเนื้องอกมะเร็งเต้านมเพียงที่เดียว เเละมีเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 5 เซนติเมตร มีเนื้องอกมะเร็งเต้านมที่เดียวหรือหลายที่ ซึ่งอยู่ใกล้กันมาก กระทั่งสามารถผ่าออกได้พร้อมกัน โดยไม่ทำให้สภาพเต้านมเปลี่ยนไปมากนัก มีเนื้อเยื่อเพียงพอ เมื่อเนื้อเยื่อได้ถูกผ่าออกเเล้ว จะไม่ทำให้เต้านมผิดรูป ไม่เป็นมะเร็งเต้านมแบบอักเสบ (Inflammatory breast cancer) ไม่ได้ตั้งครรภ์ ยินดีที่จะรับการรักษาต่อด้วยรังสีบำบัด ผู้หญิงบางคนอาจมีความกังวลด้วยความคิดที่ว่า การผ่าตัดเนื้อเยื่อออกไปน้อยกว่าจะเพิ่มความเสี่ยงในการกลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การตัดเต้านมในกรณีส่วนมาก ไม่ได้เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะมีชีวิตได้ยืนยาวกว่า หรือให้ผลการรักษาที่ดีกว่า การศึกษาในผู้หญิงหลายพันคนมากกว่า 20 ปีเเสดงให้เห็นว่า เมื่อได้รับ การผ่าตัดเเบบสงวนเต้านม การเปลี่ยนไปใช้การตัดเต้านมแทนก็ไม่ได้เพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะรอดชีวิต ขั้นตอนการผ่าตัด การผ่าตัดนี้จะกินเวลาประมาณ 1 ถึง […]


การทดสอบทางการแพทย์

ดีซ่าน (Jaundice)

โรค ดีซ่าน (Jaundice หรือ Icterus) เป็นภาวะตกเหลืองบริเวณผิวหนังและตาขาว มีสาเหตุมาจากระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดพุ่งสูงมาก คำจำกัดความดีซ่าน คืออะไร โรคดีซ่าน (Jaundice หรือ Icterus) เป็นภาวะตกเหลืองบริเวณผิวหนังและตาขาว มีสาเหตุมาจากระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดพุ่งสูงมาก บิลิรูบินก่อตัวขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว ร่างกายมักจะกำจัดบิลิรูบินผ่านตับ โดยทั่วไป ตับในเด็กแรกเกิดจะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ซึ่งทำให้บิลิรูบินก่อตัวเร็วกว่าที่ตับจะสามารถกำจัดได้ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับเช่นกัน ดีซ่านพบได้บ่อยแค่ไหน โรคดีซ่านเป็นอาการที่พบได้บ่อย ดีซ่านเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด ดีซ่านมักหายไปเองในเด็กแรกเกิด แต่หากไม่หาย นั่นอาจเป็นสัญญาณของอาการรุนแรงกว่านั้นได้ ซึ่งเราสามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของตัวเอง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรค ดีซ่าน สัญญาณและอาการของภาวะตกเหลืองทางผิวหนังและดวงตาที่พบได้บ่อย ได้แก่ ภายในช่องปากมีสีเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้มหรือสีน้ำตาล อุจจาระมีสีซีดหรือสีเหมือนโคลน ระดับบิลิรูบินสูง เบื่ออาหาร รู้สึกเหนื่อยและอ่อนแรง สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการ ควรเข้าพบคุณหมอทันที ผิวหนังของลูกเป็นสีเหลืองมากขึ้นเรื่อย ๆ ผิวหนังบริเวณท้อง แขนและขา ดูมีลักษณะออกสีเหลือง ส่วนตาขาวของลูกคุณกลายเป็นสีเหลือง ลูกของคุณดูไม่มีชีวิตชีวา หรือป่วย หรือปลุกแล้วตื่นยาก น้ำหนักของลูกคุณไม่เพิ่มขึ้น หรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ลูกของคุณร้องไห้เสียงดังมาก ลูกของคุณมีสัญญาณหรือเกิดอาการใด ๆ ก็ตามที่คุณกังวล โรคดีซ่านเกิดขึ้นต่อเนื่องมานานกว่า 3 สัปดาห์ ในผู้ใหญ่ ผิวหนังเหลืองอาจเป็นอาการของโรคไตได้ด้วย ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคดีซ่าน ดีซ่านมีสาเหตุการก่อตัวของบิลิรูบินที่เป็นผลผลิตของเซลล์เม็ดเลือดแดง บิลิรูบินก่อตัวขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว ร่างกายมักจะขจัดบิลิรูบินผ่านทางตับ เมื่อตับทำงานผิดปกติ ตับจะไม่สามารถกรองบิลิรูบินออกจากเลือดได้ […]


การทดสอบทางการแพทย์

เอ็มอาร์ไอ หรือเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging - MRI)

การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI) เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นแม่เหล็ก คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างภาพจำลองภายในร่างกาย   คำจำกัดความเอ็มอาร์ไอ (MRI) คืออะไร การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging) หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI) เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นแม่เหล็ก คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างภาพจำลองภายในร่างกาย หมอของคุณสามารถใช้การตรวจนี้เพื่อวินิจฉัยหรือดูว่าคุณตอบสนองต่อการรักษาได้ดีแค่ไหน สิ่งที่ไม่เหมือนกับการเอ็กซ์เรย์และ CT สแกน ก็คือ เอ็มอาร์ไอจะไม่ใช้รังสี ทำไมถึงต้องตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ เอ็มอาร์ไอช่วยหมอในการวินิจฉัยโรคหรืออาการบาดเจ็บ และมันสามารถสังเกตการณ์ได้ว่าคุณรับมือกับการรักษาได้ดีแค่ไหน เอ็มอาร์ไอสามารถสแกนส่วนต่างๆ ของร่างกายได้หลากหลายส่วน การทำเอ็มอาร์ไอบริเวณสมองและไขสันหลัง เป็นการสแกนเพื่อหาอาการหรือโรคดังต่อไปนี้ ได้แก่ ความเสียหายของหลอดเลือด การบาดเจ็บทางสมอง มะเร็ง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosi) การบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง เส้นเลือดในสมองแตก การสแกนเอ็มอาร์ไอบริเวณหัวใจและหลอดเลือด เป็นการสแกนเพื่อหาอาการและโรคดังต่อไปนี้ ได้แก่ หลอดเลือดอุดตัน ความเสียหายที่เกิดจากอาการหัวใจวาย โรคหัวใจ ปัญหาโครงสร้างหัวใจ การสแกนเอ็มอาร์ไอบริเวณกระดูกและข้อต่อ เป็นการสแกนเพื่อหาอาการและโรคดังต่อไปนี้ ได้แก่ การติดเชื้อที่กระดูก มะเร็ง ความเสียหายบริเวณข้อต่อ ปัญหาหมอนรองกระดูกที่สันหลัง การสแกนเอ็มอาร์ไปยังสามารถช่วยเช็คสุขภาพของอวัยวะเหล่านี้ ได้แก่ หน้าอก (ผู้หญิง) ตับ ไต รังไข่ (ผู้หญิง) ตับอ่อน ต่อมลูกหมาก (ผู้ชาย) การสแกนเอ็มอาร์ไปชนิดพิเศษเรียกว่าการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในการสร้างภาพของอวัยวะและโครงสร้างต่าง ๆ ของร่างกาย (functioal MRI – fMRI) การตรวจนี้จะดูการไหลเวียนของเลือดในสมองของคุณ เพื่อดูว่าบริเวณไหนที่เกิดการตอบสนองเมื่อคุณทำภารกิจบางอย่าง เครื่อง fMRI สามารถตรวจจับปัญหาทางสมองได้ อย่างเช่น ผลกระทบของเส้นเลือดในสมองแตก หรือใช้ในการทำแผนที่สมอง หากคุณต้องรับผ่าตัดสมองเนื่องจากโรคลมชักหรือเนื้องอกในสมอง หมอของคุณสามารถใช้การตรวจนี้เพื่อวางแผนการรักษาของคุณได้ ข้อควรรู้ก่อนการตรวจอะไรที่เราควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ ก่อนการสแกนเอ็มอาร์ไป […]


การทดสอบทางการแพทย์

รู้หรือไม่? การตรวจหาปริมาณ ไวรัสในเลือด สำคัญกว่าที่คิด

ไวรัสในเลือด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่คร่าชีวิตคนประมาณ 1.5 ล้านคน ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการเอาไว้ในปี 2003 ฉะนั้นการตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือด เพื่อใช้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี และการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ก็นับว่ามีความจำเป็นมาก ซึ่ง Hello คุณหมอ จะพาไปติดตามความสำคัญของเรื่องนี้กัน ไวรัสในเลือด คืออะไร เชื้อไวรัสในเลือด (Viral Load) หมายถึงปริมาณของอนุภาคเชื้อไวรัสที่ลอยอยู่ในตัวอย่างเลือด (ปริมาณ 1 มล. หรือ 1 ซีซี) อนุภาคเหล่านี้คือสำเนาพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ปริมาณของเชื้อไวรัสในเลือดจะทำให้เราทราบว่าการรักษาต้านไวรัสโดยใช้ยาต้านเชื้อไวรัส (ART) นั้นสามารถควบคุมเชื้อไวรัสได้ดีแค่ไหน เป้าหมายของการรักษาต้านไวรัสคือการลดระดับปริมาณของเชื้อไวรัสในเลือด การตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือดประเภทต่างๆ การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสที่อยู่ในเลือด เพื่อประเมินสุขภาพของผู้ติดเชื้อ ว่าสามารถควบคุมปริมาณไวรัสให้อยู่ในระยะปลอดภัยต่อสุขภาพได้หรือไม่ เมื่อเข้ารับการรักษาเป็นครั้งแรกนั้น ก็จะทำการตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสในเลือด เพื่อใช้เป็นข้อมูลก่อนที่จะรับยาต้านไวรัส ควรทำการทดสอบไวรัสแบบนี้ทุกๆ 3-6 เดือน โดยการตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดมีดังนี้ การตรวจหาปริมาณไวรัสเอชไอวี การตรวจหาปริมาณไวรัสเอชไอวี จะทำให้คุณทราบปริมาณของเชื้อไวรัสเอชไอวีในร่างกาย โดยตรวจนับปริมาณสำเนาของเชื้อเอชไอวีเลือด 1 มิลลิลิตร ผลการตรวจนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบว่าการติดเชื้อของคุณเป็นอย่างไร การรักษาได้ผลดีแค่ไหน และรับทราบแนวทางในการรักษา ผลการตรวจปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีจะช่วยให้คุณทราบว่าโรคมีอาการรุนแรงขึ้นเร็วแค่ไหน การตรวจหาปริมาณไวรัสตับอักเสบซี แพทย์จะทำการตรวจหาปริมาณของเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (hep C RNA test) เพื่อตรวจหาปริมาณของเชื้อไวรัสตับอักเสบซีภายในเลือดหนึ่งหยด ในปัจจุบันนี้ห้องแล็บส่วนใหญ่มักจะแจ้งผลเป็น หน่วยสากลต่อมิลลิลิตร […]


การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 (Anti-Jo-1 Antibodies Test)

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับแอนตี้บอดี้-โจ-1 ในกระแสเลือด โจวัน (histidyl tRNA synthetase) แอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นตัวบ่งชี้โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และพบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ที่มีโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบร่วมด้วย คำจำกัดความ ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 (Anti-Jo-1 Antibodies Test) ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับแอนตี้บอดี้-โจ-1 ในกระแสเลือด โจวัน (histidyl tRNA synthetase) ก็คือเอนไซม์ในกลุ่ม acyl-tRNA synthetase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบในเซลล์ชนิดที่มีนิวเคลียส แอนตี้บอดี้-โจ-1 ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออักเสบจะจับตัวอยู่กับปลายสายโปรตีน ที่ช่วยยับยั้งฤทธิ์การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ในหลอดทดลองได้ แอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นตัวบ่งชี้โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และพบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ที่มีโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบร่วมด้วย แอนตี้บอดี้เหล่านี้พบได้มากกว่าครึ่งในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่มีพังผืด ในเนื้อเยื่อปอด และโรคข้ออักเสบแบบสมมาตรร่วม ทำไมต้องทดสอบหาแอนตี้บอดี้-โจ-1? ก็เพื่อประเมินโรคในผู้ป่วยที่มีสัญญาณและอาการแสดง ที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ปวดกล้ามเนื้อ และมีภาวะแขนขาอ่อนแรง มีอาการแสดงของโรคปอด โรคเรเนาด์ (Raynaud’s phenomenon) และโรคข้ออักเสบร่วมด้วย ข้อควรระวัง/คำเตือน ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจหาแอนตี้บอดี้-โจ-1 มีอะไรบ้าง คำแนะนำที่จำเป็นสำหรับการเตรียมควาพร้อมก่อนทำการตรวจได้แก่ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง สำหรับการตรวจเลือด ผู้ป่วยควรงดน้ำและอาหารก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ยาหลายชนิดสามารถส่งผลต่อผลการตรวจได้ จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ท่านใช้อยู่ ทั้งยาที่ซื้อมารับประทานเอง และยาตามใบสั่งแพทย์ การทดสอบชนิดนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย ที่มีผลการตรวจ Antinuclear Antibodies เป็นลบ การได้ผลการตรวจแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นลบหนึ่งครั้ง ไม่สามารถวินิจฉัยว่าเป็นภาวะกล้ามเนื้ออักเสบหรือผิวหนังอักเสบได้ กระบวนการ การเตรียมการสำหรับทดสอบ สิ่งที่ท่านต้องเตรียมตัวก่อนการทดสอบก็คือ การตรวจเลือด รัดต้นแขนผู้ป่วยด้วยแถบยางยืดเพื่อห้ามการไหลเวียนของเลือด วิธีนี้จะทำให้เส้นเลือดดำที่อยู่ใต้แถบผ้าแถบยางขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้ใช้เข็มเจาะเข้าไปในเส้นเลือดดำได้ง่ายขึ้น 1. […]


การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน (Alpha-1 Antitrypsin Test)

การ ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน หรือ(AAT) เครดิตภาพ: bloodtestslondon.com กระบวนการ ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน หรือ(AAT) เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับสาร AAT ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเลือด ที่ทำหน้าที่ป้องกันปอดไม่ให้ถูกทำลายจากเอนไซม์ต่างๆ ในเลือด การทดสอบต่างๆ ที่สัมพันธ์กันสามารถตัดสินได้ว่า ผู้ป่วยคนนั้นได้รับการถ่ายทอดโปรตีน AAT ที่มีความผิดปกติในรูปแบบใด การ ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน ทำหน้าที่อะไร  หน้าที่หลักของAAT คือการช่วยยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอีลาสเตส (Elastase)  ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟีล (Neutrophils) และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตอบสนองต่อการบาดเจ็บและการอักเสบตามปกติ โดยอีลาสเตสจะย่อยโปรตีนต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดและนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ซึ่งถ้าหากไม่มี AAT คอยควบคุมแล้วล่ะก็ อีลาสเตสก็จะเริ่มย่อยสลายและทำลายเนื้อเยื่อปอดไปด้วย ทำไมต้อง ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน เหตุผลที่ต้องทำการทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซินมีดังนี้ : การทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน (AAT) เพื่อวินิจฉัยภาวะขาดเอนไซม์อัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน ในกรณีที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยรายนั้นไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจน อย่างการสูบบุหรี่ หรือมีประวัติสัมผัสฝุ่นละอองและควัน การทดสอบนี้ยังใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดภาวะดีซ่านเรื้อรัง และสัญญาณความผิดปกติของตับอื่นๆได้ ซึ่งมักจะใช้กับเด็ก แต่จริงๆแล้วสามารถใช้ได้กับผู้คนทุกช่วงอายุ การทดสอบ AAT มี 3 แบบ ซึ่งอาจใช้แบบเดียวหรือหลายๆแบบ เพื่อประเมินผู้ป่วยแต่ละราย การทดสอบอัลฟ่าวัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน