backup og meta

ล้างจมูก ทำอย่างไรจึงจะถูกต้องและดีต่อสุขภาพ

ล้างจมูก ทำอย่างไรจึงจะถูกต้องและดีต่อสุขภาพ

การ ล้างจมูก หลายๆคนฟังแล้วอาจจะยังไม่คุ้นหู และอาจจะรู้สึกกลัวเมื่อเห็นขั้นตอนการทำ แต่จริงๆการล้างจมูกทำได้ไม่ยากและไม่น่ากลัวอย่างที่คิดค่ะ  โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเป็นโรคภูมิแพ้ ไซนัส ไอเรื้อรัง หากทำการล้างจมูก เป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหวัดได้  หากอยากมีสุขภาพที่ดีขึ้น นอน หลับสบาย  ตื่นมาสดชื่นไม่เพลีย วันนี้ Hello คุณหมอนำวิธีการล้างจมูกที่ถูกต้องและดีต่อสุขภาพมาฝากกันค่ะ ลองไปปฎิบัติทำตามขั้นตอนกันดูนะคะ รับรองว่าสุขภาพดี ขึ้นห่างไกลโรคหวัดแน่นอน

การล้างจมูก คือ

การ ล้างจมูก คือ การทำความสะอาดโพรงจมูกโดยการใส่หรือหยอดน้ำเข้าไปในจมูก การล้างจมูกจะช่วยชะล้างมูก คราบมูก หรือหนองบริเวณโพรงจมูก และหลังโพรงจมูกออก ทำให้โพรงจมูกสะอาด ควรใช้น้ำเกลือล้างจมูกที่ความเข้มข้น 0.9% (ความเข้มข้น 0.9% ช่วยลดความเหนียวของน้ำมูก และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค)

ประโยชน์ของการล้างจมูก มีอะไรบ้าง

  • บรรเทาอาการระคายเคือง อาการคัดแน่นจมูก ช่วยให้จมูกโล่งขึ้น
  • ป้องกันการเกิดโรคหวัดต่างๆภูมิแพ้ อาการไอเรื้อรัง
  • ป้องกันการลุกลามเชื้อโรคจากจมูกและไซนัสไปสู่ปอด
  • ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุจมูก
  • ช่วยลดน้ำมูกหรือหนองที่อุดอยู่บริเวณรูเปิดของโพรงไซนัส ช่วยลดการอักเสบของไซนัส
  • ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น ลดปริมาณการใช้ยาในการรักษาโรคภูมิแพ้ และโรคไซนัส
  •  ช่วยป้องกันการเกิดพังผืดที่อาจทำให้รูจมูกหรือไซนัสตีบแคบ

อาการดังต่อไปนี้ ควรล้างจมูก 

  • เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
  • เป็นหวัดบ่อย
  • เป็นโรคจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ
  • เป็นไซนัส หรือได้รับการผ่าตัดจมูก
  • เป็นโรคริดสีดวงจมูก
  • ได้รับการฉายแสงบริเวณจมูก/หรือไซนัส

อุปกรณ์ในการล้างจมูก

  • น้ำเกลือ (ความเข้มข้น 0.9%)
  • กระดาษทิชชู่
  • ถ้วยสำหรับใส่น้ำเกลือ 1 ถ้วย
  • กระบอกฉีด+ภาชนะรองน้ำจมูก

ขั้นตอน-วิธีการล้างจมูก 

  • ล้างมือให้สะอาด เทน้ำเกลือใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็ม
  • โน้มตัวไปข้างหน้าก้มหน้าเล็กน้อย สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกข้างที่จะล้างเล็กน้อย
  • โดยวางปลายกระบอกฉีดยาชิดรูจมูกด้านบน หายใจทางปากหรือกลั้นหายใจ
  • ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูก จนน้ำเกลือและน้ำมูกไหลออกทางปาก หรือไหลย้อนออกมาทางจมูกอีกข้าง
  • สั่งน้ำมูกพร้อมๆ กันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้างเพราะอาจะทำให้แก้วหูทะลุได้)
  • บ้วนน้ำเกลือ และน้ำมูกส่วนที่ไหลลงคอทิ้ง บ้วนเสมหะในคอออก

ล้างจมูกได้เมื่อใด

คุณควรล้างจมูกเป็นประจำอย่างน้อย 2 ครั้งช่วงเช้าและก่อนเข้านอน หรือเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • เมื่อคุณมีความรู้สึกคัดแน่นจมูก
  • มีน้ำมูกหนียวข้นค้างอยู่ในโพรงจมูกหรือไซนัส
  • ก่อนใช้ยาพ่นจมูก หรือยาหยอดจมูก
  • รู้สึกว่ามีกลิ่นเหม็นที่เกิดจากไซนัส

ผลข้างเคียงจากการล้างจมูก

ผลข้างเคียงจากการ ล้างจมูก พบได้บ่อยที่สุดในอาการดังต่อไปนี้

  • อาการปวดหู
  • อาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • อาการหูอื้อ
  • อาการไอ
  • อาการแสบจมูก

บางรายมีอาการหูอื้อหลังจากล้างจมูก เนื่องจากอาจฉีดแรงเกินไป อาจทำให้จมูกอักเสบ หรือเลือดกำเดาไหล แต่มีพบในส่วนน้อยเท่านั้น

ดังนั้นควรล้างจมูกอย่างถูกต้อง หากสงสัยเรื่องของวิธีการล้างจมูก ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาล เพื่อขอคำแนะนำ

ใครบ้างที่ไม่ควรล้างจมูก

ผู้ที่ไม่ควรล้างจมูก คือ ผู้ที่มีอาการทางระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อที่เสี่ยงต่อการสำลัก และ ผู้ที่ทำการผ่าตัด หรือได้รับอุบัติเหตุบริเวณใบหน้า

คำแนะนำและข้อควรระวังสำหรับการล้างจมูก 

  • ควรล้างจมูกก่อนรับประทานอาหาร หรือ ท้องว่าง เพื่อป้องกันการเกิดการอาเจียน
  • หลังจากฉีดน้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูกให้รีบสั่งน้ำมูกออกทันที
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการล้างจมูกต้องสะอาด ไม่งั้นจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Do a Sinus Flush at Home. https://www.healthline.com/health/sinus-flush. Accessed 28 January, 2019

Nasal Irrigation: An Imprecisely Defined Medical Procedure.

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5451967/. Accessed 14 May, 2017

Nasal irrigation – is it safe?. https://healthywa.wa.gov.au/Articles/N_R/Nasal-irrigation-is-it-safe. Accessed 14 May, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: product-hhg


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

การรักษา โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ด้วย CO2 LASER


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา