backup og meta

ภาวะสมองล้า (Brain Fog) ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 14/09/2020

    ภาวะสมองล้า (Brain Fog) ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

    สมองถือเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย เพราะสมองทำหน้าที่ในการสั่งงานและควบคุมทั้งร่างกาย จิตใจ รวมถึงความรู้สึกนึกคิดโดยตรง แต่ถ้าเกิด ภาวะสมองล้า ขึ้นมา มันจะส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพร่างกายของคุณบ้าง แล้วภาวะสมองล้านี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร มีอาการอะไรที่กำลังบ่งบอกว่าจะเป็นภาวะนี้บ้าง ต้องไปติดตามกันในบทความนี้ Hello คุณหมอ

    ภาวะสมองล้า (Brain Fog) คืออะไร

    ภาวะสมองล้า ไม่ใช่อาการทางการแพทย์ แต่เป็นอาการของโรคอื่นๆ และเป็นความผิดปกติทางปัญญาประเภทหนึ่งซึ่งสามารถทำให้ผู้ที่เป็นภาวะนี้รู้สึกราวกับว่ากระบวนการทางความคิด ความเข้าใจ และการจดจำไม่ทำงานได้เท่าที่ควร ซึ่งอาจจะส่งผลต่อ

  • หน่วยความจำรวม ความสามารถในการจัดเก็บและเรียกคืนข้อมูล
  • การใช้และความเข้าใจในภาษา
  • ความสามารถในการประมวลผล และเข้าใจข้อมูล
  • ทักษะการมองเห็นและเชิงพื้นที่ สำหรับการวาดภาพ การจดจำรูปร่าง และการนำทาง
  • ความสามารถในการคำนวณและการดำเนินงาน
  • ความสามารถในการทำงานของผู้บริหาร ในการจัดระเบียบ แก้ปัญหา และการวางแผน
  • ปัญหาความจำ
  • ขาดความชัดเจนทางจิตใจ
  • สมาธิไม่ดี
  • ไม่สามารถโฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
  • หากความสามารถเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งอย่างทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจ โฟกัส และจดจำสิ่งต่างๆ

    นอกจากนั้นมันอาจจะรบกวนการทำงานหรือการเรียนได้อีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะสมองล้าที่เกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ภาวะที่เกิดขึ้นนั้นอาจนำไปสู่ความเครียด และความเหนื่อยล้าทางจิตใจ

    สาเหตุของภาวะสมองล้า

    มีคำอธิบายมากมายว่าทำไมถึงเกิดภาวะสมองล้าได้ เมื่อคุณสามารถระบุสาเหตุพื้นฐานที่ทำให้เกิดภาวะสมองล้าได้ คุณก็จะสามารถเริ่มแก้ปัญหาได้ และนี่คือสาเหตุของการเกิดภาวะสมองล้า

    ความเครียด

    ความเครียดเรื้อรัง สามารถเพิ่มความดันโลหิต ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทางจิตใจ เมื่อสมองของคุณอ่อนล้า การคิดหาเหตุผลและโฟกัสบางสิ่งบางอย่างก็ยากขึ้นด้วย

    ขาดการนอนหลับ

    คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี อาจรบกวนการทำงานของสมองได้ ดังนั้น คุณควรจะต้องนอนให้ได้ 8-9 ชั่วโมงต่อคืน การนอนน้อยเกินไปอาจทำให้สมาธิไม่ดีและทำให้ความคิดขุ่นมัวได้

    การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

    การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจทำให้เกิดภาวะสมองล้าได้ ระดับฮออร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อความจำ และทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญาในระยะสั้น ในทำนองเดียวกันการลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในช่วงวัยหมดประจำเดือน ก็อาจทำให้เกิดอาการหลงลืม สมาธิไม่ดี และความคิดฟุ้งซ่าน

    อาหาร

    อาหารนั้นมีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะสมองล้าได้ เนื่องจากวิตามินบี 12 ช่วยสนับสนุนการทำงานของสมองที่แข็งแรง เมื่อขาดวิตามินบี 12 ก็อาจทำให้เกิดภาวะสมองล้าขึ้นได้ หากคุณมีอาการแพ้อาหาร ก็อาจทำให้เกิดภาวะสมองล้าขึ้นได้หลังจากกินอาหารบางชนิดเข้าไป ซึ่งอาหารเหล่านั้นได้แก่

    การหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดภาวะสมองล้า หรือหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นภาวะดังกล่าว อาจทำให้อาการของภาวะสมองล้าดีขึ้น

    ยา

    หากคุณสังเกตเห็นว่า เกิดภาวะสมองล้าขณะที่กินยา ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณทันที เนื่องจากภาวะสมองล้าอาจเป็นผลข้างเคียงของยาก็เป็นได้ การลดปริมาณหรือเปลี่ยนไปใช้ยาอื่นอาจทำให้อาการของคุณดีขึ้น

    นอกจากนั้น ภาวะสมองล้ายังสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า Chemo brain” ซึ่งเป็นอาการหลงลืม ความจำลดลง และสมาธิลดลง

    สภาวะทางการแพทย์

    สภาวะทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ความเหนื่อยล้า หรือการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทางจิตใจ ตัวอย่างเช่น ภาวะสมองล้า เป็นอาการอ่อนเพลียเรื้อรังซึ่งเกี่ยวข้องกับความเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน โดยผู้ที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) อาจมีอาการคล้ายภาวะสมองล้าเป็นประจำทุกวัน นอกจากนั้นสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะสมองล้า ได้แก่

    การรักษาภาวะสมองล้า

    สำหรับบางคนที่เกิดภาวะสมองล้าขึ้น สามารถแก้ไขได้ด้วยการรักษาอาการปวดหรือปัญหาการนอนหลับ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่จะสามารถหาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพได้ ดังนั้น อาหารเสริมถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาภาวะสมองล้า ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานในการสนับสนุนประสิทธิภาพของอาหารเสริมมากนัก แต่แพทย์และผู้ที่มีอาการเหล่านี้บางคน กล่าวว่า พวกเขาเคยเห็นอาหารเสริมสามารถช่วยการทำงานของความรู้ความเข้าใจได้

    อย่างไรก็ดี คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะกินอาหารเสริม เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารเสริมนั้นเหมาะสมสำหรับคุณและเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่มีปฏิกิริยาต่อยาที่คุณอาจจะกินอยู่ สำหรับอาหารเสริมที่ช่วยทำให้ภาวะสมองล้าดีขึ้น ได้แก่

    แพทย์บางคนอาจจะแนะนำให้รับเปลี่ยนอาหารโดยรวม ซึ่งเป็นอาหารที่เป็นมิตรกับสมอง บางส่วนอาจเป็นอาหารเสริมจากธรรมชาติที่ระบุเอาไว้ข้างต้น  นอกจากนั้นก็ยังมีอาหารเหล่านี้ ซึ่งได้แก่

    การวิจัย FMS บางชิ้นแสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายในระดับปานกลางนั้น สามารถช่วยปรับปรุงการทำงานของความรู้ความเข้าใจได้ แต่ก่อนอื่นต้องแน่ใจว่า คุณรู้วิธีที่ถูกต้องในการเริ่มต้นออกกำลังกาย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 14/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา